ตัวผมคิดว่าภาษามันส่งผลต่อพฤติกรรมจริงๆนะครับทุกครั้งเวลาผมเรียนภาษาอังกฤษคำที่กล่าวถึงสรรพนามเรียกบุคคลส่วนใหญ่มันจะเป็นการต่อยอดมาจากคำว่าheหมดเลยไม่ว่าจะเป็นคำว่า s he T he y T he m ก็มีคำว่าhe เป็นส่วนประกอบมันทำให้ผมรู้สึกอึดอัดมากเพราะว่าทุกอย่างนั้นถูกเกี่ยวข้องกับheหมดเลยซึ่งเป็นผู้ชายทำให้เหมือนกับว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งมันทำให้ผมรู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคยนักเพราะว่าภาษาไทยมีคำสรรพนามที่ไม่เจาะจงระหว่างเพศแถม แล้วอีกอย่างคำว่าผู้ชายในภาษาอังกฤษคือmen ส่วนผู้หญิงก็คือ wo men มันทำให้ผมค่อนข้างอึดอัดเพราะว่ารู้สึกเหมือนว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกคำเลยเพราะว่าในภาษาไทยเราคำแยกเพศที่ชัดเจนแล้วก็ไม่ได้ถูกต่อยอดมาจากเพศใดเพศหนึ่งขนาดคำว่าผู้หญิงตัวอักษร ญ ยังมีชื่อว่าญหญิงเลยแต่ว่าในภาษาอังกฤษคำว่าผู้หญิงกับถูกต่อมาจากผู้ชายในการใส่คำว่าwoซะอย่างนั้น ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปเองหรือเปล่าแต่ผมว่ามันน่าจะเกี่ยวกับศาสนาด้วยเพราะว่าศาสนาคริสต์เชื่อว่าผู้หญิงเกิดมาจากกระดูกซี่โครงของผู้ชายและอย่าลืมว่าในยุโรปเนี่ยหลายประเทศนับถือศาสนาคริสต์กันซะเยอะอาจจะส่งผลต่อภาษาด้วยคำว่าผู้หญิงแล้วก็คำอื่นๆก็เลยถูกต่อยอดมาจากคำเรียกผู้ชายแต่ว่านั่นแหละครับผมก็รู้สึกไม่ค่อยชินอยู่ดีเพราะว่าตามหลักศาสนาพุทธมันไม่มีความเชื่อแบบนี้ ใครมีความคิดเห็นอื่นมาช่วยแชร์กันหน่อยนะครับผมก็อยากรู้เหมือนกันผมว่าคลิปนี้มีประโยชน์มากเลยมันทำให้ผมกลับมาฉุกคิดเสมอตอนที่ผมเรียนภาษาผมรู้สึกว่าตอนนี้ผมใช้ภาษาอังกฤษผมจะใช้ภาษาที่สุภาพน้อยลงเพราะว่าเวลาที่ผมใช้ภาษาไทยผมมักจะเติมครับอยู่เสมอและใช้สรรพนามเรียกผู้คนตามระดับแต่พอใช้ภาษาอังกฤษแล้วมันไม่มีระดับมันทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่าเรียกทุกคนอย่างใกล้ชิดจนบางครั้งก็ทำให้รู้สึกไม่ชินเหมือนกันครับ
ตอนเราพูดภาษาญี่ปุ่น เราจะรู้สึกสุภาพ พูดขอบคุณได้ง่ายมาก ไม่ตะขิดตะขวงใจ ตอนพูดภาษาอังกฤษเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีความมั่นใจ ตอนพูดไทย บางครั้งเราไม่อยากพูดขอบคุณ แต่ถ้าพูดเป็นภาษาอื่น เช่น ญี่ปุ่น เราจะพูดได้ง่ายกว่า บรรเทาอารมณ์อีโก้ได้มากกว่า บอกไม่ถูกว่าเพราะอะไร แต่ที่รู้แต่ๆคือ บุคลิกเปลี่ยน เวลาเราพูดอีสาน เราจะรู้สึก คึกคัก ห้าว แก่นแก้ว
ใช่เลย เราก็เป็นรู้สึกว่าไม่อยากพูดขอบคุณเป็นภาษาไทยไม่รู้เพราะอะไร แต่จะชอบพูดเป็นแต้งกิ้วอะไรงี้ มันรู้สึกพูดง่ายกว่าจริง ๆ
