อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย Palliative /Hospice Care

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 7 сен 2024
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

Комментарии • 347

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +35

    อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย Palliative / Hospice Care
    ที่อเมริกามีการสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ตั้งแต่สมัยที่คุณหมอไปเรียนที่อเมริกาใหม่ๆจึงทราบว่าเขาทำกันอย่างไร
    บางคนมีภาวะบางอย่างทางร่างกายหรือจิตใจ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อยู่ไปก็ทรมาน บางคนมีอาการเจ็บปวดที่ไม่หาย ทำอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น ไม่ว่าจะผ่าตัด หรือ ให้ยาแล้วก็ไม่ดีขึ้น บางคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง ต้องเป็นภาระทั้งกับตัวเองและผู้ดูแล มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี จึงเห็นว่าถ้ามีการุณยฆาตก็จะสามารถยุติความทรมานของตนเองได้ และทำให้ทุกๆอย่างดีขึ้น
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +13

      สามารถแก้ไขภาวะดังกล่าวนี้ได้ด้วย Palliative / Hospice Care
      Palliative Care เริ่มมีในประเทศไทยในโรงพยาบาลใหญ่ๆ โรงพยาบาลที่เป็นมหาวิทยาลัยแพทย์ โดยจะมุ่งเน้นอาการที่ทรมานของคนไข้ ไม่ว่าจะเป็นร่างกายหรือจิตใจ รวมถึงในแง่การสื่อสารระหว่างครอบครัว การสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงดูแลครอบครัวคนไข้ และ คนไข้ด้วย และมีความคาบเกี่ยวกับ Hospice ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาอาจมีผลเสียมากกว่าผลดี และคนไข้จะทรมานมากกว่า จึงมุ่งเน้นในเรื่องของอาการเป็นหลัก
      Palliative Care ไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ป่วยที่กำลังเสียชีวิต ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคที่กำลังจะนำไปสู่ความตายเสมอไป เช่น ประสบอุบัติเหตุแล้วกระดูกหักแล้วมีอาการปวดเรื้อรังมาเป็นสิบปีแล้วไม่หาย กรณีนี้ไม่ได้นำไปสู่การเสียชีวิต แต่ Palliative Care ก็สามารถช่วยท่านได้เช่นกัน หรือ บางคนเป็นมะเร็งระยะแรกๆและจะนำไปสู่การกำเริบรุนแรงในอนาคตแล้วเสียชีวิตได้หรือเปล่า อันนี้ก็สามารถปรึกษา Palliative Care ได้ หรือ คนที่มีโรคหัวใจวายเรื้อรัง แล้วจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆด้วยน้ำท่วมปอดเรื่อยๆ แบบนี้ก็สามารถปรึกษา Palliative Care ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนไข้ที่กำลังจะเสียชีวิตเท่านั้น
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +12

      ที่อเมริกาจะส่งคนไข้ปรึกษา Palliative Care ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะเรามีงานวิจัยชี้ชัดแล้วว่า ถ้าปรึกษา Palliative Care ตั้งแต่แรกๆ โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่รักษาด้วยวิธีปกติด้วยซ้ำไป และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าด้วยซ้ำไป
      Palliative Care สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาในปัจจุบันได้ รักษาด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด รักษาด้วยยาต่างๆ ก็สามารถทำควบคู่กับ Palliative Care ได้
      หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ Palliative Care
      - แพทย์ด้านนี้โดยเฉพาะ
      - พยาบาล
      - นักสังคมสงเคราะห์
      - นักจิตวิทยา
      - จิตแพทย์
      - นักโภชนาการ
      และยังมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีก และเวลาประเมินคนไข้ก็จะประเมินหลายๆอย่าง เช่น ความเข้าใจต่อโรคของคนไข้ มีตรงไหนไม่เข้าใจก็จะสื่อสารระหว่างคนไข้และแพทย์ที่รักษา ดูว่าอาการใดที่ทำให้คนไข้ทรมานเช่น อาการซึมเศร้า ปัญหาทางด้านครอบครัว ปัญหาค่าใช้จ่าย รวมถึงปัญหาความเจ็บปวดทรมาน คลื่นไส้อาเจียน บางคนมีเสมหะเยอะจนหายใจไม่ได้ ก็จะมีวิธีดูแลในแง่การรักษาเพื่อลดความทรมานให้มากที่สุด และมีการคุยกับญาติและครอบครัวด้วย และหากมีความเชื่อเกี่ยวกับศาสนา ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญศาสนานั้นๆ
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +13

      ตัวอย่างที่อเมริกา หากนับถือศาสนาพุทธ ก็สามารถนิมนต์พระมาได้ ถ้าเป็นศาสนาคริสต์ก็จะมีนักบวช ไม่ว่าจะเป็นนิกายไหน ไม่ว่าจะ โรมันคาทอลิก ออร์ธอดอกซ์ โปรเตสแตนด์ หรือ ท่านเป็นมุสลิม หรือ ไม่นับถือศาสนาใด หากท่านต้องการคุยก็สามารถทำได้
      นอกเหนือจากการดูแลด้านร่างกายแล้ว ก็มีการดูแลเรื่องจิตใจ ว่ายังเป็นห่วงเรื่องอะไรบ้าง รวมทั้งดูแลด้านจิตวิญญานให้ด้วย และไม่ได้ดูแลเฉพาะคนไข้ จะดูแลไปถึงครอบครัวด้วย ดังนั้นจะเป็นองค์รวมมากๆ
      นอกจากนี้ เวลาที่เราดูแลแล้วคนไข้มีความทรมานและคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต เราจะมี Hospice ซึ่งจะคล้ายๆกับ Palliative Care ซึ่งเราทราบว่า เขาน่าจะเสียชีวิตในช่วงเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่เดีอน คนเหล่านี้เลือกที่จะไม่รักษา เพราะการรักษาอาจทำให้ทรมานมากขึ้น หรือ เรารู้อยู่แล้วว่าทำอย่างไรก็ไม่หาย ก็จะเลือกเป็น Hospice Care จะเน้นไปที่การรักษาทั้งหมดที่ Palliative Care ทำ แต่จะดูแลพิเศษในแง่การลดอาการเป็นหลัก คนไข้กลุ่มนี้มีหลายคนถ้าเราทำตามทางการแพทย์อาจได้ผลที่ดีแต่อาจมีปัญหา เช่น คนไข้โรคมะเร็งระยะสุดท้าย หรือ คนไข้ที่ติดเชื้อระยะสุดท้าย เป็นต้น เขาจะไม่ค่อยหิว จะทานอาหารไม่ได้ อาจสำลักและเกิดการติดเชื้อ ในทางการแพทย์ทั่วไปก็จะแนะนำไม่ควรให้รับประทานทางปาก แต่เมื่อเรารู้ว่าโรคเขาจะไม่หายและทรมานมากขึ้น แต่ความต้องการของคนไข้คือการได้รับประทานอาหารที่ตัวเองชอบ หลายๆท่านคงจะอยากทำอะไรตามใจตัวเองสักครั้งก่อนที่จะจากโลกนี้ไป หากคนไข้กินเข้าไปแล้วสำลักเราก็จะปล่อยให้เขาเป้นไปตามธรรมชาติ
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +1

      Palliative / Hospice Care จะปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ได้ทำให้เขาเสียชีวิตเร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่เราใช้การแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้องโดยลดการทรมาน ซึ่งไม่สามารถทำแบบนั้นได้ในการตายแบบธรรมชาติ แต่เราใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ช่วยเขา รวมถึงดูแลครอบครัวและทุกๆอย่างต่อเนื่องด้วย และหลายๆท่านควรจะพิจารณาข้อนี้
      นอกจากนี้ยังมีการคุยเรื่องพินัยกรรม เรื่องกฏหมาย เรื่อง Hospice Care หากเสียชีวิตแล้วต้องการให้ทำอย่างไร ทำศพอย่างไร สวดที่ไหน ที่อเมริกาจะมี Bereavement Service คือเป็นการไว้ทุกข์ทาง Palliative /Hospice Care ก็จะมีจัดให้ หรือท่านที่ต้องการไปเสียชีวิตที่บ้าน ก็จะมีเจ้าหน้าที่ไปดูแลที่บ้านให้เลย ซึ่งเป็นเป้าหมายของ Palliative / Hospice Care เพื่อให้ช่วงชีวิตสุดท้ายของคนไข้ปราศจากความทรมานให้มากที่สุด และทำให้มีความสุขและเสริมคุณภาพชีวิตคนไข้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 2 года назад +15

      บางกรณีแพทย์แจ้งว่าไม่มีโอกาสที่จะหายจากโรค หรือ ถ้าหายก็จะเป็นคนไข้ติดเตียงและอาจทำให้คุณภาพชีวิตไม่ดี หลายครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวคนไทย ญาติจะขอยื้อชีวิตคนไข้ จะทำอย่างไรก็ได้ แต่พอทำไปจริงๆคนไข้เป็นผู้ป่วยติดเตียงต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง เป็นภาระกับทุกคน รวมทั้งคนไข้ก็จะได้รับความทุกข์ทรมานไปเรื่อยๆ แล้วจะมาคุยกันว่าควรจะทำการุณยฆาต กรณีแบบนี้คุณหมอยิ่งไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาต เพราะเราได้ให้ข้อมูลกับญาติตั้งแต่แรกแล้ว แต่ญาติเลือกที่จะยื้อชีวิตไว้ จึงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ควรจะพิจารณาให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ และบางกรณี ญาติหลายๆท่านที่ไม่เคยเจอคนไข้มาก่อน พอมาดูแล้วรู้สึกผิดว่าไม่เคยทำอะไรให้คนไข้ เลยคิดว่าสิ่งที่ควรทำคือให้แพทย์รักษาให้เต็มที่ ซึ่งอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพชีวิตคนไข้เป็นหลัก ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นี่คือการทำบุญให้คนไข้ที่แท้จริง แล้วเราควรจะมองตรงนี้ไม่ใช่ยื้อชีวิตคนไข้ให้นานที่สุด
      การที่เราไม่ปั๊มหัวใจ ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ในกรณีนี้ก็จะไปตรงกับ Palliative / Hospice Care ไม่ได้เป็นการฆ่าคนไข้ ไม่ได้เป็นการการุณยฆาต แต่เป็นการปล่อยให้การตายเป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนไข้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจใน ICU แล้ว ถ้าเราปรึกษา Palliative / Hospice Care แล้วเราสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ เพื่อให้คนไข้ไม่ทรมาน แล้วจะมีวิธีในการถอดเครื่องช่วยหายใจให้คนไข้ไม่รู้สึกหายใจเหนื่อยเหมือนกับเราขาดอาการหายใจ เราจะมีการให้ยาให้คนไข้สงบ การทำแบบนี้ไม่ถือเป็นการการุณยฆาตทั้งๆที่อาจทำให้คนไข้เสียชีวิต แต่เป็นการทำให้คนไข้หมดความทรมาน และจากไปอย่างสงบสุขที่สุด
      ตอนที่6

  • @patpi8377
    @patpi8377 2 года назад +74

    ขอบพระคุณคุณหมอครับ ฟังคุณหมอแล้ว ทำให้ผมนึกถึง วันที่คุณพ่อคุณแม่ผมจากไป ผมได้อยู่ดูท่านจนลมหายใจสุดท้ายและ หัวใจเต้นเป็นครั้งสุดท้ายของท่านทั้งสอง ในห้อง icu ผมคิดว่า สิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน และ ชีวิตของผม อย่างที่ไม่มีอะไรมาเปรียบได้ ผมรู้สึกซาบซึ้ง ขอบคุณท่านที่ให้ผมได้เกิดมา และได้อยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข เมื่อท่านจากไปผมยกมือขอบคุณทุกท่านที่ได้พยายามช่วยท่านอย่างสุดความสามารถ การเกิดแก่เจ็บตาย เป็นสิ่งที่ปกติธรรมดาๆ แต่การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าให้ดีที่สุด ต่างหากครับคือสิ่งที่สำคัญ

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali 2 года назад +3

      🌷 ขอบคุณที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์นะคะ เห็นความรักและการพยายามดูแล รักษา
      คุณพ่อคุณแม่ของคุณแล้ว
      คิดว่าท่านทั้งสองมีความสุขกับสิ่งที่คุณทำให้แล้วค่ะ

  • @pavenajanron551
    @pavenajanron551 2 года назад +16

    ส่วนตัวเป็นสโตรค แต่ยังใช้ชีวิตปรกติมา10ปีเต็มแล้วแค่ปากเบี้ยวนิดนึงและเวลากินน้ำหรืออาหารมีไหลมุมปาก
    บ้างแต่พยายามกินให้ช้าๆเคยคุยกับหมอๆบอกเราอาจเป็นรอบสองเมื่อ
    ไหร่ก็ได้ตอนยี้อายุ58สิ่งที่คิดไว้คือไม่อยากเปนภาระใครๆ มีลูกชายคนเดียวและเค้าไม่ให้ความสำคัญกับเราๆก็คิดเอาไว้ว่าหากอัมพฤกช่วยเหลือตัวเองได้บ้างก็คงนอนที่โรงจอดรถใกล้ห้องน้ำนอกบ้าน(ชั้นใต้ถุน)กินอาหารวันละ1ครั้ง น้ำมากๆจ้างคนมาดูแค่วันละ1/2ช.มตอนนี้พยายามเก็บเงินซึ่งจริงๆก็เคยมีเกือบๆล้านแต่ช่วยลูกทำบ้าน+แต่งงานเลยเหลือไม่มาก อาศัยบ้านลูกอยู่ บ้านตัวเองมีแต่คนละภูมิภาค หากอัมพาตหรือต้องผ่าต้องเจาะเคยสั่งไว้ว่าไม่ทำขอไปธรรมชาติ หากรู้สึกตัวดีขอปฏิเสธอาหารหรือสารอาหารทุกอย่างไม่อยากให้ใครๆ
    ต้องลำบากกายลำบากใจ ทุกวันนี้มีสติดี ไม่กลัวความตาย ภาวนาเสมอว่าหากรอบสองก็ขอให้เป็นแบบหนักและเสียไปเลย ตอนนี้ใช้ชีวิตแบบอยากกินอะไรก็ไปกิน ขี่มอไซค์เที่ยวคนเดียว ต้องมีความสุขเสียตอนนี้ ทุกวันนี้ในใจทุกข์เพราะครอบครัว แต่พยายามไม่เปลี่ยนใคร แต่เปลี่ยนที่ตัวเราเองเราไม่ใช่เจ้าของใคร ทำให้ความทุกข์บบรรเทาลงได้

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 года назад +9

      หนูขอเป็นกำลังให้นะคะพี่
      คุณปู่หนูก็เส้นเลือดในสมองตีบเยอะมาก อายุ 91 ย่าง 92 แต่ยังไม่ติดเตียงและช่วยเหลือตนเองได้ตามสมควร ขอเป็นกำลังใจและอยากบอกพี่ว่าทุกอย่างอยู่ที่ใจของเรานะคะ การฝึกกายภาพทุกวัน วันละนิด และสม่ำเสมอช่วยได้เยอะมากๆเลยนะคะ
      ในเฟสบุ๊คและในยูทูปมีคลิปที่แพทย์แนะนำแนวทางในการฟื้นฟูด้านนี้อยู่พอสมควร ลองค่อยๆเลือกดูแนวที่ชอบและเหมาะสมกับอาการของเราและฝึกทำนะคะ
      เป็นกำลังใจให้พี่มากๆ อย่าลืมหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสชาติหวาน เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำนะคะ
      🙏🏻💕

