Размер видео: 1280 X 720853 X 480640 X 360
Показать панель управления
Автовоспроизведение
Автоповтор
คำว่าสติที่พระอาจารย์กล่าวถึงคือการมีความคิดกำกับความรู้สึก ไม่ใช่สติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าสอนคือการรู้กายรู้ใจด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง (ไม่ตัดสินในสิ่งที่ปรากฏ) ด้วยการวางความรู้ใดๆไว้แล้วรู้สภาวะธรรมซื่อๆ จนกระทั่งใจยอมรับความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมหรือนามธรรม (ไม่ใช่การเข้าใจด้วยสมอง)
จิตว่างคือจิตที่ไม่ถูกครอบงำด้วยโมหะอันได้แก่ อุดมคติ อุดมการณ์ และการปรุงแต่งความว่าง ด้วยว่ารู้แจ้งใน *ปฏิจจสมุปบาท*
จิตของมนุษย์เป็น _สังขตสังขาร_ หมายถึงจิตที่เกิดในโลกความคิดเป็นจิตธรรมดาเมื่อแรกตื่นนอน จากนั้นความคิดทำให้จิตทำกรรมเป็น _อภิสังขตสังขาร_ หมายถึงจิตที่เวียนว่ายตายเกิดในใจตลอดทั้งวัน 1. เกิดโดย _ปุญญาภิสังขาร_ คือมีกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจรทำให้เกิด เช่น จิตของศิลปินที่กำลังสร้างงานศิลปะด้วยอุดมคติที่ปรารถนาให้เกิดความงาม ความดี ความจริงอันเป็นนามธรรมในใจผู้เสพงานศิลป์ หรือมีอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีอย่างเป็นรูปธรรม มีศีลธรรมอันดีงาม _อภิสังขรณกสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเทวดา ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in the act of karma-forming) 2. เกิดโดย _อปุญญาภิสังขาร_ คือมีอกุศลเจตนาทั้งหลายทำให้เกิด เช่น จิตของศิลปินที่กำลังสร้างงานศิลปะเพื่ออวดตนว่าเก่ง เพื่อเอาชนะใครบางคน มีความหิวกระหายทางใจด้วยจิตเป็นเปรตหรืออสุรกาย บ้างเพื่อปลุกระดมมวลชนให้ใช้ความรุนแรงต่อสู้กับอีกฝ่ายที่มีอุดมการณ์ไม่เหมือนกัน มีความคิดความเห็นด้วยจิตเป็นอสุรกายหรือสัตว์นรก เพราะ _อภิสังขรณกสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเช่นนั้น ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in the act of karma-forming) 3. เกิดโดย _อาเนญชาภิสังขาร_ คือมีกุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจรทำให้เกิด เช่น จิตศิลปินหลังจากสร้างงานศิลปะด้วยอุดมคติเพื่อความว่างอันปรุงแต่งจากมโนสัญเจตนา แล้วยึดมั่นในการปฏิเสธอารมณ์จากสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความหลงอันเป็นโมหะด้วยจิตเป็นเดรัจฉาน(แต่ถ้าเข้าฌานจิตก็เป็นพรหม) เพราะ _ปโยคาภิสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเช่นนั้น ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in exertion or impetus)
การบรรลุตัวตนภายในคือการใช้ _อภิสังขตสังขาร_ มาสร้างงานศิลปะไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง เล่นดนตรี การแสดงทุกรูปแบบ การผลิตสร้างสรรค์ใดๆอันเป็นวรรณศิลป์ บทกวี นิยาย เรื่องสั้น จิตกรรม ประติมากรรม ฯ ด้วยกายสังขาร,วจีสังขาร หรือมโนสังขาร _อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลส_ เป็นปัจจัยจึงมี *สังขาร* อันเป็นเหตุให้เกิด _ตัวตนภายใน_ ของศิลปินหรือมนุษย์ คือจิตเวียนว่ายตายเกิดใน *วัฏสงสาร* ไม่ใช่ตายแล้วจิตออกจากร่างไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างฮินดู ตัวตนภายในจึงไม่ได้เป็นวิญญาณเที่ยงแท้ถาวรที่เรียกว่า *ชีวาตมัน* ศิลปินหรือมนุษย์ผู้หลุดพ้นจึงหมายถึงการบรรลุตัวตนภายในขั้นสูงสุด คือพ้นจากการมีตัวตนเพื่อจะไปถึงเป้าหมายใดๆ หรือยึดมั่นการไม่มีเป้าหมายใดๆ
