Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
#สำหรับผู้ไม่สะดวกรับฟังด้วยเสียง#คนชอบสาบานทั้งที่รู้ว่าจะไม่ทำตาม จะมีผลหรือไม่ถามถ้าบุคคลชอบสาบานเพื่อให้คนอื่นเชื่อ ถ้าไม่เป็นจริง มีผลต่อผู้พูดมากน้อยแค่ไหนคะ มากกว่าศีลข้อมุสาหรือไม่?ตอบเจตนากล่าวไม่ตรงกับความจริงทั้งที่รู้อยู่ เรียกว่า “สัมปชานมุสาวาท”ฉะนั้น ผู้ที่สาบานโดยรู้อยู่ว่าจะไม่ทำตามนั้น จึงเป็น”สัมปชานมุสาวาท” การสาบานนั้น โดยทั่วไป ย่อมมีการตั้งเงื่อนไขเพื่อสาปแช่งตนเองร่วมอยู่ด้วยว่า “ถ้าไม่ทำขอให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้” ฉะนั้น ผู้สาบานโดยมีการสาปแช่งตนร่วมอยู่ด้วย ผลที่ได้เมื่อไม่ทำตามนั้นคือ ตนของตนย่อมสำนึกได้ถึงการสาปแช่งตนเอง โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวอ้างบางอย่างเป็นแรงผลักดันให้สำเร็จ ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงบาปในการสาบานร่วมกับคำสาปแช่ง โดยตั้งใจจะไม่ทำอยู่แล้ว ย่อมให้ผล ๒ ประการคือ๑. การอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อยืนยันคำสัตย์ทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จ เจตนาให้พูดเท็จย่อมมั่นคงกว่า มีผลต่อจิตใจมากกว่า ด้วยดูแคลนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าไม่มี วิบากแห่งกรรมไม่มี หรือไม่อาจบันดาลผล เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตปราศจากความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างมั่นคง (โลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง) ด้วยเหตุนี้ บาปในการมุสาวาทจึงรุนแรงมากตามอกุศลเจตนาที่มั่นคงนั่นเอง
๒. ตนของตนย่อมสาปแช่งตนของตนอยู่เนืองๆ ด้วยรู้อยู่ว่า ตนได้กล่าวคำใดออกไป และผลของกรรมควรเป็นเช่นไร ฉะนั้น ตนนั่นแลย่อมดึงเอาอกุศลสัญญา ความทรงจำนั้นขึ้นมาเตือนจิตตนเสมอ เป็นเหตุชักนำให้อกุศลวิบากนั้นๆ เกิดขึ้นตามมาได้เร็วขึ้น และหนักหน่วงยิ่งขึ้น ตามแต่จิตที่ระลึกถึงอกุศลวิบากอันควรจะปรากฏได้อยู่เนืองๆฉะนั้น การสาบานร่วมกับการสาปแช่งตนทั้งรู้อยู่ว่าจักไม่ทำตามจึงเป็นบาปมาก และให้ผลต่อชีวิตของผู้นั้นอย่างแน่นอน ทว่า ขึ้นอยู่กับกุศลกรรม(บุญ)ในอดีตหรือปัจจุบันที่กระทำอยู่ ว่ามีกำลังเพียงใดที่จะชิงให้ผลก่อน หรือปิดกั้นให้คำสาปแช่งนั้นจักยังให้ผลไม่ได้ ตราบใดที่กุศลกรรมในอดีตที่กำลังส่งผลและกุศลกรรมที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันถอยกำลังลง เมื่อนั้น อกุศลวิบากอันเผ็ดร้อนย่อมรอลำดับแห่งการให้ผลตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง…ถามการสาบานกับ การอธิษฐานจิต เหมือนกันมั้ย เช่นว่าสาบานว่าจะนั่งสมาธิไม่ขยับตัว ถ้าผิดไปจากนี้ขอให้ … หรือถ้าทำได้ขอให้ …กับอธิษฐานจิตว่าจะนั่งสมาธิไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ขยับตัว แล้วตอนท้ายผิดคำสาบานหรือตอนท้ายผิดคำอธิษฐานจิต ผลจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?พอถามแบบนี้เเล้วจึงยิ่งทำให้สงสัยเพิ่มขึ้นอีกสัญญา สาบาน อธิษฐานจิต 3 คำนี้ต่างกันอย่างไรตามศัพท์และผลจากการตั้งจิตในการสัญญา ผลการตั้งจิตในการสาบาน ผลการตั้งจิตในการอธิษฐานทั้งสามอย่างนี้ต่างกันอย่างไร?