    • @pavenajanron551
      @pavenajanron551 2 года назад +4

      @@kalyamonosathanond ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับกำลังใจดีๆ อยากให้ลูกพูดแบบนี้จัง

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 года назад +5

      @@pavenajanron551 ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ ทำใจสบายๆนะคะ พี่พูดถูกต้องเลยว่า เราต้องเปลี่ยนที่ตัวของเราเอง อันไหนเราทำแล้วสบายใจ ทำสิ่งนั้นเลยค่ะ อย่าเอาความสุขของเราไปผูกไว้กับใคร
      เป็นกำลังใจให้พี่เสมอค่ะ การฝึกดึงกล้ามเนื้อข้างที่เบี้ยว ก็สามารถช่วยได้นะคะ สู้ๆค่ะ 🙏🏻💕✌🏻

    • @user-ml5zl3bx7j
      @user-ml5zl3bx7j 2 года назад +1

      😊เคยฟังเทศนาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ "ยุติตน ยุติกรรม ยุติธรรม" ส่วนตัว...ใช้ธรรมเพื่อสร้างสติ 👍คุณน้าเป็นนักสู้ที่มีสติมากๆค่ะ💗😊

    • @plorawanplukjairath7490
      @plorawanplukjairath7490 2 года назад +1

      เป็นกำลังใจให้นะค่ะ สู้ๆค่ะตราบใดที่ยังมีลมหายใจต้องดำเนินชีวิตต่อไปค่ะ✌️✌️

  • @suwannapermsuktawee40
    @suwannapermsuktawee40 2 года назад +6

    เป็นอีกคนที่เลือกวิธีประคับประคองอาการ เพราะในวาระสุดท้ายของแม่ หมออธิบายว่าจะอยู่ด้วยเครื่องช่วยหายใจ/ยาฆ่าเชื้อ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เคยได้คุยกันกับแม่ ว่าถ้าถึงจุดนี้ เราจะไม่ยื้อ
    เพราะ “ทนดู” ไม่ได้ ไม่ใช่ “ดูแล” ไม่ได้ ยื้อไว้ ท่านก็สื่อสารกับเราไม่ได้ ให้ท่านค่อยๆหลับแบบไม่ทรมานดีกว่า ส่วนตัวก็สั่งไว้ว่าอย่ายื้อ ถ้าต้องอยู่เป็นภาระคนข้าวหล้ง รักกันในวันที่แข็งแรง อย่ามารักตอนป่วยหนักเลยค่ะ

  • @user-qs7cl1ek6b
    @user-qs7cl1ek6b 2 года назад +27

    ในไทยตอนนี้มี Palliative Care แล้วครับ และมีการกำหนด Service Plan สาขา Palliative Care ด้วย มีตัวชี้วัดของกระทรวงด้วย แต่... แต่ที่ยังขาดคือ "โครงสร้าง" ยังไม่มีโครงสร้างของบุคลากรในกระทรวง (ดังนั้นตอนนี้ในโรงพยาบาลของรัฐต่างๆ หลายแห่งจึงไม่มีหน่วยงานนี้..!!) ตอนนี้จึงไม่ค่อยมีคนทำงาน มีแต่คนนั้นเคยอบรม และอาจจะเจียดเวลาช่วยๆแวะมาดูให้ได้บ้างบางครั้ง (ยกเว้นบางโรงพยาบาลที่มีกลไกผลักดันเป็นการภายในเอง เช่น Staff เป็นหมอเด็กที่ได้ไปอบรม Palliative Care มาแล้ว และทางผู้บริหารเข้าใจ จึงให้ทำงาน Palliative Care ได้ full time แต่ชื่อยังคงอยู่กลุ่มงานเดิม คือกุมาร) แต่ก็ทำให้ในภาพรวมของประเทศไทย ยังมีความไม่ทั่วถึง ของ Palliative Care ส่วนหน่วยงานบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น "หน่วยงานแพทย์แผนไทย" อันนี้มีโครงสร้างชัดเจน จึงสามารถมีตำแหน่งบุคลากร มีขอบเขตงาน มีตารางการทำงาน มีความก้าวหน้า มีสายบังคับบัญชาได้
    ปัญหาอื่นๆเช่น บุคลากรทางการแพทย์อื่นๆส่วนใหญ่ยังเข้าใน Palliative Care น้อย บ้างเข้าใจว่าอันเดียวกับ "การุณยฆาต" อีกด้วยเลยไม่สนับสนุน เพราะเข้าใจว่าการให้ morphine บรรเทาเหนื่อยก็คือการุณยฆาต หรือเข้าใจไปว่า การที่ผู้ป่วยระยะท้ายขอยกเลิก "การยื้อด้วยท่ออันไม่เกิดประโยชน์" แล้ว Palliative Care ได้ช่วยยกเลิกท่อช่วยหายใจให้ตามเจตนารมณ์คนไข้ (แล้วให้การดูแลบรรเทาด้วยวิธีการอื่นแทน) แบบนี้ก็คือการุณยฆาต พอเข้าใจแบบนี้เลยไม่สนับสนุนก็มี หรือกลัวโดนฟ้องจาก California Daughter ก็มี (ผมว่า อ. Tany ได้มีหัวข้อพูดถึงในคลิปถัดไปแน่เลยครับ เรื่อง California Daughter 555)
    การแพทย์ของบ้านเราจึงเข้าใจ Palliative Care น้อยมาก แล้วเลยมีการผลักดันน้อยไปด้วย คนไทยส่วนใหญ่จึงยังเข้าถึง Palliative Care ได้น้อย และไม่เคยรู้ด้วยว่ามี จึงไม่เคยมา request ขอรับบริการนี้ (หลายคนทนปวดอยู่บ้านก็ยังมีตามต่างจังหวัด สวดมนต์กินยาต้มกินกัญชา หรือหลายคนไม่ทราบเรื่อง living will ว่าตนมีสิทธิทำไว้ล่วงหน้าได้แล้วนะ การรักษาตนเลือกได้ ไม่ใช่หมอเป็นใหญ่ หรือ Paternalism อีกแล้ว เหนื่อยก็มา รพ. ขอ oxygen และ opioid ได้ ไม่จำเป็นต้องมาแล้วกลัวหมอมัดมือใส่ท่อยื้อกะเครื่องอีกแล้ว) ดังนั้นจึงขอขอบพระคุณ อ. แทนนี่ มากๆครับ ที่ได้ช่วยให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนให้มากยิ่งๆขึ้น จะได้ทำให้ประชาชนตื่นตัวเรื่องนี้มากขึ้น และกล้าที่จะ request เรื่องนี้มากขึ้น ได้เข้าถึงมากขึ้น (และการที่ประชาชน request มากๆ นั่นก็จะผลักดันผู้บริหารอีกทีนึงได้เหมือนกันครับ) ขอบคุณมากๆครับ

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 года назад +4

      เห็นด้วยค่ะ
      คนไข้และญาติคนไข้หลายคนไม่ทราบ ไม่กล้าร้องขอ และบุคลากรบางท่านยังเข้าใจเรื่องนี้ผิด เป็นสิ่งหนึ่งที่เจอมากับตัวเช่นกันค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +8

      ทั้งที่จริงๆมันเข้าใจง่ายมากๆ พอมีคนคิดเยอะมันก็เลยเข้าใจยากขึ้นมาเฉยๆเลยครับ แปลกดีเหมือนกัน

    • @kalyamonosathanond
      @kalyamonosathanond 2 года назад +1

      @@DrTany บางครั้งแค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยนเลยค่ะ (เอฟเฟคดีดนิ้ว)

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง 2 года назад +2

      ขอบคุณสำหรับการแชร์ข้อมูลนะคะ🙏..กระบวนการเข้าถึงระบบนี้ค่อนข้างเยอะอยู่นะคะเท่าที่ได้อ่าน -ทั้งต้องลงทะเบียนขอรับบริการ /การแจ้งว่าประคับประคองระยะสุดท้ายด้วยโรคใด /การทำ Advance care plan /ลงเยี่ยมบ้าน/วิเคราะห์การให้ยากลุ่มเฉพาะโรค(ระยะสุดท้ายบางโรคต้องใช้ฝิ่น)/การให้อ๊อกซิเจน /การดูแลแผลต่างๆ อีกจิปาถะเลยยังไม่รวมบุคลากรผู้มีความรู้เฉพาะทางด้านต่างๆ...ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาติดอยู่แค่นิดเดียวเองคะ คือ ค่าใช้จ่าย/บุคลากรผู้ดำเนินงาน..(สปสช.น่าจะไม่สามารถช่วยได้เต็ม100ให้กับทางรพ.ทำให้รพ.ยังไม่กล้าประชาสัมพันธ์ แค่เคสขออนุเคราะห์สังคมสงเคราะห์แต่ละวัน ทางรพ.ก็กุมขมับแล้วมั่งคะ😰😰)

    • @KarnTovara
      @KarnTovara 2 года назад +1

      สวัสดีค่า ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นนะคะ 😃
      โดยความคิดเห็นส่วนตัว..ผู้ป่วยที่รู้จักการรักษาด้วยวิธีนี้น่าจะยังมีไม่มากค่ะ แต่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญค่ะ
      เพราะการทำ Palliative Care ก็ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในการรักษา จึงอยู่ที่แพทย์เจ้าของเคสผู้ป่วยท่านนั้นเป็นสำคัญค่ะ จะแนะนำผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยอย่างไรค่ะ ให้รักษาด้วยวิธีไหนค่ะ เลือกใช้วิธี Palliative Care หรือไม่ค่ะ
      - และอาจไม่ต้องรอให้โรงพยาบาลเปิดเป็นแผนกก็ได้ค่ะ หากยังไม่พร้อม ความสำคัญอยู่ที่แพทย์เจ้าของเคส ก็สามารถทำได้เลยค่ะ และแพทย์ปัจจุบันส่วนใหญ่ก็ทำอยู่แล้วนะคะ เพราะไม่เพียงแต่รักษาที่ตัวโรค แพทย์รักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วยค่ะ (รักษาแบบองค์รวมค่ะ) 😃

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +11

    หลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีบริการด้านการดูแลแบบประคับประคอง 3 รูปแบบ ได้แก่
    1. การดูแลแบบประคับประคองโดยมี _โรงพยาบาล_ เป็นฐาน
    2. การดูแลแบบประคับประคองที่มี _ชุมชน_ เป็นฐาน
    3. รูปแบบของ _กลุ่มจิตอาสา_ สนับสนุนการดูแลแบบประคับประคอง
    โดยเฉพาะในระดับชุมชน เจ้าหน้าที่ที่ต้องลงพื้นที่ไปดูแลผู้ป่วยที่บ้าน อาจจะยังมีอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่บ้าง เช่น เรื่องยา อุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ เพื่อให้ผู้ป่วยระยะท้ายสามารถเข้าถึงยาระงับปวดอย่างต่อเนื่อง ต้องได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากโรงพยาบาลจังหวัด และกระทรวงสาธารณสุขต่อไปค่ะ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 2 года назад +1

      ขอบคุณค่ะ😊

    • @maneeann
      @maneeann 2 года назад +1

      ขอบคุณค่าพี่ทริป ♥️

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +2

      ยินดีจ้า... ไปอ่านมาเห็นว่าน่าสนใจเพราะหลายๆคนไม่ทราบว่า ประเทศไทยมีการดูแลแบบประคับประคองในระดับชุมชนมาสักระยะนึงแล้วค่ะ

  • @maneeann
    @maneeann 2 года назад +25

    การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย (Hospice care) หมายถึงการให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) แก่ผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิต โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดไว้อย่างเหมาะสม ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว ครอบคลุมช่วงระยะท้ายของชีวิต (Terminal phase) รวมถึงในช่วงเวลาระยะแรกภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (Bereavement phase)

  • @user-xt4ir5xq5z
    @user-xt4ir5xq5z 2 года назад +7

    สามีพี่เส้นเลือดในสมองแตก ไม่รู้สึกตัว หมอเรียกญาติทุกคนเข้าฟังและปรึกษาว่าจะให้ทำอย่างไรถ้าสามีพี่ตาย พี่บอกหมอเลยให้ปล่อยไม่ต้องช่วย ให้แค่ยากระตุ้นหัวใจพอ ไม่ต้องปั้มหัวใจ ทางบ้านสามีด่าพี่อย่างหนัก จนหมอต้องถามว่า ถ้าผู้ป่วยติดเตียงไม่รู้สึกตัวใครเป็นคนดูแล พี่บอกว่าพี่เอง หมอถามอีกว่าจดทะเบียนสมรสไหม พี่บอกจดคะ หมอสรุปเลยทำตามที่พี่บอกพี่มีสิทธิ์มากที่สุด ตอนนั้นลูกคนโตพี่เพิ่ง11ขวบ คนเล็ก5ขวบกว่าเอง พี่คิดแล้วคงทรมานทั้งสามีและพี่กับลูกๆ เมื่อ18ปีที่แล้วคะ
    ขอบคุณคุณหมอมากคะที่แนะนำ ทำให้พี่คิดว่าทำถูกแล้ว

    • @user-iu1vu9yr8b
      @user-iu1vu9yr8b 17 дней назад

      พี่ทำถูกต้องแล้ว สามีพี่ไม่รู้สึกตัวแล้วเค้าก็คงไม่อยากเป็นภาระใก้ภรรยาและลูกแน่นอน
      คนรอบข้างได้แต่พูด แต่ไม่ได้มาช่วยเหลือเรา...เราพ่อแม่ลูกย่อมเหลือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับครอบครัวเราเองอยู่แล้ว

  • @shirayukirin4140
    @shirayukirin4140 2 года назад +4

    ฟังจากน้ำเสียงหมอตอนเล่าเรื่องนี้ รับรู้ได้เลยว่าหมอใส่ใจกับความสุขของคนไข้และคนใกล้ชิดของคนไข้

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 2 года назад +7

    ขอบคุณมากค่ะ🙏🏻#หมอแทน
    อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย Palliative/Hospice Care
    การดูแลรักษาแบบประคับประคอง มุ่งเน้น ลดอาการที่ทรมานของคนไข้ ไม่ว่าเรื่องไหนร่างกาย จิตใจรวมไปถึงดูแลในแง่การสื่อสารระหว่างครอบครัวสร้างความเข้าใจ ดูแลรวมถึงครอบครัวคนไข้ด้วย ทำควบคู่ไปกับการรักษาปัจจุบันได้ เพิ่มคุณภาพ ปล่อยทุกอย่างให้เป็นตามธรรมชาติที่สุดไม่ได้ทำให้คนไข้เสียชีวิตเร็วขึ้น จะใช้การแพทย์ปัจจุบันเข้าเกี่ยวก็คือลดการทรมาน เป็นทางเลือกที่ดี ช่วงสุดท้ายของคนไข้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ลดความทุกข์ทรมานให้มากที่สุด ไม่ต้องยื้อชีวิตปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติที่สุดให้จากไปโดยสงบมีความสุขและมีศักดิ์ศรีของชีวิต
    ตอบโจทย์ กับความทรมาน ที่คนไข้มีถ้าท่านกังวลเพราะว่าท่านทรมาน ตัวเองเป็นภาระ กับครอบครัวหรือว่าท่านมีปัญหาอะไรก็แล้วแต่ ไม่จำเป็นต้องการุณยฆาต
    เป็นทางเลือกที่ดีช่วยท่านได้ Palliative careและHospice Care ถ้ามีที่โรงพยาลหลักทุกจังหวัดได้คงจะดีนะค่ะ

