ผู้ป่วยติดเตียง จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 2 ноя 2024

Комментарии • 198

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai Год назад +9

    (ส่วนที่ 1)
    ผู้ป่วยติดเตียง จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง
    สวัสดีครับ
    สืบเนี่องจากเรื่องของการออกกำลังกายในผู้สูงอายุซึ่งผมทำคลิปลงไปแล้วนั้น ก็มีคนสอบถามมาว่า ถ้าเป็นคนติดเตียงล่ะ เราจะออกกำลังกายเขาได้อย่างไรนะครับ วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาเรื่องนี้มาคุยให้ฟังกันเลยนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันนะครับ เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
    สำหรับผู้ป่วยติดเตียงนั้นก็มีหลากหลายนะครับ ทั้งคนไข้ที่มีความจำเสื่อมจนถึงขั้นช่วยตัวเองไม่ได้นะครับ คนไข้ที่มีอัมพฤกษ์อัมพาตจากการที่โรคหลอดเลือดสมองหรือว่าไขสันหลังของเขามีปัญหานะครับ ก็จะทำให้เขาไม่สามารถที่จะขยับตัวได้มากเท่าไหร่ หรือบ้างครั้งเนี่ย มีโอกาสฟื้นตัวแต่ว่าไม่สามารถที่จะทำได้ด้วยเหตุผลต่างๆนาๆนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +3

      (ส่วนที่ 2)
      ดังนั้นที่สิ่งที่เราจะต้องคิดในแง่ของการออกกำลังกายคนเหล่านี้เนี่ย ขั้นแรกเลยนะครับ ต้องรู้หลายๆอย่างก่อน
      🔶ข้อแรก คนไข้เนี่ยเขาเข้าใจเราหรือเปล่า เขาทำตาม เขาพูดรู้เรื่องไหม เพราะว่าถ้าพูดไม่รู้เรื่องเนี่ยเป็นอีกกรณีนึงแล้วนะครับ เราต้องดูว่าเขาพูดกับเรารู้เรื่องหรือเปล่า เขาทำตามที่เราบอกเขาได้ไหม เช่นว่าให้เขายกมือ เขายกได้ไหมนะครับ ให้พูด ให้กิน ให้เคี้ยว เขาทำได้ไหมนะครับ พวกนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆที่เราจะต้องประเมินให้ได้ก่อนนะครับ
      🔶อันที่สอง คือจะต้องรู้ว่าเขาทำอะไรได้บ้างนะครับ บางคนอ่อนแขนขาข้างนึง อีกข้างนึงยังทำได้อยู่นะครับ หรือคนที่ออกมาจากไอซียูนะครับ เพราะว่าป่วยหนัก เป็นโควิด โควิดลงปอดหนักๆแล้วก็ออกมาจากไอซียู แต่ว่านอนโรงพยาบาลเป็นเดือนเลย พอออกมาก็เดินไม่ได้เลยนะครับ พวกนี้ก็จะเป็นผู้ป่วยที่ถือว่าติดเตียงอีกกรณีนึงก็ได้นะครับ ดังนั้นพวกนี้ก็จะมีความไม่เหมือนกัน

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +3

      (ส่วนที่ 3)
      🔶อันที่สามที่เราต้องรู้ก็คือว่าโรคประจำตัวคนไข้เนี่ยมีอะไรบ้าง แล้วมีอะไรที่เป็นข้อจำกัดที่ทางการแพทย์แนะนำว่าจะต้องระวังบ้าง ซึ่งตรงนี้เราจะต้องคุยกับหมอที่รักษานะครับ ว่ามีอะไรที่เราจะต้องระวังบ้าง เพราะว่ามันอาจจะมีหลายอย่างและในแต่ละบุคคลเนี่ยมันไม่เหมือนกันดังนั้นถ้าถามผมเนี่ย ผมก็จะตอบให้ได้ไม่หมดเพราะว่ามันต้องขึ้นกับคนไข้คนนั้นเลยจริงๆนะครับ
      โอเค ดังนั้นถ้าเรารู้แล้วว่า ข้อแรกคนไข้เขาคุยกับเรารู้เรื่องหรือเปล่า เป็นอะไรนะครับ มีความสามารถในการเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหนนะครับ มีข้อจำกัดทางร่างกายอะไรบ้างนะครับ เรารู้แค่นี้ก่อนนะครับ และที่สำคัญคือ เราต้องเข้าใจเขาให้มากๆนะครับ เพราะว่าคนไข้เหล่านี้นั้นเขาก็จะท้อแท้สิ้นหวังแล้วก็ไม่อยากจะทำอะไรเท่าไหร่นะครับ เพราะว่าทำอะไรนิดนึงเขาก็เหนื่อย เขาก็ปวดเมื่อย เขาก็เจ็บนะครับ แต่เราต้องคิดไว้ในหัวก่อนเลยนะครับว่าเขาเนี่ยมีโอกาสดีขึ้นนะครับ เราต้องบอกเขาเลยว่าเขามีโอกาสดีขึ้นถ้าเขาสู้นะครับ และที่สำคัญคือคนเหล่านี้ถ้าไม่ฝืนออกกำลังกาย ไม่ฝืนทำอะไรต่างๆนี้ก็จะแย่ลงเรื่อยๆนะครับ ต้องระวังตรงนี้นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +3

      (ส่วนที่ 4)
      มาถึงในแง่ของการออกกำลังกาย ถ้าเกิดว่าเขาเดินไม่ได้เลย สิ่งที่เราจำเป็นจะต้องทำให้ได้ก็คือว่า เราจะต้องเสริมกล้ามเนื้อส่วนลำตัวทั้งหมดหรือภาษาอังกฤษเราจะเรียกว่า Core muscle ก็คือกล้ามเนื้อส่วนที่เป็นแกนกลางของลำตัวของเรา ตั้งแต่คอ หลัง ท้อง อก ทั้งหมดตรงนี้สำคัญมากๆเพราะว่ามันทำให้ลำตัวของเราตั้งตรงนะครับ เวลาที่เราจะฝึกพวกนี้นะครับ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงนะครับ
      วิธีในการฝึกนะครับ จับคนไข้ขึ้นมานั่งก่อนเลยนะครับ ถ้าเขาสามารถนั่งโดยที่ไม่พิงได้เนี่ย นั่งเฉยๆโดยที่ไม่พิงได้เนี่ยครับ อันนี้เป็นสิ่งที่ดีให้เขาพยายามนั่งตัวตรงไว้นะครับ แต่ถ้าเขาอ่อนแอมากจนเกินไปเนี่ยเขาจะทำไม่ได้นะครับ เขาอาจจะต้องมีตัวพิงนิดนึงนะครับ และถ้าอ่อนแอมากๆสิ่งที่เกิดขึ้นถ้าเขาพิงแล้วเขาเอียง เราก็ต้องหาหมอนมารองข้างนึง ไว้ แต่พยายามให้เขาตั้งตัวตรงให้ตลอดเวลานะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +3

