"เมาท์การศึกษาไทย หลักสูตร ครู นักเรียน" คุยกับ ปารมี ไวจงเจริญ | PPLE's Talk EP6

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 12 янв 2025

Комментарии • 23

  • @พยนต์จันทรวิฑูรย์

    ต้นตอปัญหาการศึกษาอยู่ในระบบราชการรัฐรวมศูนย์ ต้องเอาการศึกษาออกจากระบบราชการ กระจายอำนาจ มีเสรีภาพในการจัดการศึกษา มีเสรีภาพการเรียนรู้

  • @pwh-1112
    @pwh-1112 19 дней назад +5

    ครูจวงพูดเพราะมากค่ะ สิ่งที่ครูจวงและพี่ลิซ่าพูดคือเรื่องที่มันอัดอั้นอยู่ในใจมากๆค่ะ ประเทศจะเจริญและพัฒนาได้ก็อยู่ที่“คน” เราจะทำยังไงให้คนของเราพัฒนาได้เท่าประเทศที่เจริญแล้ว มันดูมืดมนมากเหลือเกิน เรารักประเทศไทยนะ แต่เราเบื่อสิ่งที่พวกผู้ใหญ่ปล่อยเบลอพวกเราแบบนี้ 😢

  • @NoThomkai
    @NoThomkai 19 дней назад +6

    ต่อไปเชิญ จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ มาพูดเรื่องกองทัพหน่อยครับ

    • @ShadowMan-7Mom
      @ShadowMan-7Mom 19 дней назад +1

      พรรคประชาชนมัวทำอะไรอยู่?
      ถึงปล่อยเรื่องกลุ่มว้า?
      ทำก็ทำไม่ถึง จนทักษิณคาบไปแดก
      มั่วแต่ไปยุ่งเรื่องไม่ค่อยสำคัญ
      คะแนนกระแสล้วนๆ ด้อยลงมากครับ
      มีแต่จะตัดคะแนนตัวเอง หยุดเรื่องสัญชาติ หยุดแก้วตาเสีย
      ใช้ความชาตินิยมให้เป็นประโยชน์ เรื่องซื้อไฟฟ้าชาวบ้านเขาไม่อินหรอกครับ นอกสภาแล้วเป็นใบ้หรือ? รู้จักเรียกร้องสื่อบ้าง
      ปิดปากบางเรื่อง ใช่ว่าจะไม่ทำ
      โลกสวยก็แพ้ไป เด็กเกินกับเกมราชสีห์
      #เหนื่อยใจจัด

  • @pongtre568
    @pongtre568 19 дней назад +4

    ต้องโน้มน้าวประชาชนมากกว่า อย่าไปหวังกับผู้มีอำนาจ พวกมันไม่เอาอ่าวเอาทะเลกับใครอยู่แล้ว