  • @paraneechalalert8932
    @paraneechalalert8932 2 года назад +3

    เรื่องนี้เคยได้ยินคุณหมอบางท่านพูดถึงเหมือนกันค่ะ แต่ไม่ได้บอกว่ามีศัพท์เฉพาะทาง ช่วงที่แม่แฟนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แฟนก็พยายามทุกทางให้แม่เค้าหาย พอเราไปพูดเรื่องนี้ให้พี่สาวแฟนฟัง เค้าหาว่าเราไปแช่งแม่เค้า พอมาถึงแม่ของเราป่วยจนพยาบาลโทรมาถามว่าจะใส่ออกซิเจนมั้ยถ้าถึงเวลานั้น เราก็ปรึกษากับพี่ๆเรา แล้วก็พูดเรื่องนี้ด้วย พี่ๆเราเค้าก็เข้าใจไปเซ็นยินยอมไม่ใส่ท่อหายใจ สักพักท่านก็จากไปอย่างสงบ

  • @geegee2465
    @geegee2465 2 года назад +6

    🙏 ขอความเมตตาทุกๆคนที่เห็นคลิปนี้ ช่วยแชร์ให้เยอะที่สุด ให้ประชาชนทุกคน ได้เข้าใจ และร้องขอให้ทุกๆโรงพยาบาลทั่วประเทศ เห็นความสำคัญในการเปิด Unit ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยการดูแลรักษาแบบPalliative careและ Hospi care นะคะ
    เป็นการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ด้วยปลายนิ้วกดแชร์เท่านั้น เพื่อมีโอกาสช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้าย ให้พ้นทุกข์ มีคุณภาพชีวิตทีดี และมีความสุขก่อนจากโลกนี้ไปนะคะ 💐🎻🧚‍♂️🌈

  • @boonning2615
    @boonning2615 2 года назад +7

    ถ้าเลือกไดั ผมขอจากไปอย่างมี สติ มีสัมปชัญญะ สมบูรณ์ครบถ้วน และมีโอกาสไดัตั้งจิตอธิษฐาน ขออโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวร

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +9

    ในประเทศไทยมีการดูแลแบบ Palliative Care แล้วนะคะ ในหลายๆโรงพยาบาลในหลายๆจังหวัดทั่วประเทศไทยค่ะ ท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่ามี เนื่องจากยังไม่คุ้นเคย ซึ่งท่านต้องลองสอบถามรายละเอียดที่โรงพยาบาลในจังหวัดของท่านค่ะ เช่น ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เรียกว่า ศูนย์ชีวาภิบาล Cheewabhibaln Palliative Care Center และยังมีอีกหลายๆโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย เช่น
    - โรงพยาบาลแพร่ ศูนย์ประคองรักษ์
    - โรงพยาบาลเลิดสิน ศูนย์ชีวารักษ์ Palliative Care
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านท่าข้าม
    - โรงพยาบาลสุรินทร์ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
    - โรงพยาบาลสระบุรี ICU อายุรกรรม
    - โรงพยาบาลสนม ทีมสุขภาพดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
    - โรงพยาบาลสงฆ์ หน่วยอภิบาลคุณภาพชีวิต
    - โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สาขารังสีและมะเร็งวิทยา
    - โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลาฯ หน่วยชีวันตาภิบาล
    - โรงพยาบาลศิริราช ศูนย์บริรักษ์
    - โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์การุณรักษ์
    - โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์รามาธิบดีอภิบาล
    - โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณ์ธัญบุรี
    - โรงพยาบาลพุทธชินราช ศูนย์พุทธรักษ์
    - โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ศูนย์เวชจริยศาสตร์
    - โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ทีมประคับประคอง
    - โรงพยาบาลนครพิงค์ ส่วนงานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
    - โรงพยาบาลนครปฐม งานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
    - โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ธรรมศาสตร์ธรรมรักษ์
    - โรงพยาบาลชัยภูมิ ศูนย์การดูแลแบบประคับประคอง
    - โรงพยาบาลตำรวจ หน่วยการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
    - โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย สกลนคร
    - โรงพยาบาลราชฑัณฑ์
    และยังมีหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ใช่ โรงพยาบาลอีกมากมายค่ะ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 2 года назад

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ😊

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 года назад +1

      ขอบคุณมากค่ะ🌹🌹💚💜

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +1

      @@thisisnathathai ยินดีจ้า น้องวรรณ...

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 2 года назад +7

    ฮอสพิซ (Hospice) เป็นคำเรียกสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยมีสถานที่ที่ให้บริการในความหมายแบบฮอสพิซหลากหลาย เช่น วัดพระบาทน้ำพุ จังหวัดลพบุรี ให้การดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์มาเป็นเวลานาน อโรคยศาล วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร เป็นสถานที่พักฟื้นและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อตั้งฮอสพิซในชื่อ ศูนย์ธรรมศาสตร์ ธรรมรักษ์ และมหาวิทยาลัยมหิดล โดยโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังดำเนินการจัดสร้างฮอสพิซแถบชานเมืองกรุงเทพ
    Hospice care หมายถึง การให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) แก่ผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิต โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดไว้อย่างเหมาะสม ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว ครอบคลุมช่วงระยะท้ายของชีวิต (Terminal phase) รวมถึงในช่วงเวลาระยะแรกภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (Bereavement phase) ส่วน Hospice นิยามว่าเป็น “สถานบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย”
    🌷🌷28ส.ค.2565🌷🌷

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +1

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะพี่หมวย... มีหลายที่เลยนะคะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 2 года назад +1

      @@FragranzaTrippa ค่ะ น้องทริป

  • @maneeann
    @maneeann 2 года назад +23

    ☑️ ข้อดีของ Pallitive Care
    🔹ไม่เจ็บปวดทรมานจากการรักษา เช่น การทำคีโม การเจาะคอช่วยหายใจ หรือการยื้อชีวิต
    🔹ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการรักษาเพื่อให้หายขาด ซึ่งในกรณีนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดอยู่แล้ว และค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่ตายที่โรงพยาบาลสูงกว่าตายที่อื่น รวมทั้งตายที่บ้าน
    🔹Palliative care ไม่ได้มองแค่การดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ดูแลรักษาครอบครัวของผู้ป่วยในช่วงของความโศกเศร้าหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วยด้วย เพราะการที่ได้ทำตามความต้องการของผู้ป่วยก่อนเสียชีวิต ทำให้ครอบครัวไม่รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ให้ดี

  • @KarnTovara
    @KarnTovara 2 года назад +11

    ขอบคุณค่าคุณหมอ 🙂
    มีความเห็นด้วยกับคุณหมอค่ะ คือไม่เห็นด้วยกับการทำการุณยฆาตค่ะ
    - ปัจจุบันการดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) และ Hospice care ของประเทศไทยก็พัฒนาไปมากค่ะ
    - โรงพยาบาลในกทม. และต่างจังหวัดหลายจังหวัด เปิดเป็นแผนกเฉพาะ มีบุคลากรทางการแพทย์ดูแลทางด้านนี้เฉพาะทาง มีวิธีการดูแลผู้ป่วยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละโรค
    - กานต์คิดว่าน่าจะมีทุกจังหวัดค่ะ อาจมีขนาดใหญ่เล็กต่างกันเท่านั้นเอง บางแห่งเปิดเป็นศูนย์แยกเฉพาะ บางแห่งอาจเปิดเป็นแผนก ทั้งนี้น่าจะขึ้นกับความพร้อมของบุคลากร สถานที่ และจำนวนผู้ป่วยเป็นสำคัญค่ะ
    - อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อาจไม่เปิดเป็นแผนกเฉพาะ แต่แพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละท่านก็น่าจะให้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) ได้ค่ะ
    - แทนที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่หมดหวังในการรักษา จบชีวิตโดยเร็ว เราน่าจะช่วยให้เขาสามารถอยู่กับความเจ็บป่วยได้โดยไม่ทุกข์ใจ หรือทุกข์ใจให้น้อยที่สุดค่ะ 🙏
    *ชีวิตนั้นมีคุณค่า ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่ค่ะ* ♥️🙇‍♀️
    *หมายเหตุ* ขอยกตัวอย่าง จ.พิษณุโลกค่ะ แต่ละจังหวัดก็น่าจะมีงานดูแลผู้ป่วยในลักษณะนี้เช่นกันค่ะ
    - จ.พิษณุโลก มีศูนย์เฉพาะ ชื่อ "ศูนย์พุทธรักษ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก (Palliative Care)"
    - คลินิกเบาใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช (ACP Clinic : AdvanceCarePlanClinic)
    คลินิกเบาใจคือพื้นที่บริการให้ผู้ป่วยและญาติได้เข้ามาปรึกษา หรือพูดคุยเกี่ยวกับการวางแผนสุขภาพล่วงหน้า มีลักษณะการทำงาน 2 แบบคือ
    1.การทำงานเชิงรับ จะเป็นการรับเคสโดยตรงจากแพทย์
    2.งานเชิงรุก คือการออกปฏิบัติงานร่วมกับรพ.สต. หรือโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยเข้าไปบรรยายให้ความรู้ในชุมชน
    [ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    Facebook: คลินิกเบาใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช ACP Clinic ]
    ขอบคุณค่ะ 🙇‍♀️

  • @mythaichannel9082
    @mythaichannel9082 2 года назад +2

    คลิปนี้ เป็นคลิปที่พี่ตั้งใจฟัง ถึงสองรอบเลย ที่ผ่านมา พี่ได้มีโอกาสได้ ดูแลคนป่วย hospice ตอนแรกพี่กลัวมาก เพราะคำว่า hospice ( ซึ่งเรารู้ว่า เป็นการดูแล ขั้นสุดท้ายของชีวิต ของคนคนนั้น ) เป็นอะไรที่ อื่มมมมม พูดไม่ถูกอ่ะ ทั้งกลัว ทั้งสงสาร เห็นใจทั้งคนไข้เอง และญาติๆ คือมันหนักอึ้งเลยทีเดียว ( ในความรู้สึกพี่ )

  • @judythelupie5893
    @judythelupie5893 2 года назад +9

    พึ่งผ่านประสบการณ์กับการใช้บริการของ hospice กับคุณพ่อค่ะที่มลรัฐเทกซัสค่ะ เห็นด้วยกับคุณหมอทุกอย่างค่ะ ทางหน่วยงานของ hospice ดูแลท่านดีมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของท่าน

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +6

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @geegee2465
    @geegee2465 2 года назад +3

    🙏ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่ทำคลิปนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจ จากการพูดและแววตาที่แสดงออก เพื่อสื่อสารให้ทุกๆคนที่เข้ามาฟังคลิปนี้ได้เข้าใจ อย่างท่องแท้อีกครั้งว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในโรคที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ และโรคเรื้อรังที่ทรมานจากการดำเนินของโรค สามารถดูแลรักษาแบบ Pilliative care และ Hospi care ได้ โดยการรักษาแบบประคบประคอง ให้ทุกอย่างดำเนินไปตามธรรมชาติ โดยใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เข้าช่วยคนไข้ เพื่อลดความทุกข์ทรมานจากการดำเนินของโรค และอาการข้างเคียงจากการรักษา โดยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบุคลากรทางการแพทย์ สหสาขาวิชาชีพ ช่วยดูแลแบบองค์รวม ทั้งทางร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และดูแลไปถึงครอบครัวผู้ป่วยด้วย อาจารย์พูดได้ ชัดเจน และลงลึกพอที่ประชาชนจะเข้าใจและเห็นประโยชน์ในการที่จะใช้การรักษาแบบ palliative careและ Hospi care เมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
    ในประเทศไทยเราเริ่มมีตามโรงพยาบาลใหญ่ๆแต่ยังไม่เปิดกว้าง ให้คนไข้ทั่วไปรับรู้และเข้าใจ แม้กระทั่งบุคลากรเอง ก็ยังมีน้อยที่ผ่านการอบรม และเข้าใจอย่างลึกซึ้งพอที่จะทำได้ดีเหมือนที่อาจารย์ บรรยายให้ฟัง
    อยากให้มีการอบรมและการรณรงค์ในเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติด้วยซ้ำเพราะเราก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และ กำลังเดินไปสู่วาระสุดท้ายของชีวิตทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    โดยส่วนตัวได้ใช้ การดูแลรักษาแบบ Palliative care และ Hospi care กับคุณพ่อเมื่อปี 46 ซึ่งตอนนั้น คุณพ่อป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย และยังไม่มี Palliative care และ Hospi care ในประเทศไทยเลยและต่างประเทศพอมีอยู่บ้าง
    แต่ด้วยความเมตตาของอาจารย์หมอเจ้าของไข้ ได้นัดคุยกับลูกๆทุกคน วางแผนการรักษาแบบประคบประคอง ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และคุณพ่อก็จากเราไปอย่าง สงบไม่เจ็บปวดไม่ทรมาน ภายในระยะเวลา 5 เดือน ทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งกลุ่มยังอยู่ในใจและความทรงจำของครอบครัวเรา และยังติดต่อส่งความเคารพระลึกถึงกัน จนทุกวันนี้
    💐🌺🙏กราบขอบพระคุณในความมีจิตใจอันงดงามของอาจารย์ ผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ จากประสบการณ์ตรงที่อาจารย์ ได้ดูแลคนไข้ในICUมา และรู้ว่านี่แหละคือหนทางที่ดีที่สุดของคนไข้ระยะสุดท้ายที่จะจากโลกนี้ไปอย่างไม่ทรมานและมีความสุข ผลบุญนี้จะตอบสนองให้อาจารย์ ประสบความสำเร็จในทุกๆเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่างแน่นอน
    🎻🎹💐ทำดีต่อไปนะคะอาจารย์ ถึงนานๆเข้ามาเม้นที ก็ส่งกำลังใจฝากมาให้อาจารย์ตลอดเลยค่ะ🤜🤛🌺🌸😍🎻💃

  • @AvecBella
    @AvecBella 2 года назад +7

    Palliative Care vs. Hospice Care. I looked it up to read more on it. In a nutshell, Hospice care is Palliative, but not all Palliative care is Hospice. Similar but different.
    Palliative Care is comfort care often alongside curative treatment; can be used at ANY stage of illness-not just the advanced stages.
    Hospice care is comfort care WITHOUT curative intent-because the side effects outweigh the benefits. The focus is on the time patient has remaining (usually 6 months or less).
    Both Palliative care and Hospice care use a Team approach to focus on Quality of Life or “Comfort Care.” Types of service include medication and nutrition changes; social, emotional, spiritual, mental, financial, and physical support; also support for children and family caregivers. In addition, including in Hospice care is Bereavement services-an ongoing support to family members and friends for at least a period of ONE year. Very inclusive.
    Thank you for bringing this topic to light ka Doctor Tany.
    🌱🌼🌱

  • @patcharapaduangsri2421
    @patcharapaduangsri2421 2 года назад +3

    ชอบประโยคสุดท้ายมากค่ะ จากไปด้วยความสงบ มีความสุข และมีศักดิ์ศรีของชีวิต 😊 สุดท้ายแล้วชีวิตคนเราก็ต้องการแค่นี้👍

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +7

    อาจารย์คะ ดิฉันไปอ่านเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบ Palliative Care ของแผนกนรีเวชศาสตร์ โรงพยาบาลแพร่ ในส่วนของ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ เขาระบุไว้คล้ายๆกับที่อาจารย์พูดเลยค่ะว่า สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจะดำเนินการ ดังนี้
    1. กินที่อยากกิน และพอกินได้
    2. ไม่จำกัดว่าต้องมีประโยชน์ อยากกินอะไรได้เลย
    3. ถ้ากินไม่ค่อยได้/ได้น้อย : เน้น High protein /High energy

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 2 года назад

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณสำหรับทุกๆข้อมูลนะคะ⚘💙⚘

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +1

      @@boomsong5729 ยินดีค่า...