จริงมาก เวลาเราพูด ค่ะ รู้สึกฝืนๆตัวเองยังไงไม่รู้ แบบขอบคุณค่ะ แต่พอเป็นภาษาอื่นไม่มีคำสุภาพลงท้าย คะ ค่ะ พูดได้ลื่นปากกว่า ไม่รู้เป็นคนเดียวรึป่าว
@@wannadiesometimesผมเป็นด้วยครับพูดอังกฤษมันรู้สึกลื่นดว่ากับไทยที่มีหางเสียงรู้สึกติดๆขัดๆ
ใช่เลยครับ พูดภาษาญี่ปุ่นจะรู้สึกตัวเองถ่อมตัวแล้วถ่อมอีก จะรู้สึกเหมือนเป็นคนมีมารยาททันทีเลยครับ ถ้าพูดภาษาอีสานก็ม่วนกรุ๊ปเลยครับ หย่าวๆๆ
ตอนพูดอังกฤษ เหมือนตัวเองถูกตีกรอบให้พูดเสียงดัง ๆ ดูมั่นใจ
ตอนพูด ญี่ปุ่น ตัวเองจะคิดช้ากว่าภาษาอื่นทั้งหมดเพราะต้อง
คิดก่อนพูด แถมการส่งต่อหนักแน่นความรู้สึกมีความหนักแน่น
ภาษาไทย ตอนตัวเองพูดจะพูดเบาที่สุดจากทั้งหมด
จะเป็นคนที่ดูนิ่งมาก ๆ
แถมรู้สึกว่าตัวเองส่งต่อความรู้สึกได้ไม่ถนัด
ภาษามันสามารถเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อโลกได้จริงๆ ผมพูดได้สองภาษาซึ่งก็รู้เรื่องนี้ดีดลยละ
ความละเอียดที่แตกต่างทำให้คงามต่ำตมความความคิดผิดแปลกและแตกแยก
หรือกล่าวง่ายๆ ภาษาที่ละเอียดย่อมทำให้อารมณ์ละเอียดไปด้วย ส่วนภาษาที่ง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อน ก็จะแสดงให้เห็นถึงข้อผิดพลาดทางมุมมอยความคิด ที่บางครั้งอาจจะดีช่วยยกโทษให้กันได้ง่ายๆ หรือบางที่อาจจะหนักถึงขั้นฆ่ากันตายเพราะไม่เข้าใจกัน
นึกถึงตอนเรียนภาษาสเปนเลย จะมีประโยคหนึ่งที่เราชอบพูดบ่อย ๆ เวลาจะบอกลากันหรืออวยพร Que tengas un buen día = ขอให้เป็นวันที่ดีนะ แล้วเราก็ติดเอามาพูดกับคนไทย แต่พอพูดไปแล้วก็นึกขึ้นได้ว่ามันดูแปลก ๆ ยังไงก็ไม่รู้ แบบอยู่ดี ๆ ก็บอกว่า ขอให้เป็นวันที่ดีนะ 😅
ชอบจังเลยค่ะ ขอเอาไปใช้บ้างนะคะ
ตัวผมเองไม่เคยรู้สึกว่าการพูดในแต่ละภาษาที่แตกต่างมันจะทำให้บุคลิกเปลี่ยนไป จนกระทั้งเมื่อสองวันที่แล้วตอนผมไลฟ์สดอยู่ และ ได้พูดสื่อสารออกไปทั้งสองภาษา (ไทย,อังกฤษ(อเม)) และก็มีคนพูดถึงว่า บุคคิลเมื่อผมพูดทั้งสองภาษามันต่างกัน ไทยผมจะดูดุกว่า ในขณะที่เวลาพูดอังกฤษจะดูเฟรนลี่กว่า ตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้คิดอะไร จนกระทั่งได้มาฟังคลิปนี้ เลยพอเข้าใจเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน ขอบคุณครับ ❤❤❤
ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกและการใช้ภาษานั้น
ภาษาอังกฤษ🇬🇧 : รู้สึกตรงไปตรงมาแบบเป็นกันเอง กล้าเสี่ยง กล้าลอง มีความมั่นใจ (กล้าเป็นตัวเอง)
ภาษาไทย 🇹🇭: มีมารยาท ให้เกียรติกันเหมือนเครือญาติ พี่-น้อง มีหลายระดับและคำที่ใช้ต่างกันตามระดับ พูดอ้อม ๆ