ตอบพึงเข้าใจความหมายที่แตกต่างระหว่างคำทั้ง ๓ ครับ๑. คำว่า สาบาน หมายถึง การปฏิญญาว่าจะทำสิ่งใด หรือการประกาศสัจวาจาว่า สิ่งใดคือความจริง แล้วสำทับด้วยการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าผิดไปจากนี้ ขอให้ความวิบัติจงเกิดขึ้นแก่ตนเช่น “ข้าฯ ขอสาบานว่า ข้าฯ ไม่ได้โกงเงินโรงเรียน ถ้าผิดจากคำนี้ ขอให้เทวดาอารักษ์ลงโทษให้วิบัติใน ๗ วัน” เป็นต้น หรือ“ข้าฯ ขอสาบานว่า คำนี้เป็นคำจริง ถ้าข้าโกหก ขอให้เทพเจ้าลงโทษ” เป็นต้น๒. คำว่า อธิษฐาน หมายถึง การตั้งจิตมั่น ว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วงให้ได้ จะอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็ได้ หรืออาจมีการขอพรร่วมด้วยก็ได้ (ตามความนิยม)เช่น “ข้าฯ ขอตั้งจิตรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ จนตลอดชีวิต นับแต่บัดนี้” หรือ“ในพรรษานี้ตลอด ๓ เดือน ข้าฯ จะไม่ดื่มสุราเป็นเด็ดขาด ด้วยผลแห่งบุญนี้ ขอข้าฯ จงได้งานทำด้วยเถิด” เป็นต้น๓.คำว่า สัญญา หมายถึง การให้คำมั่นแก่อีกบุคคลหนึ่ง ว่าจะทำอะไร โดยไม่มีการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือคำสาปแช่งใดๆเช่น “หนูขอสัญญาว่า หนูจะไม่หนีไปเล่นน้ำโดยที่ไม่บอกแม่อีก” หรือ“ข้าฯ ขอสัญญาว่า จะซื่อสัตย์กับเธอแม้เพียงคนเดียวเท่านั้น”เป็นต้นต่อเมื่อในบางกรณี ผู้รับคำสัญญายังไม่พอใจเพียงคำสัญญานั้น กลับให้สาบานสำทับอีกชั้นก็ได้เช่น หญิง “ถ้าพี่รักน้องจริง น้องขอให้พี่สาบานได้ไหม”ชาย “พี่ขอสาบานว่า หากพี่ไม่ซื่อสัตย์กับเธอ ขอให้จมน้ำตาย” เป็นต้น อันนี้เป็นการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือกรรมนั่นเอง ว่าให้ส่งผลเช่นนั้น
#ทำไมทำบุญแล้วชีวิตไม่ดีขึ้นเลยเคยสงสัย และ เกิดตั้งคำถามในตัวเองใช่ไหมว่า ทำไมทำบุญแล้วชีวิตไม่ดีขึ้นเลย ไปดูกันครับว่าเพราะอะไรหนึ่งในสถานการณ์ที่มักจะสร้างความคลางแคลงใจให้แก่คนที่เพิ่งจะหันมาศึกษาธรรมะ รวมไปถึงผู้ที่ศึกษาธรรมะมานาน แต่ยังไม่มีความหนักแน่นมากพอที่จะเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็คือ ทำไมทำบุญแต่ชีวิตไม่ดีขึ้นเลยชาวพุทธจำนวนมากทำกิจกรรมทางศาสนาหลายอย่างแล้วคิดว่า การกระทำดังกล่าวได้บุญแต่ความจริงแล้วบางอย่างก็ได้บุญน้อยมากบางอย่างไม่ได้บุญเลยเหตุการณ์ดังกล่าวมักจะทำให้ความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาของบางคนสั่นคลอน แล้วกลายเป็นคนหลงผิด ผมจึงขอรวบรวมเหตุผลส่วนหนึ่งมาอธิบายว่า เพราะเหตุใดการทำบุญจึงไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นดังนี้ 1. ทำบาปเอาไว้มาก แต่ยังทำบุญน้อย ลองคำนวณดูคร่าว ๆ ว่าเราเริ่มศึกษาธรรมะตอนอายุเท่าไร แล้วลองเปรียบเทียบดูว่า จำนวนปีที่เราทำบาปกับจำนวนปีที่เราทำบุญแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผู้อ่านส่วนใหญ่ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังในช่วงอายุ30 กว่า ๆ ต่อมาได้หยุดทำบาปแล้วหันมาทำบุญในช่วงไม่เกิน 5 ปีหลัง ก็แปลว่าก่อนหน้านั้นเราทำบาปมาประมาณ 30 ปีและเริ่มทำบุญจริงจังมาประมาณ 5 ปี จะเห็นได้ว่า ปริมาณการทำบาปในชาตินี้ยังมากกว่าการทำบุญ ฉะนั้น ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชีวิตอาจจะยังไม่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด2. บุญก็ทำ บาปก็ไม่เลิก คนจำนวนไม่น้อยศึกษาธรรมะ แต่เข้าถึงหลักธรรมเพียงด้านเดียวคือการทำบุญ โดยไม่ได้สนใจเลิกทำบาป จึงทำบุญไปด้วย ทำบาปไปด้วยชีวิตโดยรวมก็จะมีสภาพลุ่ม ๆ ดอน ๆเดี๋ยวชีวิตก็ดีเพราะผลบุญที่ทำ เดี๋ยวชีวิตก็แย่เพราะผลของบาปที่ไม่ได้ลดละลงเลย 3. เข้าใจผิด คิดว่าทำบุญอยู่ ชาวพุทธจำนวนมากทำกิจกรรมทางศาสนาหลายอย่าง แล้วคิดว่าการกระทำดังกล่าวได้บุญ แต่ความจริงแล้ว บางอย่างก็ได้บุญน้อยมาก บางอย่างไม่ได้บุญเลย หนำซ้ำกิจกรรมบางอย่างก็ได้บาป ทำให้ไม่มีบุญมาส่งเสริมให้ชีวิตดีขึ้น เช่น การเข้าวัดเฉย ๆ การกราบพระพุทธรูปเพื่อขอพรการสวดมนต์เพื่อให้ร่ำรวย การแก้กรรมการรดน้ำมนต์ การไปร่วมพิธีกรรมต่าง ๆเป็นต้น4. ทำบุญมาก แต่ได้บุญน้อย หลายคนยังคงทำมาหากินในอาชีพที่ผิดศีล เงินที่หามาได้จึงเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งเงินก้อนนี้หากเอาไปทำบุญก็จะได้บุญน้อยมาก จึงไม่มีผลบุญที่จะมาช่วยให้ชีวิตดีขึ้น
5. เข้าใจผิดคิดว่าละบาปแล้วหลายคนมีความเข้าใจเรื่องการทำบาปไม่ครบถ้วน จึงคิดว่าการกระทำของตนไม่บาป และยังคงทำกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดทำให้ยังคงได้บาปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดเช่นกัน ส่งผลให้มีบาปที่รอแสดงผลเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังไม่ได้สู่ขอ การพูดให้คนทะเลาะกัน การพูดจาเสียดแทงจิตใจ เป็นต้น6. ทำบุญไม่ตรงกับผลที่ต้องการ ชาวพุทธจำนวนมากมีความต้องการให้ชีวิตบางด้านดีขึ้น แต่เนื่องจากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมที่ถูกต้อง จึงทำบุญไม่ตรงกับความต้องการ เช่น คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความรัก ความจริงแล้วควรจะรักษาศีลอุโบสถ เลิกพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดหยาบ แต่ก็กลับไปทำสังฆทานที่จะช่วยเรื่องเงินทอง คนที่มีปัญหาเรื่องการทำงานความจริงแล้วควรทำบุญถวายสังฆทาน แต่กลับไปปล่อยปลา ไถ่ชีวิตสัตว์ ซึ่งจะช่วยให้อายุยืนและสุขภาพดี คนป่วยที่ควรจะทำบุญด้วยยาหรือปล่อยปลาที่กำลังจะถูกฆ่า แต่กลับไปซื้อปลาที่เขาเตรียมจับไว้แทน ซึ่งบุญที่ได้จะช่วยเรื่องอิสรภาพมากกว่า 7. บุญยังไม่แสดงผล คนจำนวนหนึ่งมีความเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างถูกต้อง และได้เริ่มต้นทำบุญละบาปมาต่อเนื่องยาวนานนับสิบ ๆ ปี แต่ชีวิตก็ยังไม่ดีขึ้น ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะบุญที่ทำยังไม่สบช่องแสดงผล เพราะในชาติที่แล้ว และชาติก่อนหน้านั้น อาจจะเคยทำบาปเอาไว้มากบาปที่เคยทำจึงยังตามแสดงผลให้เราพบเจอความทุกข์ไม่หยุด ชีวิตจึงยังไม่ดีขึ้นตัวอย่างเหตุผลดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังทุกคนได้ลองหันกลับมาพิจารณาว่า ตัวเราเองเข้าใจเรื่องบาปบุญอย่างถูกต้องแค่ไหน และแท้จริงแล้วตัวเราทำบุญหรือทำบาปมากกว่ากัน ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะเห็นความจริงว่า เราทำดีมากพอหรือยัง (ส่วนใหญ่มักจะยังทำบุญไม่มากพอ และยังทำบาปควบคู่ไปด้วย)ในขณะเดียวกัน ก็หวังว่าความเข้าใจดังกล่าวจะทำให้ทุก ๆ คนสามารถรักษาความมุ่งมั่นในการทำบุญละบาปต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะถึงอย่างไรเส้นทางนี้ก็เป็นเส้นทางที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ และเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
