ชาวสระบุรี ร่วม ปิดตำนาน 127 ปี เส้นทางรถไฟโดยสาร สู่อิสาน ผ่าน จปร ผาเสด็จ วันสุดท้ายฉบับเต็ม

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 10 сен 2024
  • ชาวสระบุรี ร่วม ปิดตำนาน 127 ปี เส้นทางรถไฟโดยสาร สู่อิสาน ผ่าน จปร.ผาเสด็จ วันสุดท้าย
    เนื่องด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย ประกาศ งดเดินรถไฟ ตู้โดยสาร ผ่านสาย จปร.ผาเสด็จ- หินลับ ทับกวาง แก่งคอย สระบุรี โดย ไปใช้ เส้นทางรางคู่ อุโมงค์มาบกะเบา- หินลับ แทน แต่ยังคงใช้เส้นทางผาเสด็จ วิ่งเฉพาะรถสินค้า และรถที่เข้าไปรับปูนTPI เท่านั้น โดยประกาศ งดใช้รถไฟโดยสารเส้นทางช่วง ผาเสด็จ-หิบลับ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
    เมื่อ 27 กรกฎาคม 2567 นายมนตรี ปรีดา นายอำเภอแก่งคอย เป็นประธานในพิธีถวายพานพุ่ม ถวายพานดอกไม้ และเครื่องสักการะบูชา พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ด้วยความร่วมมือกับชาวสระบุรี และชาวอำเภอแก่งคอย ชมรมวัฒนธรรมแก่งคอยโดยนางสาวกุลณัฐฐา จิรจงพาณิชย์ ที่ปรึกษาชมรม คุณปริยากร ภูเลาสิงห์ ประธานศูนย์วัฒนธรรมปริยากร และชมรมวัฒนธรรม อาทิ ชมรมรักษ์ธรรมชาติวัฒนธรรมประเพณีสตรีหนองแค โดย ดร.เพ็ญภา ศรีเงินดี พร้อมคณะ ชมรมวัฒนธรรม อ.เสาไห้ อ. เฉลิมพระเกียรติ อ.เมืองสระบุรี และ คุณวิบูลย์ศิริ บุญพัฒน์. ผู้จัดการฝ่ายสำนักงานผู้บริหาร ผู้แทนบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) จัดพิธี ปิดตำนานเส้นทางรถไฟโดยสารผ่าน จปร ผาเสด็จ วันสุดท้าย
    โดยมีกิจกรรม เสวนาเล่าเรื่อง ผาเสด็จ โดย นายมนตรี ปรีดา นายอำเภอ แก่งคอย พร้อมคณะ คุณวิบูลย์ศิริ บุญพัฒน์. ผู้จัดการฝ่ายสำนักงานผู้บริหาร บริษัททีพีไอโพลีนจำกัด นายวินัย สว่างอารมณ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลทับกวาง นายสถานีผาเสด็จ ที่ปรึกษาชมรมวัฒนธรรมแก่งคอย ผู้อำนวยการโรงเรียนซับบอน และนายสหัส อมรรัตนานนท์ ประธานสภาประชาสังคมสระบุรี
    จากนั้นได้มีพิธี รำไหว้ครู รำถวาย เพลงบูชาปิยมหาราช จาก ชมรมวัฒนธรรมแก่งคอย และชมรมจิตอาสา ต่างๆ ในจังหวัดสระบุรี เข้าร่วม พร้อม ต้อนรับขบวนรถไฟโดยสารขบวนรถไฟ 135 กรุงเทพฯอภิวัฒน์ อุบลราชธานี เป็นขบวนสุดท้าย เพื่อ อำลารถไฟโดยสาร วิ่งผ่าน ชะง่อนหิน ที่จารึก จปร.ผาเสด็จ อันมีประวัติศาสตร์อันลี้ลับ ท่ามกลางขุนเขาดงพญาไฟในอดีต ปัจจุบัน เรียกดงพญาเย็น บริเวณ หมู่ 5 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงให้มีการก่อสร้าง เส้นทางรถไฟสายนี้ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ พสกนิกรได้ใช้มากว่า 127 ปี
    กว่า 127 ปีที่ผ่านมาการก่อสร้างทางรถไฟยังไม่มี เทคโนโลยี่ ความทันสมัยในการก่อสร้างเส้นทางเหมือนเช่นปัจจุบัน การก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือมายังจังหวัดนครราชสีมา ณ สถานที่แห่งนี้ ที่เรียกว่า เส้นทาง ผาเสด็จ ก็เป็นเส้นทางอีกเส้นหนึ่งที่ต้องผ่านป่าดงดิบในเทือกเขาที่เรียกว่าป่าดงพญาไฟ และได้เปลี่ยนเป็นดงพญาเย็นในเวลาต่อมา