สามัญชนคนไทย : ชีวิต "เกษตรกร" กลายพันธุ์ (7 มี.ค. 58)

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 6 мар 2015
  • มาโนช พุฒตาล ออกเดินทางไปพบกับเกษตรกรทั้งชาวนา ชาวสวนและปศุสัตว์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความสั่นคลอนของระบบเกษตรกรรมไทย ที่ต้นตอปัญหาอาจเกิดจากขาดการวางแผนการเกษตร ระบบส่งเสริมที่ไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมและความต้องการของตลาดที่ไม่สอดคล้องกับการผลิต ทำให้วันนี้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ หลายคนเป็นหนี้ หรือไม่มีแม้แต่ที่ทำกินของตัวเอง ที่กำลังส่งผลต่อแหล่งอาหารของสามัญชนคนไทย
    ติดตามชมรายการสามัญชนคนไทย ทุกวันเสาร์ เวลา 21.10-22.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
    -------------------------------------------------------
    ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
    Website : www.thaipbs.or.th
    Facebook : www. ThaiPBSFan
    Twitter : / thaipbs
    Instagram : / thaipbs
    Google Plus : gplus.to/ThaiPBS
    RUclips : / thaipbs
  • РазвлеченияРазвлечения

Комментарии • 32

  • @PokeTVOfficial
    @PokeTVOfficial 9 лет назад +5

    รายการที่เป็นสมบัติของชาติ ดีจริงๆค่ะ !!!

  • @user-wg2qz6gw9x
    @user-wg2qz6gw9x 2 года назад

    Generic engineering (gene edit)

  • @chatpavee1434
    @chatpavee1434 9 лет назад +8

    รายการดี มีสาระ น่าสนใจทุกตอนเลยคะ ติดตามตั้งแต่ตอนแรก นำเสนอมุมมองที่สะท้อนปัญหาสังคมได้เยี่ยมมาก ... ที่สำคัญเลย ชอบภาพ ชอบมุมกล้อง ชื่นชมโปรดิวเซอร์รายการสุดๆๆๆๆ (คิดว่า คุณมาโนช เป็นโปรดิวส์เองแน่ๆเลยคะ)

  • @kanockwanrain
    @kanockwanrain 9 лет назад +2

    ขอชื่นชมคะ รายการสามัญชนคนไทยเป็นรายการที่มีระบบในการนำเสนอเนื้อหาดีมากเลยคะ ทำให้ผู้ชมเข้าใจง่าย
    ซึ่งดิฉันติดตามชมมาตั้งแต่ตอนแรกที่ออกอากาศแล้วคะ และก็จะติดตามต่อไปคะ
    สู้ๆๆ นะคะ เป็นกำลังใจให้กับทีมงานทุกคนคะ ^_^

  • @pattanapongcup
    @pattanapongcup 9 лет назад

    รายการดี ดูทุกตอน ขอบคุณครับ สนับสนุน

  • @ratchanaisirichan1385
    @ratchanaisirichan1385 6 лет назад

    รายการของคุณมาโนชดูเรียบง่าย แต่ได้สาระชีวิตที่ดีดูแล้วไม่เบื่อ

  • @nakornsinotok4068
    @nakornsinotok4068 9 лет назад +1

    คุณมาโนด คุณเป็นอิสรามที่ผมชอบสุด คุณเป็นปัจญาเป็นปราด วิถีคิด ความรู้จริงได้ประโยชน์ ผมชอบฟังคุณยิ่งกว่านักการเมือง
    เสียอีก ความปราณาที่ผมฝันไว้ ผม
    หยากให้ชาวมุสลิมในประเทศเรารักกันไม่เบียดเบียนกันเป็นเหมือนหย่าง
    คุณและครอบครัวคุณ ผมประทับใจคุณมากๆ

  • @treelovesfz
    @treelovesfz 9 лет назад

    เป็นรายการที่ดีมากๆๆครับ ให้ความรู้ สาระต่างๆมากมาย ชอบทุกตอนเลยครับ เป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกคนนำเสนอเรื่องราวดีๆ ที่มีสาระและความรู้แบบนี้อีกต่อไปนะครับ

  • @goto4u...tomorrow
    @goto4u...tomorrow 5 лет назад

    ติดตามชมในปี2562/2019ประเทศไทยสมัยรัชกาลที่สิบแล้วหนาาา...

