Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
ปัญหาคือความซับซ้อนของผู้ลงทุนในรถไฟฟ้า มีหลายเจ้าเหลือเกิน ทำงานก็ทำแต่ในส่วนของตัวเอง ไม่คุยปัญหาร่วมกัน ไม่มีคนกลาง เวลาต่อสาย หรือทำอะไรที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ก็คิดแต่ถึงประโยชน์ของตัวเองให้มากที่สุด ปวดหัว มากเลย
ระบบบันไดเขาทำไว้แบบพิลึกกึกกือดีจัง ส่วนสกายวอร์ก พื้นผิวมีสูงมีต่ำ โดยให้เหตุผลว่าต้องเชื่อมต่สะพานลอย จริงๆแล้วทำพื้นผิวให้เสมอกันได้ ช่วงรอยต่อสะพานลอย สามารถทำขั้นเป็นบันไดตรงกลาง แล้วสองข้างทำเป็นทางลาดได้เผื่อรถวีลแชร์ และผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการก้าวขั้นบันได มันจะเพอร์เฟคกว่านี้นะ
ประเด็นปัญหา คือ...1. มีทางออกอีกหนึ่งทางที่ในคลิปไม่ได้นำเสนอ คือนาทีที่ 6:38 ด้านขวามือ (หลังลิฟท์) มีบันไดเดินลงไปได้และใกล้กว่าทางออกที่ 3, ตรงนี้ต้องทำเป็นป้ายถาวร (แขวนเพดาน) ให้เป็นทางออกที่ 52. ป้ายบอกทางที่เป็นป้ายหลัก (ที่แขวนเพดาน) ไม่ควรบอกว่าทางออกที่ 4 คือจุดเชื่อมต่อ "MRT สายสีน้ำเงิน" แต่ต้องเปลี่ยนใหม่ว่าทางออกที่ 4 คือไป "อาคารจอดแล้วจร"3. ป้ายบอกทางที่เขียนว่าไปทางออกที่ 3 ตอนนี้ทำเป็นเศษกระชั่วคราวและไม่อยู่ในระดับสายตา คนมักมองไม่เห็น (ไม่ได้แขวนเพดาน, เพราะคนจะเดินหาแต่ทางออกที่ 4 ที่ตนได้เห็นตั้งแต่ตอนเดินออกจากชานชลาแล้ว) ต้องทำใหม่ให้เป็นป้ายถาวร (แขวนเพดาน) เอาไปแทนที่ป้ายเดิม (ป้ายที่บอกให้คนเดินไปทางออกที่ 4)4. เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องทำบันไดเลื่อนลง เพื่อดึงคนให้มาใช้บันไดเลื่อน เพราะจะระบายคนออกจากสถานีได้เร็วกว่า, โดยบริเวณทางออกที่ 5 นี้ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งบันไดเลื่อน (ถ้าไม่ขัดกับหลักวิศวกรรม)5. ทางออกที่ 3 ที่ให้คนเดินยาว 300 กว่าเมตร (เดินไกลมากๆ ?) แต่เดาว่าในอนาคตอาจใช้เป็นลานกิจกรรมเพื่อสังคม, ประชาสัมพันธ์ต่างๆ และอาจมีร้านค้าตามทางเดินนี้.
ข้อ 1 เพิ่งรู้ว่าหลังลิฟต์มีบันได มีประโยชน์มากๆ ค่ะ คราวหน้าจะลองใช้ทางนี้ เพราะทางออก 3 เดินอ้อมไกลมากๆ
คิดว่าคราวหน้าผมจะไปทางออก4 แล้วเดินลงบันไดหลังลิฟท์ดีกว่าเดินไปทางออก 3 ซึ่งเดินอ้อมไกลมาก
เพิ่งรู้เลยว่ามีซ่อนอีก
จริงเลยครับ.แอด..ผมไปทดลองนั่งแล้ว.ขึ้น-ลงหลายสถานีฯ.มีบันไดเลื่อนขึ้น.แต่ตอนลงผมนึกถึงลูกพาพ่อแม่คนเฒ่าคนแก่เดินทาง.เห็นแล้วไม่สะดวก.หรือบางจุดมีบันไดเลื่อนลง.แต่ป้ายบอกไม่ชัดเจน.และบางสถานีบันไดเลื่อนเดินซะไกล.ผมไปทดลองสุดท้ายผมขี้เกียจเดิน.ลงลิฟท์ง่ายกว่า.ขอบคุณแอดมากสะท้อนข้อเท็จจริง.อย่าลืมว่าคนแก่ต้องใช้ชีวิตนอกบ้านไปด้วยกันกับบริการสาธารณะ
ควรทำ sky walk เวลาประชาชนต้องไปต่อ airport link นะคะ เดินยากกกกกมากกกก ต้องลงพื้นดิน แล้วขึ้นใหม่ แล้วต้องเดินตากแดดกลางถนนไปอีกไกลเลย วันที่ไป exit ก็เปิดไม่หมด ต้องเดินไกลไปอี๊กกก อย่างร้อนค่ะ😅😅
ใช่ครับ ต้องลงมาข้างล่างและเดินไกลเพราะไม่มีการเชื่อมต่อกับสาย Airport Link มึกระเป๋าเดินทางจะไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ เดินขึ้นๆลงๆเหนื่อยเลยครับ
เท่าที่สังเกต bts ไม่ว่าจะสายไหนก็คือบันไดเลื่อนมีแต่ขาขึ้น แต่ถ้า mrt ไม่ว่าจะใต้ดินหรือบนดินคือบันไดเลื่อนมีทั้งขึ้นและลงสะดวกสบายกว่ามาก ส่วนตัวชอบการสร้างของmrt มากกว่าในหลายๆอย่าง
bts กับสายสีเหลืองนั้นเห็นแก่ตัวครับ ค่าโดยสารก็เห็นแก่ตัว(คอยดูการเก็บค่าโดยสารของสีเหลืองสิ) ความสะดวกสะบายก็เห็นแก่ตัว ทำลวกๆ แบบขอไปที
สีเหลืองนี่ก็ MRT นี่ครับ
@@gunnsap ใช่ค่ะ งง ว่าเค้าทำไมออกแบบแปลกๆสายสีเหลืองติดแค่บันไดเลื่อนที่ไม่มีลงเหมือนกับสายอื่นที่สร้าง
@@Hangoutchillingบันไดเลื่อนขาลงอยู่ในไส้ใครบางคน 😅😂😂
@@gunnsapตามชื่อคือ MRT แต่ผู้รับสัมปทานโครงการ คือ BTS
อธิบายละเอียดดีครับ ชอบมากเลย คนไม่เคยไปดูคลิปนี้ไม่งงแน่นอน
ลิฟท์ 4 ตัวนั่นต้องรับโหลดจนมีอาการพังง่าย เจ็บออด ๆ แอด ๆ ในอีกไม่นานแน่ ๆ ครับ
ได้ยินมาว่าวันก่อนเริ่มมีอาการจนต้องหยุดให้บริการชั่วคราวมาแล้วครับ
เห็นปัญหาแล้วควรแก้ไขรองรับสังคมสูงวัยด้วยเลย จากคนวัยทำงาน เป็นเกษียณอายุมากขึ้นๆทุกปี คนแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้ ยังไม่นับครอบครัวที่ใช้รถเข็นเด็ก หรือ ผู้ใช้ wheelchair ในการเดินทางอีก
สายสีเหลือง ควรจะเพิ่มสถานี ไปให้ถึงแยกรัชโยธิน ครับ แถวนั้นประชาชนใช้เดินทางเยอะมากครับ 😀👍👌✌
มีอยู่ในแผน กำลังดำเนินการครับ
รัชโยธินไม่พอครับต่อไปให้ถึง มจพ.เลยครับ เด็กพระนครเหนือจะได้มาเดินห้างแถวๆลาดพร้าวให้มากขึ้น
บอก BEM. ไม่ให้ต้องจ่ายค่าชดเชยให้หน่อย😂😂
ถ้าถึงรัชโยธินจริง ผมกรี๊ดเลย เพราะผมทำงานที่ SCB รัชโยธิน แต่พักอยู่รามคำแหง จะสะดวกมาก
ในความเป็นจริง ควรจะมีแผนงานการแก้ไขหรือปรับแผนแม่บทได้ตลอดเวลา เพราะถ้าต้องการแก้ไขปัญหารถติด และการมีโครงสร้างสาธารณะพื้นฐานที่ค่อนข้างจะ flexible ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมากกว่านี้ (ควรทำถึง ฝั่งธนฯ และ interchange ที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน สถานีบางบำหรุ เพื่ิอความสะดวกมากขึ้น และถ้าสมมุติประชาชน หรือผู้โดยสารมีบ้านอยู่แถว central รัตนาธิเบศร์ แล้วต้องการจะไปทำธุระ หรือทำงานที่ the mall บางกะปิ เขาก็ต้องเปลี่ยนขบวนรถถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกที่สถานี เตาปูนเพื่อเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ครั้งที่2 ที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง นั่นคือสิ่งที่เหนื่อยและน่าเบื่อมาก หากยังมีการที่ประชาชน หรือผู้โดยสารเดินทางไม่สะดวกแบบนี้ ปัญหารถติดของกรุงเทพและปริมณฑล ก็ไม่มีทางก็ไขได้โดยง่ายแน่นอนครับ
จากที่ลองใช้ทุกวัน เห็นด้วยนะครับว่าทางออกที่3 ควรจะเป็นบันไดเลื่อนขึ้น-ลงทุกตำแหน่ง เนื่องจากระยะทางของskywalk ค่อนข้างไกล ซึ่งทำให้ไม่สะดวกสำหรับบางคนจริงๆ
บ้านเราตอนนี้ยังไม่มี Interchange ที่อยู่ในสถานีเดียวกันเลยแบบสิงคโปร์ที่สถานี Jurong east ที่เดินเปลี่ยนขบวนข้ามสายบนชานชาลาชั้นเดียวกัน (ไม่นับสีเขียวที่สยามนะ) ก็เดาได้ว่าตอนออกแบบอาจไม่ได้ทำเผื่อไว้ (แต่เข้าใจว่าสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ทำ Interchange แบบไม่ต้องแตะบัตรออกไว้ ชานชาลาสีน้ำเงินกับส้มอยู่คนละชั้น)ตอนแรกก็กำลังจะบอกว่าบ้านเราไม่มี Interchange แบบสองสถานีติดกันกับรถไฟสายเดียวกัน ก็ลืมไปว่ามีแล้ว (หมอชิต-สวนจตุจักร/ห้าแยกลาดพร้าว-พหลโยธิน) มันก็จะเป็นทางเลือกให้คนได้กระจายโหลดเวลาเปลี่ยนสายให้ไม่แออัดที่สถานีเดียวส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกตามสถานี ก็ขาดๆ เกินๆ ทำใหม่ก็จะงงๆ แบบทางเลื่อนสถานีดอนเมืองอีก...คิดไม่ครบ ทำไม่จบจริงๆ หน่วยงานบ้านเราเนี่ย (ทั้งรัฐและเอกชนเลย)ส่วนสายสีเหลืองที่ไม่ยอมต่อไปถึงรัชโยธิน นี่ก็เรื่องผลประโยชน์ของบริษัทผู้รับสัมปทานล้วนๆ พอๆ กับเรื่องตั๋วร่วมเลย นี่ก็น่าเบื่อหน่ายเหมือนกัน
เราว่าเปิดบันไดหนีไฟในตึกจอดรถหลังลิฟให้คนเดินลงไปได้ด้วยก็ดีนะ คนที่ไม่อยากเสียเวลารอลิฟท์ก็จะได้เดินลงได้ ถ้าจะให้เดินไปออกทางออกที่ 3 เราว่ามันไกลเกินไปมากๆ เทียบกันแล้วไม่มีคนเดินไปทางออกที่ 3 แน่ๆ ขนาดเราเป็นคนไม่มายที่จะต้องเดินยังรู้สึกเลยว่ามันต่างกันมากเกินไป มันเสียพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะส่วนใหญ่คนมาต่อ mrt คือเค้าต้องเดินทางต่ออีกมันเหนื่อยเกินไปสำหรับคนที่ต้องไปทำงานเช้า ไปถึงก็เหนื่อยหมดแรงที่จะ focus กับงานละ
