วิธีทำสมาธิให้เกิด *ญาณปัญญา* เสียงธรรม หลวงพ่อชา สุภัทโท

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 18 сен 2024
  • ญาณ แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง
    ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง
    มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้
    ญาณ 3 ได้แก่ วิชชา 3
    บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ที่เกิดในอดีตได้ คือ การระลึกชาติของตนได้
    จุตูปปาตญาณ ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ บ้าง
    อาสวักขยญาณ ความรู้ในการกำจัดอาสวะให้สิ้นไป
    ญาณ 3 ในส่วนอดีต-อนาคต-ปัจจุบัน
    อตีตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอดีต
    อนาคตังสญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนอนาคต
    ปัจจุปปันญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ในส่วนปัจจุบัน
    ญาณ 3 ในการหยั่งรู้อริยสัจ
    สัจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
    กิจจญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจในอริยสัจ
    กตญาณ หมายถึง ญาณในการหยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ
    ญาณ 16
    ญาณ 16 ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลีโดยตรงทั้งหมด แต่วิปัสสนาจารย์สายพม่าได้เรียบเรียงจากญาณที่ระบุในปฏิสัมภิทามรรค และคัมภีร์วิสุทธิมรรค รวมกัน 16 ขั้น เรียกว่า ญาณ 16 (โสฬสญาณ) เป็นญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนา โดยลำดับตั้งแต่ต้น จนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ได้แก่
    1.นามรูปปริจเฉทญาณ หมายถึง ญาณกำหนดแยกนามรูป
    2.นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณจับปัจจัยแห่งนามรูป
    3.สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่เห็นสังขตลักษณะคือความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของ นามรูป และเริ่มเห็นไตรลักษณ์ เห็นตรุณอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างอ่อน วิปัสสนูปกิเลสจะเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้
    4.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อุพยัพพยญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป เห็นพลวอุทยัพพยญาณหรืออุทยัพพยญาณอย่างแก่ จัดว่าจิตเริ่มเข้าสู่วิปัสสนาญาณที่แท้จริง (ระหว่างเกิดถึงดับ เห็นเป็นดุจกระแสน้ำที่ไหล)
    5.ภังคานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภังคญาณ) หมายถึง ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมาอย่างเดียว
    6.ภยตูปัฏฐานญาณ (เรียกโดยย่อว่า ภยญาณ) หมายถึง ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ไม่แน่นอน ดุจกลัวต่อมรณะที่จะเกิด
    7.อาทีนวานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า อาทีนวญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นโทษภัยของสิ่งทั้งปวง ผันผวนแปรปรวน พึ่งพิงมิได้
    8.นิพพิทานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า นิพพิทาญาณ) หมายถึง ญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย
    9.มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้อันใคร่จะพ้นไปเสีย
    10.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (เรียกโดยย่อว่า ปฏิสังขาญาณ) หมายถึง ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทางหนี
    11.สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางวางเฉยต่อสังขาร
    12.สัจจานุโลมิกญาณ (เรียกโดยย่อว่า อนุโลมญาณ) หมายถึง ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ สามารถเห็นไตรลักษณ์ ด้วยภาวนามยปัญญาได้(พิจารณาวิปัสสนาญาณทั้ง๘ที่ผ่านมา ว่าเป็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์ก็เห็น สมุทัย นิโรธ มรรค โดยแต่ละญาณเป็นเหตุเกิดมรรค ทั้ง๘ ตามลำดับ)
    13.โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร คือ หัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน (ถ้าเป็นอริยบุคคลแล้ว จะเรียกว่าวิทานะญาณ)เห็นความทุกข์จนไม่กลัวต่อความว่าง ดุจบุคคลกล้าโดดจากหน้าผาสู่ความว่างเพราะรังเกียจในหน้าผานั้นอย่างสุดจิตสุดใจ
    14.มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค
    15.ผลญาณ หมายถึง ญาณอริยผล
    16.ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณาทบทวน (ว่ากิเลสใดดับไป กิเลสยังเหลืออยู่ กิจที่ต้องทำยังมีอยู่หรือไม่ พิจารณาสัจจานุโลมมิกญาณอีก)
    วิปัสสนาญาณ 9
    แต่เมื่อกล่าวถึงวิปัสสนาญาณโดยเฉพาะ อันหมายถึงญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา จะมีเพียง 9 ขั้น คือ ตั้งแต่ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ถึง สัจจานุโลมิกญาณ (ตามปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ขั้นหนึ่งในวิสุทธิ 7) ที่บรรยายคัมภีร์ในวิสุทธิมรรค แต่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นับรวม สัมมสนญาณ ด้วยเป็น 10 ขั้น) เมื่อโพชฌงค์เจริญบริบูรณ์ครบ 7 ข้อ จิตจึงมีกำลังสามารถเห็นวิปัสสนาญาณได้ และใช้วิปัสสนาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นเครื่องมือนำไปสู่มรรค ผล นิพพาน
    1.วิปัสสนาญาณ คือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ภังคานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นอนิจจัง
    2.วิปัสสนาญาณ คือ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวานุปัสสนาญาณ นิพพิทานุปัสสนาญาณ นั้นเห็นทุกขัง
    3.วิปัสสนาญาณ คือ มุจจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ สังขารุเบกขาญาณ นั้นเห็นอนัตตา
    ญาณ 16 จัดเข้าในวิสุทธิ 7
    นามรูปปริทเฉทญาณ จัดเข้าใน ทิฏฐิวิสุทธิ
    นามรูปปัจจยปริคคหญาณ จัดเข้าในกังขาวิตรณวิสุทธิ
    สัมมสนญาณและอุทธยัพพยญาณอย่างอ่อน จัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ
    วิปัสสนาญาณทั้ง 9 จัดเข้าในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
    โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ จัดเป็นญาณทัสสนวิสุทธิ
    อ้างเพิ่มเติมตามลิงค์ วิกีพีเดีย
    th.wikipedia.o...
    อ้างอิงแหล่งที่มาความหมายบทความ วิกีพีเีดีย
    พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม".
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๑. มหาวรรค] ญาณกถา

Комментарии • 2

  • @ปังย่าปังย่า

    กราบนอบน้อมบูชาคุณพระรัตนตรัย

  • @orawananone
    @orawananone 17 часов назад

    กราบพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เมตตาอบรมสอนสั่งให้ความรู้ค่ะ