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +6

    อาจารย์คะ เมื่อคืนลองสอบถามรุ่นน้องคนนึงเป็นพยาบาลที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด เกี่ยวกับ Palliative Care ว่า ทำมานานแค่ไหนแล้ว เขาบอกว่าปกติทำควบคู่กับการรักษามาโดยตลอดค่ะ และมาเริ่มตั้งเป็นศูนย์ด้านนี้โดยตรงเมื่อปี 2016 ค่ะ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ มีการอบรม สัมมนามาเรื่อยๆ และมีผู้ใช้บริการอยู่ค่ะ เป้าหมายของหน่วยงานก็จะคล้ายกับที่อาจารย์พูดในคลิปค่ะ คือให้ผู้ป่วยได้มีชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุข และจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐดีค่ะ แต่อาจจะมีความล่าช้าบ้างในบางเรื่อง และยังขาดแคลนบุคลากรอยู่พอสมควรค่ะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 2 года назад +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    การดูแลแบบประคับประคอง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี คุณหมอยังยึดมั่นในจริยธรรม และเข้าใจสัจธรรมของชืวิต ให้โอกาสคนไข้.มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานก่อนเสียชืวิต เป็นการจากไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่การยื้อชีวิต
    เวลาคุณหมอพูดถึงคนไข้รับรู้ได้เลยค่ะ ว่าคุณหมอสะเทือนใจทุกครั้ง
    ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขนะคะ

  • @kalyamonosathanond
    @kalyamonosathanond 2 года назад +6

    สวัสดีช่วงเย็นค่ะ
    ดีใจที่คุณหมอพูดถึงหัวข้อนี้ ตอนคุณย่าเป็นมะเร็งตับระยะสุดท้าย ช่วงท้ายของท่าน ครอบครัวดูแลแบบ palliative care ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ (หลังจากที่เราสู้กันมาทุกวิธีการรักษาแล้ว)
    เมื่อถึงวันที่ก้อนมะเร็งที่ตับแตก คุณย่าทรมาน ภาพตอนนั้นบีบหัวใจของคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก หนูยังจำโมเม้นขึ้นรถฉุกเฉินไปกับท่าน และแพทย์ถามว่าจะยื้อหรือปั๊มหัวใจมั้ยได้อยู่จนถึงวันนี้
    การตัดสินใจของครอบครัว คือ เราไม่ยื้อ ไม่อะไรใดๆทั้งสิ้น เพียงแต่ให้แพทย์รักษาไปตามอาการ ให้ท่านเจ็บปวดน้อยที่สุด (เท่าที่จะทำได้) ซึ่งแพทย์ผู้ทำการรักษาก็เห็นด้วยและเป็นผู้แนะนำไม่ให้เราปั๋มหรือทำให้ท่านต้องอยู่แบบทรมาน
    คุณย่านอนแบบไม่รู้สึกตัวอยู่เกือบสองสัปดาห์หลังจากก้อนมะเร็งแตก (ตอนแรกคุณหมอคาดว่าไม่น่าเกิน 3 วัน)
    เป็นช่วงที่บีบหัวใจจริงๆค่ะ 🤍

    • @maneeann
      @maneeann 2 года назад +1

      ขอบคุณที่แชร์ประสบการณ์ค่ะน้องโอ 😊

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 2 года назад +6

    ตอนที่ยังไม่ได้ดูแลคนไข้ก็คิดว่าจะทำได้ เพราะคิดในแง่ผูกพันอย่างเดียว แต่ถึงเวลาที่ต้องดูแลคนไข้จริง โดยเฉพาะระยะเวลาที่ยาวนานความเหนื่อย ความเครียด ความอดทนก็เริ่มลดลง ก็ทุกข์ทรมานทั้งคนไข้และผู้ดูแล ถ้าเลือกตัดสินใจตั้งแต่แรกได้ก็ดีนะคะ#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @maneeann
    @maneeann 2 года назад +17

    📍การเริ่มรักษาแบบ Palliative care
    🔅ต้องพูดคุยกันทั้งผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ร่วมกันตัดสินใจ
    🔅สิ่งนี้ไม่ใช่การยอมแพ้ แต่เป็นการให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ
    🔅เน้นที่การรักษาให้ไม่มีอาการทรมานจากการรักษาและการยื้อชีวิต ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว

  • @chaveewansaing8688
    @chaveewansaing8688 2 года назад +1

    โชคดีมากที่ได้ฟังคลิปดีๆของคุณหมอค่ะ ป้าอายุ 70 แล้วอยู่ที่อเมริกากับลูกๆ ไม่อยากเป็นภาระของลูก ติดตามคุณหมอตลอดค่ะ ขอให้คุณหมอมีแต่ความสุข ความเจริญยิ่งขึ้นไปนะคะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +5

    การดูแลแบบประคับประคองคืออะไร
    การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกำจัดตัวโรค การดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ
    การดูแลแบบประคับประคอง ไม่ใช่เพียงแค่การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
    หากแต่เป็นการแนวทางการดูแลในภาพกว้าง ตั้งแต่เริ่มเผชิญภาวะความเจ็บป่วยที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ครอบคลุมจนถึงการดูแลในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เป็นการดูแลแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นตราบจนวาระสุดท้าย

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 2 года назад +3

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอ ตาคิดว่าเกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์คะ ตอนพ่อเสียปลายปี62 กระทันหันมากคะ เพราะพ่อป่วย ตอนพ่อออกจาก รพ.ก็ดูแข็งแรงขึ้นกินข้าวได้ปกติแต่ไม่กี่วันเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำหมดสติและติดเชื้อในกระแสเลือดเสียชีวิตทันทีคะ ตอนแรกก็เสียใจร้องไห้หลังจากนั้นก็ทำใจได้คะว่าพ่อไปสบายแล้วคะ คนที่ยังมีขีวิตก็ต้องอยู่ต่อไปคะ.😊👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุขและสุขภาพแข็งแรงนะคะ

  • @sangthailofthouse2511
    @sangthailofthouse2511 2 года назад +3

    ฟังแล้วหดหู่ค่ะ...ออกไปหาของอร่อยกินก่อนนะคะ...ขอบคุณ คุณหมอที่มาบอกกล่าว...

  • @user-ji4sh1kf3r
    @user-ji4sh1kf3r 2 года назад +3

    ประโยคนี้ฟังแล้วแตะหัวใจ."ศูนย์ที่ดูแลผู้ป่วยให้ถึงวาระสุดท้ายอย่างเป็นธรรมชาติ"👍👍

  • @user-vf3wp1sn9x
    @user-vf3wp1sn9x 2 года назад +1

    แม่ของหนูในตอนนี้เป็นหลายโรคค่ะคุณหมอ ทั้งไตความดันหัวใจ และสุดท้ายคือมะเร็ง ฟอกไตอาทิตย์ละ3ครั้ง ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ตัดสินใจไม่คีโม เพราะคีโมไปครั้งแรกไม่มีแรงเลยค่ะ ตอนนี้แม่ของหนูทรมานมากๆ เป็นก้อนเต็มตัวไปตามต่อมน้ำเหลือง แม่บอกกับหนูว่าถ้านอนแล้วตุยเลยคงจะดี มันทรมานมากๆ ปวดหัวนอนทั้งวันเลยค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +4

      มันมียาประคับประคองอาการได้ครับ ลองถามหมอที่รักษาดู เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @yemkonhongha8148
    @yemkonhongha8148 Год назад +1

    Thai healthcare is the best in our ASEAN. Great loves from Cambodia ❤❤❤

  • @warongratratanawarang3057
    @warongratratanawarang3057 2 года назад +2

    ในทางพระถึงมีคำว่า " เกิด แก่ เจ็บ ตาย" สำคัญตรงก่อนตายนี่แหละค่ะ เจ็บป่วยหนัก ทรมานมากก่อนตาย คลิปนี้จึงโยงย้อนหลังไปคลิปของคุณหมอเรื่อง" กลั้นใจตาย" ซึ่งคุณหมอบอกเป็นไปไม่ได้ และอีกคลิปที่เกี่ยวโยงคือ " การนอนหลับไป แล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย" ใครที่มีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เจ็บป่วยหนักๆ ก่อนเสียชีวิต จะตระหนักกันอย่างดี 28 ส ค 65 15.30น.

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 2 года назад +2

    ขอบคุณนะคะคุณหมอ.
    แม่ศรี ได้สั่งเอาไว้เหมือนกันว่า ไม่ต้องทำ.ใส่อะไรทั้งนั้น ขอนอนหลับให้สบาย อ่ะคะ

  • @pornthepubolphoolpol6105
    @pornthepubolphoolpol6105 2 года назад +4

    ฟังคลิปที่แล้วไม่ค่อยเห็นด้วย แต่เมื่อฟังคลิปนี้ ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ดี จะติดตามผลงานต่อไป

  • @pattharawadeekoedlarp1302
    @pattharawadeekoedlarp1302 2 года назад +2

    อยากให้เมืองไทยมีแบบนี้บ้าง คนเราควรมีสิทธิที่จะเลือกจะอยู่หรือตาย ในกรณีที่เราหมดหวังในการรักษา หรือไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

    • @warisarabarnhart1835
      @warisarabarnhart1835 2 года назад +1

      อยากให้มีเหมือนกันค่ะ การบริการทางสาธารณสุขของไทยยังล้าหลังอยู่นิดนึง เราทำงาน Home health and hospice อยู่อเมริกา คือมันดีจริงๆ คนไข้เลือกที่จะรับการดูแลที่บ้าน หรือย้ายมาที่เนิสซิ่งโฮมก็ได้ ช่วยแบ่งเบาภาระญาติพี่น้องได้เยอะเลย

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +3

      เลือกได้อยู่แล้วครับที่ไทยก็มี แต่จะไม่ใช่การการุณยฆาต จะเป็นการให้ตายโดยธรรมชาติและหมอจะให้การรักษาเพื่อให้ไม่ทรมานครับ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 2 года назад +9

    😊🌼🍃 การดูแลให้สบาย (palliative care)
    🔺️ Dr. Balfour Mount เป็นผู้ตั้งคำว่า palliative care โดยมาจากรากศัพท์ภาษา
    ลาติน pallium ที่หมายถึงสิ่งปกคลุมหรือหุ้มห่อคนหรือสิ่งของ เพื่อให้ palliative care หมายถึง การดูแลรักษาที่สามารถปกคลุม (ปกป้อง) ผู้ป่วยจากอาการต่างๆของการเจ็บป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึก สุขสบายขึ้น.
    (ภาษาไทยจะใช้ว่า การดูแลแบบประคับประคอง)
    ที่มา : หมอชาวบ้าน
    ขอบคุณมากค่ะ
    🌹❤🌹

  • @user-is6go9mk5u
    @user-is6go9mk5u 5 месяцев назад +1

    ฟังทุกคลิปค่ะ ได้ความรู้มากมาย ขอบคุณนะคะ ปลื้มคุณหมอที่สุดค่ะ😅😊❤❤❤

  • @usappongchaisit2851
    @usappongchaisit2851 2 года назад +4

    ที่ รพ.จุฬาฯมี ค่ะ ชื่อ" เยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม"

    • @usappongchaisit2851
      @usappongchaisit2851 2 года назад

      ruclips.net/video/uQRLJRwfoEA/видео.html

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +2

      รพ.จุฬา ชื่อ ศูนย์ชีวาภิบาล Cheewabhibaln Palliative Care Center ค่ะ

  • @sutatiputtasart1075
    @sutatiputtasart1075 2 года назад +1

    อือ..ฟังแล้วดูน่ากลัวกับการที่จะต้องเผชิญกับสภาวะนี้ในชีวิตจริง..เศร้า!! เคยคิดเช่นนี้กับคนอื่น..และกับตัวเอง..
    แต่ยังไม่กล้าคิดอะไรมาก..เพราะเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นจริง..ขอมีกำลังใจสู้ชีวิตต่อไปรักษาสุขภาพตัวเองและดูแลคนรอบข้างให้ดี..ค่ะ..🐯🦝😁

  • @AL86898
    @AL86898 2 года назад +2

    ขอบคุณคุณหมอนะคะเข้าใจมากขึ้นและคงได้ใช้บริการสักวัน😊คนเราต้องเตรียมการไว้นะคะเพื่อบั้นปลายของชีวิตบนโลกใบนี้ ขอบคุณค่ะหัวใจหาย😊 ไปแต่ได้เห็นแล้ว ขอบคุณหมอแทนมากๆค่ะ🙏❤👍🥰🥰

  • @xxbleedingdeathxx7256
    @xxbleedingdeathxx7256 3 месяца назад +1

    ขอบคุณคำแนะนำดีๆของคุณหมอ ช่วยให้เห็นแนวคิดและนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายและญาติๆค่ะ

  • @Lek44888
    @Lek44888 2 года назад +2

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    อาจารย์มาให้ความรู้เรื่อง
    "ความดันโลหิตคืออะไร รักษาอย่างไร"
    🌳สิ่งที่ควรรู้เรื่องความดันโลหิตสูง
    🍀ความดันโลหิตที่ปกติคือต่ำกว่า 120/80 ถ้าเกิน 140/90 ขึ้นไป ต้องหาวิธีจัดการ อาจจะด้วยยา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ทานพวก ผัก ปลา ถั่ว ให้เยอะหน่อย และลดอาหารเค็ม
    🍀ความดันโลหิต ค่าที่จะมี 2 ค่า คือตัวบน กับตัวล่าง มีความสำคัญ ทั้งคู่ ตัวบนจะสูงกว่าตัวล่างเสมอ
    🍀ก่อนวัดความดันต้องพักให้เรียบร้อยก่อน จะวัดตอนเหนื่อยๆไม่ได้
    🍀วิธีวัดความดันที่ถูกต้อง นั่งแล้วนำแขนวางไว้บนที่รองแขนให้อยู่ระดับเดียวกับหัวใจ วัด 2-3 ครั้ง แล้วนำค่าที่ได้มาเฉลี่ยดู
    🍀ยาบางตัวทำให้ความดันสูงได้ เช่นยาคุมกำเนิด ยากลุ่มเอ็นเสด ยาลดความอ้วน เป็นต้น
    🍀ถ้าจำเป็นต้องรักษาด้วยยา จะต้องดูเหตุผลอย่างอื่น ว่าควรจะต้องใช้ยาตัวไหน เช่นคนมีปัญหา โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น
    🍀ถ้าคุมความดันไม่ได้ ปัญหาจะตามมาเยอะมาก เช่น เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตถาวร ไตวาย กล้ามเนื้อหัวใจตายเป็นต้น อาจเสียชีวิตได้
    🍀อาจมีโอกาสหยุดยาได้ ถ้าคุมน้ำหนักตัวเองได้ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ลดบุหรี่ พอหยุดยาไป จะมีการติดตามอยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องกัน ไม่ให้ความดันสูงกลับมาใหม่
    🍀ถ้ามีการหายใจขณะหลับต้องรักษาก่อน
    🍀ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ
    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🙏🏻