เดินไกลมาก ทั้งขึ้นและลงสายสีเหลืองและอ้อม กว่าจะถึงสีน้ำเงิน
บันไดเป็นประโยชน์นะคะ คิดว่าถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ ไม่สามารถใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนได้ บันไดที่เชื่อมต่อกัน เป็นประโยชน์มากนะคะ วิศวกรไม่ได้มองแค่ความสะดวกนะคะ ความปลอดภัยคือหัวใจของการออกแบบอาคาร/สถาที่ต่างๆค่ะ ส่วนผู้คนจะเลือกใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ความต้องการ
ทางออก3 คนทำงานนะไม่ได้เดินเที่ยวว😁😁
คลิปนี้ มีประโยชน์มากๆ ตอนไปใ้ช้บริการ จะได้ขึ้นลิฟท์ไปเลย สะดวกมากๆๆๆๆๆ 👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻
สวัสดีครับผมจะขอแจ้งการใช้งาน จากสถานีหัวหมาก ( Airport Link) ไปยัง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือ (หัวหมาก) มีความไม่สะดวกครับต้องเดินไกล ไม่มี SKY WALK แต่จะมีพี่วินมอเตอร์ไซค์ค่อยให้บริการแต่ก็ต้องเสียตังเพิ่ม ฝากทางรายการแจ้งเป็นกระบอกเสียงให้้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหรับการนำเสนอครับ ผมคนแข็งแรงๆ เห็นแล้วยังขอบาย
การเปลี่ยนถ่ายจากสายสีน้ำเงินไปยังสายสีเหลือง ต่างระดับกัน 5 - 6 ระดับ แต่เมื่อเดินมาจนเมื่อย ระดับสุดท้าย กลับไม่ได้สร้างให้เป็น บันไดเลื่อน แต่เป็น บันไดเดินขึ้น ... เข่าเสื่อมปวดขา ต้องเดิน ไป-กลับ ทุกวัน แต่ อุบัติเหตุใน การเดินลงบันได นั้น อันตรายกว่า การเดินขึ้นบันได
ขอถามท่านที่มีปัญหาข้อเข่า การขึนหรือลงบันไดอย่างใหนสร้างปัญหาให้ท่านมากกว่ากันครับ สำหรับผมคิดว่า "การลงบันได"ทำได้ยากกว่า ฉะนั้นตัวช่วยคือ"บันไดเลื่อน" ควรจะเลื่อนลงจากที่เป็นอยู่คือเลื่อนขึ้นครับ
@@tu1045 : ใช่ครับ การลงบันใด น้้น มีผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย มากกว่า การขึ้นบันใด #ตามที่ผมได้เขียนไว้แล้วตั้งแต่แรก ในโพสท์ ...แต่ ...ประเด็น ที่ต่องการสื่อ/เสนอ คือ การเดินที่มีระยะทาง เดินราบ + เดินขึ่น อย่างยาวไกลมาแล้ว และมีระดับต่างกัน 6 ดับ ทำให้ผู้รับบริการ ย่อมมีความ เมื่อย ล้า ของร่างกาย และเกิดขัดความรู้สึก เมื่อย ล้า มากขึ้น เมื่อต้องมาเดินขี้นบนใดในชึ้นที่ระดับสุดท้าย การบริการที่ดีกว่า แม้จะไม่เพิ่มต้นทุนการสร้างบันใดเลื่อนเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเพียง ลอง สลับบันใดเลื่อนตัวกลางทาง ไปไว้ตัวสุดท้าย ความรู้สึกเมื่อยล้าจากการเดินมาไกลแล้ว แต่ยังจะต้องมาขึ้นบันใดเดิน อีก ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกเมื่อยล่ามากขึ้น และ ระดับการให้บริการ (Level of Srvice / Service Mimd) ย่อมจะรู้สึกว่าได้รับการบริการ ที่ต่างกัน ... แต่หากจะลงทุนให้การบริการบันใดเลื่อนเพิ่ม ก็ยิ่งจะรู้สึกดีขึ้น
เจอมาด้วยตัวเองเลยครับ มาจากสายสีน้ำเงินไปสีเหลือง ตรงบันไดจากพื้นผมขึ้นสวนกับผู้สูงวัย 3 คน แต่ละคนใช้สองมือจับราวแล้วลงทีละขั้นตามๆกันลงมา เห็นแล้วเป็นห่วงมาก แล้วสายสีเหลืองจากที่นั่งมาเจอผู้สูงวัยขึ้นค่อนข้างเยอะ เรื่องบันไดนี่คือปัญหาเลย แนะนำอาจจะทำทางลาดที่ไม่ชันมากตรงจุดบันไดแทนก่อนก้ได้ เพราะสำหรับคนเข่าไม่ดีเดินทางลาดดีกว่าบันไดครับ แนะนำตรงลิฟตึกจอดรถขาจร ถ้าเดินตรงไปอีกหน่อยจะมีลิฟอยู่ซ้ายมืออีก แต่ผมจำไม่ได้ว่ามีกี่ตัว น่าจะช่วยแบ่งเบาได้บ้าง อีกจุดที่อยากให้ทำคือบันไดขึ้นลงจากรถไฟฟ้ากับจุดแตะบัตร บันไดไหนที่กว้างอยากให้มีราวจับตรงกลาง เหมือนของ BTS ครับ
ขอให้มารีวิว สถานีหัวหมากที่เปลี่ยนสายไปแอร์พอร์ตลิ้งก์หัวหมากด้วยค่ะ. ไกล และลำบากมาก ลากกระเป๋าดินทางตอนรีวิวด้วยนะคะ จะได้สมจริง
คนที่สูงอายุและคนที่ปวดเข่า และคนทั่วไป 100% เลือกไปรอลิฟท์ที่อาคารจอดรถแน่นอน
ผู้สูงอายุกับผู้พิการใช้ลิฟท์เข้าใจได้ค่ะ แต่คนออกแบบทำให้ลิฟท์ดูสบายและใกล้ที่สุด คนทั่วไปก็มักเลือกทางที่ตัวเองไม่เหนื่อย ช่วงเวลาเร่งด่วนก็มาต่อแถวรอลิฟท์กัน เราที่จอดรายเดือนก็ต้องรอลิฟท์นานขึ้นด้วยค่ะ😭😭
ข้อมูลแน่นมากค่ะชื่นชมเลย👏 เป็นประโยชน์มากๆ👍
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับคำชื่นชมและการติดตามนะครับ 🙏😊
ดีมากครับ clear เส้นทางจุดนั้นเลย
เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ
เคยทดลองนั่ง (ยืน) ช่วงต้นเดือนแล้ว ระยะทางโดยตลอดถือว่าสั้นกว่าสายอื่นๆ จุดเริ่มต้น คือ สำโรง แต่อยู่หัวถนนเทพารักษ์ ถ้าเดินจากทางเดินบนสะพานรฟฟ.จากห้างอิมพีเรียล ข้ามคลองสำโรง ต้องรีบลงบันไดเดินริมถนนผ่านสน.สำโรงเหนือ เลยไปหัวถนนเทพารักษ์ค่อยเดินขึ้นสะพานไปสถานีรฟฟ.สีเหลืองถ้าผ่านถนนศรีนครินทร์ จะใช้คำว่า" ศรี"นำหน้าจุดสถานีย่อยเสมอ เช่น ซอยวัดด่าน ใช้ ศรีด่าน, ซอยแบริ่ง ใช้ ศรีแบริ่ง เมื่อมาถึง สถานีสุดท้าย ลาดพร้าวเลยซอยภาวนา มา จุดเชื่อม รฟฟ.สีน้ำเงินยังอีกไกลมาก ถึง 5 แยกลาดพร้าว รถสายนี้ จะเต็มทั้งวัน เพราะผ่านจุดสำคัญมากมาย ยิ่งตอนเช้า เข้างาน,เลิกงานตอนเย็น ยิ่งแน่น เพราะคนจาก บางเขน ถนนพหลโยธิน ดินแดง จตุจักร บางซื่อ จะมาขึ้นรฟฟ.สายนี้ จุดสำคัญคือ ซอยแยกลาดพร้าว,บางกะปิ,ลำสาลี,ซีคอน, บางนาตราด,สำโรง,ปากน้ำ ไม่ต้องนั่งรถอ้อมผ่าเมืองไปไกล เป็นทางลัดจากย่านถึงย่าน และคนจาก มีนบุรี,นิมิตรใหม่,สุวินทวงค์, นั่งรถมาต่อรฟฟ.นี้ได้สะดวกกว่ามากเลยคุณ!
เป็นประโยชน์มากๆ ขอบคุณมากค่ะ
ปัญหาอีกอย่างที่สำคัญและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเลยคือ ทางเชื่อมระหว่าง สถานีสายสีเขียวไปยังสถานีสายสีเหลืองครับ เพราะว่าตอนนี้ยังไม่มีครับ ต้องไปต่อรถไฟสายสีน้ำเงิน 1 สถานี เพื่อเดินทางต่อด้วยรถไฟสายสีเหลือง
บอกเลยว่า งงทุกสถานนี้ถ้าไปครั้งแรก เพราะมันเป็นการออกแบบที่ไม่สมเหตุสมผลสำหรับการออกแบบทางเดิน งงมากเพราะจะออกอีกทรงต้องเดินไปอีกทาง
แยกการออกกำลังกาย กับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ออกจากกันเถอะครับ 😅
ถ้าไม่แก้ หรือติดตั้งบันไดเลื่อนขาลงรับรอง ลิฟในลานจอดรถ มีพังแน่นอนค่ะ
ลงมาชั้นล่างด้วยลิฟต์ตัวที่เห็นในนาทีที่ 3:21 ครับ หรือลงบันไดที่เดินลงมาในตอนท้าย แต่ไม่ต้องไปใช้ทางเชื่อมอ้อมให้ไกลครับ ลงมาถึงชั้นล่าง (ข้าง ๆ ลิฟต์ตัวที่ว่า) แล้วเดินเข้าสถานีจากด้านหลังได้เลย ตรงที่เคยเป็นร้านแว่นเช่าพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ที่ปิดไปแล้ว
พอดีอยู่ใกล้มาทางสำโรง เดินทางสะดวก ดีมาก
ขอบคุณมากครับที่สะท้อนปัญหานี้ขึ้นมา ผมเป็นคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุ แล้วทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อม จึงมีปัญหากับการเดินทาง แต่ผมต้องใช้ระบบสาธารณะนี้เป็นประจำ
ชอบวิธีการออกแบบของไทย ไม่เหมือนต่างชาติ ต่างชาติเหมือนต้องให้คนเดินระยะใกล้ ข้ามไปข้ามมาเปลี่ยนไลน์บนชานชลาเดียวกัน ส่วนของเราเน้นให้เดินออกกำลังกาย เดินจากบนฟ้าแล้วเปลี่ยนสายเดินลงมาชั้นใต้ดินจากนั้นก็เดินขึ้นฟ้าต่อ skywalk ก็ให้เดินอ้อมไกลๆ ฝึกให้ร่างกายแข็งแรง
😂
เชิญมาดูตัวอย่างได้ที่สถานีไฟฉาย สะพานลอยไม่เชื่อมต่อกับสถานี
ตอนนี้ น่าจะรีบปิดจบตามสัญญามากกว่า เพราะเจอโควิด ก็เลยกำหนดสร้างเสร็จตามแผนมาพอสมควรแล้ว อนาคต คนใช้เยอะขึ้น คงมีการเพิ่มช่องทางการเชื่อมกันให้สะดวกขึ้นแน่นอน ส่วนตัวแค่เสียดายตรงออกจากสายสีน้ำเงิน มาเชื่อมสีเหลือง ต้องซื้อบัตรใหม่ เริ่มคิดค่าเดินทางเริ่มต้นใหม่ เพราะตอนแรกคิดว่าจะเชื่อมกันแบบไม่ต้องแตะบัตรออกจากสายสีน้ำเงิน ก็ต่อสายสีเหลืองได้เลย อย่างเช่นตรงเตาปูน สายสีม่วง แต่ก็เข้าใจแหละว่าไม่ได้ออกแบบกันไว้แต่แรก มาเพิ่มทีหลัง จะให้ไปลงทุนเจาะดินเพิ่ม ก็คงเสียค่าใช้จ่ายเยอะ แต่แค่เสียดาย เพราะถ้าเชื่อมกันได้เลย ไม่ต้องแตะออกมาซื้อบัตรใหม่ มันก็จะประหยัดยิ่งขึ้นเท่านั้น
