Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
1. แม่ศรีเรือน (แม่-สี-เรือน) ความหมายคือ การกระทำทุกอย่างที่แสดงถึงความเป็นผู้หญิงที่พร้อมแต่งเข้าไปเป็นแม่บ้าน ที่มีสกิลอันน่าทึ่งเช่น ทำงานบ้าน, ทำกับข้าว, เลี้ยงเด็ก (เพราะสกิลเหล่านี้ล้วนเป็นสกิลติดตัวแม่บ้านแบบ Full Time) เป็นคำความหมายเชิงบวก ใช้เป็นคำชม ปัจจุบันใช้ชมได้ทุกเพศที่ ทำกับข้าวเก่ง ทำงานบ้านได้เนี๊ยบเว่อ2. ถ้าใช้คำอังกฤษว่า "มัน touch" น่าจะใช้คำไทยว่า "ซาบซึ้ง" ได้3. ไม่มีคำแทนเป็นเรื่องเป็นราว ใช้ประเภทคำ "ต๊าซซซซ, จึ้งงงง, ปังมากกก" น่าจะได้อยู่นะ4. มารยาทและกาลเทศะ เป็นสองคำที่มักพูดด้วยกันค่ะ สื่อได้ตรงๆกับคำว่า kuuki wo yomu เลย
ขอบคุณมากครับสำหรับคำอธิบายอย่างละเอียด เข้าใจดีขึ้นครับ
พายุอธิบายเก่งมาก1. ความเป็นผู้หญิงสูง หรือผู้ยิ๊งผู้หญิง เช่น "เธอเนี้ยผู้ยิ๊งผู้หญิง" 2. อารมณ์อ่อนไหว, sensitive3. .....คือที่สุด เช่น ผักชีคือที่สุด4. อ่านบรรยากาศไม่ออก, ไม่มีมารยาท, ไม่รู้จักกาลเทศะ, ไม่รู้เหนือรู้ใต้, ไม่รู้ห่าเหว อันนี้แล้วแต่สถานการณ์และวัยผู้พูด5. ในไทยมีเยอะครับพวกการลดคำเวลาพูดยาวๆ ในไทย เช่น มงลง คือ มงกุฎต้องลง(การประกวดนางงาม) แน่นอนว่าคงต่างชาติไม่เข้าใจ
คิดว่าคำแรกจากที่ฟังจากตัวอย่างน่าจะแปลเป็นไทยได้ว่า แม่ศรีเรือน แม่บ้านแม่เรือน กุลสตรี นะคะ เช่น มีความเป็นแม่ศรีเรือน มีความเป็นเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีความเป็นกุลสตรี แต่คำว่ากุลสตรีจะใช้กับผู้หญิงที่ประพฤติตัวดี เรียบร้อย แต่แม่ศรีเรือนกับแม่บ้านแม่เรือนจะใช้กับผู้หญิงที่เก่งงานบ้าน เก่งการทำอาหาร น่าจะประมาณนี้นะคะ😊😊
อ๋อ ขอบคุณมากครับ เข้าใจดีขึ้นครับ
1.แม่ศรีเรือน (อ่านว่า แม่-สี-เรือน)2. กินใจ หรือ โดนใจ3. 🤷🏻♀️4. กาลเทศะ เช่น จะพูดอะไรก็รู้จักกาลเทศะด้วย คุณพายุพูดภาษาไทยเก่งมากจริงๆ respect!