ลาว-อีสาน 🇱🇦 : เฮฮา ไม่เครียด ง่าย ๆ สบาย ๆ ห้าว ๆ เป็นหนูน้อยจอมแก่น รู้สึกสนิทกันสูง พูดตรง ๆ ไม่อ้อมค้อม (รู้สึกชิว ๆ)
ภาษาจีน 🇨🇳 : ให้ความรู้สึกคล้ายภาษาไทย (บางประโยคเรียงคล้ายภาษาไทย จำง่ายดี) ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง แต่บางคำดุดันไม่เกรงใจใคร 😅 ตัวอักษรซับซ้อน เลยจำแต่พินอินแทน
ภาษาเกาหลี 🇰🇷 : เวลาออกเสียงน่ารัก ตัวอักษรอ่านง่าย (สะกดง่าย) มีความคล้ายจีน แต่รู้สึกเข้าถึงง่ายกว่าจีน
ภาษาญี่ปุ่น🇯🇵 : โค-ตะ-ระ น่ารักเลย ทั้งตัวอักษร ทั้งการออกเสียง ใช้ภาษานี้แล้วรู้สึกน่ารักตะมุตะมิอย่างบอกไม่ถูก ละมุนใจ~ แต่รู้สึกใส่ใจความรู้สึกคนอื่นมาก ๆ ยิ่งเราอ่อนน้อมอยู่แล้วยิ่งอ่อนน้อมกว่าเดิม อย่างการให้ของ-รับของ ต้องใช้ทั้งสองมือ จะทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นต้องขออนุญาตก่อน 😅 รู้สึกเป็นภาษาที่ทำให้เราเกรงใจคนอื่นมาก ๆ และใส่ใจคนอื่นสุด ๆ เวลาพูดต้องพูดเสียงเบา ๆ ด้วย 555 .... ขอจบการรีวิวแต่เพียงเท่านี้ 😊❤
อยู่ดี ๆ ก็นึกถึงภาษาของแต่ละภาคในไทยที่ให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันเลยค่ะ 💖ภาษา-ดนตรี-อาหาร💛
เรียนเยอะมาก(จำได้ด้วย😮🎉)
เก่งมาเลยพูดได้กี่ภาษาเนี้ย
จริงครับที่ว่าภาษามีผลต่อน้ำเสียงโทนในการพูด, ผมพูดได้ 7 ภาษา, ผมเพิ่งนึกคิดได้มาว่าเวลาผมพูดภาษาไทย น้ำเสียงของผมจะเข้าฟังไปทางดุ ฟังดูหยาบ และพูดเสียงดัง และเพื่อนๆผมก็ว่าอย่างนั้น ทั้งๆที่ตัวเองก็รู้สึกปกติดี, อาจเป็นเพราะผมอยู่กับแต่ภาษาอาหรับ และ ฝรั่งเศสด้วย ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาไทย.
สำหรับผมเเล้ว มีทั้งข้อดีและข้อเสีย และข้อเสียที่ว่า เช่น สับสนระหว่างหลายๆภาษาไปมาในขณะกำลังสนทนา ยิ่งไปกว่านั้นสนทนาใช้มากกว่า 1 ภาษาในเวลาเดียวกัน บางทีลืมศัพท์ในทุกภาษากระทั่งภาษาไทยเอง ก็ต้องติดชะงักครู่นึงไป555
ภาษาไทย… เหมือนมีเมโลดี้อยู่ในตัว ดูยังเวลาขับเสภาสิ(ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า)เพราะจะตาย😅 หรือลองเอาคำพูดว่า ‘ฉันรักคุณที่สุดในโลก‘ มาเป็นตัวโน้ตสิ ได้ทุกตัวโน๊ตเลย! มันอยู่ที่น้ำเสียงในการพูดมากกว่า! ภาษาที่ใครบอกว่าเพราะที่สุดในโลก ลองพูดด้วยน้ำเสียงที่ดุดัน โมโห! มันจะยังไพเราะอยู่อีกไหม!!?? คุณสมองดีมาก พูดได้ 7 ภาษา ไม่น่าสับสน เพราะคงไม่ได้ใช้7 ภาษาไปในวันเวลาเดียวกัน!!
@@despicablemikigirl what💀
@@ShamiShamiShami ขอโทษที่คะ! เราพูดภาษาไทยได้ภาษาเดียว!
@@despicablemikiฉันรู้💀
@@ShamiShamiShami รู้แล้วส่งภาษาอังกฤษมาทำห่าอะไรมิทราบ!! สมองดีนี!! น่าจะคิดได้!!!
