สรรพนามไทย ซับซ้อนที่สุดในโลก! จริงเหรอ?

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 2 фев 2025

Комментарии • 665

  • @PKit-Official
    @PKit-Official  9 дней назад +43

    สวัสดีครับ
    ลองมาตอบ 3 ข้อได้นะครับ
    1. คิดออกกี่คำใน 1 นาที
    2. มีคำอื่นไหม
    3. ใช้แบบไหนบ้าง ใช้อย่างไร
    ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ
    เจอกันคลิปต่อไป
    คริส

    • @bluewish1427
      @bluewish1427 9 дней назад +6

      กู กับ มึง เป็นคำแทนตัวในสมัยก่อน แต่ในสมัยนี้ถือว่าหยาบคาย เอาไว้แค่พูดกับเพื่อนสนิทเท่านั้น ฮา(ฉัน) คิง(เธอ) นี่น่าจะเป็นภาษาเหนือนะ

    • @สมพงษ์สาบุบผา
      @สมพงษ์สาบุบผา 9 дней назад +5

      เค้า คู่กับ ตัวเอง ตะเอง

    • @Romantic_Rock
      @Romantic_Rock 8 дней назад +2

      ข้อ3 ถ้าไม่ชัวร์เรียกพี่ได้ครับ ถือเป็นการให้เกียรติ หรือคุณก็ไม่แปลก

    • @1250RT
      @1250RT 8 дней назад +4

      เรา เธอ ฮา คิง สู ข่อย 😅

    • @sompornlaosaengfar2448
      @sompornlaosaengfar2448 8 дней назад +1

      กูเป็นคำจีนโบราณ

  • @chalongratchartprasert8258
    @chalongratchartprasert8258 8 дней назад +41

    เก่งมากๆค่ะ วันนี้ มาถึงจุด ที่ ฝรั่งมาอธิบาย ภาษาไทยให้ฟังแล้ว 😊😊 เรารักคุณ ค่ะ สมคิด😂❤❤❤

    • @pongtarattantiapigul2813
      @pongtarattantiapigul2813 7 дней назад +3

      มีหลายช่องครับ มีช่องนึงบงลึกไปถึงภาษาศาสตร์ การออกเสียง การเทียบกับภาษาอื่น
      บางช่องต่างชาตินั่งคุยกันเป็นภาษาไทย 555

  • @เต๋าลพบุรี
    @เต๋าลพบุรี 16 часов назад +1

    เก่งมากครับ... รวบรวมได้มาตั้งเยอะ ลองคุยความหมายของคำกับคนไทยก่อนทำคลิปก็ได้ จะได้ลึกซึ้งความหมาย และทราบสถาณการณ์ การใช้คำ... ก็ขอขอบคุณอยู่ดี...

  • @meawdecatshop2474
    @meawdecatshop2474 9 дней назад +75

    กู ในสมัยโบราณพูดทั่วไป ไม่ถือว่าหยาบ. แต่มาใช้ในปัจจุบัน ถือว่าไม่สุภาพ. ต่อหน้าผู้สูงอายุไม่ควรพูด จะใช้ " กู" เมื่อพูดกับเพื่อนสนิทมากๆ ประมาณเพื่อนกลุ่มเดียวกัน ไปไหนไปกัน ไม่ทิ้งกัน. "กู" พูดที่สาธารณะได้ไม่ห้าม แต่จะเบาเสีบงหน่อยเพื่อมารยาทต่อคนอื่นที่ได้ยิน
    และอีกแบบที่พิเศษมาก พูด "กู" เมื่อมีเรื่องทะเลาะกัน จะเป็นคนรู้จักหรือไม่รู้จักก็ได้. จะใช้ "กู" บ่งบอกอารมณ์ ว่าไม่สบอารมณ์แล้ว โกรธแล้วนะ. พูดกระแทกหน้าอีกฝ่ายเพื่อความสะใจ.เพื่อยียวน กวนประสาทคู่กรณี โดยที่ไม่ต้องสนใจว่าจะเสียงดังแค่ไหน. ใส่เต็มที่
    กระหม่อม (ชาย )/หม่อมฉัน (หญิง) พูดแทนตัวเมื่อเราคุยกับญาติของกษัตริย์ คนไทยเรียก. ราชวงศ์ (ราช=ราชา, วงศ์=วงศา= ตระกูล ครอบครัว)ดังนั้นจะไม่ได้ยินทั่วไป เฉพาะผู้ถวายงาน (=ทำงาน)ใกล้ชิดที่ใช้
    " เรา" ใช้พูดในกลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน. แต่จะให้ความรู้สึก แข็งกว่า คำว่า "เค้า" ที่ออกแนว น่ารัก อยากให้คนที่คุยด้วย รู้สึกเอ็นดู

    • @ธิดาอรัญไสว
      @ธิดาอรัญไสว 8 дней назад

      😊😊

    • @tospornchaowachat211
      @tospornchaowachat211 8 дней назад

      ในกลุ่มเพื่อนสนิท มาคุณๆ ผมๆ มีหว้งโดนเตะ มันก็ต้อง มึงๆกูๆ ค่อยซี้กันหน่อย

    • @wiratroopyai5894
      @wiratroopyai5894 6 дней назад +3

      สรรพนามไทยจะมีหลายคำเพราะว่าแต่ละสถานการณ์ และตามวัยวุฒิ มีอีกคำคือ "ข้าน้อย"

    • @ultima0
      @ultima0 3 дня назад +3

      กู มันค่อนข้างหยาบ ก็บิดมาเป็น ตู, กรู เพื่อเลี่ยงคำหยาบ (เจอบ่อยในหนังสือการ์ตูน ที่พยายามจะไม่ใส่คำหยาบลงไป)

  • @Nutt-k6l
    @Nutt-k6l День назад +1

    ถ้าเราเจอคนที่ไม่รู้ว่าอายุจะน้อยหรือมากกว่าเรา ส่วนใหญเขาก็จะเรียกว่า พี่ ถือว่าเป็นการให้เกียรติก่อน เรียกพี่ก่อน อย่าเรียกน้อง พอรู้จักกันแล้วค่อยมาถามอายุกันอีกที่ คิดว่าน่าจะใช่แบบนี้มั้ง❤❤❤❤❤

  • @user-jt8yw6je4j
    @user-jt8yw6je4j 10 дней назад +46

    1ภาษาพูดเฉพาะคนรู้จัก
    2ภาษาราชการ
    3ภาษาชนชั้น
    4ภาษาท้องถิ่น ทั้ง4ภาค
    5ภาษาวัยรุ่นใหม่ๆ
    6ภาษากลางปกติ
    ถ้าต่างชาติ เรียนจากห้องเรียน แล้วมาคุยกับคนไทย จะปวดหัว

    • @user-jt8yw6je4j
      @user-jt8yw6je4j 10 дней назад

      เพิ่มภาษาผู้ชาย หญิง บางทีก็กะเทย

    • @prasitopatawong8262
      @prasitopatawong8262 8 дней назад +3

      555 ความเห็นนี้ นำไปต่อยอด ให้ต่างชาติไปศึกษาได้อีก เยี่ยม มันเยอะมาก แม้แต่คนไทย ถ้าไม่เคยท่องยุทภพมาก ก็ต้องศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะภาษถิ่น

    • @mikimokocooly2462
      @mikimokocooly2462 8 дней назад +4

      สรุปดี และแต่ละข้อ ยกตัวอย่างได้อีกหลายคำ 555

    • @ขอบฟ้ากว้าง
      @ขอบฟ้ากว้าง 7 дней назад +3

      ภาษาไทยมันดิ้นไปเรื่อยได้

    • @gorgornia6868
      @gorgornia6868 6 дней назад +3

      ดูหน้านายแล้วเรียกตัวเองว่าพี่เถอะ

  • @pittayatmc
    @pittayatmc 9 дней назад +51

    "นี่" คิดว่า...... คำว่า"นี่" ก็สามารถใช้แทน คำว่า " I " ได้ใช้ในบริบทที่คนที่คุยด้วยไม่สนิทและสามารถใช้แทนตัวเองในกรณีอธิบายความเห็นส่วนตัว

    • @ppg6414
      @ppg6414 7 дней назад

      แล้ว นี่ ก็ยังเป็นบุรุษที่2และ3ได้ด้วย เช่น พี่เอานี่(3)ให้นี่(2) ไปละยัง?

    • @pagasherdaddy6420
      @pagasherdaddy6420 6 дней назад +2

      ส่วนตัวผมคิดว่า..คนที่ใช้คำว่า "นี่" แทนตัวเอง มีความรู้สึกว่า คนพูด..เป็นคนที่มีลักษณะนิสัยค่อนข้างจะ ถือตัว อวดเก่ง อวดฉลาด..ยังไงไม่รู้.. เพราะสำหรับผม..คำว่า นี่ มันไม่เคยเป็นสรรพนามแทนตัวมาแต่แรก ยิ่งถ้าพูด/แสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ ยิ่งไม่เหมาะ... มีคำที่ใช้เป็นสรรพนามแทนตัวได้ตั้งหลายคำ... เช่น ผม,ดิฉัน,หนู ..เป็นพื้นฐาน หรือ ตำแหน่งหน้าที่ เช่น ครู/อาจารย์..ไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆ.. หรือ พี่.... ก็ว่าไป

    • @Charlott_fuwa
      @Charlott_fuwa 6 дней назад

      ​@@pagasherdaddy6420 สำหรับผมคิดว่าคนที่ใช้ นี่ เป็นคนที่ดูน่าเอ็นดู พูดน้อย ขี้อาย ผมว่าน่าจะเเล้วเเต่คน เเล้วเเต่สังคมนะครับ

    • @HuhffHuhf
      @HuhffHuhf 6 дней назад +3

      คำว่านี่ส่วนมากจะใช้คุยกับเพื่อนสนิทมากกว่า เช่นนี่เธอจะทำอะไร นี่เธอจะไปไหนอะไรแบบนี้

    • @Gatito_Calico
      @Gatito_Calico 5 дней назад +3

      นี่ ในที่นี้เหมือนชี้ตัวเองมากกว่า

  • @อัญชลีซ้ายสุพันธ์

    เพิ่มให้ เกล้ากระผม เกล้ากระหม่อม .ขัาพระพุทธเจ้า . ,ผู้ข้า(คำของอิสาน) .ข้าน้อย .ข้าเจ้า(ภาคเหนือ) ชั้น, อิชั้น,เดี้ยน และตู

  • @Lor_tae
    @Lor_tae 10 дней назад +16

    ยังมีมากกว่านี้เยอะเลยครับ เกือบ100คำได้ แต่ใช้แค่พื้นฐานที่คนไทยเราใช้กันปกติอะดีแล้วครับมันมีเยอะมากจริงๆ แม้แต่คนไทยแท้ๆอย่างผมก็ยังงงและจำได้ไม่หมดเลยครับ555

