42 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์ "ก้าวผ่านวิกฤตโควิด สู่ภารกิจโรงพยาบาลคุณภาพ"

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 14 окт 2024
  • 42 ปี โรงพยาบาลนครพิงค์
    "ก้าวผ่านวิกฤตโควิด สู่ภารกิจโรงพยาบาลคุณภาพ"
    🔹️พ.ศ. 2482 เทศบาลนครเชียงใหม่มีนโยบายที่จะขยายรพ.เทศบาลนครเชียงใหม่ซึ่งเป็นรพ.ของรัฐ เพียงแห่งเดียวในขณะนั้น ให้รองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น จึงได้มีการสร้างรพ.แห่งใหม่ขึ้นบริเวณใกล้ประตูสวนดอก เป็นรพ.ขนาด 50 เตียง ใช้ชื่อว่ารพ.นครเชียงใหม่
    🔹️พ.ศ. 2499 ได้มีการก่อตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นรร.ผลิตแพทย์ในส่วนภูมิภาค
    🔹️พ.ศ.2502 ได้มีการโอนย้ายรพ.นครเชียงใหม่ให้อยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นรพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นมา จ.เชียงใหม่จึงไม่มีรพ.ประจำจังหวัด ที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นเวลานานกว่า 20 ปี
    🔹️พ.ศ. 2523 รัฐบาลในขณะนั้นได้มีนโยบายให้ก่อสร้าง รพ.ประจำจังหวัดเชียงใหม่แห่งใหม่ขึ้น บนเนื้อที่ 76 ไร่ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม เป็น รพ.ขนาด 75 เตียง ใช้ชื่อว่ารพ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2523 ทำให้เป็นรพ.ประจำจังหวัดเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอ.เมือง
    🔹️ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 จึงได้เปลี่ยนชื่อจากรพ.เชียงใหม่ เป็นรพ.นครพิงค์ เพื่อลดความสับสนกับรพ.มหาราชนครเชียงใหม่
    🔹️พ.ศ. 2538 รพ.นครพิงค์ได้รับงบประมาณในการพัฒนารพ.อย่างก้าวกระโดดเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 18 โดยได้มีการขยายบริการขึ้นเป็นรพ.ขนาด 256 เตียง และมุ่งเน้นการพัฒนาระบบบริการควบคู่ไปด้วย
    🔹️พ.ศ.2549 รพ.นครพิงค์ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน HA และยังคงผ่านการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
    🔹️รพ.นครพิงค์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งในปี พ.ศ.2556 จึงได้ยกระดับขึ้นเป็นรพ.ศูนย์ เพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยจากทั่วทั้งจังหวัดเชียงใหม่ และจ.ใกล้เคียง
    🔹️และในปีเดียวกัน ก็ได้มีการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิกรพ.นครพิงค์ขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอน ให้กับนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.พะเยา รวมถึงการผลิตแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆ จนถึงปัจจุบัน รพ.นครพิงค์ได้ผลิตบัณฑิตแพทย์ เพื่อรับใช้สังคมแล้ว 7 รุ่น รวม 131 คน และผลิตแพทย์เฉพาะทาง ในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน,กุมารเวชศาสตร์,ศัลยศาสตร์,ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์,อายุรศาสตร์และเวชศาสตร์ครอบครัว รวม 33 คน
    🔹️ปัจจุบันรพ.นครพิงค์เป็นรพ.ศูนย์ ขนาด 700 เตียง มีหอผู้ป่วยวิกฤตรวม 110 เตียง มีแพทย์เฉพาะทางกว่า 200 คน และมีบุคลากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,400 คน ให้บริการทั้งในด้านการตรวจรักษา,ส่งเสริมฟื้นฟูและป้องกันโรค ครอบคลุมตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ,ทุติยภูมิ,ตติยภูมิ ไปจนถึงการเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญ ใน 4 สาขาได้แก่
    1.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ : ศูนย์โรคหัวใจ รพ.นครพิงค์ มีขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจได้ครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โรคหัวใจในเด็ก การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยการสวนหัวใจ ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไปจนถึงการผ่าตัดเปิดหัวใจ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสหสาขา
    2.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง : ปี พ.ศ. 2562 ได้มีการก่อสร้าง ศูนย์มะเร็ง รพ.นครพิงค์ขึ้น ที่บริเวณ วัดลัฏฐิวัน(พระนอนขอนตาลอันศักดิสิทธิ) ต.ริมใต้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็ง ของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน มีขีดความสามารถในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างครบวงจร ทั้งการรักษาด้วยการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายรังสีฝังแร่ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
    3.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉิน : ห้องฉุกเฉินรพ.นครพิงค์ มีช่องทางด่วน สำหรับโรคที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ รวมถึงผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง และยังมีผลงานโดดเด่นในด้านการลำเลียงผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกลทางอากาศ หรือ sky doctor ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วและมีโอกาสรอดชีวิตได้มากขึ้น
    4.ศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด : รพ.นครพิงค์มีทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลากหลายสาขา และมีเครื่องมือที่ทันสมัยในการดูแลผู้ป่วยทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมาก,ทารกที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจล้มเหลว,ทารกที่มีความพิการแบบซับซ้อน,ให้การรักษาทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจน ด้วย Therapeutic hypothermia รวมถึงเป็นสถานที่ฝึกอบรมดูงานด้านการดูแลผู้ป่วยทารกระดับวิกฤต
    🔹️ในปีพ.ศ. 2563 ทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยพิบัติจาก โควิด-19 รวมไปถึงจ.เชียงใหม่ ที่ต้องรับมือกับภัยพิบัติในครั้งนี้เช่นเดียวกัน
    รพ.นครพิงค์ ซึ่งเป็นรพ.ศูนย์ที่มีความพร้อมจึงมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 ร่วมกับรพ.และหน่วยงานต่างๆในจ.เชียงใหม่ ทั้งในด้านการตรวจวินิจฉัย การให้การรักษา การควบคุมโรค รวมถึงการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การรักษาผู้ป่วยโควิดที่มีอาการรุนแรงซับซ้อน โดยตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่มีการระบาด รพ.นครพิงค์ได้ให้การรักษาผู้ป่วยโควิดไปแล้วทั้งสิ้น 2,530 ราย ผ่าตัดผู้ป่วยโควิด 297 ราย ตรวจทางห้องปฏิบัติการกว่า 460,000 ตัวอย่าง ฉีดวัคซีนกว่า 420,000 โดส ด้วยผลงานที่โดดเด่นด้านการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 จึงทำให้รพ.นครพิงค์ ได้รับรางวัล เลิศรัฐ จากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สาขาการบริการภาครัฐ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 ที่ผ่านมา
    ปัจจุบัน สถานการณ์การระบาดของโรคโควิดในประเทศไทยกำลังคลี่คลาย สู่การเป็นโรคประจำถิ่น รพ.นครพิงค์ก็พร้อมก้าวผ่านวิกฤตโควิด เพื่อมุ่งหน้าสู่ภารกิจการพัฒนารพ.นครพิงค์ ให้เป็นรพ.ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งในด้านการรักษาพยาบาล ด้านการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ และด้านการให้บริการ เพื่อเป็นรพ.ในดวงใจ และเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริง
    เสียงบรรยาย
    พว.พิมพินันท์ คำมาวัน
    พยาบาลวิชาชีพ
    หัวหน้างานป้องกันควบคุมโรคและระบาดวิทยา
    ถ่ายทำและตัดต่อ
    นพ.ประพนธ์ เปี่ยมอนันต์
    ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ
    ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านประชาสัมพันธ์

