อย่าปลูกฝังความโกรธเกลียดในใจ จงเอาความดีของเรา..ดึงดูดความดีในใจผู้อื่น โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 9 янв 2025

Комментарии • 12

  • @satipunya
    @satipunya  5 лет назад +3

    สำหรับมือใหม่ที่ฟังแล้วยังสงสัย หรือไม่เข้าใจวิธีการและหลักการในการฝึกฝนเจริญสติ ขอแนะนำให้ดูคลิปใน [ส่วนที่ 1]
    ruclips.net/p/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f
    จะรวบรวมประเด็นที่ผู้ฝึกฝนควรรู้ โดยไล่ดูตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็น่าจะช่วยลำดับความเข้าใจให้ได้มากขึ้น
    หลวงพ่อเทียนใช้คำว่า "เห็นความคิด หรือ ดูความคิด"
    ไม่ได้หมายถึง ให้เราเอาจิตใจไปเฝ้าจ้องว่า เมื่อไหร่จะเกิดความคิด
    เมื่อไหร่ใจจะเผลอคิด-เผลอไปในอารมณ์ต่างๆ
    หรือ เมื่อเผลอคิดไปแล้ว ก็ไปตามดูความคิด ว่ามันคิดอะไร ไปหาสาเหตุ
    ไปหานิยาม ไปหาทางแก้ หรือเผลอใจไปปรุงแต่งเป็นความรู้สึก-อารมณ์ต่างๆ เช่น ไปหงุดหงิด ไปยินดี-ยินร้ายกับมันฯลฯ
    ...ไม่ใช่แบบนั้น!!!
    แต่หลวงพ่อเทียนต้องการสื่อความหมายถึง "การเห็นความคิด หรือดูความคิด"
    โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด ไม่หลงไปตามความคิดหรืออารมณ์ ไม่ไปปรุงแต่งต่อเติม ฯลฯ
    เปรียบเหมือนเราเป็นคนดูมัน-เห็นมันห่างๆ จากข้างนอก
    โดยเราไม่ได้เข้าไปคลุกวงในกับมัน ไม่เข้าไปพัวพันกับมัน
    วิธีฝึกฝน ก็เป็นวิธีฝึกเจริญสติ หรือฝึก "ความรู้สึกตัว" เดิมๆ ที่ "มือใหม่" ได้ถูกย้ำเตือนบ่อยๆ
    คือ ฝึกให้มีความรู้สึกตัวกับการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถ
    และ/หรือ ให้เจตนาสร้างการเคลื่อนไหวร่างกาย (สร้างจังหวะ) แล้วรู้สึกเบาๆ สบายๆ กับกายที่เคลื่อนไหว
    ให้จิตใจตั้งอยู่กับ "ความรู้สึกตัว" หรือการระลึกรู้ในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    (ไม่ใช่เอาจิตใจไปเฝ้าจ้องเพื่อจะเห็นหรือตามดูความคิด-อารมณ์ต่างๆ)
    เมื่อ "รู้สึกตัว" ไปสักพัก จิตใจมันจะเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของมัน
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ ... กว่าจะรู้ตัว รู้ทัน หรือระลึกได้ว่า ตัวเองกำลังเผลอคิดอยู่
    ก็อาจจะเผลอคิดไปแล้วนานหลายนาที
    แต่เมื่อฝึกฝนมากๆ เข้า สติแข็งแรงขึ้น เราจะรู้ทัน "การเผลอคิด" ได้ไวขึ้น และบ่อยขึ้นเอง
    เมื่อฝึกจนชำนาญมากๆ อีกหน่อยพอเผลอคิดปุ๊บ..เราก็รู้ทันปั๊บ!!!!
    เมื่อ "รู้ทัน-รู้ตัว-ระลึกขึ้นมาได้ว่าตัวเองกำลังเผลอคิด กำลังเผลอไปกับอารมณ์ต่างๆ" แล้วควรทำอย่างไรต่อไป??
    ก็ให้ทิ้งความคิด-อารมณ์ต่างๆ ทันที!!
    .. เมื่อใดที่รู้ตัวว่าเผลอคิดปุ๊บ ก็ให้ทิ้งความคิดไปทันที
    ไม่ไปคิดต่อ ไม่ปรุงแต่งต่อเติม ไม่ไหลไปตามความคิด-อารมณ์ต่างๆ
    ไม่ต้องไปหาความหมาย ไม่ต้องไปหาสาเหตุใดๆ ทั้งสิ้น
    ....ให้ทิ้งความคิด-อารมณ์ต่างๆ ทันที!!! ...แล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ...คือการพาใจกลับมาตั้งไว้กับความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดิม!!
    เดี๋ยวสักพัก ใจก็อาจจะเผลอคิดไปอีก พอเรารู้ทันว่าใจมันเผลอไปอีก ก็ทิ้งความคิดทันทีแล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ทำแบบนี้วนๆ ไปเช่นเดิม
    ฝีกแบบนี้ซ้ำๆ บ่อยๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อสติตั้งมั่น แข็งแรง ว่องไวมากขึ้น ก็จะพัฒนาไปสู่ "การเห็นความคิด โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด"
    และจะพาไปสู่การปล่อยวางความคิด/อารมณ์ ได้มากขึ้น
    หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกายและใจ ไม่ว่าจะ "เรื่องทุกข์หรือสุข"
    เราก็จะรับรู้สิ่งเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นปกติ เป็นกลางๆ
    ใจไม่ไหลจมดิ่งไปกับความทุกข์ และไม่หลงลอยไปกับความสุข
    คลายความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น
    การปรุงแต่งฟุ้งซ่านจะน้อยลงเรื่อยๆ และทำให้ใจยอมรับในสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น
    มีสติปัญญารับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันจะเป็นไปเองตามกลไกธรรมชาติ
    ขอเพียงแค่เพียรฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากพอ
    เราสามารถหาโอกาสฝึกการเจริญสติ หรือ ฝึก "ความรู้สึกตัว" ให้ผสมผสานกับชีวิตประจำวัน ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
    คำแนะนำเพิ่มเติม
    - แนะนำการเจริญสติ ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ruclips.net/video/GWwIGxicOMA/видео.html
    - หลวงพ่อเทียนสอบอารมณ์ ruclips.net/video/477997jEPdg/видео.html
    - วิธีเจริญสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ruclips.net/video/qoK88FDoO_E/видео.html
    - หลักการง่ายๆ ภายใน 1 นาที.."กลับมารู้สึกตัว" ruclips.net/video/df0Nls10qX0/видео.html
    - ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม ruclips.net/video/0F9Uc8gt1gU/видео.html
    - เห็นความคิด-อารมณ์ โดยไม่หลงเข้าไป "อิน" จะทำได้อย่างไร? ruclips.net/video/NwSKqJFaE6U/видео.html
    - ไฮไลท์ คือ เมื่อหลงไป แล้วกลับมาได้ ruclips.net/video/oGLkbmKypBg/видео.html
    - เจริญสติไม่ยาก แต่ที่ว่ายาก เพราะอยากได้ดั่งใจ ruclips.net/video/ocG1E6O-zGo/видео.html
    - สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ ruclips.net/video/tfsJI9_KeUw/видео.html
    - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ ruclips.net/video/yUyob1-DKlk/видео.html

