ฟ้อนละคอนภูไท
HTML-код
- Опубликовано: 5 фев 2025
- ประวัติการแสดง
ฟ้อนละคอน(ละคร) ภูไทบ้านโพน มีลักษณะการฟ้อนที่แตกต่างจากฟ้อนละครของชาวภูไทในถิ่นอื่นๆ เนื่องจากเป็นการฟ้อนในรูปแบบขบวนและเดินฟ้อนไปเรื่อยๆ ที่มีการสวมเล็บแบบฟ้อนกลองตุ้มหรือเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งฟ้อนละคอนของชาวภูไทในถิ่นอื่นๆ จะฟ้อนโดยไม่สวมเล็บ และเป็นการฟ้อนเป็นวงไม่ขยับหรือเคลื่อนวงออกไปไหน เป็นการวาดลีลาการฟ้อนของชายหนุ่มเป็นสำคัญ
ฟ้อนละคอน(ละคร)ภูไท ของชาวบ้านโพน จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการฟ้อนที่เกิดขึ้นจากประเพณีบุญบั้งไฟ ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 จากหลักฐานที่ปรากฏ ฟ้อนละคอนภูไท มีพัฒนาการแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. ยุคดั้งเดิม ระหว่าง พ.ศ. 2459 -2512 เป็นการฟ้อนที่ไม่มีแบบแผนกระบวนท่าที่ชัดเจน
2. ยุคพื้นฟู ระหว่าง พ.ศ. 2532 -2539 เป็นการฟ้อนอย่างมีรูปแบบ และมีการคิดท่าฟ้อนขึ้นมา 4 ท่า ได้แก่ ท่าเดินทาง ท่ารำลาวละคอน ท่าเซิ้งละคอน และท่าสาละวัน
3. ยุคการประยุกต์ ระหว่าง พ.ศ.2539 - ปัจจุบัน รูปแบบการฟ้อนและองค์ประกอบในการฟ้อน มีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม
ท่าฟ้อนมีแบบแผนที่ชัดเจน ซึ่งมี
5 ท่าประกอบด้วย
1. ท่าเดิน
2. ท่าฟ้อนข้าง
3. ท่าไกวมือสูง
4. ท่าหมุนตัว
5. ท่าลง
ฝึกซ้อมการแสดงโดย
1. คุณครูเกษร วรรณราช
2. คุณครูนงคราญ จันพุทธา
3. คุณครูกิตติชัย สีทาไข
แสดงโดย
นักเรียนชุมนุมนาฏศิลป์ โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา