ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจอะไรบ้าง

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 9 янв 2025

Комментарии • 416

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Год назад +47

    ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจอะไรบ้าง
    สวัสดีครับ
    ปัจจุบันนะครับหลายคนก็คงจะมีความห่วงใยในสุขภาพของตัวเองมากพอสมควรนะครับ แล้วก็มีหลายคนที่ไปตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจเช็คอัพและแน่นอนหลายๆคนก็คงจะมีคำถามว่าแล้วเราจะต้องตรวจอะไรบ้าง อายุเท่าไหร่ ตรวจอะไร แล้วควรจะต้องมีการทำอะไรเป็นพิเศษไหม มันมีแพ็คเกจให้เราเลือกหลายๆอันเราจะต้องเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับเรา วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาเรื่องนี้มาพูดให้ฟังกันเลยนะครับ
    ก็พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
    ก่อนอื่นเลยนะครับเราต้องเข้าใจก่อนว่ามันมีคำว่าการตรวจที่เป็นมาตรฐานหมายความว่ามีองค์กรหลายๆองค์กรของโลกรับรองว่าการตรวจแบบนี้เป็นสิ่งที่ควรจะทำตามอายุ และแน่นอนว่ามันก็จะมีบางอย่างที่ทำนอกเหนือจากที่เขาแนะนำนะครับ ซึ่งสิ่งที่ทำนอกเหนือจากที่แนะนำเนี่ยนะครับมันอาจจะมีประโยชน์ไม่มากไม่ชัดเจนนะครับ แต่ว่าก็ต้องพิจารณาเป็นรายๆไปว่าคนไหนสมควรจะต้องตรวจอะไรนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +1

      2️⃣
      แต่ก็จะมีคำถามว่าตรวจแค่นี้พอรึไม่?
      ➡️ไม่นะครับ ผมจะไล่ไปทีละระบบแล้วกันนะครับเพราะว่าบางครั้งแต่ละระบบอายุที่ต้องตรวจมันก็จะไม่เหมือนกันนะครับ
      อย่างเรื่องของเบาหวานเบาจริงๆแล้วที่ต้องตรวจแน่ๆเนี่ยคือตั้งแต่อายุ 35 ขึ้นไป ถ้าอายุน้อยกว่านั้นถามว่าตรวจได้ไหม?
      ➡️ได้ครับโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูง แต่จริงๆแล้วเนี่ยต่อให้เราไม่มีความเสี่ยงการตรวจเบาหวานเพื่อตรวจคัดกรองเช่นการตรวจเลือดดูค่า ฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี (Hemoglobin A1C; HbA1C) อันนี้มันก็เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆแล้วก็ไม่ได้ลำบากมากมาย มันสามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดเพียงครั้งเดียวเราก็ตรวจอย่างอื่นได้ด้วยนะครับ ทั่วๆไปเนี่ยการเจาะเลือดเพื่อตรวจมีที่ตรวจแน่ๆคือเรื่องของไขมัน เรื่องของเบาหวานนั้นอาจจะตรวจได้ ส่วนการตรวจเลือดชนิดอื่นๆเพื่อหาสาเหตุอื่น เช่นดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดหรือ CBC (Complete Blood Count) ดูค่าตับ ค่าไต ดูค่าไทรอยด์ ดูค่ามะเร็งต่างๆพวกนี้เนี่ยเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีความจำเป็นนะครับบอกไว้ก่อนเลย เพียงแต่ว่าหลายๆที่ก็จะแนะนำให้ทำกันเพื่อเป็นการตรวจดูพื้นฐานก่อนนะครับ แล้วอันนี้ผมคิดว่าเนื่องจากว่ามันไม่ได้มีความเสี่ยงอะไรมากมาย มันไม่ได้อธิบายผลเลือดได้ลำบากยากเย็นแต่อย่างใดดังนั้นการตรวจก็ยังถือว่าอนุโลมสามารถทำให้ได้อยู่นะครับ แต่ถามว่าจริงๆแล้วมีหลักฐานอะไรสนับสนุนว่าจะต้องตรวจพวกนั้นไหม?
      ➡️คำตอบก็คือไม่มีนะครับ แต่เราจะตรวจไปด้วยก็ได้ อย่างบางคนขอตรวจวิตามินดี ขอตรวจค่าการอักเสบต่างๆในร่างกายค่า High Sensitivity C-Reactive Protein : CRP พวกนี้ไม่มีความจำเป็นจะต้องตรวจ
      ในคนทั่วไปนะครับ อันนี้คือประมาณสัก 18-20 ควรจะต้องมีการตรวจคัดกรองเรื่องทั่วๆไปก็คือความดัน. เรื่องของน้ำหนัก เรื่องของคอเลสเตอรอลพวกนี้จำเป็นจะต้องตรวจนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +1

      3️⃣
      ผมจะไล่ไปตามระบบแล้วกัน
      🔶ระบบปอด ระบบปอดมีอะไรที่เราต้องตรวจมั่ง?
      ➡️ปอดนั้นมีอย่างเดียวที่จะต้องคัดกรองก็คือเรื่องของการคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยการเป่าปอดไม่มีความจำเป็นในคนที่ไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้นนะครับ แล้วก็การเอกซเรย์ปอดประจำปีก็ไม่มีความจำเป็นใดๆทั้งสิ้นเช่นกันนะครับ เพียงแต่ว่ามันไม่ได้อันตรายอะไรมากเราสามารถที่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่มีปัญหานะครับ แต่ที่ต้องทำแน่ๆเนี่ยนะครับก็คือเรื่องของการคัดกรองมะเร็งโดยทั่วไปเราจะแนะนำให้คัดกรองด้วยการทำ Low-dose CT Scan เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปนะครับ โดยคนที่อายุ 50 ปีนั้นจะต้องเป็นคนที่สูบบุหรี่มามากกว่าหรือเท่ากับ 20 pack-year หมายความว่า เอาจำนวนซองที่สูบในแต่ละวัน X จำนวนปีซึ่งเราสูบมา ยกตัวอย่างเช่นเราสูบ 2 ซองต่อวันมาเป็นระยะเวลา 20 ปีนะครับก็ 2 ซอง X 20 ปีเท่ากับ 40 pack-year มันก็เกิน 20 pack-year เมื่อตะกี้ที่บอกนะครับ ถ้าเราอายุเกิน 50 ปี แล้วก็สูบมาเกิน 20 pack-year รวมทั้งเราอาจจะเป็นคนที่กำลังสูบอยู่หรือหยุดสูบมาภายใน 15 ปีอันนี้ก็จะต้องมีการตรวจ Low-dose CT Scan ทุกปีนะครับ นี่ไม่ได้นับในกรณีที่เราไปเจอความผิดปกตินะครับ ถ้าเราเจอความผิดปกติแน่นอนอาจจะต้องมีการทำอะไรเพิ่มเติมนะครับ อันนี้เป็นในกรณีของโรคปอด
      🔶โรคหัวใจมีอะไรที่เราต้องตรวจบ้าง?
      ➡️อันนี้ได้ยินบ่อยเลยครับ เขามีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการวิ่งสายพาน ซึ่งสองอย่างนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจนะครับ ไม่มีเลยที่จะต้องตรวจ ต่อให้เราขอตรวจเป็นพื้นฐานมันก็ไม่ได้มีความจำเป็น เราไม่ตรวจก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ แต่ถ้าเราอยากจะตรวจเพราะว่าเราอยากจะสบายใจ เราอยากจะเพิ่มเงินเข้าไปเอง อันนี้ไม่มีปัญหาครับสามารถที่จะทำได้ เพียงแต่ว่าการตรวจไปมันก็ไม่ได้บ่งบอกว่าเราจะมีปัญหาอะไรนะครับ ยกเว้นแต่ในคนที่มีความเสี่ยงหลังจากที่คุณหมอเขาได้ซักประวัติแล้วเท่านั้นเองนะครับ นี่คือในกรณีของหัวใจ
      🔶แล้วระบบหลอดเลือดเราต้องตรวจอะไรบ้างนะครับ??
      ➡️นอกเหนือจากเรื่องของความดันแล้วโรคของระบบหลอดเลือดนั้นไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องตรวจชัดเจนนะครับ มีอยู่กรณีเดียวเลยที่เราจะต้องตรวจก็คือเรื่องของการที่หลอดเลือดแดงในท้องอาจจะมีการโป่งพองแล้วแตกได้นะครับเราเรียกมันว่า Abdominal Aortic Aneurysm หรือ AAA