พายุ พูดๆไทยเก่งขึ้นทุกวันเลย
1. ประมาณ แม่บ้านแม่เรือน ,แม่ศรีเรือน คือคนที่เก่งงานบ้านงานเรือน ทำอาหารเก่งทำกับข้าวเก่ง2,3.ไม่เขาใจ4.ตามที่คุณพายุเข้าใจเลยค่ะ แต่ถ้ามากเกินไปก็จะกลายเป็นคนไม่มีมารยาทและกาลเทศะค่ะ 5.ประมาณ ตามเทรนด์,อินเทรนด์,ตามกระแส หรือปัจจุบันคือ ถ้าไม่...จะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง
ในความคิดผมนะ1.ผู้หญิ๊งผู้หญิง2.เซ็นท์สิทีฟ3.ตามที่พายุพูดแหละครับ4.ในไทยคงจะแบบว่า ดูสีหน้า ไม่ก้อ ดูบรรยากาศ(อากาศ)5.ภาษาไทยคงไม่มีคนเอาคำมาย่อ ตามนั้นเลยครับ
ชอบคอนเทนต์ประมาณนี้มาก ๆ ค่ะคุณพายุ ได้เรียนรู้ทั้งศัพท์ทั้งมุมมองของทั้งสองประเทศดีค่ะบางคำก็มีที่เราใช้กันอะ แบบ "พลังหญิง" (ตรงตัว) หมายถึงแบบผู้หญิงเราเก่ง ทำไรก็ได้อย่ามาดูถูกว่าเป็นผู้หญิง แต่ถ้าในความหมายที่คุณพายุว่า ภาษาไทยเราจะแบบ "แม่ศรีเรือน" "แม่บ้านแม่เรือน"ถ้าสำหรับผู้ชาย จะชมแบบ "แมนมาก" เช่นว่ายกของหนักให้ ฆ่าแมลงสาบให้อะค่ะ (แน่นอนว่า อิฉันที่ตบแมลงสาบตายในหนึ่งกระบวนท่า ก็ได้รับคำชมว่าแมนบ้างเช่นกัน -_-)emoi ใกล้สุดคงแบบ อ่อนไหว หวั่นไหว แต่ก็ไม่ตรงซะทีเดียว...shikakatan อันนี้เรามีใช้ละ แบบ "ยูทูปเบอร์หรอ พายุชนะเลิศศศศศศ" ไรงิอะค่ะkuuki wo yomu ไทยมีดูบรรยากาศจริง ๆ แหละ ถ้าไปตามร้านอาหารหรือคาเฟ่ปกติมนุษย์ก็สั่งกันคนละอย่างสองอย่าง น้ำสักแก้วไรงิ ใครไม่สั่งก็ไม่มีใครว่า แต่อาจโดนเก็บมานินทานะคะ 55 แต่ถ้าตามโรงอาหารหรือฟู้ดคอร์ทก็อีกเรื่องส่วน tapiru ตอนนี้มันไม่ใช่เครื่องดื่มละค่ะ มันกลายเป็นไลฟ์สไตล์ตามกาแฟแล้วค่า 555+
ตามไอดอลเจอชิกะคาตันบ่อยสุดๆ ครับ
มีพลังผู้หญิงสูง น่าจะเป็นคำว่า มีความเป็นผู้หญิงสูง, มีความเป็นกุลสตรี(สูง)
อ่านสถาณการณ์ออก/ไม่ออก คำนี้คนไทยก็ใช้ค่ะ แต่อย่างพายุว่า คนไทยไม่ค่อยแคร์สายตาคนอื่นเท่ากับคนญี่ปุ่น
คอนเท้นนี้ดีมากค่ะ ทำให้เราที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ได้ประโยชน์ไปด้วย ขอบคุณค่ะ รอคลิปต่อๆไปนะคะ!