ปัญหาใหญ่เลยของทางออกที่ 4 คือไม่มีบันได ในอาคารจอดแล้วจร ทั้งหมดเป็นบันไดหนีไฟที่ปิดไว้เฉพาะฉุกเฉินเท่านั้น ทุกคนเลยต้องลงลิฟท์ แล้วลิฟท์ก็จะพังในอนาคต
ขึ้นสายสีเขียวลงลาดพร้าวจะไปต่อสายสีน้ำเงิน ขาไม่ดีด้วยเดินขาลากเลยค่ะ แต่ถ้าลงสายสีเขียวสถานีจตุจักรแล้วไปต่อสายสีน้ำเงินจะดีกว่าค่ะ ลงผิดสถานีชีวิตเปลี่ยนค่ะ
ทางแยกไป skywalk มีบันไดทางลงอยู่ทางขวาด้วย อาจจะเดินน้อยกว่า แต่ใช้ข้อเข่ามากกว่าค่ะ
ไปลองนั่งมาแล้วค่ะ เดินไกล และลิฟท์มีให้บริการน้อย แล้วต้องมาแย่งใช้กับคนที่จอดรถ ซึ่งปกติคงพอเพียงเพราะคนไม่ได้ไปมาพร้อมๆ กันหลายคนซึ่งต่างจากคนที่จะมาเปลี่ยนจากสีเหลืองไปสีน้ำเงินกันเยอะๆ ทุกๆ 10 นาที หรือ 5 นาที หนาแน่นมากค่ะและดีที่สุด คือ เชื่อมต่อเส้นสีเขียวที่ตรงแยกรัชโยธิน อย่ามัวแต่เกี่ยงเรื่องผลประโยชน์กันเลย คิดถึงผู้บริโภคในเรื่องความสะดวกและค่าใช้จ่ายดีกว่าค่ะ
ใช่ค่ะ ลิฟท์เป็นทางลงเดียวของคนที่เอารถมาจอดด้วย ค่าจอดก็จ่ายแต่คนมาจอดต้องรอลิฟท์นานกว่าเดิม ปกติบันไดหนีไฟไม่ได้เปิดเลยเพิ่งเห็นมาเปิดช่วงนี้แหละค่ะ ตลกจริงๆ
*บันไดเลื่อน* ปรับทิศทาง การขึ้นหรือลง ตามจำนวน การใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพในใช้พลังงาน แต่อาจจะต้องปรับปรุุงป้าย บอกทิศทาง(การเดินได้ออกกำลังกาย อายุยืน แต่สำหรับผู้มีปัญหาข้อเข่า ผู้สูงอายุคงไม่สะดวก)😊❤
รายการดีค่ะ กำลังจะไปใช้บริการพอดี ปกติอยู่ต่างจังหวัด ถ้าไม่เจอวิดิโอนี้ ลงตามป้ายแน่นอน
ขอบคุณสำหรับคำชื่นชมและการติดตามนะครับ 🙏😊
เพิ่งมีโอกาสได้ดูคลิป รถเมล์สิงค์โปร..ถึงกับร้องว๊าวๆๆ...มันเป็นอะไรที่้เข้าถึงง่ายไม่ซับซ้อนลงทุนน้อย(มากๆๆ)แต่เอาระเบียบกติกาและมารยาทของคนใช้รถบนถนนนำมาปฎิบัติกัน...อยากให้ทีมงานทำสกู้ป รถเมล์ BRT ทำไมถึงมีเป็นหมั้นมีแค่เส้นทางเดียว..และดูท่าทางจะไม่ได้ไปต่อ..ทั้งที่จริงมันเป็นอะไรที่ทำแล้วคนทุกๆวัย ทุกๆฐานรายได้ใช้บริการได้ทันที..😮😮😮
ออกแบบไม่เอื้อต่อการใช้งานเลย ผมขึ้นมาจากใต้ดิน ขึ้นรถเมล์ไปลงภาวนา เดินทางสบายกว่าเยอะ สถานีภาวนาก็ดันทำประตูอยู่ตรงกลางสถานี ไม่ไว้หัวท้าย เดินแล้วต้องวนไปวนมา
ขอบคุณมากค่ะ ที่ตั้งใจทำคลิปดีๆนะคะ
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับกำลังใจและการติดตามเช่นกันนะครับ 🙏😊
เยี่ยมครับ มีติ มีชม มีแนวทางแก้ไข
แปลกใจมากรถไฟใต้ดินสามารถทำบันไดเลื่อนได้ทั้ง ขึ้น-ลง แต่รถไฟยกระดับทั้งหลายส่วนใหญ่จะไม่มีบันไดเลื่อนลง
เบื่อการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงผู้ใช้งาน เน้นแต่ความปลอดภัย สวยงาม แต่ไม่คำนึงถึงผู้ใช้งานทุกวัน
มันยุ่งยากมากกับการเชื่อมต่อระหว่าง2สายคือรถเมล์ก็หายากจากจุดรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วยังต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก และจากแยกลาดพร้าว สถานีรถไฟฟ้าสีเหลืองอีกต้องรอรถเมล์เป็นชั่วโมงเข่นรถสาย191,บางเวลารอเกือบ1,30สาย
เพิ่มทางเดินเลื่อนอัตโนมัติด้วย
การมีบรรได้เลื่อนทั้งขึ้นและลง มันใช้พื้นที่่เยอะ เพราะจะทิ้งไม่ให้มีบรรไดธรรมดาไม่ได้
หลายสถานีที่ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุค่ะ บันไดขึ้น-ลงสูงมาก สถานีบางกะปิและสถานีลาดพร้าว
สิ่งที่พูดถึงตรงใจมากที่สุด ตอนนี้ยังไม่ได้ลองใช้รถไฟฟ้าสีเหลือง เพราะดูจากรีวิวแนะนำของช่องต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าเดินไกลมาก ไม่มีความสะดวกเหมือน MRT ซึ่งดิฉันมีปัญหาหมอนรองกระดูกและข้อเข่าเสื่อม แค่ก้าวขาขึ้นลงบันไดหรือเดินไกล ๆ ยังลำบากเลย ยังคิดเลยว่าถึงจะใช้เวลาเดินทางไปจุดหมายได้เร็ว แต่ความสะดวกเรื่องบันไดไม่มี แค่ลองใช้ครั้งเดียวขาคงเดินไม่ได้อีกนาน ขอบคุณที่ช่วยนำเสนอปัญหาให้ทางผู้บริหารรถไฟฟ้าสีเหลืองทราบ หวังว่าคงจะแก้ไขนะคะ
เดินขาลาก คนแก่เดินไม่ไหวแน่ๆ ยันไดเลื่อนคสรมีทั้งจึ้นและลง การลงยันไดเป็นร้อยขั้นมันไม่ใช่เรื่องธรรมดา เด็กๆเดินยังอ้วกขอบคุณที่นำเสนอค่ะ
เรารู้สึกว่า Flowการเดินเข้าออกสถานีลาดพร้าว designออกมาได้แย่มากจริงๆค่ะ ต้องเดินตัดกันเป็นตัวX ทั้งก่อนซื้อตั๋วและผ่านประตูไปขึ้นรถไฟฟ้า ทำไมถึงออกแบบให้พวกเราต้องเดินชนกันเอง ตอนเข้าเราอยาดขึ้นบันไดตัวแรกก็ไม่ได้ติดคนออกต้องเดินอ้อมแถวไปถึงปลายแถวยาวเกินครึ่งสถานีแหนะ มันเสียเวลาและหนักใจมากต้องคอยระวังไม่ให้เดินชนกันทุกคนต่างรีบ อยากให้จัดใหม่นะคะเพื่อลดอุบัติเหตุคนเดินชนกันเป็นตัวx เพราะมันรวมๆแล้วมีถึง3จุดเลย แบ่งซ้ายขวาให้ชัดเถอะปวดหัวจะสลับกันทำไมหงุดหงิดสุดๆ
ค่อยเรียนรู้และปรับตัวเดี๋ยวก็ชินเอง จะทำให้ถูกใจหมดทุกคนคงไม่ได้ หากไม่พอใจก็ไปนั่งวินหรือรถเมล์เหมือนเดิมนะจ๊ะ😊😊
นี้ คือ ปัญหา ที่รัฐ เกรงใจ เอกชน ปล่อยเค้าทำอะไรก็ทำ ประชาชน เลยไม่ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เด็ดขาด ตั้งเเต่ระบบบัตร จนถึงการเชื่อม รถไฟ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเกรงใจอะไรหรอกครับ เป็นปัญหาของการออกแบบที่คิดไม่รอบด้าน
เหมือนสายสีเหลือง แค่พยายามสร้างให้เสร็จแบบลวก ๆ แค่ขอให้เสร็จ ๆ ไป ให้แค่ว่าเปิดก็คือเปิด ไม่ได้สนใจการใช้งานจริง ไม่มีการจัดระเบียบระบบให้ครอบคลุมการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพจริง ๆ เลยครับ
สายสีเหลืองที่สำโรง ลงรถแล้วเดินมาอิมพีเรียล ทำไมต้องให้มาขอบัตรผ่านอีก (ไม่มีบัตรผ่านไม่ได้) ทำไมไม่ทำทางเดินตรงอ้อมเลย สถานีก็อยู่ไกลย่านคนเยอะๆก็ไม่สร้าง
การมีรถไฟฟ้าสายสีต่างมันดีมากๆสำหรับการเดินทางที่สะดวกและลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่มันจะที่สุด ถ้าสายสีต่างๆเชื่อมกันได้ เช่นสีแดงขอเชื่อมกับสีเขียวได้ไหม ไม่ต้องไปอ้อมสายสีน้ำงาน สายสีม่วงก่อน สายอะไรใกล้สายสีอะไรควรเชื่อมกันได้❤
จุดเชื่อต่อใกล้มาก 200 เมตร คนแก่ เด็ก คนพิการ คนป่วย จะไหวไหม ประเทศไทย เฮ้อ
ใครเขาสนว่าคนใช้บริการจะเดินลำบากขนาดไหน ใครเขาสนว่าประชาชนจะต้องจ่ายแพงสักเท่าไหร่เขาสนที่สัมปทาน เขาสนที่มูลค่าการก่อสร้าง เพราะคนออกแบบ คนให้สัมปทานเขาไม่ได้ลงมาใช้บริการเหมือนประชาชนผู้ต้องใช้จ่ายเพื่อภาษีทุกวัน
Thanks for sharing. Exit 3 may be the best option when the elevators are out of order or have a power outage.
บันไดเลื่อน มันควรทำ ทั้งสองฝั่งขึ้นลง หากต้องเดินเยอะขนาดนี้ มันไม่สะดวก ออกแบบไม่ได้คิดเลย หรือแค่เอาประหยัด
ก็ว่าอยู่ ตั้งแต่ก่อนเปิดให้ใช้ สถานีลาดพร้าวแล้วว่า ถ้ามีทางทะลุไปอาคารจอดแล้วจรได้ จะดีมาก เพราะที่จอดรถอาคารจอดแล้วจร มีลิฟ ลงไปชั้นล่างเลย ไม่ต้องเดินไกล
รถไฟฟ้าไทยออกแบบการเชื่อมต่อได้ห่วยมาก ไปดูงานต่างประเทศกันจังเลย แต่ไม่เคยเอาของเขามาใช้ เอาแค่สิงคโปร์ เขามีบรรไดเลื่อน 3 ตัวในแต่ละจุด ทำไมถึง 3 ตัว เพราะ 3 ตัว มันทำให้สามารถเปลี่ยนระบบการขึ้นลงตามการใช้งานของคน หากคนขึ้นเยอะ ก็ขึ้น 2 ลง 1 ถ้าลงเยอะก็ลง 2 ขึ้น 1 แล้วแต่เวลาเร่งด่วน เมืองไทยที่เห็น มีสองตัวก็ว่าน้อย หนักกว่าดันทำเหลือแค่ 1 เปลืองงบไปดูงานต่างประเทศ
ทำไมตอบออกแบบไม่ใช่บันได้เลื่อนขาลงให้เลย จะมาใส่เพื่อทีหลังเหรอ? หรือว่าอยากประหยัดเงิน? แล้วถ้ามีกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยวเดินลงนี้ตายเลย ทำไมคิดไม่ได้นะ?
