หนอนกัดกินผักกำจัดให้สิ้นซากด้วย “ไลท์นิ่งค์” ดื้อยาแค่ไหนก็เอาอยู่ I มือเย็น สวนปลอดภัย ใช้ชีวภัณฑ์

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 9 фев 2025
  • ๐ ท่านที่รักและชื่นชอบต้นไม้หลายท่าน นอกจากจะปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงามแล้วแต่ยังคำนึงถึงประโยชน์ทาง ในการนำมาเป็นอาหาร ของพืชพรรณเหล่านั้นที่ทำการปลูกด้วย จึงแบ่งปันพื้นที่บางส่วนของสวนไปเพื่อการปลูกพืชผักสวนครัว รวมไปถึงเกษตรกรที่ทำการปลูกผักเพื่อการค้าเองก็ดี มักประสบปัญหาการถูกแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายเจ้าพืชผักที่ปลูกไว้นี้ ถึงแม้ว่า ปริมาณการเข้าทำลายไม่มากนัก แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายในส่วนต่างๆของพืช ทำให้หมดความสวยงามรวมไปถึงไม่สามารถจะนำมาบริโภคได้ในที่สุด
    ๐ การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชในพืชผักนั้น มีแมลงหลายชนิดด้วยกันและมีรูปแบบการทำลายที่แตกต่างกันไป พอจะแบ่งประเภทของการเข้าทำลายพืชผักได้ดังต่อไปนี้ (ศมาพร แสงยศ และสุกัญญา คลังสินสิริกุล, 2566 จากเอกสารเผยแพร่ของ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    1. ชอนใบ ได้แก่ หนอนผีเสื้อ และหนอนแมลงวันบางชนิด รูปแบบการเข้าทำลาย กัดกินเนื้อเยื่อระหว่างผิวใบของพืช โดยเยื่อผิวใบบางส่วนคงอยู่ เห็นเป็นรอยกัดกินไปตามแนวผิวใบ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้พืชขาดส่วนสังเคราะห์แสง หรือส่วนสะสมอาหาร
    2. กัดกินใบ ได้แก่ หนอน ผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง รูปแบบการเข้าทำลายกัดกิน ส่วนของใบ ได้ทั้งผืนใบ ก้านใบ เนื่องจากมีปากแบบกัดกิน จึงกัดกินในทุกส่วนของใบได้ทั้งหมด
    3. ทำให้เกิดปุ่มปม ได้แก่ แมลงวันทำปม และเพลี้ยไฟบางชนิด รูปแบบการเข้าทำลาย เมื่อเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงบนส่วนใบพืชจะทำการวางไข่บนใบพืชแล้วปลดปล่อยสารบางชนิดทำให้เกิดปุ่มปม
    4. ดูดกินน้ำเลี้ยง ได้แก่ เพลียอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาวและมวนต่าง ๆ รูปแบบการเข้าทำลายแมลงเหล่านี้มีปากแบบแทงดูดหรือเขี่ยดูด ดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ในส่วนอ่อนของต้นพืชรวมไปถึงใบ
    5. เจาะลำต้น ได้แก่ หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ ปลวก รูปแบบการเข้าทำลายแมลงเหล่านี้จะวางไข่ตามใบหรือเปลือกไม้ โดยไข่เหล่านั้นจะฟักตัวเป็นหนอนและเข้าชอนไชในกิ่ง ลำต้นหรือผล ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้พืชขาดน้ำ อาหาร และแห้งแห้งตาย รวมไปถึงส่วนของพืชเหล่านั้นเกิดอาการเน่า เช่นการเจาะเข้าในผลทำให้ผลเน่าในที่สุด
    6. กัดกินราก ได้แก่หนอนของตัวด้วงในกลุ่มเดียวกันกับด้วงขี้ควาย ด้วงดิน แมลงกระชอน และจิ้งหรีด รูปแบบการเข้าทำลายแมลงเหล่านี้มีปากแบบกัดกินจะกัดกินส่วนรากของพืช น โดยวางไข่บนผิวดินจากนั้นตัวอ่อนที่เจริญเติบโตขึ้นตลอดจนตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายรากพืช ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ทำให้พืชขาดน้ำและอาหาร อาการรุนแรงจะทำให้ยืนต้นแห้งตายในที่สุด
    ๐ รูปแบบหนอนและรูปแบบการเข้าทำลาย ประมาณห้าถึงหกชนิด
    หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด หนอนกระทู้หอม หนอนคืบ หนอนใยผัก หนอนหัวดำมะพร้าว หนอนม้วนใบข้าว หนอนกอ หนอนเจาะขั้ว หนอนบุ้ง และหนอนผีเสื้อกลางคืนหลายชนิด