เหตุปัจจัยสืบเนื่องสัมพันธ์กันเป็นเช่นนี้1. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขารอวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม ร่วมด้วยอาสวะกิเลสที่สั่งสมจดจำ จึงเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงมี สังขารกิเลสเกิดขึ้น2. สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณสังขาร สภาพของใจ หรือสิ่งปรุงแต่งทางใจ ตามที่เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต(อาสวะกิเลส)จึงทำให้เกิดการกระทําทางกาย,วาจา,ใจ เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ขึ้นรับรู้ อันเป็นไปตามธรรมของชีวิต3. วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูปวิญญาณ กระบวนการรับรู้ของเหล่าอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ของชีวิต จึงรับรู้ในสังขารที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป4. นาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะนาม-รูป ทำให้รูปนามหรือขันธ์๕ที่มีอยู่แล้ว แต่นอนเนื่อง ครบองค์ของการทำงานตามหน้าที่ตนคือตื่นตัว เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ5. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะสฬายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ เข้าทำงานตามหน้าที่แห่งตน เนื่องเพราะนาม-รูปครบองค์ตื่นตัวแล้ว เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ6. ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาผัสสะ การประจวบกันของสฬายตนะ(อายตนะภายใน) & สังขาร(อายตนะภายนอก) & วิญญาณ ทั้ง๓ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา7. เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเวทนา การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะ เป็นสุขเวทนาบ้าง, ทุกขเวทนาบ้าง, อทุกขมสุขบ้าง เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา8. ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานตัณหา กามตัณหาในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน9. อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพอุปาทาน ความยึดมั่น,ความถือมั่นในกิเลสหรือความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลักสำคัญ เป็นปัจจัย จึงมี ภพ10. ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติภพ สภาวะของจิต หรือบทบาทที่ตกลงใจ อันเป็นไปตามอิทธิพลที่ได้รับจากอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ11. ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา-มรณะ พรั่งพร้อมด้วย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส หรืออาสวะกิเลส
รู้แจ้งหมายถึง รู้ว่าชาติคือ *ความเกิด* คือการเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ ตามภพหรือสภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกนั้น เป็นปัจจัยจึงมี ชรา-มรณะพร้อมทั้งอาสวะกิเล เมื่อมีการเกิด(ชาติ)ขึ้น ก็ย่อมมีการตั้งอยู่ระยะหนึ่งแต่อย่างแปรปรวน(ชรา) แล้วดับไป(มรณะ)เป็นธรรมดา ชรา - ความเสื่อม ความแปรปรวน จึงหมายถึง ความแปรปรวนความผันแปร ความวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ อันคือการเกิดอุปาทานขันธ์ 5 ขึ้นและเป็นไปอย่างวนเวียนซํ้าซ้อน และเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอย่างต่อเนื่อง มรณะ - การดับ การตาย จึงหมายถึง การดับไปของทุุกข์นั้นๆ อันพรั่งพร้อมกับการเกิดขึ้นเป็นอาสวะกิเลส - อันคือความจำ(สัญญา)ได้ในสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือกิเลส ที่เกิดขึ้น จึงเป็นความจำเจือกิเลสที่อยู่ในสภาพนอนเนื่อง แอบหมักหมมหรือสร้างรอยแผลเป็นอยู่ในจิตหรือความจำ อันจักยังผลให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน กล่าวคือ อาสวะกิเลส - ความจำเจือกิเลสที่ตกตะกอนนอนก้น นอนเนืื่องอยู่ในจิต ซึ่งเมื่อผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ หรือเกิดแต่เจตนาขึ้น หรือเกิดแต่การกระตุ้นเร้าของการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับอารมณ์ใดก็ตามที ก็จะไหลไปซึมซาบย้อมจิต ซึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาอีกครั้ง เพราะมีอวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารหนุนเนื่องขับดันวงจรของความทุกข์ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์หรือสังสารวัฏ