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +5

      4️⃣
      ถามว่าคนไหนต้องตรวจ?
      ➡️อันนี้สำคัญนะครับ คนที่ต้องตรวจก็คือผู้ชายเท่านั้นเลย อายุ 65 ถึง 75 แถวๆนี้นะครับ ถ้าเคยสูบบุหรี่มาก่อนหรือกำลังสูบอยู่ควรจะต้องมีการทำอัลตร้าซาวด์ช่องพอเพื่อดูตัวหลอดเลือดนี้สักครั้งหนึ่งนะครับ หรือต่อให้เราเป็นผู้ชายแล้วไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลยในชีวิตนี้แล้วเราอายุอยู่ในช่วงนี้คือ 65-75 แถวนี้นะครับ ถ้าในครอบครัวเราเคยมีประวัติว่ามีคนใดคนหนึ่งในครอบครับที่มีหลอดเลือดแดงแตกในช่องท้อง ควรจะต้องมีการตรวจอัลตร้าซาวด์นะครับ นี่คือเป็นสิ่งที่ควรแน่ๆ ดังนั้นถ้าไม่เข้าเกณฑ์นี้ เช่นว่าเป็นผู้หญิง หรือเราอายุน้อยกว่า 65 เราไม่ได้จำเป็นจะต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อดูภาวะนี้เลยสักคนเดียวนะครับ ไม่ได้มีความจำเป็น แต่ถ้าน่าจะไปตรวจอันนี้ก็แล้วแต่ตัวท่านนะครับมันไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากมายในทางการแพทย์นะครับ
      อีกอย่างหนึ่งเรื่องของระบบหลอดเลือดที่เขาตรวจก่อนก็คือตรวจเรื่องของหลอดเลือดที่คอหรือ Carotid Artery นะครับเพราะว่าเรารู้ว่าบางคนเนี่ยจะมีหลอดเลือดแดงมันตีบได้ แล้วก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองมันตีบหรือมีสิ่งที่ไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้ก็จะมีคนทำอัลตร้าซาวด์ตรงนี้เพื่อที่จะดูความหนาของผนังของหลอดเลือดตัวนี้ อันนี้ก็ไม่มีความจำเป็นอีกเช่นกันนะครับ
      หรือการตรวจที่ขา เราจะเรียกว่า Ankle Brachial Index (ABI) นะครับ ก็คือเป็นการตรวจหาดูว่าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงที่ขามีการตีบตันไปหรือเปล่า อันนี้ก็ไม่มีการแนะนำว่าควรจะต้องตรวจนะครับเป็นการตรวจค่าที่เรียกว่า Ankle Brachial Index (ABI) จะมีการวัดความดันที่ขาเมื่อเทียบกับที่แขนแล้วก็ดูว่าเรามีปัญหาอะไรไหม การตรวจนี้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเราสงสัยคนไข้ที่มีภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขามีปัญหาเท่านั้นนะครับ ถ้าเราไม่มีปัญหาเราสบายดีไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ แต่ถ้าท่านอยากจะตรวจเพื่อความสนุกนะครับท่านมีเงินพอตรวจเลยครับไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +6

      5️⃣
      🔶ทีนี้เราอยากจะมาเข้าเรื่องของระบบเกี่ยวข้องกับมะเร็ง แน่นอนว่ามันต้องแบ่งเป็นผู้หญิงผู้ชาย
      ผู้หญิง
      🔸เริ่มจากมะเร็งเต้านมก่อนเพราะว่ามันเป็นมะเร็งที่เจอบ่อยนะครับ มะเร็งเต้านมในคนทั่วๆไปที่ไม่ได้มีความเสี่ยงมากเราจะคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปนะครับ และที่สำคัญคือมันเป็นมะเร็งที่มันกวนมากที่สุดเลยคือถ้าท่านไปดูตามหน่วยงานต่างๆซึ่งมีคำแนะนำเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งเต้านมออกมาแล้วนะครับมันจะให้คำแนะนำที่ขัดแย้งกัน แล้วก็ไม่เหมือนกันสักทีมีตั้ง 5-6 ที่แต่ละที่ให้คำแนะนำไม่เหมือนกันเลยนะครับ โดยบางที่บอกว่าตั้งแต่ 40 ขึ้นไปให้ทำแมมโมแกรม (Mammogram) ทุกปีนะครับ บางอันก็บอกว่าทำทุก 2-3 ปีแต่รอให้อายุสัก 50 ก่อนนะครับ ดังนั้นคำแนะนำเนื่องจากว่ามันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแบบนี้ได้แล้วก็แต่ละคนให้ความเห็นไม่เหมือนกันนะครับ ส่วนตัวของผมคิดว่าถ้าตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปแล้วไม่ได้มีปัญหาอะไรแล้วท่านสามารถทำได้ทำเถอะครับ จะทำปีเว้นปีก็ได้หรือปีแล้วก็เว้น 2 ปียังได้เลยนะครับในช่วงเวลานี้
      แล้วถามว่าถ้าตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไปแล้วเมื่อไหร่มันจะหยุดได้สักทีนะครับ?
      ➡️อันนี้เวลาที่เราจะพิจารณาการหยุดคัดกรองมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดไหนก็แล้วแต่ วิธีคิดง่ายๆในหัวของเราก็คือว่าถ้าเรามีชีวิตอยู่ต่อได้อีกเกิน 10 ปีเราควรจะต้องมีการคัดกรองมะเร็งชนิดต่างๆครับ แต่ถ้าเราโอ้โหแก่หงำเหงือกนอนอยู่บนเตียงอย่างนี้ไม่ต้องไปคัดกรองแล้วครับ คัดกรองไปเจอมะเร็งไปมันก็ไม่ได้ทำอะไรอยู่ดีนะครับ ร่างกายก็รับเคมีบำบัดหรือการผ่าตัดไม่ไหว โดยทั่วไปหมอเขาจะประเมินประมาณนี้นะครับ อย่างไรก็ตามมันก็จะมีตัวเลขเฉพาะแล้วแต่ชนิดของมะเร็งอีกต่อหนึ่ง เช่นถ้ามะเร็งเต้านมก็อาจจะประมาณอายุ 74 75 เนี่ยควรจะเลิกได้แล้วนะครับถ้าก่อนหน้านั้นเราตรวจมาแล้วมันปกติตลอดเราก็ไม่ต้องไปตรวจซ้ำนะครับ แต่บางคนก็อาจจะบอกว่า 75 ฉันยังวิ่งมาราธอนอยู่เลย อายุอยู่เกินได้แน่ๆครับอันนั้นก็จะมีการคุยกับหมอแล้วว่าต่อให้ฉันอายุ 75 80 แล้วนะแต่ชั้นยังวิ่งมาราธอนไหวเลยฉันอยู่ได้เกิน 10 ปีแน่ๆถ้าอย่างนี้ก็ต้องคุยเป็นรายๆไปในการตรวจนะครับ อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ นี้เรื่องของมะเร็งเต้านม

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +1

      6️⃣
      🔸ต่อมาเป็นมะเร็งปากมดลูก Cervical Cancer อันนี้ควรจะตรวจตั้งแต่อายุน้อยๆนะครับตั้งแต่ประมาณอายุ 20-21 เลยควรจะต้องตรวจนะครับ เดี๋ยวนี้เวลาที่เราตรวจแน่นอนก็จะต้องมีการตรวจภายในทั่วๆไปนะครับแล้วก็จะมีการตรวจ แปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งมันก็จะมีเชื้อบางตัวที่ทำให้เรามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นนะครับ ก็จะมีการตรวจตัวนี้คู่กับ Pap Smear ตั้งแต่ประมาณอายุ 21 ขึ้นไปนะครับ แล้วเวลาตรวจส่วนใหญ่ก็แล้วแต่ว่าท่านทำทั้ง 2 อย่างพร้อมกันหรือเปล่าคือถ้าทำทั้ง Pap Smear ด้วยแล้วก็ทำทั้งการตรวจหาเชื้อ HPV ด้วย ก็ตรวจทุกๆประมาณ 5 ปีก็พอนะครับ หรือถ้าท่านไม่ได้ทำเรื่องการตรวจ HPV นะครับคือจะทำ Pap Smear อย่างเดียวก็ประมาณ 3 ปีสักครั้งหนึ่งนะครับ แต่ถ้าท่านที่จะทำมากกว่านี้อันนี้ไม่ได้มีปัญหาเลยนะครับสามารถทำได้ท่านจะตรวจทุกปีไปเลยก็ได้ไม่ได้มีปัญหาอะไรนะครับ อายุที่ควรจะเริ่มก็คือประมาณสัก 21 นะครับ แล้วก็แน่นอนการตรวจคัดกรองมะเร็งก็เหมือนกันทุกครั้งถ้าเราคิดว่าหลังจากการตรวจครั้งสุดท้ายแล้วอายุเราจะเกินนั้นไปอีก 10 ปี แนะนำว่าอาจจะต้องตรวจเพิ่มนะครับ และเรื่องของมะเร็งปากมดลูกนี้ ถ้าเราอายุ 65 ปี ครบ 65 แล้วก่อหน้านั้นเนี่ยตรวจมาเป็นปกติตลอด เราไม่ต้องตรวจเพิ่มแล้วนะครับโอกาสที่จะเป็นเนี่ยมันแทบจะไม่มีเลยนะครับ ดังนั้นก็จะได้สบายใจเพิ่มขึ้นอีกต่อหนึ่ง อย่างไรก็ตามการตรวจภายในในคนที่อายุเยอะๆบางครั้งเราตรวจเพื่อตรวจสุขภาพทั่วไป เช่นบางคนมีปัญหาเรื่องช่องคลอดแห้งอะไรอย่างนี้นะครับ ก็เรามีปัญหาจริงไหมครับเราจึงต้องตรวจ ไม่ใช่เพราะว่าเราไปตรวจคัดกรองโดยทั่วๆไป ถ้าคัดกรองโดยทั่วไปหมายความว่าเราไม่มีอาการแต่เราอยากจะไปตรวจนะครับนั่นก็คือเป็นคำแนะนำที่วันนี้พูด ทีนี้มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและอีกอย่างหนึ่งซึ่งมีคนสงสัยก็คือมะเร็งรังไข่นะครับ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Год назад +92

