การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาบู่ในระบบน้ำหมุนเวียน | สวก.

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 18 сен 2024
  • ปลาบู่เป็นปลาน้ำจืดที่มีราคาสูง ผลผลิตส่วนใหญ่ก็ส่งขายต่างประเทศ ทำให้มีความต้องการลูกพันธุ์ปลามากขึ้นทุกปี ผลผลิตที่ได้ส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากไม่สามารถเพาะเลี้ยงและอนุบาลลูกปลาบู่ ให้ได้ขนาดที่เหมาะสม จึงต้องใช้พันธุ์ปลาบู่ที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลให้ขาดแคลนพันธุ์ปลา
    เทคโนโลยีการผลิตปลาบู่ เริ่มตั้งแต่พ่อแม่พันธุ์เพื่อเตรียมไปเพาะพันธุ์ จนกระทั่งอนุบาลให้ได้ขนาดเพื่อนำไปเลี้ยงต่อได้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในทุกขั้นตอนของการผลิตปลาบู่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ
    การเตรียมพ่อแม่พันธุ์สำหรับการเพาะพันธุ์มีขั้นตอนดังนี้
    1. เตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อซีเมนต์แบบเปิดโล่งและติดตั้งหลังคาพลาสติกกรีนเฮ้าส์ เพื่อป้องกันฝนและพรางแสงเพื่อป้องกันความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวัน ในส่วนของบ่อพ่อแม่พันธุ์ประกอบด้วยบ่อเลี้ยงมีขนาด 50 ตารางเมตร จำนวน 1 บ่อ และกั้นเป็นคอกขนาด 5 ตารางเมตร จำนวน 2 คอก เพื่อสะดวกในการให้อาหารและการตรวจสอบ และบ่อบำบัดน้ำขนาด 50 ตารางเมตร จำนวน 1 บ่อ โดยมีส่วนดักตะกอน ส่วนกรองชีวภาพแบบจมใต้น้ำ และชุดกรองชีวภาพแบบสัมผัสอากาศ โดยภายในบ่อปลูกพืชน้ำได้แก่ กก เตย และบัว เพื่อดูดซับแอมโมเนียและไนเตรท
    2. พ่อแม่พันธุ์ ใช้ปลาบู่น้ำหนัก 100-200 กรัม ที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ หรือจะเป็นปลาบู่ขนาด 10 ซม. ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ก็ได้
    3. การให้อาหารสำหรับปลาบู่ที่ได้จากธรรมชาติ ให้เป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนประมาณ 41 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปลาเป็ด อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ให้กินจนอิ่ม ปลาบู่ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ให้อาหารผสมปั้น โดยมีส่วนประกอบคืออาหารสำเร็จรูป 1 ส่วน ผสมน้ำครึ่งส่วน วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุรวม และไคโตซาน ผสมให้เข้ากันแล้วปั้นเป็นก้อน ให้วันละ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
    4. ระหว่างการเลี้ยงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 30% ทุก 2 สัปดาห์พร้อมดูดตะกอน ใส่ฟอร์มาลีนความเข้มข้น 25-30 ml ต่อลิตรทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดพยาธิ
    สรุปแล้วการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ จะนำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งสามารถควบคุมคุณภาพน้ำ และโรคได้ดี อีกทั้งสะดวกในการให้อาหารและการตรวจสอบการเจริญเติบโต รวมทั้งความสมบูรณ์เพศ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะพันธุ์ปลาบู่ เพื่อให้ได้ขนาดผลผลิตที่มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป
    #การเพาะพันธุ์ปลาบู่ #ปลาบู่ #เลี้ยงปลาบู่ #สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
    #arda #วิจัยและพัฒนา #สวก.
    website 🌎 www.arda.or.th
    Facebook 🔵 / ardathai
    Line ✅line.me/R/ti/p...
    ARDA 🅱 / kasetkaoklaiarda2017