  • @AnasNaknawa-mt8rx
    @AnasNaknawa-mt8rx 17 дней назад

    สุดยอดเลยค่ะพี่จวง ❤️👍👏👏👏👏

  • @poorinut.glun-gumnird8445
    @poorinut.glun-gumnird8445 19 дней назад +1

    จบครบ 1 ชั่วโมงทำให้รู้ว่าถ้า พ.ร.บ.การศึกษาฉบับนี้ผ่าน หรือพรรคประชาชนได้มีโอกาสปฏิรูปการศึกษาจริงๆ ก็ไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศไทยได้อย่างแท้จริงแน่นอน หรือจะเป็นพรรคการเมืองใด ๆ ในประเทศนี้ก็ตาม ไม่อาจทราบได้ว่ามองไม่เห็นปัญหาที่แท้จริงหรือติดกับดักความดีที่ไม่สามารถพูดสิ่งที่แท้จริงได้ คุณจะไม่มีทางแก้ปัญหาทางการศึกษาได้เลยถ้าไม่มองย้อนกลับไปสู่รากฐานของการศึกษาจริงๆว่าคืออะไร
    การศึกษาคือ โอกาส หรือ สิทธิ์ ?
    แต่เดิมการศึกษาเป็นของชนชั้นสูงเริ่มจากวัด วัง สำนักต่างๆ เป็นโอกาสที่คนบางกลุ่มได้รับ ไม่ใช่สิทธิ์ที่ทุกคนมี ต่อมาสังคมเห็นประโยชน์ของการศึกษาจากกลุ่มที่มีโอกาสได้เรียนจึงเกิดการเรียกร้องให้ขยายโอกาสทางการศึกษาจึงพัฒนามาเป็นสิทธิ์ทางกฎหมายในภายหลัง การเห็นความเหลื่อมล้ำจาก การขาดโอกาสทางการศึกษา การเรียกร้องความเท่าเทียมทางสังคมนำไปสู่การกำหนดสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน เริ่มจากการให้โอกาสแก่คนบางกลุ่ม ค่อยๆขยายโอกาสให้กว้างขึ้นจนกลายเป็นระบบการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน และในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
    โอกาส คือจังหวะ คือช่องว่าง คือช่องทาง ที่ทำให้เกิดการพัฒนาหรือประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่ใช่ความเท่าเทียมเพราะโอกาสไม่ได้ให้ทุกคนไม่ได้มีมาตลอด มาพร้อมกับความท้าทายและความรับผิดชอบส่วนบุคคล
    มันเป็นเรื่องที่ดีที่พรรคประชาชนนั้นมองเรื่องสิทธิ์ทางการศึกษามาก่อนและพยายามที่จะลดความเหลื่อมล้ำหรือช่องว่างของโอกาส แต่อย่าลืมสิ่งสำคัญโอกาสนั้นอยู่เหนือสิทธิ์เสมอ
    เด็กทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับโอกาสรับการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้ปกครองในกรุงเทพอยากส่งลูกหลานเรียนอินเตอร์ ผู้ปกครองรอบนอกอยากส่งเรียนในกรุงเทพ ผู้ปกครองต่างจังหวัดอยากส่งลูกเรียนโรงเรียนประจำจังหวัด เพราะอะไร เพราะโอกาสไม่ใช่หรือ
    และเรื่องคุณภาพของโรงเรียนในหัวเมืองใหญ่กับการจัดอันดับโรงเรียนทั้งหลาย อยากให้มีการนำเสนอที่หลากหลาย ซึ่งนี้เป็นผลมาจากแนวคิดนี้ ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมดแค่พอจะนึกออก
    1. รางวัลพระราชทานโรงเรียน
    2. รางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากล
    3. รางวัลโรงเรียนสีขาว
    4. รางวัลโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง
    5. รางวัลโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
    6. รางวัลโรงเรียนในฝัน
    7. รางวัล IQA Award
    8. รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
    9. รางวัลโรงเรียนวิถีพุทธ
    10. รางวัลโรงเรียนคุณธรรม
    11. รางวัลโรงเรียนสุจริต
    12. รางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทานรักการอ่าน
    13. รางวัลโรงเรียน OBECQA
    14. รางวัลโรงเรียนรักษาสิ่งแวดล้อม (Eco School)
    15. รางวัลโรงเรียนดีศรีตำบล
    16. รางวัลโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวม
    17. รางวัลโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
    18. รางวัลโรงเรียนประชารัฐ
    19. รางวัลโรงเรียนพระปริยัติธรรม
    20. รางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านอาเซียนศึกษา​​​​​​​​​​​​​​​​
    พวกนี้ไม่ใช่เหรอที่ทุกคนบ่นกันว่า ภาระงานนอกที่ไม่ใช่การสอน เพราะละเลยเรื่องวิชาการซึ่งเป็นงานหลักของครูและเป็นงานที่ครูทำได้ดีที่สุดคือการสอนทักษะวิชาการให้แก่นักเรียน พวกนี้ไงที่ดึงครูออกจากนักเรียน มาทำเอกสารทั้งหลาย ทุกวันนี้โรงเรียนรอบนอกแทบจะหมดหวัง กับเรื่องความรู้วิชาการแล้ว รางวัลพวกนี้ส่งผลกับเด็กโดยตรงไหม? ก็ไม่ มีมหาวิทยาลัยไหนไหมที่มีโค

    • @poorinut.glun-gumnird8445
      @poorinut.glun-gumnird8445 19 дней назад

      มีมหาวิทยาลัยไหนไหมที่มีโคต้าให้นักเรียนจากโรงเรียนสีขาว โรงเรียนสุจริต โรงเรียนประชารัฐ ? ไม่มีสุดท้ายเขาก็คัดเอาเรื่องวิชาการมาสู้กัน
      แล้วเรื่องที่โรงเรียนติดป้ายประกาศนักเรียนติดแพทย์ วิศวะ มหาลัยดังบลาๆ ก็เหมือนกับการที่เราเป็นฝ่ายค้านถามหาผลงานเชิงประจักษ์จากรัฐบาลนี่แหละครับ สังคมก็ต้องการผลงานเชิงประจักษ์จากโรงเรียนเช่นกันในเมื่อโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ที่ถูกออกแบบมาให้สอนเด็กเพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานโดยตรง แต่เป็นพื้นที่เพื่อที่ให้เด็กได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ผลงานก็ต้องอยู่ที่การเข้าศึกษาต่อของนักเรียนอยู่แล้ว เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ถ้าอยากเปลี่ยนต้องเปลี่ยนจุดประสงค์ของการตั้งโรงเรียน
      ประเด็นเรื่องคุณภาพโรงเรียนก็ในฐานะที่คุณเป็นนักการเมืองเรื่องนี้ละเอียดอ่อน ผมพูดให้ โรงเรียนเล็กไม่มีทางสู้โรงเรียนใหญ่ได้เลย ไม่ใช่เพราะครูไม่เก่ง หรือเพราะขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย แต่เพราะสภาพแวดล้อมทางการเรียนไม่เอื้อให้เกิดการพัฒนาทั้งตัวเด็กและครู ขาดบรรยากาศแห่งการแข่งขันที่กระตุ้นการเรียน นักเรียนโรงเรียนใหญ่รู้ดีว่าที่นั่งที่พวกเขาอยู่นั้นไม่ได้มั่นคงเลย หากขาดความรับผิดชอบก็สามารถหลุดจากตำแหน่งนี้ได้ซึ่งมีอยู่คนอื่นต้องการมากมาย กลับกันโรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดคุณครู อุปกรณ์ และจำนวนนักเรียน จะเป็นที่ของนักเรียนที่ขาดโอกาสหรือไม่ก็ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นปมของนักเรียนอยู่แล้ว ขาดทุนทรัพย์ ขาดความหวัง ขาดความฝัน ขาดโอกาส แต่ถ้ามาโรงเรียนประจำรับรองว่าจบแน่นอน ซึ่งแน่นอนรัฐบาลหรือพรรคประชาชนในอนาคตก็จะต้องช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อย่างแน่นอน ซึ่งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง
      ประเทศไทยมาถึงจุดที่ต้องเลือกว่าทิศทางของการการศึกษาของเรานั้นจะไปทิศทางใดจะไปทางเข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียมกันแต่จะไม่มีคุณภาพสู้กับประเทศที่พัฒนาแล้วได้เลย หรือ การศึกษานั้นมีคุณภาพแต่ไม่เท่าเทียมและมีความเหลื่อมล้ำทางโอกาส
      หากจะเอาทั้งสองอย่างต้องได้รับการสนับสนุนจากสถาบันครอบครัวอย่างเข้มแข็งไม่ใช่สิ่งที่รัฐจะทำให้ได้พร้อมกัน
      ปล. หากมองว่าการศึกษาไทยมีปัญหาที่เด็กขาดสิทธิเสรีภาพนั้นแปลว่าคุณไม่ได้เข้าใจอะไรเลย

  • @chanaporn6102
    @chanaporn6102 19 дней назад +1

    ไม่แค่นักเรียนค่ะ นักศึกษาก็โดนคุกคามเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการคุกคามทางวาจา

  • @Itbabbw
    @Itbabbw 19 дней назад +1

    สวัสดีจ้ะ

  • @นางฟ้าชาลี-ษ7ฒ
    @นางฟ้าชาลี-ษ7ฒ 19 дней назад +1

    สวัสดีค่ะ

  • @andromedabeast2713
    @andromedabeast2713 19 дней назад +1

    ครูจวงทำงานได้ดี จับกระแสสังคมมาขับเคลื่อนต่อได้ดี แม้จะไม่มีอำนาจบริหารแต่พอกระตุ้นให้เกิดแรงกดดันทางสังคมก็ทำให้รัฐต้องขยับตามได้เหมือนกัน

  • @tungchinda390
    @tungchinda390 19 дней назад +1

    ครูต่างจังหวัด ถือว่า ผู้ปกครองกลัวไม่กล้าร้องเรียน การข่มเหงจิตใจ จึงทำได้ง่ายๆ สบายๆ

  • @เครื่องกลไฟฟ้าแผนกวิชาไฟฟ้ากํา

    ครูจวงเป็นติวเตอร์ เด็กเกือบทั้งหมดที่ครูจวงเจอเป็นเด็กที่ครอบครัวมีความพร้อม ครูเคยเจอเด็กที่ครอบครัวไม่พร้อมบ้างหรือเปล่า ครูจวงเข้าใจปัญหาระบบการศึกษาแน่เหรอ? แต่ถึงอย่างไรก็เอาใจช่วยนะขอให้พรรคประชาชนปฏิวัติการศึกษา(เบื่อแล้วกับปฏิรูป)ได้สำเร็จ อย่างน้อยผมก็เห็นนโยบายในพรรคก้าวไกลในอดีตที่ยกเลิกการนอนเวร(ที่มีมากว่า 50 ปี) สักวันอาจขออนุญาตเข้าร่วมงานด้วย