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    หัวข้อวันนี้ คือ... ตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจอะไรบ้าง
    ◾สำหรับผู้ที่มีอายุ 18-20 ปี ควรตรวจคัดกรองเรื่องทั่วๆไป เช่น ความดัน ไขมัน คอเลสเตอรอล น้ำหนัก สายตา การใช้สารเสพติด
    ◾สำหรับคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจเบาหวาน ตรวจเลือดเพื่อดูน้ำตาล ไขมัน ** แต่การตรวจ CBC หรือ Complete Blood Count ตรวจค่าตับ ค่าไต ค่าไทรอยด์ ค่ามะเร็งต่างๆ ไม่จำเป็นนะคะ
    🚩หากจัดแบ่งตามอวัยวะ เราควรตรวจอวัยวะใดบ้าง
    ◾ระบบปอด ต้องตรวจอะไรบ้าง
    1. ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ส่วนการตรวจสมรรถภาพปอด หรือ การ X-ray ปอดประจำปีไม่มีความจำเป็น จะตรวจหรือไม่ตรวจก็ได้นะคะ
    2. สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด แนะนำให้ทำ Low dose CT scan เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปและสูบบุหรี่มาเกิน 20 pack-year
    ◾ระบบหัวใจ ต้องตรวจอะไรบ้าง
    1. มักจะได้ยินกันบ่อยๆว่า ให้ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจการวิ่งสายพาน แต่จริงๆแล้วไม่มีความจำเป็นอะไรเลย แต่ถ้าต้องการตรวจเพื่อความสบายก็ทำได้ค่ะ
    ◾ระบบหลอดเลือด จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง
    1. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจอะไรชัดเจน
    2. ที่ต้องตรวจจะมีกรณีเดียว คือ หลอดเลือดแดงในช่องท้องอาจจะมีการโป่งพองและแตกได้ ซึ่งคนที่จะควรจะตรวจ คือ ผู้ชายอายุระหว่าง 65-75 ปีเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่เคยสูบบุหรี่มาก่อน หรือกำลังสูบบุหรี่อยู่ควรตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูช่องท้อง
    3. ไม่มีความจำเป็นต้องไปอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจหลอดเลือดที่คอเพื่อดูว่า มีหลอดเลือดแดงตีบหรือไม่ จะมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดสมองตีบหรือไม่
    4. ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหลอดเลือดที่ขาว่ามีการตีบตันหรือไม่ จริงๆจะตรวจเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดที่ขาเท่านั้น คนปกติไม่จำเป็นต้องตรวจค่ะ
    ◾การตรวจคัดกรองมะเร็งต่างๆ
    1. มะเร็งเต้านม ควรตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งความถี่ในการตรวจอาจจะเป็น 1 ปีเว้น 1 ปี หรือ 1 ปีเว้น 2 ปีก็ได้ และจะหยุดตรวจคัดกรองเมื่อไหร่ ดูที่อายุค่ะ ถ้าเรายังสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีก 10 ปีก็ควรไปตรวจเป็นระยะๆ แต่ถ้าอายุมากแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปตรวจคัดกรองแล้วค่ะ
    2. มะเร็งปากมดลูก ควรตรวจตั้งแต่อายุน้อยๆ เป็นการตรวจภายในทั่วไป และการตรวจแพปสเมียร์ (Pap Smear) ร่วมกันกับการตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งแนะนำให้ตรวจทุกๆ 5 ปี แต่ถ้าตรวจแพปสเมียร์อย่างเดียวแนะนำให้ตรวจทุกๆ 3 ปี (แต่จะตรวจทุกปีก็ไม่มีปัญหานะคะ) ซึ่งแนะนำคนที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไป
    3. มะเร็งรังไข่ ไม่มีการตรวจคัดกรองได้ชัดเจน ยกเว้น คนที่มีประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นมะเร็งรังไข่ หรือมียีนส์ผิดปกติ จะต้องมีการคัดกรองพิเศษ แต่สำหรับคนทั่วไปไม่ได้จำเป็นค่ะ
    4. การตรวจเลือดเพื่อคัดกรองมะเร็ง ไม่มีประโยชน์นะคะ เนื่องจากค่าที่ได้อาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้
    5. มะเร็งต่อมลูกหมาก จะแนะนำในคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและแพทย์จะสอบถามก่อนว่า อยากตรวจคัดกรองแน่หรือไม่ ถ้าต้องการตรวจจริงๆก็ตรวจหาค่า PSA (Prostate Specific Antigen) ถ้าค่า PSA สูงแพทย์ก็จะตรวจในขั้นต่อไป เช่น ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ทำ MRI ตรวจอัลตร้าซาวด์ แต่ถึงทำแล้วหลายครั้งก็ไม่เจออะไร หรือพบมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะต้นซึ่งไม่ได้ทำให้เสียชีวิต
    6. มะเร็งลำไส้ใหญ่ แนะนำตรวจคัดกรองที่อายุ 45 ปี แต่คนที่มีความเสี่ยงก็อาจจะต้องตรวจก่อนอายุ 45 ปี ตรวจด้วยการส่องกล้อง การตรวจอุจจาระ ซึ่งมีความถี่ในการตรวจที่ไม่เท่ากัน คนที่มีความเสี่ยงอาจจะต้องตรวจให้บ่อยขึ้น หรือตรวจเพิ่มขึ้น
    7. มะเร็งตับอ่อน จะไม่สามารถตรวจคัดกรองได้ เช่นเดียวกับมะเร็งตับ จะตรวจเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้นค่ะ
    8. มะเร็งผิวหนัง ส่วนใหญ่จะมีการตรวจคัดกรองในกลุ่มคนต่างชาติผิวขาว แพ้แดด มีกระจำนวนมาก มีไฝเกิน 50 เม็ด จะมีการตรวจหามะเร็งผิวหนังที่ชื่อ Melanoma แต่ในคนไทยไม่ค่อยมีปัญหาค่ะ
    ◾วัคซีนชนิดต่างๆ ที่ควรได้รับประจำปี เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนโควิด-19 วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ วัคซีนงูสวัด วัคซีน RSV วัคซีน HPV วัคซีนไข้สมองอักเสบ วัคซีนบาดทะยัก ไอกรน คอตีบ วัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนตับอักเสบเอ ตับอักเสบบี ซึ่งใครมีความเสี่ยงในเรื่องใดก็ควรฉีดวัคซีนที่จำเป็นกับท่านด้วยนะคะ

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat Год назад +9

      ขอบคุณ​ค่ะ​คุณ​ทริป​🙏🥰

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +2

      @@nung-noppapat ยินดีค่ะคุณหนึ่ง ขอเสิร์ฟไข่ตุ๋นทรงเครื่อง 1 ถ้วยใหญ่ๆค่ะ

    • @witteronsmusk
      @witteronsmusk Год назад +1

      ไม่มีเวลาตรวจ ต้องงดอาหารน้ำก่อนตรวจ😮😢😊ตื่นตี4ทำงานตี5 ทานนม แอปเปิ้ล ลองท้องแล้ว ดอกอัญชัน ข้าวโอัต กาแฟดำ โกโก้ช้อคโก😊

    • @AmornDp
      @AmornDp Год назад +1

      ชอบมากๆ ขอให้ท่านทำต่อไป จะเป็นผู้ติดตามตลอดไป!