    • @kesineejamchanya5194
      @kesineejamchanya5194 2 года назад +1

      ละเอียดมากในการเก็บข้อมูล...ขอบคุณมาก

    • @Lek44888
      @Lek44888 2 года назад

      @@kesineejamchanya5194
      ยินดีค่ะ

  • @chittipornchuatram5703
    @chittipornchuatram5703 2 года назад +1

    ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยนช์มากๆ สิ่งสำคัญที่ดีที่สุด อยากให้คนตระหนักในเนื่องของการป้องกันดีที่สุดนะค่ะถ้าเราป่วยก็ทรมานทั้งสองฝ่ายทั้งคนดูแลและคนป่วย กว่าจะตายจากกันก็ต้องดูแลกันไปไม่ต่ำกว่า 6-7 บางเคส การที่เราไม่มีโรคดีที่สุดนะค่ะ ขอให้ทุกคนใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังแข้งแรงมีสุขภาพที่ดีทุกๆคนนะค่ะ
    Take care naka
    🤗😘❤

  • @pavineethanakul3141
    @pavineethanakul3141 Год назад

    ดิฉันก้ทำงาน ที่hospice 3ปีค่ะ. เห้นคนตายเกือบทุกวัน จนชิน ตอนนี้ไม่ทำแล้วค่ะ. มันหดหู่ ใจ เราดุแลเขาอย่างดี และเห้นพวกเขานอนหลับสบายดี และก้จากไปก่อนเขาจะไปเห้นอาการทุกอย่าง รุ้สึกเศร้า มาก

  • @zizah..
    @zizah.. 2 года назад +3

    อาจารย์ขา ถ้าพอมีเวลา อยากขอให้อาจารย์เล่า เคส แบบนี้ ให้ฟังอีก ค่ะ
    ฟังไว้เป็นบทเรียนค่ะ
    ขอบพระคุณค่ะ
    ขอให้อาจารย์เป็นสุขในทุกๆวันนะคะ
    🌻🌻🌻🌻🌻🌻

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 2 года назад +10

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ หัวข้อวันนี้ เรื่อง _อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย Palliative /Hospice Care_
    เป็นหัวข้อที่อาจจะสะเทือนใจหลายๆท่าน เพราะหลายท่านอาจจะเห็นด้วยกับการ การุณยฆาต คือ การฆ่าอย่างกรุณาเพื่อให้ผู้ป่วยตายอย่างไม่ทรมาน เพื่อตัดปัญหา เพื่อให้หมดภาระในการดูแล ท่านอาจจะตัดสินใจเลือกแล้วและคิดว่า นี่คือวิธีที่ดีที่สุด แต่ขอให้ทุกท่านโปรดรับฟังการบรรยายวันนี้ก่อน อาจารย์มาแนะนำทางออกอีกทางหนึ่งซึ่งท่านอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า มันสามารถทำได้จริง ต้องทำอะไร ต้องทำอย่างไร ค่อยๆเปิดใจรับฟัง อาจารย์เชื่อมั่นในวิธีการนี้เพราะอาจารย์ใช้วิธีดังกล่าวมาโดยตลอด ไม่ว่าผู้ป่วยจะทรมานแค่ไหน แต่ที่ผ่านมาได้รับผลสำเร็จทุกรายค่ะ...

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 2 года назад +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    คิดว่าPalliative/Hospice Care นั้น นอกจากบรรเทาความทรมานได้แล้ว ผลกระทบ"จิตใต้สำนึก" ของผู้ที่เกี่ยวข้องมีน้อยกว่าวิธี
    Euthanasiaแน่นอนค่ะ อ่อ ชอบประโยคสุดท้ายของคุณหมอค่ะ👍ขอบคุณและเป็นกำลังใจในการให้ความรู้เพื่อความเข้าใจค่ะ 🍵

  • @pitcha2519
    @pitcha2519 2 года назад +3

    สวัสดีค่าอาจารย์❤️😻และถ้าเป็นตัวนู๋ นู๋เลือกวิธีนี้ให้ตัวเอง..มันไม่ได้การฆ่าตัวตาย…แต่มันเป็นเตรียมตายอยากมีความสุข❤️😻🥹เพราะเรามีโอกาสได้เตรียมตัว….อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ….เพราะมันคือตัวเรา…และเป็นสิ่งที่เราเลือกเอง😻🥹

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai 2 года назад +6

    ขอบคุณอาจารย์หมออย่างยิ่งค่ะ🙏 ที่ให้ความรู้ความเข้าใจสำหรับแนวทางการดูแลคนป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อลดการทรมาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนป่วยค่ะ
    (ส่วนที่ 1)
    🌟อยู่ไปก็ทรมานรักษาก็ไม่หายแก้ไขด้วย Palliative/Hospice Care
    ลดการทรมาน และเพิ่มคุณภาพชีวิต ให้กับผู้ป่วยและญาติ ด้วยวิธีที่เรียกว่า Palliative/Hospice Care
    Palliative Care จะมุ่งเน้นไปในแง่ลดอาการที่ทรมานของคนไข้ไม่ว่าอาการนั้นจะเป็นเรื่องไหนก็แล้วแต่ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงดูแลในแง่ของการสื่อสารระหว่างครอบครัว การสร้างความเข้าใจให้เข้าใจกันและกัน และดูแลครอบครัวคนไข้ด้วย ไม่ใช่ดูแลเฉพาะคนไข้ รวมทั้งจะมีความคาบเกี่ยวกับ Hospice ชึ่ง Hospice เป็นการดูแลในระยะสุดท้ายของผู้ป่วย ซึ่งการรักษานั้นอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี และให้ความทรมานมากกว่ากับคนไข้ ก็เลยมุ่งเน้นไปที่การดูแลอาการเป็นหลัก
    Palliative Care ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต และก็ไม่จำเป็นว่าโรคที่ท่านกำลังเป็นอยู่นี้จะเป็นโรคที่นำไปสู่ความตายเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น
    ▶️บางคนเคยเกิดอุบัติเหตุ มีอาการกระดูกหัก และหลังจากนั้นก็มีการปวดเรื้อรังมาเป็นสิบปีแล้วไม่หาย กรณีนี้ไม่ตายแต่ Palliative Care ก็สามารถช่วยท่านได้เช่นกัน
    ▶️หรือบางคนเป็นมะเร็งแรกๆ ที่ไม่แน่ใจว่าจะอาการกำเริบรุนแรงไปในอนาคตแล้วเกิดการเสียชีวิตได้หรือเปล่า ก็สามารถปรึกษา Palliative Care ก็ได้
    ▶️หรือคนที่มีโรคหัวใจ หัวใจวายเรื้อรังแล้วจำเป็นจะต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ด้วยน้ำอาการน้ำท่วมปอดเรื่อยๆ กลุ่มนี้ก็สามารถปรึกษา Palliative Care ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนไข้ที่กำลังจะเสียชีวิตเท่านั้น
    ที่อเมริกาจะมีการส่งคนไข้เหล่านี้ปรึกษา Palliative Care เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่ามีงานวิจัยชี้ชัดไว้แล้วว่าคนเหล่านี้ ถ้าได้ปรึกษาตั้งแต่แรกๆ โอกาสที่เค้าจะมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าคนที่รักษาด้วยวิธีปกติได้เยอะกว่าด้วยซ้ำไป และคุณภาพชีวิตก็จะดีกว่า
    เวลาปรึกษา Palliative Care เราจะต้องทราบอะไรบ้าง❓
    Palliative Care สามารถที่จะทำควบคู่ไปกับ การรักษาในปัจจุบันได้
    Palliative Care จะประกอบไปด้วยหลายๆบุคลากร เช่นมีแพทย์ทางด้านนี้โดยเฉพาะ มีพยาบาล มีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักโภชนาการ และยังมีอื่นๆอีกมากมาย แล้วแต่ว่าโรงพยาบาลนั้นจะมีองค์ประกอบในบุคลากรทางด้านใดบ้าง และเวลาที่มาประเมินคนไข้ จะประเมินหลายๆอย่างเช่น
    ⏩ความเข้าใจต่อโรคของคนไข้ จะมีการสื่อสารระหว่างคนไข้ และแพทย์ที่รักษา จะดูว่ามีอาการอะไรของคนไข้ ที่เป็นส่วนที่ทำให้ทรมาน เช่นอาการซึมเศร้า ปัญหาทางด้านครอบครัว ปัญหาทางด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงปัญหาในแง่ของเจ็บปวดทรมาน อาการคลื่นไส้อาเจียน พวกนี้เป็นต้น บางคนก็มีอาการเสมหะเยอะมากจนกระทั่งหายใจไม่ได้ กลุ่มนี้ก็มีวิธีในการดูแล ดูแลในแง่ของการรักษาเพื่อที่จะลดความทรมานให้มากที่สุด
    ⏩ นอกเหนือจากนี้เรามีการคุยกับคนไข้และญาติๆในครอบครัวด้วย เช่นถ้ากลุ่มไหนที่มีความเชื่อทางศาสนาทางใดทางหนึ่ง ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนานั้นๆ หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ แต่ต้องการที่จะคุย ก็จัดให้ได้ ซึ่งจะมีกรณีนี้ให้เหมือนกัน นอกเหนือจากจะดูแลทางด้านร่างกาย ยังจะดูแลทางด้านจิตใจของคนไข้ว่าเป็นห่วงเรื่องอะไรบ้างรวมทั้งดูแลด้านจิตวิญญาณให้ด้วยและไม่ใช่ดูแลเฉพาะคนไข้ เราดูแลไปจนถึงครอบครัวซึ่งเป็นองค์รวมมากๆ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 2 года назад +5

      (ส่วนที่ 2)
      นอกเหนือจากนี้ หากคนไข้มีอาการทรมานแล้วคาบเกี่ยวข้องกับในช่วงชีวิตสุดท้ายก็จะมีอันหนึ่งซึ่งเรียกว่า Hospice เป็นการทำคล้ายๆกับ Palliative Care แต่จะทำให้กับคนไข้ซึ่งทราบว่าคนไข้น่าจะเสียชีวิตในเวลา ไม่กี่วันจนถึงไม่กี่เดือน คนเหล่านี้เลือกที่จะไม่รักษาเพราะว่าการรักษานั้นอาจจะทำให้มีอาการทรมานมากขึ้น หรือรู้อยู่แล้วว่ารักษายังไงก็ไม่หายก็จะเลือกเป็น Hospice Care ก็จะเน้นไปที่การรักษาทั้งหมดที่ Palliative Care ทำ แต่จะมีการดูแลพิเศษในแง่ของการลดอาการเป็นหลัก คนไข้กลุ่มนี้ ถ้าทำการรักษาทางการแพทย์อาจจะได้ผลที่ดี แต่ว่ามีปัญหา เช่น คนไข้มะเร็งระยะสุดท้าย หรือมีติดเชื้อระยะสุดท้าย คนไข้พวกนี้จะไม่ค่อยหิว จะรับประทานอาหารไม่ค่อยได้ ทานไปแล้วอาจจะมีการสำลัก แล้วก็เกิดการติดเชื้อ ดังนั้นกลุ่มนี้ถ้าเป็นการแพทย์ทั่วไปก็จะแนะนำว่าไม่สมควรที่จะได้รับประทานอาหารโดยปาก แต่เมื่อเรารู้ยังไงโรคของคนไข้ก็จะไม่หายแล้วก็จะมีแต่ทรมานมากขึ้น สิ่งหนึ่งซึ่งคนไข้เหล่านี้บางคนต้องการก็คือการที่ได้รับประทานอาหารที่ตัวเองต้องการและชอบ แน่นอนว่าคนไข้หลายๆท่านคงต้องการทำอะไรตามใจตัวเองสักครั้งในชีวิตก่อนที่จะได้จากไป เช่นหากมีการสำลักขึ้นมา ก็ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะทราบอยู่แล้วว่ายังไงคนไข้ก็ต้องเสียชีวิต ก็ปล่อยให้คนไข้เป็นไปตามธรรมชาติ
      Palliative Care และ Hospice คือการปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปโดยธรรมชาติที่สุด ไม่ได้ไปทำให้คนไข้เสียชีวิตเร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่ใช้ การแพทย์แผนปัจจุบัน เข้ามาเกี่ยวข้องก็คือลดการทรมานซึ่งการตายโดยธรรมชาตินั้นจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้ในธรรมชาติ แต่ว่านี่คือเราใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ ช่วยเขา และช่วยในการดูแลในแง่ครอบครัวและทุกๆอย่างต่อเนื่องด้วย
      ⏹นอกเหนือจากนี้ยังมีในแง่ของการคุยเรื่องของพินัยกรรม เรื่องกฎหมายก็จะทำให้
      ⏹เรื่องของ Hospice Care ว่า ถ้าคนไข้เสียชีวิตไปแล้วจะมีการทำศพอย่างไร จะไปสวดที่ไหน ที่อเมริกาก็จะมี Belivevement service ของทาง Palliative Care และ Hospice ก็จะจัดให้
      ⏹หากคนไข้ต้องการไปเสียชีวิตที่บ้านก็สามารถทำแบบนั้นได้โดยการไปดูแลให้ถึงที่บ้าน
      ทั้งหมดนี้คือเป้าหมายของการทำ Palliative Care และ Hospice เพื่อให้ช่วงชีวิตสุดท้ายของคนไข้ปราศจากความทรมานให้มากที่สุด และที่สำคัญ คือให้ทุกๆอย่างมีความสุขและเสริมคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้คนไข้ได้
      ✅ควรมุ่งเน้นที่คุณภาพชีวิตของคนไข้เป็นหลัก ถ้าเราทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นคือการทำบุญที่แท้จริงให้กับคนไข้
      ❌ไม่ใช่การยื้อชีวิตคนไข้ไว้ให้ได้นานที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
      และนอกเหนือจากนี้การที่ไม่ยื้อชีวิตด้วยการที่ไม่ปั๊มหัวใจ การไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ในกรณีนี้ก็จะไปตรงกับกรณีของ Palliative Care และ Hospice ว่าเราไม่ได้ทำแบบนี้ไม่ได้เป็นการฆ่าคนไข้ ไม่ได้เป็นการการุณยฆาต แต่เป็นการปล่อยให้กลายไปเป็นตามธรรมชาติ
      ส่วนคนไข้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ในห้องไอซียูแล้ว ถ้าเราปรึกษา Palliative Care และ Hospice เราสามารถที่จะถอดท่อช่วยหายใจได้ เพื่อให้คนไข้ไม่ทรมานแล้วก็จะมีวิธีในการถอดเครื่องช่วยหายใจให้คนไข้ไม่รู้สึกหายใจแล้วเหนื่อย เฮีอก เหมือนการขาดอากาศหายใจ แล้วก็จะมีการให้ยาเพื่อให้คนไข้สงบ การทำแบบนี้ไม่ถือเป็นการการุณยฆาต ทั้งๆที่ทำแบบนี้แล้วจะทำให้คนไข้เสียชีวิต แต่เป็นการทำให้คนไข้หมดความทรมาน และจากไปอย่างสงบสุขที่สุด
      การการุณยฆาตอาจจะเหมาะกับคนบางคน แต่ว่าอย่างไรก็ตาม Palliative Care และ Hospice ก็ตอบโจทย์กับความทรมานที่คนไข้มี ถ้าท่านกังวลว่าท่านอยากได้กันการุณยฆาต เพราะว่า
      🌀 ท่านทรมาน
      🌀 ท่านเป็นภาระของคนในครอบครัว
      🌀 ท่านมีปัญหาอะไรก็แล้วแต่ Palliative Care และ Hospice Care ช่วยท่านได้ ไม่จำเป็นจะต้องถึงขั้นการุณยฆาต ท่านก็สามารถที่จะจากไปด้วยความสงบ มีความสุขและมีศักดิ์ศรีของชีวิต

    • @maneeann
      @maneeann 2 года назад +2

      😊👍❤️♥️

    • @Lek44888
      @Lek44888 2 года назад +2

      น้องวรรณ ยอดเยี่ยมที่สุด
      ละเอียดมากๆ👍👍👍👏👏👏

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 года назад +2

      ☺️👍ขอบคุณค่ะคุณวรรณ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +2

      เยี่ยมมากน้องวรรณ จดได้ละเอียดสุดๆค่ะ...

