ภาวะหมดไฟของผู้ดูแลผู้สูงอายุ

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 6 сен 2024
  • 👴👵 เพราะผู้สูงอายุ คือ บุคคลอันเป็นที่รักของทุกครอบครัว ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน ผู้สูงอายุของแต่ละบ้านก็ยังคงเป็นสมาชิกคนสำคัญที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ โดยเฉพาะผู้ใกล้ชิด หรือบุตรหลานซึ่งเป็นด่านแรกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ในสังคมไทยผู้ดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นคนในครอบครัว ❤️️ ดังนั้นเมื่อต้องกลายมาเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ควรต้องเตรียมตัวให้พร้อม และฝึกการคลายเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม ไม่อย่างนั้นอาจเกิดภาวะหมดไฟได้
    🔹 เรามาทำความรู้จักกับภาวะหมดไฟของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กับ นพ. ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ ที่จะมาบอกเล่าเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนให้รู้ทัน ป้องกัน และรักษาทันเพื่อลดผลเสียที่อาจเกิดขึ้นค่ะ 👇
    🔸 ผู้ดูแล (Caregiver) มีประเภทใดบ้าง
    Caregiver หรือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
    🔻 ประเภทที่ 1 คือ Caregiver ที่ผ่านการอบรมอย่างเป็นทางการ เช่น บุคลากรทางการแพทย์
    🔻 ประเภทที่ 2 คือ Caregiver ที่ไม่ได้ผ่านการอบรม อาจจะเป็นญาติ หรือคนใกล้ชิดที่อาสาเข้ามาดูแลผู้สูงอายุ หรืออาจจะเป็น Caregiver ที่ทางญาติจ้างมา แต่ว่าอาจจะยังไม่ได้ผ่านการอบรมอย่างเป็นทางการ
    --------------------------------------
    🔸 ปัญหาต่างๆ ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
    🔻 ปัญหาด้านสุขภาพกาย เช่น ผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวมาก แต่ผู้ดูแลมีน้ำหนักตัวน้อย หากต้องมีการยก การเคลื่อนย้ายตลอดเวลา Caregiver ก็จะมีปัญหา เช่น ปวดหลัง และอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูแลคนไข้
    🔻 ปัญหาด้านสุขภาพใจ เช่น การทำงานที่เครียด ต้องอยู่กับคนไข้ตลอด 24 ชั่วโมง เวลาเห็นผู้สูงอายุเจ็บป่วยแล้วก็จะส่งผลต่อความเครียด และอาจจะมีปัญหาด้านสุขภาวะในการนอนด้วย เพราะต้องลุกตื่นขึ้นมาดูคนไข้ไม่เป็นเวลา ที่นอนอาจจะไม่ได้สุขสบายเหมือนนอนที่บ้าน ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อความเครียด มีปัญหาการนอนไม่หลับ ถ้าผู้ดูแลสุขภาพไม่ดี ทั้งสุขภาพกายและใจก็จะทำให้สุขภาพกายและใจของผู้สูงอายุแย่ลงไปด้วย
    --------------------------------------
    🔸 ภาวะหมดไฟของผู้ดูแลผู้สูงอายุ
    🔻 ปัญหาด้านอารมณ์ของผู้ดูแล หรือเรียกเป็นภาษาไทยง่ายๆ ว่า "ภาวะหมดไฟ" เนื่องจากว่าภาวะนี้เกิดจากความเครียดสะสม ลองจินตนาการว่าเราดูแลผู้สูงอายุคนหนึ่งที่มีโรคประจำตัวและต้องดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หากผู้สูงอายุมีอาการแย่ลงทั้งๆ ที่เราทำเต็มที่แล้ว บางครั้งก็จะส่งผลกระทบทางด้านอารมณ์ขอผู้ดูแลพอสมควร ทำให้คนเหล่านี้เกิดภาวะหมดไฟ คือจะมีอาการเหมือนซึมเศร้า รู้สึกว่าเบื่อหน่ายกับงานที่ทำ และจะส่งผลเสียทางตรงกับคนไข้ด้วย