#ธรรมะน่าคิด 10 ข้อ ที่มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน1. ศีลไม่ได้อยู่ที่พระ ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด แต่ศีลอยู่ในกายใจของเรา ธรรมะอยู่ที่สติของเรา2. อย่าแบกอะไรที่เกินกำลังของตัวเอง เพราะไม่เพียงแต่เรา ที่จะต้องทุกข์ แต่จะส่งผลเสียตามมาอีกมากมายให้แก่เรา และคนที่คาดหวังในตัวเรา สุดท้ายแล้ว หากสิ่งไหนที่แบกไม่ไหว ก็ให้ปล่อยวาง แล้วเราจะพบแต่ความสุข3. หากไม่มีสิ่งที่เราชอบ เราควรจะชอบในสิ่งที่เรามี เพราะว่าเราไม่สามารถสมหวังได้กับทุกอย่าง เราต้องหัดที่จะยอมรับกับสิ่งต่างๆ ที่เรามี และเป็นไปได้ มากกว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้4. หากเรารู้สึกผิดต่อสิ่งใด อย่าจมปลักอยู่กับมัน ให้เราเอาสิ่งนั้น มาเป็นแรงผลักดันให้เราเดินหน้าต่อไป เพื่อให้ความรู้สึกผิดนั้นหายไป5. ความล้มเหลวในชีวิตของคนเรานั้น คือส่วนผสมอย่างดีของความสำเร็จ ไม่มีใครบนโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยล้มเหลวมาก่อน6. การรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น7. การไม่คิดร้ายกับผู้อื่น จะทำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการคิดร้ายกับผู้อื่น ก็เหมือนกับเป็นการทำร้ายตัวเองทางอ้อม8. เมื่อไหร่ที่ชีวิตเจอความทุกข์ ต้องไม่มัวแต่เป็นทุกข์ แต่ควรมองดูความทุกข์อย่างมีสติ แล้วคิดพิจารณาหาเหตุผล เป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้เป็น แล้วเราจะสามารถก้าวผ่านไปได้9. ความสุข ที่แท้จริง คือการค้นพบแก่นแท้ของชีวิต แล้วอยู่กับสิ่งนั้น เราก็จะพบความสุข10 โลกจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ว่าเราใช้แว่นตาสีอะไรในการมองและนี่ก็คือธรรมะ 10 ข้อ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหากเราทำตามนี้ รับรองได้เลยว่าชีวิตของเราจะมีแต่ความสุข ปราศจากทุกข์ใดๆ อย่างแน่นอนครับ#ขอให้ได้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม คุณพระรักษาเทวดาคุ้มครอง ขอให้มีความเจริญในธรรม ทุกท่านทุกคนครับ
สวัสดีมีสุขยามเที่ยงค่ะคุณอานนท์ทานข้าวเที่ยงค่ะ .กราบ🙏🙏🙏อนุโมทามิ.🐬🐬🐬
กราบสาธุครับ...🙏🙏🙏
สาธุค่ะ🙏🙏🙏😇😇
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻
"...กับบางเรื่องราวและบางคนสิ่งดีๆเก็บไว้ในความทรงจำนึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขใจ..." บุญรักษา สาธุๆๆในธรรมค่ะท่านอานนท์.....🌿🍁🙏🙏🙏🍁🌿
อนุโมทนาสาธุธรรมด้วยค่ะสาธุ
กราบอนุโมทนาสาธุครับ
น้อมกราบสาธุสาธุสาธุครับคุณอานนท์❤❤❤❤❤❤
กราบขอบพระคุณมากค่ะ🙏🙏🙏
#สำหรับผู้ไม่สะดวกรับฟังด้วยเสียง
#คนชอบสาบานทั้งที่รู้ว่าจะไม่ทำตาม จะมีผลหรือไม่
ถาม
ถ้าบุคคลชอบสาบานเพื่อให้คนอื่นเชื่อ ถ้าไม่เป็นจริง มีผลต่อผู้พูดมากน้อยแค่ไหนคะ มากกว่าศีลข้อมุสาหรือไม่?
