ศึกษาเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ และกรรมวิธีการทอผ้าตากะหมุก (สมุก)

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 17 окт 2024
  • #Thaiscout
    #ลูกเสือช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
    #ทำดีทำได้ทำทันที
    #ภูมิใจความเป็นไทย
    #โรงเรียนวัดในไร่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
    #ศูนย์อนุรักษ์ผ้าพื้นถิ่นจังหวัดระยอง
    ประวัติศาสตร์ผ้าตากะหมุก (สมุก)
    "มาร่วมกันคืนลมหายใจแห่ง ความสง่างามของผ้าตากะหมุก (ตาสมุก)ให้กับชาวระยองอีกครั้ง"
    ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองชายทะเลตะวันออกได้ทรงพระราชนิพนธ์ จดหมายเหตุระยะทางเมืองจันทบุรี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินในปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ ตรงกับวันที่ ๒๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๑๙
    ในจดหมายเหตุระยะทางเมืองจันทบุรีนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เมื่อถึงแหลมระยอง(แสมสาร) พระศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม (เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยองพร้อมด้วยชาวจีนซึ่งทำการค้ากับเมืองระยอง ได้เข้าร่วมเฝ้าพร้อมกับได้ถวายผ้าตาสมุก ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ดังนี้
    “ครั้นเมื่อมาพักที่พลับพลา พระไพรัชเขาพาพระศรีสมุทโภคเจ้าเมืองระยอง กับหลวงปลัด หลวงผู้ช่วย หมื่นพัฒนสมบัติ จีนเล่งหัวผู้จำหน่ายสุรา จีนซางเจ้าภาษีหมู กับจีนอยู่ จีนไทสาน จีนจงชิว จีนโอเฮียว จีนโก๋ จีนสงเมา จีนโอสิด จีนเอง เปนลูกค้าเมืองระยอง เอาของมาให้ มีผ้าไหม ผ้าพื้นตาสมุก กับเข้าสารของสดต่างๆเปนอันมาก”
    เมื่อทรงเสด็จพระราชดำเนินผ่านเขาแหลมหญ้าถึงช่องเสม็ด ทอดสมอช่องเสม็ดเวลาบ่าย ๕ โมง บ่ายห้าโมงครึ่งลงเรือโบด ให้เรือภิรมย์เร็วจรลาก เสด็จขึ้นฝั่งที่บ้านเพ จังหวัดระยอง (บริเวณคลองกรูนในปัจจุบัน) ในพระราชนิพนธ์ มีการกล่าวถึงผ้าตาสมุก อีกครั้งดังนี้
    “หลวงศัลยุทธ(พระยาไกรโกษา (ทัด) เก็บได้กัลปังหาแดง ๒ กิ่ง กัลปังหาขาวกิ่งหนึ่ง เราชอบใจนัก ด้วยเปนของหายากจริงๆ เราให้รางวัลผ้าตาสมุกของกำนันเขาผืนหนึ่ง”
    วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการทอผ้าในแถบบ้านเพ มีปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ในคราวเดียวกันนี้ว่า
    “ได้ถามเขาว่าหากินอย่างไร เขาว่าทำเยื่อเคยกับนาบ้าง ข้างโรงนั้นเห็นมีไร่ล้อมรั้วเขาปลูกฝ้าย”
    เรื่องผ้าตาสมุกยังปรากฏอีกครั้งในบันทึกความทรงจำของคุณเลี้ยง สิทธิไชย ได้ร่วมในงานแต่งงานหมู่ ซึ่งจัดโดยคณะกรมการจังหวัดระยอง เป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อเป็นการประหยัด โดยทางจังหวัดให้ผู้นำในชุมชนแจ้งแก่ผู้ที่จะแต่งงานในปีนั้น ๆ แจ้งชื่อให้กับทางจังหวัดจัดงานสมรสให้ ในการจัดการแต่งงานหมู่ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ซึ่งนับว่าเป็นปีแรก นายกิจ พรหมเวช กำนันตำบลเพได้แจ้งชื่อ นายเลี้ยง สิทธิไชย และนางสาวบุญช่วย คีรีวัลย์ เป็นคู่บ่าวสาวจากบ้านเพไปร่วมในงานนี้
    “ผู้เขียนแต่งชุดสากล ผ้าไทยลายตาสมุก สีดอกมะเขือสดอ่อน ๆ เป็นผ้าไทยกำลังนิยมกันในสมัยนั้น ผ้าผูกคอหรือเนคไทลายเฉียงพื้นดำ สลับขาว แดงสีเข้มหน่อย รองเท้าหนังแกะสีน้ำตาล เป็นหนังแกะที่ใช้ตัดรองเท้าสุดยอดในสมัยนั้น ตัดมาจากร้าน (ฟ้ามซุ่งฟั้ด) บางลําพู สมัยที่เป็นทหารอยู่กรุงเทพฯ”
    ด้วยจังหวัดระยอง มีวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ดังนี้แล้วการรื้อฟื้นการทอผ้าตาสมุกให้กลับมาดำรงอยู่อย่างเช่นอดีต จึงเรียกได้ว่าเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรม รักษาหัตถกรรมภูมิปัญญา รวมถึงการผลักดันให้ผ้าตาสมุก เป็นผ้าประจำพื้นถิ่น เป็นผ้าประจำจังหวัด เป็นอัตลักษณ์ของเมืองระยอง ตลอดจนการสนับสนุนให้ประชาชนในระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัดเกิดความตระหนัก รัก หวงแหน และเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบสานภูมิปัญญา เพื่อให้เห็นคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทย
    นายจิรพันธุ์ สัมภาวะผล รวบรวม/เรียบเรียง
    #ผ้าตากะหมุก #ผ้าตาสมุก #ลายผ้าประจำจังหวัดระยอง

Комментарии •