ฎีกา InTrend ep.82 ประนีประนอมยอมความกับผู้ทำละเมิดแล้วยังเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย.....

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 15 окт 2024
  • ฎีกา InTrend ep.82 ประนีประนอมยอมความกับผู้ทำละเมิดแล้วยังเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยของตนได้อีกหรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายกับผู้ทำละเมิดอาจมีการเจรจาเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ผลของการตกลงกันอาจก่อให้เกิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลผูกพันกันตามกฎหมาย ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในที่นี้จะเป็นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงประนีประนอมยอมความกับผู้ทำละเมิดแล้วจะยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัยของตนได้อีกหรือไม่
    นายเก่งสนใจจะซื้อรถยนต์สปอร์ตหรูสักคันจึงได้ไปดูรถที่โชว์รูมรถหรูแห่งหนึ่ง นายเก่งสนใจรถคันหนึ่งเป็นพิเศษจึงต้องการจะทดลองขับดูว่าเมื่อขับแล้วจะเป็นอย่างไร แล้วรถจะเป็นอย่างที่ตนต้องการหรือไม่
    เมื่อนายเก่งทดลองขับรถคันดังกล่าวปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุขึ้น โดยนายเก่งขับไปชนท้ายรถบรรทุกคันหนึ่งเข้าเป็นเหตุให้รถยนต์สปอร์ตที่ทดลองขับได้รับความเสียหาย
    หลังเกิดเหตุนายเก่งได้เจรจากับบริษัทเจ้าของโชว์รูมตกลงจ่ายค่าเสียหายให้รวมทั้งสิ้น 2,700,000 บาท โดยทำบันทึกข้อตกลงไว้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก
    บริษัทเจ้าของโชว์รูมได้เรียกร้องเงินค่าเสียหายจากบริษัทรับประกันภัยที่ตนได้ทำประกันภัยไว้สำหรับรถยนต์ในโชว์รูมนั้น แต่บริษัทรับประกันภัยไม่ยอมชำระ บริษัทเจ้าของโชว์รูมจึงได้มาฟ้องเรียกเงินค่าเสียหายค่าซ่อมแซมรถคันดังกล่าวเป็นเงิน 8,000,000 บาท
    การที่นายเก่งกับบริษัทเจ้าของโชว์รูมได้ทำบันทึกข้อตกลงที่บริษัทยอมรับค่าเสียหายเป็นเงิน 2,700,000 บาทแล้วตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใด ๆ ต่อกันอีกย่อมถือว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำให้ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องที่เคยมีต่อกันเป็นอันยุติไปรวมถึงสิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดอันเกิดจากการที่นายเก่งไปทำให้เกิดอุบัติเหตุทำให้รถเสียหาย ทั้งสองฝ่ายมีความผูกพันและสิทธิเฉพาะเท่าที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เท่านั้น
    ปัญหาที่สำคัญคือผลของการทำบันทึกข้อตกลงที่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะส่งผลต่อสิทธิเรียกร้องที่บริษัทเจ้าของโชว์รูมมีอยู่ต่อบริษัทรับประกันกันที่ตนได้ซื้อกรมธรรม์ไว้อย่างไร ซึ่งบริษัทรับประกันภัยต่อสู้ว่ากรณีนี้เกิดจากมูลละเมิดที่นายเก่งไปก่อให้เกิดขึ้น เมื่อมีการทำสัญญาประกันภัยแล้วมูลละเมิดนั้นย่อมระงับสิ้นไปด้วย บริษัทเจ้าของโชว์รูมย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องจากบริษัทรับประกันภัยได้อีก โดยหากบริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายให้แก่บริษัทเจ้าของโชว์รูมไปก็จะไม่อาจรับช่วงสิทธิไปฟ้องเรียกร้องเอาเงินคืนจากนายเก่งผู้ทำให้เกิดความเสียหายได้
    กรณีที่เกิดขึ้นนี้ในระหว่างนายเก่งกับบริษัทเจ้าของโชว์รูมนั้นต้องถือว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น การที่บริษัทเจ้าของโชว์รูมใช้สิทธิเรียกร้องให้นายเก่งชดใช้ค่าเสียหายก็เป็นการใช้สิทธิที่เกิดจากมูลละเมิดนั้น แต่ในขณะเดียวกันกรณีที่บริษัทเจ้าของโชว์รูมเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทรับประกันภัยนั้น บริษัทเจ้าของโชว์รูมไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดนั้นแล้ว หากแต่ใช้สิทธิในฐานะที่ตนเป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันวินาศภัยที่ทำไว้กับบริษัทรับประกันภัยซึ่งเป็นอีกสถานะหนึ่งที่แยกต่างหาก ดังนั้น แม้จะมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลที่ทำให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทเจ้าของโชว์รูมในมูลละเมิดระงับสิ้นไป แต่สัญญาประนีประนอมยอมความนั้นไม่ได้ทำให้สิทธิตามสัญญาประกันวินาศภัยระงับสิ้นไปด้วย บริษัทเจ้าของโชว์รูมจึงยังมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัยได้อยู่
    ส่วนการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยจะมีสิทธิอยู่หรือไม่เพียงใดเป็นอีกกรณีหนึ่งที่ไม่มีผลทำให้หน้าที่ที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ต้องระงับสิ้นไปด้วย
    อย่างไรก็ตาม สิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนนี้ย่อมเป็นไปตามจำนวนเงินค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เมื่อบริษัทเจ้าของโชว์รูมได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากนายเก่งแล้วเป็นเงิน 2,700,000 บาท จึงต้องนำเงินที่ได้รับแล้วมาหักออกจากเงินที่เรียกร้องจากบริษัทประกันภัยด้วย
    การที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดระงับไป แต่ผู้เอาประกันภัยที่ตกลงประนีประนอมยอมความยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายส่วนที่ยังขาดจากบริษัทประกันภัยของตนที่ได้ซื้อกรมธรรม์ไว้ได้อยู่
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2564)

