รอยจีนในเมืองเก่าสงขลา | จากรากสู่เรา

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 9 сен 2024
  • บ้านเมืองรอบทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่ในพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และอยู่บนเส้นทางการค้าทางทะเลระยะไกล เหมาะสำหรับเป็นจุดพักสินค้าและเมื่องท่าค้าขาย ทำให้มีพ่อค้านานาชาติเดินทางเข้ามา โดยเฉพาะพ่อค้าชาวจีน ที่สามารถพบหลักฐานจำนวนมากจากโดยเฉพาะสินค้าในยุคราชวงศ์ซ่งใต้ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 22 จีนก็เกิดการเปลี่ยนจากราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ชิง ส่งผลให้มีคลื่นชาวจีนทางภาคใต้เดินทางมายังภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงสยามและรอบทะเลสาบสงขลามากขึ้น
    ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมืองซิงกอราที่หัวเขาแดงประกาศแข็งเมืองต่ออำนาจกรุงศรีอยุธยา จึงถูกส่งกองทัพลงมาปราบ ผลจากสงครามทำให้ชาวบ้านจำนวนหนึ่ง อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับชุมชนเก่าที่ “บ้านแหลมสน” และทำให้อำนาจของสุลต่านมุสลิมหมดบทบาทลง โดยมีคนกลุ่มใหม่ขึ้นมามีบทบาทแทนนั่นก็คือ “พ่อค้าชาวจีน” โดยเฉพาะ “จีนเหยียง แซ่เฮา" ต้นตระกูล ณ สงขลา ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ดํารงเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ทําให้ชาวจีนลุ่มทะเลสาบสงขลา ได้รับโอกาสที่จะแสดงบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการย้ายเมืองข้ามฟากทะเลสาบมาที่ “ฝั่งบ่อยาง”
    ทำให้ปัจจุบันเมืองเก่าสงขลา ไม่เราว่าจะเดินไปทางไหน เราก็จะเห็นความเป็นจีนอยู่แทบจะทุกที่ จนมีคนกล่าวว่า “สงขลาเป็นเมืองของคนจีน”
    ติดตามได้ ในรายการติดตามในรายการจากรากสู่เรา ตอนรอยจีนในเมืองเก่าสงขลา วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 14.05 - 14.30 น. ทางไทยพีบีเอส
    ----------------------------------
    👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : / thaipbs

Комментарии • 24

  • @anuchabeowanan8383
    @anuchabeowanan8383 5 месяцев назад +18

    คนสงขลาครับ ปู่ทวดเป็นคนจีนแต่งกับไทย ย่าทวดมีเชื้ออาหรับแต่งกับไทย สงขลามีความหลากหลายทางเชื้อสายมากครับ

  • @69jasada
    @69jasada 5 месяцев назад +11

    สงขลาเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แถมจังหวัดที่มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาหลายพระองค์ เริ่งตั้งแต่ ร.4 และ ร.5 ทรงเสด็จมาสงขลา มากถึง 11 ครั้ง นับว่าเสด็จมามากที่สุดในบรรดาหัวเมืองต่างๆ ร.6 ทรงตรัสว่าทรงชื่นชอบเมืองสงขลาอย่างมาก ร.7 ก็ยังเสด็จมาประทับที่พระตำหนักเขาน้อยช่วงระหว่างเกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนการปกครอง2475 และ ร.9 ก็ยังทรงเสด็จมาหลังจากขึ้นครองราชฯ

    • @yingying1316
      @yingying1316 5 месяцев назад +3

      ร.9 ท่านจะรู้สึกดีกับ จ.สงขลา คำว่าสงขลา มีผลทางจิตใจของพระองค์ท่าน เพราะ ร.5 ตั้งพระนามของ โอรส ธิดา เป็นชือ จ.ต่างๆ และชื่อ พ่อของท่าน ร.9 จะใช้ ชื่อ จ.สงขลา คือ มหิดล สงขลา ตอนเรียนในอเมริกา ฝรั่งเรียก มิสเตอร์ สงขลา ร.9 ประสูติที่โรงพยาบาล ในอเมริกา ชื่อ เขียนที่ข้อมือ ก็ใช้ เบบี้สงขลา ครับ 😅 ชื่อแรกของ ร.9 คือ เบบี้สงขลา

  • @คุณเทียมจันทร์
    @คุณเทียมจันทร์ 5 месяцев назад +8

    สงขลาเมืองคนพูดเพราะใจดีส่วนใหญ่

  • @kosinpooputtaruksa8469
    @kosinpooputtaruksa8469 5 месяцев назад +4

    ขอบคุณที่เล่าเรื่องราวสงขลา ประวัติศาสตรคับ ได้ความรู้เยอะเลย

  • @user-qu1mk6mj8c
    @user-qu1mk6mj8c 2 месяца назад

    ผมลูกหลานจีนฮกเกี้ยนบ้านบางกล่ำ ต.บางกล่ำ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ทางคุณตาและคุณยาย มีเชื้อจีน...สมัยก่อนเมืองสงขลาจะเป็นศูนย์กลางต่างๆ...คนรอบที่ราบลุ่มทะเลสาบก็จะสัญจรไปมากันทางเรือ...ตาของคุณตาผมมาจากเมืองไห่เฉิง...ยายของคุณตาเป็นลูกครึ่งจีน...ปู่ของคุณตามาจากเมืองเจียวอัน...ย่าของคุณตาดป็นลูกครึ่งจีน