ลองไปค้นคำว่า emoi พบกว่ามันคือการสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกหลายอย่างพร้อมกันอย่างอธิบายไม่ถูกแปลภาษาไทยน่าจะเป็น เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก (อาจจะบวกหรือลบปนกันแบบไหนก็ได้)คำใกล้เคียงภาษาไทย เมื่อเทียบกับสถานการณ์ น่าจะเป็นคำว่า "โดน" (ย่อจากโดนใจ) เช่น เพลงนี้โดน แต่ความหมายไม่กว้างเท่า emoi
1. แม่ศรีเรือน4. คนไทยชอบบอกว่าไม่ต้องแคร์คนอื่นเกินไป แคร์แค่คนในครอบครัวกับคนที่สำคัญก็พอค่ะ เพราะทุกคนเกิดมามีความแตกต่างกัน มีความคิดไม่เหมือนกันจึงไม่ควรทำตามคนอื่น
ผมอยากให้พี่พายุทำ reaction ของคนญี่ปุ่นเมื่อเห็นฮีโร่ไทยหน่อยครับอย่างลูกผู้ชายพันธุ์ดี อินทรีแดง สปอร์ตเรนเจอร์
女子カ ในภาษาไทยคือคำว่า ความเป็นผู้หญิงแต่ปรกติคนไทยจะไม่พูดแบบญี่ปุ่นคับ และความหมายสำหรับคนไทยไม่ชัดเจนต้องขยายประโยคเพิ่มคับ
สำนวน 空気を読む (くうきをよむ)สำนวน 空気を読める
แม่บ้านทำอาหารเก่ง เรียกว่า มีเสน่ห์ปลายจวัก คำว่า แม่ศรีเรือน คือเป็นแม่บ้านที่เก่งรอบด้านทั้งทำอาหารเก่ง ทำงานบ้านเก่ง เลี้ยงลูกเก่ง มากกว่า ส่วนคำว่า กุลสตรี คือ ผู้หญิงที่วางตัวดี เรียบร้อย ใช้ได้ทั้งคนที่ยังไม่แต่งงาน หรือแต่งงานแล้วก็ได้ค่ะ
คุณพายุใช้ภาษาไทยในการอธิบายได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ👍
emoi = อ่อนไหว หรือ เซนซิทีฟ(ตามภาษาอังกฤษ)
คำที่ 1 ในไทยน่าจะเป็น แม่ศรีเรือน รึปล่าวนะ ถ้าฟังจากตัวอย่าง😅
คิดเหมือนกันเลยค่ะ พอฟังตัวอย่างจบปุ๊บ วลีที่เข้ามาในหัวคือ "แม่บ้านแม่ศรีเรือน"55555
เพิ่งรู้ครับ ขอบคุณครับ
06:03
2. เล่น(กับ)ความรู้สึก3. ยืนหนึ่งมั้งครับ 555
空気読めない ー> ไม่(รู้/ดู)สี่(รู้/ดู)แปดเป็นคำเพี้ยนเสียงมากจากคำที่หยาบมากจนผมก็ไม่กล้าเขียน เอาเป็นว่าไปถามเพื่อนคนไทยดูครับ wwwwwwwwww
1 แม่ศรีเรือน2 กินใจ3 ไทยกลางไม่มี แต่ถ้าภาษาอีสานบ้านผมจะตรงกับคำว่า “คัก”4 กาลเทศะ
ผมว่าภาษาไทย แปลได้หมดนะครับ เพียงแต่ไม่ได้ใช้เท่านั้นเอง
คำแรก jyoshiryoku “พลังผู้หญิง”มีเพื่อนๆ หลายคนโพสต์ไปแล้ว คำที่ตรงที่สุดน่าจะเป็น “แม่บ้านแม่เรือน” หมายถึงคุณสมบัติของผู้หญิงในการจัดการงานในบ้าน ดูแลบ้าน ทำอาหาร ปกครองบ้านเรือน ผู้หญิงคนไหนมีคุณสมบัติแบบนี้ก็จะบอกว่าเธอมีความเป็นแม่บ้านแม่เรือน เพราะเอางานบ้านงานเรือน ไม่ปล่อยปละละเลยในภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำว่า พลังผู้ชาย ไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ เพราะในสังคมญี่ปุ่นก็คงจะเหมือนสังคมของประเทศในเอเชียทั่วไป ที่มักจะแยกหน้าที่ว่า งานในบ้าน ดูแลบ้าน ดูแลเรื่องเสื้อผ้าอาหาร เป็นงานของฝ่ายหญิง/ภรรยา/แม่บ้าน งานในบ้านจึงเป็นพลังผู้หญิง ไม่ใช่พลังผู้ชาย สำหรับประเทศไทยเปลี่ยนไปมาก และภาษาไทยก็มีคำมีความหมายถึงพลังผู้ชายด้วย คือ แค่เปลี่ยนคำจากแม่เป็นพ่อ (พ่อบ้านพ่อเรือน) เพราะผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น บางครอบครัวผู้ชายรับผิดชอบงานบ้าน ทำอาหาร ดีกว่าผู้หญิงเสียอีก ฝ่ายหญิงก็เลยยกย่องฝ่ายชายว่าเป็นพ่อบ้านพ่อเรือนได้เหมือนกัน 55คำที่สอง