      (ส่วนที่ 5)
      ถามว่าทำอย่างนี้แล้วมันได้อะไรนะครับ?
      ➡️มนุษย์เราเนี่ย เดินตัวตรงถูกไหมครับ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรานอนนานๆแล้วเนี่ยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ร่างกายของเราเนี่ยมันจะสูญเสียความดันโลหิตไปนะครับ ถ้าวันนึงเขาจะลุกขึ้นมา เขาจะไม่สามารถที่จะเพิ่มความดันโลหิตเพียงพอที่จะเอาเลือดไปเลี้ยงสมองได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนเหล่านี้ก็คือ เขาจะเวียนหัวมาก เขาจะหน้ามืด เขาจะเดินไม่ได้นะครับ ดังนั้นเนี่ยขั้นแรกของการช่วยเขาคือการที่ต้องเอาเขาขึ้นมานั่งให้ได้นะครับ ต่อให้เราจะต้องเอาหมอนมาขนาบข้างเช่น มีที่พิงหลัง มีหมอนมาข้างๆ แล้วเอาแขนวางไว้บนหมอน ซึ่งเราดูว่าเขาเหมือนจะไม่ได้ออกกำลังกาย แต่นั่นคือการออกกำลังกายของเขาแล้วครับ ให้เขานั่งเฉยๆแค่นี้แหละนะครับ ให้ตัวตั้งตรงให้นานที่สุดในแต่ละวัน นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นะครับ อย่าให้นอนลงไปนะครับ ถ้าจะนอนก็ให้นอนเฉพาะตอนกลางคืนแล้วกันตอนกลางวันอย่าให้นอนเด็ดขาด

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai Год назад +3

      (ส่วนที่ 6)
      ต้องหาทางให้เขานั่งพิงตลอดเวลาให้ได้ แล้วพอเขาเริ่มโอเค เริ่มรู้สึกแข็งแรงขึ้น เราค่อยๆลดการช่วยเหลือลงไปทีละน้อยนะครับ เช่นเราอาจจะลดหมอนที่เอาไว้พิงข้างๆของเขา ก็ทำให้เขาต้องตั้งตัวให้ตรงไม่เอนซ้ายเอนขวานะครับ แล้วพอเขาเริ่มทำได้ สิ่งต่อไปที่เราต้องทำก็คือให้เขานั่งแบบไม่พิง ให้นั่งแบบไม่พิงหลังให้นานที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ บางคนอาจจะทำได้แค่ไม่กี่วินาที แล้วก็ล้ม ไม่เป็นไรครับ ทำใหม่ได้นะครับ ทำอย่างนี้เรื่อยๆมันจะเป็นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัวทั้งหมดนะครับ เป็นการทำให้กล้ามเนื้อพวกนี้แข็งแรงเพราะว่าถ้ากล้ามเนื้อพวกนี้แข็งแรงแล้วโอกาสที่จะทำการเดินหรือทำอย่างอื่นได้มันจะเยอะขึ้นนะครับ ตรงนี้สำคัญนะครับ

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 Год назад +5

    การดูแลผู้อายุต้องใช้ความพยายามอดทนสูงเลยค่ะ ถ้าเค้าบอกว่าไม่ก็ฝืนไม่ได้เลย
    คุณหมอให้คุณแม่บริหารขาที่ผ่าตัดตามที่นักกายภาพสอนมา ให้ทำกี่ครั้งต่อเซ็ท ถ้าเค้า
    เจ็บก็ไม่ยอมทำต่อ ทำให้ไม่สามารถบริหารได้ตามที่ควรจะเป็นค่ะ
    ทีแรกคุณแม่นั่งนานไม่ได้เค้าเจ็บ เพราะใส่ท่อปัสสาวะ ตอนนี้ก็แก้ปัญหาด้วยการซื้อเบาะรองนั่งที่เป็นโดนัทมาให้นั่งก็ดีขึ้นค่ะ
    ปัญหาคือกระดูกยังไม่ติด ก็เลยเหมือนติดเตียง คุณแม่ไม่ยอมใส่แพมเพิส เค้าอึดอัด กลายเป็นผลดีที่เวลาเค้าปวดหนักเค้าจะบอก ก็พยุงลงจากเตียงนั่งถ่ายโถเคลื่อนที่ ก็มีโอกาสนั่งด้วยตัวเองมากขึ้น
    คุณแม่ผอมอยู่แล้ว เมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเหมือนก่อนผ่าตัด ขาจะไม่มีกล้ามเนื้อ
    ก็ต้องพยายามออกกำลังกายให้บ่อยมากขึ้นนะคะ #คุยได้ตลอดค่ะ แต่จะลำบากที่คนคุยด้วยนี่แหล่ะ ต้องใช้เสียงดังมาก เพราะเค้าหูตึง ก็จะแสบคอกันเลย #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

    • @mwnhealthcare9950
      @mwnhealthcare9950 Год назад +1

      ขออนุญาตนะครับ
      ลองพิจารณา ใช้งานเตียงผู้สูงอายุ ในการดูแลดูนะครับ
      เผื่ออาจจะช่วยให้การดูแลสะดวกขึ้นครับ
      ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ ❤❤

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 Год назад +3

    ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้ที่ต้องนอนพักรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายเลย อาจส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก กล้ามเนื้ออ่อนแอลงหรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ จนสุขภาพอ่อนแอและต้องพักรักษาตัว หรือพักฟื้นนานขึ้น และบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น แผลกดทับ
    ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
    1. ท่ายืดเหยียดนิ้วและฝ่ามือ
    ท่ายืดเหยียดนิ้วและฝ่ามือจัดเป็นท่ากายบริหารสำหรับ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ทำได้ง่ายที่สุดท่าหนึ่ง โดยคุณสามารถยืดเหยียดนิ้วและฝ่ามือได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1.ยื่นมือไปข้างหน้า หันฝ่ามือออกนอกลำตัว
    2.กางนิ้วทั้ง 5 นิ้วให้ได้มากที่สุดแล้วค้างไว้ 2-3 วินาที
    3.ให้ปลายนิ้วแต่ละนิ้วแตะกับปลายนิ้วโป้ง ไล่ไปตั้งแต่นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย
    4.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    5.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    2. ท่าหมุนข้อมือ
    การฝึกท่าหมุนข้อมือบ่อย ๆ จะช่วยให้ ผู้ป่วยติดเตียง มีข้อมือที่แข็งแรง และสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ โดยคุณสามารถออกกำลังกายในท่าหมุนข้อมือได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1.นอนแขนแนบลำตัว ให้ฝ่ามือแตะอยู่บนเตียง
    2.หมุนข้อมือข้างหนึ่งทวนเข็มนาฬิกาช้า ๆ
    3.ทำซ้ำประมาณ 10-15 วินาที
    4.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    5.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    3. ท่ายกแขน
    ท่ายกแขนเป็นการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับ ผู้ป่วยติดเตียง ที่มีประสิทธิภาพมาก ผู้ป่วยสามารถฝึกท่ายกแขนด้วยตัวเอง หรือจะให้ผู้ดูแลช่วยก็ได้ โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1.ยกแขนข้างหนึ่งขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
    2.ค้างไว้ 10 วินาที
    3.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    4.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    4. ท่ายกขา
    หากขาคุณมีแรงพอ ควรฝึกกายบริหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียงด้วยท่ายกขา โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ด้วย
    1.ค่อย ๆ ยกขาข้างหนึ่งขึ้น พยายามยกให้ได้ถึงระดับสะโพก
    2.ค้างไว้ 10-20 วินาที
    3.เอาขาลงช้า ๆ
    4.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    5.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    5. ท่ากระดกและกดข้อเท้า
    ท่านี้เป็นท่ากายบริหารสำหรับ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณข้อเท้า และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้อย่างเป็นปกติที่สุด แต่การทำท่ากระดกและกดข้อเท้านี้ จะต้องให้ผู้ดูแลช่วยด้วย โดยคุณสามารถออกกำลังกายในท่ากระดกและกดข้อเท้าได้ ดังขั้นตอนต่อไปนี้
    1.ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ดูแลค่อย ๆ ยกขาข้างหนึ่งของผู้ป่วยขึ้น โดยจับบริเวณน่องและปลายเท้าไว้ให้มั่น
    2.กดปลายเท้าลง ค้างไว้ 2-3 วินาที
    3.กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 2-3 วินาที
    4.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    5.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    6. ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
    ท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง หรือท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อแฮมสตริงนี้เหมาะกับ ผู้ป่วยติดเตียง อย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อส่วนนี้ สำหรับท่าบริหารท่านี้คุณต้องมีผู้ดูแลช่วยด้วย โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
    1.ให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ดูแลค่อย ๆ ยกขาข้างหนึ่งของผู้ป่วยขึ้น
    2.งอเข่าช้า ๆ ให้ชิดหน้าอกผู้ป่วยที่สุด
    3.ค้างไว้ 2-3 วินาที
    4.ค่อย ๆ กลับท่าเริ่มต้น
    5.สลับข้างแล้วทำซ้ำ
    6.ทำซ้ำข้างละ 2-3 ครั้ง
    **ควรปรึกษาแพทย์ก่อน ดีที่สุดค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      เยี่ยมค่ะพี่หมวย สรุปท่าออกกำลังกาย เป็นประโยชน์มากค่ะพี่...

