พระธาตุนาดูน เมืองนครจำปาศรี | ปาฏิหาริย์แห่งพระธาตุนาดูน รายละเอียดการสร้างพระธาตุ การลักลอบขุดพระ
HTML-код
- Опубликовано: 1 дек 2024
- เมืองนครจำปาศรี #พระธาตุนาดูน #ปาฏิหาริย์พระธาตุนาดูน รายละเอียดการสร้างพระธาตุ การลักลอบขุดพระ
#เมืองนครจำปาศรี ที่นาดูน #พระบรมธาตุนาดูน
โบราณวัตถุกลุ่มหนึ่งที่ถูกโจรกรรมไปจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น คือ #พระพิมพ์นาดูน โบราณวัตถุสมัย #ทวารวดี ที่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับกลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่แพร่เข้าไปถึงยังลุ่มน้ำมูล-ชี
บริเวณ บ้านนาดูน อ.นาดูน จ. #มหาสารคาม เคยเป็นเมืองโบราณมาก่อน สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็น “เมืองนครจำปาศรี” ตามที่มีจารึกไว้ในหนังสือก้อม ซึ่งเป็นหนังสือผูกใบลานที่ค้นพบโดยพระอริยนุวัตรเขมจารีเถระ เมื่อพ.ศ.2492 ที่วัดหนองทุ่ม ต.นาดูน เพราะได้พบหลักฐานสถูปเจดีย์และวัตถุโบราณเป็นจำนวนมาก มีสถูปสัมฤทธิ์ และพระพิมพ์ดินเผา เป็นต้น
แสดงถึงหลักฐานความรุ่งเรืองของเมืองนครจำปาศรีในสมัยทวารวดี ราว พ.ศ.1000-1200 และอยู่อาศัยต่อเนื่องมาถึงสมัยลพบุรี ราว พ.ศ.1600-1800 พบศาสนสถานในยุคนี้ มีกู่ที่ก่อด้วยศิลาแลงแบบขอมอยู่หลายแห่ง เช่น กู่น้อย และกู่สันตรัตน์ บริเวณกลางเมืองนครจำปาศรีแห่งนี้ ได้พบศิลาจารึก เอ่ยถึงพระนามกษัตริย์เขมร “พระบาทกมรเตงอัญศรีชัยวรมันเทวะ” อาจหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณ
ภายในนครจำปาศรีมีลักษณะเป็นเนินดินมีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานและแหล่งฝังศพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์ พบภาชนะดินเผาแบบทุ่งกุลา อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว เป็นบรรพชนของชาวนครจำปาศรีและชาวนาดูนในปัจจุบัน
ชื่อ นาดูน น่าจะหมายถึงที่พื้นที่บนเนินสูง มีน้ำซับน้ำซึมผุดขึ้น
คำว่า ดูน มีความหมายว่าสูงขึ้น มีน้ำซับ น้ำคำไหลรินตลอดเวลา สอดคล้องกับการที่เมืองเก่าตั้งอยู่บนพื้นที่มีลักษณะเป็นเนินและมีบ่อน้ำเก่ามีน้ำผุดจากดินขึ้นมาตลอด ชาวบ้านเรียกว่า “บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์” เดิมเรียก “น้ำดูน” หรือ “นาดูน”
ต. #นาดูน เดิมเป็นหมู่บ้านเรียก “บ้านหนองดูน” หรือ "บ้านนาดูน” ยกฐานะเป็น “ตำบลนาดูน” อยู่ในความปกครองของ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ในปี พ.ศ.2512 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่ง อ.นาดูน ต่อมาได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลนาดูน พระกนาดูน
ปี 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น “เทศบาลตำบลนาดูน”
"เรือนอินทร์ หน้าพระลาน"
“ #เมืองโบราณนครจำปาศรี ” มีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 1,500 เมตร ยาวประมาณ 2,700 เมตร ประกอบด้วยเชิงเทิน หรือคันดิน 2 ชั้น มีคูนํ้าขั้นกลาง กว้างประมาณ 20 เมตร เนินดินสูงประมาณ 3 เมตร และกว้างประมาณ 6 เมตร เมืองโบราณแห่งนี้มีการพัฒนาการของเมืองที่สืบต่อมาหลายสมัยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-16 นครจำปาศรี เริ่มมีการพัฒนาการของเมืองที่ชัดเจนขึ้นโดยมีการขุดคูเมือง-กำแพงเมืองล้อมรอบ เพื่อไว้ใช้เป็นพื้นที่เก็บนํ้าภายในเมืองเพื่อการเกษตรกรรม และมีการรับศาสนาพุทธจากพื้นที่ลุ่มนํ้าภาคกลางเข้ามาจึงมีการสร้างศาสนสถานขึ้นภายในเมืองหลายแห่ง เช่น ศาลานางขาว รวมถึงการสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนอกเมือง การพัฒนาของเมืองมีสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16-18 จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและการขุดตรวจชั้นดินทางโบราณคดีพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของเมือง โดยมีการขุดขยายแนวคูเมืองออกไปทั้งสองด้านทางด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขอบมน ซึ่งเป็นลักษณะการสร้างเมืองในวัฒนธรรมแบบขอมซ้อนทับลงไปในเมืองโบราณสมัยทวารวดีอีกชั้นหนึ่ง แต่ยังคงรูปแบบการวางผังเมืองเดิมไว้โดยไม่ได้แก้ไข รวมถึงมีการสร้างศาสนสถานกู่น้อยขึ้นเพื่อเป็นเทวลัย และสร้างบารายทางด้านทิศตะวันออกไว้เพื่อการเก็บกักนํ้าไว้ใช้ภายในชุมชน ด้านทิศตะวันออกของเมือง พบร่องรอยของสระนํ้าที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หนองอีไล” วางตัวทอดยาวขนานไปกับแนวตัวเมือง เพื่อกักเก็บนํ้าเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมที่รองรับการขยายตัวของชุมชนเช่นกัน ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรขอม พระองค์ทรงให้สร้างอโรคยาศาล จำนวน 102 แห่ง ทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งพบอยู่ในนครจำปาศรีหนึ่งแห่ง คือ “ #กู่สั่นตรัตน์ ” การสร้างอโรคยาศาลสร้างขึ้นในพื้นที่ชุมชนที่ผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก และเป็นเมืองที่สำคัญ วัฒนธรรมขอมที่แพร่เข้ามานั้นก็มิได้ทำลายวัฒนธรรมทวารวดีที่เจริญอยู่ก่อนหน้านี้ให้หมดไป แต่มีการผสมผสานและนับถือควบคู่กันมา ดังปรากฏหลักฐานการจารึกที่หลังพระพิมพ์นาดูน บางแผ่นมีจารึกที่ใช้ภาษามอญ และภาษาขอม หลังพุทธศตวรรษที่ 18 ลงมา เป็นระยะสุดท้ายที่อำนาจทางการเมืองของขอมได้เสื่อมลงและส่งผลให้บ้านเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมาแต่ก่อนค่อยๆ เสื่อมลงทำให้จำนวนประชากรน้อยลง จนกระทั่งเมืองถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
#เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