จุดเชื่อมต่อสาย APL อีกสายครับ ถ้าฝนตกไม่รู้จะออกมารูปแบบไหน
ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับคนใช้บริการ การเดินเชื่อมต่อสถานีให้ไหลลื่น และมีระยะที่เหมาะสม
สถานีบางกะปิ บันไดเลื่อน ทางขึ้นประตู 2, 3 ราวจับเลอะคราบโคลนยาวไปตลอดไม่น่าจับ กระจกก็ใส ไม่มีคนทำความสะอาด ไม่เหมือนของใหม่เลย ช่วยตรวจสอบด้วยค่ะ
ปัญหาคือรถไฟฟ้าทั้งสองบริษัทสร้างเพื่อหวังกำไรมากเกินไป ไม่ได้สร้างมาเพื่อบริการประชาชนอย่างแท้จริง 😢😢 ดูได้จากบันไดที่เข้าสู่สถานีเป็นบันไดเลื่อน แต่ถ้าออกจากสถานีตัวเองให้แค่บันไดธรรมดามา
สงสัยทำไมถึงบอกว่ามีลิฟท์ 4 ตัว ที่สามารถลงมายังกูร์เมต์มาร์เก็ตชั้นใต้ดินได้ ในคลิปนาทีที่ 4:50 เห็นมีลิฟท์แค่ 2 ตัวเท่านั้น ไม่ทราบอีก 2 ตัวที่ว่าอยู่ตรงไหนครับ
ลิฟต์อีก 2 ตัวจะอยู่ตรงนาทีที่ 4:33 ครับ ในห้องหลังป้าย 4B เลย แต่เนื่องจากไม่ได้มีเส้นบอกบนพื้น หลายคนเลยไม่ทราบกันครับ
ใช่คะรัชโยธินคนใช้บรการรถเมล์รถไฟฟ้าเยอะมากแต่รถที่เมล์จากแยกรัชโยธินไปแยกล้าพร้าวรัชดามันมีน้อยและนานๆๆ30-45นาทีจึงจะมาสักคัน
ถ้ามีบรรไดในส่วนตัวอาคาร ลงมาถึงชั้นใต้ดินในส่วนลิฟต์เลย ก็ยังดีซะกง่าเดินอ้อมมาไกล้มาก เรายอมเดินนะ ถ้าในอาคารมีบรรไดให้ใช้ก็รู้สึกว่าไม่ต้องอ้อมขนาดนั้น ถึงจะเป็นบรรไดก็ตาม
น่าเสียดาย โครงการหลายหมื่นล้าน น่าจะใส่ใจทางเชื่อมให้ดีๆ
ตอนแรกน่าจะทำเหมือน สถานี เตาปูน นะคับ วิ่งไต่ระดับลงใต้ดิน อันนี้เดินไกลมากๆเข้าใจได้เลย
ช่วยตรวจสอบหน่อยครับ ทางออกที่4 ที่จริงคือ ด้านล่างใต้ทางเชื่อม อาคารจอดรถ แต่ไม่เข้าใจว่า ที่จริงคือ อย่างไรแน่ และ ถ้าทางที่สะดวกสุดคือ ลงทางออกที่4 (ด้านล่างระดับถนน) จากนั้นเดินตัดด้านหลังอาคารจอดรถ จนสุดมุม แล้วเลี้ยวซ้าย จะถึงทางลง ที่สั้นกว่าทางออกที่3 ครับ
เดินออกกำลังกาย ดีทีเดียว
อาคารจอดรถมีบันไดลงมั้ย ถ้ามีอยู่ก็เสียเวลาเดินอ้อมไปลงมาบันไดได้
มาดูช่องนี้หน้าจะไปถูกและ แอดครับใกล้สถานีนี้มีที่พักไหม พวกโรงแรม อพาร์ทเมนต์ หรือใครเคยพักแถวนี้บอกได้นะครับ พอจะไปยูเนี่ยนมอลล์หาที่พักอยู่
เดินบ้างก็ดีกับสุขภาพนะ
ผู้ลงทุน คิดแบบนี้ เอาใจแต่ผู้จะมาใช้บริการ,ส่วนใช้เสร็จแล้วช่างมันลำบากอย่างไร ไม่สน ถ้ามีคู่แข่งถึงจะคิดบริการดีๆ
เมื่อคุ้นชินแล้ว จะค้นหาทางเดินที่สะดวกที่สุด นี่เป็นครั้งแรกๆที่ใช้บริการ ที่สุดแล้วผู้ใช้บริการจะเรียนรู้ทางเดินที่เหมาะกับตัวเองได้ดีที่สุด
มันออกผิดตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งแต่สีเขียว ควรสร้างใต้ดินทั้งหมด ในรัศมี 25 กม เพราะทำให้การเชื่อมต่อสะดวก และทัศนียภาพดีขึ้น ปลอดภัยในการดับเพลิงเสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย-ขึ้นฟ้า ลงดิน -ตำแหน่งเชื่อมต่อ ก็ใช้ชื่อมั่วไปหมด จุดเดียวกัน ชื่อคนละชื่อ-ชื่อภาษาอังกฤษเขียนผิดบ้าง สะกดผิดบ้าง-เก็บมันทุกเส้นทาง ไม่มีตั๋วร่วม-การต้องมาจ่ายทุกเส้นตรงจุดเชื่อม ทำให้เกิดคิวรอแถวถ้าสร้างใต้ดิน จะเหมือนญี่ปุ่น เปิดให้ร้านค้าขายของ เก็บค่าเช่าได้มั่วสุดๆ ในโลกละ รถไฟฟ้าไทย
เจอตัวเองในคลิปด้วย ดีใจจัง😊
โอ้ว หวังว่าจะไม่ไปรบกวนความเป็นส่วนตัวนะครับ
ทางออก 3 อ้อมไป คนมีปัญหาข้อเข่า ขึ้นลงบันไดไม่ไหว
ก็อยากสร้างลอยฟ้า อะไรๆ ก็ต้องคอยหลบกัน ทำใต้ดินแบบญี่ปุ่นอ่ะเปนเนื้อเดียวกันหมด เดินไกลแต่ก็เหมือนเดินอยู่ในสถานีเดียวกัน ส่วนเรื่องบันได ไม่มีประเทศไหนทำบันไดเลื่อนขาลงพร่ำเพรื่อหรอก ญี่ปุ่นยังมีแค่สถานีใหญ่ๆ เพราะคนที่ไม่พร้อมเค้าไปใช้ลิฟต์ที่สถานีมีให้
ใช้บัตร play แตะเข้า-ออกได้มั้ยค่ะ เหมือนสายสีแดงสีม่วงสีน้ำเงิน
ผมไม่เห็นว่านี่เป็นปัญหานะ คนปรกติดีๆก็เดินเอา เขาไม่ได้ให้เราไปเดิรตากแดดตากฝนซะที่ไหน คนไทยนี่สบายแล้วยังจะเอาสบายอีก แต่ถ้าเขาอยากพัฒนาสร้างเป็นskywalkก็ดี ลิฟท์ก็ให้คนแก่คนเฒ่าคนพิการใช้ มันจะลำบากอะไร ประเทศอื่นก็อย่างนี้ทั้งนั้น สิงคโปร์ก็เป็น เมืองจีนบางเมืองก็ยิ่งกว่า อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ
+1
คุณไอเดียรถสายสีเหลืองเขาเคาะให้เก็บเงิน3/6จริงแล้วแต่เรื่องที่ยังไม่ครบด้านบริการยังไม่เลยเขาจะย่อมทำบันไดเลือนขาลงให้ไหมสิ่งที่เขาสั่งลูกน้องว่าเวียนที่ได้ไม่น่าจะฟังขึ้นผู้ว่าจะมาตรวจงานอีกที่ไหมคะที่ว่าจะต้องมีลิฟท์ลงถึงพื้นถนนช่วยด้วยนะคะคุณไอเดียฝากความหวังไว้ที่คุณ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ขอบคุณครับ
น่าจะคำนึงถึงคนใช้ขึ้นลง มิใช่มีแต่วัยหนุ่มสาว งงกะการออกแบบ ... น่าเสียดาย.. เห็นทางเดินแล้วเซ็ง จะมีคนใช้มั้ย สร้างทั้งที
7:33 ใช่ พี่กรุง มิจาฉาชีพ ที่โด่งดัง (ผู้ชายเสื้อข่าวนั่งก้มหน้าและมีป้ายเขียนยืดยาว)ขอเงินคนขึ้นรถไฟกลับบ้านที่อำนาจเจริญ หรือเปล่า ? ถ้าใช่ คือ แกไปทั่วเลยน่ะ
เก็บรายละเอืยดได้ดีมากค่ะนืกว่าเดินตามพี่เอมี่ฮวาน หมายเหตุเดินหลงไปทางที่ 3 เมี่อยมากๆ ค่ะ
สวัสดีครับพี่ไอเดียในที่สุดรถไฟฟ้าโมโนเรลสีเหลือง มาที่ลาดพร้าวแล้วจริงๆข้อเสียของรถไฟฟ้าโมโนเรลเยอะมากเลยตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการรอผู้โดยสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นทางที่จะขึ้นทั้งสายสีเหลืองและสายสีชมพูด้วยซึ่งมีบันไดขึ้นลงและทางเดินที่ไกลมากๆไม่เหมือนที่ต่างประเทศเลยครับอยากของเกาหลี มีรถไฟฟ้าโมโนเรล แต่สำหรับจุดขึ้นลงบนชานชาลา สั้นมาก ไม่เหมือนของเราเลยครับ เดินเหนื่อยแน่เลย บอกไว้ก่อนครับพี่ไอเดีย
มีข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไข หลังจากที่ใช้บริการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานีอื่นๆ- สถานีสำโรง ไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างสถานีและสะพานลอยเชื่อมไปยังสะพานลอยของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไปยังอิมพิเรียลสำโรง ต้องเดินขึ้นและลงบรรได หรือลิฟเสมอ ( ถ้าไม่เดินผ่านเข้าระบบสายสีเขียว )- สถานีศรีเอี่ยม1. ไม่มีสะพานลอย ฝั่งบางนา ขาเข้า เพื่อเชื่อมโยงสถานีเพื่อเข้ามาใช้บริการ 2. ไม่มีทางขึ้นสะพานลอย ฝั่งสะพานข้ามจุดตัดถนนบางนา ศรีนคริน(ลาซาน) ไป แยกอุดมสุข มีแต่ทางขึ้นตรงหน้าวัดศรีเอี่ยมเลย- สถานีหัวหมาก รอชมการสร้างสะพานทางเชื่องให้เรียบร้อย จะมาติชมอีกครั้ง!!*ปล. ควรเพิ่มสถานีไปจนถึง รัชโยธิน เพื่อเชื่อมโยง การเดินทางระบบรางอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ความสะดวกของประชาชนต้องมาก่อน ไม่ใช่มองเห็นแต่ผลกำไร อย่างไงแล้วการเดินทางสะดวกยังไงต้องมีผลกำไรแน่นอน
อยากไปวงศ์สว่าง เปลียนตรงไหนค่ะ
ถ้าเดินทางจากสถานีลาดพร้าว ให้นั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปที่สถานีเตาปูน เปลี่ยนสายไปสายสีม่วง แล้วไปลงที่สถานีวงศ์สว่างได้เลยครับ (ในกรณีที่ซื้อตั๋วรายเที่ยว จากสถานีลาดพร้าวสามารถซื้อตั๋วไปวงศ์สว่างได้เลย เพราะที่สถานีเตาปูนเป็นการเดินเชื่อมต่อระหว่างสายโดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบครับ)
ชานชลาสถานีลาดพร้าวแคบ และสั้นไป ควรทำให้กว้างและยาวกว่านี้ นี่คือสถานีต้นทาง - ปลายทางเส้นสีเหลือง จะมีผู้โดยสารมาและไปมาก วันที่ 19 มิถุนายน 66 ถึงขนาดเจ้าหน้าที่บอกผู้โดยสารให้รอชั้นล่างตรงทางเข้าสถานี ยังขึ้นไปชานชลาไม่ได้เพราะคนแน่น ต้องทำให้ กว้างและยาวกว่านี้ครับ
ความเจริญที่กินกันจนอิ่ม
ทางเชื่อมมีลักษณะแบบนี้แทบทุกๆรถไฟฟ้าเลย คนเป็นโรคเข่าเสื่อมอย่างเราจึงไม่เคยใช้รถไฟฟ้าเลยมันลำบากมากจริงๆสำหรับคนป่วย คนพิการ
หรือทางออกที่ 3 จะเอาไว้เป็นทางเลือกสำหรับผู้โดยสารที่ไม่อยากรอลิฟต์
ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุจะไปใช้บริการ ความเงอะงะ ความไม่คล่องแคล่ว อาจตกบันไดหกล้ม ตายพอดีไม่คุ้ม แถมสกายวอล์ค ไปอาคารจอดแล้วจรก็อย่างที่คลิปบอก ทางออกที่สาม ก็กระพุ่มกระพักแคมเดินไกลวกวน. ไม่เหมาะคนแก่จะใช้รถไฟโมโนเรล. ไม่สะดวกจริง. วัยรุ่นวัยหนุ่มสาว กําลังวังชาดีเหมาะใช้
ปัญหาคือความซับซ้อนของผู้ลงทุนในรถไฟฟ้า มีหลายเจ้าเหลือเกิน ทำงานก็ทำแต่ในส่วนของตัวเอง ไม่คุยปัญหาร่วมกัน ไม่มีคนกลาง เวลาต่อสาย หรือทำอะไรที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ก็คิดแต่ถึงประโยชน์ของตัวเองให้มากที่สุด ปวดหัว มากเลย
ระบบบันไดเขาทำไว้แบบพิลึกกึกกือดีจัง ส่วนสกายวอร์ก พื้นผิวมีสูงมีต่ำ โดยให้เหตุผลว่าต้องเชื่อมต่สะพานลอย จริงๆแล้วทำพื้นผิวให้เสมอกันได้ ช่วงรอยต่อสะพานลอย สามารถทำขั้นเป็นบันไดตรงกลาง แล้วสองข้างทำเป็นทางลาดได้เผื่อรถวีลแชร์ และผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการก้าวขั้นบันได มันจะเพอร์เฟคกว่านี้นะ
ประเด็นปัญหา คือ...