เป็นคลิปที่สะท้อนให้เห็นได้ชัดเจนมาก ภาพประกอบก็ดีมากๆเลยค่ะ ความเห็นส่วนตัวตอนพูดเยอรมันด้วยความที่น้ำเสียงมันพาไป เลยรู้สึกได้ว่าแข็งกระด้างพอตัว พอมาพูดภาษาอังกฤษรู้สึกได้ถึงการเปิดใจกว้างกล้าพูดสื่อสาร, กล้าคิดและกล้าบอกความรู้สึกได้ชัดเจนมากกว่าภาษาไทยเพราะส่วนตัวคงเป็นคนที่คิดถึงความรู้สึกคนอื่นๆมากจึงทำให้คิดมากเวลาจะสื่อสารแต่ละครั้ง เสียดายที่ภาษาจีนยังได้แค่นิดหน่อยแต่ก็รู้สึกได้ถึงความเรียบง่ายอยู่บ้าง
ในภาษาไทย เวลามีข่าวเจอเด็กถูกทิ้ง นักข่าว ชอบเขียน "แม่ใจร้าย" และ คนเป็นผช.ก็ลอยตัว ไม่เคยเห็นเขียนว่า "พ่อใจร้าย ทิ้งแม่เด็กให้คลอดลูกเอง"
จริงครับ
ตอนใช้ภาษาอังกฤษรู้สึกกลายเป็นคนตรงๆ แรงๆ
แต่พอใช้ภาษาไทยมันแสดงออกถึงความรู้สึกได้ละเอียดอ่อนกว่ามาก
นอกจากนี้ยังมีภาษาในแถบป่าแอมาซอนในบราซิล ที่มีระบบการนับที่ไม่ซับซ้อน มีคำในการนับ คือ "ไม่มี", มีหนึ่งอัน", "มีหลายอัน" มีการค้นพบว่าผู้ใช้ภาษาขาดความสามารถการนับไป ไม่สามารถนับเลขได้ ไม่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ และ มีระบบความคิดที่ไม่ซับซ้อน
ภาษามันสามารถจะกำหนดความคิดของเราได้มากๆ Linguistics Determinsm
ส่วนตัวพูดได้ 4 ภาษา และกำลังเรียนภาษาที่5 แต่รู้สึกว่าบุคลิกไม่ได้เปลี่ยนมากเวลาเปลี่ยนภาษาที่พูด แต่ในบางภาษามันจะมีบางอย่างที่พูดแล้วไม่เขินอาย อย่างเช่นเวลาบอกรัก อวยพร หรือ ขอบคุณ หรือ ขอโทษ เวลาพูดเป็นภาษา เวียดนาม อังกฤษ หรือ สเปน รู้สึกว่าพูดง่ายกว่า แต่พอพูดเป็นภาษาแม่แล้วมันกระดากปากยังไงไม่รู้น่าจะเพราะวัฒนธรรมที่ ทำผิดไม่ค่อยขอโทษ ทำดีไม่ค่อยพูดขอบคุณ ที่แม้แต่การบอกรักเองก็ด้วย น่าจะซึมซับมาแต่พอแบบนั้น แต่พอพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาแม่จะรู้สึกว่า ไม่มีกรอบในเรื่องพวกนี้
ขอขอบคุณ
ขอบคุณมากนะครับ เป็นกำลังใจมากๆเลยครับ
คลิปนี้อธิบายได้ดีมากๆค่ะ ภาษาทำให้เราได้เจออะไรใหม่ไปทั้งแวดล้อม ความคิด ผู้คน ความประพฤติค่ะ เราได้ 2 ภาษา และกำลังเรียน รัสเซียเป็นที่ 3 การคุยกับลูกค้าในแต่ละชาติภาษา ก็ต่างกันมากเลยจริงๆค่ะ ทั้งนี่การเรียนภาษาก็จะต้องซึมซับวัฒนธรรมภาษานั่นๆมาด้วย
