เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร? แรงงานร้อนรู้ทัน : EP1 | เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 1 дек 2024
  • 1. เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร? เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร? แรงงานร้อนรู้ทัน : EP1 | เลิกจ้างไม่เป็นธรรม เลิกจ้างแบบไหน ผิดกฎหมายแรงงาน?
    การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม กับ การเลิกจ้างธรรมดา ความหมายคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
    ---------เลิกจ้างธรรมดามี 3 กรณีคือ ( ม.118 ว.2 และ 118/1 ว.1 )----------------------------
    1. นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน และ ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าเพราะเหตุอื่น หรือ เพราะสัญญาจ้างสิ้นสุด
    2. ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน และ ไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้
    3. ลูกจ้างเกษียณอายุตามที่ตกลงกัน หรือ ตามที่นายจ้างกำหนดไว้
    ----------ผลของการเลิกจ้างธรรมดานี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็มีกรณีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งกฎหมายก็กำหนดเอาไว้เช่นกัน แต่วันนี้เรายังไม่ลงรายละเอียดเรื่องนี้ เพราะหัวข้อของเราคือเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
    ----------ส่วนกรณีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ตาม ม.49 พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ คือ การที่เลิกจ้างโดยที่ไม่มีสาเหตุ (1) หรือแม้จะมีสาเหตุ แต่เป็นสาเหตุที่ไม่จำเป็นอันสมควรถึงกับจะต้องเลิกจ้าง
    (1) คือปราศจากเหตุผลอันสมควร กลั่นแกล้งลูกจ้าง , เลือกปฎิบัติ , ลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด หรือผิด แต่ไม่ถึงขั้นร้ายแรง , ลูกจ้างทำผิดครั้งแรก , แสดงความเห็นไม่สอดคล้องกับนายจ้าง เลิกจ้างเพื่อลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏวิธีการ ขั้นตอน
    ------------ข้อระวัง แต่ ๆ หากเป็นกรณีที่ลูกจ้างไปลาออกเอง หรือ นายจ้างให้ออกจากงานก่อนถึงกำหนดที่ลูกจ้างกำหนดเวลาเอาไว้ ( เช่น ลูกจ้างขอลาออกโดยกำหนดวันสิ้นสุดการทำงานคือวันที่ 30 ของเดือน แต่นายจ้างให้ออกก่อนวันที่ 30 ) ก็จะไม่ใช่การเลิกจ้าง ดังนั้นเมื่อไม่ใช่เลิกจ้างแล้ว ก็ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
    #เลิกจ้างไม่เป็นธรรม #สิทธิแรงงาน #กฎหมายแรงงาน #การเลิกจ้าง #การเลิกจ้างตามกฎหมาย #การฟ้องศาลแรงงาน #ถูกเลิกจ้างทำอย่างไร

Комментарии •