  • @ไกรศักดิ์ทองสกุลงาม

    ชื่อเล่นของทุกคน ก็ใช้ได้ครับมีเป็นล้าน..มีอีกเช่น
    ลูก/หลาน/น้อง/พี่/น้า/อา/ลุง/ป้า/ปู่/ย่า/ตา/ยาย/ทวด/เขย/ใภ้/อั๊ว/โยม /ตู /เรา/หนู/น้อง+ชื่อเล่น/พี่+ชื่อเล่น/ฯลฯ ใช้แทนตัวเองได้หมดแล้วแต่สถานการณ์ครับ..ขอเสริมอีกนิดครับ คำที่ใช้แทนตัวเรา..ถ้าคุยกับเพื่อนในสมัยก่อนคือคำว่า "กัน" ใช้แทนคำว่า"เรา"ครับ

  • @kittipongpiyawanno315
    @kittipongpiyawanno315 7 дней назад +4

    ตามแนวความคิดของโพสต์โมเดิร์นสายโครงสร้างนิยม ภาษาเป็นโครงสร้างทางความคิด และสะท้อนวิธีคิดของคนในสังคม เนื่องจากสังคมไทยเป็นสังคมมีลำดับชั้น และเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภาษาจึงมีความละเอียดอ่อนในเรื่องของสรรพนาม แต่กลับไม่มี tense แสดงให้เห็นว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวลาและการวางแผน

  • @kongdechracharojnee4622
    @kongdechracharojnee4622 9 дней назад +22

    ภาคใต้ หนุ้ย(ชาย หญิง), จิ๋ม(หญิง)ลูกคุยกับแม่, นู๋(ช,ญ),บ่าว(ช),หลวง(ช,พระ),บัง(ช)

    • @inmaginedaftpunk4808
      @inmaginedaftpunk4808 7 дней назад +1

      หนูแบบนี้ครับอันนั้นสะกดผิด

    • @BungbanKris
      @BungbanKris 6 дней назад +1

      ฉาน

  • @ladaphornphiphat
    @ladaphornphiphat 9 дней назад +6

    สวัสดีครับ เป็นคอนเท็นต์ที่สนุก ๆ ครับ แต่ชีวิตจริงเลือกได้ที่จะเรียนรู้แบบซับซ้อน หรือ ไม่ซับซ้อนครับ
    สรรพนามในหมวดราชาศัพท์ (กระหม่อม, หม่อมฉัน ฯลฯ) และ พระสงฆ์ในพุทธศาสนา ให้แยกออกไปก่อน ไม่ควรนับรวมในชีวิตประจำวันครับ เพราะในชีวิตจริงแทบจะไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน ยกเว้นบุคคลที่เกี่ยวข้อง
    การใช้สรรพนามที่เหมาะสม ควรแยกหมวดการใช้เพื่อง่ายต่อการเรียนรู้ และเลือกนำไปสอนและใช้ในชีวิตจริงเป็นส่วนใหญ่ เช่น หมวด
    1. สุภาพชนทั่วไป (ทางการ, ไม่ทางการ) ใช้ในชีวิตจริง 60%-100%
    2. ภายในครอบครัว 20%
    3. ภายในหมู่เพื่อน ๆ (แก็งค์สุภาพชน) 15%
    4. ภายในหมู่เพื่อนสนิท ( แก็งค์กิน-นอน-เที่ยว-ดื่ม-ด้วยกัน) 5%
    สรรพนามที่ใช้ในแต่ละภูมิภาค (กลาง, เหนือ, อิสาน, ใต้) มักใช้ในหมวดที่ 2-3-4 ดังนั้นหากมีการสอนและถ่ายทอดให้ชาวต่างชาติเรียนรู้กันไม่ว่าจะในห้องเรียน และ ทั่วไป ควรเน้นใช้เฉพาะหมวดที่ 1 เท่านั้น ส่วนหมวดที่ 2-3-4 ให้เรียนรู้กันเองเฉพาะในกลุ่มดีกว่าครับ
    ที่ว่าในหมวดที่ 1 ใช้ในชีวิตจริง 60-100% เหตุเพราะว่า ในครอบครัว, ในหมู่เพื่อน ๆ จนถึง เพื่อนสนิท (หมวด 2-3-4) หลายกลุ่มแก็งค์ (ส่วนใหญ่) ก็เลือกใช้สรรพนามในหมวดนี้ครับ

  • @Pimpa-h6s
    @Pimpa-h6s 17 часов назад

    กูเป็นภาษาโบราณสมัยนี้ถือว่าไม่สุภาพ แต่เป็นคำที่ยังนิยมใช้กันมาก ส่วนใหญ่ไช้กับเพื่อนสนิท(ใช้ได้ไม่ถือว่าหยาบคาย)ญาติผู้ใหญ่ หรือคนแก่ๆนิยมใช้กับเด็กๆ(ในชนบทมักได้ยินคำนี้) หรือใช้เวลาทะเลาะวิวาทกันใช้โดยไม่เลือกอายุแบบนี้เรียกว่าหยาบคาย ส่วนทางภาคใต้สรรพนามบุคคลที่1.ผู้หญิง
    ชื่อตัวเอง,นุ้ย,ลูก,ฉาน ใช้กับคนที่อายุมากกว่า
    เค้า,เรา,เพื่อน,กู(ใช้กับคนสนิท,)ชื่อตัวเอง ใช้คนวัยเดียวกัน
    พี่,น้า,อา,ป้า,ย่า,ยาย ใช้กับคนอายุน้อยกว่า
    ผู้ชาย ผม ใชักับอายุมากกว่า,ใช้ได้ทุกวัย
    เรา,กู ใช้กับคนอายุเท่ากันหรือน้อยกว่าและสนิทกัน

  • @wwyii3743
    @wwyii3743 3 дня назад +1

    ศึกษาแบบนี้สุดๆเลยครับ คนไทยบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำ แบบไม่รู้ตัว 555 #จริงๆสำคัญมากนะ ❤❤❤❤

  • @BorromwoothPoottichart
    @BorromwoothPoottichart 9 дней назад +18

    นอกจากนั้น ใครมีเชื้อสายจีนก็จะมี อั๊วะ เฮีย เจ้ (ถึงไม่ใช่ครอบครัวแต่รู้อายุหรือสถานะก็ใช้กันได้ เช่น ม้าอยากให้หนูช่วยติวลูกม้าหน่อย) หากขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้แทนตัวว่า ลูกช้าง, ส่วนท้องถิ่นบางที่ใช้คำว่า เอง แทนตัวเอง ฯลฯ

  • @namejoe1
    @namejoe1 9 дней назад +47

    ข้าพเจ้าปวดกระบานครับ
    สรรพนามในภาษาไทยแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามหน้าที่และการใช้งาน โดยมีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทย เช่น การให้เกียรติ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และบริบททางสังคม สรรพนามในภาษาไทยสามารถแบ่งได้ดังนี้:
    1. สรรพนามบุรุษ (Personal Pronouns)
    ใช้แทนตัวผู้พูด ผู้ฟัง หรือบุคคลที่กล่าวถึง แบ่งตามลำดับบุรุษ ได้แก่:
    บุรุษที่ 1 (ผู้พูด):
    ทางการ: ดิฉัน, ผม, กระผม
    ไม่เป็นทางการ: ฉัน, เรา, ชั้น, เค้า, หนู, พี่, ป้า, ลุง
    สรรพนามสุภาพ: ข้าพเจ้า, อาตมา (พระสงฆ์)
    บุรุษที่ 2 (ผู้ฟัง):
    ทางการ: คุณ, ท่าน
    ไม่เป็นทางการ: เธอ, แก, เอ็ง, นาย, พี่, หนู
    สรรพนามสุภาพ: พระคุณท่าน, พระเดชพระคุณ (สำหรับพระสงฆ์)
    บุรุษที่ 3 (บุคคลที่ถูกกล่าวถึง):
    ทางการ: เขา, เธอ, ท่าน, บุคคลนั้น
    ไม่เป็นทางการ: มัน, หล่อน, พวกเขา
    สรรพนามสุภาพ: พระองค์ท่าน (สำหรับพระมหากษัตริย์), ใต้เท้า, ฝ่าบาท
    2. สรรพนามแทนชื่อ (Nominal Pronouns)
    ใช้แทนชื่อเฉพาะ เช่น:
    แทนตำแหน่งหรือสถานะ: นายกฯ, ผู้อำนวยการ, ท่านอธิการบดี
    แทนความสัมพันธ์: พ่อ, แม่, พี่, น้อง, ลุง, ป้า
    3. สรรพนามชี้เฉพาะ (Demonstrative Pronouns)
    ใช้ชี้เฉพาะสิ่งของหรือบุคคล:
    นี่, นั่น, โน่น, นี้, นู่น
    ตัวอย่าง: "สิ่งนี้คือคำตอบ"
    4. สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ (Indefinite Pronouns)
    ใช้ในกรณีที่ไม่ระบุบุคคลหรือสิ่งของอย่างชัดเจน:
    ใคร, อะไร, ไหน, สิ่งใด
    ตัวอย่าง: "ใครมาเคาะประตู?"
    5. สรรพนามสะท้อนกลับ (Reflexive Pronouns)
    ใช้เมื่อผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเป็นคนเดียวกัน:
    ตัวเอง, ตนเอง, ตน
    ตัวอย่าง: "ฉันทำเพื่อตัวเอง"
    6. สรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Pronouns)
    ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ:
    ของฉัน, ของคุณ, ของเขา
    ตัวอย่าง: "นี่คือหนังสือของเธอ"
    7. สรรพนามสุภาพ
    ใช้ในบริบทที่ต้องการแสดงความสุภาพหรือความเคารพ:
    กระผม, ดิฉัน, ท่าน, พระองค์
    หมายเหตุ: การใช้สรรพนามในภาษาไทยยังขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ทางสังคม บริบท และระดับความเป็นทางการ เช่น ในครอบครัวมักใช้ พี่, น้อง, แม่, พ่อ แทนคำว่า "ฉัน" หรือ "คุณ" เพื่อเน้นความใกล้ชิดและความผูกพัน
    ยังมีอีกนะยังไม่หมดครับ เนื้อหายาวไปมากเกินไปแล้ว

    • @jleungsoft
      @jleungsoft 8 дней назад +1

      ปวดกระบ่าน ..ทีถูก..ปวดกบาล..