ตัวผมคิดว่าภาษามันส่งผลต่อพฤติกรรมจริงๆนะครับทุกครั้งเวลาผมเรียนภาษาอังกฤษคำที่กล่าวถึงสรรพนามเรียกบุคคลส่วนใหญ่มันจะเป็นการต่อยอดมาจากคำว่าheหมดเลยไม่ว่าจะเป็นคำว่า s he T he y T he m ก็มีคำว่าhe เป็นส่วนประกอบมันทำให้ผมรู้สึกอึดอัดมากเพราะว่าทุกอย่างนั้นถูกเกี่ยวข้องกับheหมดเลยซึ่งเป็นผู้ชายทำให้เหมือนกับว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งมันทำให้ผมรู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคยนักเพราะว่าภาษาไทยมีคำสรรพนามที่ไม่เจาะจงระหว่างเพศแถม แล้วอีกอย่างคำว่าผู้ชายในภาษาอังกฤษคือmen ส่วนผู้หญิงก็คือ wo men มันทำให้ผมค่อนข้างอึดอัดเพราะว่ารู้สึกเหมือนว่าผู้ชายคือจุดเริ่มต้นของทุกคำเลยเพราะว่าในภาษาไทยเราคำแยกเพศที่ชัดเจนแล้วก็ไม่ได้ถูกต่อยอดมาจากเพศใดเพศหนึ่งขนาดคำว่าผู้หญิงตัวอักษร ญ ยังมีชื่อว่าญหญิงเลยแต่ว่าในภาษาอังกฤษคำว่าผู้หญิงกับถูกต่อมาจากผู้ชายในการใส่คำว่าwoซะอย่างนั้น ไม่รู้ว่าผมคิดมากไปเองหรือเปล่าแต่ผมว่ามันน่าจะเกี่ยวกับศาสนาด้วยเพราะว่าศาสนาคริสต์เชื่อว่าผู้หญิงเกิดมาจากกระดูกซี่โครงของผู้ชายและอย่าลืมว่าในยุโรปเนี่ยหลายประเทศนับถือศาสนาคริสต์กันซะเยอะอาจจะส่งผลต่อภาษาด้วยคำว่าผู้หญิงแล้วก็คำอื่นๆก็เลยถูกต่อยอดมาจากคำเรียกผู้ชายแต่ว่านั่นแหละครับผมก็รู้สึกไม่ค่อยชินอยู่ดีเพราะว่าตามหลักศาสนาพุทธมันไม่มีความเชื่อแบบนี้ ใครมีความคิดเห็นอื่นมาช่วยแชร์กันหน่อยนะครับผมก็อยากรู้เหมือนกันผมว่าคลิปนี้มีประโยชน์มากเลยมันทำให้ผมกลับมาฉุกคิดเสมอตอนที่ผมเรียนภาษาผมรู้สึกว่าตอนนี้ผมใช้ภาษาอังกฤษผมจะใช้ภาษาที่สุภาพน้อยลงเพราะว่าเวลาที่ผมใช้ภาษาไทยผมมักจะเติมครับอยู่เสมอและใช้สรรพนามเรียกผู้คนตามระดับแต่พอใช้ภาษาอังกฤษแล้วมันไม่มีระดับมันทำให้ผมรู้สึกเหมือนว่าเรียกทุกคนอย่างใกล้ชิดจนบางครั้งก็ทำให้รู้สึกไม่ชินเหมือนกันครับ
ข้าฝ่าละอองธุลีพระบาทล่ะ ให้ความรู้สึกอย่างไร ?
@@Diaratia ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้ใช้คำนั้นก็เลยรู้สึกอึดอัดแปลกๆ
จริง++ เวลาใช้ภาษาอังกฤษจะคุยกับคนโตกว่า เด็กกว่า มันดูไม่ต้องคิดอะไรเยอะ ไม่ต้องเลี่ยงใข้คำบางคำ แค่เป็นการสื่อสารเฉยๆ ลองสลับมาภาษาไทย ต้องเรียกพี่ เรียกน้อง ต้องครับค่ะ เราเลยคิดว่าสิ่งนี้ทำให้คนไทยถูกมองว่าเป็นคนใจดี นุ่มนวล มีสัมมาคารวะในสายตาต่างชาติเพราะมันเริ่มปลูกฝังมาตั้งแต่มุมมองภาษาแล้ว
เราเน้นวรรณะชนชั้นความแตกต่างทางความสัมพันธ์และวัย ตามรากภาษาที่ผ่านมาทางพุทธอีกที eg คติเรื่องทิศหก และส่วนผสมภาษาอื่นๆ
มีเรื่อง tense ของคนยุโรปด้วยค่ะ ที่ทำให้คนยุโรปค่อนข้างใส่ใจกับเวลามากๆ ส่วนหนึ่งมาจากที่เขาจะต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อทำเกษตร/เก็บอาหารไว้ในฤดูหนาว แต่อีกส่วนก็มาจากเรื่องของภาษา ที่มีการใช้ tense ในการบอกเวลา ทำให้เวลาจะพูดหรือคิดอะไร เขาต้องคำนึงถึงเวลา/ลำดับเหตุการณ์ด้วย