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat Год назад +1

      @@FragranzaTrippa ขอบคุณ​ค่ะ​คุณ​ทริป​เช้านี้​ได้ทานไข่​ตุ๋น​ร้อน​ๆแล้ว🙏😋🥰

  • @Daruneek-sm3wg
    @Daruneek-sm3wg 10 месяцев назад +3

    ขอบพระคุณ คุณหมอมากนะคะที่ให้ความรู้ค่ะ ขอให้เจริญๆนะคะ เป็นที่รักของสมาชิกตลอดไปค่ะ

  • @panupatswangareeruk3578
    @panupatswangareeruk3578 Год назад +22

    จริงมากครับคุณหมอ สมัยนี้ รพ แต่ละที่แพคเกจตรวจสุขภาพแพงๆทั้งนั้น ซึ่งการตรวจแต่ละอย่างไม่ได้จำเป็นเลย สร้างความกังวลป่าวๆ
    ขอบคุณมากๆครับ

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 Год назад +6

    ตรวจสุขภาพประจำทุกปีค่ะ ส่วนใหญ่ก็จะตรวจตามรายการที่กรมบัญชีกลางระบุเบิกจ่ายได้ สำหรับผู้มีอายุ 35 ขึ้นไปครอบคลุมหลายรายการค่ะ ไม่เคยตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งเลยค่ะ เพราะก็มีตรวจติดตามอยู่แล้ว เช่น มะเร็งเต้านม เนื้องอกในมดลูก สำหรับมะเร็งที่อื่นถ้าจะเป็นก็รับตามสภาพค่ะ😄
    ที่ทำงานเพิ่งตรวจสุขภาพประจำปีเมื่อเดือนมีนานี้ค่ะ เมื่อวานไปงานเลี้ยงเกษียณได้คุยพี่ เค้าก็เปรย ๆ ว่าตรวจสุขภาพประจำปีก็ไม่เจอ เพราะมีน้องที่เพิ่งตรวจสุขภาพเมื่อเดือนมีนา ก็ไม่พบว่าปอดผิดปกติ หลังจากนั้นเค้าจะรู้สึกว่าเหนื่อยง่ายมาก ก็ไปพบคุณหมอ และพบว่าปอดทะลุค่ะ ที่โชคดีร้าย ตอนนี้รอการผ่าตัด ตรวจซ้ำก็เจอว่าช่องปอดทะลุกว้างขึ้น และพบว่ามีทะลุอีกหลายตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายผ่าตัด 3 แสนกว่า อันนี้ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงแล้วนะคะ ซึ่งก็ยังสูงมาก ต้องขอให้คุณหมอโอนมาเป็นคนไข้ในเวลาปกติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงบ้าง#ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร น้องผู้หญิง อายุ 30 ปี #เท่าที่เคยฟังอาจารย์หมอเคยบอกว่า การที่จะพบความผิดปกติปอดจะหายากมากนะคะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าก่อนนั้นน้องอาจจะมีเหนื่อย แต่คงคิดว่าเหนื่อยเป็นปกตินะคะ ก็เป็นความโชคร้ายของน้องเค้านะคะเพราะตรวจสุขภาพประจำปีก็ไม่พบความผิดปกติ #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @Achawan_edu
    @Achawan_edu Год назад +10

    🌈หัวข้อนี้เป็นที่ชื่นชอบอยากฟังเป็นประโยชน์มากๆๆ
    ข้อสังเกต🚩เดินไปทักเพื่อนๆๆ ผลปรากฏกำลังฟังคุณหมอธนีย์👨‍⚕️👨‍⚕️👍👍👍 ตามมาฟังจากที่คุณหมอตอบไลฟ์ของคำถาม เลยตามต่อกันมา เพื่อนๆบอกมีความรู้เรื่องสุขภาพทุกๆๆวัน หมอใจดี💞และเก่งจัง👍🙏🙏

  • @graporn1665
    @graporn1665 Год назад +7

    ตรวจไปเมื่อสามปีที่แล้วค่ะ full option ทุกรายการที่หมอบอกไม่จำเป็น😂 ฟังคลิปนี้ได้ประโยชน์มากค่ะ ปีนี้ตัดสินใจได้ง่ายเลยว่าควรจะตรวจอะไรบ้าง ขอบคุณความรู้จากคลิปนี้มากๆค่ะ❤

  • @r.l.8463
    @r.l.8463 Год назад +9

    ขอบคุณค่ะคุณหมอบอกละเอียดมาก เคยพลาดอย่างที่คุณหมอพูดค่ะ. ”ตรวจโดยไม่จำเป็น”
    การตรวจสุขภาพประจำปี สลับกันค่ะ คือ รพ.รัฐบาลค่าใช้จ่ายไม่แพง แต่ประชาสัมพันธ์น้อย.
    ส่วนรพ.เอกชน มีใบปลิวส่งถึงบ้านค่ะ. ราคาถูกแต่ตรวจไม่ครอบคลุม,อยากตรวจลงลึก ละเอียดต้องจ่ายเพิ่มค่ะ.

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa33 Год назад +4

    ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ ไม่เคยได้รับคำแนะนำในการตรวจร่างกายประจำปีที่ชัดเจนอย่างนี้มาก่อนค่ะ เป็นพระคุณอย่างสูงในความกรุณาที่สละเวลามาให้สิ่งดี ๆ เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้ามาฟังมากค่ะ ขอให้คุณหมอและน้องโรซี่สุขภาพดีพบเจอแต่สิ่งดี ๆ ตลอดไปนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • @gigiphong7321
    @gigiphong7321 Год назад +5

    Thanks!

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Год назад +8

    😊💐ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ💓👍👍
    เย้ๆๆ4.92K🎉🎉🚀💕🌟☄️🌟🌟☄️🌟☄️🌟🌟☄️🌟🌟☄️🌟☄️🌟🌟☄️🌟🌟
    ☺️ ขอบคุณอจ.หมอแทนมากค่ะขอให้มีผู้ติดตามฟังแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆๆ นะคะ🧑‍🤝‍🧑👫ประชาชนได้รับความรู้เป็นประโยชน์
    มากมายจากอจ.หมอแทนค่ะ🌷🙏

  • @AL86898
    @AL86898 Год назад +5

    สวัสดีค่ะ ยินดีกับยอดผู้ติดตาม FC4.92แสนคนค่ะ
    ❤️❤️❤️❤️.💛💛💛💛💛💛💛💛💛.💚💚 👏👏👏👏🚀🚀🚀🚀

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 Год назад +7

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากๆค่ะวันนี้มาให้ความรู้เรื่องตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจอะไรบ้าง มีประโยชน์มากคะ ตาตรวจเกือบทุกปีคะ👍ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🌹❤️

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +24

    ยินดีกับ 492K ผู้ติดตามค่ะ คุณหมอ 🎉🎉🎉🎉🎉 วันนี้เรื่องตรวจร่างกายประจำปี เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆค่ะ 😊

    • @Zyuki-lz2kx
      @Zyuki-lz2kx Год назад +12

      เป็นช่องหมอให้ความรู้อันดับ 1 ของไทยไปแล้วครับตอนนี้ 🎉🎉🎉🎉

    • @pookpuir.9653
      @pookpuir.9653 Год назад +2

      ดีใจจังค่ะ รอ5แสนไปด้วยกันค่ะ😊😊😊

  • @investor9653
    @investor9653 10 месяцев назад +1

    เห็นด้วยครับโดยเฉพาะเรื่อง tumor marker ที่ไม่ควรตรวจ ส่วน EKG CXR USG อันนี้ส่วนมากคนทีมาตรวจมักจะมีความเสี่ยง ไม่สบายใจ หรือมีอาการกันมาก่อนอยู่แล้ว มองว่าการตรวจนี้ไม่เกิดโทษ และ less invasive ครับ บางอย่างช่วย encourage lifestyle modification ได้ดีด้วยครับ เช่นเจอ mild fatty liver เค้าก็จะตั้งใจลดน้ำหนัก กินอาหารดี ออกกำลังกาย 😊

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 Год назад +4

    ขอแสดงความยินดีกับยอดผู้ติดตาม4.92 แสนค่ะ ขอให้ถึง5 แสนไวๆนะคะ🎉
    คลิ้บนี้ ป้าจะนำไปแชร์เพื่อนๆ ทันทีค่ะ มีประโยชน์มากๆ เลย สำหรับคนทุกวัยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

  • @mossse4711
    @mossse4711 Год назад +5

    เราชอบหมอแทนมากกกกกก หมอแทนเป็นไอดอลเราเลยเวลาหมอเเทนเล่าอะไรหรือพูดเรื่องอะไรจะละเอียดมากเราชอบมากเลยค่ะ ชอบช่องนี้ที่สุดเลยขอบคุณที่ทำคริปและทำช่องนี้ออกมานะคะ

  • @tayzaza1
    @tayzaza1 Год назад +6

    ขอบคุณคุณหมอมากครับ ฟังคุณหมอมาหลายคลิปแล้วตั้งแต่ช่วงโควิต คุณหมอให้ความรู้ได้ชัดเจนมากครับ

  • @อาจารย์บอย..คนตื่นเที่ยง

    ขอบคุณมากครับคุณหมอ🙏

  • @toipreeyaporn2485
    @toipreeyaporn2485 Год назад +2

    ขอบพระคุณมากค่ะ

  • @jitpakornboonna9565
    @jitpakornboonna9565 Год назад +5

    คุณหมอแทน ผู้มาก่อนกาล จริมๆ
    เหมือนมานั่งในใจผู้ชมทู้กกกคนน
    คุณหนูโรซี่อยู่ไหนคะ ไม่มาให้กำลังใจคูมพ่อใกล้ๆ หราคะ
    ฝากเกาพุง เกาคาง โรซี่ด้วยนะคะ

