แนะนำชาแนล "รู้จริงเศรษฐกิจไทย"

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 18 дек 2024

Комментарии • 1

  • @chakkrapongrattanavong1678
    @chakkrapongrattanavong1678  4 года назад

    ดูคลิปนี้แล้ว ท่านเกิดคำถามอะไรต่อไปหรือไม่ ถ้ารู้เศรษฐกิจจริง ต้องรู้จักคิดต่อแล้วว่า "แล้วทำไมรัฐบาลถึงต้องใช้แต่นโยบายงบประมาณแบบขาดดุลต่อเนื่องกัน แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้น"
    ruclips.net/video/haOXUePPzFw/видео.html
    สันนิษฐานแรก อาจเป็นเพราะต้องการคะแนนเสียง ถ้าใช้แบบเกินดุล รีดภาษี แต่ไม่ทำโครงการอะไรเลย แล้วประชาชนจะเลือกหรือ?
    อีกข้อสันนิษฐาน คือ การที่รัฐใช้นโยบายงบประมาณขาดดุลต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่เศรษฐกิจขาขึ้น อาจไม่ได้ทำเพื่อคะแนนเสียง แต่ทำเพื่ออำพรางความไม่ปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจไทย
    นั่นคือเศรษฐกิจไทยไม่ได้เข้มแข็งจริง แต่เป็นเหมือนคนป่วยใกล้ตาย ที่อยู่ได้โดยอาศัยท่อน้ำเกลือเท่านั้น
    ทั้งการผลิต การส่งออก การพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมของไทย แท้ที่จริงแล้วมันเติบโตด้วยตัวเองไม่ได้เลย จากการที่สถาบันการเมืองและเศรษฐกิจไทยมันเป็นแบบขูดรีด ทำให้ไม่เกิดการทำลายเชิงสร้างสรรค์ขึ้น
    สินค้าไทยมีแต่ของเดิมๆ ไม่ได้รับการต่อยอด จึงตามทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลกไม่ได้ ทำให้ส่งออกได้น้อยลงเรื่อยๆ นวัตกรรมไทย ไม่ได้รับการสนับสนุน ประดิษฐิ์ออกมาก็แทบไม่ได้จดสิทธิบัตร ภาคส่วนที่จำเป็นต่อประเทศ รัฐก็กดไม่ให้เติบโต ถ้ามันเป็นภัยต่อธุรกิจของชนชั้นนำ อย่างการกดอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในภาคอีสาน เพื่ออุ้มนายทุนน้ำมันในกรุงเทพ
    ดังนั้นตัวเลขการเติบโตต่างๆ ที่รัฐเอามาแหกตาชาวโลก แหกตาประชาชนนั้น มันล้วนเกิดจากการที่รัฐต้องใช้นโยบายงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นให้มันกระเตื้องขึ้นมา หากปราศจากท่อน้ำเกลือนี้ ตัวเลขเหล่านี้ก็จะพังทลายลงไป
    อย่างการที่คนไทยกำลังซื้อต่ำ การออมต่ำ หนี้ครัวเรือนสูง รัฐก็ใช้นโยบายขาดดุล เข้าไปทำโครงการรัฐ อย่างการแจกเงินให้ไปจับจ่ายใช้สอย จนเศรษฐกิจเติบโตขึ้น ซึ่งถ้ารัฐไม่กระตุ้นตรงนี้ เศรษฐกิจอาจจะติดลบก็เป็นได้
    ซึ่งแทนที่รัฐจะแก้ปัญหานี้ที่ต้นเหตุ คือการปฏิรูปสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจให้เปิดกว้างยิ่งขึ้น (เพราะนั่นคือการทำให้ชนชั้นนำที่ครอบงำรัฐอยู่เสียอำนาจและผลประโยชน์) กลับไปแก้ที่ปลายเหตุ คือเศรษฐกิจกำลังจะพัง ก็ใช้นโยบายงบขาดดุลอุ้มไปเรื่อยๆ
    ซึ่งการดำเนินนโยบายแบบขาดดุลที่มากเกินไป ก็จะทำให้ประเทศแทบไม่เหลือเงินออม ยกเว้นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่ต้องเก็บไว้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (จึงนำมาใช้ในกรณีอื่นไม่ได้) แต่เงินออมที่มีไว้พัฒนาประเทศ หรือใช้จ่ายในโครงการรัฐจะแทบไม่เหลือ เพราะขนาดเศรษฐกิจขาขึ้นก็ยังใช้แบบขาดดุล
    พอเงินออมไม่เหลือ แต่รัฐกลับต้องการจะใช้แบบขาดดุลต่อ เพื่อช่วยไม่ให้เศรษฐกิจพัง แล้วจะเอาเงินมาจากไหน? ก็ต้องไปกู้ต่างประเทศ ก่อหนี้สาธารณะเพิ่ม ซึ่งถ้าเหตุการณ์ยังเป็นแบบนี้ต่อไป ก็น่าเป็นห่วงว่าจะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกินกำลังที่เราจะใช้คืนอีกต่อไป ประเทศอื่นเขาก็จะไม่ให้กู้อีก เพราะความน่าเชื่อถือไม่เหลือ เมื่อนั้นเราก็จะไม่มีงบมาใช้แบบขาดดุลเพื่ออุ้มเศรษฐกิจไทยอีก แล้วเศรษฐกิจไทยก็จะพังทลายไปในที่สุด