การใช้ภาษาก็มีผลต่อกระบวนการเข้าใจของมนุษย์ เช่น คนจีน/คนญี่ปุ่น ถ้าอ่านตารางเวลาจากบนลงล่าง จะทำความเข้าใจง่ายกว่าการอ่านจากซ้ายไปจวาในแนวนอน กลับกัน ยาวยุโรปจะทำความเข้าใจตารางเวลาจากซ้ายไปขวาได้ง่ายกว่า ที่เป็นแบบนี้เพราะเมื่อนกาอนในภาษาจีน การบอกเวลาก่อนหรือหลัง จะบอกแบบทิศบนหรือล่างค่ะ ทิศบนคือลำดับเวลาที่เกิดก่อน แต่คนยุโรปจะบอกลำดับเวลาแบบหน้าหรือหลัง ข้างหน้าคือนาคต ข้างหลังคืออดีต (อันนี้อ่ายมาจากบทความนึง นานมากแล้วนะคะ ผิดตรงไหนชี้แจงได้ค่ะ)
เรื่องคำศัพท์ก็มีส่วน ถ้าอยากรู้ว่าสังคมไหนให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร ให้ดูว่าในสังคมนั้นๆมีคำศัพท์ประเภทไหนเยอะ เช่นคนที่อยู่ขั้วโลกเหนือ เขามีคำศัพท์สำหรับคำว่าหิมะเกือบร้อยๆคำ และมีคำที่ใช้เรียนสีขาวหลายเฉดมาก หรือของไทยเอง สังเกตได้ว่าเมื่อก่อนมีคำศัพท์เกี่ยวกับราชวงศ์เยอะมาก หรือแม้กระทั่งกรีกโบราณ ที่มีกสรนิยามความรู้สึก/หรือจารีตที่ละเอียดกว่าภาษาอังกฤษมากๆ ก็เป็นเพราะข่วงที่อารยธรรมกรีกรุ่งเรือง เป็นช่วงที่มนุษย์หันมาให้ความสนใจกับความสามารถของมนุษย์ ศึกษาทั้งความรู้สึก/ปรัชญา/ความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งต่างๆ จนพัฒนาไปเป็นความรู้ที่ยางนานมาถึงปัจจุบัน
มันเหมือนกับว่าแค่บางประโยคถ้าลองเรียงคำใหม่เปลี่ยนคำบางคำความรู้สึกเปลี่ยนเลยทั้งๆความหมายก็คล้ายๆกัน ซึ่งเจอบ่อยในการพูดแบบจิตวิทยา🧐 เช่น "ทำไมคุณทำแบบนี้ตลอดเลย"ความรู้สึกมันเหมือนกับว่ามันเป็นแบบนั้นมาตลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นทุกครั้งหรือแค่นานๆครั้งถ้าใช้กับเรื่องที่คนๆนั้นทำผิดพลาดก็อาจจะมีปากเสียงกันหรือน้อยใจง่ายๆเลย แต่ถ้าลองเปลี่ยนลองมาแยกเวลาดูแล้วพูดว่า"ทำไมวันนี้คุณทำแบบนี้" หืมมมมม ต่างกันชัดเจนไหมครับ รู้สึกยังไงกัน😂 อันนี้พอใช้ได้รึเปล่า
ต่างกันสุด ๆ เลยครับ
จริงมาก ๆ เลยค่ะ ให้ความรู้สึกต่างกันเลย
ภาษาไทย..เหมือนมีเมโลดี้อยู่ในตัว ดูอย่างเวลาขับเสภา(ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่า) เหมือนมีดนตรี เพราะจะตาย!😅 ลองเอาคำพูด ’ฉันรักคุณที่สุดในโลก‘ มาเป็นตัวโน้ตสิ ได้ทุกตัวโน้ตเลย! มันอยู่ที่น้ำเสียงของคำพูดต่างหาก! ภาษาที่ใครว่าเพราะที่สุดในโลก ลองพูดด้วยน้ำเสียงดุดัน โมโห! มันจะยังเพราะอยู่อีกไหม!!??