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +1

      @@FragranzaTrippa คนปกติก็ทำได้ ก่อนนำมาลง พี่ลองทำดู เป็นการออกกำลังกาย ได้หลายท่า เลยค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад

      @@kanyamuay3748 ใช่ค่ะพี่ ดีมากเลยค่ะ...

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Год назад +11

    🙋‍♀คลิปวันนี้ดีมากๆค่ะ เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยติดเตียง และเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจารย์อธิบายอย่างละเอียดว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ทำได้ทั้งคนทั่วไป และกับผู้ป่วยติดเตียง แม้จะเป็นการฝืนออกกำลัง ก็จำเป็นต้องทำ ยิ่งถ้าผู้ป่วยยังพอเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งได้ ก็สามารถออกกำลังกายส่วนนั้นได้ โดยให้ผู้ป่วยทำเอง หรือ บางส่วนอาจจะช่วยจับผู้ป่วยให้เคลื่อนไหว... และยังสอนการกิน การเคี้ยว การกลืนที่เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมทั้ง การพาผู้ป่วยทำกิจกรรมช่วงกลางวัน ไปสัมผัสธรรมชาตินอกห้อง ไม่ใช่นอนแบบหมดอาลัยตายอยาก... ไม่ยอมให้ผู้ป่วยนอนกลางวันอย่างเด็ดขาด! เพื่อให้ผู้ป่วยจะได้นอนหลับได้อย่างเต็มที่ช่วงกลางคืน... ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวผู้ป่วยเอง และผู้ต้องดูแลด้วยค่ะ...
    * ป.ล. สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง... แนะนำคลิปนี้ของอาจารย์นะคะ
    ruclips.net/video/e1siS7nMO5w/видео.html

    • @paraneeplanantakuntorn
      @paraneeplanantakuntorn Год назад +1

      เป็นเรื่องที่ต้องทบทวนกันทุกผู้ทุกคนเลยนะคะคุณทริป คนเราไม่แน่ไม่นอนว่าเราจะต้องรับบทบาทดูแลใครเมื่อไร

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад

      @@paraneeplanantakuntorn ใช่ค่ะคุณปุ๊...

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад +1

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +1

      ขอบคุณมากค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      @@kanyamuay3748

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 Год назад +6

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    ผู้ป่วยติดเตียง มีความทุกข์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ดูแลควรใส่ใจ และเข้าใจสภาพอารมณ์ว่าผู้ป่วยมีความเครียด ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเดิม
    คุณหมอมีเทคนิควิธีการดูแล ให้ผู้ป่วยมีคุณถาพชีวิตที่ดี เป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น เช่นการยกแขนและขาขึ้นลง การหมุนไหล่ การพับและยืดข้อพับแขนและขา ข้อมือ ข้อเท้า ที่สำคัญคือต้องให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง จะทำให้ core muscle แข็งแรง
    ถ้าอยู่ที่ร.พ.จะมีการทำ pet therapy ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ดีขึ้นค่ะ
    ข้อมูลวันนี้มีประโยชน์มากค่ะ
    ขอแสดงความยินดีกับยอดผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้นทุกวันค่ะ
    วันนี้ 3.99 แสนซับ อีกแป๊บ 4 แสนซับแล้วค่ะ
    คงได้เห็นคุณหมอมารีวิวอีกครั้งนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขนะคะ 🌻🧡🌻

  • @Thanikul1976
    @Thanikul1976 Год назад +1

    40หมื่น ยินดีกับน้องหมอด้วยครับ 🎉

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn Год назад +4

    ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะคุณหมอแทน ให้รายละเอียดที่มีประโยชน์มากค่ะ บางอย่างที่แนะนำเราเคยไม่กล้าทำไม่คิดว่าทำได้ แต่ตอนนี้ทราบจากที่คุณหมอบอกแล้วว่าทำได้ควรทำ ขอบพระคุณอีกครั้ง คุณหมอเข้าใจจิตใจคนไข้มากๆใจคุณหมอนี่ร่มเย็น มีเมตตาจริงๆ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад

      เห็นด้วยค่ะคุณปุ๊ เป็นคลิปที่มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ...

    • @paraneeplanantakuntorn
      @paraneeplanantakuntorn Год назад +1

      @@FragranzaTrippa จริงๆนะคะคุณทริป บางเรื่องที่เพิ่งฟังเมื่อครู่ ถ้าเกิดเราเอาไปทำกับคนป่วย อาจจะถูกญาติโยมดุเอาง่ายๆเพราะเขาไม่ทราบว่าทำแล้วมีผลดี เช่นจับขึ้นมานั่งนานๆ คอยกวนไม่ได้ให้นอนกลางวัน คุณหมอนำมาพ๔ดทบทวนใหม่ก็ดีเลย

  • @choojitpromjai9383
    @choojitpromjai9383 Год назад +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอป้ามีเรื่องปรึกษาอาจารย์เพราะพี่สาวป้าแกเป็นไตค่ะแล้วอาจารย์ที่โรงพยาบาลที่นครพิงค์บอกต้องผ่าตัดค่ะเนื้อตอนนี่อาจารย์หมอบอกว่าโตขึ้8เซ็นค่ะป้าอยากจะถามอาจารย์ว่าหมอต้องตัดเอาไตของพี่สาวออก1ข้างหรือเปล่าคะหรืออย่างไรคะ...กราบขอบพระมากค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      ต้องปรึกษาหมอที่ผ่าครับ อาจจะเอาไตออกทั้งข้างหรือเอาออกเฉพาะก้อน ก็ต้องแล้วแต่หมอพิจารณาครับ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 Год назад +8

    ขอขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ ที่มาให้ความรู้ และขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ทำคลิปต่างๆให้ความรู้กับประชาชน

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад +1

      👍👍👍👏👏👏

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +2

      @@Lek44888 🌹🌹😍😘

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 Год назад +1

      ☺️🌹ขอบคุณค่ะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +2

      @@Hoshi1451 ยินดีค่ะน้องกุ้ง🌹😍

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      🙏🙏🙏🙏🙏

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 Год назад +1

    ขอบคุณนะคะ เป็นประโยชน์มากๆสำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงจะได้นำความรุ้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วย เคยเห็นญาติเค้าต้องไปเรียนที่รพ เพื่อเตรียมตัวการดูแลผู้ป่วยติดเตียงในกรณีที่ถ้าผู้ป่วยได้กลับมาอยู่บ้านแล้ว อยากให้ไทยมีการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดเหมือนที่อเมริกาบ้างจังคะ น่าจะช่วยผู้ป่วยในไทยให้มีอาการดีขึ้นได้เยอะขึ้น 🙏