ตอบ
เจตนากล่าวไม่ตรงกับความจริงทั้งที่รู้อยู่ เรียกว่า “สัมปชานมุสาวาท”ฉะนั้น ผู้ที่สาบานโดยรู้อยู่ว่าจะไม่ทำตามนั้น จึงเป็น”สัมปชานมุสาวาท” การสาบานนั้น โดยทั่วไป ย่อมมีการตั้งเงื่อนไขเพื่อสาปแช่งตนเองร่วมอยู่ด้วยว่า “ถ้าไม่ทำขอให้เป็นเช่นนั้นเช่นนี้” ฉะนั้น ผู้สาบานโดยมีการสาปแช่งตนร่วมอยู่ด้วย ผลที่ได้เมื่อไม่ทำตามนั้นคือ ตนของตนย่อมสำนึกได้ถึงการสาปแช่งตนเอง โดยมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวอ้างบางอย่างเป็นแรงผลักดันให้สำเร็จ ฉะนั้น เมื่อกล่าวถึงบาปในการสาบานร่วมกับคำสาปแช่ง โดยตั้งใจจะไม่ทำอยู่แล้ว ย่อมให้ผล ๒ ประการคือ
๑. การอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อยืนยันคำสัตย์ทั้งที่รู้ว่าเป็นเท็จ เจตนาให้พูดเท็จย่อมมั่นคงกว่า มีผลต่อจิตใจมากกว่า ด้วยดูแคลนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่าไม่มี วิบากแห่งกรรมไม่มี หรือไม่อาจบันดาลผล เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้จิตปราศจากความละอายและเกรงกลัวต่อบาปอย่างมั่นคง (โลภมูลจิต ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง อสังขาริกัง) ด้วยเหตุนี้ บาปในการมุสาวาทจึงรุนแรงมากตามอกุศลเจตนาที่มั่นคงนั่นเอง
๒. ตนของตนย่อมสาปแช่งตนของตนอยู่เนืองๆ ด้วยรู้อยู่ว่า ตนได้กล่าวคำใดออกไป และผลของกรรมควรเป็นเช่นไร ฉะนั้น ตนนั่นแลย่อมดึงเอาอกุศลสัญญา ความทรงจำนั้นขึ้นมาเตือนจิตตนเสมอ เป็นเหตุชักนำให้อกุศลวิบากนั้นๆ เกิดขึ้นตามมาได้เร็วขึ้น และหนักหน่วงยิ่งขึ้น ตามแต่จิตที่ระลึกถึงอกุศลวิบากอันควรจะปรากฏได้อยู่เนืองๆ
ฉะนั้น การสาบานร่วมกับการสาปแช่งตนทั้งรู้อยู่ว่าจักไม่ทำตามจึงเป็นบาปมาก และให้ผลต่อชีวิตของผู้นั้นอย่างแน่นอน ทว่า ขึ้นอยู่กับกุศลกรรม(บุญ)ในอดีตหรือปัจจุบันที่กระทำอยู่ ว่ามีกำลังเพียงใดที่จะชิงให้ผลก่อน หรือปิดกั้นให้คำสาปแช่งนั้นจักยังให้ผลไม่ได้ ตราบใดที่กุศลกรรมในอดีตที่กำลังส่งผลและกุศลกรรมที่กำลังกระทำอยู่ในปัจจุบันถอยกำลังลง เมื่อนั้น อกุศลวิบากอันเผ็ดร้อนย่อมรอลำดับแห่งการให้ผลตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง…
ถาม
การสาบานกับ การอธิษฐานจิต เหมือนกันมั้ย เช่นว่าสาบานว่าจะนั่งสมาธิไม่ขยับตัว ถ้าผิดไปจากนี้ขอให้ … หรือถ้าทำได้ขอให้ …กับอธิษฐานจิตว่าจะนั่งสมาธิไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจะไม่ขยับตัว แล้วตอนท้ายผิดคำสาบานหรือตอนท้ายผิดคำอธิษฐานจิต ผลจะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?
พอถามแบบนี้เเล้วจึงยิ่งทำให้สงสัยเพิ่มขึ้นอีกสัญญา สาบาน อธิษฐานจิต 3 คำนี้ต่างกันอย่างไรตามศัพท์และผลจากการตั้งจิตในการสัญญา ผลการตั้งจิตในการสาบาน ผลการตั้งจิตในการอธิษฐานทั้งสามอย่างนี้ต่างกันอย่างไร?
