ระบำโบราณคดี "เสียมกุก-ละโว้"

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 11 дек 2024
  • จากเสวนาวิชาการ "ขอมอยู่ไหน ไทยอยู่นั่น" จัดโดยกรมศิลปากร
    ณ โรงละครนาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
    ระบำ เสียมกุก-ละโว้ เป็นระบำที่สร้างสรรค์ จากภาพสลักนูนต่ำรูปขบวนเสียมกุกกับขบวนละโว้ บนระเบียงปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา
    ขบวนดังกล่าว เป็นของชาวสยามและชาวละโว้ ซึ่งเป็นกลุ่มเครือญาติกับราชสำนักกัมพูชาครั้งนั้น ที่ยกไปร่วมพิธีกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของอาณาจักรกัมพูชา เช่น พิธีอภิเษก, พิธีถือน้ำ, ฯลฯ
    กรมศิลปากรเคยทำระบำโบราณคดีไว้แล้ว 5 ชุด เมื่อ พ.ศ. 2510 อาศัยแนวคิดและวิธีปฏิบัติครั้งนั้น จึงคิดสร้างสรรค์ระบำเสียมกุก-ละโว้ให้มีชีวิตชีวาเพิ่มขึ้นใหม่อีกชุดหนึ่ง โดยมอบให้
    นางสุพรทิพย์ ศุภรกุล นาฏศิลปินชำนาญงาน ประดิษฐ์เครื่องแต่งกายและอาวุธ ตามปรากฏในรูปภาพ
    นายไชยยะ ทางมีศรี ผู้เชี่ยวชาญดุริยางค์ไทยกรมศิลปากร เป็นผู้เรียบเรียงท่วงทำนองดนตรี โดยบรรจุทำนองเพลงออกภาษาทั้งเขมร ลาว และไทย
    นางสาววันทนีย์ ม่วงบุญ นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ ประดิษฐ์ท่ารำ
    การแสดงชุดนี้ใช้ผู้ชายที่เรียนพื้นฐานโขน ตัวพระ ยักษ์ ลิง เป็นผู้แสดงทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 ขบวน คือขบวนเสียมกุกจากลุ่มน้ำโขง กับขบวนละโว้จากลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ละขบวนจะประกอบด้วยตัวไพร่พลและตัวเจ้านาย ต่างถืออาวุธยกขบวนไป สมมุติว่าพบกันบริเวณหน้าปราสาทนครวัด โดยมิได้ทำศึกสงครามต่อกัน แต่ร่วมรื่นเริงร้องรำทำเพลงสนุกสนาน สรรเสริญเจ้านายของแต่ละฝ่ายที่จะเข้าร่วมทำพิธีกรรมกับกษัตริย์กัมพูชา
    ฉะนั้น ท่าทางของเจ้านายและไพร่พล ทั้งฝ่ายสยามและฝ่ายละโว้ก็ตาม ผู้ประดิษฐ์ท่ารำใช้ท่าพื้นฐานบางท่าของตัวพระ ตัวยักษ์ เช่น กันเข่า ลงเหลี่ยม ตั้งวง การใช้อาวุธ กระบวนแถวออกกราวตรวจพลในโขน รวมทั้งท่ารำจากภาพจำหลักบนปราสาทนครวัดมาใช้ในการแสดง
    โดยท่ารำนั้นจะบ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรี องอาจ ผึ่งผาย สนุกสนาน ไม่แข็งกร้าว ดุดัน ทั้งนี้เพื่อให้ผสมผสานกับเนื้อหาการแสดง รูปแบบ และท่วงทำนองจังหวะของเพลง

Комментарии •