emoi ฟังเหมือนใช้กับอารมณ์เศร้าๆ คำไทยคำเดียวความหมายกว้างหมดเหมือนคำนี้ยังนึกไม่ออกค่ะ ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่า แต่ถ้าใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปเลย emotional ก็อาจจะได้ความหมายกว้างเหมือนกับ emoi ภาษาไทยจะมีคำที่ใช้ไปตามอารมณ์ ความรู้สึก ตามเรื่อง เช่น รู้สึกเศร้า เศร้าใจ ใจหาย สะเทือนอารมณ์ สะท้อนใจ คิดถึง อาลัย หดหู่ สลดใจคำที่สาม shikakatan ไม่แน่ใจว่าใช้คำว่า “ยืนหนึ่ง” ได้หรือเปล่า ยืนหนึ่ง (ยืนเป็นที่ 1, โดดเด่น) เป็นคำสแลง ตัวอย่าง เช่น ความพยายามในการเรียนภาษาไทยของน้องพายุนี่ยืนหนึ่ง คือมีความพยายามมาก ไม่เป็นสองรองใคร หรือ vloger โปรด บน RUclips ของเรา น้องพายุยืนหนึ่ง คือชอบมาก หรือชอบเป็นที่หนึ่ง เป็นต้นคำที่สี่ Kuuki wo yomu ความหมายมีหลายท่านโพสต์แล้ว คือ ไม่มีมารยาท หรือ ไม่รู้จักกาลเทศะ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่สนใจ หรือ ไม่ใส่ใจความรู้สึกของใคร (ของคนอื่น หรือคนรอบข้าง)คำที่ห้า ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ อาจจะต้องอาศัยคนไทยที่รู้ภาษาญี่ปุ่นแตกฉานสักหน่อยมาตอบค่ะ
しか勝たん = しか勝たない (しかかたない)
女子力 ความเป็นผู้หญิงค่าาา
มี โจชิเรียวคุ ไหมครับ555
1. แม่ศรีเรือน (แม่-สี-เรือน) ความหมายคือ การกระทำทุกอย่างที่แสดงถึงความเป็นผู้หญิงที่พร้อมแต่งเข้าไปเป็นแม่บ้าน ที่มีสกิลอันน่าทึ่งเช่น ทำงานบ้าน, ทำกับข้าว, เลี้ยงเด็ก (เพราะสกิลเหล่านี้ล้วนเป็นสกิลติดตัวแม่บ้านแบบ Full Time) เป็นคำความหมายเชิงบวก ใช้เป็นคำชม ปัจจุบันใช้ชมได้ทุกเพศที่ ทำกับข้าวเก่ง ทำงานบ้านได้เนี๊ยบเว่อ
2. ถ้าใช้คำอังกฤษว่า "มัน touch" น่าจะใช้คำไทยว่า "ซาบซึ้ง" ได้
3. ไม่มีคำแทนเป็นเรื่องเป็นราว ใช้ประเภทคำ "ต๊าซซซซ, จึ้งงงง, ปังมากกก" น่าจะได้อยู่นะ
4. มารยาทและกาลเทศะ เป็นสองคำที่มักพูดด้วยกันค่ะ สื่อได้ตรงๆกับคำว่า kuuki wo yomu เลย
ขอบคุณมากครับสำหรับคำอธิบายอย่างละเอียด เข้าใจดีขึ้นครับ
พายุอธิบายเก่งมาก
1. ความเป็นผู้หญิงสูง หรือผู้ยิ๊งผู้หญิง เช่น "เธอเนี้ยผู้ยิ๊งผู้หญิง"
2. อารมณ์อ่อนไหว, sensitive
3. .....คือที่สุด เช่น ผักชีคือที่สุด
4. อ่านบรรยากาศไม่ออก, ไม่มีมารยาท, ไม่รู้จักกาลเทศะ, ไม่รู้เหนือรู้ใต้, ไม่รู้ห่าเหว อันนี้แล้วแต่สถานการณ์และวัยผู้พูด
5. ในไทยมีเยอะครับพวกการลดคำเวลาพูดยาวๆ ในไทย เช่น มงลง คือ มงกุฎต้องลง(การประกวดนางงาม) แน่นอนว่าคงต่างชาติไม่เข้าใจ
คิดว่าคำแรกจากที่ฟังจากตัวอย่างน่าจะแปลเป็นไทยได้ว่า แม่ศรีเรือน แม่บ้านแม่เรือน กุลสตรี นะคะ เช่น มีความเป็นแม่ศรีเรือน มีความเป็นเป็นแม่บ้านแม่เรือน มีความเป็นกุลสตรี แต่คำว่ากุลสตรีจะใช้กับผู้หญิงที่ประพฤติตัวดี เรียบร้อย แต่แม่ศรีเรือนกับแม่บ้านแม่เรือนจะใช้กับผู้หญิงที่เก่งงานบ้าน เก่งการทำอาหาร น่าจะประมาณนี้นะคะ😊😊
อ๋อ ขอบคุณมากครับ เข้าใจดีขึ้นครับ
1.แม่ศรีเรือน (อ่านว่า แม่-สี-เรือน)
2. กินใจ หรือ โดนใจ
3. 🤷🏻♀️
4. กาลเทศะ เช่น จะพูดอะไรก็รู้จักกาลเทศะด้วย
คุณพายุพูดภาษาไทยเก่งมากจริงๆ respect!