  • @moowan7159
    @moowan7159 9 дней назад +20

    เดี๊ยน / อะฮั๊น / คะเจ้า

  • @kunyapuntuamphithak351
    @kunyapuntuamphithak351 7 дней назад +1

    ภาษาไทย ยากจริงๆ ค่ะ ภาษาไทยมีระดับภาษา หมายถึงความลดหลั่นของถ้อยคำที่ใช้ โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาละเทศะ เช่น ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการหรือภาษาราชการ ภาษาระดับกันเอง เป็นต้นค่ะ มีแต่คนไทยเท่านั้นที่จะใช้ภาษาไทยได้ดีที่สุด แต่คุณใช้ภาษาไทยได้ขนาดนี้ ก็ถือว่าคุณมีพยายามมากๆ ค่ะ 👏🏼🇹🇭

  • @kookai3125
    @kookai3125 9 дней назад +6

    ถ้าเอาแค่เรื่องสรรพนามสำหรับบุคคลที่ 1 ..
    ต้องดูไปที่รากเหง้าสังคมไทยด้วย (อาจจะทั้งเอเชียเลย) คือ เรามี "ลำดับชั้นทางสังคม" ที่ซับซ้อน หลายมิติ ทำให้คำ 1 คำไม่ว่าจะเป็นสรรพนาม หน้าที่ วัตถุสิ่งของ หรือแม้แต่สัตว์ สามารถมีการเรียกระบุ 1 Object แตกเป็นหลายคำได้เลย .. คำเรียกสรรพยามบุรุษที่ 1 สำหรับ "คน" ของไทยจึงเกิดได้ตามแต่ว่ากำลังอยู่ในบริบทลำดับทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมแบบใดบ้าง ..
    ถ้าสิ่งแวดล้อม ก็มาจากภูมิภาคต่างๆ เช่น ข้าเจ้า อ้าย บ่าว ตู ...ถ้ามาจากสังคม ก็มาจากระดับความใกล้ชิดและอาจจะมีมิติทางกาลเวลามาเกี่ยวข้อง เช่น กู กัน ข้า เรา (คำนี้เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์) ฉัน ผม กระผม หนู .. และเพราะสังคมบนแผ่นดินภาคพื้นนี้เป็นพหุสังคมมาแต่โบราณย้อนไปเป็นหลักหลายร้อยหรือเป็นพลักพันปี ก็จะมีคำจากภาษาอื่นด้วยอย่าง อั๊วะ (อว๋อ ออกเสียงแบบภาษาจีนกลาง) .. รวมทั้งลำดับชั้นทางสังคมอีกที่เป็นเอกลัษณ์วัฒนธรรมของไทย เช่น ข้าพเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า (เกล้า)กระหม่อม อาตมา ...
    นี่แค่ "ตัวอย่าง" ของสรรพนามบุรษที่ 1 ในสังคมไทย ตีเป็นตารางเรียงไปยังบุรุษที่ 2, 3 ก็จะมีเฉพาะไปแบบนี้เหมือนกัน ...
    สุดท้าย ไม่จำเป็นต้องท่องจำหมดสำหรับชาวต่างชาติ เน้นหลักการแค่ "ปัจจุบัน" "สามัญประชาชน" ...บริบทอื่นที่เหลือ ไว้เจอเหตุการณ์ที่ต่างไปจาก 2 บริบทที่ว่าค่อยถามคนไทยเป็นกรณีไปก็ได้

  • @ธนวัฒน์ถนอมสุข

    สอนดีมาก อธิบายได้ดีมาก ถ้าจะเรียนแล้วภาษาไทยนี่มันยากจริงๆพูดง่าย แต่เขียนยากหาคนอธิบายว่า..ทำไมต้องสะกดแบบนี้ ทำไมๆๆๆๆต้องเขียนแบบนี้ฯ..น้องอธิบายได้เยี่ยมมาก❤❤❤

  • @เฉลียวทินราช

    เก่งพจนานุกรม กว่านักศึกษาไทยเสียอีก สุดยอดเลยครับ

  • @RICHYGREENP
    @RICHYGREENP 2 дня назад

    คลิปนี้เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเรียนไทยหรืออยากจะเรียนภาษาอังกฤษ พอจะได้มีหลักการในการพูดแล้วก็ ได้รู้ว่าเซนต์ภาษาอังกฤษเค้าพูดกันยังไง ❤ ชื่นชมครับ

    • @RICHYGREENP
      @RICHYGREENP 2 дня назад

      ส่วนไอ้กูมึงที่มีคนบอกว่าหยาบคายก็อย่าไปฟังอะไรมากเลยคนพวกนี้ก็พูดกันทั้งนั้น แต่แค่ควรใช้กับคนที่อายุไม่ต่างกันมาก แล้วก็สนิทหรือรู้จักกันมาได้พัก

  • @Amornrat-fb7vc
    @Amornrat-fb7vc День назад

    มีคำเพิ่มเติมคือ
    1.ข้าน้อย เป็นภาษาอีสาน รู้สึกว่าจะใช้แทนตัวเองเมื่อใช้พูดกับพระสงฆ์
    2. คำว่า โยม และ ลูกศิษย์ เป็นภาษากลางใช้แทนตัวเองเมื่อพูดกับพระสงฆ์ (กรณีที่เป็นลูกศิษย์พระที่พูดด้วยอาจแทนตัวเองด้วยคำว่าลูกศิษย์)
    3. เกล้ากระผม ใช้พูดกับพระสงฆ์ที่ตนเคารพรักอย่างสูงสุด
    4.อาตมา เป็นภาษากลาง พระสงฆ์ใช้เรียกแทนตัวเอง
    5.หม่อม บางแห่งในภาคเหนือ พระสงฆ์ใช้เรียกแทนตนเอง

  • @SippanonKhamnoi
    @SippanonKhamnoi 9 дней назад +2

    คุณพูดไทยได้ยอดเยี่ยมมากครับ

  • @Jiraph1958
    @Jiraph1958 5 дней назад +5

    1.ภาษาที่เป็นทางการ
    2.ภาษากึ่งทางการ
    3ภาษาสุภาพชน
    4.ภาษาเฉพาะกลุ่ม
    *ประมาณนี้

  • @ผู้ชายธรรมดา-ถ7ษ

    กัน,กะบาด เคยได้ยินคำนี้อยู่

  • @mieichannarongrit4591
    @mieichannarongrit4591 9 дней назад +5

    คำว่า "ข้า" ไม่ได้เป็นคำย่อของข้าพเจ้า แต่เป็นคำที่ใช้กันในสมัยโบราณในกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งปัจจุบันจะไม่ใช้กันแล้ว มักจะได้ยินในหนังย้อนยุค หรือหนังจีนกำลังภายในหรือจีนโยราณอยู่บ่อยๆ
    ส่วนข้าพเจ้า ใช้ในภาษาเขียนเป็นส่วนมาก จึงมักเห็นในภาษาราชการ หรือใช้แทนตนเองเมื่อพูดคุยกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าเรา
    ผม, กระผม ใช้แทนตนเองสำหรับผู้ชาย
    ดิฉัน ใช้แทนตนเองสำหรับผู้หญิง
    ส่วนคำว่า "ฉัน" จะไม่แยกเพศ ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
    คำว่า "กู" ในอดีตใช้แทนตนเองโดยทั่วไป จึงมักได้ยินในหนังอิงประวัติศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ปัจจุบัน ถือเป็นคำหยาบคาย คนมักใช้ตอนที่ด่ากัน ซึ่งไม่สมควรใช้ เพราะจะทำให้คนนอกมองเราว่าเป็นคนไม่มีมารยาทได้

  • @น้ําเย็น-ฦ6น
    @น้ําเย็น-ฦ6น 8 дней назад +6

    ถูกต้องทั้งหมดครับ แต่ขาดไปอีกตัว คือ กัน ใช้แทนตัวเองเมื่อพูดคุยกับเพื่อนรัก

  • @วชรเทพเทพจั้ง

    vdo ที่ดีมาก ต่างชาติสอนต่างชาติ... ดีๆๆ

  • @krispanich1403
    @krispanich1403 6 дней назад +1

    อิอิ มันยากที่จะอธิบายจริงๆนั่นแหละ บางคำต่อให้คุณเรียนมาว่าเป็นคำสุภาพแต่มันแล้วแต่อารมณ์และสถานการณ์ด้วยนะ บางคำหยาบแต่ก็อาจหมายถึงมุ่งมั่น จริงจังจริงใจ เลือกเอาที่ชอบแล้วใช้ไปเลยเลี่ยงอันที่คนเขาสอนว่าหยาบไว้ก่อนก็พอเพราะต้องรู้จักใช้ ไปใช้มั่วๆเดี๋ยวจะซวยเอา

  • @pindhwadeesam6235
    @pindhwadeesam6235 6 дней назад +1

    ภาษาบ่งบอกวัฒนธรรมค่ะ ภาษาไทยมีหลายระดับ หมายถึงใช้พูดกันในระดับต่างๆ เช่น บุคคลชั้นสูง หรือผู้ที่มีสถานะเหนือกว่า ก็จะใช้สรรพนามยกย่องคนที่เราคุยด้วยที่มีสถานะสูงกว่า ยิ่งสูงกว่ามากคำที่ใช้ก็จะมีความละเอียดซับซ้อน แต่ถ้าเป็นชาวบ้านพูดคุยกัน ก็จะเป็นคำห้วนๆ สั้นๆ เข้าใจกันเองได้ง่ายๆ เป็นต้น ซึ่งบ่งบอกว่า ภาษาไทยให้ความสำคัญกับสถานะหรือระดับของคนในสังคม หรือแบ่งระดับของคนในสังคม ภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่ง มีแค่ ไอ กับ ยู เพราะบ่งบอกว่าคนที่ไหนๆในพื้นที่ประเทศนั้นมีสถานะเสมอกัน ไม่ได้มีการแบ้งแยก ส่วนภาษาถิ่น ก็บ่งบอกถึงอัตลักษณ์หรือวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ จริงๆแล้วคำไทยหลายคำก็มาจากท้องถิ่นและวัฒนธรรมต่างๆมากมาย เช่นคำว่า ทองคำ คำว่าทอง มาจากภาษามอญ คำว่า คำ มาจากภาษาไทลาว เป็นต้น หลายคำไทยก็มาจากต่างประเทศเยอะค่ะ ถ้าคุณสนใจประวัติศาสตร์ไทยควบคู่ไปด้วย คุณจะเข้าใจและสนุกมากขึ้นค่ะ

  • @PhonePhone-m5x
    @PhonePhone-m5x День назад

    สรรพนามไทย ที่ใช้แทนตัวเองมีมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะสนทนากับใคร เช่นคำว่า กู
    ใช้แทนตัวเอง เวลาพูดกับเพื่อนสนิท หรือใช้กับพี่น้อง หรือ คนที่เป็นศัตรูกันไม่ชอบกัน ทะเลาะกัน
    เป็นคำที่สามารถพูดได้ทั่วไป เสียงดังได้ ไม่ต้องกลัวใคร แค่ใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา
    คำว่า กู เป็นคำไทยเดิมครับ
    มีคำว่า มึง,กู,อี,ไอ้ เป็นต้น ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันยังใช้อยู่ทั้งในประเทศไทย และที่จีนตอนใต้ แถบยูนนาน ,กว่างสี- จ้วง
    เพิ่งจะมาถูก มองว่าเป็นคำไม่สุภาพ เมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา สำหรับคนบางกลุ่ม ที่ลืมรากเหง้าของตัวเอง ปัจจุบันคำเหล่านี้ผมยังใช้อยู่ครับ

  • @HuhffHuhf
    @HuhffHuhf 6 дней назад +2

    สมัยเรียนผมว่าภาษาไทยยากสุด เพราะว่ามีหลายหมวดหมู่เช่น คำนาน,คำสรรพนาม,คำกริยา,คำวิเศษณ์,คำบุพบท,คำสันธานและคำอุทาน

  • @jleungsoft
    @jleungsoft 8 дней назад +2

    มี..คิง มี..ฮา..ด้วยค่ะ ใช้เฉพาะถิ่น บางครั้ง หลานชาย หลานสาวจะคุยกัน(มีพ่อคนเหนือ)