    --------------------------------------
    🔸 วิธีการสังเกตภาวะหมดไฟ
    🔻 อันดับแรก คือต้องรู้ตัวก่อนว่าเราอยู่ในภาวะนั้นหรือยัง ลองสังเกตดูว่า สิ่งที่ทำอยู่หรือที่เคยอยากทำ กลับเป็นไม่ชอบเลยรู้สึกหงุดหงิดง่าย โกรธง่าย สมาธิเริ่มไม่ดี นี่ก็เป็นสัญญาณของการเริ่มมีภาวะหมดไฟแล้ว หรือการเริ่มมีปัญหาเรื่องการกิน การนอน บางคนกินได้น้อยลงหรือบางคนกินมากขึ้นผิดปกติ บางคนก็นอนได้น้อยลงหรือนอนมากขึ้นผิดปกติ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสัญญาณเตือนว่าเริ่มมีภาวะหมดไฟแล้ว
    --------------------------------------
    🔸 หากรู้สึกหมดไฟให้รีบปรึกษาแพทย์
    🔻 สำหรับผู้ดูแล ถ้าเริ่มสังเกตว่าตัวเองมีปัญหา ไม่ว่าปัญหาสุขภาพกายหรือสุขภาพใจก็ตาม สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน ซึ่งนอกจากการดูแลผู้ป่วยสูงอายุแล้ว ในบางกรณีผู้ดูแลก็ต้องมาเข้าร่วมการรักษาด้วย เนื่องจากมีภาวะการเจ็บป่วยทางกายและทางใจซ่อนอยู่ ซึ่งการรักษาพร้อมกันทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแล อาจจะส่งผลดีต่อการรักษา
    --------------------------------------
    🔸 ส่งกำลังใจให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุทุกคน
    🔻 ขอให้กำลังใจคนที่ทำหน้าที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะหลายคนที่เป็นญาติใกล้ชิดของผู้สูงอายุ ท่านเป็นกำลังสำคัญในการดูแลคนไข้ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้คนไข้ดีขึ้น ถ้าร่างกายเราฟ้องตัวเองว่าไม่ไหวแล้ว ทั้งทางกายหรือจิตใจ ขอให้ผู้ดูแลบอกต่อญาติคนอื่น เพื่อหยุดพัก การหยุดพักไม่ใช่ว่าจะไม่ทำตามหน้าที่หรือบกพร่องต่อหน้าที่แต่อย่างใด แต่เป็นการซ่อมจิตใจตัวเองเพื่อให้เราเตรียมพร้อม จะได้กลับมาดูแลคนไข้ใหม่ให้เต็มที่ การที่เรามีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดีและแข็งแรงก็จะส่งผลทางตรงต่อผู้ป่วย ถ้าเรามีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีเมื่อไหร่ สุขภาพของคนไข้ก็จะดีตามอย่างแน่นอน
    --------------------------------------
    ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน
    นพ.ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง (bit.ly/3zurl3l)
    --------------------------------------
    📞 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้สูงอายุ ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 10 โรงพยาบาลนครธน โทร. 0-2450-9999 ต่อ 1088-1089 (bit.ly/3pUH0Vi)
    📢 หากไม่อยากพลาดข่าวสารดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ อย่าลืมกด ติดตาม' และ 'กดกระดิ่ง' 🔔 ด้วยนะคะ ^^
    📢 หรือติดตามสาระความรู้เรื่องสุขภาพจากโรงพยาบาลนครธน ในช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
    👉 Facebook : / nakornthon
    👉 Line@ : goo.gl/rbuBMq
    👉 Website : www.nakornthon...
    👉 IG : / nakornthon
    #Nakornthon #การดูแลผู้สูงอายุ #ภาวะหมดไฟ #Caregiver #คนดูแลผู้สูงอายุ

Комментарии • 3