พายุ พูดๆไทยเก่งขึ้นทุกวันเลย
1. ประมาณ แม่บ้านแม่เรือน ,แม่ศรีเรือน คือคนที่เก่งงานบ้านงานเรือน ทำอาหารเก่งทำกับข้าวเก่ง
2,3.ไม่เขาใจ
4.ตามที่คุณพายุเข้าใจเลยค่ะ แต่ถ้ามากเกินไปก็จะกลายเป็นคนไม่มีมารยาทและกาลเทศะค่ะ
5.ประมาณ ตามเทรนด์,อินเทรนด์,ตามกระแส หรือปัจจุบันคือ ถ้าไม่...จะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง
ในความคิดผมนะ
1.ผู้หญิ๊งผู้หญิง
2.เซ็นท์สิทีฟ
3.ตามที่พายุพูดแหละครับ
4.ในไทยคงจะแบบว่า ดูสีหน้า ไม่ก้อ ดูบรรยากาศ(อากาศ)
5.ภาษาไทยคงไม่มีคนเอาคำมาย่อ ตามนั้นเลยครับ
ชอบคอนเทนต์ประมาณนี้มาก ๆ ค่ะคุณพายุ ได้เรียนรู้ทั้งศัพท์ทั้งมุมมองของทั้งสองประเทศดีค่ะ
บางคำก็มีที่เราใช้กันอะ แบบ "พลังหญิง" (ตรงตัว) หมายถึงแบบผู้หญิงเราเก่ง ทำไรก็ได้อย่ามาดูถูกว่าเป็นผู้หญิง แต่ถ้าในความหมายที่คุณพายุว่า ภาษาไทยเราจะแบบ "แม่ศรีเรือน" "แม่บ้านแม่เรือน"
ถ้าสำหรับผู้ชาย จะชมแบบ "แมนมาก" เช่นว่ายกของหนักให้ ฆ่าแมลงสาบให้อะค่ะ (แน่นอนว่า อิฉันที่ตบแมลงสาบตายในหนึ่งกระบวนท่า ก็ได้รับคำชมว่าแมนบ้างเช่นกัน -_-)
emoi ใกล้สุดคงแบบ อ่อนไหว หวั่นไหว แต่ก็ไม่ตรงซะทีเดียว
...shikakatan อันนี้เรามีใช้ละ แบบ "ยูทูปเบอร์หรอ พายุชนะเลิศศศศศศ" ไรงิอะค่ะ
kuuki wo yomu ไทยมีดูบรรยากาศจริง ๆ แหละ ถ้าไปตามร้านอาหารหรือคาเฟ่ปกติมนุษย์ก็สั่งกันคนละอย่างสองอย่าง น้ำสักแก้วไรงิ ใครไม่สั่งก็ไม่มีใครว่า แต่อาจโดนเก็บมานินทานะคะ 55 แต่ถ้าตามโรงอาหารหรือฟู้ดคอร์ทก็อีกเรื่อง
ส่วน tapiru ตอนนี้มันไม่ใช่เครื่องดื่มละค่ะ มันกลายเป็นไลฟ์สไตล์ตามกาแฟแล้วค่า 555+
ตามไอดอลเจอชิกะคาตันบ่อยสุดๆ ครับ
มีพลังผู้หญิงสูง น่าจะเป็นคำว่า มีความเป็นผู้หญิงสูง, มีความเป็นกุลสตรี(สูง)
อ่านสถาณการณ์ออก/ไม่ออก คำนี้คนไทยก็ใช้ค่ะ แต่อย่างพายุว่า คนไทยไม่ค่อยแคร์สายตาคนอื่นเท่ากับคนญี่ปุ่น
คอนเท้นนี้ดีมากค่ะ ทำให้เราที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นอยู่ได้ประโยชน์ไปด้วย ขอบคุณค่ะ รอคลิปต่อๆไปนะคะ!