  • @patchachannel3090
    @patchachannel3090 Год назад +2

    ขอบคุณ​ค่ะ​คุณ​หมอ​

  • @Monny281
    @Monny281 6 дней назад +1

    อ.หมอ ครับ
    ผมรบกวนถามเรื่องการตรวจการทำงานของตับครับ เนื่องจาก ร.พ.จะมีการคิดคชจ.เพิ่มอีกเล็กน้อย สำหรับการตรวจเพิ่มครับ
    1. SGPT
    2. SGOT
    ถ้าผมตรวจเฉพาะ SGPT โดยไม่ตรวจ SGOT เพิ่ม จะทำให้การอ่านค่าตับได้ผลดีแค่ไหน หรือ จำเป็นต้องตรวจทั้ง 2 ค่านี้ครับ
    (ผลตรวจเดิมของ SGPT และ SGOT เมื่อปี 67 ผลปกติครับ)
    แต่ผล ALK Phosphatase มีผลสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อยครับ กรณีนี้ ถ้าผมต้องการรู้ค่า ALK Phosphatase จะสามารถตรวจเพิ่มต่า่งหากได้หรือไม่ครับ หรือ สามารถอ่านผล SGPT หรือ SGOT แทนค่า ALK ได้ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  6 дней назад +1

      มันก็สามารถที่จะทำแบบนั้นได้ครับแต่ว่าถ้าตรวจไม่ครบทุกตัวการแปลผลมันก็จะมีข้อจำกัดเหมือนกันครับ

    • @Monny281
      @Monny281 5 дней назад

      @@DrTany ขอบคุณคำแนะนำของ อ.หมอ มากครับ

  • @benjawanpongsuwakorn8925
    @benjawanpongsuwakorn8925 Год назад +2

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอ กำลังวางแผนพาลูกสาวไปตรวจ 🙏

  • @etw5894
    @etw5894 Год назад +4

    ปีนี้เพิ่งตรวจสุขภาพมาเลยค่ะ อายุ34ปี ยังปกติดีตามเกณฑ์ทุกอย่าง🙂

  • @ภาวิณีพลายละมูล

    ขอบพระคุณมากค่ะ🙏☕🍩

  • @kulyaree
    @kulyaree Год назад +5

    ขอบคุณมากครับ
    ระบบราชการที่ไทย ใน package ปกติ CXR ทุกปีครับ
    ปีหน้าไม่เอาแระ😂

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 Год назад +4

    สวัสดีคะคุณหมอ

  • @WhoAmI-er2cb
    @WhoAmI-er2cb Год назад +2

    คุณหมอครับ ช่วยทำเรื่องเกี่ยวกับไข้หวัดได้ไหมครับ ช่วงนี้กำลังระบาด ตอนนี้ผมก็กำลังเป็นอยู่ แล้วผมมีข้อสงสัยว่าผมเป็นไข้หวัดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย จากการสืบค้นข้อมูลไข้หวัดจากแบคทีเรียจะมีอาการไอมีเสมหะสีเขียว ซึ่งผมไอมีเสมหะสีเขียว แต่ผมไปปรึกษาเภสัชได้ความว่าน่าจะเป็นไวรัสทั่วไปใช้เวลา7-10วัน อยากให้คุณหมอทำข้อมูลว่าเราจะจำแนกว่าเป็นไข้หวัดจากไวรัสหรือแบคทีเรียด้วยตนเองได้อย่างไรครับ เพราะถ้าเป็นแบคทีเรียจะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะใช่ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад

      ประมาณนี้ครับ ruclips.net/video/H9_1LnJnk64/видео.htmlsi=gCABJ02uktJadZm9

  • @akirai4910
    @akirai4910 Год назад +6

    เป็นคลิปที่รอคอยครับ อยากมีความรู้ที่ครอบคลุม ทันสมัย ถูกต้อง เรื่องการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันมะเร็งมาก

  • @beeburry4349
    @beeburry4349 Год назад +2

    กำลังตะไปตรวจอยู่พอดีเลยคะ

  • @exercise1p4b40
    @exercise1p4b40 Год назад +5

    ขอบคุณมากๆค่ะ อาจารย์หมอ...สำหรับคำแนะนำและอธิบาย อย่างละเอียด..รู้สึกสบายใจ..🙏🙏🙏🧡🧡🧡

  • @มนัสมนต์สุรโยธี-ท5ผ

    อาจารย์หมออธิบายชัดเจนเข้าใจ ยอดเยี่ยมค่ะ..ติดตามตลอด

  • @jeedsp2640
    @jeedsp2640 Год назад +2

    Thank you ka ❤🙏

  • @tooksuchanun3744
    @tooksuchanun3744 Год назад +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์ ตรวจสุขภาพกับรพ.ชุมชนทุกปี ซึ่งทางรพ.จะมีแพ็ดเกจอยู่แล้วว่าอายุ35ปีขึ้นไปตรวจอะไรบ้างเป็นต้น ไม่ได้ซักประวัติก่อนค่ะ ยกเว้นเราขอ ตรวจเพิ่ม เสร็จนัดฟังผลเข้าพบแพทย์

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin Год назад +4

    สวัสดีค่ะคุณหมอ❤

  • @ปราณีอรุณไพร

    ขอบคุณเจ้า❤❤❤

  • @iakiak8720
    @iakiak8720 Год назад +2

    ขอบคุณค่ะคุณแทนใจดี

  • @inspecter61
    @inspecter61 Год назад +3

    🙏🙏🙏 ขอบคุณครับ

  • @napapathdillon3645
    @napapathdillon3645 Год назад +2

    ขอบคุณค่ะ กำลังจะไปตรวจสุขภาพประจำปีพอดีเลยค่ะ 🙏🏻🙏🏻

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 Год назад +3

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ🙏

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Год назад +3

    😊🌼🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

  • @กัลยากองอําไพ

    สวัสดีคะคุณหมอ ขอบคุณมากคะคุณหมอ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Год назад +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ😊😍😍

  • @yingjiphunny1072
    @yingjiphunny1072 Год назад +3

    สวัสดีค่ะอ.หมอ

  • @sisakhonevilayphone8087
    @sisakhonevilayphone8087 Год назад +1

    ❤️🙏😇thank you

  • @yathananya7442
    @yathananya7442 Год назад +4

    คุณหมอคะหัวใจเต้นโดยเฉลี่ย 50 กว่าๆทุกวันเลย ตรวจสุขภาพก็ปกติ แต่ก็แอบกังวล เป็นแบบนี้มาหลายปีแล้ว ควรตรวจแบบไหนยังไงเพิ่มเติมคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +2

      ไม่ต้องตรวจถ้าไม่มีอาการใดๆ และหมอไม่แนะนำให้ตรวจครับ ถ้าแอบกังวลแนะนำว่าเวลาไปหาหมอ ให้หยุดแอบก่อน เอามาเล่าให้หมอฟังเขาจะได้แนะนำได้ถูกครับ กังวลอะไรก็บอกไปเพราะนั่นคือร่างกายเราครับ

  • @wanpenleohirun8153
    @wanpenleohirun8153 Год назад +3

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @kanjanaanyrukratchada2719
    @kanjanaanyrukratchada2719 Год назад +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @boonnumlym6708
    @boonnumlym6708 Год назад +3

    ขอบคุณครับ

  • @gearkmitl
    @gearkmitl Год назад +3

    เป็นโรคความดันโลหิตสูง+หัวใจเต้นเร็ว รับยาแอมโลดิพีนกับโพรพาโนลอล ไปหาหมอหมอสั่งตรวจ Electrolyte (Na,K,Cl,CO2)เพิ่มจากเดิม
    อยากทราบว่าตรวจเพื่ออะไรคะ🙏🙏🙏

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      เพื่อดูว่ามีอะไรผิดปกติรึเปล่าที่สามารถอธิบายตัวโรค แต่ข้อมูลที่ให้มา มันไม่สามารถตอบอะไรได้มากกว่านี้ ดังนั้นถ้าสงสัยก็ควรกลับไปถามหมอที่สั่งตรวจครับ

    • @gearkmitl
      @gearkmitl Год назад +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะ

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov Год назад +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    สำหรับข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในคลิปนี้ค่ะ

  • @panidarodbutr2172
    @panidarodbutr2172 Год назад +2

    ขอบคุณค่ะ มีประโยชน์มาก

  • @Kamonpa33
    @Kamonpa33 Год назад +3

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @soulmate6742
    @soulmate6742 Год назад +3

