โรคหนังตาหย่อน หนังตาตก เหมือนหรือต่าง ดูคลิปนี้เข้าใจแน่นอน (จะได้ไม่โดนหลอก)

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 15 окт 2024
  • 📌ระบบประเมินราคาทำศัลยกรรมใบหน้าโดยหมอโฮป คลิก dclnk.com/8MzLa9
    📣ปัญหาหนังตาตกกำลังรบกวนคุณอยู่หรือเปล่า
    📣รู้สึกสับสนกับข้อมูลที่ในอินเทอร์เน็ตเรื่องหนังตาตกบ้างไหม
    มีทั้งแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
    ตัดหนังตาหรือไขมันที่ตกลงมาออก
    แก้ไขด้วยการยกคิ้ว ส่องกล้องปักหมุดยกคิ้ว ใช้ endotine ยกคิ้ว
    เห็นได้ว่าแนวทางการรักษามีมากมายแล้วอะไรคือวิธีการที่ถูกต้อง
    📌โรค 3 โรค ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและเรียกรวมๆกันเป็นโรคเดียวว่า หนังตาตก ก็คือ
    1.โรคหนังตาหย่อน หรือ Blepharochalasis
    2.โรคหนังตาตก หรือ Blepharoptosis หรือ Ptosis of eyelid
    3.โรคหนังตาตกแต่กำเนิด หรือ Congenital Blepharoptosis หรือ Congenital Ptosis
    📌ในคนปกติ เมื่อลืมตาเปลือกตาบนจะคลุมตาดำประมาณ 1-2 mm
    ในเปลือกตาบนจะมีกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตาและกระดูกอ่อนเปลือกตาเป็นส่วนประกอบข้างใน
    📌1.โรคหนังตาหย่อน เกิดจากผิวหนังและไขมันมีการหย่อนตัวลงมา
    โดยที่ระดับของเปลือกตาบนยังอยู่ในระดับปกติ คือ คลุมตาดำประมาณ 1-2 mm
    ผิวหนังที่หย่อนลงมาอาจจะหย่อนลงมาเกินขอบล่างของเปลือกตาบนก็ได้
    เลยทำให้หลายๆคนเรียกโรคนี้ผิดว่าหนังตาตก
    📌2.โรคหนังตาตก จะพบว่าเมื่อลืมตาระดับของเปลือกตาบนจะตกลงมาคลุมตาดำมากกว่า 2 mm
    สาเหตุเกิดจาก กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตามีการยืดออก หรือหลุดออกมาจากกระดูกอ่อนเปลือกตา
    ทำให้เมื่อลืมตาระดับของเปลือกตาจะอยู่ต่ำกว่าปกติ โดยที่กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตายังคงทำงานได้อยู่
    📌3.โรคหนังตาตกแต่กำเนิด จะพบความผิดปกตินี้ตั้งแต่เกิด
    โดยเปลือกตาบนจะตกลงคลุมตาดำมากกว่า 2 mm เหมือนโรคหนังตาตก
    แต่กล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตาจะฝ่อลีบและไม่ทำงาน
    ต่างจากโรคหนังตาตกที่กล้ามเนื้อยังคงทำงานได้อยู่
    📌โดยทั้ง 3 โรคนี้ อาจจะเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเกิดร่วมกันก็ได้
    📌มีข้อยกเว้นในคนที่เคยผ่าตัดทำตาสองชั้นมาก่อน
    แล้วเกิดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตา
    เช่น ถูกตัดโดยไม่ตั้งใจระหว่างผ่าตัดตาสองชั้น
    ถ้าไม่ได้รับการเย็บกลับในทันที
    กล้ามเนื้อจะแยกออกจากขอบบนของกระดูกอ่อนเปลือกตาเหมือนโรคหนังตาตก
    และถ้าปล่อยทิ้งไว้กล้ามเนื้อจะฝ่อและไม่ทำงานเหมือนโรคหนังตาตกแต่กำเนิด
    ในกรณีแบบนี้จะจัดว่าเป็นโรคหนังตาตก แต่มีอาการเหมือนกับโรคโรคหนังตาตกแต่กำเนิดร่วมด้วย
    -----------------------------------------------
    📌แนวทางการผ่าตัดรักษา แก้ไข
    📌1.โรคหนังตาหย่อน เกิดจากความหย่อนของหนังตา ไขมัน
    จากวัยและแรงโน้มถ่วง มักจะพบว่ามีการหย่อนของอวัยวะรอบข้างร่วมด้วย
    เช่น คิ้ว หน้าผาก ขมับ บางคนก็จะเห็นรอยตีนกาชัดขึ้น