    ๐ ไลท์นิ่งค์ คือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์เคอร์สตากี้ (Bacillus thuringiensis var.kurstaki) ที่ถูกผลิตให้อยู่ในรูปผงเปียกน้ำ เข้มข้น 36,000 IU/mg โดยขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร เลขที่ 112/2559 (ทะเบียนหมดอายุ 10 มี.ค. 2571)
    ๐ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อม อาทิ อาศัยอยู่ในดินเศษใบไม้ บนใบพืช ตลอดจนอาศัยในบ่อน้ำ เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างเป็นท่อนตรง สร้างสปอร์ในเซลล์เรียกว่า endospore และสปอร์เหล่านี้จะสร้างผลึกโปรตีน ซึ่งผลึกโปรตีนนี้ เป็นสารพิษที่ทำให้แมลงตาย โดยกลไกลการมีฤทธิ์ทำลายแมลงศัตรูพืชนั้น เกิดขึ้นเมื่อเมื่อ หนอนกินส่วนของพืชที่มีเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส หรือ บีที ปะปนอยู่เข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของหนอนศัตรูพืช มีสภาพเป็นด่าง ซึที่เหมาะสมกับการย่อยทำลายผลึกโปรตีนของเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส โดยผลึกโปรตีนนี้เองที่จะปล่อยสารพิษออกมาทำลายผนังกระเพาะอาหารของหนอน และสารพิษจะแพร่ผ่านเข้าสู่ช่องว่างลำตัวหนอน ไปตามกระแสเลือด เซลล์ และเนื้อเยื่อต่างๆ ของหนอน จากนั้นไม่กี่ชั่วโมงหนอนศัตรูพืชจะเริ่มป่วยไม่อยากกินอาหาร เลิกกัดกินพืช เคลื่อนไหวเชื่องช้า จนถึงไม่เคลื่อนไหวเลย และตายในที่สุด สภาพของหนอนที่ตายด้วยเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส หรือบีทีจะมีลักษณะลำตัวเป็นสีน้ำตาลดำ อ่อนนุ่ม และมีกลิ่นเหม็นมาก
    ๐ ข้อดีของการใช้ชีวภัณฑ์ ไลท์นิ่งค์ หรือ แบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส สายพันธุ์เคอร์สตากี้ (Bacillus thuringiensis var.kurstaki)
    ๐ ลดการดื้อต่อสารเคมีของหนอนศัตรูพืชได้ดี
    ๐ ไม่มีสารเคมีอันตรายตกค้างในระบบนิเวศของสวน
    ๐ มีผลต่อแมลงศัตรูพืชเป้าหมาย ไม่ทำลายแมลงชนิดดีที่ทำลายแมลงศัตรูพืช เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียน
    ๐ มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนของแมลงศัตรูพืชตั้งแต่วัย 1 ถึงวัย 5 ได้หลายชนิด เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม(หนอนหนังเหนียว) หนอนกระทู้ผัก หนอนกินใบ ฯลฯ สามารถใช้ผสมน้ำฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผล และไม้ดอกไม้ประดับได้ทุกชนิดได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช
    ๐ อัตราใช้ ไลท์นิ่งค์ 50- 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นได้ทั้งหนอนขนาดเล็ก (วัย 1 และ 2) และหนอนขนาดใหญ่ (วัย 3 ถึง 5) โดยฉีดพ่นซ้ำทุก ๆ 3-7 วัน จนกว่าหนอนจะหยุดระบาด ทั้งนี้สามารถใช้ชีวภัณฑ์ “ไลท์นิ่งค์” ผสมฉีดพร้อมกับชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชอื่น ๆ ตลอดจนปุ๋ยทางใบ ฮอร์โมน และธาตุอาหารเสริมต่าง ๆ ได้
    ๐ วิธีการเก็บรักษา เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ในที่แห้งและเย็น ห่าง จากมือเด็ก อาหารและสัตว์เลี้ยง โดยสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ บริษัท แอพพลายเค็ม (ประเทศไทย) จำกัด หรือ จาก bioareus หรือค้นหาคำว่า Appliedchem-Thailand
    ๐ พร้อมทั้งสั่งซื้อได้จาก
    ๐ Line เพียงเพิ่มเพื่อนแอดไลน์ไอดี : @oep8253x
    bioareus ครับผม

