พระเจ้าอโนรธามังช่อ:มหาราชผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกามเเละปลุกฝังเมล้ดพันธุ์เเห่งพุทธศาสนาในพม่า

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 26 дек 2024
  • หากในคลิปมีข้อผิดพลาดประการใดต้องกราบขออภัยมานะที่นี้ด้วยนะครับ
    นอกจากนี้ ยังจัดการดูแลสระ คลอง และลำชลประทานในพื้นที่ต่างๆ อาทิ ต่องตวีงจี ยะมีตีง มีงบู และมิตถิลา มีการขยายการเพาะปลูกด้วยการปรับปรุงสระมิตถิลาแล้วทดน้ำเข้าไป ด้วยเหตุนี้ เขตเจ้าก์แซ เขตมีงบู และเขตมิตถิลาจึงกลายเป็นอู่ข้าวตุนเสบียงสำหรับอาณาจักรพุกาม พอมีเสบียงกรังบริบูรณ์เศรษฐกิจของชาติก็เติบโต จากนั้นความรู้ด้านหัตถกรรม วิจิตรศิลป์ และวัฒนธรรมก็เติบโตดุจเดียวกับความเจริญทางเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจมั่นคงจึงได้เริ่มดำเนินการด้านความเป็นปึกแผ่นของอาณาจักร โดยยกทัพไปตีสะเทิมซึ่งที่เป็นเขตของชาวมอญได้สำเร็จ เมื่อชนะเมืองสะเทิมจึงได้นำพระไตรปิฎกพร้อมด้วยพระสงฆ์ผู้รอบรู้ตำราและช่างฝีมือชาวมอญมายังพุกาม หลังจากนั้นจึงได้รวบรวมอาณาจักรเมียนมาทางตอนล่างไว้ด้วยการสงครามและวิธีทางการเมือง นอกจากนี้ พระเจ้าอโนรธายังตียะไข่ได้ด้วย เกียรติศักดิ์ของพระเจ้าอโนรธาได้ขจรไปทั่วอาณาจักรเมียนมาและยังเลยไปถึงอาณาจักรเชียงใหม่และอาณาจักรโยดะยา
    จากการที่ชนะสะเทิมได้ในสมัยพระเจ้าอโนรธาแล้วนั้น จึงเป็นเหตุให้สามารถดำเนินการปกครองอย่างเป็นระบบ และสร้างเอกภาพโดยรวมให้กับอาณาจักรเมียนมา
    อโนรธาธิราชเจ้ามิสบพระทัยในความเชื่อถืออันผิดๆของเหล่าอะเยจี ดังนั้นจึงทรงดำเนินการให้พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทมีความรุ่งเรือง ทรงสร้างวัด กู่ และเจดีย์ขึ้นทั่วไปในทุกแห่งที่เสด็จไปเยือน ในบรรดาเจดีย์ที่โดดเด่นได้แก่เจดีย์ชเวซีโข่งที่พุกามและเจดีย์ชเวยีงที่มิตถิลา อโนรธาธิราชเจ้ายังได้ทรงสร้างพระพิมพ์ที่มีพระนามของพระองค์ถวายไว้ในองค์พระเจดีย์ด้วยพระองค์เอง พระพิมพ์เหล่านั้นพบได้ทั่วอาณาจักรเมียนมา
    อโนรธาธิราชเจ้าทรงตั้งเมืองปราการ ๔๓ แห่งเพื่อป้องกันภัยจากน่านเจ้าที่อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอาณาจักรเมียนมา นอกจากนั้นยังทรงจัดการให้มีทหารอย่างเพียงพอด้วยการตั้งเป็นเมืองสิบ เมืองร้อย และเมืองพันขึ้นภายในอาณาจักร อีกทั้งทรงจัดกองทัพให้เป็นสัดส่วนตามกำลังของเมืองและหมู่บ้านที่อยู่ในพระราชอำนาจ
    อโนรธาธิราชเจ้าทรงคัดสรรและยกย่องผู้ที่มีความสามารถในอาณา-จักร ทั้งนี้เพื่อให้อาณาจักรมีความเป็นปึกแผ่น ดังนั้นจึงได้เกิดมีวีรบุรุษที่เก่งกล้าอย่างเต็มเปี่ยม ในบรรดาวีรบุรุษที่โดดเด่น ได้แก่ จันสิตตางะถ่วยยู งะโลงและแผ่ และญองอูพี
    ด้วยเหตุนี้ ภายใต้การนำของของอโนรธาธิราชเจ้า ชาวพุกามจึงสามารถตั้งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และแข็งแกร่ง ก็ด้วยเพราะความสมานฉันท์
    ในแบบเรียนอ่านประวัติศาสตร์ สำหรับเกรด ๕ ดังกล่าวนั้น สะท้อนภาพความเป็นวีรบุรุษของพระเจ้าอโนรธาในด้านวิสัยทัศน์ทางการปกครอง พระองค์ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นด้วยการรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยและยกทัพไปตีเมืองสะเทิมของมอญ แล้วตีได้ยะไข่, พัฒนาความอยู่ดีกินดีด้วยเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกับพัฒนาอู่ข้าวอูน้ำในเขตเจ้าก์แซ มีงบู และมิตถิลา, รักษาความสงบสุขด้วยการปราบเหล่าอะเยจี ส่งเสริมพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท และสร้างพุทธเจดีย์, อีกทั้งสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้วยการสร้างระบบป้องกันภัยจากภายนอกและชุบเลี้ยงขุนศึก แบบเรียนยังสะท้อนให้เห็นว่าพุกามในสมัยพระเจ้าอโนรธานั้นปรากฏขึ้นด้วยการมีผู้นำที่เก่งกล้าและมีราษฎรที่พร้อมใจ