    ขอบคุณมากค่ะ

  • @thanchanokinmor82
    @thanchanokinmor82 Год назад +3

    ขอบคุณมากค่ะ เป็นความรู้มากๆเลยค่ะ

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat Год назад +5

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

  • @charunipachai1562
    @charunipachai1562 Год назад +2

    ขอบคุณมากคะที่ให้ความรู้

  • @NANA426-wf7lj
    @NANA426-wf7lj Год назад +3

    ขอบพระคุณค่ะ

  • @AminaNat
    @AminaNat Год назад +4

    ขอบคุณมากเลยค่ะคุณหมอ กำลังหาคอสไปตรวจเลยค่ะ 🙏🏼🙏🏼

  • @KOLET199
    @KOLET199 Год назад +2

    สวัสดีครับคุณหมอ
    ขอบคุณมากครับ🙏✨

  • @ณภัทรจันทสิงห์-ธ6ณ

    ❤❤❤🎉🎉🎉 ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะ

  • @frosebrakegamertv886
    @frosebrakegamertv886 Год назад +1

    มีประโยชน์ มากๆ เลยคะ ขอบคุณคุณหมอนะคะ

  • @audaudanut3068
    @audaudanut3068 Год назад +3

    สวัสดืครับติดตามรับชมอยู่ครับ

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 Год назад +3

    ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ

  • @tumzthedog9309
    @tumzthedog9309 Год назад +1

    ขอบคุณครับอาจารย์♥

  • @warongratratanawarang3057
    @warongratratanawarang3057 Год назад +4

    อยากให้คุณหมอ พูดเรื่องการถนัดซ้าย ขวา
    นายกปัจจุบันของเรา เขียนหนังสือมือซ้ายค่ะ❤❤😊😊

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan Год назад +4

      ถนัดซ้ายหรือขวา ไม่ได้เป็นการบอกอะไร ไม่ได้บอกว่าถนัดข้างไหนฉลาดกว่าอีกข้างครับ การถนัดซ้ายหรือขวา เกิดจากกรรมพันธุ์และการเลี้ยงดูและตัวเด็กเอง.

  • @謝昆宏-d7b
    @謝昆宏-d7b Год назад +3

    ได้ประโยชน์มากขอบคุณคุณหมอค่ะ

  • @bemiracle
    @bemiracle Год назад

    ขอบคุณอ.หมอ ที่ให้ความรู้ค่ะ 🙏

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 Год назад

    ขอบคุณนะคะ ตรวจสุขภาพครั้งต่อไปคงต้องตรวจไทรอยด์ วิตามินดีเพิ่มเติมแล้วละคะ เพราะไหนๆก้โดนเจาะเลือดไปแล้ว
    🙏

  • @learnlearn1522
    @learnlearn1522 Год назад +2

    คุณหมอครับ เทคนิคการใช้กาแฟกระตุ้น กลูต้าไธโอนของ dr กอลสันในการล้างพิษตับ และขับตระกัน ออกจากร่าง กาย เห็น คนที่ทำสำเร็จมักลงรูปเศษ ก้อนอะไรไม่รู้หลุดออกมาเชื่อได้ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +3

      เชื่อถือไม่ได้ครับ ตับไม่มีพิษที่ต้องล้างอะไรครับ คนเหล่านี้ไม่มีสักคนที่บอกได้นะครับว่าพิษที่ว่านั้นชื่อว่าอะไร มีสูตรทางเคมีเป็นอย่างไร แล้วกลไกของกาแฟที่ไปกระตุ้นมันทำอย่างไร ฯลฯ ดังนั้นถ้าเป็นครอบครัวผม ผมจะไม่แนะนำครับ แต่ถ้าคนอื่นๆอยากจะลองอันนั้นก็แล้วแต่ครับ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan Год назад +1

      เป็นความรู้ของหมอเมื่อ 90 ปีที่แล้วครับ ล้างลำไส้ด้วยกาแฟ เพื่อล้างสารพิษในร่างกาย ในยุคนั้นก็เกิดอันตรายกับคนไข้ด้วย ในยุคนี้ก็มีคนยังเชื่อทำตามอยู่จำนวนนึง มันทำให้ติดเชื้อ ลำไส้อักเสบ ลำไส้ทะลุได้ ทำให้ท้องผูกด้วย. ส่วนหมอกะโหลกกะลาในไทยไม่ต่ำกว่า 2 คน (ขี้เกียจไปหาว่ามีกี่คน) ใช้สูตรล้างพิษตับ คนละสูตรกับหมอกอลสัน. เจ้าก้อนสีเขียวและก้อนไขมันที่ถ่ายออกมา มันไม่ใช่นิ่วหรือสารพิษแต่อย่างใด มันเกิดจาก น้ำมันมะกอก+น้ำมะนาว+น้ำดีในถุงน้ำดีในตัวคน ที่กินเข้าไปตอนที่อยู่ในคอร์สล้างพิษตับราคา 5 พันบาท. มันไม่ได้ออกมาจากตับ และ มันไม่ใช่ก้อนนิ่ว. การล้างพิษตับ ถ้าเป็นคนปกติจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเป็นคนที่ไตไม่ค่อยดีอยู่ก่อน จะทำให้ไตเสื่อมลงกว่าเดิมอีก. (ผมไม่ใช่หมอ)

  • @OppoOppo-pw8in
    @OppoOppo-pw8in Год назад +5

    เท่าที่ตรวจประจำปีผมตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องทัองดูหลักๆสองอย่างคือ ไขมันพอกตับกับสภาพต่อมลูกหมาก ถ้าตัดรายการนี้ออกเท่ากับลดรายจ่ายลง ผมสามารถตรวจสุขภาพได้ปีละสองครั้งเลยครับ ถามอาจารย์ครับ อาการนำของโรคเกี่ยวกับปอดที่น่ากังวลมีอะไรบ้างครับ ย้ำว่าน่ากังวลครับ ขอบคุณครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +5

      อาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจอะไรก็ได้ที่เป็นเกิน 2 อาทิตย์ครับ เช่น ไอ เหนื่อย แน่นหน้าอก เป็นต้น และอีกอย่างคือ อาการที่คุณกังวล สงสัย หรือคิดจะหาคำตอบ พวกนี้ควรไปตรวจหมดครับ

  • @SoulMasterX
    @SoulMasterX Год назад +2

    ตามความเห็นของคุณหมอ การได้รับควันบุหรี่มือสอง ต้องมากเท่าไหร่ถึงจะอันตรายครับ ความเสี่ยงเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับคนที่สูบหรี่ตรงๆ ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +4

      ตอบไม่ได้ครับ แต่ถ้าเจอทุกวัน ความเสี่ยงก็เท่าๆกับคนสูบครับ

  • @toui2707
    @toui2707 Год назад +3

    Thanks, Dr Keep it up ❤

  • @PPV-ig2es
    @PPV-ig2es Год назад +2

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขอบคุณมากนะค่ะ

  • @helenvlog9913
    @helenvlog9913 Год назад +1

    ขอบคุณมากค่ะ กำลังอยากจะไปตรวจค่าVO2Max อยู่เลยค่ะ

  • @manidav.414
    @manidav.414 Год назад +1

    เป็นประโยชน์​มากๆๆค่ะ​ ขอบคุณ​ค่ะ​ 😊🙏

  • @nww.5027
    @nww.5027 Год назад

    เคยตรวจโปรแกรมวัยทอง50+ค่ะ ,พบว่า ABI เส้นเลือดขา2ข้างแข็งและไม่หยืดหยุ่น แนะนำตรวจทุกปี และอื่นๆเช่น ultrasound abdomen พบเนื้องอก, mammogram พบความผิดปกติ, BMDพบกระดูกบาง ซึ่งทั้งหมด คุณหมอแจ้งว่าไม่อันตราย แต่แนะนำให้ตรวจทุกปี มีหัวข้อไหนบ้างคะที่จำเป็นต้องตรวจทุกปีจริงๆ(อายุ56ปีค่ะ) ค่าตรวจรพ.เอกชนแพงมากเลยค่ะคุณหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      ถ้าเจอความผิดปกติจากการตรวจไปแล้วมันก็ช่วยไม่ได้ครับ เพราะไม่ตรวจก็จะไม่สบายใจซะเอง ซึ่งจริงๆทั้งหมดไม่ได้ต้องตรวจสักตัว แล้วมันก็ไม่ได้อันตรายถ้าเราไม่ได้ทำอะไรกับมัน ตัวที่ควรตรวจทุกปีจริงๆคือ mammogram ส่วนที่เหลือไม่ได้จำเป็น และถ้ายังกังวลสงสัย อันนั้นก็คงต้องทำตามที่หมอเขาแนะนำแล้วล่ะครับ

    • @nww.5027
      @nww.5027 Год назад +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ❤️

  • @DoDeeDee-2567
    @DoDeeDee-2567 Год назад

    คุณหมอคะ เคยเป็นมะเร็ง.ที่เต้าขวา ต่อมาคลำเจอก้อน .5x1.5 cm. ที่รักแร้ซ้าย รพ.ดูแล้วบอกคงเป็นก้อนไขมันหรือต่อมน้ำเหลือง ดิฉันอยากตัดก้อนนี้ออกเลยจะดีมั๊ยคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      ถ้าเป็นต่อมน้ำเหลืองต้องเจาะมาตรวจ ไม่ก็ไปตัดออกครับ แต่ถ้าก้อนไขมัน ไม่ต้องยกเว้นอยากจะตัดเองครับ