Комментарии • 7

  • @nipanchoomchuay4023
    @nipanchoomchuay4023 Год назад

    ขอบคุณครับ

  • @songwutk
    @songwutk 2 года назад +2

    สรุปสั้นๆ บริษัทซื้อประกันภัยคุ้มครองรถ แล้วให้ลูกค้าทดลองขับ จากนั้นเกิดอุบัติเหตุ แล้วลูกค้าทำสัญญาประนีประนอมชดใช้ค่าเสียหาย
    หากเงินชดใช้ไม่พอกับความเสียหาย ก็สามารถเรียกส่วนต่างกับบริษัทประกันภัยได้
    ที่ผมฟังแล้วยังไม่เคลียร์คือ
    1) บริษัทรถ จะหวังผลกินเงิน 2 ทางแบบเต็มๆ ได้หรือไม่ ? เช่น เสียหาย 4 ล้าน เรียกคู่กรณี 4 ล้าน เรียกประกันภัย 4 ล้าน
    ได้กำไรแล้วตีเนียนว่าไม่ได้รับเงินจากอีกทาง
    2) บริษัทประกัน ไปไล่เบี้ยฟ้องกับคู่กรณี แล้วคู่กรณียกเอาสัญญาประนีประนอมเป็นหลักฐานต่อสู้ บริษัทประกันจะเรียกเงินส่วนเกินคืนได้หรือไม่ ?
    หรือจะฟ้องว่าบริษัทรถปกปิดความจริง เจตนาฉ้อฉลเพื่อรับเงิน 2 ทางได้ไหม ?

  • @TutorNuiTutorRoong
    @TutorNuiTutorRoong 2 года назад

    ขอบพระคุณท่านอาจารย์สรวิศครับ

  • @วรรณวิมลพงศาปาน

    ขอบคุณค่ะ

  • @สิทธิชัยเมธยาภิรมย์

    กรณีถอนฟ้องตาม ปวิ.แพง 175วรรคสอง ศาลอนุญาต จำหน่ายคดีออกจากสารบบ แล้ว จะขอทำสัญญาประนีประนอมยอม และศาลมีคำพิพากษา จะขอได้ไหมครับ

    • @phitaksdisbhuminithi4070
      @phitaksdisbhuminithi4070 2 года назад

      การที่จะขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอม ต้องมีคดีอยู่ในศาล เรียกว่า การทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล และศาลจะมีคำพิพากษาตามที่คู่ความได้ตกลงกัน

  • @helsinkisogo6786
    @helsinkisogo6786 2 года назад

    ดีครับ