    นอกจากนี้ ในการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของราษฎรจากการพึ่งพิงลัทธิอะเยจีให้หันมานับถือพุทธศาสนานั้น ยังมีกล่าวเป็นพิเศษในแบบเรียนอ่านประวัติศาสตร์เมียนมา สำหรับเกรด ๓ หน้า ๕ - ๖ โดยให้ภาพพระเจ้าอโนรธาเป็นนักปฏิวัติความเชื่อและองค์อุปถัมภ์พุทธศาสนา ไว้ดังนี้
    อโนรธาเป็นราชโอรสแห่งกษัตริย์พุกาม นามว่า กวมส่องจ่องผยู หลังจากที่อโนรธามีชัยต่อเจ้าสุกกะเตเชษฐาต่างมารดาผู้แย่งบัลลังก์จากพระบิดาได้แล้ว พระองค์จึงมอบบัลลังก์นั้นคืนพระบิดาซึ่งทรงผนวชอยู่ เมื่อพระบิดามิทรงรับ อโนรธาจึงเสวยราชบัลลังก์
    ตอนที่พระเจ้าอโนรธายังมิได้ขึ้นครองบัลลังก์นั้น ในเมืองพุกามยังมีความเชื่อถืออันผิดๆ อาทิ นัต นาค และอะเยจี โดยเฉพาะความเชื่อถือแบบพวกอะเยจีก็กำลังครอบงำแผ่นดินพุกามอยู่ขณะนั้น เมื่อพระเจ้า
    อโนรธาขึ้นครองบัลลังก์พระองค์มิทรงพอพระทัยต่อลัทธิความเชื่อเช่นนั้น และทรงปรารถนาในศาสนาอันชอบ ในเพลาเดียวกันนั้น ชินอรหันต์ได้เดินทางจาริกจากเมืองสะเทิมมาแผ่พระศาสนายังเมืองพุกาม พอพระเจ้า
    อโนรธาได้โอกาสนอบนบต่อชินอรหันต์ พระองค์ก็ทรงมีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงขอร้องให้ชินอรหันต์เผยแผ่พระศาสนาในพุกาม และด้วยความช่วยเหลือของชินอรหันต์ พระเจ้าอโนรธาจึงสามารถกำจัดความเชื่อของเหล่าอะเยจีลงได้ พวกอะเยจีถูกจับสึก แล้วให้คนเหล่านั้นรับใช้ในงานอันควรแก่อาณาจักรต่อไป ด้วยเหตุนี้ ความเชื่อถือแบบอะเยจีจึงค่อยๆหมดไปจากพุกาม พระเจ้าอโนรธาทำให้ชนทั่วแผ่นดินพุกามหันมานับถือพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอันชอบ
    นอกจากนี้ พระเจ้าอโนรธายังได้ยกทัพไปตีได้เมืองสะเทิม พร้อมกับอันเชิญพระไตรปิฎกและพระเถระผู้เชี่ยวชาญในพระคำภีร์มาสู่พุกาม พระเถระชาวมอญซึ่งชำนาญในคำภีร์ได้ช่วยชินอรหันต์เป็นอย่างมากเพื่อให้พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาอันชอบเป็นที่แพร่หลาย พระเจ้าอโนรธามิเพียงสร้างพระเจดีย์ในพุกามแต่ยังทรงสร้างเจดีย์ในทุกที่ที่เสด็จไปถึง ในบรรดาเจดีย์เหล่านี้ เจดีย์ที่โดดเด่นที่สุดคือ พระเจดีย์ชเวซีโข่ง
    แบบเรียนพม่านับว่าได้สะท้อนภาพของพระเจ้าอโนรธาให้เป็นแบบอย่างของผู้นำในการสร้างชาติด้วยพลังแห่งเอกภาพและการพัฒนา ดูจะสอดคล้องกับภาพลักษณ์ของกองทัพพม่านับแต่สมัยสังคมนิยมสืบจนปัจจุบัน อาทิ การยกย่องบทบาทของทหารในฐานะผู้นำในการสร้างชาติเอกราชเยี่ยงวีรชน การปราบปรามภัยภายใน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การพัฒนาเส้นทางการคมนาคม การส่งเสริมกิจกรรมทางพุทธศาสนา และการบูรณะเจดีย์ทั่วประเทศ เป็นต้น
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก:www.gotoknow.o...
    ‪@EveryStoryMatters9944‬ #podcast #ประวัติศาสตร์ #เล่าเรื่อง #พระเจ้าอโนรธมังช่อ #กาัตริย์พม่า #มหาราช #พุกาม #ศาสนา #ศาสนาพุทธ #เจดีย์ #ai #กวี #บทความ #เรื่องเล่าก่อนนอน #ฟังสบาย

Комментарии •