  • @KarnTovara
    @KarnTovara Год назад +2

    𖤣𖤥𖠿𖤣𖤥 ขอบคุณค่าาคุณหมอ...สำหรับความรู้สุขภาพในวันนี้ค่า 🙇🏻‍♀️
    • เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ยังสามารถปรับใช้กับการดูแลผู้สูงอายุได้ด้วยค่ะ 🙇🏻‍♀️
    • เนื้อหาฟังเข้าใจง่าย ฟังบายๆ เช่นเคยค่าา
    • คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🥝🍵😃

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Год назад +7

    อาจารย์หมอกล่าวถึง "จักรยานปั่นมือ" หรือ Arm Ergometer เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการออกกำลังกายชนิดแอโรบิก (Aerobic Exercise) หลักการทำงานเหมือนกับจักรยานทั่วไป แต่ใช้ "มือ" ปั่นแทนการใช้ "ขา" ปั่น การออกกำลังกายด้วยจักรยานปั่นมือจะทำในท่านั่ง มือจับคันถือแล้วออกแรงในทิศทางเดียวกับการปั่นจักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ (Low Impact Exercise) ใช้การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณแขน ข้อศอก ไหล่ และสะบัก ไม่มีการลงน้ำหนักบริเวณขาเลยค่ะ...

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 Год назад +1

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณมากนะคะคณทริป
      ทานอาหารเย็นให้อร่อยค่า ⚘💙⚘
      @ Doctor Tany
      ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
      เหนื่อย..ก็พักบ้างนะคะ 🌻🧡🌻

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      @@boomsong5729 เช่นกันนะคะ ทานมื้อเย็นเรียบร้อยก่อน 5 โมงแล้วค่ะ

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад +1

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +1

      ขอบคุณมากค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад

      @@Lek44888 เช่นกันค่ะพี่เล็ก...

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 Год назад +2

    ผู้ป่วยติดเตียงจะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง📙📗📘📓
    📙สรุป: สำหรับคนไข้ที่ติดเตียง
    ขั้นแรกเราจะต้องประเมินก่อนว่าคนไข้เขาเข้าใจภาษาที่เราพูดไม่เขายังทำตามสั่งได้หรือเปล่าเขาเคลื่อนไหวตรงไหนได้บ้างมีข้อจำกัดทางร่างกายตรงไหนบ้างมีข้อจำกัดทางด้านโรคประจำตัวอะไรที่ต้องระวังที่คุณหมอเขาแนะนำมาบ้างต้องรู้ตรงนี้ให้เหมาะก่อนพอรู้แล้ว
    สิ่งที่สำคัญก็คือต้องพยายามทำให้ตัวใครตั้งตรงเข้าไว้ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือถ้าบางคนยืนได้ก็ให้ยืนถ้ายืนได้แป๊บเดียวไม่เป็นไรถ้าเรานั่งนั่งได้สักพักนั่งเก่งแล้วเราก็หัดยืนหัดลุกจากที่นั่งไปยืนหน้าลุกจากที่นั่งไปยืนทำบ่อยๆเพราะว่ามันจะช่วยทำให้ความดันมีมากเพียงพอที่จะไปเลี้ยงสมองถ้าไม่ทำบ่อยๆลุกขึ้นมายืนปุ๊บล้มลงไปเลยยืนไม่ได้ตลอดชาติเลยก็ได้อันสิ่งนี้ก็คือต้องช่วยทำให้ตัวตั้งตรงเข้าไว้
    การออกกำลังกายข้อต่อต่างๆตรงไหนที่เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้หรือเคลื่อนไหวไม่ได้เลยเราออกกำลังกายโดยจำลองหน้าที่ของข้อต่อต่างๆให้หมดทุกอย่าง เช่นข้อไหล่มันมีหน้าที่หมุนเราก็จับมันหมุนข้อศอกมีทั้งมีหน้าที่งอเราก็จับมันงอ มันมีหมุนอย่างนี้ได้เราก็จับมันหมุนอย่างนี้ข้อมือข้อนิ้วก็ทำหน้าที่เหมือนตอนปกติให้หมดทุกอย่างงั้นตรงนี้เป็นวิธีในการออกกำลังกายที่ดี
    สำหรับการออกกำลังกายทางด้านหัวใจถ้ายังเคลื่อนไหวมือได้แต่ขาเคลื่อนไหวไม่ได้ก็ใช้การถีบจักรยานอากาศของมือหรือเอาน้ำหนักมาวางก็ได้ที่ขาก็ถีบจักรยานอากาศแล้วก็น้ำหนักมาถ่วงขาก็ได้เช่นกัน
    เอาคนไข้ไปเจอสภาวะแวดล้อมภายนอกบ้างแล้วก็ที่สำคัญคือเวลาที่ทานอาหารไม่ว่าจะเป็นให้อาหารทางสายยางหรือว่าเคี้ยวอาหารจะต้องช้าๆเราจะต้องจับคนไข้หนังไว้ตลอดเวลาอย่างน้อยๆก็ครึ่งชั่วโมงเคี้ยวอาหารถ้าคนไข้กินทางปากได้เคี้ยวให้ละเอียดอย่าเอาอะไรที่เคี้ยวยากๆย่อยยากๆชิ้นใหญ่ๆอย่าเอามาเด็ดขาดเอาชิ้นเล็กย่อยง่ายเคี้ยวง่ายเคี้ยวแล้วเวลากลืนให้งอคอนิดนึงแล้วค่อยกลืนมันจะได้ไม่สำลัก
    มีสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขหมาเหล่านี้ให้เขาไปเจอคนพวกนี้เพราะว่าอะไรเพราะว่าหมาพวกนี้จะทำให้คนไข้คนนี้เนี่ยเขามีสภาพจิตใจที่ดีขึ้นที่อเมริกาเนี่ยเขาจะมี สัตว์เลี้ยงบำบัด Pet Therapy ก็คือในโรงพยาบาลเราจะมีมาที่ใช้ในการรักษาคนไข้พาไปหาคนไข้กลุ่มที่หนักในไอซียูคนไข้ที่หมดอะไรตายอยากคนไข้ทางจิตเวชคนไข้ที่ฆ่าตัวตายคนไข้ที่รู้สึกโลกนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้วนคนไข้เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายแล้วเราพาหมาพวกนี้ไปหาคนไข้พอหมาออกมาปุ๊บทุกคนยิ้มหมดเลย
    ☃️ที่บ้านน้องหมา🐶กับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ป่วยก็ช่วยให้ท่านยิ้มอารมณ์ดีและมีความสุขได้เหมือนกันค่ะ ขอบคุณมากค่ะ🐰🐰

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 Год назад +4

    คลิ้บของคุณหมอ คลิ้บนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ กับผู้ป่วยติดเตียงมากๆ เลยค่ะ
    ขอบพระคุณค่ะ❤

  • @สวยอําไพแจ่มดี

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน 3มี.ค 2023 ผู้ป่วยติดเตียง จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง ป้ามาชมย้อนหลังอีกแล้วนะค่ะ อย่าโกรธป้านะค่ะคุณหมอ คือป้าเกรงใจเลิกงานมืดๆๆค่ะ ขอแสดงความยินดีกับคุณหมอด้วยนะค่ะผู้ติดตาม3.99แสนคน=FC3แสน9หมื่น9พันคนผู้ติดตามค่ะ
    คุณหมอมีจิตเมตตา กรุณาถึงได้มีผู้ชมผู้ฟังติดตามคุณหมอเพิ่มๆขึ้นนะค่ะ สุขภาพดีมีสุขนะค่ะคุณหมอและน้องโรชี่ด้วยค่ะ🙏🏼❤️❤️❤️🥰ค่ะ