Комментарии • 8

  • @ardathailand
    @ardathailand  3 года назад

    website 🌎 www.arda.or.th
    Facebook 🔵facebook.com/ardathai
    Line ✅line.me/R/ti/p/%40yhv6070r
    ARDA 🅱 facebook.com/kasetkaoklaiARDA2017
    ปลาบู่เป็นปลาน้ำจืดที่มีราคาสูง ผลผลิตส่วนใหญ่ก็ส่งขายต่างประเทศ ทำให้มีความต้องการลูกพันธุ์ปลามากขึ้นทุกปี ผลผลิตที่ได้ส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี แต่เนื่องจากไม่สามารถเพาะเลี้ยงและอนุบาลลูกปลาบู่ ให้ได้ขนาดที่เหมาะสม จึงต้องใช้พันธุ์ปลาบู่ที่รวบรวมได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ส่งผลให้ขาดแคลนพันธุ์ปลา
    เทคโนโลยีการผลิตสบู่เริ่ม ตั้งแต่พ่อแม่เพื่อเตรียมไปเพาะพันธุ์ จนกระทั่งอนุบาลให้ได้ขนาดที่นำไปเลี้ยงต่อได้ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในทุกขั้นตอนของการผลิตปลาบู่เพื่อให้ประสบความสำเร็จ
    การเตรียมพ่อแม่ผ่านสำหรับการเพาะผ่านมีขั้นตอนดังนี้
    เตรียมบ่อเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ เป็นบ่อซีเมนต์แบบเปิดโล่งและติดตั้งหลังคาพลาสติกกรีนเฮ้าส์ เพื่อป้องกันฝนและพรางแสงเพื่อป้องกันความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวัน และส่วนของบ่อพ่อแม่พันธุ์ประกอบด้วยบ่อเลี้ยงมีขนาด 50 ตารางเมตร จำนวน 1 บ่อ และกั้นเป็นคอกขนาด 5 ตารางเมตร จำนวน 2 ข้อ เพื่อสะดวกในการให้อาหารและการตรวจสอบและบ่อบำบัดน้ำขนาด 50 ตารางเมตร จำนวน 1 บ่อ โดยมีส่วนดักตะกอน ส่วนกรองชีวภาพแบบจมใต้น้ำ และชุดกรองชีวภาพแบบสัมผัสอากาศ และภายในบ่อปลูกพืชน้ำได้แก่ กก เตย และบัว เพื่อดูดซับแอมโมเนียและไนเตรท
    พ่อแม่พันธุ์ใช้ปลาบู่น้ำหนัก 100-200 กรัม ที่ได้จากการรวบรวมจากธรรมชาติ หรือจะเป็นปลาบู่ขนาด 10 ซม. ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ก็ได้
    การให้อาหารสำหรับปลาบู่ที่ได้จากธรรมชาติ ให้เป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนประมาณ 41 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปลาเป็ด อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ให้กินจนอิ่ม ปลาบู่ที่ได้จากการเพาะพันธุ์ให้อาหารผสมปั้น โดยมีส่วนประกอบคืออาหารสำเร็จรูปหนึ่งส่วน ผสมน้ำครึ่งส่วน วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุรวม และไคโตซาน ผสมให้เข้ากันแล้วปั้นเป็นก้อน ให้วันละ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
    ระหว่างการเลี้ยงควรเปลี่ยนถ่ายน้ำ 30% ทุก 2 สัปดาห์พร้อมดูดตะกอน ใส่ฟอร์มาลีนความเข้มข้น 25-30 ml ต่อลิตรทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดพยาธิ
    สรุปแล้วการเตรียมพ่อแม่พันธุ์ จะนำมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งสามารถควบคุมคุณภาพน้ำ และโรคได้ดี อีกทั้งสะดวกในการให้อาหารและการตรวจสอบการเจริญเติบโต รวมทั้งความสมบูรณ์เพศ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเพาะพันธุ์ปลาบู่ เพื่อให้ได้ขนาดผลผลิตที่มีปริมาณเพียงพอ และมีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นต่อไป
    #การเพาะพันธุ์ปลาบู่
    #ปลาบู่
    #เลี้ยงปลาบู่
    #สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
    #arda
    #วิจัยและพัฒนา
    #สวก.

  • @TATREYFARM
    @TATREYFARM Год назад +1

    What kind of food fish? Please!

    • @ardathailand
      @ardathailand  Год назад

      Fish food, protein 41%

    • @TATREYFARM
      @TATREYFARM Год назад +1

      Do you have for sell goby 'food?

    • @TATREYFARM
      @TATREYFARM Год назад

      Do you Teach me by hatchery gobyfish Online ? Now I have gobyfish for trying it.

    • @ardathailand
      @ardathailand  Год назад

      @@TATREYFARMSorry, we don't have any for sale.

  • @ikinlee2673
    @ikinlee2673 3 года назад

    You sell small fish ...?

    • @ardathailand
      @ardathailand  3 года назад

      You can contact the Inland Aquaculture Research and Development Regional Center, Department of Fisheries to purchase a various of fish fry including sand goby