#ไหว้ครูบูรพาจารย์

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 29 авг 2024
  • ______ #ไหว้ครูบูรพาจารย์
    มจร. #วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2567
    พิธีรับน้อง ฮ้องขวัญ #วัดพระธาตุลำปางหลวง
    #หมายเรื่องเมืองพุทธ EP 094.ครูในทางพระพุทธศาสนา
    ___________________________________
    "ครู อาจารย์" หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นบุคคลที่สำคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม อันจะเป็นกำลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป การไหว้ครูนั้นเป็นการแสดงความคารวะยอมรับนับถือต่อครูบาอาจารย์และแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ที่ได้สั่งสอนอบรม ที่ให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้วิชาการต่างๆ เพื่อที่จะได้นำไปประกอบสัมมาอาชีพ และให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในปัจจุบัน
    #ครูในทางพระพุทธศาสนา
    ครูผู้ยิ่งใหญ่ของเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรารู้จักพระพุทธเจ้าในฐานะ ผู้เป็นพระบรมครู ศาสดาเอกของโลก เราจึงควรศึกษาของดีๆ ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และต่อผู้อื่นได้อย่างกว้างขวาง พระพุทธเจ้าในสมัยเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดี จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียง คือ อาจารย์วิศวามิตร วิชาที่ทรงศึกษา คือ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จะเป็นกษัตริย์ จะต้องศึกษาศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ คือ
    ๑.ยุทธศาสตร์ วิชานักรบ
    ๒.รัฐศาสตร์ วิชาการปกครอง
    ๓.นิติศาสตร์ วิชากฎหมายและจารีตประเพณีต่างๆ
    ๔.พาณิชยศาสตร์ วิชาการค้า
    ๕.อักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดี
    ๖.นิรุกติศาสตร์ วิชาภาษาทั้งของตน และของชนชาติ ที่เกี่ยวข้องกัน
    ๗.คณิตศาสตร์ วิชาคำนวณ
    ๘.โชติยศาสตร์ วิชาดูดวงดาว
    ๙.ภูมิศาสตร์ วิชาดูพื้นที่ และรู้จักแผนที่ของประเทศต่างๆ
    ๑๐.โหราศาสตร์ วิชาโหรรู้จักพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
    ๑๑.เวชศาสตร์ วิชาแพทย์
    ๑๒.เหตุศาสตร์ วิชาว่าด้วยเหตุผล หรือตรรกวิทยา
    ๑๓.สัตวศาสตร์ วิชาดูลักษณะสัตว์ และรู้เสียงสัตว์ว่าดี หรือร้าย
    ๑๔.โยคศาสตร์ วิชาช่างกล
    ๑๕.ศาสนศาสตร์ วิชาศาสนารู้ความเป็นมา และหลักศาสนาทุกศาสนา
    ๑๖.มายาศาสตร์ วิชาอุบาย หรือตำหรับพิชัยสงคราม
    ๑๗.คันธัพพศาสตร์ วิชาร้องรำหรือนาฎยศาสตร์ และวิชาดนตรีหรือดุริยางค์ศาสตร์
    ๑๘.ฉันทศาสตร์ วิชาการประพันธ์
    หลักการสอนการปฏิบัติตนของพระบรมครูผู้ยิ่งใหญ่ของโลกนี่ ที่เราทุกคนควรนำหลักไปปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและประโยชน์ท่านได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด
    #ครู
    คือ ผู้ที่มีความสามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน และนอกจากการสอนแล้วครูยังเป็นผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์ ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี สอนในคุณงามความดีเพื่อเป็นแม่แบบให้เด็กได้ปฏิบัติตามทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    #คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"
    #ครูประจำการ
    ครูประจำการ หมายถึง ข้าราชการครูผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียนหนึ่ง ๆ เป็นเวลาหนึ่งภาคเรียนหรือหนึ่งปีการศึกษา พร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการประจำห้องเรียน ในโรงเรียนของรัฐบาล ในอดีตความสัมพันธ์ของครูประจำชั้นจะเปรียบเสมือนผู้ปกครองคนที่สอง ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ช่วยแก้ปัญหา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน อันเป็นผลทำให้ครูและโรงเรียนได้รับความศรัทธาพร้อมทั้งมีบุญคุณต่อนักเรียนและครอบครัว
    ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ในโรงเรียนทั่วโลกมีการนักเรียนออกเป็นชั้น ๆ เป็นห้อง ๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเรียกเรียกว่า "ห้องเรียน" หรือ "ชั้นเรียน" (Classroom) และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า "เพื่อนร่วมชั้น" (Classmates)
    #ครูในระดับอุดมศึกษา
    ผู้สอนในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษา จะมีตำแหน่ง อาจารย์ โดยอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
    #ตำแหน่งครู
    คือบุคคลที่ทำหน้าที่ช่วยสอน สอนทบทวน สอนภาคปฏิบัติ แตกต่างจากอาจารย์ที่ สอนภาคบรรยายเรื่องต่าง ๆ
    #ครูในระดับอาชีวศึกษา
    ผู้สอนในวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเกษตร จะมีตำแหน่ง ครู โดยครูที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ ครู, ครูผู้ช่วย, ครูปฏิบัติการ, ครูชำนาญการ, ครูชำนาญการพิเศษ , ครูเชี่ยวชาญ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
    #ครูผู้ดูแลระบบจัดการโรงเรียน
    ครูที่ทำหน้าที่ดูแลระบบทั้งโรงเรียนจะเรียกว่า ครูใหญ่ ซึ่งคล้ายคลึงกับคณบดี หรืออธิการบดี ในระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่ของครูใหญ่มักจะทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดการของโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียน ต่อมาเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา
    ในการนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology :ICT) มาใช้ในการศึกษา ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน ตลอดจนลดความไม่เท่าเทียมทางการศึกษาในโรงเรียนที่ห่างไกลอีกด้วย
    ❖ #รวมรวมเรียบเรียง
    ดร.กตัญญู เรือนตุ่น
    มจร.วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
    ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗
    #พิธีไหว้ครู #ทำขวัญนาคลำปาง #ทำขวัญบ่าวสาว #พิธีบวงสรวง #ตั้งศาลพระภูมิ #พิธีกรลำปาง #พิธีกรงานแต่งลำปาง #พิธีกรงานศพลำปาง #พิธีกรรมงานศพล้านนา #โฆษกพิธีกร #หนานเอ #หมายเรื่องเมืองพุทธ #ประเพณีล้านนา #สืบชะตาล้านนา #ศาสนพิธีกร 0931312128

Комментарии •