  • @manisindhu4544
    @manisindhu4544 8 дней назад +1

    จากเรื่องเล่าท้ายคลิป เราก็เจอประสบการณ์คล้ายๆกันคือเมื่อก่อนเรียกทุกคนพี่-->ช่วงสับสน-->เรียกน้องเป็นส่วนใหญ่ จากการสังเกต มีผู้ชายหลายคนใข้วิธีต่างฝ่ายต่างเรียกคู่สนทนาผู้ชายด้วยกันเองว่าว่าพี่ถ้าดูหน้าแล้วเดาอายุไม่ออก ถือเป็นการให้เกียรติจนตอนหลังสนิทกันรู้อายุก็ยังเรียกกันว่าพี่ต่อไป ยิ่งพ่อค้าหรือคนขับรถรับจ้างบางคนก็เรียกลูกค้าหรือผู้รับบริการวัยสามสิบปีขึ้นไปว่าพี่หมดทั้งชายหญิง เรายังเคยเจอคนขับรถรุ่นลุงรุ่นตา(ที่ต่างจังหวัด)เรียกเราพี่ ตอนแรกตกใจ ประหลาดใจ แต่พอมาคิดดูก็รู้ว่าเค้าให้เกียรติ ดีกว่าเรียกน้อง หรือ หนู อีกแบบที่เห็นบ่อยของการเรียกแบบให้เกียรติคือ เฮีย(พี่ชาย) เจ๊(พี่สาว) ลูกค้าเรียกเจ้าของร้าน/เจ้าของกิจการ หรือผู้รับเหมาเรียกผู้ว่าจ้างว่าเฮีย/เจ๊ทั้งๆที่ไม่มีฝ่ายไหนเป็นคนไทยเชื้อสายจีนและผู้เรียกก็อายุมากกว่าผู้ถูกเรียกด้วย

  • @rattanawannasinsombut1678
    @rattanawannasinsombut1678 7 дней назад +2

    คุณเก่งมากครับ

  • @395035806
    @395035806 6 дней назад +1

    สรรพนามนามไทย จะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ของคน ว่ามีความใกล้ชิดมากหรือน้อย และคำที่ใช้จะแตกต่างกัน และจะเชื่อมโยงกับอารมณ์ด้วย ความรู้สึก

  • @brisdevicestv
    @brisdevicestv 8 дней назад +3

    ฮา=ภาคเหนือ
    ข่อย, เฮา, =อีสาน
    เปิ้น, เพิ้น= อีสาน แปลว่า ( He, She, )สรรพนามเอกพจน์บุคคลที่3

  • @pongel7447
    @pongel7447 7 дней назад

    ข้าฮู้สึกภาคภูมิหทัยอย่างแรง ที่ท่านใส่หทัยในภาษาไทยนี้ นี่ขอชื่นชมอย่างแรงกล้า แลขออำนวยพรให้ท่านเผชิญแต่ความผาสุข ชั่วกัปชั่วกัลป์ ขอให้ท่านเพียรศึกษาภาษาไทยอันไพเราะเยี่ยงเสียงบรรเลงนี้ด้วยเถิด ด้วยความนับถือขอรับ 👍

  • @sweetaum2
    @sweetaum2 10 дней назад +111

    "กู" เป็นคำที่ไม่ไพเราะ ไม่สุภาพ ไม่ให้เกิยรติ สำหรับคนไทยครับ ไม่ควรใช้กับคนที่ไม่สนิท ใช้ได้กับบางคน เช่นเพื่อนที่สนิทและไว้ใจกันครับ

    • @POSHmasterpiece
      @POSHmasterpiece 10 дней назад +61

      กู_เป็น๓าษาโบราณระดับชนชั้นสูงยุคแรกๆ😮​ เทียบได้กับราชาศัพท์
      _จนมีไพร่(ชาวบ้าน)_นำมาพุด_กู_คนแก่จึงห้ามพูดเพราะมันไม่ดีไม่เหมาะสม
      (เป้นคำชนชั้นนักปกครอง)
      __แต่กลับตีความผิดในแง่ไม่ดีไปเพราะขาดการอธิบาย
      __อย่าพูดไม่ดีเพราะอะไร(ยกตนเทียมท่านฯ_เทียมเจ้า)
      _ต่อมาจึง.เข้าใจว่าไม่ดี_คือคำหยาบคาย__แท้จริงคือเป้นคำที่กษัตริย์​ คหบดีณะดํบดจ้านาย
      ใช้เรียกตัวเองต่อมาก้อมัการวช้แพราหลายเป้นสามัญศัพท์​..(ยุคสุโขทัย)

    • @จิตรกรท่อนแก้ว-ถ2ษ
      @จิตรกรท่อนแก้ว-ถ2ษ 9 дней назад +12

      กับเพื่อนสนิทคือธรรมดามากแต่กับพ่อแม่ปู่ย่าตายายฯลฯมึงเจ็บตัวแน่

    • @จิตรกรท่อนแก้ว-ถ2ษ
      @จิตรกรท่อนแก้ว-ถ2ษ 9 дней назад +1

      ​@@POSHmasterpieceใช่ครับ

    • @Indy_relax
      @Indy_relax 9 дней назад

      เดี๋ยวนี้สังคมบ้านเราย้อนยุคไปสมัยโบราณ จะกรู มรึง สารพัตสัตว์เลื้อยคลานมีให้เห็นทั้งในสื่อต่างๆ หนัง ละคร แม้คำบรรยายหนังต่างประเทศ หรือจะพากย์ไทย ก็ใช้กันแพร่หลาย เป็นสิ่งเดียวที่คนรุ่นใหม่สืบทอดจากรุ่นโบราณได้อย่างไม่อาย

    • @jxghjapiwq1
      @jxghjapiwq1 9 дней назад

      ฉัน เธอ เอง ข้า กู … ไม่แยกเพศ

  • @tinyduck44
    @tinyduck44 8 дней назад +3

    คำว่า "กระหม่อม" กับ "กระหม่อมฉัน" ถือเป็นคําราชาศัพท์ครับ ใช้กับบุคคล ในราชวงศ์ ในระดับชั้นพระวรวงศ์เธอที่ไม่ได้ทรงกรม และชั้นหม่อมเจ้าครับ
    ถ้าเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่ระดับชั้นสูงกว่านี้ ก็มีใช้อีกหลายคำครับ เช่น เกล้ากระหม่อม เกล้ากระหม่อมฉัน ข้าพระพุทธเจ้า
    ส่วนคำว่า "กู" ก็ ใช้เฉพาะกับคนที่สนิทกันมากๆ เวลาพูดก็พูดกันปกติ ไม่จำเป็นต้องกระซิบ แต่ก็ ถือว่าเป็นคำไม่สุภาพ เพราะฉะนั้น จะไม่สามารถใช้คำนี้ในรายการโทรทัศน์ได้
    แต่ก็มีเรื่องเล่าว่า มีพระอยู่รูปหนึ่งที่ใช้คำว่า "กู" เป็นประจำ จนเป็นคำสามัญสำหรับพระรูปนั้นไปแล้ว วันหนึ่งมีคนในราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า เสด็จไปเททองหล่อพระพุทธรูปที่วัดที่พระรูปนั้นอยู่
    ทางนายอำเภอก็ย้ำพระรูปนั้นว่าห้ามพูดคำว่า "กู" นะ ( จริงๆก็ต้องใช้คำว่า "อาตมาภาพ" แทนตัวเอง แล้วก็มีคำราชาศัพท์ที่ต้องใช้อีกหลายคำ)
    ปรากฏว่าเจ้าฟ้าที่เททองเสร็จ ระหว่างเดินกลับ ชวนพูดคุยเท่าไร พระรูปนั้นก็เงียบ มีแต่คนอื่นคอบตอบคำถามแทน ต้องตรัสถามว่า "ทำไมหลวงพ่อไม่พูดกับหนูล่ะคะ"
    พระรูปนั้นจึง ชี้ไปที่นายอำเภอแล้วตอบไปว่า "ก็ไอ้นี่ไม่ให้กูพูดกับมึง"

  • @tamunblink3413
    @tamunblink3413 17 часов назад

    เก่งมากๆ

  • @derekkaewsutthi7096
    @derekkaewsutthi7096 9 дней назад +5

    เก่ง​มาก​ครับ
    ใช่ครับ​ซับซ้อน​มากกก​

  • @tbjdet
    @tbjdet 5 дней назад +1

    เราว่าภาษาในยุโรปยากกว่า เพราะมันมีการก(case) เปลี่ยนหรือผันรูปตามหน้าที่ของประโยค แต่ในภาษาไทยมันไม่ได้เปลี่ยนตามการกแต่เปลี่ยนตามระดับความสุภาพของคนที่คุยหรือกล่าวถึง

  • @adisornchakkraphong9493
    @adisornchakkraphong9493 9 дней назад +1

    รักช่องนี้ ❤

  • @บุญกองแก่นท้าว

    คำว่า"กู " ส่วนมากจะใข้กับเพื่อนสนิท หรือรุ่นน้อง แต่ถ้าอยากใช้ให้สุภาพ ก็เปลี่ยนจากคำว่า กู เป็นคำว่า"เรา ส่วนคำว่า มึง ก็ควรเปลี่ยนเป็น นาย หรือ เธอ ครับ😊😊

  • @bringmetodoo1073
    @bringmetodoo1073 7 дней назад +1

    คำว่า "เฮา" ใช้แทนตัวเองและพวกของตัวเองได้ ในภาษาพื้นถิ่นทั้ง อีสาน และ คำเมือง(ภาษาเหนือ) ครับเช่น เฮา พวกเฮา หมู่เฮา
    ดีครับทำต่อไป จะติดตามช่องพี่คิดนะครับ

    • @chomchun8306
      @chomchun8306 3 дня назад

      เปิ้น..คะเจ้า หนู น้อง เฮาน่าจะภาคเหนือมากกว่า อิสานน่าจะใช้ข้อย

  • @ขอบฟ้ากว้าง
    @ขอบฟ้ากว้าง 7 дней назад +1

    เรา มีความหมาย ฉัน และ เธอ ก็ได้ เรา ใช้กรณีเพื่อนกันคุยกัน แต่เราอีกความหมายว่า..เธอ..ใช้กรณีผู้พูดเป็นผู้ใหญ่คุยกับเด็ก ใช้แทนผู้ฟัง เช่น เราเข้าใจไหม

  • @Ratcha_pat
    @Ratcha_pat 6 дней назад +1

    ถ้าไปที่ต่างๆแล้วไม่แน่ใจว่าเขาอายุมากกว่าหรือน้อยกว่าเรา ให้เราเรียกเขาว่าพี่เสมอครับ เพราะถ้าหากเรียกว่าน้อง บางครั้งอาจจะกลายเป็นคำดูถูกได้

  • @TheCopperist
    @TheCopperist 10 дней назад +2

    เดี๊ยน,เก๊า, หนู, เล็ก, ข้าเจ้า ด้วยครับ 5555😂😂😂😂😂

  • @สองขาชาแนล
    @สองขาชาแนล 10 часов назад

    ข้าเจ้า ข้าพระพุทธเจ้า เกล้ากระหม่อม ฯลฯ😊

  • @rath9437
    @rath9437 8 дней назад +2

    ภาษาไทย เป็นภาษามีระดับชั้นครับ ใช้ในบริบทต่างกัน เป็นภาษาที่มีฐานันดร

  • @Kew168
    @Kew168 9 дней назад +3

    จะใช้คำไหนมันขึ้นอยู่ที่ว่าจะใช้พูดกับใคร เวลาไหน คนไม่รู้จัก คนที่สนิท คนในครอบครัว เพื่อน แฟน ต่างกันไป ตามนิสัยของคนพูดด้วย บางคำคิดว่าหยาบมันก็ไม่ได้หยาบถ้าใช้เป็น เช่นกูถ้าพูดกับผู้ใหญ่หรือคนไม่สนิท อันนี้ไม่สุภาพ แต่ก็พูดกับทั่วไปกับเพื่อนพี่น้องที่สนิทกัน แบบนี้ไม่ถือว่าหยาบ คำหยาบคือ"คำด่า" คำที่พูดออกไปแล้วสื่อถึงความหมายที่ไม่ดีว่าร้ายให้คนอื่น นั่นคือ"คำหยาบ" แต่ก็ขึ้นอยู่กับเจตนาด้วย บางที่เพื่อนสนิทด่ากันแบบตลกๆขำๆก็มี

  • @THERR-THERR
    @THERR-THERR 8 дней назад +3

    รวมทุกภาคเลยที่เดียว😂😂😂

  • @dailythai4u
    @dailythai4u День назад

    👍

  • @happycat-b8k
    @happycat-b8k 9 дней назад +17

    เค้าที่แปลว่าตัวเรา ตัวเองที่แปลว่าตัวเธอ😂

    • @Yaa-Jok.classDex
      @Yaa-Jok.classDex 7 часов назад

      " เรา " ที่ใช้แทนตัวเอง

  • @supotsripun1506
    @supotsripun1506 8 дней назад +2

    ภาษาไทย เป็น melting pot เหมือนวัฒนธรรมไทย ที่ผสมผสานมาจากหลายๆ แหล่ง
    เราจะมีคำหลายคำ ที่ระบุถึงสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งทำให้มีประโยชน์ด้านการประพันธ์
    เช่น
    Sun จะมีคำว่า ดวงอาทิตย์ สุริยา สุรีย์ สูรย์ ตะวัน
    Moon ก็มี ดวงจันทร์ โสม แข จันทรา จันทร

  • @PsPetch
    @PsPetch 9 дней назад +3

    ทุกวันนี้ยังสับสบการใช้สรรพนามเรียกตัวเอง เพราะชอบเรียกตัวเองว่าฉัน แต่ดูเหมือนสังคมไม่ชอบให้เรียกแบบนี้เท่าไหร่ บางคนก็เข้ามาสั่งสอนให้เรียกตัวเองแบบอื่น แม้แต่การพิมพ์ถ้าเรียกตัวเองว่าฉัน เคยมีคนมาทักเหมือนเราไม่ใช่คนไทย ดังนั้นจีงใช้คำว่าเราแทนในอินเตอร์เน็ต แต่ยังใช้คำว่าฉันในชีวิตประจำอยู่ ยกเว้นกับคนรู้จักเพราะถ้าเรียกว่าฉัน มันบางคนจะทำหน้าไม่พอใจ

  • @GhostPaper-t5s
    @GhostPaper-t5s 6 дней назад

    โดยส่วนตัวภาษาไทยไม่ได้เป็นภาษาที่ยากนะครับ แต่สำหรับชาวต่างชาติ การออกเสียงภาษาไทยโทนสูงต่ำจะเป็นปัญหามากกว่า ผมสังเกตว่ามีหลายคนที่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้รวดเร็ว ติดที่ว่าการออกเสียงมากกว่า แต่คนไทยก็เข้าใจความหมายได้ ภาษาไทยเป็นภาษาที่เอาคำเดิม ๆ มาประกอบกันเพื่อเป็นความหมายใหม่เฉย ๆ คำพื้นฐานน้อยมาก ถ้าเทียบกับภาษาต่างประเทศที่มีคำความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่าที่จะเอาหลาย ๆ คำมาประกอบรวมกันเพื่อที่จะเป็นอีกความหมายหนึ่งอย่างสิ้นเชิง

  • @golfgolfy7066
    @golfgolfy7066 День назад

    ข้า กับ ข้าพเจ้า
    ไม่เหมือนคำย่อ
    "ฉัน กับ ดิฉัน ,"ผม กับ กระผม"
    "ข้า"เป็นคำเก่าใช้ได้ปกติในยุคโบราณ ยุคเก่าจะใช้กันในชีวิตประจำวัน "ข้า"กับ "เอ็ง" มักใช้ด้วยกัน ลองดูละครพีเรียดไทย จะเจอคำนี้ตลอดเวลา
    แต่ในปัจจุบันไม่ใช้ "ข้า" กันมากนัก แต่คำว่า "เอ็ง" จะยังใช้กันมากๆอยู่
    "ข้า"ที่ยังมีใช้กันบ้าง ปัจจุบันใช้แล้วจะรู้สึกเหมือนว่าต้องเพื่อนกัน เท่านั้นถึงจะใช้ได้
    "ข้า"สุภาพมากกว่าคำว่า"กู" แต่ก็ไม่สุภาพ(อยู่ดี)
    แต่"ข้าพเจ้า" เป็นภาษาทางการ ส่วนใหญ่ใช้กับเอกสารกฎหมาย

  • @supanun1000
    @supanun1000 3 дня назад

    อ้าว นี่ช่องใหม่หรอคะ ไม่เจอคลิปครูคริสมาหลายปีมากกกก ติดตามมานานมากๆๆเลยค่ะ

  • @xiyun16
    @xiyun16 8 дней назад +1

    แต่บางคำ คนทั่วไปใช้ไม่ได้นะคะ เช่น อาตมา สำหรับพระแทนตัว หม่อมฉัน ไว้พูดกับเจ้านาย เชื้อพระวงค์

  • @yannaponmekchaidee6792
    @yannaponmekchaidee6792 7 дней назад +1

    ไม่ใช่แค่ คนต่างชาติ หรอกคับที่ไม่เข้าใจ คนไทยก็สับสนกับภาษาไทย

  • @pongthaic
    @pongthaic 9 дней назад +2

    คำว่า ข้า เป็นคำย่อมาจาก ข้าพเจ้า ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก ข้าพระพุทธเจ้า อีกที ซึ่งความหมายโดยตรงของคำว่า ข้า คือแปลว่า คนใช้, บริวาร (servant) หรือลูกน้อง อะไรทำนองนั้น ความหมายเดียวกับที่ใช้ในคำว่า ขี้ข้า ที่นำมาใช้เรียกตัวเอง เพราะถือเป็นการถ่อมตน โดยเฉพาะเมื่อพูดกับพระราชา/ราชวงศ์ จึงใช้คำว่า ข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งหมายความประมาณว่า "ฉันผู้ซึ่งเป็นบริวารของพระพุทธเจ้า"
    ความซับซ้อนของเรื่องสรรพนามยังมีมากกว่านั้นอีกครับ เพราะจริงๆ ถ้าใช้ 1st person แบบนึง มักจะต้องมากับ pair ของ 2nd person ที่เข้ากันได้เสมอ ไม่งั้น conversation จะมีระดับความ official ที่ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ข้า มักจะใช้กับ เอ็ง (ซึ่ง pair นี้หลังๆ ไม่ค่อยเห็นใครใช้) เค้า (มาจาก "เขา, 3rd person") กับ ตัวเอง (เตง), ผม กับ ฉัน/ดิฉัน/เดี๊ยน, กู กับ มึง, ฯลฯ ส่วนราชาศัพท์ ที่ pair กับ ข้าพระพุทธเจ้า นี่คือมี 2nd person ที่ซับซ้อนกว่านั้นอีก เพราะ 2nd person ที่ใช้เรียกบุคคลในราชวงศ์ แบ่งเป็นหลาย level มากๆ ตัวอย่างเช่น ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท (king) ใต้ฝ่าพระบาท (prince/ss) ฝ่าบาท ใต้เท้า ไรงี้ ลอง research ดูครับ ถ้าว่างจริงๆ
    สำหรับคำว่า เค้า กับ ตัวเอง เนี่ย เป็นคำที่วัยรุ่นตั้งแต่ Gen X เป็นต้นมาใช้ ปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่ ส่วนใหญ่ใช้กันสองคนกับคู่รัก หรือในครอบครัวสนิทๆ เป็นสรรพนามที่แปลกมากเพราะเป็นความพยายาม inverse สรรพนามปกติเพื่อให้ผู้พูดกลายเป็นบุคคลที่ 3 ผมว่าน่าจะมาจากการพยายามพูดถึงตัวเองจากมุมมองของคนอื่น เพื่อให้ได้ความ sympathy มีประโยคบางประโยคที่ผมว่าน่าจะเป็นต้นตอของสิ่งนี้ อย่างเช่น "ทำไมชอบมาแกล้งคนอื่นเค้า" ที่ผู้พูดต้องการสื่อความหมายว่า "why did you tease me?" aka "why did you tease other people [like me]" ส่วนตัวแล้วผมว่า นวัตกรรมการ inverse นี้ควรให้มันจบที่รุ่นเราเหอะ 555 เพราะหลายครั้งมันทำให้ผมมีปัญหาในการสื่อสาร ว่าตกลง เค้า ในบางประโยค มันหมายถึงใครกันแน่ เช่น "วันนั้นเค้าถามว่าเค้าขายรถหรือเปล่า?" อันนี้ตีความได้ 2 แบบเลย งงมาก เลิกเหอะ (แต่ผมยังใช้อยู่เลย ...)
    content สนุกดีครับ ขอบคุณที่สนใจ detail ภาษาไทยจนพูดได้ชัดมากๆ ดีใจที่เห็นชาวต่างชาติอยากพูดภาษาไทยครับ คราวหน้าแนะนำอันนี้ครับ เพื่อนชาวต่างชาติผมงงมาก ว่า สีแดงๆ กับสี แด๊งแดง มันคำเดียวกันเป๊ะ แต่ทำไมความหมายคนละเรื่องเลย ถ้าได้ไปสอนเพื่อนๆ ชาวต่างชาติที่อยากพูดกับคนไทยแล้วเข้าใจ ต้องรู้เรื่องนี้ด้วยครับ

  • @นัฐกรดํารงเกียรติก้อง

    ไทยเยอะทุกสิ่ง ยกตัวอย่างคำว่าพระจันทร์ พระอาทิตย์ ท้องฟ้า ดวงดาว ฯลฯ ต่างประเทศมีคำที่ความหมายเหล่านี้ทั้งหมดกี่คำ ชองไทยมีเยอะมาก