ตอบ
พึงเข้าใจความหมายที่แตกต่างระหว่างคำทั้ง ๓ ครับ
๑. คำว่า สาบาน หมายถึง การปฏิญญาว่าจะทำสิ่งใด หรือการประกาศสัจวาจาว่า สิ่งใดคือความจริง แล้วสำทับด้วยการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าผิดไปจากนี้ ขอให้ความวิบัติจงเกิดขึ้นแก่ตนเช่น “ข้าฯ ขอสาบานว่า ข้าฯ ไม่ได้โกงเงินโรงเรียน ถ้าผิดจากคำนี้ ขอให้เทวดาอารักษ์ลงโทษให้วิบัติใน ๗ วัน” เป็นต้น หรือ“ข้าฯ ขอสาบานว่า คำนี้เป็นคำจริง ถ้าข้าโกหก ขอให้เทพเจ้าลงโทษ” เป็นต้น
๒. คำว่า อธิษฐาน หมายถึง การตั้งจิตมั่น ว่าจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ลุล่วงให้ได้ จะอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็ได้ หรืออาจมีการขอพรร่วมด้วยก็ได้ (ตามความนิยม)เช่น “ข้าฯ ขอตั้งจิตรักษาศีล ๕ให้บริสุทธิ์ จนตลอดชีวิต นับแต่บัดนี้” หรือ“ในพรรษานี้ตลอด ๓ เดือน ข้าฯ จะไม่ดื่มสุราเป็นเด็ดขาด ด้วยผลแห่งบุญนี้ ขอข้าฯ จงได้งานทำด้วยเถิด” เป็นต้น
๓.คำว่า สัญญา หมายถึง การให้คำมั่นแก่อีกบุคคลหนึ่ง ว่าจะทำอะไร โดยไม่มีการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือคำสาปแช่งใดๆเช่น “หนูขอสัญญาว่า หนูจะไม่หนีไปเล่นน้ำโดยที่ไม่บอกแม่อีก” หรือ“ข้าฯ ขอสัญญาว่า จะซื่อสัตย์กับเธอแม้เพียงคนเดียวเท่านั้น”เป็นต้นต่อเมื่อในบางกรณี ผู้รับคำสัญญายังไม่พอใจเพียงคำสัญญานั้น กลับให้สาบานสำทับอีกชั้นก็ได้เช่น หญิง “ถ้าพี่รักน้องจริง น้องขอให้พี่สาบานได้ไหม”ชาย “พี่ขอสาบานว่า หากพี่ไม่ซื่อสัตย์กับเธอ ขอให้จมน้ำตาย” เป็นต้น อันนี้เป็นการอ้างอิงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือกรรมนั่นเอง ว่าให้ส่งผลเช่นนั้น
#ทำไมทำบุญแล้วชีวิตไม่ดีขึ้นเลย
เคยสงสัย และ เกิดตั้งคำถามในตัวเองใช่ไหมว่า ทำไมทำบุญแล้วชีวิตไม่ดีขึ้นเลย ไปดูกันครับว่าเพราะอะไร
หนึ่งในสถานการณ์ที่มักจะสร้างความคลางแคลงใจให้แก่คนที่เพิ่งจะหันมาศึกษาธรรมะ รวมไปถึงผู้ที่ศึกษาธรรมะมานาน แต่ยังไม่มีความหนักแน่นมากพอที่จะเชื่อมั่นในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็คือ ทำไมทำบุญแต่ชีวิตไม่ดีขึ้นเลย
ชาวพุทธจำนวนมากทำกิจกรรมทางศาสนาหลายอย่างแล้วคิดว่า การกระทำดังกล่าวได้บุญแต่ความจริงแล้วบางอย่างก็ได้บุญน้อยมากบางอย่างไม่ได้บุญเลย
เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะทำให้ความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนาของบางคนสั่นคลอน แล้วกลายเป็นคนหลงผิด ผมจึงขอรวบรวมเหตุผลส่วนหนึ่งมาอธิบายว่า เพราะเหตุใดการทำบุญจึงไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นดังนี้
1. ทำบาปเอาไว้มาก
แต่ยังทำบุญน้อย ลองคำนวณดูคร่าว ๆ ว่าเราเริ่มศึกษาธรรมะตอนอายุเท่าไร แล้วลองเปรียบเทียบดูว่า จำนวนปีที่เราทำบาปกับจำนวนปีที่เราทำบุญแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น สมมุติว่าผู้อ่านส่วนใหญ่ศึกษาธรรมะอย่างจริงจังในช่วงอายุ30 กว่า ๆ ต่อมาได้หยุดทำบาปแล้วหันมาทำบุญในช่วงไม่เกิน 5 ปีหลัง ก็แปลว่าก่อนหน้านั้นเราทำบาปมาประมาณ 30 ปีและเริ่มทำบุญจริงจังมาประมาณ 5 ปี จะเห็นได้ว่า ปริมาณการทำบาปในชาตินี้ยังมากกว่าการทำบุญ ฉะนั้น ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชีวิตอาจจะยังไม่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