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 2 года назад +5

    😊🌼🍃 ⚀ Palliative Care คืออะไร
    🔺️ Palliative Care ที่ประเทศไทยก็เริ่มมีกันแล้วในโรงพยาบาลใหญ่ๆเช่นโรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยแพทย์ต่างๆเห็นมีกันแล้ว โดย Palliative Care จะมุ่งเน้นไปที่ลดอาการ
    ทรมานของคนไข้ ไม่ว่าอาการนั้นจะเป็นเรื่อง
    ไหนก็แล้วแต่ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงดูแลในแง่ของการสื่อสารระหว่างครอบครัวการสร้างความเข้าใจให้เข้าใจกันและกัน และดูแลครอบครัวคนไข้ด้วย ไม่ใช่ดูแลเฉพาะคนไข้
    ◾ข้อมูลเพิ่มเติม
    ศูนย์ชีวาภิบาล
    ชีวาภิบาล” เป็นการสมาสคำสองคำ คือ “ชีวา” หรือชีวิต กับ “อภิบาล” คือ การบำรุง ดูแลอย่างรอบด้าน เมื่อรวมกันจึงเป็นคำว่า “ชีวาภิบาล” ซึ่งหมายถึง การบำรุงดูแลชีวิต ดังนั้น ศูนย์ชีวาภิบาล จึงเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้การดูแลชีวิตของผู้ป่วย ตามหลักการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประกอบด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร)
    โดยมีบทบาทเป็นทีมเสริมจากทีมแพทย์และพยาบาลหลัก เข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ที่ป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่หายขาด ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยและให้การดูแลต่อเนื่องตลอดการรักษา จนเสียชีวิต รวมถึงการติดตามดูแลหลังสูญเสีย เน้นการทำงานแบบองค์รวมให้ได้รับการตอบสนองครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกาย ด้านจิตใจอารมณ์ ด้านสังคม และด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ศูนย์ชีวาภิบาล ยังมีทรัพยากรเครือข่ายอาสาสมัครเป็นแหล่งเติมเต็มความต้องการในสิ่งที่ทีมรักษาทำไม่ได้ เช่น การเยี่ยมเยียนแบบเพื่อน
    คลิป อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย
    Palliative / Hospice Care
    ขอบคุณมากค่ะ
    🌹❤🌹

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 2 года назад +1

      @ เอื้องมะลิ
      ขอบคุณมากนะคะคุณครู ⚘💗⚘
      @ Doctor Tany
      ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ 🌻🧡🌻

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali 2 года назад +1

      @@boomsong5729
      😊🙏🧡 ขอบคุณมากนะคะ
      ทานอาหารเย็นให้อร่อย
      และ นอนหลับฝันดีนะคะ

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 2 года назад +1

    ขอบคุณครับคุณหมอ 👍 ดีใจที่ประเทศไทยมีการนำมาใช้บ้างแล้วและได้รับการสนุบสนุนในวงกว้างมากขึ้น
    เห็นด้วยกับแนวคิดนี้เต็มที่เลยครับ เป็นแนวทางที่สมดุลในระหว่างแนวทางที่สุดโต่งทั้งสองปลาย (การยื้อชีวิตโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด vs การการุณยฆาต)
    ป.ล. เคยอ่านบทความนานแล้วจำไม่ได้ว่าท่านใดเขียน ท่านเขียนถึงบรรดาบุตรหลานที่ตัดสินใจยื้อชีวิตบุพการีโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใดรวมทั้งคุณภาพชีวิตของบุพการี(และของทุกคนที่เกี่ยวข้อง)ว่าบางส่วนเกิดจากการรู้สึกผิดว่าก่อนหน้านั้นไม่ได้ดูแลบุพการีเท่าที่ควรเลยคิดว่าจะตอบแทนโดยการยื้อชีวิตท่านไว้

  • @striratreeves8430
    @striratreeves8430 2 года назад +1

    คลิปนี้ช่วยให้ทุกคนในครอบครัวเข้าใจและทำใจได้มากขึ้นเพราะมีพี่สาวป่วยติดเตียงและต้องฟอกปอดขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะเป็นคลิปที่มีประโยชน์ตรงกับความอยากรู้ของคนทุกคนในครอบครัว

  • @Chefaey
    @Chefaey 2 года назад +3

    คิดว่าpalliative care เป็นการดูแลคนป่วยและดูแลใจผู้ป่วยใด้ดีที่สุด เพราะวันใดวันหนึ่งเราทุกคนก็ต้องมีภาวะแบบนี้อยู่แล้วคิดว่าการดูแลแบบนี้น่าจะดีกว่าการุณยฆาต ถ้าในกรณีที่เราป่วยจนไม่สามารถรักษาให้หายใด้ไม่มีทางที่จะใช้ชีวิตเหมือนเดิมใด้อีกต่อไป
    การการุณย์ฆาตคิดว่ามันโหดร้ายเกินไปสำหรับคนป่วย เคยดูหนังเรื่องนึงจำไม่ใด้ว่าเรื่องอะไรพระเอกป่วยมากรักษาไม่หายและต่อไปนางเอกมาดูแลคืออาการป่วยของพระเอกตอนนั้นคือไม่หายแน่นอน
    ตอนจบสุดท้าย พระเอกไปทำการุณยฆาตที่
    สวิส มันเป็นอะไรที่น่าเศร้ามาก
    คือการที่เราต้องเตรียมตัวไปตายเพื่อให้พ้นจากความทรมาน
    ในการเจ็บป่วย
    การฟังในวันนี้ทำให้เราเห็นสัจธรรมในชีวิตเหมือนกันคือท้ายสุดแล้วก่อนที่เราจะเจ็บป่วยหรือเกิดภาวะแบบนี้ ควรทำดีต่อกันใว้ทำให้คนรอบข้างเรามีความสุข

    • @maneeann
      @maneeann 2 года назад +1

      เห็นด้วยกับน้องเอ้ค่ะ 😊

    • @user-ml5zl3bx7j
      @user-ml5zl3bx7j 2 года назад +1

      👍😊+1จร้า ปล.ว่างจะมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มนะจร้า

    • @Chefaey
      @Chefaey 2 года назад +1

      @@user-ml5zl3bx7j ใด้อ่านความเห็นแล้วนะคะ

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 2 года назад +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @krongkaewarunsiri8866
    @krongkaewarunsiri8866 2 года назад +2

    เรื่องนี้น่าสนใจค่ะติดตามมาตลอดคุณหมอนำมา อธิบายได้ครอบคลุมในเนื้อหามากค่ะ อนุโมทนาสาธุค่ะ ขอบคุณค่ะ🙏

  • @user-dz1vk6cw6s
    @user-dz1vk6cw6s 2 года назад +2

    บางเคสคนไข้ทรมารมากต้องไช้มอเฟิ่นจนคนไข้ติดพอรักษานานเข้าร่างกายทุกระบบเริ่มร่วนfeed. อาหารเริ่มมีปัญหา ท้ายสุดคนไข้ขอเรียกร้องขอกลับบ้านและจะสรรหาสิ่งที่เขาเรียกร้องเท่าที่เราจะสรรหาให้เขาสีหน้าคนไข้เริ่มมีสีหน้าดีขึ้นปล่อยตามธรรมชาติตามสภาพร่างกายของเขา

  • @uncle1923
    @uncle1923 2 года назад +4

    สวัสดีจากเบลเยี่ยมครับคุณหมอ

  • @suthadan.3235
    @suthadan.3235 2 года назад +1

    ⚘คิดถึงคุณหมอค่ะ หัวข้อนี้ทำน้ำตาไหล แต่มีความสุขนะป้าว่า ยอดเยี่ยมค่ะ👍💯

  • @sabinmori9448
    @sabinmori9448 2 года назад +2

    จบได้คมมาก ยอมรับว่าไม่ได้ดูทุกคลิป แต่สังเกตว่า คลิป หลังๆคุณหมอ หล่อขึ้น ดูสดใส่ ดี ช่วง last minute ชีวิต ผมคงเลือกแบบนี้
    ผมอยากทราบ นิดหนึ่ง มีผลกระทบไหมถ้า donor organ ไว้ครับ ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆ ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +3

      ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 2 года назад +2

    ดีใจที่ทราบว่ามีทางเลือกอื่นนอกจากการุณยฆาตค่ะ
    ขอบพระคุณที่คุณหมอมาเล่าสู่กันฟังค่ะ🙏🙏🙏

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa Год назад +1

    อาจารย์คะ มงคลฟิล์มภูมิใจเสนอ... "Plan 75" ค่ะ
    🔹เป็นหนังญี่ปุ่นที่กำลังฉายอยู่ตอนนี้ค่ะ ชื่อไทยว่า เลือกวันตาย
    🔹เป็นภาพยนตร์ชนะรางวัลเมืองคานส์ หยิบประเด็นสังคมสูงวัยในญี่ปุ่นมานำเสนอ
    🔹ปัญหาประชากรผู้สูงอายุในญี่ปุ่นที่มีมากเกินไป รัฐจึงได้ออกกฎหมายให้ผู้สูงอายุที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป สามารถปลิดชีพตัวเองได้ฟรี แถมมีเงินชดเชย 100,000 เยน ให้ได้ใช้ก่อนตายหรือจะเอาไปทำอะไรก็ได้ตามความปรารถนา เพื่อปรับจำนวนประชากรผู้สูงอายุให้สมดุลค่ะ
    🔹เป็นหนังที่บีบคั้นอารมณ์มากทีเดียวค่ะ

  • @ployyy.2107
    @ployyy.2107 2 года назад +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอคริปนี้เป็นหัวข้อที่ฟังแล้วเศร้าแต่ทุกคนก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เกิดแก่เจ็บตายเป็นวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ขอบคุณข้อมูลต่างๆค่ะ..🥰😊🥰

  • @warisarong7694
    @warisarong7694 2 года назад +1

    ขอบคุณคุณหมอสำหรับความรู้ดีดี เสียดายที่ได้ฟังหลังจากคุณพ่อเสียไปแล้ว ถ้าได้ฟังก่อนหน้านั้น คุณพ่อคงจะไม่เจ็บปวด ทรมาน

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +1

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @sompratanacreighton4339
    @sompratanacreighton4339 2 года назад +1

    ขอบคุณคุณหมอค่ะ ที่ให้ข้อมูล paliative care /hospice care ได้อย่างชัดเจน คุณภาพชีวิตช่วงสุดท้ายของคนที่เรารักเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดค่ะ อีกอย่างที่สำคัญไม้แพ้กันคือ dignityค่ะ ขอบคุณที่คุณหมอพูดถึงค่ะ

  • @sarojauimboutlob5535
    @sarojauimboutlob5535 2 года назад +2

    คลิปนี้ดีมากครับ ทำให้เข้าว่าการถอดสายยางออกของคนไข้ที่อยู่ในห้องไอซียูไม่ใช่เป็นการฆ่าคนทางอ้อม ขอบพระคุณคุณอาจารย์หมอมากครับ

  • @sujinsamolta8458
    @sujinsamolta8458 2 года назад +1

    ยินดีด้วยนะคะคุณหมอ มีผู้ติดตาม 3.12 แสน คนแล้ว ไวมากค่ะ

  • @nanzy58
    @nanzy58 2 года назад +1

    เคยจำได้ว่า มีคนเรียกว่า 'สภาวะ กตัญญูเฉียบพลัน' เกิดขึ้น กับ ลูกหลาน รึว่า ญาติพี่น้อง 😊😊

  • @CherryChonny
    @CherryChonny 2 года назад +9

    คุณหมอคะ ขอสอบถามค่ะ
    1) ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่ผู้ป่วย มาถึงเข้า ไอซียูเลย และไม่ฟื้นขึ้นมาสักที แบบนี้การทำ parliative care ก็ไม่มีความจำเป็นแล้วไหมคะ
    2) ถ้าญาติบอกว่า ไม่อยากให้ผู้ป่วยทรมาน และไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ต้องปั๊มหัวใจ ปล่อยไปตามธรรมชาติ คุณหมอว่าญาติทำแบบนี้ผิดไหมคะ ขอบคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +6

      1) จำเป็นครับ 2) ไม่ผิดครับ

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh 2 года назад +1

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏😘 คิดถึงพ่อ😭😭😭

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 2 года назад +1

    ขอบคุณนะคะ ดีจังคะดูแลแบบคลอบคลุมทุกอย่างเลย เคยเข้าใจว่าเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการหนักระยะสุดท้าย และเป็นโรคที่ร้ายแรงรักษาไม่หายเท่านั้น 🙏

  • @luxanawadeeboonyasirinun6378
    @luxanawadeeboonyasirinun6378 2 года назад +2

    ขอบคุณค่ะในรายละเอียดเพิ่มเติมที่คุณหมอเล่าให้ฟังในวันนี้ เข้าใจแล้วค่ะ …สำหรับตัวเองยังไม่เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเลือก ต้องตัดสินใจ แต่ถ้าถึงวันนั้นเหตุการณ์มาถึงจุดนี้จะทำตามที่คุณหมอแนะนำนะคะ … มีเรื่องสงสัย 2 เรื่อง จากที่คุณหมอพูด จึงขอเรียนถามว่า…1.) มีการดูแลในเรื่องจิตวิญญาณยังไงคะ?!? 2.) เรื่องการจากไปอย่างมีศักดิ์ศรีของชีวิตยังไงคะ!?! (คือไม่ต้องรบกวนคนอื่นในเรื่องต่างๆ รึสร้างความลำบากให้คนอื่นต้องมาคอยดู เป็นทุกข์กับเรารึเปล่าคะ?) 2 คำนี้มีความหมายละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ยากต่อการเข้าใจค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +4