  • @wissnuloveevalia3061
    @wissnuloveevalia3061 7 дней назад

    ในการใช้ พี่น้อง ของผมมีวิธีง่ายๆ ที่ถ้าเราไม่แน่ใจว่าคนที่เราพูดด้วยมีอายุเท่าไหร่มาแนะนำครับ
    ถ้าคนที่เราพูดด้วย เป็นผู้ชายที่ดูไม่ออกว่าอายุเท่าไหร่ ให้เรียก 'พี่' ไว้ก่อน เพราะเป็นการให้เกียรติระดับหนึ่ง
    แต่ถ้าอายุน้อยกว่าแน่ๆ ถึงเรียกน้องครับ
    ในทางกลับกัน ถ้าคนที่เราพูดด้วยเป็นผู้หญิงที่ดูไม่ออกว่าอายุเท่าไหร่ ให้เรียก 'น้อง' ไว้ก่อน เพราะคงไม่มีผู้หญิงคนไหนที่อยากดูแก่แน่ๆ
    แต่ถ้าดูแล้วว่ามีอายุมากกว่าแน่ๆ ก็เรียกพี่จะเหมาะกว่า
    และใช้กรณีนี้กับพนง.บริการอย่าง เด็กเสริฟ แคชเชียร์ พนง.ขายของในห้างร้าน ด้วยครับ
    แต่ถ้าอายุมากกว่ามากๆ เกิน 30 ปีขึ้นไป แนะนำให้เรียก 'น้า' หรือ 'คุณน้า' (ที่หมายถึง น้องของแม่) แทนทั้งชายหญิง และที่ไม่เรียก 'อา' (ที่หมายถึง น้องของพ่อ) เพราะคำเรียก 'อา' ในถิ่นที่ผมอยู่มีนัยยะหมายถึง คนรักใหม่ของพ่อ/แม่ ด้วยครับ (ไม่แน่ใจว่าถิ่นอื่นมีแบบนี้ไหม)

  • @hellosunshine6063
    @hellosunshine6063 5 дней назад

    สรรพนามแต่ละคำให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันกับคนที่เราพูดด้วย สะท้อนถึงความละเอียดอ่อนของความรู้สึกอารมณ์ และระดับชั้น ของคนไทยที่มีความหลากหลายทั้งในแง่ระดับและอารมณ์ความรู้สึก

  • @iam9822
    @iam9822 5 дней назад

    กระหม่อม, หม่อมฉัน : เป็นคำราชาศัพท์ ใช้พูดกับราชวงศ์หรือกษัตริย์ ไม่ใช้กับคนธรรมดา
    ข้าพเจ้า : เป็นทางการ, ภาษาราชการ
    ข้า : ไม่เป็นทางการ (สุภาพกว่ากู-มึง) ใช้ ข้า-เอ็ง เช่น วันนี้เอ็งไปเป็นเพื่อนข้า
    มักใช้กับเพื่อนฝูง
    คนไทยชอบนับญาติ เจอใครก็เรียกเหมือนเป็นเครือญาติกันหมด เป็นการให้เกียรติกันอย่างหนึ่ง และแสดงถึงความเป็นกันเอง ไม่ถือตัว

  • @tempuran
    @tempuran 7 дней назад

    1.เพื่อน "เพื่อนว่าแบบนี้ดีกว่า" ใช้แทนตัวเองคุยกับเพื่อนสนิท และยังใช้เรียกเพื่อนในประโยคเดียวกัน ที่จะเสนอความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆ "นี้เพื่อน เพื่อนว่ากินข้าวร้านนี้ดีกว่า"
    2.ตัวเค้า แทนเราคนที่1 / ตัวเอง แทนคนที่2ที่คุยด้วย "ตัวเองตัวเค้าคิดถึงจัง"
    3.แม่ ที่ไม่ใช่แม่ แต่เป็น "ตัวแม่" เฉพาะกลุ่ม "แม่ว่านะค่ะ คุณลูกสาวแบบนี้เริศ"
    และยังมีอีกได้อีก

  • @SamsungA03-vj1py
    @SamsungA03-vj1py 8 часов назад

    ภาษาไทยมีความหมายบอกวัฒนธรรมที่ซับซ้อน อย่างครูอาจารย์แทนตัวเองว่าแม่เรียกนักเรียนว่าลูกเพื่อแทนความรักความรู้สึก กระเป๋ารถเมล์เรียกผู้โดยสารว่าพี่ ฯลฯ ส่วนแทนความหมายว่า I นั้นยังมีแต่ละถิ่นอีก เช่น ตรังแทนตัวเองว่านุ้ย พัทลุงฉาน ฯลฯ ภาษาไทยมีให้เลือกใช้ตามกาละ - เทศะ ตามระดับการสนทนาเทียบให้เห็นภาพกับการไหว้ 3 ระดับของคนไทย ภาษาไทยก็เช่นนั้น เราเรียกว่า #อัจฉริยลักษณ์ทางภาษา อย่างไรก็ตาม ขอให้มองภาษาเป็นเครื่องมือรับใช้สังคมแต่ละยุคสมัย ใช้ตามยุคสมัยนิยมก็ถือว่าใช้ได้

  • @pakdeeduangchaemkarn3750
    @pakdeeduangchaemkarn3750 8 дней назад

    มีการเรียกคำที่ใช้แทนตัวเองได้หลายแบบในความคิดของผม ขึ้นอยู่กับ 1 ภาษาถิ่น 2.วัฒนธรรม 3. ฐานะของบุคคล 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคล 5. ภาษาราชการ 6.คำราชาศัทพ์ 7. ภาษาในวรรณกรรม 8. พุทธศาสนา ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดที่กำลังพูดอยู่ๆในหัวข้อไหน

  • @เต๋าลพบุรี
    @เต๋าลพบุรี 16 часов назад

    เปิ้น.. น่าจะเป็นบุคคลที่สามนะ..เปิ้น.. เพิ่น.. คนอื่นนอกวงสนธนาคือบุคคลที่สาม ผมเข้าใจถูกไหม? ถ้าไม่ถูกจะได้เรียนรู้ไหม่ จริงๆ ในส่วน น้อง พี่ อ้าย เอื่อย ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ที่ใช้เรียกตัวเองจะเรียกในสถานะที่เป็นอยู่ หรือตามวัยวุฒิ เหมือนในบริษัทเรียกตามคุณวุฒิ...(ต้องขอบคุณ PKIT ที่นำเสนอเรื่องดีๆ แบบนี้ .. )

  • @MananPrache
    @MananPrache 9 дней назад +1

    ข้าน้อย, เดียน, อั๊ว, กูร, ลูกช้าง, ข้าเจ้า,​

  • @TheKop22111973
    @TheKop22111973 9 дней назад +1

    มีความเกี่ยวข้อง หลากหลาย ถ้านำมารวมกันหมด จะปวดหัวจนจะระเบิด
    😂😂😂
    1. ระดับของภาษา
    1.1 ราชาศัพท์
    - ใช้กับ พระราชา และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง
    - ใช้กับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นรองลงมา
    - ใช้กับ พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
    1.2 ราชการ หรือทางการ
    1.3 สามัญ หรือไม่เป็นทางการ
    - สุภาพ
    - ไม่สุภาพ
    1.4 คำหยาบ คำแสลง
    1.5 ภาษาที่ใช้เฉพาะถิ่น
    1.6 ภาษาที่ใช้เฉพาะกลุ่ม
    1.7 ภาษาที่ใช้ในบทกวีหรือวรรณกรรม
    1.8 ภาษาที่มีความหมายเฉพาะ
    นี่แค่แตกหมวดหมู่ออกมาย่อยเป็นหมวดหมู่คร่าวๆก็ปวดหัวแล้ว
    ส่วนคำไหนจะใช้กับระดับไหนหรือกลุ่มไหนนั้นต้องอยู่ที่ประสบการณ์ ถ้าใช้บ่อยก็จะเห็นว่าอยู่ในกลุ่มของระดับไหนเช่นดูข่าวในพระราชสำนัก เหรียญพระราชพิธี จะใช้คำไหนแทนคำว่า i
    อ่านบทกวีวรรณกรรมก็จะรู้ว่าใช้ใน อ่านคอมเม้น ฟังคนอื่นพูด
    ถ้าจะให้ประมาณคร่าวๆส่วนตัวแล้วน่าจะเกือบ 100 คำ

    • @TheKop22111973
      @TheKop22111973 9 дней назад +1

      ถ้าไล่ตามหมวดหมู่แล้วจะทำให้รู้สึกว่าซับซ้อนและดับต้นๆของโลกนี้เลย

    • @wiroonchai3982
      @wiroonchai3982 9 дней назад

      ตามนั้นครับ

  • @อนันต์แก้วเขียว-ญ8จ

    ผมพูดอังกฤษไม่ได้ แต่ท่านศีกษาเรียนรู้ภาษาไทยด้วยตนเองเก่งมากครับ ยังมีอีกหลายคำ อย่างตำแหน่งในที่ทำงาน สถานะในครอบครัว เพื่ิอนฝูง จะใช้ตำที่เหมาะสมบ้าง หรือไม่สุภาพบ้าง

  • @ballt.4988
    @ballt.4988 3 дня назад

    "เรา" น่าเป็นคำที่ซับซ้อนสุดแล้วสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษาไทย
    เพราะ "เรา" เป็นสรรพนามบุคลคลที่ 1 ก็ได้ ที่ 2 ก้ได้
    แถมยังเป็น เอกพจน์, พหพจน์ ก็ได้ด้วย

  • @tanis6363
    @tanis6363 6 дней назад

    ทุกอย่างไม่ซับซ้อน ถึงจะเป็นศัพย์แปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนผู้ฟังจะเข้าใจความหมายจากประโยคและสถานะการณ์ 😃 ทำให้การสื่อสารได้อารมณ์มากขึ้น

  • @gummgg3052
    @gummgg3052 7 дней назад

    สำหรับคนเหนือ จะมองว่าภาษาเหนือทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย (เช่นคำว่า เปิ้น - เฮา - คิง - ฮา) คนเหนือจะเรียกว่าภาษากำเมือง และคำภาคกลางจะเรียกว่าภาษาไทย

  • @bothchick4962
    @bothchick4962 8 дней назад

    จริง ๆ ต้องตัดคำภาษาถิ่นไปครับ เพราะภาษาไทย หมายถึง ภาษากลางเท่านั้น ซึ่งแค่ภาษากลางก็มีมากกว่า 20 แล้วครับ บางคำเป็นคำซ้ำกับสรรพนามบุรุษอื่น ๆ ด้วย เช่น เค้า หรือเรา การจะเข้าใจได้ต้องดูบริบทที่กำลังพูดอยู่อีกที

  • @Gatito_Calico
    @Gatito_Calico 5 дней назад

    บางบริบทก็ลบสรรพนามแทนบุคคลที่ 1 ออกไปเลย ใช้จินตนาการเติมเอา
    เช่น "จะไปห้าง" แปลว่า "ฉัน จะไปห้าง" ถ้าเป็นภาษาอังกฤษคงไม่บอกว่า "will go to store" ห้วนๆ
    ผมว่าสรรพนามเนี่ย ปัญหาเยอะมาก คนไทยก็ไม่รู้ควรจะแทนตัวเองว่าอะไร ต้องดูบริบทสังคม อายุ ความสนิท ปวดหัวมาก
    awkward สุดคือคุยกับคนไม่ค่อยสนิท แต่อายุเท่ากัน จะใช้ กู ก็ไม่ได้ ใช้ ผม,เรา ก็ดูห่างเหิน แทนด้วยชื่อตัวเองก็มีบางคน แต่ไม่ถนัด
    ส่วน ฮา,คิง แปลว่า กู ภาษาเหนือครับ ใช้กับคนสนิทๆ