    • @DoDeeDee-2567
      @DoDeeDee-2567 Год назад +1

      ขอบพระคุณค่ะ คุณหมอ

  • @hanayakyokoi5617
    @hanayakyokoi5617 Год назад +3

    ขอรบกวนถามคุณหมอเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งตาด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      มะเร็งตาไม่มีการตรวจคัดกรองใดๆครับ ยกเว้นคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิดซึ่งหมอที่รักษาจะเป็นคนให้คำแนะนำเองครับ

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 Год назад +2

    ผู้ฟังตรวจสุขภาพประจำปีในสิ่งจำเป็น
    ตามที่อาจารย์อธิบาย และเพิ่มการตรวจค่าออกซิเจนที่ปลายนิ้วชี้ ด้วยค่ะ

  • @amornkitphadungkiat8818
    @amornkitphadungkiat8818 Год назад +2

    ก็อยากไปตรวจเหมือนกันค่ะ..ไม่เป็นอะไรแต่อยากตรวจ

  • @narlaw1342
    @narlaw1342 Год назад +3

    🙏❤

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 Год назад +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอตรวจสุขภาพประจำปีควรครวจอะไรบ้าง การตรวจสุขภาพประจำปี (check up)จะเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับเรา สิ่งแรกคือคุณหมอจะซักประวัติ การตรวจสุขภาพประจำปีควรเริ่มตั้งแต่อายุ18-20ปี ตรวจทั่วไปวัดสัญญาณชีพความดัน ตรวจเลือดดูไขมันคลอเรสเตอรอลวัดน้ำหนักส่วนสูงสายตา สารเสพติด ความเสี่ยงเบาหวาน คนอายุ 35 ขึ้นไปตรวจเบาหวานเจาะเลือดดูค่าฮีโมโกลบิน A1C ดูไขมันการตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นของเม็ดเลือด ค่าตับ ค่าไตไทรอยด์ มะเร็ง นั้นไม่มีความจำเป็น การตรวจระบบปอดๆมีอย่างเดียวที่จะต้องคัดกรองคือมะเร็งปอด การตรวจสมรรถภาพปอดโดยการเป่าปอด การX-ray ปอดประจำปีไม่มีความจำเป็นใดๆ แต่สิ่งที่ต้องทำคือตรวจคัดกรองมะเร็งโดยการทำ Low -dose CT Scan เมื่ออายุ50ปีขึ้นไป โดยคนนั้นจะต้องเป็นคนที่สูบบุหรี่มามากกว่าหรือเท่ากับ20 pack year (เอาจำนวนซองที่สูบในแต่ละวัน×กับจำนวนปี)รวมทั้งคนที่กำลังสูบอยู่หรือหยุดสูบมาภายใน15ปี โรคหัวใจการตรวจคลื่นหัวใจ การตรวจวิ่งสายพาน 2 อย่างนี้ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ยกเว้นคนที่มีความเสี่ยงจากการที่คุณหมอซักประวัติ แล้วระบบหลอดเลือดไม่มีความจำเป็นต้องตรวจชัดเจนมีกรณีเดียวคือเรื่องของการที่หลอดเลือดแดงในท้องมีการโป่งพองแตกได้ (Abdominl aortic aneurysm)คนที่ต้องตรวจคือผู้ชายอายุ 65-75 ถ้าเคยสูบบุหรี่มาก่อนหรือสูบบุหรี่อยู่ควรทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง หรือถึงแม้ไม่ได้สูบบหรี่แต่มีอายุ65-75 ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติหลอดเลือดแดงแตกในช่องท้องควรต้องมีการตรวจอัลตร้าซาวด์ หลอดเลือดที่คอ(Carotid Artery) หลอดเลือดที่ขาไม่แนะนำ มะเร็งเต้านมในผู้หญิงคัดกรองตั้งแต่อายุ40ปีขึ้นไปอ.หมอแนะนำถ้าอายุ40ปีขึ้นไปไม่มีปัญหาอะไรควรทำแมมโมแกรมอาจทำปีเว้น 2 ปีก็ได้ (ถ้าเรามีชีวิตอยู่ต่อได้เกิน10 ปี เราควรคัดกรองมะเร็ง) มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) ควรตรวจตั้งแต่อายุน้อย ตั้งแต่ 20-21 ปี ตรวจภายในตรวจ pap smear ร่วมกับการตรวจหาเชื้อ HPV ถ้าตรวจHPVพร้อมกับpap smearตรวจทุก 5 ปี แต่ถ้าทำ pap smear ตรวจทุก3ปีและหากเราอายุครบ 65 ปี แลัวก่อนหน้านั้นปกติทุกอย่างไม่ต้องตรวจ มะเร็งรังไข่ๆไม่มีการตรวจคัดกรองชัดเจนยกเว้นคนที่มีประวัติครอบครัวที่สงสัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ หรือคนที่มียีนส์ผิดปกติ การตรวจมะเร็งด้วยการตรวจเลือดไม่มีประโยชน์ มะเร็มต่อมลูกหมากคำแนะนำ ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป ถ้าต้องการตรวจจะมีการตรวจเลือดPHAถ้ามันสูงก็จะนำไปสู่การตรวจขั้นต่อไป..มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) แนะนำอายุ45ควรตรวจคัดกรองมีการตรวจหลายแบบเช่นการส่องกล้อง ตรวจอุจจาระ โดยการตรวจแต่ละแบบก็จะมีความถี่ที่ไม่เท่ากัน ตับอ่อนไม่มีการตรวจคัดกรองได้ มะเร็งตับคัดกรองไม่ได้จะคัดกรองได้เฉพาะคนที่ความเสี่ยงสูงเช่นมีโรคตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ B,C ที่เป็นเรื้อรัง มะเร็งผิวหนังทั่วไปคัดกรองคนผิวขาวฝรั่งคนแพ้แดดคนที่มีกระมากๆที่เหลือนอกเหนือจากนี้ไม่มีความจำเป็นต้องคัดกรอง ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะ

  • @vandam4687
    @vandam4687 Год назад +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ผลตรวจสุขภาพประจำปีเพิ่งออกมาค่ะ 🙏

  • @Maneepatchaya
    @Maneepatchaya Год назад +2

    ขอบคุณมากคะ ❤

  • @Sonh072
    @Sonh072 Год назад +1

    Thank you 🙏🏻 so much ⭐️👨🏼‍⚕️⭐️

  • @hansvanvark9203
    @hansvanvark9203 Месяц назад +1

    สวัสดีค่ะ ขอถาม เรื่องนิ่วในไตรค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Месяц назад

      เคยทำคลิปไปแล้ว ลองไปฟังดูครับ ruclips.net/video/wvGD8xfh_Ik/видео.htmlsi=eU8n2rdVfHW0WRUc

  • @winaipengtoom3147
    @winaipengtoom3147 Год назад +3

    รอคลิบนี้ครับบ❤️🌺🌺🌺

  • @teenoidoitong3898
    @teenoidoitong3898 Год назад +3

    สวัสดีครับอาจารย์

  • @ZikFrekTor
    @ZikFrekTor Год назад +3

    เป็นคนขี้ตื่นเต้นมาก ตอนจะวัดความดันหัวใจจะเต้นตุบๆ ควบคุมไม่ได้เลย ทำให้เสียเวลาต้องวัดหลายรอบมาก ผลที่ได้ก็สูงเหมือนเดิมเลยครับ หรือจะไปทำฟันบางทีหมอก็ไม่ทำให้อีก ส่วนใหญ่บอกให้ไปนั่งพัก แต่ผมไม่ได้เหนื่อย แต่มันเหมือนแพนิค ตื่นเต้น เห็นเครื่องวัดปุ๊บ ใจเต้นทันที จะแก้ไขยังไงดีครับคุณหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +4

      ฝึกควบคุมการหายใจให้ช้าที่สุดครับ เวลาที่ไปวัดหรือเวลาตื่นเต้นให้ลองหายใจเข้า 1 วินาที หายใจออกยาวๆ อย่างน้อย 6-10 วินาทีแล้วค่อยหายใจเข้า ทำแบบนี้ซ้ำๆไปเรื่อยๆจนกว่าจะคุมอาการได้ ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลควรพบจิตแพทย์ให้เขาช่วยครับครับ
      ruclips.net/video/dbev21X5TcQ/видео.htmlsi=xupjKhvGT1W1UQ-b

  • @mutitaja-to4ux
    @mutitaja-to4ux Год назад +2

    🙏❤️❤️❤️❤️❤️

  • @taosuan6745
    @taosuan6745 Год назад +1

    คุณหมอครับถ้าตรวจอินซูลินนี่ค่าเท่าไหร่ถึงจะปกติครับ แล้วถ้าตรวจโดยการอดอาหารมาค่าเท่าไหร่ถึงปกติครับแล้วถ้าเขามีการให้ดื่มกลูโคสแล้วตรวจ ค่าเท่าไหร่ถึงเป็นปกติครับ แล้วสำหรับคนที่เป็นเบาหวานประเภท 2 ถ้าตรวจมาแล้วค่าเท่ากับคนปกติก็คือหายแล้วใช่ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      อินซูลินปกติไม่ตรวจกันครับ ยกเว้นสงสัยเนื้องอกที่สร้างอินซูลิน ค่าปกติต้องไปดูจากแลบที่รายงานแต่ละที่ครับ ดื่มกลูโคสไม่ได้เอาไว้ตรวจอินซูลินครับ มันเอาไว้ตรวจเบาหวานที่วินิจฉัยยากๆ เช่น เบาหวานในเวลาตั้งครรภ์ เป็นต้น เบาหวานส่วนมากไม่หาย ยกเว้นที่เกิดจากยาและเราหยุดยาได้ หรือจากความอ้วนและต้องเป็นแบบไม่รุนแรงและเราลดความอ้วนได้จนปกติ กรณีของคุณผมว่ามันมีอะไรมากกว่านั้น ดังนั้นคุณควรถามจากหมอที่ตรวจ ถามทุกข้อที่คุณสงสัยนั่นแหละครับ

  • @ปู่ดํา-ฅ1ย
    @ปู่ดํา-ฅ1ย Год назад +5

    อยากให้หมอไทยมานั่งดูด้วย......