      ขยายความแล้วจะยังมีคำถามต่อเพราะเรื่องนี้มันยาวและยิ่งขยายความก็ยิ่งมีคำถาม ผมเคยอธิบายเรื่องนี้ให้คนฟัง ยิ่งพูดยิ่งถามผมเลยเลิกเล่าไปแล้วครับรอให้เจอจริงๆจะเข้าใจได้เอง เอาง่ายๆละกันครับอาจจะมีคำถามเพิ่มแต่ผมแนะนำว่าไม่ต้องถามดีกว่าเพราะมันจะไม่จบง่ายๆ 1) ความคิดที่นอกเหนือไปจากความเจ็บปวดทางร่างกาย รวมไปถึงความเชื่อ ศาสนา สภาพจิตใจ วิธีการมองความเจ็บป่วยของตน รวมทั้งมุมมองของครอบครัว 2) มนุษย์ไม่ใช่แค่การรักษาเพื่อคงสัญญาณชีพไว้ การที่บางคนไม่เข้าใจจุดนี้ และยึดติดกับคำว่าปาฏิหาริย์ ให้ทำทุกอย่างเพื่อดำรงสัญญาณชีพไว้ ใส่สายต่างๆ แทงเส้นตามร่างกาย ใช้ยากดความรู้สึกตัว ผู้ป่วยไม่สามารถแสดงเจตจำนงของตัวเองได้ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แม้กระทั่งแจ้งความประสงค์ที่แท้จริง ถือเป็นการลิดรอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ครับ

    • @luxanawadeeboonyasirinun6378
      @luxanawadeeboonyasirinun6378 2 года назад +2

      @@DrTany เข้าใจคะ ขอบคุณค่ะ แถมอีกนิด ชอบทรงผมแบบธรรมชาติๆ แบบนี้เหมือนกันค่ะ เท่ห์ไปอีกแบบ เห็นลายเส้น ความละเอียดอ่อนของผม ที่ยาวและหนาขึ้น 🥰

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat 2 года назад +4

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 2 года назад +3

      หวัดดีจ้าหนึ่ง...ฝนกำลังตกหนักเลยค่ะ🌧☔ ทางโน้นเป็นไงบ้างคะ

    • @nung-noppapat
      @nung-noppapat 2 года назад

      @@FragranzaTrippa ฝนตกหนักบางวันค่ะ​ วันนี้ยังไม่ตกค่ะ💖😍

  • @Betterworld233
    @Betterworld233 2 года назад +2

    ฟังเพลินเลยค่ะ รอชมepisodeต่อๆไปนะคะ🙏🙏

  • @HelloHello-cc3ko
    @HelloHello-cc3ko 2 года назад +1

    กราบขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอ ป้าอ่านข้อมูลหมดแล้วค่ะ

  • @user-vc3sn2rv5b
    @user-vc3sn2rv5b 2 года назад +1

    จะเรียกว่าอะไรก็ช่างเถอะค่ะ ขอแค่ให้คุณหมอรักษาอย่าปล่อยให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายรู้สึกทุกข์ทรมานจากโรคก็พอ

  • @nevadapangel5983
    @nevadapangel5983 2 года назад +2

    เข้ามาติดตามต่อจากตอนที่แล้วค่ะ ขอบคุณอาจารย์หมอแทนมากค่ะ มีผู้สนใจมากเลยที่รอฟังอยู่ เพราะต่อไปเราต้องเผชิญกัน โดยเฉพาะผู้มีส่วนร่วมในการจะรับมือภาวะสุดท้ายของชีวิตกันอย่างไร

  • @KOLET199
    @KOLET199 2 года назад +1

    #กราบขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอธนีย์🙏"(อาทิตย์28/08/2565).

  • @piyaratchansiripornchai5781
    @piyaratchansiripornchai5781 2 года назад +1

    สวัสดีค่ะอจ.เห็นด้วยเลยค่ะเรื่อง paliative care เเละ การุณยฆาตค่ะ อาจดูโหดร้ายเเต่หลายๆครั้งการมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมานนั้นโหดร้ายกว่านะคะ

  • @มีเท...เมธี
    @มีเท...เมธี 2 года назад +2

    ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว😊😊

  • @phachi_____chom
    @phachi_____chom 2 года назад +1

    ขอบคุณนะคะคุณหมอ......ในที่สุดก็มาแล้วคลิปนี้❤️❤️🙏🏻🙏🏻

  • @thaphaneethammasirrat9539
    @thaphaneethammasirrat9539 2 года назад +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ตั้งแต่เจอช่องคุณหมอทำให้อุ่นใจขึ้นมากมาย ได้รู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ขอบคุณมากค่ะ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny 2 года назад +3

    🍄🍄 เป็นกำลังใจให้คุณหมอ
    ✔️ ฟังแล้วอย่าลืมกดติดตามด้วยนะคะ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 2 года назад +4

    การดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care คือ การดูแลที่มีมุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว โดยลดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เป็นการดูแลควบคู่กับการรักษาหลักที่มุ่งหวังกำจัดตัวโรค การดูแลแบบประคับประคองจะคำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของผู้ป่วยและครอบครัวร่วมด้วยเสมอ
    เป็นแนวทางการดูแลในภาพกว้าง ตั้งแต่เริ่มเผชิญภาวะความเจ็บป่วยที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ครอบคลุมจนถึงการดูแลในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เป็นการดูแลแบบองค์รวมตั้งแต่ต้นตราบจนวาระสุดท้าย
    เมื่อกล่าวถึงผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง คนทั่วไปอาจคิดถึงภาพของผู้ป่วยที่หมดหวัง รอความตาย ใกล้เสียชีวิต ไม่สามารถรับการดูแล หรือการรักษาใด ๆ ได้อีก แต่แท้จริงแล้ว เราสามารถช่วยเหลือบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แม้ว่าไม่อาจกำจัดตัวโรคให้สิ้นไปได้ด้วยการดูแลแบบประคับประคอง
    การดูแลแบบประคับประคองเป็นการดูแลควบคู่ไปกับการรักษาหลัก โดยมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
    ดูแลทั้งผู้ป่วยและครอบครัว
    ประเมินผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนและรอบด้าน ให้การดูแลโดยมุ่งลดความทุกข์ทรมานทั้งจากอาการทางกาย เช่น ลดอาการปวด หอบเหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน จากอาการทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น
    พยายามดูแลให้ผู้ป่วยถึงวาระสุดท้ายอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เร่งการเสียชีวิต ไม่ยืดการเสียชีวิต

  • @pannko8888
    @pannko8888 2 года назад +1

    เพิ่งกลับมาคิดถึงจังเลยจุ๊บๆ💏

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 2 года назад +2

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ดิฉันเข้าใจแล้วค่ะถ้าเป็นดิฉันถ้าป่วยถึงขนาดที่ว่าอยู่ไปก็จะเป็นภาระของคนอื่นก็ขอจากไปอย่างสมศักดิ์ศรีค่ะขอบพระคุณอาจารย์หมอที่ให้ความรู้ได้เตือนสติความเป็นจริงจะไม่ข้องใจอะไรอีกแล้วค่ะ

  • @kanokpornmartinez9609
    @kanokpornmartinez9609 2 года назад +1

    สวัสดี ตอนสายๆจ้า คุณหมอ คนเก่งใจดีค้าา

  • @modsoontorn5608
    @modsoontorn5608 2 года назад +1

    ขอบคุณมากค่ะ คลิปนี้มีประโยชน์มากค่ะ ตอบโจทย์จริงๆค่ะ

  • @Achawan_edu
    @Achawan_edu 2 года назад +3

    🌈Palliative /Hospice Care คืออะไร
    คุณหมอเคยพูดถึงการุณยฆาต หรือ Euthanasia คลิปนั้นคุณหมอให้เหตุผลที่ดีมาก
    กับการไม่เลือกวิธีการรุณยฆาต มีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นด้วยกับการการุณฆาต
    วันนี้คุณหมอมาเล่าถึงวิธีการลดการทรมาน และเพิ่มคุณภาพของชีวิตผู้ป่วยและญาติด้วยวิธี
    ขออนุญาตบันทึกค่ะ
    ตอนที่ 🩸
    🌻ที่อเมริกา สมัยที่คุณหมอมาเรียนใหม่ๆ จะมีการสอนเรื่องนี้โดยเฉพาะ
    และคุณหมอได้เรียนรู้ว่าเขาทำอย่างไร
    คลิปนี้เหมือนตอนสอง จากเรื่องการุณยฆาต
    ขออนุญาตบันทึก
    🌻หลายคนอาจพบกับภาวะ
    *ร่างกายและจิตใจเป็นโรค /เจ็บปวดยาวนาน ผ่าตัดแล้ว ให้ยาแล้วก็ไม่ดีขึ้นเลย ทำอย่างไรไม่ดีขึ้น รู้สึกทรมาน
    *บางคนเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย บางคนเป็นผู้ป่วยติดเตียง มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี และกลัวเป็นภาระกับผู้ดูแล
    >>>หากมีการ "ทำการุณยฆาต" น่าจะจบความทรมานของตัวเอง และทำให้ทุกๆ อย่างดีขึ้น
    🌻จะเห็นว่าหลายคนกังวล "การทรมาน" (ที่ยาวนาน) จะแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร
    🌰คำว่า "Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง)"
    ที่ประเทศไทยเริ่มมีกันแล้ว ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ
    หรือโรงพยาบาลที่มีโรงเรียนแพทย์ด้วยก็มี
    Palliative Care เป็นการมุ่งเน้น
    1. การลดทรมานของคนไข้ ทั้งร่างกาย และจิตใจ
    2. การสื่อสารกับครอบครัว และการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
    3. ดูแลครอบครัวคนไข้ด้วย (ไม่ใช่เฉพาะดูแลคนไข้)
    การดูแลแบบ Palliative Care (การรักษาแบบประคับประคอง) จะคาบเกี่ยวกับ Hospice Care
    คือ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
    ซึ่งการใช้วิธีรักษาตามปรกติอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดี และทำให้คนไข้ทรมานมากกว่า
    ดังนั้น Hospice Care จึงมุ่งเน้นไปดูแลที่ "อาการ" เป็นหลัก
    ต่อตอน 2

    • @Achawan_edu
      @Achawan_edu 2 года назад +3

      ตอนที่ 2 🩸🩸
      🌰Palliative Care ทำอะไรบ้าง
      การดูแลวิธีการนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต หรือโรคที่เป็นอยู่จะนำไปสู่ความตายเสมอไป
      ยกตัวอย่าง
      🚩บางคนเกิดอุบัติเหตุรถชนกระดูกหัก หลังจากนั้นปวดเรื่อรังมา 10 ปีและไม่หาย กรณีเช่นนี้คนไม่ได้ใกล้ตาย แต่ Palliative Care ก็ช่วยได้
      🚩หรือบางคนเป็นมะเร็งในระยะแรก และไม่รู้ว่าอาการจะรุนแรง หรือจะเสียชีวิตในนอนาคตหรือเปล่า นี้ก็ปรึกษา Paliiative Care ได้
      🚩ผู้ที่มีหัวใจวายเรื้อรัง และจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ เพราะน้ำท่วมปอดเรื่อยๆ กลุ่มนี้สามารถปรึกษา Palliatve Care ได้
      ▶ไม่จำเป็นเฉพาะคนไข้ที่กำลังจะเสียชีวิตเท่านั้น ที่ Palliatvie Care จะทำ
      🌰ในอเมริกาจะส่งคนไข้กลุ่มลักษณะดังกล่าวปรึกษา Palliative Care เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
      เพราะมีงานวิจัยชี้ชัดไว้แล้วว่าคนเเหล่านี้หากปรึกษา Palliative ตั้งแต่แรกๆ โอกาสที่จะมีชีวิตยืนยาวกว่าคนที่รักษาด้วยวิธีปรกติมีมากกว่า และคุณภาพชีวิตที่เขาได้ยังดีกว่า
      🌰การไปปรึกษา Palliative Care ต้องทราบอะไรบ้าง
      1. Palliative Care สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบปัจจุบันได้ คือควบคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด วิธีให้เคมีบำบัด หรือวิธีรักษาด้วยยาต่างๆ ที่สามารถทำควบคู่กันไป
      2. Palliative Care ประกอบไปด้วยหลายสาขาวิชาชีพ มีแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา จิตแพทย์ นักโภชนาการ และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่โรงพยาบาลเตรียมทีมทางด้านไหนบ้าง
      3. ในการประเมินคนไข้จะประเมินหลายๆ อย่าง เช่น ความเข้าใจต่อโรคของคนไข้ จะมีการสื่อสารระหว่างคนไข้และแพทย์ที่รักษา
      ▶ จะประเมินว่า อาการอะไรบ้างที่ทำให้คนไข้เกิดการทรมาน เช่นอาการซึมเศร้า ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ปัญหาในด้านการเจ็บปวด ทรมาน การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น จะดูแลทั้งหมด
      ต่อตอน 3

    • @Achawan_edu
      @Achawan_edu 2 года назад +3

      ตอน 🩸🩸🩸
      4. ในการดูแลมุ่งเน้นเพื่อเป็นการรักษาลดการทรมานของโรคมากที่สุด
      5. มีการคุยกับคนไข้ ครอบครัว และญาติของคนไข้ร่วมด้วย
      6. ในคนไข้ที่มีความเชื่อทางด้านศาสนา ในอเมริกาก็จะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านศาสนามาคุยด้วย ทั้งพุทธ คริสต์ทุกนิกาย มุสลิม มาเพื่อพูดคุยกับคนไข้ได้หรือคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาใด ๆ แต่ต้องการที่จะคุยก็ได้เช่นกัน
      7. นอกจากดูแลทางร่างกาย เรายังต้องดูแลทางด้านจิตใจของคนไข้ด้วย ว่าเป็นห่วงเรื่องอะไรบ้าง
      8. รวมทั้งการดูแลทางด้านจิตวิญญาณให้ด้วย
      ▶การดูแลไม่เฉพาะคนไข้เท่านั้น จะดูแลไปถึงครอบครัวด้วย ดังนั้นการดูแลจะเป็นองค์รวมมากๆ
      🌰Hospice Care คืออะไร
      ▶ในกรณีที่คนไข้มีอาการทรมานและคาบเกี่ยวกับในช่วงสุดท้าย จะมีการดูแลแบบ Hospice Care
      ▶เป็นการดูแลคล้าย Palliative Care แต่จะทำให้กับคนไข้ซึ่งเราทราบว่าเขาน่าจะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน /ไม่กี่เดือน คนเหล่านี้เลือกจะไม่รักษา เพราะการรักษานั้นอาจจะทำให้มีอาการทรมานมากขึ้น หรือรู้อยู่แล้วว่า แม้รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จึงจะเลือกวิธี Hospice Care
      🌰การรักษาแบบ Hospice Care เป็นวิธีการที่ทำแบบ Palliative แต่จะมีการดูแลพิเศษในด้านการลดอาการเป็นหลัก
      ▶คนไข้กลุ่มนี้ หากรักษาทางการแพทย์ปรกติอาจะได้ผลที่ดี
      มีในกรณีในคนไข้มะเร็งระยะสุดท้าย หรือติดเชื้อระยะสุดท้าย คนไข้เหล่านี้จะมีอาการไม่ค่อยหิว และทานอาหารไม่ค่อยได้ หากทานลงไปอาจมีการสำลัก และเกิดการติดเชื้อ
      ▶กลุ่มนี้ทางการแพทย์ทั่วไปจะวินิจฉัยว่า ไม่ควรได้รับอาหารทางปาก แต่ในเมื่อเรารู้ว่าอย่างไรโรคของคนไข้ก็จะไม่หาย ซึ่งจะมีแต่ความทรมานมากขึ้น
      • สิ่งที่คนไข้เหล่านี้ต้องการ คือต้องการได้รับประทานอาหารที่ตนเองชอบ
      • เรื่องนี่สำคัญมากเพราะหลายคนในช่วงสุดท้ายอาจ
      อยากทำอะไรตามใจตัวเองสักครั้งหนึ่งในชีวิตก่อนที่จะจากไป
      สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราให้ หากคนไข้ทานอาหารแล้วสำลัก ตรงนี้เราก็ให้ได้ เพราะอย่างไร ..ทราบอยู่แล้วว่า
      คนไข้ต้องเสียชีวิต จึงปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ
      ต่อตอน 4