  • @Yai1950
    @Yai1950 21 день назад

    จากรากสู่เรา ขอบคุณค่ะ❤️😊

  • @user-rk1pk9pc6j
    @user-rk1pk9pc6j 5 месяцев назад +5

    ตาทวดก็เป็นคนจีนค่ะ

  • @yingying1316
    @yingying1316 5 месяцев назад +2

    ผมเป็นมุสลิมสงขลา ต้นตระกูล เป็นชาวหัว เขา ....ผมหน้าไม่มีอะไรเหมือนจีนเลย แต่ ถ้าถามว่า ให้ผมตอบเชื้อสายผมมีจีนปนอยู่มั้ย ผมไม่แน่ใจครับ เพราะ ปู่ผม หน้าออกคล้ายจีน แต่ปู่เองก็ไม่เคยเล่าหรือให้ข้อมูล ว่า ปู่มีเชื้อจีน แตปู่จะบอกว่า รุ่นก่อนหน้าปู่ คือ กลุ่มชาวพุทธ มากกว่า

  • @user-ju2yt5rx3u
    @user-ju2yt5rx3u 5 месяцев назад +4

    รากของเราจากเซี่ยเหมิน มลฑลฮกเกี้ยนหรือฝูเจี้ยน

  • @Abcc-ec6nq
    @Abcc-ec6nq 5 месяцев назад +6

    คลองแงะ คือเมืองของคนจีนขนานแท้มีวัฒนธรรมประเพณีจีนมากกว่าประเพณีไทยและมากที่สุดในประเทศด้วยกว่าครึ่งเมืองคลองแงะคือคนจีนปีนังและสิงค์โปรที่อพยพมาอยู่บ้านเมืองวัฒนธรรมอาหารการใช้ชีวิตของคนจีนคลองแงะไม่แตกต่างอะไรกับอยู่ในประเทศจีนเลยและเมืองนี้จะเด่นที่สุดคือเรื่องอาหารของกินแนวจีนๆทุกอย่างโดดเด่นมากและประเพณีจีนดั้งเดิมแบบโบราณเป็นร้อยๆปีที่คลองแงะยังสืบทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบันนี้

  • @user-jh5fo3fh5k
    @user-jh5fo3fh5k 5 месяцев назад +1

    ชอบการนี้ค่ะ

  • @ampornlikkaew7970
    @ampornlikkaew7970 5 месяцев назад +2

    ทวดเล้งมาจากจีนมาลงที่เขาแดงค่ะแต่พวกเราเป็นคนไทยไปวัดหมดล่ะค่ะสกุล,, ช่วนเล้งค่ะ

  • @eimmybb_five-o7899
    @eimmybb_five-o7899 28 дней назад

    ❤❤❤❤❤❤❤❤❤❤

  • @bmbomberman194
    @bmbomberman194 4 месяца назад +1

    ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่สำหรับผม

  • @user-hv2mu6zp6c
    @user-hv2mu6zp6c 5 месяцев назад +7

    ต้นตระกูลเราเอง ...เหยี่ยง แซ่เฮา
    เราเคยค้น ...นานเกิน 10ปีแล้ว แซ่เฮา คือ การออกเสียงสำเนียง "ฮกเกี้ยน"
    เราค้นพินอิน ...ได้คำว่า "อู๋" แปลว่า "มี" ในภาษาจีนแมนดาริน
    ถ้าเป็นการออกเสียงแบบแต้จิ๋ว ...น่าจะ >>> แซ่ โง้ว
    #####
    เชื่อได้แค่ไหน ...อันนี้ไม่แน่ใจ แต่ดันมีคนเชื่อขนาด ...เอาคำว่า ...อู๋ ไปพิมพ์ลงเสื้อ T shirt แจกในงานรวมญาติ

    • @euidbsthjsb1725
      @euidbsthjsb1725 5 месяцев назад +4

      นามสกุลผม เฮ่าหนู อยู่สุราษฎร์ฯ ทวดผมก็เป็นคนจีน เพื่อนผมนามสกุล เฮ่าตระกูล ชาวไชยา ได้คุยกันว่ารุ่นทวดก็แซ่เฮ่า แล้วมาเปลี่ยนทีหลังมีไทยผสมเข้ามา

  • @user-zq1gg6oy9t
    @user-zq1gg6oy9t 5 месяцев назад +1

    มาดูอาจารย์ก้อยครับ

  • @surasompratwutthipanyachot3523
    @surasompratwutthipanyachot3523 5 месяцев назад

    ❤❤❤

  • @Haron-xn1bs
    @Haron-xn1bs 5 месяцев назад

    อัตลักษณ์ของชน

  • @madmad9099
    @madmad9099 5 месяцев назад +3

    เราชาวสงขลาไม่ชอบที่มีซุ้มประตูเมืองเป็นรูปทรงจีน เราชาวสงขลาต้องการที่จะเห็นซุ้มประตูเมืองและเอกลักษณ์ของสถานที่สำคัญๆต่างๆของเมืองสงขลาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของไทย.

    • @nongyao7848
      @nongyao7848 5 месяцев назад +5

      เราชอบเมืองที่มีความหลากหลายทางสังคมค่ะ

    • @user-yn3fn5gt8r
      @user-yn3fn5gt8r 4 месяца назад

      เราชอบสวยมีเอกลักษณ์ดี