1. มีทางออกอีกหนึ่งทางที่ในคลิปไม่ได้นำเสนอ คือนาทีที่ 6:38 ด้านขวามือ (หลังลิฟท์) มีบันไดเดินลงไปได้และใกล้กว่าทางออกที่ 3, ตรงนี้ต้องทำเป็นป้ายถาวร (แขวนเพดาน) ให้เป็นทางออกที่ 5
2. ป้ายบอกทางที่เป็นป้ายหลัก (ที่แขวนเพดาน) ไม่ควรบอกว่าทางออกที่ 4 คือจุดเชื่อมต่อ "MRT สายสีน้ำเงิน" แต่ต้องเปลี่ยนใหม่ว่าทางออกที่ 4 คือไป "อาคารจอดแล้วจร"
3. ป้ายบอกทางที่เขียนว่าไปทางออกที่ 3 ตอนนี้ทำเป็นเศษกระชั่วคราวและไม่อยู่ในระดับสายตา คนมักมองไม่เห็น (ไม่ได้แขวนเพดาน, เพราะคนจะเดินหาแต่ทางออกที่ 4 ที่ตนได้เห็นตั้งแต่ตอนเดินออกจากชานชลาแล้ว) ต้องทำใหม่ให้เป็นป้ายถาวร (แขวนเพดาน) เอาไปแทนที่ป้ายเดิม (ป้ายที่บอกให้คนเดินไปทางออกที่ 4)
4. เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องทำบันไดเลื่อนลง เพื่อดึงคนให้มาใช้บันไดเลื่อน เพราะจะระบายคนออกจากสถานีได้เร็วกว่า, โดยบริเวณทางออกที่ 5 นี้ น่าจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการติดตั้งบันไดเลื่อน (ถ้าไม่ขัดกับหลักวิศวกรรม)
5. ทางออกที่ 3 ที่ให้คนเดินยาว 300 กว่าเมตร (เดินไกลมากๆ ?)
แต่เดาว่าในอนาคตอาจใช้เป็นลานกิจกรรมเพื่อสังคม, ประชาสัมพันธ์ต่างๆ และอาจมีร้านค้าตามทางเดินนี้.
ข้อ 1 เพิ่งรู้ว่าหลังลิฟต์มีบันได มีประโยชน์มากๆ ค่ะ คราวหน้าจะลองใช้ทางนี้ เพราะทางออก 3 เดินอ้อมไกลมากๆ
คิดว่าคราวหน้าผมจะไปทางออก4 แล้วเดินลงบันไดหลังลิฟท์ดีกว่าเดินไปทางออก 3 ซึ่งเดินอ้อมไกลมาก
เพิ่งรู้เลยว่ามีซ่อนอีก
จริงเลยครับ.แอด..ผมไปทดลองนั่งแล้ว.ขึ้น-ลงหลายสถานีฯ.มีบันไดเลื่อนขึ้น.แต่ตอนลงผมนึกถึงลูกพาพ่อแม่คนเฒ่าคนแก่เดินทาง.เห็นแล้วไม่สะดวก.หรือบางจุดมีบันไดเลื่อนลง.แต่ป้ายบอกไม่ชัดเจน.และบางสถานีบันไดเลื่อนเดินซะไกล.ผมไปทดลองสุดท้ายผมขี้เกียจเดิน.ลงลิฟท์ง่ายกว่า.ขอบคุณแอดมากสะท้อนข้อเท็จจริง.อย่าลืมว่าคนแก่ต้องใช้ชีวิตนอกบ้านไปด้วยกันกับบริการสาธารณะ
ควรทำ sky walk เวลาประชาชนต้องไปต่อ airport link นะคะ เดินยากกกกกมากกกก ต้องลงพื้นดิน แล้วขึ้นใหม่ แล้วต้องเดินตากแดดกลางถนนไปอีกไกลเลย วันที่ไป exit ก็เปิดไม่หมด ต้องเดินไกลไปอี๊กกก อย่างร้อนค่ะ😅😅
ใช่ครับ ต้องลงมาข้างล่างและเดินไกลเพราะไม่มีการเชื่อมต่อกับสาย Airport Link มึกระเป๋าเดินทางจะไปขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ เดินขึ้นๆลงๆเหนื่อยเลยครับ
เท่าที่สังเกต bts ไม่ว่าจะสายไหนก็คือบันไดเลื่อนมีแต่ขาขึ้น แต่ถ้า mrt ไม่ว่าจะใต้ดินหรือบนดินคือบันไดเลื่อนมีทั้งขึ้นและลงสะดวกสบายกว่ามาก ส่วนตัวชอบการสร้างของmrt มากกว่าในหลายๆอย่าง
bts กับสายสีเหลืองนั้นเห็นแก่ตัวครับ ค่าโดยสารก็เห็นแก่ตัว(คอยดูการเก็บค่าโดยสารของสีเหลืองสิ) ความสะดวกสะบายก็เห็นแก่ตัว ทำลวกๆ แบบขอไปที
สีเหลืองนี่ก็ MRT นี่ครับ
@@gunnsap ใช่ค่ะ งง ว่าเค้าทำไมออกแบบแปลกๆสายสีเหลืองติดแค่บันไดเลื่อนที่ไม่มีลงเหมือนกับสายอื่นที่สร้าง
@@Hangoutchillingบันไดเลื่อนขาลงอยู่ในไส้ใครบางคน 😅😂😂
@@gunnsapตามชื่อคือ MRT แต่ผู้รับสัมปทานโครงการ คือ BTS
อธิบายละเอียดดีครับ ชอบมากเลย คนไม่เคยไปดูคลิปนี้ไม่งงแน่นอน
ลิฟท์ 4 ตัวนั่นต้องรับโหลดจนมีอาการพังง่าย เจ็บออด ๆ แอด ๆ ในอีกไม่นานแน่ ๆ ครับ
ได้ยินมาว่าวันก่อนเริ่มมีอาการจนต้องหยุดให้บริการชั่วคราวมาแล้วครับ
เห็นปัญหาแล้วควรแก้ไขรองรับสังคมสูงวัยด้วยเลย จากคนวัยทำงาน เป็นเกษียณอายุมากขึ้นๆทุกปี คนแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆนับจากนี้ ยังไม่นับครอบครัวที่ใช้รถเข็นเด็ก หรือ ผู้ใช้ wheelchair ในการเดินทางอีก
สายสีเหลือง ควรจะเพิ่มสถานี ไปให้ถึงแยกรัชโยธิน ครับ แถวนั้นประชาชนใช้เดินทางเยอะมากครับ 😀👍👌✌
มีอยู่ในแผน กำลังดำเนินการครับ
รัชโยธินไม่พอครับต่อไปให้ถึง มจพ.เลยครับ เด็กพระนครเหนือจะได้มาเดินห้างแถวๆลาดพร้าวให้มากขึ้น
บอก BEM. ไม่ให้ต้องจ่ายค่าชดเชยให้หน่อย😂😂
ถ้าถึงรัชโยธินจริง ผมกรี๊ดเลย เพราะผมทำงานที่ SCB รัชโยธิน แต่พักอยู่รามคำแหง จะสะดวกมาก
ในความเป็นจริง ควรจะมีแผนงานการแก้ไขหรือปรับแผนแม่บทได้ตลอดเวลา เพราะถ้าต้องการแก้ไขปัญหารถติด และการมีโครงสร้างสาธารณะพื้นฐานที่ค่อนข้างจะ flexible ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติมากกว่านี้ (ควรทำถึง ฝั่งธนฯ และ interchange ที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน สถานีบางบำหรุ เพื่ิอความสะดวกมากขึ้น และถ้าสมมุติประชาชน หรือผู้โดยสารมีบ้านอยู่แถว central รัตนาธิเบศร์ แล้วต้องการจะไปทำธุระ หรือทำงานที่ the mall บางกะปิ เขาก็ต้องเปลี่ยนขบวนรถถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกที่สถานี เตาปูนเพื่อเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน ครั้งที่2 ที่สถานีลาดพร้าว ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง นั่นคือสิ่งที่เหนื่อยและน่าเบื่อมาก หากยังมีการที่ประชาชน หรือผู้โดยสารเดินทางไม่สะดวกแบบนี้ ปัญหารถติดของกรุงเทพและปริมณฑล ก็ไม่มีทางก็ไขได้โดยง่ายแน่นอนครับ
จากที่ลองใช้ทุกวัน เห็นด้วยนะครับว่าทางออกที่3 ควรจะเป็นบันไดเลื่อนขึ้น-ลงทุกตำแหน่ง เนื่องจากระยะทางของskywalk ค่อนข้างไกล ซึ่งทำให้ไม่สะดวกสำหรับบางคนจริงๆ
บ้านเราตอนนี้ยังไม่มี Interchange ที่อยู่ในสถานีเดียวกันเลยแบบสิงคโปร์ที่สถานี Jurong east ที่เดินเปลี่ยนขบวนข้ามสายบนชานชาลาชั้นเดียวกัน (ไม่นับสีเขียวที่สยามนะ) ก็เดาได้ว่าตอนออกแบบอาจไม่ได้ทำเผื่อไว้ (แต่เข้าใจว่าสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ทำ Interchange แบบไม่ต้องแตะบัตรออกไว้ ชานชาลาสีน้ำเงินกับส้มอยู่คนละชั้น)
ตอนแรกก็กำลังจะบอกว่าบ้านเราไม่มี Interchange แบบสองสถานีติดกันกับรถไฟสายเดียวกัน ก็ลืมไปว่ามีแล้ว (หมอชิต-สวนจตุจักร/ห้าแยกลาดพร้าว-พหลโยธิน) มันก็จะเป็นทางเลือกให้คนได้กระจายโหลดเวลาเปลี่ยนสายให้ไม่แออัดที่สถานีเดียว
ส่วนสิ่งอำนวยความสะดวกตามสถานี ก็ขาดๆ เกินๆ ทำใหม่ก็จะงงๆ แบบทางเลื่อนสถานีดอนเมืองอีก...คิดไม่ครบ ทำไม่จบจริงๆ หน่วยงานบ้านเราเนี่ย (ทั้งรัฐและเอกชนเลย)
ส่วนสายสีเหลืองที่ไม่ยอมต่อไปถึงรัชโยธิน นี่ก็เรื่องผลประโยชน์ของบริษัทผู้รับสัมปทานล้วนๆ พอๆ กับเรื่องตั๋วร่วมเลย นี่ก็น่าเบื่อหน่ายเหมือนกัน
เราว่าเปิดบันไดหนีไฟในตึกจอดรถหลังลิฟให้คนเดินลงไปได้ด้วยก็ดีนะ คนที่ไม่อยากเสียเวลารอลิฟท์ก็จะได้เดินลงได้ ถ้าจะให้เดินไปออกทางออกที่ 3 เราว่ามันไกลเกินไปมากๆ เทียบกันแล้วไม่มีคนเดินไปทางออกที่ 3 แน่ๆ ขนาดเราเป็นคนไม่มายที่จะต้องเดินยังรู้สึกเลยว่ามันต่างกันมากเกินไป มันเสียพลังงานโดยใช่เหตุ เพราะส่วนใหญ่คนมาต่อ mrt คือเค้าต้องเดินทางต่ออีกมันเหนื่อยเกินไปสำหรับคนที่ต้องไปทำงานเช้า ไปถึงก็เหนื่อยหมดแรงที่จะ focus กับงานละ
เดินไกลมาก ทั้งขึ้นและลงสายสีเหลืองและอ้อม กว่าจะถึงสีน้ำเงิน
บันไดเป็นประโยชน์นะคะ คิดว่าถ้าเกิดเหตุไฟไหม้ ไม่สามารถใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนได้ บันไดที่เชื่อมต่อกัน เป็นประโยชน์มากนะคะ วิศวกรไม่ได้มองแค่ความสะดวกนะคะ ความปลอดภัยคือหัวใจของการออกแบบอาคาร/สถาที่ต่างๆค่ะ ส่วนผู้คนจะเลือกใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ความต้องการ
ทางออก3 คนทำงานนะไม่ได้เดินเที่ยวว😁😁
คลิปนี้ มีประโยชน์มากๆ ตอนไปใ้ช้บริการ จะได้ขึ้นลิฟท์ไปเลย สะดวกมากๆๆๆๆๆ 👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻👍🏻
สวัสดีครับผมจะขอแจ้งการใช้งาน จากสถานีหัวหมาก ( Airport Link) ไปยัง สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือ (หัวหมาก) มีความไม่สะดวกครับต้องเดินไกล ไม่มี SKY WALK แต่จะมีพี่วินมอเตอร์ไซค์ค่อยให้บริการแต่ก็ต้องเสียตังเพิ่ม ฝากทางรายการแจ้งเป็นกระบอกเสียงให้้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ขอบคุณสำหรับการนำเสนอครับ ผมคนแข็งแรงๆ เห็นแล้วยังขอบาย
การเปลี่ยนถ่ายจากสายสีน้ำเงินไปยังสายสีเหลือง ต่างระดับกัน 5 - 6 ระดับ แต่เมื่อเดินมาจนเมื่อย ระดับสุดท้าย กลับไม่ได้สร้างให้เป็น บันไดเลื่อน แต่เป็น บันไดเดินขึ้น ... เข่าเสื่อมปวดขา ต้องเดิน ไป-กลับ ทุกวัน
แต่ อุบัติเหตุใน การเดินลงบันได นั้น อันตรายกว่า การเดินขึ้นบันได
ขอถามท่านที่มีปัญหาข้อเข่า การขึนหรือลงบันไดอย่างใหนสร้างปัญหาให้ท่านมากกว่ากันครับ สำหรับผมคิดว่า "การลงบันได"ทำได้ยากกว่า ฉะนั้นตัวช่วยคือ"บันไดเลื่อน" ควรจะเลื่อนลงจากที่เป็นอยู่คือเลื่อนขึ้นครับ
@@tu1045 : ใช่ครับ
การลงบันใด น้้น มีผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย มากกว่า การขึ้นบันใด
#ตามที่ผมได้เขียนไว้แล้วตั้งแต่แรก ในโพสท์
...