2. บุญก็ทำ บาปก็ไม่เลิก
คนจำนวนไม่น้อยศึกษาธรรมะ แต่เข้าถึงหลักธรรมเพียงด้านเดียวคือการทำบุญ โดยไม่ได้สนใจเลิกทำบาป จึงทำบุญไปด้วย ทำบาปไปด้วยชีวิตโดยรวมก็จะมีสภาพลุ่ม ๆ ดอน ๆเดี๋ยวชีวิตก็ดีเพราะผลบุญที่ทำ เดี๋ยวชีวิตก็แย่เพราะผลของบาปที่ไม่ได้ลดละลงเลย
3. เข้าใจผิด คิดว่าทำบุญอยู่
ชาวพุทธจำนวนมากทำกิจกรรมทางศาสนาหลายอย่าง แล้วคิดว่าการกระทำดังกล่าวได้บุญ แต่ความจริงแล้ว บางอย่างก็ได้บุญน้อยมาก บางอย่างไม่ได้บุญเลย หนำซ้ำกิจกรรมบางอย่างก็ได้บาป ทำให้ไม่มีบุญมาส่งเสริมให้ชีวิตดีขึ้น เช่น การเข้าวัดเฉย ๆ การกราบพระพุทธรูปเพื่อขอพรการสวดมนต์เพื่อให้ร่ำรวย การแก้กรรมการรดน้ำมนต์ การไปร่วมพิธีกรรมต่าง ๆเป็นต้น
4. ทำบุญมาก แต่ได้บุญน้อย
หลายคนยังคงทำมาหากินในอาชีพที่ผิดศีล เงินที่หามาได้จึงเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งเงินก้อนนี้หากเอาไปทำบุญก็จะได้บุญน้อยมาก จึงไม่มีผลบุญที่จะมาช่วยให้ชีวิตดีขึ้น
5. เข้าใจผิด
คิดว่าละบาปแล้วหลายคนมีความเข้าใจเรื่องการทำบาปไม่ครบถ้วน จึงคิดว่าการกระทำของตนไม่บาป และยังคงทำกรรมนั้นอย่างต่อเนื่องไม่หยุดทำให้ยังคงได้บาปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดเช่นกัน ส่งผลให้มีบาปที่รอแสดงผลเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้ของละเมิดลิขสิทธิ์การมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังไม่ได้สู่ขอ การพูดให้คนทะเลาะกัน การพูดจาเสียดแทงจิตใจ เป็นต้น
6. ทำบุญไม่ตรงกับผลที่ต้องการ
ชาวพุทธจำนวนมากมีความต้องการให้ชีวิตบางด้านดีขึ้น แต่เนื่องจากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมที่ถูกต้อง จึงทำบุญไม่ตรงกับความต้องการ เช่น คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความรัก ความจริงแล้วควรจะรักษาศีลอุโบสถ เลิกพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดหยาบ แต่ก็กลับไปทำสังฆทานที่จะช่วยเรื่องเงินทอง คนที่มีปัญหาเรื่องการทำงานความจริงแล้วควรทำบุญถวายสังฆทาน แต่กลับไปปล่อยปลา ไถ่ชีวิตสัตว์ ซึ่งจะช่วยให้อายุยืนและสุขภาพดี คนป่วยที่ควรจะทำบุญด้วยยาหรือปล่อยปลาที่กำลังจะถูกฆ่า แต่กลับไปซื้อปลาที่เขาเตรียมจับไว้แทน ซึ่งบุญที่ได้จะช่วยเรื่องอิสรภาพมากกว่า
7. บุญยังไม่แสดงผล
คนจำนวนหนึ่งมีความเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างถูกต้อง และได้เริ่มต้นทำบุญละบาปมาต่อเนื่องยาวนานนับสิบ ๆ ปี แต่ชีวิตก็ยังไม่ดีขึ้น ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะบุญที่ทำยังไม่สบช่องแสดงผล เพราะในชาติที่แล้ว และชาติก่อนหน้านั้น อาจจะเคยทำบาปเอาไว้มากบาปที่เคยทำจึงยังตามแสดงผลให้เราพบเจอความทุกข์ไม่หยุด ชีวิตจึงยังไม่ดีขึ้น
ตัวอย่างเหตุผลดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังทุกคนได้ลองหันกลับมาพิจารณาว่า ตัวเราเองเข้าใจเรื่องบาปบุญอย่างถูกต้องแค่ไหน และแท้จริงแล้วตัวเราทำบุญหรือทำบาปมากกว่ากัน ถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะเห็นความจริงว่า เราทำดีมากพอหรือยัง (ส่วนใหญ่มักจะยังทำบุญไม่มากพอ และยังทำบาปควบคู่ไปด้วย)
