ฎีกา InTrend Ep.91 การที่ผู้รับจำนองจดทะเบียนโอนที่ดินที่จำนองเป็นของตนโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจ...

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 15 сен 2024
  • ฎีกา InTrend Ep.91 การที่ผู้รับจำนองจดทะเบียนโอนที่ดินที่จำนองเป็นของตนโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ทำไว้ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : วิญญู พิชัย,สรวิศ ลิมปรังษี,ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์,กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การที่จำนองทรัพย์สินไว้เป็นประกันนั้นกฎหมายได้กำหนดวิธีการบังคับจำนองกรณีที่ผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ไว้ โดยได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้เพื่อคุ้มครองรักษาสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องไว้โดยไม่ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบจนเกินควร โดยเฉพาะจากทางฝ่ายเจ้าหนี้ที่มีอำนาจต่อรองมากกว่าซึ่งอาจใช้อำนาจต่อรองจากความจำเป็นของลูกหนี้เป็นเครื่องมือในการให้ผู้จำนองต้องยอมรับภาระบางอย่างมากขึ้น ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ผู้รับจำนองจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของตนโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่ผู้จำนองทำให้ไว้จะถือว่าทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    นางศรีต้องการซื้อที่ดินแปลงหนึ่งแต่ไม่มีเงินไปจ่ายค่าที่ดินแปลงดังกล่าว นางศรีจึงได้ขอกู้ยืมเงินจำนวน 800,000 บาท ตามราคาที่ดินจากนางสวย โดยเมื่อได้เงินกู้แล้วนางศรีได้นำเงินดังกล่าวไปชำระเป็นค่าที่ดินให้แก่ผู้ขาย ในวันเดียวกับที่จดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวมาเป็นของนางศรี นางศรีได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกันแก่นางสวยด้วย นางสวยให้นางศรีลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้นางสวยสามารถจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของตนได้หากนางศรีผิดนัดชำระหนี้เงินกู้
    ต่อมานางสวยอ้างว่านางศรีผิดนัดชำระหนี้จึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวมาเป็นของนางสวยเอง แต่นางศรีอ้างว่าตนได้ชำระหนี้ให้แก่นางสวยเกินกว่าหนี้ที่กู้ แต่นางสวยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดทำให้คิดแล้วมีหนี้เงินกู้ค้างชำระอยู่อีก การที่นางสวยโอนที่ดินแปลงดังกล่าวไปเป็นชื่อของนางสวยจึงเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย นางศรีจึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินแปลงดังกล่าวที่โอนไปเป็นชื่อนางสวย
    กรณีที่ผู้รับจำนองจะเอาทรัพย์จำนองมาเป็นของตนกรณีที่มีการผิดนัดชำระหนี้นั้นความจริงแล้วกฎหมายได้กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 729 ในกรณีการเอาทรัพย์หลุดเป็นสิทธิ แต่ต้องฟ้องร้องต่อศาลและต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ขาดส่งดอกเบี้ยมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และราคาทรัพย์น้อยกว่าหนี้จำนองที่ค้าง
    แต่กรณีนี้นางสวยไม่ได้ดำเนินการบังคับจำนองด้วยวิธีการดังกล่าว แต่อาศัยการตกลงที่ทำไว้ในขณะทำสัญญาจำนองและหนังสือมอบอำนาจที่นางศรีทำไว้ให้ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินมาเป็นของตน จึงทำให้มีปัญหาว่าการตกลงและการดำเนินการดังกล่าวสามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
    ในการบังคับจำนองนี้ กฎหมายได้กำหนดไว้ในมาตรา 711 ว่าข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่ก่อนหนี้ถึงกำหนดว่าถ้าไม่ชำระหนี้แล้วให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์จำนองหรือจัดการทรัพย์สินให้แตกต่างจากวิธีการบังคับจำนองที่กฎหมายกำหนดไว้ถือว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
    นอกจากนั้นในมาตรา 714/1 ยังได้กำหนดไว้ด้วยข้อตกลงที่ให้การบังคับจำนองแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้บทบัญญัติเรื่องการบังคับจำนองเช่นกรณีการจะเอาทรัพย์หลุดเป็นสิทธิให้ถือว่าเป็นข้อตกลงที่เป็นโมฆะด้วย
    กรณีระหว่างนางศรีกับนางสวยนี้จึงเห็นได้ว่าการที่นางสวนไปดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์จำนองมาเป็นของตนเป็นไปตามข้อตกลงที่ทำไว้ตั้งแต่ทำสัญญาจำนอง โดยมีการทำหนังสือมอบอำนาจให้นางสวยไว้ด้วยเพื่อให้ใช้ในการจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของนางสวย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อมาตรา 711 ข้างต้น เพราะเป็นการตกลงตั้งแต่ก่อนถึงกำหนดชำระหนี้ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์กรณีไม่มีการชำระหนี้ ข้อตกลงนี้จึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
    นอกจากนั้น การตกลงลักษณะดังกล่าวยังถือเป็นการตกลงกำหนดวิธีการบังคับจำนองให้แตกต่างจากวิธีการบังคับจำนองที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะในเรื่องการเอาทรัพย์หลุดเป็นสิทธิซึ่งมาตรา 714/1 กำหนดให้การตกลงลักษณะนี้เป็นโมฆะด้วย เมื่อข้อตกลงระหว่างนางศรีและนางสวยที่ให้โอนที่ดินเป็นของนางสวยเมื่อมีการชำระหนี้ให้ครบถ้วนไม่สมบูรณ์และตกเป็นโมฆะตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว การจดทะเบียนโอนที่ดินเป็นของตนของนางสวยจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย นางศรีจึงอาจของเพิกถอนการจดทะเบียนโอนดังกล่าวได้
    กรณีนี้จึงอาจสรุปได้ว่าการตกลงให้ผู้รับจำนองมีสิทธิจดทะเบียนโอนทรัพย์จำนองเป็นของตนหากมีการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องเป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายและเป็นข้อตกลงที่เป็นโมฆะ หากมีการจดทะเบียนโอนไปย่อมอาจถูกเพิกถอนได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2564)

Комментарии • 1