คนดังกับโรค : พี่ตูน BodysSlam กับโรคที่ทุกคนอาจกำลังเป็นอยู่ !!!

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 6 сен 2024
  • คนดังกับโรค : พี่ตูน BodysSlam กับโรคที่ทุกคนอาจกำลังเป็นอยู่ !!!
    กระดูกคอเสื่อม Cervical spondylosis
    เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของใครหลายคน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานร่างกายส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณส่วนคออย่างหักโหมจนเกินไป ก่อให้เกิดอาการเจ็บ ปวด หรือแม้กระทั่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกระดูกคอเสื่อมได้ตามมา
    สาเหตุของอาการกระดูกคอเสื่อม
    ข้อกระดูกคอของมนุษย์จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก คือ กระดูกคอ หมอนรองกระดูก และข้อต่อของกระดูกคอ โดยปกติอวัยวะนี้จะมีความยืดหยุ่นและให้ความคล่องตัว เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น การก้มศีรษะ การเงยศีรษะ หรือการหันศีรษะไปยังทิศทางต่างๆ ทำให้กระดูกคอถือเป็นอีกอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระดูกคอเสื่อมได้นั้น มีดังนี้
    ข้อกระดูกเริ่มเสื่อมจากอายุที่มากขึ้น
    ผู้ที่มีอาการกระดูกคอเสื่อมนั้นส่วนใหญ่มักมาจากปัจจัยของอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะเป็นช่วงที่ร่างกาย และข้อต่อต่างๆ ค่อยๆ เสื่อมสภาพลงจากการใช้งาน ซึ่งส่งผลต่อข้อต่อกระดูกและหมอนรองกระดูกได้เช่นกัน โดยปกติผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนประกอบของน้ำในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้หมอนรองกระดูกคอเริ่มเสื่อม และผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ข้อต่อกระดูกจะเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งเป็นที่มาให้เกิดอาการกระดูกคอเสื่อมได้
    ได้รับอุบัติเหตุ
    สำหรับผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณลำคอ ทั้งแบบรุนแรงและไม่รุนแรง เช่น การได้รับการกระแทก หรือหกล้ม สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่กระดูกคอจะเสื่อมได้มากกว่าคนทั่วไป
    ใช้งานกระดูกคอไม่ถูกต้อง
    หลายคนมักจะมีพฤติกรรมการใช้งานกระดูกคอที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น การก้มหรือเงยศีรษะบ่อยๆ และการนั่งทำงานในท่านั่งเดิมๆ เป็นเวลานาน รวมถึง กลุ่มนักกีฬาที่มีการสะบัดคอบ่อยๆ เช่น กีฬาฟุตบอล ที่ต้องโหม่งลูกฟุตบอล พฤติกรรมเหล่านี้สามารถส่งผลให้ข้อต่อของกระดูกคอเสื่อมเร็วขึ้นได้
    อาการของคนเป็นโรคกระดูกคอเสื่อม
    จากสาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถอธิบายลักษณะโรคกระดูกคอเสื่อมได้เป็น 3 กลุ่มอาการ ได้แก่
    อาการปวดต้นคอ (Axial Neck Pain) เป็นอาการที่ปวดต้นคอ รวมถึง อาการปวดร้าวไปถึงบริเวณท้ายทอย หรือปวดลามไปต้นสะบักด้านหลัง และช่วงหัวไหล่ด้านหลังได้ ซึ่งกลุ่มอาการนี้จะส่งผลจากข้อกระดูกคอ หรือหมอนรองกระดูกคอที่เสื่อม
    อาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy) เป็นอาการโรคกระดูกคอเสื่อม ที่เกิดจากมีหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือกระดูกงอกที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ไปกดทับตรงรากประสาท ส่งผลให้คนไข้รู้สึกปวดร้าวลงแขน หรือลามไปถึงนิ้วมือ นอกจากนี้ บริเวณแขนและนิ้วมืออาจมีอาการชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วย
    อาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy) เป็นอาการที่มีสาเหตุเช่นเดียวกับ Radiculopathy แต่ในกรณีของ Myelopathy จะเกิดการจากกดทับไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นอาการโรคกระดูกคอเสื่อมที่มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด โดยผู้ป่วยจะมีอาการข้อมือเกร็ง ไม่สามารถใช้งานมือได้อย่างเต็มที่ เช่น การติดหรือแกะกระดุม เขียนหนังสือลำบาก และลายเซ็นเปลี่ยนไป รวมถึง อาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น เดินทรงตัวไม่ได้ เดินขากว้างหรือขาแข็งเป็นหุ่นยนต์ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการกดทับไขสันหลังอาจไม่มีอาการปวดคอ จึงต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคนไข้นั่นเอง
    สำหรับคนไข้ที่ถูกวินิจฉัยให้เป็นโรคกระดูกคอเสื่อม อาจมาพบแพทย์ด้วยกลุ่มอาการใดอาการหนึ่ง หรืออาจมีอาการในหลายๆ กลุ่มอาการร่วมกันก็ได้ ซึ่งโดยปกติถ้ามีปัญหาเพียงแค่ความเสื่อมของกระดูกคอเพียงอย่างเดียว มักจะมาในอาการกลุ่มที่ 1 แต่ถ้ามีปัญหารากประสาทหรือไขสันหลังถูกกดทับ คนไข้อาจมาด้วยอาการกลุ่มที่ 1 ร่วมกับกลุ่มที่ 2 หรือ 3 ได้
    วิธีรักษาโรคกระดูกคอเสื่อม
    หากพบว่าตนเองเข้าข่ายอาการกระดูกคอเสื่อม เบื้องต้นแนะนำให้พบแพทย์ออร์โธปิดิกส์ หรือหมอกระดูกที่มีความชำนาญและมากประสบการณ์ในด้านกระดูกและข้อ เพื่อเข้ารับการประเมินและวินิจฉัยก่อน ซึ่งทางแพทย์นั้นจะหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับคนไข้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมจะมีขั้นตอนการรักษาหลักๆ ดังนี้
    ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำให้กระดูกคอเสื่อม
    สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระดูกคอเสื่อมแต่อาการไม่รุนแรงมาก ทางแพทย์จะแนะนำให้เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อน ไม่ว่าจะเป็น การหลีกเลี่ยงการหมุนคอ การแหงนคอบ่อยๆ หรือการก้มและเงยศีรษะ รวมถึง การนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อกระดูกคอเสื่อมเร็ว
    การให้ยา
    เนื่องจากโรคกระดูกคอเสื่อมไม่มียารักษาโดยตรง เช่น ยาลดหรือชะลอความเสื่อมของกระดูกคอ ดังนั้น ในระหว่างที่คนไข้กำลังรักษาอาการกระดูกคอเสื่อมนั้น แพทย์จะให้ยาบรรเทาอาการปวดเป็นอีกหนึ่งวิธีเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด หรืออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เช่น การใช้ยาลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดอาการปวดปลายประสาท เป็นต้น ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพเป็นอย่างดีโดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอาการปวดต้นคอ (Axial Neck Pain) และอาการกดทับรากประสาท (Radiculopathy)
    การผ่าตัด
    แพทย์จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกระดูกคอเสื่อมมีข้อบ่งชี้เหล่านี้
    อาการปวด และไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น: หากผู้ป่วยโรคกระดูกคอเสื่อมใช้การรักษาด้วยการกินยา และการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังมีอาการปวดรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิต
    อาการแย่ลง หรือมีภาวะอ่อนแรงที่รุนแรง: ถ้าตรวจติดตามอาการแล้ว แพทย์พบว่าคนไข้มีอาการไม่ดีขึ้น หรือร่างกายมีภาวะอ่อนแรง เช่น แขนอ่อนแรง หรือยกแขนไม่ขึ้น
    อาการกดทับไขสันหลัง (Myelopathy): หากผู้ป่วยมีอาการของการกดทับไขสันหลัง เช่น อาการแขนและขาเกร็ง หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้

Комментарии • 335