  • @somsipimtee625
    @somsipimtee625 Год назад +2

    สวัสดีค่ะ สวัสดีอีกหนึ่งวัน คุณหมอ มีจิตใจที่ดี มาให้ความรู้.ขอร่วมอนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ

  • @duangkamolsakulkitjaroen4680
    @duangkamolsakulkitjaroen4680 Год назад +1

    ขอบคุณสำหรับคลิปนี้นะคะคุณหมอ พี่ทำงานดูแลผู้สูงอายุที่ญี่ปุ่น ส่วนมากกายภาพบำบัดจะเป็นหน้าที่ของหมอแผนกนี้โดยตรง พนักงานอย่างพวกเราไม่ค่อยมีเวลามาดูแลตรงจุดนี้สักเท่าไหร่ค่ะ มีบ้างนิดๆหน่อยๆแต่พอลองเริ่มทำก็ต้องมาทะเลาะกับผู้สูงอายุเหล่านั้น จับนิดเดียวก็เจ็บบางทียังไม่โดนตัวเลยแค่เห็นหน้าก็บอกเจ็บแล้วค่ะ ก็เลยเป็นหน้าที่ที่ของนักกายภาพบำบัดโดยตรงค่ะคุณหมอ แต่เป็นความรู้ที่ดีมากจริงๆค่ะ ❤😊ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn Год назад +3

    หลังจากฟังคลิปนี้ แล้วนึกถึงกรณีที่เคยเจอมา ก็มีคำถามจะขอรบกวนเรียนถามคุณหมอแทนดังนี้ค่ะ:
    1.สำหรับผู้ป่วยที่ผ่าตัดสมอง ผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ ผ่าตัดใหญ่ๆ หลังผ่าตัดแล้วเราต้องรอนานแค่ไหนคะ ถึงจะเริ่มให้เขาออกกำลังกายตามที่เล่าไว้
    2.สำหรับผู้ป่วยที่ความดันสูงมากๆหรือเส้นเลือดในสมองแตกมา ระหว่างออกกำลังกาย พานั่ง พายืน จะมีข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาออกกำลังกาย หรือ target heart rate บ้างไหมคะ ทำนองว่าเดี๋ยวเหนื่อยแล้วความดันขึ้น
    3.การใช้อุปกรณ์สวมพยุงหลัง มันช่วยอะไรไหมคะ หรือควรจะปล่อยให้ core muscle ของผู้ป่วยทำงานเต็มที่

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад

      1. ต้องแล้วแต่หมอที่ผ่าจะอนุญาตครับ
      2. ก็ต้องคุมความดันให้ได้ก่อน และหายจากอาการทั้งหมดดีแล้ว หมอที่รักษาอนุญาตให้ออกกำลังกายได้แล้วก็ถึงจะออกครับ
      3. ช่วยให้ตัวตรงแค่นั้น แต่ไม่ค่อยแนะนำครับ

    • @paraneeplanantakuntorn
      @paraneeplanantakuntorn Год назад

      @@DrTany กราบขอบพระคุณคุณหมออย่างสูงค่ะ สำหรับคำตอบ *คลิปของคุณหมออธิบายสนุก เข้าใจง่าย เรียบง่ายและดูอบอุ่นดีค่ะ*

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 Год назад +5

    สรุปสำหรับคนไข้ติดเตียง ขั้นแรกเราจะต้องประเมินก่อนว่า เขายังพอเข้าใจภาษาที่เราพูดได้ไหม ทำตามสั่งได้หรือเปล่า เคลื่อนไหวตรงไหนได้บ้าง มีข้อจำกัดร่างกายตรงไหนบ้าง โรคประจำตัวอะไร มีอะไรที่ต้องระวัง ที่คุณหมอเขาแนะนำมาบ้าง ต้องรู้ตรงนี้ให้หมดก่อน เมื่อรู้แล้วสิ่งสำคัญที่ต้องพยายามให้คนไข้ตั้งตัวตรงให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืนได้ก็ให้ยืน ถ้ายืนได้แป๊บเดียวก็ไม่เป็นไร ถ้านั่งได้สักพัก นั่งเก่งแล้วก็หัดยืนหัดลุก จากที่นั่งไปยืน ทำบ่อยๆ ทำให้ความดันมีมากเพียงพอที่จะไปเลี้ยงสมอง ถ้าไม่ทำบ่อยๆ ลุกขึ้นมายืนจะล้มไปเลย การออกกำลังกายข้อต่อต่างๆ ตรงไหนที่ เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ เราก็พยายามทำตรงนั้นให้เหมือนกับตอนที่ปกติ ค่อยๆหมุน สำหรับการออกกำลังกายทางด้านหัวใจ ถ้ายังเคลื่อนไหวมือได้ แต่ขาเคลื่อนไหวไม่ได้ก็ใช้ การถีบจักรยานอากาศที่มือ พาคนไข้ออกไปเจอสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าง เวลาที่ทานอาหาร ทางสายยาง หรือเคี้ยวอาหารให้ช้าๆ จะต้องจับคนไข้ให้นั่งตลอดเวลา อย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถ้ากินทางปากได้ให้เคี้ยวให้ละเอียด อย่าให้อาหารชิ้นใหญ่ๆหรือที่เคี้ยวยากๆ หรือของเหนียวๆมาให้คนไข้เด็ดขาด ทำให้เป็นชิ้นเล็กเคี้ยวง่ายย่อยง่าย เวลากลืนให้งอคอนิดนึง แล้วค่อยกลืนจะได้ไม่สำลัก
    3มี.ค.2566

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад +1

      ขอบคุณค่ะน้องหมวย

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +2

      @@Lek44888 ขอบคุณค่ะพี่เล็ก

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      ขอบคุณมากค่ะพี่หมวย...

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад

      ​@@FragranzaTrippaยินดีค่ะน้องทริป

  • @Lek44888
    @Lek44888 Год назад +6

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

  • @tsnowman2005
    @tsnowman2005 Год назад +1

    คลิปนี้มีประโยชน์มากๆ ค่ะ ขอบคุณค่ะ 🙏🙏🙏👍👍👍

  • @ยุพาพินชาครโกวิทย์

    ได้รับประโยชน์มากครับ ขอบพระคุณมากค่ะ❤️❤️❤️🙏🏽🙏🏽🙏🏽

  • @mwnhealthcare9950
    @mwnhealthcare9950 Год назад +1

    เป็นวีดีโอที่ รอคอย มากๆเลยครับ 🙏🏻🙏🏻
    ขออนุญาตใช้แนะนำลูกค้า ใช้งานเตียงดูแลคนไข้ที่บ้านเอง ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ดีๆมากเลยครับ❤❤

    • @mwnhealthcare9950
      @mwnhealthcare9950 Год назад

      ลูกค้าใช้วิธีฝึกนั่งนี้ ร่วมกับเตียงผู้สูงอายุในการพยุงหลังเพื่อให้คุญแม่ได้ฝึกนั่ง เริ่มนั่งได้ก็ดีขึ้น ทานข้าวทานยา ได้เก่งขึ้น ขอบคุณคำแนะนำ ที่เข้าใจและปฏิบัตตามได้ง่ายๆ จากคุณหมอมากๆครับ ❤❤

  • @raphatpornpruitthiphuwarat3865
    @raphatpornpruitthiphuwarat3865 Год назад +1