  • @augustspring5560
    @augustspring5560 17 дней назад

    ตัวอย่าวสะท้อนความล้มเหลวการศึกษาคือเคสแบงค์เลสเตอร์ ครูไทยเอาแต่รับชอบไม่รับผิด

  • @pattiepktn
    @pattiepktn 18 дней назад

    เรามีลูก ลูกได้เรียนโรงเรียนขยายโอกาส สงสารเด็กมากครูน้อยงานเยอะ เด็กออกจากโรงเรียนเยอะมาก 😢

  • @somchaiwongsa9357
    @somchaiwongsa9357 19 дней назад +1

    🧡🧡🧡

  • @smartgads
    @smartgads 16 дней назад

    มองในการสถาบันการศึกษา ก็คือผู้ผลิตบัณฺฑิตออกมาหรือก็เป็นกระบวนการผลิตแบบนึง ดังนั้นก็เอาหลัก 4 M มาใช้เพื่อหาปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ (Man , Machine , Method , Material)
    หัวใจการศึกษาคือการทำให้มนุษย์ต้องการการสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้แล้วก็อยากรู้ขึ้นมาอีก มีคำถามหรือรู้จักสร้างคำถามในหัวเพื่อหาคำตอบ และแสดงความรู้ออกมาเป็นผลงานเพื่อรับใช้สังคม สุดท้ายก็แบ่งปันความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาสู่รุ่นต่อรุ่น สร้างคอนเนคชั่นระหว่างยุค
    ปัญหาที่พูดได้ในกระทู้สั้นๆ เกียวกับการศึกษาคือ สังคมเราไม่ได้หวังการเรียนรู้เท่าที่ควร แค่ต้องการ "การยอมรับ" และตอบสนองกิเลส ลาภ ยศ สรรเสริญ ตัวอย่างเช่น จบมาเพื่อต้องการงานดีเงินเดือนสูง (ลาภ) จบไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน (ยศ) ได้ชื่อว่าจบนอกจบสถาบันดังๆ (สรรเสริญ)
    แต่สิ่งที่ว่ามันสร้างในโลกจริงชั่วข้ามคืนไม่ได้ จึงเกิดมีระบบอุปถัมภ์มาเกื้อหนุน สร้างปัญหาสังคมรุนแรงขึ้นไปอีก เช่น ความเหลื่อมล้ำ และ ทุจริต
    ดังนั้น mindset ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัวด้วยที่จะกล้าเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรู้ แปลว่าการศึกษาจะต้องทำกันหลายภาคส่วน เช่น กระทรวงพัฒนามนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย --- เขียนยาวกว่านี้กลัวจะไม่มีใครอ่าน 555

  • @thongchaibertaisong1286
    @thongchaibertaisong1286 19 дней назад +1

    สวัสดีครับ

  • @meguru2523
    @meguru2523 19 дней назад +1

    เศร้าใจ ระบบการศึกษาไทย

  • @theresababel
    @theresababel 19 дней назад +2

    อยากให้ปฏิวัติวงการการศึกษาจริงๆครับ ทุกวันนี้เอาใครมานั่งหัวโต๊ะก็ไม่รู้ บ้าบอคอแตก ทั้งๆที่การศึกษาเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศแท้ๆ ที่เค้าพูดกันว่าอย่าให้คนไทยมันฉลาดเกินจะปกครองยากนี่เรื่องจริงสุดๆ

  • @WDF882
    @WDF882 13 дней назад

    การเป็นครูในระบบทั้งเอกชน และรัฐ ครูต้องมีคุณสมบัติต้องจบ 1 2 3 4 บลาๆ กฎเกณฑ์เยอะแยะ ตัดภาพมาที่รัฐมนตรีศึกษา ตำรวจ มาเป็น รมต ศึกษา มันโคตรตลก555 ซึ่งคำถามคือไม่เคยคลุกคลีกับระบบการศึกษาจะเข้าใจความเป็นครู หรือรู้ปัญหาจริงได้อย่างไรซึ่งคนที่ทำงานใน รร จะรู้ปัญหาจริงๆ แต่ รมต ศึกษากลับไม่เคยมีประสบการณ์ในโรงเรียนเลย แล้วแบบนี้จะรู้ปัญหา นำไปสู่การแก้ไขได้อย่างไร คิดไปแล้วตลกเนาะ ประเทศไทย555