Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
การป้องกันอาการกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุด | สวก. 0:10 การเกิดกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุดเป็นอาการที่กลีบเลี้ยงของมังคุดเปลี่ยนเป็นสีแดง ทำให้มังคุดราคาตกต่ำ ถึงแม้ว่าผลของมังคุดจะมีขนาดใหญ่ ผิวมันไม่มีอาการเนื้อแก้วยางไหลก็ตาม จึงส่งผลต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกโดยตรง การป้องกันอาการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดงตั้งแต่ก่อนระยะเก็บเกี่ยว เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ได้ 0:38 ปัจจัยที่ทำให้กลีบเลี้ยงของมังคุดเป็นสีแดงเนื่องจากปริมาณคลอโรฟิลล์ในกลีบเลี้ยงลดลง และดินขาดธาตุแมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กลีบเลี้ยงจะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดงเมื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว 0:55 การป้องกันการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ ฉีดพ่นด้วยสารแมกนีเซียมทางใบอัตรา 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับใส่ทางดินในอัตรา 1,000-1,500 กรัมต่อต้นจำนวน 3 ครั้งดังนี้ ครั้งที่ 1 ระยะดอกบานขนาด 2 เซนติเมตร ครั้งที่ 2 ระยะผลเท่าลูกปิงปอง และครั้งที่ 3 ก่อนการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ 1:29 เพียงเท่านี้จะทำให้กลีบเลี้ยงของมังคุดมีสีเขียวไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงอีกต่อไป เป็นวิธีการป้องกันการเกิดกลีบเลี้ยงสีแดงในมังคุดด้วยวิธีการจัดการธาตุอาหารให้ตรงกับระยะการเจริญเติบโตของผลมังคุด ก็จะทำให้มังคุดที่ได้มีคุณภาพ ขายได้ราคาดี ได้ส่งออกได้ 1:54 งานวิจัยเรื่องการป้องกันการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดง เป็นงานวิจัยที่เกิดมาจากปัญหาของเกษตรกรโดยตรง จากที่เกษตรกรขายมังคุดได้ในราคาต่ำ จึงอิงกับสิ่งที่เกษตรกรทำกับทฤษฎีทางด้านธาตุอาหารพืช เข้ามารวมกันจนเกิดเป็นงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และได้ทดลองทำกับแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีและแปลงของเกษตรกร พบว่าเกิดจากปริมาณคลอโรฟิลล์ค่อยๆลดต่ำลงไป เมื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว ร่วมกับดินขาดแมกนีเซียม ซึ่งไม่ได้เกิดจากการขาดแคลเซียมเหมือนกับที่เกษตรกรเข้าใจ โครงการนี้มีการถ่ายทอดสู่เกษตรกรมีการอบรมให้เกษตรกรรู้ถึงผลการทำงานของโครงการ สามารถนำผลการดำเนินการของโครงการไปปรับใช้กับส่วนของตัวเองได้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)website 🌎 www.arda.or.thFacebook 🔵facebook.com/ardathaiLine ✅line.me/R/ti/p/%40yhv6070rARDA 🅱 facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017#มังคุด #กลีบเลี้ยงสีแดง #คลอโรฟิลล์ #แมกนีเซียม #สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
การป้องกันอาการกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุด | สวก.
0:10 การเกิดกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุดเป็นอาการที่กลีบเลี้ยงของมังคุดเปลี่ยนเป็นสีแดง ทำให้มังคุดราคาตกต่ำ ถึงแม้ว่าผลของมังคุดจะมีขนาดใหญ่ ผิวมันไม่มีอาการเนื้อแก้วยางไหลก็ตาม จึงส่งผลต่อเกษตรกรและผู้ส่งออกโดยตรง การป้องกันอาการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดงตั้งแต่ก่อนระยะเก็บเกี่ยว เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ได้
0:38 ปัจจัยที่ทำให้กลีบเลี้ยงของมังคุดเป็นสีแดงเนื่องจากปริมาณคลอโรฟิลล์ในกลีบเลี้ยงลดลง และดินขาดธาตุแมกนีเซียม และแคลเซียม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กลีบเลี้ยงจะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีแดงเมื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว
0:55 การป้องกันการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดงของมังคุดสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
ฉีดพ่นด้วยสารแมกนีเซียมทางใบอัตรา 1,000-1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับใส่ทางดินในอัตรา 1,000-1,500 กรัมต่อต้นจำนวน 3 ครั้งดังนี้
ครั้งที่ 1 ระยะดอกบานขนาด 2 เซนติเมตร ครั้งที่ 2 ระยะผลเท่าลูกปิงปอง และครั้งที่ 3 ก่อนการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์
1:29 เพียงเท่านี้จะทำให้กลีบเลี้ยงของมังคุดมีสีเขียวไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงอีกต่อไป เป็นวิธีการป้องกันการเกิดกลีบเลี้ยงสีแดงในมังคุดด้วยวิธีการจัดการธาตุอาหารให้ตรงกับระยะการเจริญเติบโตของผลมังคุด ก็จะทำให้มังคุดที่ได้มีคุณภาพ ขายได้ราคาดี ได้ส่งออกได้
1:54 งานวิจัยเรื่องการป้องกันการเกิดอาการกลีบเลี้ยงสีแดง เป็นงานวิจัยที่เกิดมาจากปัญหาของเกษตรกรโดยตรง จากที่เกษตรกรขายมังคุดได้ในราคาต่ำ จึงอิงกับสิ่งที่เกษตรกรทำกับทฤษฎีทางด้านธาตุอาหารพืช เข้ามารวมกันจนเกิดเป็นงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมา และได้ทดลองทำกับแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรีและแปลงของเกษตรกร พบว่าเกิดจากปริมาณคลอโรฟิลล์ค่อยๆลดต่ำลงไป เมื่อเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว ร่วมกับดินขาดแมกนีเซียม ซึ่งไม่ได้เกิดจากการขาดแคลเซียมเหมือนกับที่เกษตรกรเข้าใจ โครงการนี้มีการถ่ายทอดสู่เกษตรกรมีการอบรมให้เกษตรกรรู้ถึงผลการทำงานของโครงการ สามารถนำผลการดำเนินการของโครงการไปปรับใช้กับส่วนของตัวเองได้
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
website 🌎 www.arda.or.th
Facebook 🔵facebook.com/ardathai
Line ✅line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
ARDA 🅱 facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
#มังคุด #กลีบเลี้ยงสีแดง #คลอโรฟิลล์ #แมกนีเซียม
#สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.