ฮือออ ขอบคุณนะคะ มีกลจในการฝึกภาษาเลยค่ะ❤❤
เอาแค่ว่า 🇹🇭พูดภาษาไทย แต่อีกสำเนียงนึง ก็เหมือนจะเปลี่ยนบุคคลิกได้เลยล่ะครับ อย่างสำเนียงกลางผมจะสุภาพกว่า ถ้าไปสำเนียงสุโขทัยก็จะดูห่ามๆ กว่า โผงผางกว่า...
หรืออย่างภาษาอังกฤษถ้าสำเนียง🇺🇲 US แม้ไม่ค่อยถนัด แต่ผมจะออกชิลๆ กว่า ถ้าพูด🇬🇧 UK จะรู้สึกหัวแข็ง แต่เอาจริงๆ ก็ใช้ UK เป็นสำเนียงหลัก
🇲🇲ภาษาพม่า นิสัยจะออกคล้ายๆ สำเนียงสุโขทัย คือ โผงผางกว่า แต่มันคุยสนุกเหมือนสำเนียงสุโขทัย หรือจังหวะการตบมุกมันจะตลกกว่า
ภาษาอาหรับ ในส่วนนี้ผมใช้ในการศาสนา เวลาขอพรจากพระเจ้า ด้วยภาษาไทยกับภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับจะลึกซึ้งกว่า สุภาพอ่อนน้อมมากกว่า มันจะต่างกับภาษาอาหรับที่คุยกันชีวิตประจำวันที่ออกจะดูโผงผางหน่อย แต่ถ้าเป็นศัพท์ที่ใช้ในการศาสนาจะอ่อนน้อมเป็นพิเศษ
แต่สำหรับผมแล้วตัวตนหลักๆ มันมาจากความคิด และสภาพแวดล้อม แม้แต่สังคมที่เราอยู่การเลือกคบคนนี่มีผลมหาศาลมากกว่าครับ ที่หล่อหลอมตัวตนของเรา แต่ทฤษฎีภาษามันจะส่งผลต่อระบบการคิด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ซึ่งอาจะเหมือนกันแต่ต่างกันที่วิธีการ อย่างภาษากับระบบการนับเลขนั่นแหละครับ ภาษาจีนได้เปรียบสุดๆ
ใดใดคือคลิปดีมากเลยนะครับ 😊 ทั้งเนื้อหา กราฟฟิก สคริปต์ เสียงบรรยาย ดูดี ฟังลื่น มีประโยชน์มากๆ เลย เป็นกำลังใจให้นะครับ ❤❤❤
ขอบคุณมากนะครับ ได้ๆกำลังใจมากๆเลย เเล้วจะทำให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆนะครับ
ภาษาอีสานจ้า สนุกสุดๆ
ขอบคุณสำหรับความตั้งใจทำคลิปให้พวกเราชมกันนะคะ มีประโยชน์และสร้างสรรค์มากๆค่ะ
เรียนภาษาช่วยเรื่องการเรียบเรียงความคิดจริงๆ
ชอบคลิปแบบนี้มากๆเลยค่ะ ได้ความรู้ภาพประกอบก็น่ารักและอธิบายถึงเนื้อหาได้ดีมาก ทำคลิปแบบนี้ออกมาอีกนะคะ 😊🩷
สังคมวัฒนธรรมที่มีระดับวรรณะ การใช้ภาษาก็จะสะท้อนถึงชนชั้น
❤สุดยอด ขอบคุณสำหรับความรู้แบบนี้ครับ ชอบมากๆเลย ☺️🙏🏻
เสียงพากย์น่าฟังมากครับ เลิฟๆ
ผมได้ 4 ภาษาแต่ก็ไม่ได้รู้สึกแตกต่างอาจจะเพราะผมเป็น introvert นิสัยผมจะเปลี่ยนไปกับคนรอบข้างมากกว่า ไม่เกี่ยวกับภาษา
ขอบคุณค่ะ ไม่เคยนึกเรื่องนี้เลย
ภาษาไทยรู้สึกว่า มีความใกล้ชิดเพราะว่าเราจะเรียกคนไม่รู้จักว่าพี่ ป้า ลุง น้า ตา ยาย มีความเข้าถึงมากกว่า เวลาพูดภาษาไทยรู้สึกว่าต้องพูดเสียงเบาๆ เพราะว่าจะรู้สึกอ่อนน้อม