    ❤❤❤❤🙏🙏🙏ขอบคุณมากนค่ะคุณหมอ ได้รับประโยชน์มากค่ะ

  • @รัตนาศิริมี

    ขอบคุณมากๆๆค่ะ

  • @Lek44888
    @Lek44888 Год назад +8

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    “ผู้ป่วยติดเตียง จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง”
    🍀ต้องเริ่มประเมินก่อนว่า คนไข้เขาเข้าใจภาษาที่พูดหรือไม่ ทำตามคำสั่งได้หรือเปล่า เขาเคลื่อนไหวตรงไหนได้บ้าง มีข้อจำกัดทางร่างกายตรงไหนบ้าง มีข้อจำกัดทางโรคประตัวอะไรที่ต้องระวังตามที่คุณหมอเขาแนะนำไว้บ้าง
    🍀พยายามทำให้คนไข้ตัวตรงเข้าไว้ ถ้ายืนได้ก็ให้ยืน ทำบ่อยๆเพราะจะช่วยให้ความดันมีมากเพียงพอที่จะไปเลี้ยงสมอง ถ้าไม่ทำบ่อยๆเวลาลุกยืนจะล้มลงได้
    🍀การออกกำลังกายข้อต่อต่างๆที่เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ให้ช่วยทำหน้าที่เหมือนตอนปกติทุกอย่างเช่น ถ้าไหล่ติดเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ให้ช่วยหมุนไหล่ หมุนข้อมือ เป็นต้น
    🍀การออกกำลังกายทางด้านหัวใจ ถ้ายังเคลื่อนไหวมือได้ ขาเคลื่อนไหวไม่ได้ ก็ให้ปั่นจักรยานด้วยมือ ถ้าขาเคลื่อนไหวได้ก็ให้ปั่นจักรยานอากาศ
    🍀หมั่นพาคนไข้ไปเจอสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าง
    🍀เวลาทานอาหาร ไม่ว่าจะทางปากหรือทางสายยาง จะต้องจับคนไข้นั่งตลอดเวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ให้คนไข้เคี้ยวอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด อย่านำอะไรที่เคี้ยวยากๆย่อยยากๆ มาให้คนไข้อย่างเด็ดขาด เวลากลืนอาหารให้งอคอลงนิดหน่อย แล้วค่อยกลืน เพื่อป้องกันการสำลัก
    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🙏🏻

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад +1

      ขอบคุณค่ะพี่เล็ก

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад +1

      @@kanyamuay3748
      ยินดีค่ะน้องหมวย

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ...

    • @Lek44888
      @Lek44888 Год назад

      @@FragranzaTrippa
      ยินดีค่ะน้องทริป

  • @AL86898
    @AL86898 Год назад +13

    ยินดีกับตัวเลข3.99=FC 3 แสน 9หมื่น 9พันคนผู้ติดตามค่ะ❤️❤️❤️.💜💜💜💜💜💜💜💜💜.🧡🧡🧡🧡🧡🧡🧡🧡🧡👏👏👏

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali Год назад +1

      😁💖 เย้ๆๆๆๆ

    • @pookpuir.9653
      @pookpuir.9653 Год назад +1

      เลขกำลังสวยเลยนะคะ🎉🎉🎉

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 Год назад +1

      ☺️🎉🎉เลขสวยๆๆค่ะ

    • @AL86898
      @AL86898 Год назад

      @@pookpuir.9653 ค่ะ เตรียมเข้ารับตัวเลข4แสนค่ะ 🚀🚀🚀🚀

    • @kanjanaanyrukratchada2719
      @kanjanaanyrukratchada2719 Год назад +1

      สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 Год назад +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยติดเตียงนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @Porpimm
    @Porpimm Год назад +2

    ขอบคุณคุณหมอมากๆนะคะ เป็นประโยชน์มากค่ะ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 Год назад

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากๆคะวันนี้มาให้ความรู้ดีดีมีประโยชน์มากคะ เรื่องผู้ป่วยติดเตียง จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง 👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุขในทุกวัน สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷❤️🌹

  • @MuayChannel6
    @MuayChannel6 Год назад

    มีประโยชน์มากๆ ค่ะ คอนเทนต์นี้ 👏👍

  • @นงคราญเพชรราช
    @นงคราญเพชรราช 10 месяцев назад +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +3

    ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ
    อยากฟังคนนั่งเครื่องบินนานๆ ✈️ นั่งรถทัวร์นานๆ 🚗 จะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ 😊 อยากไปเที่ยวแล้วค่ะ ✈️ ฟิ้ววววว

    • @AvecBella
      @AvecBella Год назад +1

      Where are you planning to go visit, Miss Cherry? 🍒😉❤️

    • @CherryChonny
      @CherryChonny Год назад +1

      @@AvecBella UK 🇬🇧 ka… It takes 12 hours on the plane ✈️ I prepare slipper and neck pillow.. long flight 😴😴😴

    • @AvecBella
      @AvecBella Год назад +1

      @@CherryChonny How fun!!! Now you can go visit Harrods. Food Hall. Are you with a tour? I’m so excited for youuu 😍🇬🇧

    • @CherryChonny
      @CherryChonny Год назад +1

      @@AvecBella that is one of the “can’t miss” destinations. I had a dream I was in front of Harrods before I know how the building look like. It was an exciting & good dream 💭😆🇬🇧

    • @AvecBella
      @AvecBella Год назад +1

      @@CherryChonny I remembered you mentioned it! Now it’s the chance for your dream to come true!!! 😘❤️

  • @AvecBella
    @AvecBella Год назад +4

    Good morning cheers ka Doctor Tany. Wishing you an Easy Peasy Lemon Squeezy day! 🍋🌤️🍄

    Exercises for Bedridden Patients.

    Bed Bound Patients need to exercise to keep themselves active and prevent muscle atrophy.
    Muscle atrophy happens when muscles waste away, usually caused by a lack of physical activity.
    The amount of time it takes for your muscles to atrophy depends on your age, fitness level and cause of atrophy. If your muscle atrophy is due to Disuse, the process can start within two to three weeks of not using your muscles.
    Use It or Lose It.

    V e r y beneficial topic ka Doctor Tany. Will be back.
    Have a Smiley Smooooth Fridayyy! 🙃
    ☘️🌸🍀🌸☘️

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +1

    🌷มีโอกาสดีขึ้น ถ้าเขาสู้
    ⚡️ถ้าไม่ฝืนออกกำลังกาย ก็จะแย่ลงเรื่อยๆ
    💫ชีวิตอยู่ได้ด้วยความหวัง ถ้าหมดหวังก็ไม่มีทางดีขึ้น
    🚹 จัดท่านั่งให้ตัวตรงๆ
    🔎สำรวจว่าส่วนไหนยังใช้กล้ามเนื้อได้บ้าง
    💪พยายามออกแรงทุกวัน และขยับกล้ามเนื้อข้อต่อ
    💕ใช้มือ หรือ เท้า ปั่นจักรยาน ช่วยออกกำลังกายหัวใจ
    💭 ห้ามนอนกลางวัน
    ☀️ พาไปตากแดด สูดอากาศนอกบ้าน
    💥 เคี้ยวให้ละเอียด และก้มหน้าก่อนกลืน จะได้ไม่สำลัก
    🐶 พาหมามาเล่นด้วย 💕💕 แจ่มใส เบิกบาน

  • @jackritlohajariensub3981
    @jackritlohajariensub3981 Год назад +1

    ขอบคุณคุณหมอมากครับ สำหรับคลิปดีๆ มากมายที่หมอสื่อสารมาโดยตลอด

  • @9roy
    @9roy Год назад +1

    อยากได้ข้อมูลผงผัก ผลไม้ สารอาหารต่างจากทานสดมากแค่ไหนครับ (อย่างตระกูลเบอรี่จะให้ทานสดอย่างเดียวก็แพงเลยจะหาทานแบบผงไม่รู้ว่าคุ้มค่าไหม)

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      ต่างกันครับ เลือกตามกำลังทรัพย์ และควรทานให้หลากหลายครับ กินแบบผงอย่างเดียวก็ไม่ดีแน่ๆครับ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali Год назад +2