แต่ ...
ประเด็น ที่ต่องการสื่อ/เสนอ คือ
การเดินที่มีระยะทาง เดินราบ + เดินขึ่น อย่างยาวไกลมาแล้ว และมีระดับต่างกัน 6 ดับ ทำให้ผู้รับบริการ ย่อมมีความ เมื่อย ล้า ของร่างกาย และเกิดขัดความรู้สึก เมื่อย ล้า มากขึ้น เมื่อต้องมาเดินขี้นบนใดในชึ้นที่ระดับสุดท้าย
การบริการที่ดีกว่า แม้จะไม่เพิ่มต้นทุนการสร้างบันใดเลื่อนเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเพียง ลอง สลับบันใดเลื่อนตัวกลางทาง ไปไว้ตัวสุดท้าย ความรู้สึกเมื่อยล้าจากการเดินมาไกลแล้ว แต่ยังจะต้องมาขึ้นบันใดเดิน อีก ย่อมส่งผลต่อความรู้สึกเมื่อยล่ามากขึ้น และ ระดับการให้บริการ (Level of Srvice / Service Mimd) ย่อมจะรู้สึกว่าได้รับการบริการ ที่ต่างกัน ...
แต่หากจะลงทุนให้การบริการบันใดเลื่อนเพิ่ม ก็ยิ่งจะรู้สึกดีขึ้น
เจอมาด้วยตัวเองเลยครับ มาจากสายสีน้ำเงินไปสีเหลือง ตรงบันไดจากพื้นผมขึ้นสวนกับผู้สูงวัย 3 คน แต่ละคนใช้สองมือจับราวแล้วลงทีละขั้นตามๆกันลงมา เห็นแล้วเป็นห่วงมาก แล้วสายสีเหลืองจากที่นั่งมาเจอผู้สูงวัยขึ้นค่อนข้างเยอะ เรื่องบันไดนี่คือปัญหาเลย แนะนำอาจจะทำทางลาดที่ไม่ชันมากตรงจุดบันไดแทนก่อนก้ได้ เพราะสำหรับคนเข่าไม่ดีเดินทางลาดดีกว่าบันไดครับ
แนะนำตรงลิฟตึกจอดรถขาจร ถ้าเดินตรงไปอีกหน่อยจะมีลิฟอยู่ซ้ายมืออีก แต่ผมจำไม่ได้ว่ามีกี่ตัว น่าจะช่วยแบ่งเบาได้บ้าง อีกจุดที่อยากให้ทำคือบันไดขึ้นลงจากรถไฟฟ้ากับจุดแตะบัตร บันไดไหนที่กว้างอยากให้มีราวจับตรงกลาง เหมือนของ BTS ครับ
ขอให้มารีวิว สถานีหัวหมากที่เปลี่ยนสายไปแอร์พอร์ตลิ้งก์หัวหมากด้วยค่ะ. ไกล และลำบากมาก ลากกระเป๋าดินทางตอนรีวิวด้วยนะคะ จะได้สมจริง
คนที่สูงอายุและคนที่ปวดเข่า และคนทั่วไป 100% เลือกไปรอลิฟท์ที่อาคารจอดรถแน่นอน
ผู้สูงอายุกับผู้พิการใช้ลิฟท์เข้าใจได้ค่ะ แต่คนออกแบบทำให้ลิฟท์ดูสบายและใกล้ที่สุด คนทั่วไปก็มักเลือกทางที่ตัวเองไม่เหนื่อย ช่วงเวลาเร่งด่วนก็มาต่อแถวรอลิฟท์กัน เราที่จอดรายเดือนก็ต้องรอลิฟท์นานขึ้นด้วยค่ะ😭😭
ข้อมูลแน่นมากค่ะชื่นชมเลย👏 เป็นประโยชน์มากๆ👍
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับคำชื่นชมและการติดตามนะครับ 🙏😊
ดีมากครับ clear เส้นทางจุดนั้นเลย
เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากครับ
เคยทดลองนั่ง (ยืน) ช่วงต้นเดือนแล้ว
ระยะทางโดยตลอดถือว่าสั้นกว่าสาย
อื่นๆ
จุดเริ่มต้น คือ สำโรง แต่อยู่หัวถนน
เทพารักษ์ ถ้าเดินจากทางเดินบนสะพาน
รฟฟ.จากห้างอิมพีเรียล ข้ามคลองสำ
โรง ต้องรีบลงบันไดเดินริมถนนผ่าน
สน.สำโรงเหนือ เลยไปหัวถนนเทพารักษ์
ค่อยเดินขึ้นสะพานไปสถานีรฟฟ.สีเหลือง
ถ้าผ่านถนนศรีนครินทร์ จะใช้คำว่า" ศรี"
นำหน้าจุดสถานีย่อยเสมอ เช่น ซอยวัด
ด่าน ใช้ ศรีด่าน, ซอยแบริ่ง ใช้ ศรีแบริ่ง
เมื่อมาถึง สถานีสุดท้าย ลาดพร้าว
เลยซอยภาวนา มา จุดเชื่อม รฟฟ.สีน้ำเงิน
ยังอีกไกลมาก ถึง 5 แยกลาดพร้าว
รถสายนี้ จะเต็มทั้งวัน เพราะผ่านจุด
สำคัญมากมาย ยิ่งตอนเช้า เข้างาน,เลิก
งานตอนเย็น ยิ่งแน่น เพราะคนจาก บาง
เขน ถนนพหลโยธิน ดินแดง จตุจักร บาง
ซื่อ จะมาขึ้นรฟฟ.สายนี้ จุดสำคัญคือ
ซอยแยกลาดพร้าว,บางกะปิ,ลำสาลี,
ซีคอน, บางนาตราด,สำโรง,ปากน้ำ ไม่ต้อง
นั่งรถอ้อมผ่าเมืองไปไกล เป็นทางลัด
จากย่านถึงย่าน และคนจาก มีนบุรี,นิมิตร
ใหม่,สุวินทวงค์, นั่งรถมาต่อรฟฟ.นี้ได้
สะดวกกว่ามากเลยคุณ!
เป็นประโยชน์มากๆ ขอบคุณมากค่ะ
ปัญหาอีกอย่างที่สำคัญและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเลยคือ ทางเชื่อมระหว่าง สถานีสายสีเขียวไปยังสถานีสายสีเหลืองครับ เพราะว่าตอนนี้ยังไม่มีครับ ต้องไปต่อรถไฟสายสีน้ำเงิน 1 สถานี เพื่อเดินทางต่อด้วยรถไฟสายสีเหลือง
บอกเลยว่า งงทุกสถานนี้ถ้าไปครั้งแรก เพราะมันเป็นการออกแบบที่ไม่สมเหตุสมผลสำหรับการออกแบบทางเดิน
งงมากเพราะจะออกอีกทรงต้องเดินไปอีกทาง
แยกการออกกำลังกาย กับความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง ออกจากกันเถอะครับ 😅
ถ้าไม่แก้ หรือติดตั้งบันไดเลื่อนขาลง
รับรอง ลิฟในลานจอดรถ มีพังแน่นอนค่ะ
ลงมาชั้นล่างด้วยลิฟต์ตัวที่เห็นในนาทีที่ 3:21 ครับ หรือลงบันไดที่เดินลงมาในตอนท้าย แต่ไม่ต้องไปใช้ทางเชื่อมอ้อมให้ไกลครับ ลงมาถึงชั้นล่าง (ข้าง ๆ ลิฟต์ตัวที่ว่า) แล้วเดินเข้าสถานีจากด้านหลังได้เลย ตรงที่เคยเป็นร้านแว่นเช่าพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า ที่ปิดไปแล้ว
พอดีอยู่ใกล้มาทางสำโรง เดินทางสะดวก ดีมาก
ขอบคุณมากครับที่สะท้อนปัญหานี้ขึ้นมา ผมเป็นคนหนึ่งที่ประสบอุบัติเหตุ แล้วทำให้เกิดโรคเข่าเสื่อม จึงมีปัญหากับการเดินทาง แต่ผมต้องใช้ระบบสาธารณะนี้เป็นประจำ
ชอบวิธีการออกแบบของไทย ไม่เหมือนต่างชาติ ต่างชาติเหมือนต้องให้คนเดินระยะใกล้ ข้ามไปข้ามมาเปลี่ยนไลน์บนชานชลาเดียวกัน ส่วนของเราเน้นให้เดินออกกำลังกาย เดินจากบนฟ้าแล้วเปลี่ยนสายเดินลงมาชั้นใต้ดินจากนั้นก็เดินขึ้นฟ้าต่อ skywalk ก็ให้เดินอ้อมไกลๆ ฝึกให้ร่างกายแข็งแรง
😂
เชิญมาดูตัวอย่างได้ที่สถานีไฟฉาย สะพานลอยไม่เชื่อมต่อกับสถานี
ตอนนี้ น่าจะรีบปิดจบตามสัญญามากกว่า เพราะเจอโควิด ก็เลยกำหนดสร้างเสร็จตามแผนมาพอสมควรแล้ว อนาคต คนใช้เยอะขึ้น คงมีการเพิ่มช่องทางการเชื่อมกันให้สะดวกขึ้นแน่นอน ส่วนตัวแค่เสียดายตรงออกจากสายสีน้ำเงิน มาเชื่อมสีเหลือง ต้องซื้อบัตรใหม่ เริ่มคิดค่าเดินทางเริ่มต้นใหม่ เพราะตอนแรกคิดว่าจะเชื่อมกันแบบไม่ต้องแตะบัตรออกจากสายสีน้ำเงิน ก็ต่อสายสีเหลืองได้เลย อย่างเช่นตรงเตาปูน สายสีม่วง แต่ก็เข้าใจแหละว่าไม่ได้ออกแบบกันไว้แต่แรก มาเพิ่มทีหลัง จะให้ไปลงทุนเจาะดินเพิ่ม ก็คงเสียค่าใช้จ่ายเยอะ แต่แค่เสียดาย เพราะถ้าเชื่อมกันได้เลย ไม่ต้องแตะออกมาซื้อบัตรใหม่ มันก็จะประหยัดยิ่งขึ้นเท่านั้น
ปัญหาใหญ่เลยของทางออกที่ 4 คือไม่มีบันได ในอาคารจอดแล้วจร ทั้งหมดเป็นบันไดหนีไฟที่ปิดไว้เฉพาะฉุกเฉินเท่านั้น ทุกคนเลยต้องลงลิฟท์ แล้วลิฟท์ก็จะพังในอนาคต
ขึ้นสายสีเขียวลงลาดพร้าวจะไปต่อสายสีน้ำเงิน ขาไม่ดีด้วยเดินขาลากเลยค่ะ แต่ถ้าลงสายสีเขียวสถานีจตุจักรแล้วไปต่อสายสีน้ำเงินจะดีกว่าค่ะ ลงผิดสถานีชีวิตเปลี่ยนค่ะ
ทางแยกไป skywalk มีบันไดทางลงอยู่ทางขวาด้วย อาจจะเดินน้อยกว่า แต่ใช้ข้อเข่ามากกว่าค่ะ
ไปลองนั่งมาแล้วค่ะ เดินไกล และลิฟท์มีให้บริการน้อย แล้วต้องมาแย่งใช้กับคนที่จอดรถ ซึ่งปกติคงพอเพียงเพราะคนไม่ได้ไปมาพร้อมๆ กันหลายคน
ซึ่งต่างจากคนที่จะมาเปลี่ยนจากสีเหลืองไปสีน้ำเงินกันเยอะๆ ทุกๆ 10 นาที หรือ 5 นาที หนาแน่นมากค่ะ