  • @VanHelsing159
    @VanHelsing159 10 дней назад +4

    สมัยตอนอยู่ป.2-3 แม่ถามผมว่าไอ้คำนี้มันอ่านว่าอะไร "เหตุใด" ผมตอบอย่างมั่นใจว่า เห ตุ ใด ครับแม่ พอโตมาก็ตลกตัวเองที่เข้าใจแบบนั้น ภาษาไทยนี่สะกดยากมากๆสำหรับมือใหม่😂😂😂😂

    • @pdpm-mf6ql
      @pdpm-mf6ql 8 дней назад +1

      อายุช่วงเดียวกันครับ. อ่านกับเพื่อนพึ่งเคยเห็นคำนี้. แผนก. อ่าน แผ. นก. พ่อเพื่อนเลยบอกเขาอ่านว่า ผะแหนก. จำไม่เคยลืม. ดูๆไปภาษาไทยก็แปลกหลายคำ. อย่าว่าแต่ฝรั่งอ่านยาก. คนไทยยังงงเลย

  • @ashlljellyfish61
    @ashlljellyfish61 7 дней назад

    กู สามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะได้ พูดเสียงดังได้(ไม่ต้องดังมาก) มันใช้แทนเพื่อนสนิทกันมากๆ เขาจะไม่ถือถือว่าสนิท ถ้าเราพูดแบบนี้ในพื้นที่สาธารณธะเขาจะบอกว่า "เป็นเพื่อนกันใช่ไหม"
    แต่!! ถ้าเป็นพื้นที่ราชการ ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะบางพื้นที่เขาไม่สามารถใช้คำหยาบได้ ศาลากลาง วัด พื้นที่ราชการ อื่นๆ

  • @nantawatphetnamthongwattan2167
    @nantawatphetnamthongwattan2167 6 дней назад

    มี ข้าพระพุทธเจ้า,ใช้กับพระเจ้าอยู่หัว
    มี ลูกช้าง, พูดกับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
    มี ตู, โบราณ
    มี เดี๊ยน, อ.ยิ่งศักดิ์
    มี ข้าเจ้า, คนเมืองใช้
    มี ทางนี้, ใช้แทนตัวเรา กรณี ไม่สนิทสุดๆ และไม่ต้องการ
    มี คนแถวนี้, ใช้แทนตัวเอง บริบท ประชดประชัน
    เช่น " แหมๆ ซื้อของมา ไม่ฝากคนแถวนี้เลยนะ ^^"

  • @khwan-xn2vr
    @khwan-xn2vr 9 дней назад +2

    ภาคใต้ ..บ่าว(ชาย) สาว (หญิง) เพื่อน นุ่ย

  • @KobbaLex
    @KobbaLex 8 дней назад

    คำว่า"นี่"กับคำว่า"เค้า"ปัจจุบันก็ได้ยินเยอะมาก โดยเฉพาะคำว่า"เค้า"คนเป็นแฟนกันหรือสนิทกันใช้คำนี้แทนตัวเอง

  • @tanunpuangnil4073
    @tanunpuangnil4073 8 дней назад

    นี่คือความสวยงามของภาษาไทย ภาษามาจากวัฒนธรรม คือรากเหง้าของคนไทยที่สืบทอดกันมานานจนเป็นเอกลักษณ์ครับ ต้องถามว่าเพื่ออะไรครับ อย่าเปรียบเทียบเพราะต้นกำเนิดภาษาแต่ละภาษาเกิดขึ้นมาไม่เหมือนกัน

  • @Thaisabye
    @Thaisabye 6 дней назад

    จะเรียกพี่ หรือน้อง กับคนที่ไม่รู้จัก คนไทยเป็นกันทุกคน คือต้องยอมรับตัวเองว่าแก่กว่า หรือหนุ่มกว่า สรรพนามตรงนี้ไม่สำคัญเกินกว่าสิ่งที่เราจะสื่อสารกับเขา

  • @solomon_dollar2188
    @solomon_dollar2188 4 дня назад

    ในกลุ่มของ "ดิฉัน" มี 1.ฉัน 2.ดิฉัน และ 3.เดี๊ยน (เดี๊ยน คำนี้ส่วนใหญ่ผู้หญิงที่มีตำแหน่งสูงๆ หรือในกลุ่มไฮโซ มักจะเรียกแทนตัวเองว่าเดี๊ยน เช่น เดี๊ยนมีความเห็นว่า.......)​

  • @manisindhu4544
    @manisindhu4544 8 дней назад

    ข้อสังเกตเรื่องสรรพนามของเรา 1)ภาษาไทยสรรพนามผู้ชายง่ายกว่าผู้หญิงเยอะเลย ใช้ 'ผม' คำเดียวตั้งแต่เด็กยันแก่ ใช้ได้ทั้งในโรงเรียน ที่ตลาด ที่ทำงาน ติดต่อธุรกิจ ติดต่อราชการ ของผู้หญิงซับซ้อนกว่าเยอะ
    2)นอกจากนี้ยังมีสรรพนามที่ตลกและชวนสับสนแบบเดียวกับคำว่า 'เรา' คือ 'หล่อน' และ 'เธอ' นอกจากทั้งสองคำเป็นบุรุษที่ 3 เพศหญิงแล้ว 'หล่อน' ยังใช้เป็นบุรุษที่ 2 ในเชิงดูถูกระหว่างคู่สนทนาผู้หญิงทั้สองฝ่าย(สมัยก่อน ปัจจุบันไม่มีแล้วมั้ง) ส่วน 'เธอ' ใช้กับพูดกับคนที่อาวุโสน้อยกว่า ที่เห็นบ่อยคือครูกับศิษฐ์ และ'เรา' เองก็ใช้เป็นบุรุษที่สองกับผู้อ่อนอาวุโสกว่าด้วย ใช้ได้กว้างกว่า 'เธอ' บุรุษ 2 งงดีไหมล่ะ 😁😁

  • @porrapatcpe20
    @porrapatcpe20 8 дней назад +2

    นี่แหละ ความสวยงามของภาษาไทย

  • @ชัยทูลสีบุญทัน

    ❤😮😅สวัสดี​ครับ​

  • @kizzlastkizz9181
    @kizzlastkizz9181 9 дней назад +4

    พอนึกเล่นๆไป เราอยู่ เราใช้จนชิน ต่างชาติที่เข้ามากว่าจะทำความเข้าใจได้นี่ คงเหนื่อยเอาเรื่องเลยนะครับ ขอบคุณที่พยายามและสนใจมากขนาดนี้นะครับ
    แถมภาษาไทยที่เรียนในเลเวลสูงขึ้นนี่มันโหดจริงๆนะครับ คนไทยเองหลายคนก็ยังไม่รู้อีกหลายๆเรื่อง แค่เรื่องคำสรรพนามฝรั่งก็ส่ายหน้าแล้วใช่มะ หรือมักจะมีมุกที่ใช้บ่อยๆในโซเชียลให้ฝรั่งกลัวการเรียนภาษาไทย คือคำคล้ายกัน เช่น เล่นมุกว่า "ขาว ข่าว ข้าว เขา เข้า เข่า" ที่ต่างชาติแยกไม่ออกว่ามันต่างกันยังไง ถ้าคุณเริ่มแยกออกแล้ว แล้วอยากศึกษาต่อให้ท้อใจเล่นๆ อยากรู้ว่ามีอะไรอีกมั้ยที่แตกหน่อได้มากมาย เหมือนคำสรรพนามแบบในคลิปนี้ ก็สารภาพว่ามีอีกครับ หรือที่เรียกว่า "คำไวพจน์" เข้าใจง่ายๆคือ คำเพียงหนึ่งคำ อาจมีคำเรียกที่ต่างกัน แต่ทั้งหมดล้วนมีความหมายเดียวกันได้ด้วย ขอต้อนรับสู่คลาสวิชา THA102 🤣
    เช่นคำว่า Mountain(ภูเขา) = มีคำไวพจน์ที่มีความหมายว่าภูเขาได้อีก คือ
    คีรี / บรรพต / ศิขริน / นคะ / พนม / ศิงขร / นคินทร์ / ภู / ภูผา / ไศล / นคินทร / สิงขร / กันทรากร / บรรพตมาลา / มหิธร / มเหยงค์ / บรรพตา /สิขเรศ / เสสา / ศิขรี / ศิงขร / ศิงขริน / สิงค์ / เสล / บรรพตชาล
    ทั้งหมด 25 คำ ที่กล่าวไว้ด้านบน (นึกออกเท่านี้ ไม่แน่ใจว่ามีอีกมั้ย ถ้าขาดคำใดไปช่วยเติมได้นะครับ)
    คนไทยน่าจะอ่านสะกดได้ไม่ยาก ส่วนต่างชาติอาจงงๆวิธีสะกดนิดนึง คำดูโบราณๆหน่อยนะ แต่ทั้งหมดคือคำที่มีความหมายเดียวกันครับ นั่นคือ "ภูเขา" นี่ยกตัวอย่างแค่คำเดียวนะ เพราะงั้นไม่ว่าจะ ช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา กา ไก่ หลายๆสิ่ง มีคำไวพจน์เป็นของตัวเองทั้งนั้นครับ สบายใจได้ แค่คิดก็สยองแล้วใช่มะ 555 หรือถ้ายังไม่เก็ท
    ยกให้อีก 1 ตัวอย่าง เอาคำว่า ขาว หรือ สีขาว ละกัน
    สีขาว(White) = ปัณฑูร / ธวัล / ศุกร / เศวตร / ศุภร
    อ้ะ นั่นน่ะคำไวพจน์ของสีขาว คำไทยธรรมดาๆคำเดียว อาจแตกเป็นคำไวพจน์ที่มีความหมายเดียวกันได้อีกเป็นสิบ เชื่อว่าคนไทยเองหลายคนก็ไม่รู้ครับ นี่มันเริ่มเลเวลสูงเกินกว่าจะใช้ในชีวิตประจำวันละ แต่ถ้าศึกษาเพิ่ม รับรองว่าสนุก (มั้งนะ) หรืออย่างน้อยก็แต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนไทยเก่งขึ้นล่ะน่า
    ภาษาไทยง่ายนิดเดียว🤣

    • @Dontree-t2b
      @Dontree-t2b 8 дней назад

      ไอ้ที่ยากๆแปลกๆเขาเอาไว้แต่งกลอน

    • @__---2675
      @__---2675 8 дней назад

      อ่านจบแล้วผมจะรั่ว ไม่รู้จะหัวเราะหรือร้องไห้ดีเลยครับ😅 ไทยแปลว่าอิสระจริงๆนะ ไปเรื่อยไปเปื่อยตั้งแต่บรรพบุรุษยันลูกหลานอ่ะ

