ฟ้าคลุ้มฝน - ขับร้องโดย เจตนา นาควัชระ

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 29 окт 2024

Комментарии • 11

  • @วิทยาขะพินิจ-ฑ3ฆ

    ร้องไพเราะนุ่มนวล บรรยายเนื้อหาของเพลงรับกับธรรมชาติ

  • @patchypp1574
    @patchypp1574 Год назад +1

    ไพเราะเสนาะโสตค่ะ

  • @wwarit
    @wwarit  4 года назад +9

    (คำอธิบายต่อ)
    การเชื่อมโยงกับ art song นั้นมีผลอย่างไร คำตอบก็คือเพลงสั้นๆ ที่ใช้เนื้อร้องจากกวีนิพนธ์ประเภท lyric poetry นั้นสามารถสร้าง “ดราม่า” (จำเป็นต้องใช้คำนี้ เพราะคำว่า “ละคร” ไม่ให้ความหมายที่ตรง) ขึ้นมาได้ทุกขณะ จะสังเกตได้ว่าเพลงที่อาจเริ่มต้นด้วยการถ่ายทอดอารมณ์ของบุคคลไปในลักษณะของการเล่าเรื่องนั้น ไม่ช้าไม่นานก็ปรับความเข้มข้นของอารมณ์ขึ้นมาเป็นลักษณะของ “ดราม่า” ได้ทุกเมื่อ และการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นการปรับเปลี่ยนด้วยดนตรีและด้วยการร้อง เพลง “ฟ้าคลุ้มฝน” มีลักษณะดังที่ว่านี้ ซึ่งผู้ร้องจะต้องตามลีลาของเพลงที่ผู้แต่ง และผู้เรียบเรียงกำหนดไว้ การเรียบเรียงใหม่ของอาจารย์นรอรรถ จันทร์กล่ำ ทำให้การปรับเปลี่ยนอารมณ์และลีลาของเพลงจากแนว “lyrical” ไปสู่ “dramatic” เป็นไปอย่างน่าประทับใจ อันที่จริงผู้เรียบเรียงก็ให้สัญญาณไว้ล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ตอนที่ใช้ดนตรีในท่อนนำ หรือ Introduction ซึ่งเป็นการใช้การบรรเลงของวงปรับเปลี่ยนอารมณ์ให้เห็นไว้อย่างชัดแจ้ง แต่เมื่อนักร้องเริ่มร้อง ก็จำจะต้องเกาะแนว lyrical ไว้ก่อน เพราะวงดนตรีชี้ทางไว้เช่นนั้น จนมาถึงตอนที่บอกความว่า “เหมือนดังนภาร้าวราน” ลีลาที่เป็นดราม่าก็เผยตัวออกมา นักร้องไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องเปล่งเสียงสู้กับวงให้ได้ การร้องแบบเพลง popular song ของนักร้องประเภท crooner ใช้ไม่ได้เสียแล้ว นี่เป็นการเรียกร้องการขับร้องแนวกึ่งอุปรากร (semi-operatic) หรือแนวมิวสิคัลที่ต้องอาศัยความคุ้นเคยกับดนตรีคลาสสิกตะวันตก ที่อภิปรายมานี้มิใช่ประเด็นทางเทคนิคเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ “การตีความ” เพราะแม้แต่เนื้อร้องก็ชี้ทางไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า เมื่อฟ้าลั่นและจักรวาลจะแตกสลาย มนุษย์ก็กำลังจะ “อกแตก” ดับสลายตามไปเพราะรักสลายเช่นกัน แต่ก็อีกนั่นแหละ เช่นเดียวกับเพลง “ยามรัก” ที่ผมได้อภิปรายไปแล้ว
    ในเรื่องของ “การตีความใหม่” เพลงไม่ได้จบลงแบบโศกนาฏกรรม แต่เสียงเพลงค่อยๆ ละลายหายไป “รักกำซ่านทรวงใน” ข้าฯ เก็บทุกข์เอาไว้ในใจ ความรุนแรงคลายไป ผู้แพ้รักไม่ถึงตายหรอก นี่คือหลักการของ “การหลีกหนีโศกนาฏกรรม” (avoidance of tragedy) ซึ่งเราใช้กันมากในศิลปะ และโดยเฉพาะวรรณคดีไทย วรรณกรรมที่จบแบบ “พระลอ” นั้นมีน้อยเรื่อง
    เพลงนี้ ศาสตราจารย์คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ เป็นผู้ขอมา เมื่ออดีตอธิการบดี และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัยขอให้ทำงานให้ อาจารย์เก่าจากศิลปากรก็ต้องพยายามแสดงให้เห็นว่า ที่มหาวิทยาลัยนี้ เขาเอาจริงเอาจังกับศิลปะมาก และนี่คือปกติวิสัยของเรา เพื่อนฝูงโปรดอย่าเข้าใจเป็นอย่างอื่น
    เจตนา นาควัชระ
    7 เมษายน 2563

  • @vcool1103
    @vcool1103 3 года назад

    .....รักกำซ่านทรวงใน.....
    "ฟ้าคลุ้มฝน"

  • @สมจิตรศุภการ

    ฟังแล้ว..ฟังซ้ำ..จินตนาการบรรเจิด..เป็นการเล่าเรื่องที่ได้อารมณ์​ที่สุด

  • @เจียรนัยเจียรนัย

    ร้องได้ชัดเจนมากค่ะ เสียงเพราะมาก

  • @saendoiroinam9816
    @saendoiroinam9816 3 года назад

    ฟังแล้วชื่นใจมาก ๆ ค่ะอาจารย์

  • @bigsambhavesi2767
    @bigsambhavesi2767 4 года назад +1

    ไพเราะมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

  • @jarineemeerakate1790
    @jarineemeerakate1790 3 года назад

    เพราะมากค่ะ

  • @สาวิตรีปานมณี-ต4ศ

    ร้องได้ไพเราะมากๆค่ะ อ.

  • @wichaisukprasopchok4819
    @wichaisukprasopchok4819 3 года назад +1

    เสียงร้องระดับปรมาจารย์ครับ