ลองไปค้นคำว่า emoi พบกว่ามันคือการสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกหลายอย่างพร้อมกันอย่างอธิบายไม่ถูก
แปลภาษาไทยน่าจะเป็น เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก (อาจจะบวกหรือลบปนกันแบบไหนก็ได้)
คำใกล้เคียงภาษาไทย เมื่อเทียบกับสถานการณ์ น่าจะเป็นคำว่า "โดน" (ย่อจากโดนใจ) เช่น เพลงนี้โดน แต่ความหมายไม่กว้างเท่า emoi
1. แม่ศรีเรือน
4. คนไทยชอบบอกว่าไม่ต้องแคร์คนอื่นเกินไป แคร์แค่คนในครอบครัวกับคนที่สำคัญก็พอค่ะ เพราะทุกคนเกิดมามีความแตกต่างกัน มีความคิดไม่เหมือนกันจึงไม่ควรทำตามคนอื่น
ผมอยากให้พี่พายุทำ reaction ของคนญี่ปุ่นเมื่อเห็นฮีโร่ไทยหน่อยครับอย่างลูกผู้ชายพันธุ์ดี อินทรีแดง สปอร์ตเรนเจอร์
女子カ ในภาษาไทยคือคำว่า ความเป็นผู้หญิง
แต่ปรกติคนไทยจะไม่พูดแบบญี่ปุ่นคับ
และความหมายสำหรับคนไทยไม่ชัดเจน
ต้องขยายประโยคเพิ่มคับ
สำนวน 空気を読む (くうきをよむ)
สำนวน 空気を読める
แม่บ้านทำอาหารเก่ง เรียกว่า มีเสน่ห์ปลายจวัก คำว่า แม่ศรีเรือน คือเป็นแม่บ้านที่เก่งรอบด้านทั้งทำอาหารเก่ง ทำงานบ้านเก่ง เลี้ยงลูกเก่ง มากกว่า ส่วนคำว่า กุลสตรี คือ ผู้หญิงที่วางตัวดี เรียบร้อย ใช้ได้ทั้งคนที่ยังไม่แต่งงาน หรือแต่งงานแล้วก็ได้ค่ะ
คุณพายุใช้ภาษาไทยในการอธิบายได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ👍
emoi = อ่อนไหว หรือ เซนซิทีฟ(ตามภาษาอังกฤษ)
คำที่ 1 ในไทยน่าจะเป็น แม่ศรีเรือน รึปล่าวนะ ถ้าฟังจากตัวอย่าง😅
คิดเหมือนกันเลยค่ะ พอฟังตัวอย่างจบปุ๊บ วลีที่เข้ามาในหัวคือ "แม่บ้านแม่ศรีเรือน"55555
เพิ่งรู้ครับ ขอบคุณครับ
06:03
2. เล่น(กับ)ความรู้สึก
3. ยืนหนึ่ง
มั้งครับ 555
空気読めない ー> ไม่(รู้/ดู)สี่(รู้/ดู)แปด
เป็นคำเพี้ยนเสียงมากจากคำที่หยาบมากจนผมก็ไม่กล้าเขียน เอาเป็นว่าไปถามเพื่อนคนไทยดูครับ wwwwwwwwww
1 แม่ศรีเรือน
2 กินใจ
3 ไทยกลางไม่มี แต่ถ้าภาษาอีสานบ้านผมจะตรงกับคำว่า “คัก”
4 กาลเทศะ
ผมว่าภาษาไทย แปลได้หมดนะครับ เพียงแต่ไม่ได้ใช้เท่านั้นเอง