การก่อสร้างเส้นทางผ่านป่าเขาและป่าดงดิบเป็นเรื่องที่ยากลำบากและต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก คนงานได้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความหวาดกลัวกับชาวบ้านในท้องที่แห่งนี้ รัชกาลที่ 5 จึงได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง มาทำพิธีวางราง รวมทั้งสร้างอนุสรณ์สำคัญขึ้นบนก้อนหิน และได้ทรงสร้างศาลเพียงตา ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อให้คนงานในสมัยนั้น ได้มีกำลังใจในการทำงานและสามารถดำเนินการสร้างทางรถไฟได้อย่างลุล่วงจนสำเร็จ
    ด้วยความเจริญด้านวิศวกรรมการก่อสร้าง สมัยใหม่ เส้นทางรถไฟทางคู่ใหม่ จึงได้เกิดขึ้นในยุคสมัย ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 10 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และการก่อสร้างได้แล้วเสร็จโดยการรถแห่งประเทศไทยจะเปิดใช้เส้นทางรถไฟรางคู่แห่งใหม่ ช่วงสถานีมาบกะเบา-สถานีมวกเหล็ก และช่วงสถานีบันไดม้า-สถานีคลองขนานจิตร พร้อมเปิดอุโมงค์รถไฟรางคู่ใหม่ อุโมงค์มาบกะเบา-หิบลับ โครงการรถไฟทางคู่ช่วง มาบกะเบาชุมทางถนนจิระ ตั้งแต่วันที่28 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป
    ตำนาน ผาเสด็จ ถือได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านคมนาคมทางบก ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอย่างมากพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟดำเนินการก่อสร้างรถไฟต่อจากอยุธยาไปนครราชสีมา โดยเส้นทางนี้จะผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอแก่งคอย ถือได้ว่าเป็นเส้นทางเข้าสู่ภาคอีสานและเป็นทางรถไฟสายแรก โดยรถไฟสายแรกคือ สายพระมหานคร-นครราชสีมา
    เนื่องจากเส้นทางคมนาคมสมัยก่อนเป็นทางเดินเท้าในป่าทึบและคดเคี้ยว ซึ่งใช้เวลานานในการเดินทาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้มีการสร้างทางรถไฟ ตัดผ่าเข้าดงพญาเย็นทะลุสู่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นภูเขาทำให้การก่อสร้างเกิดความยากลำบาก เนื่องจากมีภูเขาขวางกั้นการดำเนินงานจึงต้องทำการระเบิดภูเขาหลายแห่ง แต่มีภูเขาแห่งหนึ่งมีหินก้องใหญ่โตมหึมาที่วิศวกรชาวฝรั่งเศสพยายามจะระเบิดอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้นำตราแผ่นดินไปประทับลงโคนต้นไม้ใหญ่ ถือเป็นการเอาเคล็ด การระเบิดภูเขาจึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2439 (รศ.115) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯโดยรถไฟจากที่ประทับแรมไปยังจุดสิ้นสุดทางรถไฟในขณะนั้น (คือบริเวณ ตำบลหินลับ) ทั้ง2 พระองค์เสด็จลงจากรถไฟและดำเนินต่อไปตามทางที่ยังสร้างไม่เสร็จ ข้ามลำห้วยอีก 2 แห่งจนไปถึงที่ที่มีศิลาใหญ่ พระองค์ทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร.และ ส.ผ.หมายถึงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และลงเลข 115 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์เสด็จ และได้พระราชทานนามศิลาแห่งนี้ว่า “ผาเสด็จพัก”
    ร.ต. สุประวีณ์ บุญธิคำ บรรณาธิการข่าว รายงาน

Комментарии • 1