และดีที่สุด คือ เชื่อมต่อเส้นสีเขียวที่ตรงแยกรัชโยธิน อย่ามัวแต่เกี่ยงเรื่องผลประโยชน์กันเลย คิดถึงผู้บริโภคในเรื่องความสะดวกและค่าใช้จ่ายดีกว่าค่ะ
ใช่ค่ะ ลิฟท์เป็นทางลงเดียวของคนที่เอารถมาจอดด้วย ค่าจอดก็จ่ายแต่คนมาจอดต้องรอลิฟท์นานกว่าเดิม ปกติบันไดหนีไฟไม่ได้เปิดเลยเพิ่งเห็นมาเปิดช่วงนี้แหละค่ะ ตลกจริงๆ
*บันไดเลื่อน* ปรับทิศทาง การขึ้นหรือลง ตามจำนวน การใช้งาน เพื่อประสิทธิภาพในใช้พลังงาน แต่อาจจะต้องปรับปรุุงป้าย บอกทิศทาง(การเดินได้ออกกำลังกาย อายุยืน แต่สำหรับผู้มีปัญหาข้อเข่า ผู้สูงอายุคงไม่สะดวก)😊❤
รายการดีค่ะ กำลังจะไปใช้บริการพอดี ปกติอยู่ต่างจังหวัด ถ้าไม่เจอวิดิโอนี้ ลงตามป้ายแน่นอน
ขอบคุณสำหรับคำชื่นชมและการติดตามนะครับ 🙏😊
เพิ่งมีโอกาสได้ดูคลิป รถเมล์สิงค์โปร..ถึงกับร้องว๊าวๆๆ...มันเป็นอะไรที่้เข้าถึงง่ายไม่ซับซ้อนลงทุนน้อย(มากๆๆ)แต่เอาระเบียบกติกาและมารยาทของคนใช้รถบนถนนนำมาปฎิบัติกัน...อยากให้ทีมงานทำสกู้ป รถเมล์ BRT ทำไมถึงมีเป็นหมั้นมีแค่เส้นทางเดียว..และดูท่าทางจะไม่ได้ไปต่อ..ทั้งที่จริงมันเป็นอะไรที่ทำแล้วคนทุกๆวัย ทุกๆฐานรายได้ใช้บริการได้ทันที..😮😮😮
ออกแบบไม่เอื้อต่อการใช้งานเลย ผมขึ้นมาจากใต้ดิน ขึ้นรถเมล์ไปลงภาวนา เดินทางสบายกว่าเยอะ สถานีภาวนาก็ดันทำประตูอยู่ตรงกลางสถานี ไม่ไว้หัวท้าย เดินแล้วต้องวนไปวนมา
ขอบคุณมากค่ะ ที่ตั้งใจทำคลิปดีๆนะคะ
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับกำลังใจและการติดตามเช่นกันนะครับ 🙏😊
เยี่ยมครับ มีติ มีชม มีแนวทางแก้ไข
แปลกใจมากรถไฟใต้ดินสามารถทำบันไดเลื่อนได้ทั้ง ขึ้น-ลง แต่รถไฟยกระดับทั้งหลายส่วนใหญ่จะไม่มีบันไดเลื่อนลง
เบื่อการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงผู้ใช้งาน เน้นแต่ความปลอดภัย สวยงาม แต่ไม่คำนึงถึงผู้ใช้งานทุกวัน
มันยุ่งยากมากกับการเชื่อมต่อระหว่าง2สายคือรถเมล์ก็หายากจากจุดรถไฟฟ้าใต้ดินแล้วยังต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก และจากแยกลาดพร้าว สถานีรถไฟฟ้าสีเหลืองอีกต้องรอรถเมล์เป็นชั่วโมงเข่นรถสาย191,บางเวลารอเกือบ1,30สาย
เพิ่มทางเดินเลื่อนอัตโนมัติด้วย
การมีบรรได้เลื่อนทั้งขึ้นและลง มันใช้พื้นที่่เยอะ เพราะจะทิ้งไม่ให้มีบรรไดธรรมดาไม่ได้
หลายสถานีที่ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุค่ะ บันไดขึ้น-ลงสูงมาก สถานีบางกะปิ
และสถานีลาดพร้าว
สิ่งที่พูดถึงตรงใจมากที่สุด ตอนนี้ยังไม่ได้ลองใช้รถไฟฟ้าสีเหลือง เพราะดูจากรีวิวแนะนำของช่องต่าง ๆ ทำให้เห็นว่าเดินไกลมาก ไม่มีความสะดวกเหมือน MRT ซึ่งดิฉันมีปัญหาหมอนรองกระดูกและข้อเข่าเสื่อม แค่ก้าวขาขึ้นลงบันไดหรือเดินไกล ๆ ยังลำบากเลย ยังคิดเลยว่าถึงจะใช้เวลาเดินทางไปจุดหมายได้เร็ว แต่ความสะดวกเรื่องบันไดไม่มี แค่ลองใช้ครั้งเดียวขาคงเดินไม่ได้อีกนาน ขอบคุณที่ช่วยนำเสนอปัญหาให้ทางผู้บริหารรถไฟฟ้าสีเหลืองทราบ หวังว่าคงจะแก้ไขนะคะ
เดินขาลาก คนแก่เดินไม่ไหวแน่ๆ ยันไดเลื่อนคสรมีทั้งจึ้นและลง การลงยันไดเป็นร้อยขั้นมันไม่ใช่เรื่องธรรมดา เด็กๆเดินยังอ้วก
ขอบคุณที่นำเสนอค่ะ
เรารู้สึกว่า Flowการเดินเข้าออกสถานีลาดพร้าว designออกมาได้แย่มากจริงๆค่ะ ต้องเดินตัดกันเป็นตัวX ทั้งก่อนซื้อตั๋วและผ่านประตูไปขึ้นรถไฟฟ้า ทำไมถึงออกแบบให้พวกเราต้องเดินชนกันเอง ตอนเข้าเราอยาดขึ้นบันไดตัวแรกก็ไม่ได้ติดคนออกต้องเดินอ้อมแถวไปถึงปลายแถวยาวเกินครึ่งสถานีแหนะ มันเสียเวลาและหนักใจมากต้องคอยระวังไม่ให้เดินชนกันทุกคนต่างรีบ อยากให้จัดใหม่นะคะเพื่อลดอุบัติเหตุคนเดินชนกันเป็นตัวx เพราะมันรวมๆแล้วมีถึง3จุดเลย แบ่งซ้ายขวาให้ชัดเถอะปวดหัวจะสลับกันทำไมหงุดหงิดสุดๆ
ค่อยเรียนรู้และปรับตัวเดี๋ยวก็ชินเอง จะทำให้ถูกใจหมดทุกคนคงไม่ได้ หากไม่พอใจก็ไปนั่งวินหรือรถเมล์เหมือนเดิมนะจ๊ะ😊😊
นี้ คือ ปัญหา ที่รัฐ เกรงใจ เอกชน ปล่อยเค้าทำอะไรก็ทำ ประชาชน เลยไม่ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เด็ดขาด ตั้งเเต่ระบบบัตร จนถึงการเชื่อม รถไฟ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเกรงใจอะไรหรอกครับ เป็นปัญหาของการออกแบบที่คิดไม่รอบด้าน
เหมือนสายสีเหลือง แค่พยายามสร้างให้เสร็จแบบลวก ๆ แค่ขอให้เสร็จ ๆ ไป ให้แค่ว่าเปิดก็คือเปิด ไม่ได้สนใจการใช้งานจริง ไม่มีการจัดระเบียบระบบให้ครอบคลุมการใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพจริง ๆ เลยครับ
สายสีเหลืองที่สำโรง ลงรถแล้วเดินมาอิมพีเรียล ทำไมต้องให้มาขอบัตรผ่านอีก (ไม่มีบัตรผ่านไม่ได้) ทำไมไม่ทำทางเดินตรงอ้อมเลย สถานีก็อยู่ไกลย่านคนเยอะๆก็ไม่สร้าง
การมีรถไฟฟ้าสายสีต่างมันดีมากๆสำหรับการเดินทางที่สะดวกและลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว แต่มันจะที่สุด ถ้าสายสีต่างๆเชื่อมกันได้ เช่นสีแดงขอเชื่อมกับสีเขียวได้ไหม ไม่ต้องไปอ้อมสายสีน้ำงาน สายสีม่วงก่อน สายอะไรใกล้สายสีอะไรควรเชื่อมกันได้❤
จุดเชื่อต่อใกล้มาก 200 เมตร คนแก่ เด็ก คนพิการ คนป่วย จะไหวไหม ประเทศไทย เฮ้อ
ใครเขาสนว่าคนใช้บริการจะเดินลำบากขนาดไหน ใครเขาสนว่าประชาชนจะต้องจ่ายแพงสักเท่าไหร่
เขาสนที่สัมปทาน เขาสนที่มูลค่าการก่อสร้าง เพราะคนออกแบบ คนให้สัมปทานเขาไม่ได้ลงมาใช้บริการเหมือนประชาชนผู้ต้องใช้จ่ายเพื่อภาษีทุกวัน
Thanks for sharing. Exit 3 may be the best option when the elevators are out of order or have a power outage.
บันไดเลื่อน มันควรทำ ทั้งสองฝั่งขึ้นลง หากต้องเดินเยอะขนาดนี้ มันไม่สะดวก ออกแบบไม่ได้คิดเลย หรือแค่เอาประหยัด
ก็ว่าอยู่ ตั้งแต่ก่อนเปิดให้ใช้ สถานีลาดพร้าวแล้วว่า ถ้ามีทางทะลุไปอาคารจอดแล้วจรได้ จะดีมาก เพราะที่จอดรถอาคารจอดแล้วจร มีลิฟ ลงไปชั้นล่างเลย ไม่ต้องเดินไกล
รถไฟฟ้าไทยออกแบบการเชื่อมต่อได้ห่วยมาก ไปดูงานต่างประเทศกันจังเลย แต่ไม่เคยเอาของเขามาใช้ เอาแค่สิงคโปร์ เขามีบรรไดเลื่อน 3 ตัวในแต่ละจุด ทำไมถึง 3 ตัว เพราะ 3 ตัว มันทำให้สามารถเปลี่ยนระบบการขึ้นลงตามการใช้งานของคน หากคนขึ้นเยอะ ก็ขึ้น 2 ลง 1 ถ้าลงเยอะก็ลง 2 ขึ้น 1 แล้วแต่เวลาเร่งด่วน เมืองไทยที่เห็น มีสองตัวก็ว่าน้อย หนักกว่าดันทำเหลือแค่ 1 เปลืองงบไปดูงานต่างประเทศ
ทำไมตอบออกแบบไม่ใช่บันได้เลื่อนขาลงให้เลย จะมาใส่เพื่อทีหลังเหรอ? หรือว่าอยากประหยัดเงิน? แล้วถ้ามีกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยวเดินลงนี้ตายเลย ทำไมคิดไม่ได้นะ?