  • @Best-om7ud
    @Best-om7ud Год назад +3

    การตรวจเบาหวาน ตรวจแบบอดอาหาร8-10 ชม. เจาะปลายนิ้ว นี่แม่นยำมั้ยคะ หรือควรตรวจน้ำตาลสะสมมากกว่าคะ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan Год назад +1

      เจาะเลือดที่โรงพยาบาลหรือที่แล็ป แม่นยำกว่า เจาะปลายนิ้วใช้เครื่องวัด. เจาะที่โรงพยาบาล วัดระดับน้ำตาลในเลือด ควรเลือกตรวจค่าน้ำตาลสะสมด้วย. แต่ถ้าจะตรวจน้ำตาลสะสมอย่างเดียว ก็ไม่ต้องอดอาหารเลยครับ.

    • @Best-om7ud
      @Best-om7ud Год назад +1

      @@surasakanakekanjanapan ขอบคุณนะคะ🙏

  • @อฉรว
    @อฉรว 8 месяцев назад +1

    คุณหมอคะ วันนี้ได้ไปตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีการตรวจเอ็กซเรย์ปอด ปรากฎว่าคุณหมอได้อ่านผลและสรุปว่า มีผังพืดในปอด และปอดด้านขวาส่วนต้นมีเงา ไม่ทราบว่าผังพืดและเงานี้เกิดจากอะไรและอันตรายหรือไม่คะ (เป็นโควิดมา 6 ครั้ง) แล้วมีแนวทางในการรักษารึป่าวคะ (คุณหมอเจ้าของเคสไม่ได้แจ้งให้รับการรักษา) ตอนนี้มีอาการแน่นหน้าอกนิดๆ และไอแห้งๆ บ่อยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  8 месяцев назад +1

      อันนี้ก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ มันต้องไปตรวจหาสาเหตุก่อนถึงจะรู้แนวทางตจ่อไปครับ

    • @อฉรว
      @อฉรว 8 месяцев назад

      @@DrTany ขอบพระคุณมากค่ะ

  • @สุจิตราอ่อนโยน-ด9ข

    อาจารย์ตัดผมใหม่น่ารัก

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +2

    อัลตราซาวด์ช่องท้อง ทำให้เห็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ เห็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ เห็นไขมันพอกตับได้ แล้วเหตุใดจึงไม่จำเป็นหรอคะคุณหมอ ถ้าทราบเร็วจะได้รักษาได้เร็ว ไม่ดีหรอคะ เราทำทุกปีเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan Год назад +1

      ถ้าไม่มีอาการใดๆ หมอไม่สั่งตรวจ ก็คือ ไม่จำเป็นต้องตรวจครับ ถ้าอยู่ดีๆอยากตรวจโน่นนี่ บางคนมันอาจเลยเถิดไป CT Scan , MRI ก็เท่ากับว่าเราจะจ่ายเยอะโดยไม่จำเป็น แต่ถ้าเรื่องเงินไม่มีปัญหา ก็ตรวจได้ครับ ค่าตรวจทั้งหมดอาจเป็นแสนบาท.

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +4

      พวกนั้นถ้าเจอ แล้วไม่มีอาการ เราไม่รักษา แล้วก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำอะไร เพียงแต่ถ้าตรวจแล้วหมอก็จะโดนบังคับให้แนะนำอะไรสักอย่าง แต่คำแนะนำเหล่านั้นไม่ได้มีประโยชน์อะไรนัก นิ่วถุงน้ำดีไม่มีอาการ เราไม่ต้องรักษา แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรคนไข้ก็จะกังวลเหมือนที่ชอบมีคนมาถามผมบ่อยๆนี่แหละครับ ช็อกโกแลตซีสต์ ยังไงคนไข้ต้องมีอาการแน่นอนอยู่แล้ว ดังนั้นอันนี้ถือว่าตรวจตามอาการครับ ไม่ใช่จู่ๆไปตรวจ ส่วนไขมันพอกตับก็เจอได้ในคนที่อ้วน ไม่ก็ไขมันสูง เบาหวานซึ่งเราก็คัดกรองอยู่แล้ว และยังไงมันก็ต้องไปรักษาเรื่องพวกนั้นไม่ว่าจะตรวจหรือไม่ตรวจ ultrasound ก็ตาม ไขมันพอกตับก็จะดีขึ้น สรุปว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำใดๆทั้งสิ้นครับ

  • @timetime8962
    @timetime8962 Год назад +1

    มีอาการสะอึกบ่อยและนาน และเมื่อยกขามีอาการปวดท้องนิดๆครับ มันเป็นอะไรครับและเกี่ยวกันไหมครับ เหมือนท้องจะอืดด้วยครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +2

      อาจจะเกี่ยวครับ เรื่องสะอึกให้ไปฟังคลิปที่ผมเคยทำเรื่องสะอึกครับ ยกขาปวดท้องนี่ผมไม่ทราบว่าเป็นอะไรครับ บางทีก็มีลมในท้อง กรดไหลย้อน หรือกล้ามเนื้อดึงรั้งก็ได้ครับ ควรไปตรวจครับ ปล เวลาถ้ากังวลอะไรก็ควรไปตรวจเสมอ แล้วก็ถามหมอที่ตรวจให้เราเข้าใจทุกอย่างก่อนที่จะกลับออกมาด้วยครับ

  • @pearakhabanthung
    @pearakhabanthung Год назад +2

    ไปตรวจสุขภาพ แล้วหมอบอกว่า เกล็ดเลือดต่ำ อยากจะถามหมอว่า เกล็ดเลือดต่ำเกิดจากอะไร แล้วมีวิธีดูแล รักษา ยังไง ได้บ้างคะ พอดีถามหมอแล้ว หมอบอกว่าไม่อันตราย เลยไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี ค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      มันมีหลายสาเหตุมากมาย เช่น จากภูมิคุ้มกันทำลายเกล็ดเลือด จากยา จากไขกระดูกไม่สร้างเกล็ดเลือด จากการติดเชื้อบางอย่าง เป็นต้น และผมไม่สามารถบอกได้ว่าของคุณเป็นเพราะอะไร ต้องถามจากหมอที่รักษาครับ

    • @pearakhabanthung
      @pearakhabanthung Год назад +1

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ โดยส่วนตัวไม่ได้กินยาอะไรใดๆค่ะ เพียงแต่ช่วงฤดูหนาวเป็นหวัดแล้วไอไอแบบไอไอมาก หายช้าค่ะ กลัวว่าเป็นโรคปอดหรือเปล่า เลยไปตรวจค่ะ แต่หมอบอกว่าไม่มีอะไรเลย เพียงแต่เกล็ดเลือดต่ำ อย่างเดียวค่ะ เลยถามคุณหมอเขาว่า ต้องดูแลตัวเองยังไงบ้าง หมอเขาบอกแต่ว่า ให้สังเกตอาการ ว่ามีตุ่มแดงขึ้นตามตัวไหม สงสัยหมอเขา คิดว่ามีเชื้อไข้เลือดออก อยู่ในตัวหรือเปล่าไม่รู้ ซึ่งหมอไม่ได้อธิบายอะไรเลยว่าให้สังเกตเพราะอะไร เคยถามหมอที่ตรวจแล้ว 2 ครั้งค่ะหมอก็ตอบเหมือนเดิมว่าไม่เป็นอะไร ค่ะ เลยไม่รู้จะไปยังไงต่อ ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอที่ตอบคำถาม ได้ข้อมูลและความรู้เยอะกว่าหมอที่ไปตรวจสุขภาพอีกค่ะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ

    • @ณฐพรแซ่โล้ว-ผ2อ
      @ณฐพรแซ่โล้ว-ผ2อ Год назад +1

      ถ้ามีการผ่าตัดอะไร น่าจะไม่ค่อยดีไหม เลือด