ในขณะเดียวกัน ก็หวังว่าความเข้าใจดังกล่าวจะทำให้ทุก ๆ คนสามารถรักษาความมุ่งมั่นในการทำบุญละบาปต่อไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ เพราะถึงอย่างไรเส้นทางนี้ก็เป็นเส้นทางที่ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนเอาไว้ และเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
#ธรรมะน่าคิด 10 ข้อ ที่มีประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน
1. ศีลไม่ได้อยู่ที่พระ ธรรมะไม่ได้อยู่ที่วัด แต่ศีลอยู่ในกายใจของเรา ธรรมะอยู่ที่สติของเรา
2. อย่าแบกอะไรที่เกินกำลังของตัวเอง เพราะไม่เพียงแต่เรา ที่จะต้องทุกข์ แต่จะส่งผลเสียตามมาอีกมากมายให้แก่เรา และคนที่คาดหวังในตัวเรา สุดท้ายแล้ว หากสิ่งไหนที่แบกไม่ไหว ก็ให้ปล่อยวาง แล้วเราจะพบแต่ความสุข
3. หากไม่มีสิ่งที่เราชอบ เราควรจะชอบในสิ่งที่เรามี เพราะว่าเราไม่สามารถสมหวังได้กับทุกอย่าง เราต้องหัดที่จะยอมรับกับสิ่งต่างๆ ที่เรามี และเป็นไปได้ มากกว่าสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
4. หากเรารู้สึกผิดต่อสิ่งใด อย่าจมปลักอยู่กับมัน ให้เราเอาสิ่งนั้น มาเป็นแรงผลักดันให้เราเดินหน้าต่อไป เพื่อให้ความรู้สึกผิดนั้นหายไป
5. ความล้มเหลวในชีวิตของคนเรานั้น คือส่วนผสมอย่างดีของความสำเร็จ ไม่มีใครบนโลกนี้ที่ประสบความสำเร็จ โดยไม่เคยล้มเหลวมาก่อน
6. การรักษาศีลอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เรามีชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น
7. การไม่คิดร้ายกับผู้อื่น จะทำให้เรามีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการคิดร้ายกับผู้อื่น ก็เหมือนกับเป็นการทำร้ายตัวเองทางอ้อม
8. เมื่อไหร่ที่ชีวิตเจอความทุกข์ ต้องไม่มัวแต่เป็นทุกข์ แต่ควรมองดูความทุกข์อย่างมีสติ แล้วคิดพิจารณาหาเหตุผล เป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้เป็น แล้วเราจะสามารถก้าวผ่านไปได้
9. ความสุข ที่แท้จริง คือการค้นพบแก่นแท้ของชีวิต แล้วอยู่กับสิ่งนั้น เราก็จะพบความสุข
10 โลกจะเป็นอย่างไร มันขึ้นอยู่กับตัวของเราเอง ว่าเราใช้แว่นตาสีอะไรในการมอง
และนี่ก็คือธรรมะ 10 ข้อ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งหากเราทำตามนี้ รับรองได้เลยว่าชีวิตของเราจะมีแต่ความสุข ปราศจากทุกข์ใดๆ อย่างแน่นอนครับ
#ขอให้ได้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม คุณพระรักษาเทวดาคุ้มครอง ขอให้มีความเจริญในธรรม ทุกท่านทุกคนครับ
สวัสดีมีสุขยามเที่ยงค่ะคุณอานนท์ทานข้าวเที่ยงค่ะ .กราบ🙏🙏🙏อนุโมทามิ.🐬🐬🐬
กราบสาธุครับ...🙏🙏🙏
สาธุค่ะ🙏🙏🙏😇😇
สาธุ สาธุ สาธุค่ะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻
"...กับบางเรื่องราวและบางคนสิ่งดีๆเก็บไว้ในความทรงจำนึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขใจ..."
บุญรักษา สาธุๆๆในธรรมค่ะท่านอานนท์.....
🌿🍁🙏🙏🙏🍁🌿
อนุโมทนาสาธุธรรมด้วยค่ะสาธุ
กราบอนุโมทนาสาธุครับ
น้อมกราบสาธุสาธุสาธุครับคุณอานนท์❤❤❤❤❤❤
กราบขอบพระคุณมากค่ะ🙏🙏🙏