Комментарии • 7

  • @คนไกลถิ่น
    @คนไกลถิ่น Год назад +2

    ที่จอดรถน้อยไปและอีกอย่างที่น่าเห็นใจคือญาติคนใข้น่าจะมีอาคารที่พักให้เขาด้วยเวลามาเฝ้าใข้ไม่มีที่นอนเก็บคนละ50รึ100ก็ยังดี

  • @choojitpromjai9383
    @choojitpromjai9383 7 месяцев назад

    อยากทราบโรงพยาบาลรักษาผุ้ป่วยด้วยโรคต่อมลูกหมากโตยังไงคะ...ขอบคุณค่ะ

    • @nakornpinghospital3431
      @nakornpinghospital3431  6 месяцев назад

      มีหลายวิธีครับ กินยา ผ่าตัด รักษาด้วยไอน้ำ

  • @somboonsomboon4494
    @somboonsomboon4494 Год назад

    ร พ นครพืงค์ทำไมบริการคนใข้ไม่ยุติธรรมไม่เห็นใจคนใข้ คนใข้ขอไปทำธุระทางหมอบอกให้เซ็นต์ชื่อให้กลับไปรักษา ร พ เดิมร พ ทำถูกหรือเปล่า พอกลับไปร พ นครพิงค์หมอให้ล้างแผล ร พ เดิม

    • @suchatpomjan873
      @suchatpomjan873 Год назад

      ขอทราบเบอร์โทรของโรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่

  • @suchatpomjan873
    @suchatpomjan873 Год назад

    ขอทราบเบอร์โทรของโรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่