กรมอุทยานฯสถาปนาครบรอบ22ปี

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 4 дек 2024
  • ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานงานวันคล้ายวันสถาปนากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ครบรอบ 22 ปี พร้อมด้วยนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นายนรินทร์ ประทวนชัย นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ นายวีระ ขุนไชยรักษ์ รองอธิบดี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ วันที่ 2 ตุลาคม 2567 เวลา 07.00 น. ณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กทม.
    ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และเป็นรากฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องการให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ เพิ่มความเข้มข้นในการดำเนินงานมากขึ้น ในเรื่องต่างๆ ทั้งการอนุรักษ์ ปกป้องรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การป้องกันและควบคุมไฟป่า การฟื้นฟูพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เพื่อสร้างเศรษฐกิจจากนิเวศบริการอย่างยั่งยืน บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าอย่างสมดุลในทุกมิติ มุ่งแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อาทิ การแก้ปัญหาสัตว์ป่า การแก้ปัญหาที่ดิน และทุกภารกิจจะสำเร็จได้ต้องอาศัยการบูรณาทุกภาคส่วน โดยขอให้ “เจ้าหน้าที่ทุกท่านต้องร่วมกันขับเคลื่อน ประชาชนต้องมีส่วนร่วม สื่อมวลชนช่วยกระจายข่าว และขอให้สนุกกับทุกงานที่ทำ”
    ด้านนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พุทธศักราช 2545 มีภารกิจหลักในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู และดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อเป็นฐานทรัพยากรในการสร้างเศรษฐกิจจากนิเวศบริการอย่างสมดุลและยั่งยืน และมุ่งมั่นขับเคลื่อนทุกภารกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการปราบปราม คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชน ลดปัญหาความขัดแย้งทุกมิติ เพื่อให้ป่าไม้ สัตว์ป่า และประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย จำนวน 74.25 ล้านไร่ แบ่งเป็น อุทยานแห่งชาติ 156 แห่ง, วนอุทยาน 91 แห่ง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 60 แห่ง, เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 98 แห่ง, สวนพฤกษศาสตร์ 17 แห่ง, สวนรุกชาติ 51 แห่ง
    กรมอุทยานแห่งชาติฯ เป็นหน่วยงานที่ร่วมสนองการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาสู่การปฏิบัติกว่า 178 โครงการ ขณะที่การป้องกันการบุกรุกป่า ได้มีการดำเนินการอย่างหลากหลาย เช่น การจัดตั้งศูนย์ควบคุมมาตรฐานการลาดตระเวนเชิงคุณภาพ มีหน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติ (พญาเสือ) ชุดปฏิบัติการปราบปรามการกระทำผิดด้านสัตว์ป่าและพืชป่า (เหยี่ยวดง) ส่วนการแก้ปัญหาไปป่าและหมอกควัน จากการวางแผนและทำงานอย่างหนักร่วมกับชุมชนและประชาชนจิตอาสา ส่งผลให้พื้นที่เผาไหม้ในเขตป่าอนุรักษ์ ปี 2567 ลดลงจากปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 47.48 ด้านการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในการบริหารด้านนิเวศอย่างสมดุลส่งผลให้ปัจจุบัน มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ โดยองค์การยูเนสโก จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และกลุ่มป่าแก่งกระจาน ด้านการบริหารอุทยานแห่งชาติได้มีการพัฒนาระบบ E-National - Park มาให้บริการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เพื่อความโปร่งใสในการจัดเก็บรายได้ ส่งผลให้ปีงบประมาณ 2567 เก็บรายได้อุทยานแห่งชาติ ได้กว่า 2,139 ล้านบาท เพื่มขึ้นร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้แก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ ตาม พรบ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 มาตรา 64 และ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย เกิดความมั่นคงในการดำรงชีวิตอยู่อาศัยทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    ด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนา โดยในปี พ.ศ.2567 ประเทศไทย ได้รับการยกย่องให้เป็น “Champion
    ด้านการอนุรักษ์เสือโคร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยในปี 2567 ประชากรเสือโคร่งในป่าไทยเพิ่มเป็น 179 - 223 ตัว ขณะที่การแก้ปัญหาสัตว์ป่ารบกวนประชาชน เช่น ลิง ได้มีการแก้ปัญหาลิงในพื้นที่เทศบาลเมืองลพบุรี และเทศบาลเมืองเพชรบุรี ซึ่งคาดว่าจะเป็นต้นแบบสำหรับการจัดการแก้ปัญหาลิงในพื้นที่อื่นๆ ส่วนการแก้ปัญหาช้าง ได้จัดตั้ง “เครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์”ดำเนินการร่วมกับประชาชนอาสาสมัคร ส่งผลให้จำนวนช้างป่าออกนอกพื้นที่ลดลง พร้อมทั้งสร้าง “ศูนย์ปรับพฤติกรรมช้างป่า” ด้วย ส่วนการให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ ได้ปรับขึ้นค่าตอบแทนหรือเงินเดือนของบุคคลภายนอก ตำแหน่งพิทักษ์ป่า จำนวน 13,419 อัตรา จาก 9,000 บาท เป็น 11,000 บาทต่อเดือน พร้อมสวัสดิการอื่นๆอีก ขณะที่การพัฒนางานระบบและกระบวนการทำงานเข้าสู่องค์การภาครัฐ แบบดิจิทัล ได้มีการอำนวยความสะดวกและรวดเร็ว ลดภาระให้กับประชาชน และมีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ผ่านเว็บไซต์กลางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่วนการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ ได้รับรางวัล Best Brand Performance on Social Media สาขากลุ่มหน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจ 3 ปีซ้อน จากงาน Thailand Social Award งานประกาศรางวัลโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

Комментарии • 1