    การแก้ไขก็จะเป็นการตัดหนังตาและไขมันที่หย่อนลงมาออก
    รวมถึงการแก้ไขอวัยวะรอบข้างที่มีผลต่อการหย่อนของหนังตาด้วย
    เช่น การยกคิ้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบแผลเหนือคิ้ว แผลใต้คิ้ว
    หรือแบบส่องกล้อง ใช้ endotine หรือบางคนก็เรียกว่ายกคิ้วโดยการปักหมุด
    การยกหน้าผาก ยกขมับ ไปจนถึงการผ่าตัดดึงหน้า
    📌2.โรคหนังตาตก สาเหตุจะอยู่ที่รอยต่อของกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตา กับกระดูกอ่อนเปลือกตา
    หลักการในการแก้ไขคือการดึงเอากล้ามเนื้อลงมาเย็บติดกับกระดูกอ่อนเปลือกตา
    ซึ่งกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตามี 2 มัด เทคนิคการแก้ไขหนังตาตกก็จะมีทั้งเย็บกล้ามเนื้อมัดเดียว หรือเย็บทั้ง 2 มัด เทคนิคพวกนี้มักจะถูกเรียกรวมๆกันว่า การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
    ซึ่งถ้าดูตามความหมายแล้วคงไม่ถูกต้องนัก
    เพราะกล้ามเนื้อที่เปิดตาไม่ได้อ่อนแรง
    และชื่อของการผ่าตัดในศัพท์ทางการแพทย์จริงๆคือ ptosis correction
    ก็ไม่มีคำไหนเลยที่จะแปลออกมาเป็นคำว่า แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
    ควรจะแปลว่าแก้ไขหนังตาตกมากกว่า
    📌3.โรคหนังตาตกแต่กำเนิด เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตาไม่ทำงานเหมือนปกติ
    หลักการในการแก้ไขคือการย้ายกล้ามเนื้อหรือโครงสร้างอื่นมาช่วยเปิดตา
    เช่น ย้ายกล้ามเนื้อที่ใช้ยักคิ้วมาเปิดตา
    หรือใช้โครงสร้างที่เรียกว่า Conjoint fascial sheath มาช่วยเปิดตา
    ซึ่งเป็นวิธีใหม่ล่าสุดในการแก้ไขหนังตาตก
    📌ในคนที่เป็นหลายโรคร่วมกันก็จะใช้วิธีการรักษาของแต่ละโรคร่วมกัน
    📌คนที่หนังตาตกจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดตา จากการผ่าตัดทำตาสองชั้นมาก่อน
    จะต้องใช้เทคนิคการแก้ไขของทั้งโรคหนังตาตกและโรคหนังตาตกแต่กำเนิดร่วมกันครับ
    -----------------------------------------------
    📌ที่มาของชื่อโรคภาษาไทย มาตรฐานในการวินิจฉัยโรคทั่วโลกจะอ้างอิงด้วยระบบ ICD-10
    ประเทศไทยจะใช้ระบบ ICD-10-TM(Thailand Modification)
    ข้อมูลเรื่องนี้อยู่ในเวปไซต์ของ Thai Health Coding Center www.thcc.or.th/
    📌เมื่อดูใน ICD-10-TM จะพบว่า โรค Blepharochalasis แปลเป็นไทยว่า หนังตาหย่อน
    โรค Ptosis of eyelid แปลเป็นไทยว่า หนังตาตก
    โรค Congenital ptosis แปลเป็นไทยว่า หนังตาตกแต่กำเนิด
    ทั้งหมดนี้คือที่มาของชื่อโรคภาษาไทยที่ถูกต้อง
    📌แค่การแปลความหมายของคำออกมาไม่ตรงกัน
    ก็ทำให้ข้อมูลที่ตามมาผิดพลาดไปได้เยอะ
    ต่อไปใครจะแก้ไขหนังตาตกหรือหนังตาหย่อนก็คงไม่งงกันแล้วครับ
    -----------------------------------------------
    Facebook : / dr.hope.plasticsurgery
    Line : @dr.hope lin.ee/rtqqStn
    instagram : / dr.hope.plasticsurgery
    Twitter : / drhope_plastic
    Website : www.doctorhope...
    Email : dr.hope.plasticsurgery@gmail.com
    Please Call : 095-465-5566

Комментарии • 208