แต่ว่าพอเรียนภาษาเยอรมัน ครูและเพื่อนๆบอกตลอดว่าให้พูดดังๆชัดถ้อยชัดคำเพราะไม่งั้นฟังไม่เข้าใจ ภาษาก็เป็นอีกส่วนที่กำหนดความนึกคิด มุมมองเเละลักษณะของเรา แต่พอเราเรียนหลายๆภาษามันรู้สึกเปิดโลกในตัวเราและมองโลกได้หลายมุม 😄
สุดยอดเลย ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันนะครับ
ขอบคุณครับ
อังกฤษ ไทย รัสเชีย เยอรมัน ญี่ปุ่น ตอนนี้ผมจะเป็นบ้าแล้วครับ
55555
เป็นบ้าไปด้วยกันค่ะ ไม่สิ ไบโพล่าทางอารมณ์556666555
เหมือนเคยฟังใน Ted Talk เลยครับ 😂😂😂
ตอนพูดภาษาอังกฤษรู้สึกมั่นใจดูแบบมั่นๆตรงๆแต่ยังพูดแบบสุภาพได้
ภาษาจีนรู้สึกห้วนๆตรงๆไม่มีคะค่ะเหมือนไทย พูดแล้วต้องออกเสียงชัดหน่อยเลยดูห้วนตะโกนไปอีกกันเองมากก
คำพูดคือนายของเรา ท่าจะจริง
ตอนไปอบรมนานาชาติที่จีน
คนจีน อินโด มาเล บอกว่าคนไทยพูดช้านุ่มนิ่ม เวลาคนไทยคุยกันเหมือนกระซิบตลอดเวลา ในขณะที่ภาษาจีนจะรู้สึกโอ่อ่า ฮึกเหิม
ช่องดีมาก ทำไมเพิ่งมาเจอ
พึ่งมาเจอเหมือนกันค่ะ ดีใจที่ได้เจอช่องนี้ 😊❤
แล้วถ้าทั้งโลกมีภาษาเดียว ความหลากหลายก็จะหายไป มันดีไม่ดีนิ
ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสีย ผมเชียร์ให้ความหลากหลายยังคงอยู่ครับ ไม่งั้นน่าเบื่อแย่
ฝึกพูดอังกฤษแล้วเครียดค่ะ😂
5555555
สาระดี
ภาษาไทยที่ไหลไปได้ตลอด คำใหม่ๆมาตลอด😅
คอนเท้นเนื้อหาเเละการนำเสนอดีเข้าใจง่าย ได้สาระ ดีจนต้องกดไลค์ ดีจนต้องเเชร์ และกดsubเลยทีเดียว❤
ขอบคุณมากครับผม
พอผมพูดรัสเซีย มันทำให้ผมกล้าทำหลายๆ อย่างมากๆ 😁
fact:ภาษา scots มีคำอธิบายของหิมะหรือเกี่ยวข้องกับหิมะถึง 421 คำ
ผมพูดได้2ภาษาคือ ไทย กับ ลาว(อีสาน) รู้สึกว่ามันแทบไม่แตกต่างกันเลย แต่ในภาษาอีสานจะมีการอธิบายเฉดสีได้ละเอียดกว่าภาษากลาง เช่น ดำขื่อหลื่อ แดงจ่ายหว่าย 😂😂😂
ส่วนตัวผมรู้สึกว่าภาษาลาวดูใกล้ชิดกว่าภาษาไทย อาจเป็นเพราะstereotypeของคนใช้ภาษาด้วย
คิดว่าพูดอิสานแล้วจะคุยง่ายกันเองถ่อมตน แต่พอพูดภาษากลางจะเมินๆเชิดๆ
เว้าอิสานคือสิม่วนเด้
แล้วภาษา เขมร ละครับ
Now l'm ok i can speek thai chani myanmar shan and english😢
อนาคตมาพูดภาษา kongkadoo กันนะ
❤
,🇱🇦🇹🇭
ความเจริญ ความเป็นอยู่ที่ดีมันสะท้อนความเจริญทางวัฒนธรรมและได้รับผลมาจากภาษา แล้วก็ถามคำถามเดิมๆกัน"เมื่อไรประเทศไทยจะเจริญ"🤣🤣🤣
เรียนภาษาเยอรมันอยู่ยังไม่ค่อยรู้เลยแต่ถ้าเรียนไปเยอะๆน่าจะรู้ว่ามันมีผลไหม😂😂
ช่วงนี้คุยกับคนเยอะมีความสงสัยเรื่องนี้ขึ้นมานาน เสิร์ชก็ยังไม่เจอที่ตรงกับในหัวคลิปนี้คือใช่เลยค่ะ