    😊🌼🍃 ขอบคุณมากนะคะ 🙏

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 Год назад +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ผู้ป่วยติดเตียงจะออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง คนไข้ติดเตียงมีหลากหลายเช่นคนไข้ที่มีความจำเสื่อมคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถขยับตัวเองได้หรือมีโอกาสฟื้นตัวแต่ไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง การออกกำลังกายคนไข้ติดเตียงขั้นแรกต้องประเมินก่อนว่าคนไข้เข้าใจเราหรือเปล่าพูดรู้เรื่องไหมเขาทำตามที่เราบอกได้ไหม เขาเคลื่อนไหวอะไรได้บ้างมีข้อจำกัดด้านร่างกายตรงไหนบ้างมีข้อจำกัดทางด้านโรคประจำตัวอะไรที่ต้องระวังตามที่คุณหมอแนะนำเราต้องรู้ให้หมดที่สำคัญเราต้องเข้าใจเขาให้มากๆเพราะคนเหล่านี้จะรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังไม่อยากทำอะไรเราต้องบอกเขาว่าเขามีโอกาสดีขึ้นถ้าเขาสู้ ในการออกกำลังกายสิ่งแรกคือเสริมกล้ามเนื้อส่วนลำตัวทั้งหมด Core musclesซึ่งสำคัญมากเพราะว่าจะทำให้ลำตัวตั้งตรงวิธีการฝึกคือให้คนไข้นั่งตัวตรงหากนั่งไม่ได้ให้หาตัวช่วยพยุงไม่ให้ล้มพยายามให้นั่งตัวตรงตลอดเวลาให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือถ้ายืนได้ก็ให้ลุกจากที่นั่งไปยืนจะช่วยให้ความดันมีมากเพียงพอที่จะไปเลี้ยงสมองหากไม่ยืนอาจไม่มีโอกาสยืนได้อีกต่อไปการออกกำลังกายข้อต่อต่างๆหากคนไข้เคลื่อนไหวไม่ได้เราสามารถช่วยเขาโดยการยกแขน หมุนแขนยกขึ้นยกลง ข้อมือหมุนไปหมุนมาฯหากคนไข้ขยับขาได้ก็ให้ถีบจักรยานกลางอากาศขยับตรงไหนได้ก็ให้ขยับ ด้านระบบหัวใจและหลอดเลือดให้ดูว่าคนไข้เคลื่อนไหวอะไรได้ดีที่สุดเช่นมือก็ให้หาน้ำหนักพอประมาณมาเคลื่อนไหวแขนทั้งสองข้างทำติดต่อกันนานๆ ถ้ามีทุนทรัพย์จะมีอุปกรณ์เป็นจักรยานแบบใช้มือปั่นมาเป็นอุปกรณ์ช่วยเสริมก็ได้และที่สำคัญอีกคือพาคนไข้ออกมาสัมผัสกับธรรมชาติ อากาศ ผู้คนบ้างมีสัตว์เลี้ยงเช่นสุนัขคนไข้จะได้มีสุขภาพจิตใจที่ดีขึ้นได้และให้ทำกิจกรรมให้มากๆอย่าให้คนไข้นอนหลับกลางวันเด็ดขาดเพื่อที่จะให้คนไข้นอนหลับได้ในตอนกลางคืนผู้ดูแลก็จะได้พักผ่อน อีกประการหนึ่งที่สำคัญคือเวลาให้อาหารไม่ว่าทางปาก หรือทางสายยาง จะต้องให้นั่งตัวตรงตลอดเวลาห้ามนอนกินเด็ดขาดจะสำลักได้ อาหารเคี้ยวง่าย ย่อยง่ายถ้าจะกลืนให้ก้มคางแล้วกลืน ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงค่ะที่ให้ความรู้เป็นประโยชน์มากสำหรับคนไข้ที่ติดเตียงหากตั้งใจปฎิบัติตามค่ะ

    • @ptphone2301
      @ptphone2301 Год назад

      ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat Год назад +1

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 Год назад

    สวัสดีค่ะคุณหมอ คลิปนี้มีประโยชน์มากๆ แชร์ไปค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • @ภาวิณีพลายละมูล

    ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ
    เป็นประโยชน์มาก ๆ 👍🙏

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 Год назад +3

    ตอนผมเป็นดีวีทีใหม่ๆก็ไปถีบจักรยานมือนี่แหละครับ

  • @karmosupasiri2787
    @karmosupasiri2787 Год назад +1

    ขอบคุณมากมากครับ

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 Год назад +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 Год назад

    ขอบพระคุณ คุณหมอมากค่ะ

  • @เดอะพรแฮร์คัท

    สวัสดีครับอาจารย์

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov Год назад

    คำแนะนำทุกข้อในคลิปนี้เป็นประโยชน์มากค่ะ
    Pet therapy💞🐕
    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh Год назад

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️

  • @วชิราภรณ์วิถีผล

    สวัสดีค่ะคุณหมอ คุณแม่เป็นเส้นเลือดในสมองตีบ และ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจาะคอยังต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา เราสามารถจับท่านนั่งได้หรือไม่คะ หรือ ออกกำลังกาย กายภาพแบบจักยานมือปั่น ทำได้มั้ยคะ ญาติเห็นว่ายังต้องใช้เครื่องออกซิเจนตลอดเวลา เลยไม่แน่ใจว่า จะสามารถทำอะไรได้บ้างอะคะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 месяца назад

      สามารถทำพวกนั้นได้ครับ และถ้าไม่มั่นใจ แนะนำให้ปรึกษานักกายภาพที่ รพ ที่ดูแลครับ

  • @montripongkumpai1930
    @montripongkumpai1930 Год назад

    ได้ประโยชน์มากครับ

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 Год назад

    ขอบคุณมากค่ะ❤❤

  • @kraiwutnilrattanabanpot2145
    @kraiwutnilrattanabanpot2145 Год назад +4

    สามารถติดต่อคุณหมอปรึกษาได้ไหมครับ
    พอดีแม่ผมผ่าตัดปอดติดเชื้อ ให้ยาฆ่าเชื้อต้องนอนห้องICUไม่หาย เห็นหมอที่รักษาบอกว่าเชื้อตัวนี้รุนแรงมาก พอมีทางรักษาไหมครับ ล่าสุดมีหนองออกที่บริเวณติดเชื้อต้องผ่าล้างหนอง แต่ยังไม่ดีขึ้นยังคงมีไข้ และติดเชื้ออยู่ รบกวนด้วยครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +3

      ขอเรียนว่า ติดต่อและสอบถามอาจารย์หมอผ่าน RUclips ได้เลยค่ะ อาจารย์จะมาตอบให้นะคะ และคำถามของคุณ และคำตอบของอาจารย์หมอก็จะเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆที่อาจจะมีคำถาม หรือ ข้อสงสัยคล้ายๆกันค่ะ...