คำแรก jyoshiryoku “พลังผู้หญิง”มีเพื่อนๆ หลายคนโพสต์ไปแล้ว คำที่ตรงที่สุดน่าจะเป็น “แม่บ้านแม่เรือน” หมายถึงคุณสมบัติของผู้หญิงในการจัดการงานในบ้าน ดูแลบ้าน ทำอาหาร ปกครองบ้านเรือน ผู้หญิงคนไหนมีคุณสมบัติแบบนี้ก็จะบอกว่าเธอมีความเป็นแม่บ้านแม่เรือน เพราะเอางานบ้านงานเรือน ไม่ปล่อยปละละเลย
ในภาษาญี่ปุ่นไม่มีคำว่า พลังผู้ชาย ไม่ใช่เรื่องแปลกค่ะ เพราะในสังคมญี่ปุ่นก็คงจะเหมือนสังคมของประเทศในเอเชียทั่วไป ที่มักจะแยกหน้าที่ว่า งานในบ้าน ดูแลบ้าน ดูแลเรื่องเสื้อผ้าอาหาร เป็นงานของฝ่ายหญิง/ภรรยา/แม่บ้าน งานในบ้านจึงเป็นพลังผู้หญิง ไม่ใช่พลังผู้ชาย สำหรับประเทศไทยเปลี่ยนไปมาก และภาษาไทยก็มีคำมีความหมายถึงพลังผู้ชายด้วย คือ แค่เปลี่ยนคำจากแม่เป็นพ่อ (พ่อบ้านพ่อเรือน) เพราะผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น บางครอบครัวผู้ชายรับผิดชอบงานบ้าน ทำอาหาร ดีกว่าผู้หญิงเสียอีก ฝ่ายหญิงก็เลยยกย่องฝ่ายชายว่าเป็นพ่อบ้านพ่อเรือนได้เหมือนกัน 55
คำที่สอง emoi ฟังเหมือนใช้กับอารมณ์เศร้าๆ คำไทยคำเดียวความหมายกว้างหมดเหมือนคำนี้ยังนึกไม่ออกค่ะ ไม่ทราบว่ามีหรือเปล่า แต่ถ้าใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปเลย emotional ก็อาจจะได้ความหมายกว้างเหมือนกับ emoi ภาษาไทยจะมีคำที่ใช้ไปตามอารมณ์ ความรู้สึก ตามเรื่อง เช่น รู้สึกเศร้า เศร้าใจ ใจหาย สะเทือนอารมณ์ สะท้อนใจ คิดถึง อาลัย หดหู่ สลดใจ
คำที่สาม shikakatan ไม่แน่ใจว่าใช้คำว่า “ยืนหนึ่ง” ได้หรือเปล่า ยืนหนึ่ง (ยืนเป็นที่ 1, โดดเด่น) เป็นคำสแลง ตัวอย่าง เช่น ความพยายามในการเรียนภาษาไทยของน้องพายุนี่ยืนหนึ่ง คือมีความพยายามมาก ไม่เป็นสองรองใคร หรือ vloger โปรด บน RUclips ของเรา น้องพายุยืนหนึ่ง คือชอบมาก หรือชอบเป็นที่หนึ่ง เป็นต้น
คำที่สี่ Kuuki wo yomu ความหมายมีหลายท่านโพสต์แล้ว คือ ไม่มีมารยาท หรือ ไม่รู้จักกาลเทศะ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่สนใจ หรือ ไม่ใส่ใจความรู้สึกของใคร (ของคนอื่น หรือคนรอบข้าง)
คำที่ห้า ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ อาจจะต้องอาศัยคนไทยที่รู้ภาษาญี่ปุ่นแตกฉานสักหน่อยมาตอบค่ะ
しか勝たん = しか勝たない (しかかたない)
女子力 ความเป็นผู้หญิงค่าาา
มี โจชิเรียวคุ ไหมครับ555