จุดเชื่อมต่อสาย APL อีกสายครับ ถ้าฝนตกไม่รู้จะออกมารูปแบบไหน
ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เป็นมิตรกับคนใช้บริการ การเดินเชื่อมต่อสถานีให้ไหลลื่น และมีระยะที่เหมาะสม
สถานีบางกะปิ บันไดเลื่อน ทางขึ้นประตู 2, 3 ราวจับเลอะคราบโคลนยาวไปตลอดไม่น่าจับ กระจกก็ใส ไม่มีคนทำความสะอาด ไม่เหมือนของใหม่เลย ช่วยตรวจสอบด้วยค่ะ
ปัญหาคือรถไฟฟ้าทั้งสองบริษัทสร้างเพื่อหวังกำไรมากเกินไป ไม่ได้สร้างมาเพื่อบริการประชาชนอย่างแท้จริง 😢😢 ดูได้จากบันไดที่เข้าสู่สถานีเป็นบันไดเลื่อน แต่ถ้าออกจากสถานีตัวเองให้แค่บันไดธรรมดามา
สงสัยทำไมถึงบอกว่ามีลิฟท์ 4 ตัว ที่สามารถลงมายังกูร์เมต์มาร์เก็ตชั้นใต้ดินได้ ในคลิปนาทีที่ 4:50 เห็นมีลิฟท์แค่ 2 ตัวเท่านั้น ไม่ทราบอีก 2 ตัวที่ว่าอยู่ตรงไหนครับ
ลิฟต์อีก 2 ตัวจะอยู่ตรงนาทีที่ 4:33 ครับ ในห้องหลังป้าย 4B เลย แต่เนื่องจากไม่ได้มีเส้นบอกบนพื้น หลายคนเลยไม่ทราบกันครับ
ใช่คะรัชโยธินคนใช้บรการรถเมล์รถไฟฟ้าเยอะมากแต่รถที่เมล์จากแยกรัชโยธินไปแยกล้าพร้าวรัชดามันมีน้อยและนานๆๆ30-45นาทีจึงจะมาสักคัน
ถ้ามีบรรไดในส่วนตัวอาคาร ลงมาถึงชั้นใต้ดินในส่วนลิฟต์เลย ก็ยังดีซะกง่าเดินอ้อมมาไกล้มาก เรายอมเดินนะ ถ้าในอาคารมีบรรไดให้ใช้ก็รู้สึกว่าไม่ต้องอ้อมขนาดนั้น ถึงจะเป็นบรรไดก็ตาม
น่าเสียดาย โครงการหลายหมื่นล้าน น่าจะใส่ใจทางเชื่อมให้ดีๆ
ตอนแรกน่าจะทำเหมือน สถานี เตาปูน นะคับ วิ่งไต่ระดับลงใต้ดิน อันนี้เดินไกลมากๆเข้าใจได้เลย
ช่วยตรวจสอบหน่อยครับ ทางออกที่4 ที่จริงคือ ด้านล่างใต้ทางเชื่อม อาคารจอดรถ แต่ไม่เข้าใจว่า ที่จริงคือ อย่างไรแน่ และ ถ้าทางที่สะดวกสุดคือ ลงทางออกที่4 (ด้านล่างระดับถนน) จากนั้นเดินตัดด้านหลังอาคารจอดรถ จนสุดมุม แล้วเลี้ยวซ้าย จะถึงทางลง ที่สั้นกว่าทางออกที่3 ครับ
เดินออกกำลังกาย ดีทีเดียว
อาคารจอดรถมีบันไดลงมั้ย ถ้ามีอยู่ก็เสียเวลาเดินอ้อมไปลงมาบันไดได้
มาดูช่องนี้หน้าจะไปถูกและ แอดครับใกล้สถานีนี้มีที่พักไหม พวกโรงแรม อพาร์ทเมนต์ หรือใครเคยพักแถวนี้บอกได้นะครับ พอจะไปยูเนี่ยนมอลล์หาที่พักอยู่
เดินบ้างก็ดีกับสุขภาพนะ
ผู้ลงทุน คิดแบบนี้ เอาใจแต่ผู้จะมาใช้บริการ,ส่วนใช้เสร็จแล้วช่างมันลำบากอย่างไร ไม่สน ถ้ามีคู่แข่งถึงจะคิดบริการดีๆ
เมื่อคุ้นชินแล้ว จะค้นหาทางเดินที่สะดวกที่สุด นี่เป็นครั้งแรกๆที่ใช้บริการ ที่สุดแล้วผู้ใช้บริการจะเรียนรู้ทางเดินที่เหมาะกับตัวเองได้ดีที่สุด
มันออกผิดตั้งแต่แรกเริ่ม ตั้งแต่สีเขียว ควรสร้างใต้ดินทั้งหมด ในรัศมี 25 กม เพราะทำให้การเชื่อมต่อสะดวก และทัศนียภาพดีขึ้น ปลอดภัยในการดับเพลิง
เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย
-ขึ้นฟ้า ลงดิน
-ตำแหน่งเชื่อมต่อ ก็ใช้ชื่อมั่วไปหมด จุดเดียวกัน ชื่อคนละชื่อ
-ชื่อภาษาอังกฤษเขียนผิดบ้าง สะกดผิดบ้าง
-เก็บมันทุกเส้นทาง ไม่มีตั๋วร่วม
-การต้องมาจ่ายทุกเส้นตรงจุดเชื่อม ทำให้เกิดคิวรอแถว
ถ้าสร้างใต้ดิน จะเหมือนญี่ปุ่น เปิดให้ร้านค้าขายของ เก็บค่าเช่าได้
มั่วสุดๆ ในโลกละ รถไฟฟ้าไทย
เจอตัวเองในคลิปด้วย ดีใจจัง😊
โอ้ว หวังว่าจะไม่ไปรบกวนความเป็นส่วนตัวนะครับ
ทางออก 3 อ้อมไป คนมีปัญหาข้อเข่า ขึ้นลงบันไดไม่ไหว
ก็อยากสร้างลอยฟ้า อะไรๆ ก็ต้องคอยหลบกัน ทำใต้ดินแบบญี่ปุ่นอ่ะเปนเนื้อเดียวกันหมด เดินไกลแต่ก็เหมือนเดินอยู่ในสถานีเดียวกัน ส่วนเรื่องบันได ไม่มีประเทศไหนทำบันไดเลื่อนขาลงพร่ำเพรื่อหรอก ญี่ปุ่นยังมีแค่สถานีใหญ่ๆ เพราะคนที่ไม่พร้อมเค้าไปใช้ลิฟต์ที่สถานีมีให้
ใช้บัตร play แตะเข้า-ออกได้มั้ยค่ะ เหมือนสายสีแดงสีม่วงสีน้ำเงิน
ผมไม่เห็นว่านี่เป็นปัญหานะ คนปรกติดีๆก็เดินเอา เขาไม่ได้ให้เราไปเดิรตากแดดตากฝนซะที่ไหน คนไทยนี่สบายแล้วยังจะเอาสบายอีก แต่ถ้าเขาอยากพัฒนาสร้างเป็นskywalkก็ดี ลิฟท์ก็ให้คนแก่คนเฒ่าคนพิการใช้ มันจะลำบากอะไร ประเทศอื่นก็อย่างนี้ทั้งนั้น สิงคโปร์ก็เป็น เมืองจีนบางเมืองก็ยิ่งกว่า อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ
+1
คุณไอเดียรถสายสีเหลืองเขาเคาะให้เก็บเงิน3/6จริงแล้วแต่เรื่องที่ยังไม่ครบด้านบริการยังไม่เลยเขาจะย่อมทำบันไดเลือนขาลงให้ไหมสิ่งที่เขาสั่งลูกน้องว่าเวียนที่ได้ไม่น่าจะฟังขึ้นผู้ว่าจะมาตรวจงานอีกที่ไหมคะที่ว่าจะต้องมีลิฟท์ลงถึงพื้นถนนช่วยด้วยนะคะคุณไอเดียฝากความหวังไว้ที่คุณ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ
ขอบคุณครับ
น่าจะคำนึงถึงคนใช้ขึ้นลง มิใช่มีแต่วัยหนุ่มสาว งงกะการออกแบบ ... น่าเสียดาย.. เห็นทางเดินแล้วเซ็ง จะมีคนใช้มั้ย สร้างทั้งที
7:33 ใช่ พี่กรุง มิจาฉาชีพ ที่โด่งดัง (ผู้ชายเสื้อข่าวนั่งก้มหน้าและมีป้ายเขียนยืดยาว)ขอเงินคนขึ้นรถไฟกลับบ้านที่อำนาจเจริญ หรือเปล่า ? ถ้าใช่ คือ แกไปทั่วเลยน่ะ
เก็บรายละเอืยดได้ดีมากค่ะนืกว่าเดินตามพี่เอมี่ฮวาน หมายเหตุเดินหลงไปทางที่ 3 เมี่อยมากๆ ค่ะ
สวัสดีครับพี่ไอเดีย
ในที่สุดรถไฟฟ้าโมโนเรลสีเหลือง มาที่ลาดพร้าวแล้ว
จริงๆข้อเสียของรถไฟฟ้า
โมโนเรลเยอะมากเลย
ตั้งแต่การเดินทางไปจนถึงการรอผู้โดยสาร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เส้นทางที่จะขึ้นทั้งสายสีเหลืองและสายสีชมพูด้วย
ซึ่งมีบันไดขึ้นลงและทางเดินที่ไกลมากๆ
ไม่เหมือนที่ต่างประเทศเลยครับอยากของเกาหลี มีรถไฟฟ้าโมโนเรล แต่สำหรับจุดขึ้นลงบนชานชาลา สั้นมาก ไม่เหมือนของเราเลยครับ เดินเหนื่อยแน่เลย บอกไว้ก่อนครับพี่ไอเดีย
มีข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไข หลังจากที่ใช้บริการรถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานีอื่นๆ
- สถานีสำโรง ไม่มีจุดเชื่อมโยงระหว่างสถานีและสะพานลอยเชื่อมไปยังสะพานลอยของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ไปยังอิมพิเรียลสำโรง ต้องเดินขึ้นและลงบรรได หรือลิฟเสมอ ( ถ้าไม่เดินผ่านเข้าระบบสายสีเขียว )
- สถานีศรีเอี่ยม
1. ไม่มีสะพานลอย ฝั่งบางนา ขาเข้า เพื่อเชื่อมโยงสถานีเพื่อเข้ามาใช้บริการ
2. ไม่มีทางขึ้นสะพานลอย ฝั่งสะพานข้ามจุดตัดถนนบางนา ศรีนคริน(ลาซาน) ไป แยกอุดมสุข มีแต่ทางขึ้นตรงหน้าวัดศรีเอี่ยมเลย
- สถานีหัวหมาก รอชมการสร้างสะพานทางเชื่องให้เรียบร้อย จะมาติชมอีกครั้ง!!
*ปล. ควรเพิ่มสถานีไปจนถึง รัชโยธิน เพื่อเชื่อมโยง การเดินทางระบบรางอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ความสะดวกของประชาชนต้องมาก่อน ไม่ใช่มองเห็นแต่ผลกำไร อย่างไงแล้วการเดินทางสะดวกยังไงต้องมีผลกำไรแน่นอน
อยากไปวงศ์สว่าง เปลียนตรงไหนค่ะ
ถ้าเดินทางจากสถานีลาดพร้าว ให้นั่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไปที่สถานีเตาปูน เปลี่ยนสายไปสายสีม่วง แล้วไปลงที่สถานีวงศ์สว่างได้เลยครับ (ในกรณีที่ซื้อตั๋วรายเที่ยว จากสถานีลาดพร้าวสามารถซื้อตั๋วไปวงศ์สว่างได้เลย เพราะที่สถานีเตาปูนเป็นการเดินเชื่อมต่อระหว่างสายโดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบครับ)
ชานชลาสถานีลาดพร้าวแคบ และสั้นไป ควรทำให้กว้างและยาวกว่านี้ นี่คือสถานีต้นทาง - ปลายทางเส้นสีเหลือง จะมีผู้โดยสารมาและไปมาก วันที่ 19 มิถุนายน 66 ถึงขนาดเจ้าหน้าที่บอกผู้โดยสารให้รอชั้นล่างตรงทางเข้าสถานี ยังขึ้นไปชานชลาไม่ได้เพราะคนแน่น ต้องทำให้ กว้างและยาวกว่านี้ครับ
ความเจริญที่กินกันจนอิ่ม
ทางเชื่อมมีลักษณะแบบนี้แทบทุกๆรถไฟฟ้าเลย คนเป็นโรคเข่าเสื่อมอย่างเราจึงไม่เคยใช้รถไฟฟ้าเลยมันลำบากมากจริงๆสำหรับคนป่วย คนพิการ
หรือทางออกที่ 3 จะเอาไว้เป็นทางเลือกสำหรับผู้โดยสารที่ไม่อยากรอลิฟต์
ไม่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุจะไปใช้บริการ ความเงอะงะ ความไม่คล่องแคล่ว อาจตกบันไดหกล้ม ตายพอดีไม่คุ้ม แถมสกายวอล์ค ไปอาคารจอดแล้วจรก็อย่างที่คลิปบอก ทางออกที่สาม ก็กระพุ่มกระพักแคมเดินไกลวกวน. ไม่เหมาะคนแก่จะใช้รถไฟโมโนเรล. ไม่สะดวกจริง. วัยรุ่นวัยหนุ่มสาว กําลังวังชาดีเหมาะใช้