คำว่าสติที่พระอาจารย์กล่าวถึงคือการมีความคิดกำกับความรู้สึก ไม่ใช่สติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าสอนคือการรู้กายรู้ใจด้วยจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง (ไม่ตัดสินในสิ่งที่ปรากฏ) ด้วยการวางความรู้ใดๆไว้แล้วรู้สภาวะธรรมซื่อๆ จนกระทั่งใจยอมรับความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมหรือนามธรรม (ไม่ใช่การเข้าใจด้วยสมอง)
จิตว่างคือจิตที่ไม่ถูกครอบงำด้วยโมหะอันได้แก่ อุดมคติ อุดมการณ์ และการปรุงแต่งความว่าง ด้วยว่ารู้แจ้งใน *ปฏิจจสมุปบาท*
จิตของมนุษย์เป็น _สังขตสังขาร_ หมายถึงจิตที่เกิดในโลกความคิดเป็นจิตธรรมดาเมื่อแรกตื่นนอน จากนั้นความคิดทำให้จิตทำกรรมเป็น _อภิสังขตสังขาร_ หมายถึงจิตที่เวียนว่ายตายเกิดในใจตลอดทั้งวัน
1. เกิดโดย _ปุญญาภิสังขาร_ คือมีกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจรทำให้เกิด เช่น จิตของศิลปินที่กำลังสร้างงานศิลปะด้วยอุดมคติที่ปรารถนาให้เกิดความงาม ความดี ความจริงอันเป็นนามธรรมในใจผู้เสพงานศิลป์ หรือมีอุดมการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีอย่างเป็นรูปธรรม มีศีลธรรมอันดีงาม _อภิสังขรณกสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเทวดา ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in the act of karma-forming)
2. เกิดโดย _อปุญญาภิสังขาร_ คือมีอกุศลเจตนาทั้งหลายทำให้เกิด เช่น จิตของศิลปินที่กำลังสร้างงานศิลปะเพื่ออวดตนว่าเก่ง เพื่อเอาชนะใครบางคน มีความหิวกระหายทางใจด้วยจิตเป็นเปรตหรืออสุรกาย บ้างเพื่อปลุกระดมมวลชนให้ใช้ความรุนแรงต่อสู้กับอีกฝ่ายที่มีอุดมการณ์ไม่เหมือนกัน มีความคิดความเห็นด้วยจิตเป็นอสุรกายหรือสัตว์นรก เพราะ _อภิสังขรณกสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเช่นนั้น ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in the act of karma-forming)
3. เกิดโดย _อาเนญชาภิสังขาร_ คือมีกุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจรทำให้เกิด เช่น จิตศิลปินหลังจากสร้างงานศิลปะด้วยอุดมคติเพื่อความว่างอันปรุงแต่งจากมโนสัญเจตนา แล้วยึดมั่นในการปฏิเสธอารมณ์จากสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความหลงอันเป็นโมหะด้วยจิตเป็นเดรัจฉาน(แต่ถ้าเข้าฌานจิตก็เป็นพรหม) เพราะ _ปโยคาภิสังขาร_ ทำให้จิตเกิดสืบเนื่องเป็นเช่นนั้น ณ.ปัจจุบัน (formation consisting in exertion or impetus)
การบรรลุตัวตนภายในคือการใช้ _อภิสังขตสังขาร_ มาสร้างงานศิลปะไม่ว่าจะเป็น การร้องเพลง เล่นดนตรี การแสดงทุกรูปแบบ การผลิตสร้างสรรค์ใดๆอันเป็นวรรณศิลป์ บทกวี นิยาย เรื่องสั้น จิตกรรม ประติมากรรม ฯ ด้วยกายสังขาร,วจีสังขาร หรือมโนสังขาร
_อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลส_ เป็นปัจจัยจึงมี *สังขาร* อันเป็นเหตุให้เกิด _ตัวตนภายใน_ ของศิลปินหรือมนุษย์ คือจิตเวียนว่ายตายเกิดใน *วัฏสงสาร* ไม่ใช่ตายแล้วจิตออกจากร่างไปเวียนว่ายตายเกิดอย่างฮินดู ตัวตนภายในจึงไม่ได้เป็นวิญญาณเที่ยงแท้ถาวรที่เรียกว่า *ชีวาตมัน*
ศิลปินหรือมนุษย์ผู้หลุดพ้นจึงหมายถึงการบรรลุตัวตนภายในขั้นสูงสุด คือพ้นจากการมีตัวตนเพื่อจะไปถึงเป้าหมายใดๆ หรือยึดมั่นการไม่มีเป้าหมายใดๆ
เหตุปัจจัยสืบเนื่องสัมพันธ์กันเป็นเช่นนี้
1. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
อวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม ร่วมด้วยอาสวะกิเลสที่สั่งสมจดจำ จึงเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงมี สังขารกิเลสเกิดขึ้น
2. สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
สังขาร สภาพของใจ หรือสิ่งปรุงแต่งทางใจ ตามที่เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต(อาสวะกิเลส)จึงทำให้เกิดการกระทําทางกาย,วาจา,ใจ เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ขึ้นรับรู้ อันเป็นไปตามธรรมของชีวิต
3. วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูป
วิญญาณ กระบวนการรับรู้ของเหล่าอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ของชีวิต จึงรับรู้ในสังขารที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป
4. นาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
นาม-รูป ทำให้รูปนามหรือขันธ์๕ที่มีอยู่แล้ว แต่นอนเนื่อง ครบองค์ของการทำงานตามหน้าที่ตนคือตื่นตัว เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
5. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
สฬายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ เข้าทำงานตามหน้าที่แห่งตน เนื่องเพราะนาม-รูปครบองค์ตื่นตัวแล้ว เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
6. ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ผัสสะ การประจวบกันของสฬายตนะ(อายตนะภายใน) & สังขาร(อายตนะภายนอก) & วิญญาณ ทั้ง๓ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
7. เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เวทนา การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะ เป็นสุขเวทนาบ้าง, ทุกขเวทนาบ้าง, อทุกขมสุขบ้าง เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
8. ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
ตัณหา กามตัณหาในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
9. อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
อุปาทาน ความยึดมั่น,ความถือมั่นในกิเลสหรือความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลักสำคัญ เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
10. ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ภพ สภาวะของจิต หรือบทบาทที่ตกลงใจ อันเป็นไปตามอิทธิพลที่ได้รับจากอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
11. ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา-มรณะ พรั่งพร้อมด้วย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส หรืออาสวะกิเลส
รู้แจ้งหมายถึง
รู้ว่าชาติคือ *ความเกิด* คือการเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ ตามภพหรือสภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกนั้น เป็นปัจจัยจึงมี ชรา-มรณะพร้อมทั้งอาสวะกิเล เมื่อมีการเกิด(ชาติ)ขึ้น ก็ย่อมมีการตั้งอยู่ระยะหนึ่งแต่อย่างแปรปรวน(ชรา) แล้วดับไป(มรณะ)เป็นธรรมดา
ชรา - ความเสื่อม ความแปรปรวน จึงหมายถึง ความแปรปรวนความผันแปร ความวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ อันคือการเกิดอุปาทานขันธ์ 5 ขึ้นและเป็นไปอย่างวนเวียนซํ้าซ้อน และเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอย่างต่อเนื่อง
มรณะ - การดับ การตาย จึงหมายถึง การดับไปของทุุกข์นั้นๆ อันพรั่งพร้อมกับการเกิดขึ้นเป็นอาสวะกิเลส - อันคือความจำ(สัญญา)ได้ในสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือกิเลส ที่เกิดขึ้น จึงเป็นความจำเจือกิเลสที่อยู่ในสภาพนอนเนื่อง แอบหมักหมมหรือสร้างรอยแผลเป็นอยู่ในจิตหรือความจำ อันจักยังผลให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน กล่าวคือ
อาสวะกิเลส - ความจำเจือกิเลสที่ตกตะกอนนอนก้น นอนเนืื่องอยู่ในจิต ซึ่งเมื่อผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ หรือเกิดแต่เจตนาขึ้น หรือเกิดแต่การกระตุ้นเร้าของการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับอารมณ์ใดก็ตามที ก็จะไหลไปซึมซาบย้อมจิต ซึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาอีกครั้ง
เพราะมีอวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขารหนุนเนื่องขับดันวงจรของความทุกข์ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์หรือสังสารวัฏ