    • @satipunya
      @satipunya  5 лет назад

      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      1. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      2. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] ruclips.net/p/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      3. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      ruclips.net/p/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

  • @mayanjoy3005
    @mayanjoy3005 2 года назад

    กราบนมัสการค่ะพระอ.

  • @amphornpuniamsiew6958
    @amphornpuniamsiew6958 5 лет назад +2

    ชอบฟังพระอาจารย์ เตือนสติ

  • @ฟหกด่าสว-ษ5ค
    @ฟหกด่าสว-ษ5ค 5 лет назад +2

    กราบสาธุๆๆค่ะ

  • @nand9550
    @nand9550 5 лет назад +2

    อนุโมทนาบุญเจ้าค่ะ

  • @wirangrong-2525
    @wirangrong-2525 5 лет назад +1

    ชอบฟังคติธรรมของพระอาจารย์ไพศาล ฟังแล้วรู้สึกสบายใจดีขึ้นค่ะ

  • @วิรดาเดชนรสิงห์

    สาธุสาธุสาธุคะ

  • @Krittamuk1
    @Krittamuk1 5 лет назад +1

    สาธุ

    • @werfwerg211
      @werfwerg211 5 лет назад +1

      Krittamuk Singharat กราบ สาธุ.สาธุๆค่ะ

  • @taweesak6132
    @taweesak6132 5 лет назад +1

    สาธุคับท่าน

  • @วิรดาเดชนรสิงห์

    ได้ฟังท่านพระไพศาลท่านสอนธรรมแล้วทำไห้ใด้คิดค่ะจะไม่โกรธ