  • @codice_pin
    @codice_pin 8 дней назад

    กูใช้กับเพื่อนหรือคนสนิทเท่านั้นค่ะ ไม่งั้นจะหยาบ แม้แต่บางคนสนิท ก็ยังไม่ใช้เลย
    สมัยก่อนเป็นคำมาตรฐาน แล้วกลายมาเป็นคำหยาบ แล้วอยู่ ๆ ก็กลับมานิยมใหม่ในกลุ่มเด็ก ๆ คนสมัยใหม่ก็ชอบใช้คุยกับเพื่อน

  • @CHETTHA-x7r
    @CHETTHA-x7r 3 дня назад

  • @Heyomz
    @Heyomz 8 дней назад

    เราคิดว่าเรื่องคำเรียก ของจีนก็หลากหลายนะ ที่เรียกคนอื่นว่าพี่ ว่าน้อง ลุง ป้า น้า อา ..เคยได้ยินว่า เวียดนาม ก็มีสรรพนามหลายอย่าง เวลาเรียกคนอื่น หรือแทนตัวเองเหมือนกัน ..ส่วนตัวเรื่องคำเรียกตัวเอง เรียกคนอื่น มันไม่ง่ายแม้แต่กับคนไทย แต่ละสถานะการณ์ก็ต้องคิดตบตีกับตัวเองเหมือนกัน คนนี้เรียกพี่ได้ไหมเรียกน้องได้ไหม บางทีเราก็เลยละเว้นไปเลย เช่นไปร้านอาหาร จะเรียกพี่ก็ไม่ใช่เพราะเค้าเด็กกว่า แต่ถ้าจะเรียกน้อง(ส่วนตัวคิดว่าการเรียกพนักงานต่างๆว่าน้อง มันแฝงนัยยะการเหยียดอีกฝ่ายว่าเป็นผู้น้อยกว่าด้วย มากกว่าแค่เรื่องอายุ) เราจะละสรรพนามไปเลย แล้วพูดว่า “ขอโทษนะคะ รบกวนขอ……หน่อยค่ะ” เอาจริงคำเรียกในไทยมันมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดด้วยส่วนหนึ่ง บางทีคำเก่า แต่ยุคสมันเปลี่ยน ความหมายคำเปลี่ยนอีก เน้นว่าแวดวงสังคมรอบตัวเราใช้คำแบบไหน เราก็ใช้คำให้เข้ากับเค้าไปดีกว่า จะได้ไม่ปวดหัว เอาจริงให้คนไทยมานั่งไล่เองก็ยากเหมือนกันนะ ไม่รู้จะอธิบายังไงเลยอะ คำเดียวกันแท้ๆ แต่ถ้าคนอายุเท่านี้ใช้ถือว่าโอเค ถ้าคนอีกอายุใช้ถือว่าไม่สุภาพ ถ้าใช้ในอดีตสุภาพ ใช้ปัจจุบันไม่สุภาพ แต่ก็ขึ้นกับว่าใช้กับใคร น้ำเสียงแบบไหนอีก บางคำไม่สุภาพแต่พอใช้น้ำเสียน่ารัก ก็กลายเป็นคำที่โอเคขึ้นมาเฉย

  • @SawasDee-iy4qh
    @SawasDee-iy4qh 9 дней назад +1

    คำว่า "หนู" เด็กใช้เรียกแทนตัวเอง แต่ก็มีผู้ใหญ่หลายๆคนใช้คำว่า "หนู" แทนตัวเอง
    หม่อมฉัน ใช้เมื่อพูดกับกษัตริย์หรือราชวงศ์
    เค้า ใช้ได้ทุกวัยที่เป็นแฟนกัน ไม่จำเพาะต้องเป็นศัพท์วัยรุ่น

  • @np8237
    @np8237 9 дней назад +2

    21 เดี๋ยน
    22 ข้าพระพุทธเจ้า
    23 นี่
    24 หล่า(อีสาน)
    25 ขะน้อย(อีสาน).
    26 ขะเจ้า(เหนือ)
    27 กะบาท(อีสาน)
    28 เรา
    29 เฮีย
    30 เจ้
    31 อั๊ว
    32 ลูกช้าง
    33 โยม (เรียกแทนตัวเอง)

  • @bothchick4962
    @bothchick4962 8 дней назад

    การมีสรรพนามที่หลากหลายในภาษาไทย ช่วยให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ค่อนข้างมีสีสัน และอรรถรสในการพูด โดยส่วนมากการเริ่มประโยคด้วยประธานที่แตกต่าง จะทำให้อีกฝ่ายรู้ได้ทันทีว่าคุณกำลังรู้สึกอะไร และเค้าควรวางตัวยังไงยังไง ซึ่งคำว่า “กู” ถือเป็นคำที่วัดสกิลการใช้ภาษาไทยของคนต่างชาติได้ดีที่สุดแล้ว เพราะถ้าเขาใช้ได้ถูกบริบท ถูกสถานการณ์ นั่นแปลว่าเขาต้องอยู่ไทยมานานแล้วแน่ ๆ จากที่รู้มา คือชาวต่างชาติหลายคนไม่กล้าใช้ เพราะในตำราจะเขียนเอาง่ายว่า “หยาบคาย” แต่เอาเข้าจริง ๆ คนเขียนตำรา มันก็ใช้คุยกับเพื่อนอยู่ทุกวันนั่นแหละ เพราะถ้าจะว่ากันตามสถิติ คำว่า “กู” ถือเป็นคำที่คนไทยใช้บ่อยที่สุดแล้ว เพราะมันใช้ได้ในหลายสถานการณ์ ถ้าจะสรุปวิธีการใช้จริง ๆ คงแบ่งได้ 5 กรณี
    1. ถ้าคุณนำไปใช้ตอนที่กำลังทะเลาะกับใครก็ตาม แม้จะใช้น้ำเสียงที่ดุดันหรือไม่ สิ่งนั้นจะกลายเป็นการข่มขู่ คุกคาม ไม่ให้เกียรติทันที
    2. หากนำไปใช้กับคนที่เพิ่งรู้จัก หรือตำแหน่งสูงกว่า แม้จะไม่ได้ทะเลาะ แต่คุณก็จะถูกมองว่าเป็นคนถ่อย หยาบคาย ไร้มารยาท ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่
    3. ในกรณีคุยกับเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือเพื่อนต่างรุ่นแต่สนิทกันมาก ๆ สามารถใช้ได้เหมือนกับคำทั่วไป และไม่ถือว่าหยาบคาย ปกติแรกเริ่มความสัมพันธ์ คนไทยจะเรียกแทนตัวเองว่าเค้า หรือเรา เพื่อความเป็นกันเอง แต่ยังคงความสุภาพไว้ สิ่งที่คนต่างชาติไม่เข้าใจ คือคนไทยจะมีการเปลี่ยนสรรพนามไปใช้คำว่า “กู“ เมื่อรู้จักเพื่อนคนนั้นไปได้สักระยะหนึ่ง ซึ่งบางทีการไม่เปลี่ยนสรรพนาม อาจทำให้คนไทยบางคนรู้สึกอึดอัด หรือตีความไปว่าคุณไม่อยากสนิทกับเขาก็ได้ เว้นแต่คุณจะเป็นรุ่นน้อง หรือรุ่นพี่ ซึ่งมันอาจดูไม่แปลก แต่ส่วนใหญ่มักจะเปลี่ยนไปใช้คำว่า พี่ หรือเรียกแทนตัวเองด้วยชื่อเล่นไปเลยก็ได้ ในขณะที่บางคนก็ใช้คำว่า ชั้น หรือฉัน ซึ่งสองคำนี้ก็มีประเด็นเยอะเหมือนกัน เพราะในกรณีคนที่กำลังทำความรู้จักกันจะถือว่าเป็นคำที่น่าอึดอัดพอสมควร ด้วยความที่มันดูเป็นทางการมากไป และบางครั้งถูกใช้เพื่อแสดงความห่างเหินด้วยซ้ำ แต่คำนี้กลับพบบ่อยได้ในกลุ่มของเพื่อนสาว หรือคนที่เป็น LGBTQ การใช้คำว่า ชั้น หรือฉัน กลายเป็นคำที่ปกติ และไม่ได้แสดงถึงความห่างเหินแต่อย่างใด
    4. คำว่า ”กู“ ในที่สาธารณะ สามารถพูดได้อย่างเปิดเผย ไม่จำเป็นต้องแอบพูด หรือถึงขั้นต้องกระซิบ เพราะถ้าคุณคุยกับเพื่อนของคุณแค่ 2 คน มันเป็นสิ่งที่เข้าใจได้อยู่แล้วว่าพวกคุณสนิทกัน แต่ตามหลักมารยาทไทยแล้ว ไม่ว่าคุณจะพูดเรื่องอะไร ก็ไม่ควรพูดเสียงดังอยู่ดี
    5. กรณีของสื่อที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ เช่น เรื่องเล่า ข่าว และรายการโทรทัศน์ คำว่า ”กู“ สามารถใช้ได้กรณีที่ต้องการเล่าถึงคำพูดของบุคคลอื่น หรือของผู้พูดต่อบุคคลอื่น ถือว่าเป็นการเพิ่มอรรถรส และความเป็นธรรมชาติในบทสนทนา ไม่ใช่คำที่ต้องปิดบังอะไรขนาดนั้น
    สรุปคำว่า ”กู“ ในภาษาไทยค่อนข้างเป็นสรรพนามที่ซับซ้อน อยากให้คนต่างชาติเข้าใจบริบทการใช้ในมุมที่ถูกต้องมากกว่าไปตัดสินว่ามันเป็นคำที่หยาบคาย การเปิดใจใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณพูดภาษาไทยได้อย่างเป็นธรรมชาติ และเข้ากับคนอื่นได้ง่ายขึ้น หากไม่แน่ใจอาจดูว่าเพื่อนของคุณเริ่มใช้คำนี้กับคนที่เริ่มรู้จักมาพร้อม ๆ กันรึยัง หรือไม่ก็ถามไปตรง ๆ ว่าสามารถใช้ได้มั้ย น่าจะช่วยให้การพูดภาษาไทยสนุกขึ้น

  • @thanitthanapakit1658
    @thanitthanapakit1658 7 дней назад

    ผมนั่งในเซเว่น ผมอายุ 59 แต่มีเด็ก 10 ขวบมาเรียกผมพี่ ผมก็เลยสอนเด็กไปว่า ต้องเรียกว่า ลุง จะเหมาะสมกว่า
    นั่นคือ สังคมไทยชอบมี วัฒนธรรมผิดๆ อยากให้คนมองเราเด็ก กลายเป็นเด็กถูกสอนให้มาโกหก ถึงแม้ว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ .. ถ้าเด็กกับผมห่างกันซัก 10 ปี เรียกพี่ก้โอเค.. แล้วยังมี เรื่อง มารยาท ความเกรงใจ ที่ใช้กันผิดๆ กลายเป็นหลอกลวง ว่า ผมเด็ก ในกรณีนี้ แล้วผมเองก็ไม่ได้อยากเด็ก ถุกต้องและจริงสำคัญที่สุด เหมือน ประจบ กับ เซอร์วิสมายด์ ไม่เหมือนกัน แต่บางครั้งก้ดูไม่ออก