Комментарии • 14

  • @georgek6118
    @georgek6118 Год назад +1

    เรื่องปลูกผักกินใบ ผมยอมแพ้ไปนานแล้ว แต่ดูคลิปนี้ก็จะฮึดสู้อีกครั้งครับ 💚💚💚

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  Год назад

      ขออนุญาตเชียร์คุณจอร์จอีกรอบ คราวนี้งอกงามดีแน่นอนครับ

  • @jongtune
    @jongtune Год назад +1

    เป็นพรสวรรค์ ที่ยายผมส่งต่อให้มาครับ โยนอะไรขึ้นหมด 😊😊😊😊😊

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  Год назад +1

      เยี่ยมเลยครับผม 😊

  • @toongspostcard1624
    @toongspostcard1624 6 месяцев назад +1

    ลองซื้อมาทั้งเมทาซานและไลท์นิ่ง กำลังทดลองเมทาซาน

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  6 месяцев назад

      ขออนุญาตเชียร์เลยครับผม
      ขอบพระคุณมากๆเลยครับ ٩(ˊᗜˋ*)و ♡

  • @ภูรินทร์-พ9ฟ
    @ภูรินทร์-พ9ฟ 7 месяцев назад +1

    ติดต่อได้ที่ไหน

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  7 месяцев назад

      สามารถสั่งซื้อกับ แอพพลายเค็ม(ประเทศไทย) ได้โดยตรงเลยครับ
      ๐ สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก facebook.com/bioareus หรือค้นหาคำว่า Appliedchem-Thailand
      ๐ สั่งซื้อได้จาก
      ๐ Line เพียงเพิ่มเพื่อนแอดไลน์ไอดี : @oep8253x
      ๐ facebook.com/bioareus ครับผม
      ٩(^ᗜ^ )و ´- ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยครับผม

  • @พ่อครัวปลูกดอกไม้

    รบกวนแนะนำดอกเยอบีร่าให้ทีครับผม ขอบพระคุณครับ

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  Год назад +1

      ขอบพระคุณที่แนะนำมานะครับ เอาไว้ผมพาไปเที่ยวสวนเยอบีร่ากันนะครับผม

  • @นายไกลกังวลเชียงคํา

    ❤❤❤❤❤

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  Год назад

      เป็นกำลังใจที่ดียิ่งสำหรับมือเย็นเลยครับ ♡⸜(˃ ᵕ ˂ )⸝

  • @สุภานีหลวงพิทักษ์

    ชอบมากเลยค่ะปลูกไว้ดูปลูกใว้กินได้ด้วยรับความรู้จากมือเย็นเกี่ยวกับศัตรูพืชในผักที่เรากินได้รู้จักน้องอีกหลายสายพันธุ์ขอบคุณค่ะ

    • @MuuyehnStudio
      @MuuyehnStudio  Год назад +1

      ขอบพระคุณพี่สุภาณีมากๆเลยครับ
      ชวนปลูกผักไว้กินประหยัดสะตุ้งสตางค์และทำให้เจ้าของสวนมีความสุขด้วยครับผม