    • @kraiwutnilrattanabanpot2145
      @kraiwutnilrattanabanpot2145 Год назад +1

      สอบถามผ่าน youtube ทำอย่างไรครับ

    • @jitpakornboonna9565
      @jitpakornboonna9565 Год назад +1

      ​@@kraiwutnilrattanabanpot2145 พิมพ์คำถามใต้โพสต์ ได้เลยค่ะ พยายามให้ข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อคุณหมอจะใช้ประกอบการวิเคราะห์ หรือถ้าข้อมูลไม่มากพอ คุณหมออาจมีคำแนะนำอื่นให้ค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ

    • @kraiwutnilrattanabanpot2145
      @kraiwutnilrattanabanpot2145 Год назад +1

      ที่commentนี่ไม่ใช่คำถามใต็โพสต์เหรอครับ

    • @jitpakornboonna9565
      @jitpakornboonna9565 Год назад +1

      @@kraiwutnilrattanabanpot2145 ข้อมูลน่าจะไม่เพียงพอนะคะ
      รอคุณหมอมาตอบอีกทีนะคะ

  • @PieanTwakkk
    @PieanTwakkk Год назад +1

    15:10 บางทีแมวอาจช่วยได้ดีกว่านะครับ ถ้ามันไม่ซนเกินไป เหมียวๆๆๆ=^.^=

  • @wanpenleohirun8153
    @wanpenleohirun8153 Год назад

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +2

    ถ้าผู้ป่วยติดเตียงเขาถามว่า จะให้เขาออกกำลังกายไปทำไม ยังไงก็ไม่มีทางที่จะกลับมาเดินได้
    ขนาดตอนร่างกายปกติยังไม่อยากออกกำลังกายเลย เราจะบอกเขายังไงดีคะ คุณหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +6

      ชีวิตเราอยู่ด้วยความหวัง ถ้าหมดความหวัง ยังไงก็ไม่มีทางดีขึ้นครับ

    • @maneeann
      @maneeann Год назад +2

      ฟังคุณหมอตอบแล้วทำให้มีพลังใจดีนะคะ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny Год назад +1

      @@maneeann เพิ่มพลังใจให้แข็งแรง 💪💟

  • @thanyathorbjornsen2980
    @thanyathorbjornsen2980 Год назад +1

    สวัสดีค่ะ

  • @komsonchokdee535
    @komsonchokdee535 Год назад

    คุณหมอครับ ข้อมูลที่ว่า การออกกำลังแบบHIITหรือยกเวทจะเพิ่ม GH มากถึง 450% และหลั่งออกมาช่วงที่ออกกำลังกายขณะนั้น (ใช่ไหมครับ ?) นี้พอรับฟังได้ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +3

      ผมไม่ได้สนใจว่ามันจะเพิ่มได้กี่ % เพราะตัวเลขพวกนี้เชื่อไม่ค่อยได้เท่าไหร่ครับ ผมจะมองที่ทำแล้วจะรู้สึกอย่างไรมากกว่าครับ

  • @moyupapornkumsuwan6876
    @moyupapornkumsuwan6876 Год назад

    อยากให้คุณหมอพูดเรื่อง Acv Ccv หน่อยค่ะ ล่าสุดมีเคสทานแล้วเป็นมะเร็งกระเพาะ (ข้อมูลจากเพจอีจัน) หมอวินิจฉัยว่าเป็นเพราะทานAcvทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะ อยากทราบว่าจริงๆแล้วมันมีประโยชน์รึป่าว ทานได้มั้ยคะ

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +1

      ผมไม่รู้จักครับ อะไรคือ ACV ควรต้องหาคำเต็มมาให้ผมด้วยครับ ในทางการแพทย์ ACV คือ Assisted controlled ventilation ครับ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      @@DrTany น่าจะเป็น Apple Cider Vinegar และ Coconut Cider Vinegar ค่ะอาจารย์...

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa Год назад +1

      รบกวนคุณ MO ใช้ชื่อเต็มด้วยค่ะ ACV เต็มๆคืออะไร CCV เต็มๆคืออะไร... เพราะคำย่อมีเยอะมากๆค่ะ เรื่องการดื่ม apple cider vinegar และ coconut cider vinegar จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อเราไม่ดื่มเยอะเกินไป และไม่ดื่มทุกวันค่ะ ต้องผสมน้ำเจือจางมากนิดนึง... เอาจริงๆเรื่องประโยชน์ไม่ได้มากมายเหมือนคำโฆษณาค่ะ...

    • @moyupapornkumsuwan6876
      @moyupapornkumsuwan6876 Год назад +1

      @@FragranzaTrippa ขอบคุณที่ช่วยตอบให้ค่ะ 😊

    • @moyupapornkumsuwan6876
      @moyupapornkumsuwan6876 Год назад

      @@DrTany ขอโทษที่คำถามไม่ละเอียดค่ะคุณหมอ หมายถึงน้ำส้มสายชูจาก แอปเปิ้ลกับมะพร้าวค่ะ

  • @ณฐพลวุฒิไกรวณิชย์-ฌ2ฌ

    ปักหมุด

  • @narlaw1342
    @narlaw1342 Год назад +1

  • @ployployprapai3809
    @ployployprapai3809 Год назад

    ❤❤❤🙏

  • @ณัฐพัชร์ทองจิบ-ณ4ท

    ข้อติด pt จะปวดมากครับ pt อัมพาต บ้างคนพูดได้ บ้างคนพูดไม่ได้ การสือสารทำได้ยากมากครับ คลิปนี้ดูช้ำครับเพราะตัวเองต้องแก่อาจใช้ได้ หากไม่ตายเสียก่อนครับ555

  • @ชุติภาส-ฒ3ฉ
    @ชุติภาส-ฒ3ฉ Год назад +1

    👍👍🙏👍👍

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад +1

    การดูแลผู้ป่วยติดเตียง คุณหมอเคยทำคลิปไว้ค่ะ ruclips.net/video/e1siS7nMO5w/видео.html

  • @pattarajarinsangtong1222
    @pattarajarinsangtong1222 Год назад

    🙏🙏🙏🥰🥰🥰

  • @pannko8888
    @pannko8888 Год назад

    💟💟💟💏💟💟💟

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 Год назад +2

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin Год назад +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @rujeejoy8943
    @rujeejoy8943 Год назад +1

    มาแล้วนึกว่าจะไม่ทันหมอพูดแล้วมีประโยชน์มากจ้ะป้าชอบฟังได้ความรู้ดีและได้บอกต่อๆเพื่อนป้าตอนนี้ป้าต้องฟังดุทุกวันเลย

  • @chotimawachanadilok3422
    @chotimawachanadilok3422 Год назад +1

    สวัสดีค่ะ

  • @tidtods2753
    @tidtods2753 Год назад

  • @กันตาเกาฏีระ
    @กันตาเกาฏีระ 7 месяцев назад

    ขอบคุณคุณหมอฟังคลิปนี้ตรงกับตัวเองมากเลยพยายามทำทุกอย่างขอบุญกุศลให้คุณหมอมีความเจริญก้าวหน้าสูงสูงยิ่งๆขึ้นไปค่ะ🙏🏽🙏🏽🙏🏽💕💕💕

  • @kookiksirawan3910
    @kookiksirawan3910 Год назад +1

    สวัสดีค่ะ

  • @thanyathorbjornsen2980
    @thanyathorbjornsen2980 Год назад +1

    คุณหมอคะเราเพิ่งผ่าตัดมะเร็งกระเพาะอาหารออกไปผ่าตัดกระเพาะนั่นแหละค่ะแล้วจะรู้ได้ยังไงคะว่าแผลข้างในหายเมื่อไหร่

    • @DrTany
      @DrTany  Год назад +2

      เมื่อหมอที่รักษาแจ้งครับ ปกติเรื่องพวกนี้หมอที่ผ่าจะประเมินให้อยู่แล้ว ดังนั้นถามได้เลยครับ

  • @sirilak_k
    @sirilak_k Год назад +1

    อยากให้คุณหมอทำคลิปเกี่ยวกับผู้ป่วยติดเตียงระยะประคับประคองคะ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny Год назад

      อันนี้ได้ไหมคะ ruclips.net/video/e1siS7nMO5w/видео.html

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 Год назад

      คุณหมอเคยทำคลิปนี้ไว้ค่ะ
      ruclips.net/video/hsj74rWgUB8/видео.html
      การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)

  • @sanpdinocat
    @sanpdinocat Год назад