    • @Achawan_edu
      @Achawan_edu 2 года назад +2

      ตอน 🩸🩸🩸🩸
      🌰Palliative Care และ Hospice Care คือการดูแลคนไข้ที่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด ไม่ได้ทำให้เขาเสียชีวิตเร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่จะใช้การแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อลดการทรมานลง ซึ่งการตายโดยธรรมชาติ (ไม่ได้ทำ Palliative นั้นจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้) นี้คือสิ่งที่ Palliatvei Care และ Hospice Care เอาประโยชน์ทางการแพทย์มาเพื่อช่วยคนไข้
      ▶Palliatvei Care และ Hospice Care จะช่วยดูแลครอบครัว และทุกๆ อย่างอย่างต่อเนื่อง การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ช่วยได้มากๆ ซึ่งหลายๆ ท่านควรพิจารณาข้อนี้
      🌰นอกจากนี้ยังมีการช่วยประสานดูแลเรื่องการคุยเกี่ยวกับพินัยกรรม กฎหมาย
      ถ้าคนไข้ปรึกษากลุ่ม Palliative ก็จะทำให้
      • หรือหากคนไข้เสียชีวิตไปแล้ว การทำศพต้องทำอย่างไร สวดที่ใดบ้าง หรือการไว้ทุกข์ Palliatvie ก็จัดให้
      • หรือแม้แต่คนไข้ต้องการไปตายที่บ้าน Palliative Care หรือ Hospice Careก็จะทำให้ นี้คือเป้าหมาย เพื่อให้ช่วยชีวิตของคนไข้ปราศจากการทรมานให้มากที่สุุด
      • ▶และที่สำคัญคือ “ให้ทุกๆอย่างๆ เพื่อให้คนไข้มีความสุข และเสริมคุณภาพชีวิตคนไข้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้คนไข้ได้ นี่คือบริการของ Palliative Care และ Hospice Care
      🌰สิ่งที่คุณหมออยากบอก >>>ในกรณีที่คนไข้ได้รับแจ้งเพียงว่า "โอกาสที่จะหายจากโรคนัั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือต่อให้รักษาได้คนไข้ก็มักจะเป็นคนไข้ติดเตียง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเขาอาจไม่ดีไปเลย"
      **กรณีแบบนี้คุณหมอเห็นหลายๆ ครอบครัว โดยเฉาะครอบครัว คนไทย เช่น "ญาติอาจพูดกับหมอว่า หมอครับขอยื้อชีวิตให้ได้ ทำอย่างไรก็ได้ การรักษาเท่าไรก็ได้ ทำทุกอย่างทุกวิถีทาง แต่เมื่อทำไปจริงๆ แล้วก็เกิดอย่างที่หมอว่าคือ คนไข้เป็นผู้ป่วยติดเตียง และจำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นภาระกับทุกๆ คน และคนไข้ก็จะทุกข์ทรมานอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ
      ***กรณีแบบนี้มักจะมาคุยกันตอนหลังว่า "ทำอย่างไรดี" ไม่น่าจะเป็นแบบนี้ (ปล่อยให้อยู่กับความทรมาน) น่าจะมีการุณยฆาตเลย 💦💦
      ต่อตอน 5

    • @Achawan_edu
      @Achawan_edu 2 года назад +3

      ตอน 🩸🩸🩸🩸🩸
      ▶กรณีดังกล่าวคุณหมออยากให้พิจารณาให้ดี ๆ
      คุณหมอ>>> ไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาต เพราะเมื่อเราได้ให้ข้อมูลคนไข้กับญาติตั้งแต่แรกแล้วว่าโอกาสจะเป็นแบบนั้นสูงมาก แล้วคนไข้กับญาติคิดว่า "ทำอย่างไรก็ได้ ให้ยื้อชีวิตต่อให้ได้ "
      กรณีแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควร ควรจะฟังและพิจารณาดีๆ ก่อนที่จะตัดสินใจอะไรเป็นต้นไป บางกรณีญาติหลายๆท่านที่ไม่เคยเจอคนไข้มาก่อน มาดูและรู้สึกผิดว่า เราไม่เคยทำอะไรให้กับคนไข้ สิ่งที่จะทำให้ได้คือ ให้หมอรักษาให้เต็มที่
      คุณหมอ >>> สิ่งนี้อาจไม่ถูกต้อง ความคิดที่ถูกต้องคือ "เราต้องมุ่งเป้าเน้นที่คุณภาพชีวิตของคนไข้เป็นหลักต่างหาก"
      คุณหมอ >> หากเราทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ นั่นแหละครับคือ การทำบุญที่แท่้จริง ให้กับคนไข้ และควรพิจารณาตรงนี้ไม่ใช่การยื้อชีวิตของคนไข้ให้นานที่สุดที่เห็นว่าเป็นสิ่งถูกต้อง
      ▶การที่เราไม่ยื้อชีวิตด้วยการ เราไม่ปั๊มหัวใจ ไม่ใส่ท่่อช่วยหายใจ
      ในกรณีนี้ ก็จะไปตรงกับกรณี Palliative Care และ Hospice Care หากเราไม่ทำแบบนี้ไม่ใช้เป็นการทำการุณยฆาต หรือฆ่าคนไข้ แต่เป็นการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของชีวิต
      ▶ส่วนคนไข้ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจที่อยู่ใน ICU แล้ว หากเราปรึกษา Palliative และ Hospice แล้ว เราสามารถถอดเครื่องช่วยหายใจได้ เพื่อให้คนไข้ไม่ทรมาน แล้วก็จะมีวิธีถอดเครื่องช่วยหายใจให้คนไข้ไม่รู้สึกทรมาน หรือเหนือย หรือเหมือนขาดอากาศหายใจ จะมีการให้ยาให้คนไข้สงบลง การทำแบบนี้ไม่ถือเป็นการุณยฆาตให้คนไข้เสียชีวิต แต่เป็นการทำให้คนไข้หมดการทรมานและจากไปอย่างสงบสุขที่สุด
      🌻คุณหมอ>>>จึงอยากแนะนำบริการของ Palliative Care และ Hospice Care ให้กับหลายๆ คน
      หากท่านใดมีภาวะแบบนี้อยู่่ แนะนำให้ลองปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาล ที่รักษาอยู่่ว่ามีบริการ Palliative Careและ Hospice Care เท่าที่ทราบโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ด้วย เช่น โรงพยาบาลจุฬาฯ มีหน่วยแผนก Palliative Care และ Hospice Care สามารถปรึกษาได้
      💦💦💦💦
      คุณหมอสรุป >>>ส่วนตัวคุณหมอมองว่า การุณยฆาตอาจจะเเหมาะกับบางคน
      อย่างไรก็ตาม Palliative Care และ Hospice Care ตอบโจทย์ ลด "ความทรมานที่คนไข้มี"
      หากท่านกังวลอยากได้การุณยฆาตเพราะ
      ***คนไข้ทรมาน และคิดว่าตนเองเป็นภาระกับครอบครัว และมีปัญหาอะไรก็แล้วแต่่ ทั้ง Parlliative Cre และ Hospice Care สามารถช่่วยได้ เพื่อให้คนไข้จากไปด้วยความสงบ มีความสุข และมีศักดิศรีของความเป็นมนุษย์ของชีวิต
      🙏🏽🙏🏽 ขอบคุณมากๆๆ สนใจเรื่องนี้ค่ะ ดีมากๆ ให้รายละเอียดดีมาก🙏🏽🙏🏽

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 2 года назад +1

      @@Achawan_edu
      ขอบคุณมากนะคะ อจ.อัช
      ช่วงนี้ฝนตกบ่อย รักษาสุขภาพด้วยนะคะ ⚘💙⚘

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 2 года назад +4

    😊🌼🍃 สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน 🌼🍃
    Have a wonderful day ค่ะ 🍄🍒🍲🍹
    📚 อยู่ไปก็ทรมาน รักษาก็ไม่หาย แก้ไขได้ด้วย
    Palliative / Hospice Care
    โน้ตบางส่วนไว้ค่ะ
    🔺️ Palliative และ Hospice Care คือการปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปโดยธรรมชาติที่สุด
    ไม่ได้ไปทำให้เค้าเสียชีวิตเร็วขึ้นแต่อย่างใด แต่เราใช้การแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้องก็คือ
    ลดการทรมานซึ่งการตายโดยธรรมชาตินั้นจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้ แต่นี่คือการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ช่วยเค้า
    🚩 วันนี้เป็นวันครบรอบ 1 ปีที่พ่อจากไปหลังจาก
    ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรักษา
    โรงมะเร็งกระเพาะอาหารมา 5-6 ปี
    วันสุดท้ายที่พ่อเข้าโรงพยาบาล คุณหมอให้การรักษาแบบประคับประคองเพราะทำการรักษาอะไร
    ไม่ได้แล้ว มีการปรึกษาเรื่องการให้ยากับพ่อ
    เราบอกหมอว่าขอให้พ่อจากไปอย่างสงบ ทรมานให้น้อยที่สุด เราถามหมอว่าการที่ทำอย่างนี้ถือว่าเป็นการเร่งให้พ่อเสียชีวิตหรือเปล่า คุณหมอบอกไม่ใช่ วันนี้คุณหมอแทนมากล่าวย้ำอีกรอบ
    ก็สบายใจขึ้นอีกค่ะ
    รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    🌹❤🌹

  • @wanpensenapitak1360
    @wanpensenapitak1360 2 года назад +1

    ได้ดูแลแม่แบบ palliative care มาแล้วค่ะ ด้วย MO dripค่ะ

  • @CherryChonny
    @CherryChonny Год назад

    คุณหมอคะ มี รพ คูน แถวพระราม 2 เพิ่งเปิดเดือน กันยายน 65 คุณหมอผู้ก่อตั้งเป็นหมอด้านทางเดินหายใจ และ วิกฤติบำบัด ด้วยค่ะ มี 30 เตียง เผื่อเป็นข้อมูลนะคะ

  • @user-cw8hu7nq8h
    @user-cw8hu7nq8h 2 года назад +1

    ในเมืองไทย จะมีปัญหาเรื่องงบประมาณ บุคคลากรด้านนี้ยังต้องทำงานในหน้างานเดิม น้อย รพ.ที่มีแผนกนี้โดยตรง แล้วคนป่วยก้อมากมายเกินมือ จนท.ฟังแล้วอิจฉาคนอเมริกา เลบค่ะ

    • @moondance8670
      @moondance8670 6 месяцев назад +1

      ที่อุบล จะมีศูนย์สุขภาพชุมชน และเขาจะออกเยี่ยมคนไข้ติดเตียงตามบ้าน ซึ่งรวมถึง ระยะประคับประคอง ด้วย ทำให้คนไข้และครอบครัวได้ สบายใจมากๆค่ะ ในรพ จะมี ทีมพยาบาลที่จะมาให้ความรู้ ความเข้าใจ ถึงจะมีน้อย แต่ก็เริ่มแล้ว เป็น start up ที่ดีมาก แต่ยังเห็น แพทย์จำนวนหนึ่ง ยังไม่เห็นความสำคัญ แค่จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่เห็นแพทย์รุ่นใหม่ ดีมากๆๆ

  • @maneeann
    @maneeann 2 года назад +4

    🔲 ข้อเสียของ Palliative Care
    🔸 ผู้ป่วยไม่มีทางหายขาดแน่นอน เพราะปลายทางนี้คือความตายที่ผู้ป่วยและครอบครัวได้เลือกแล้ว
    🔸 ครอบครัวผู้ป่วยต้องปรับที่พักให้เหมาะสมกับการดูแล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในช่วงเริ่มต้นเยอะ และใช้เวลาในการปรับปรุง
    🔸 ครอบครัวเป็นคนเผชิญหน้ากับนาทีวิกฤต ซึ่งต้องตั้งสติให้ดีอยู่ตลอดเวลา อาจมีความเครียดสะสมได้
    🔸 ครอบครัวผู้ป่วยต้องเรียนรู้ และฝึกการดูแลผู้ป่วยเอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการเรียนรู้กว่าจะเกิดความเชี่ยวชาญ สามารถทำได้ดี
    🔸 ในประเทศไทยการรักษาแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
    🔸 ญาติผู้ป่วยบางท่านอาจไม่ยินดีกับการรักษาแบบประคับประคอง อาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัวได้

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 2 года назад +2

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ😊

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 2 года назад +2

      🙏ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

  • @sorattyahattapasu7765
    @sorattyahattapasu7765 2 года назад +1

    ขอบพระคุณมากคะ คลิปที่ไม่เคยรู้ ทำให้ได้สัจจะธรรมจริงๆเจ้า

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 2 года назад +1

    ขอบคุณนะคะ ในทางพุทธศาสนามนุษย์ทุกคนมีกรรมเป็นของตัวเอง ไม่มีหนีได้ การที่ทุกข์ทรมานอาจเป็นการชดใช้กรรมเก่าให้จบสิ้นไปก็ได้นะคะ

    • @moondance8670
      @moondance8670 6 месяцев назад

      พุทธศาสนาก็มี เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลกนะคะ ถ้าให้ได้ก็ให้เถิด

  • @doctorluckyhappyobgyn6638
    @doctorluckyhappyobgyn6638 2 года назад +1

    คลิปนี้ฟังจบ ได้แชร์ไปให้คนที่รู้จักที่กำลังประสพปัญหานี้พอดีค่ะ ขอบพระคุณคุณหมอมากๆเลยค่ะ
    คุณหมอคะ มณีแดง มีงานวิจัยที่อเมริกาไหมคะ
    คุณหมอมีความเห็นอย่างไรกับ เรื่องนี้ไหมคะ อยากฟังจากมุมของคุณหมอค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  2 года назад +3

      ผมเฉยๆกับเรื่องนี้ครับ ถ้ามันออกมาให้ใช้ได้จริงๆก็คงเป็นสิบๆปีครับ และถ้าออกมาในรูปอาหารเสริมแล้วล่ะก็ เชื่อไม่ได้แน่ๆครับ