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    สำหรับการทำงาน หรือการทำธุรกิจ โดยทั่วไปสำหรับคนที่มีการศึกษามากหน่อย เราก็มักจะได้ยินเรื่อง " อุปสงค์ - อุปทาน " ( Demand - Supply ) กันอยู่เสมอๆ ถ้ายิ่งมีการศึกษาสูงมากขึ้นไปอีก เราก็จะได้ยินเรื่องอื่นๆมากขึ้นไปอีก เช่น พวกเรื่องการตลาด หรือเรื่อง P ต่างๆเป็นต้น !

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +2

    ตอนผมเด็กๆ ประมาณปี 2520 กว่าๆ ตอนนั้นเกษตรกรไทย เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ คือมีประมาณ 80% ( ใหญ่มากๆ ) ตอนนั้นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ คือ ข้าว , ไม้สัก , แร่ดีบุก และเราถูกสอนในโรงเรียนอย่างนี้อยู่เรื่อยมา ถ้าในการศึกษาภาคบังคับยุคแรกๆ ก็ ป.4 นั่นแหละครับ ! ส่วนพวกที่อยู่ห่างไกลมากๆก็คงจะไม่ได้เรียนอะไรหรอกครับ !!
    ส่วนเรื่องที่สินค้าทางการเกษตร ที่มีลักษณะคล้ายๆกัน มันก็คือ การพยายามสร้างมาตรฐาน ให้กับสินค้าเกษตรนั่นเองเพื่อให้ผู้ซื้อ " ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น " และ สะดวกแก่ผู้ขาย และผู้ขนส่ง ในการบรรจุหีบห่อ ( บางประเทศไปไกล ถึงขนาดที่ผลิตในขนาดที่ ผู้บริโภค จะบริโภคหมดภาคในครั้งเดียว/คน )
    ส่วนเรื่อง " การลดลงของจำนวนเกษตรกร " คือ ในอดีตคนไทยขาดการวางแผนครอบครัว มีลูกกันหลายคน ประมาณ 4-5 คน ( ประมาณ ลูก 2 คน / พ่อ-แม่ 1 คน ) ระบบเกษตรยังใช้แรงงานเป็นหลัก มีประเพณี " ลงแขก " หรือ งานขอแรง อยู่ทั่วๆไป คือช่วยกันทำงานแบบให้เปล่า เพราะในสมัยก่อน " เงิน มันหายาก มันยังไม่กระจายไปสู่ชนบท " และที่สำคัญ " ตอนนั้นธรรมชาติยัง อุดมสมบูรณ์ อยู่มาก " ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาเงินมากนัก ...... ไม่ใช่ว่า เกษตร คนส่วนใหญ่ " มาก " ของประเทศในตอนนั้น ไม่ต้องการมัน ..... เคยได้ยินคำพูดนี้ไหมครับ " มีเงิน นับเป็นน้อง มีทองนับเป็นพี่ "
    ในเรื่องของการวางแผนครอบครัว ในยุดหนึ่ง มีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่นี้ นำโดย " ท่าน มีชัย " มีการแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัย " ถึงขนาดเรียกกันเล่นๆว่า ถุงมีชัย " และมีการสร้างคำขวัญที่ฮิตติดปากในสมัยนั้น ก็คือว่า " ครอบครัวเป็นสุข มีลูกไม่เกิน 2 " สภาพของครอบครัวไทยจึงเปลี่ยนแปลงไปจนบัดนี้ ใครที่ มีลูกมากๆ " ถ้าไม่รวยจริง จะถูกตั้งคำถามว่า ทำไมไม่รูจักวางแผนครอบครัว หรือคุมกำเนิด ( ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงทำได้แค่ ถามในใจ เท่านั้น ) !

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +2

    อันนี้เกือบลืม ! เกษตรกรควรจะมีคนที่เป็น พ่อครัว หรือ แม่ครัวเก่งๆ ไว้คิดเมนูอาหารใหม่ๆ ที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น จริงๆ !! โดยที่ไม่ผูกพันกับเมนูอาหารในเมืองมากนัก แต่ควรสามารถเทียบเคียงและทดลอง " ชิม " ดูได้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งที่ตนเองผลิตขึ้นมาเอง อย่างแท้จริง !!!

  • @thaimanybeautyshop9398
    @thaimanybeautyshop9398 8 лет назад +1

    มักอ้ายอีหลี คิดได้จังได๋ หาอาหารสมอง มาให้กิน ดี้ ดี

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ประมาณ นาทีที่ 5: กว่าๆ ในยุคที่การเกษตรยังทำกันแบบง่ายๆ และเริ่มมีการใช้ปุ๋ยเคมี เข้ามาเพื่อเพิ่มผลผลิต จึงเริ่มมีการใช้เงินมากขึ้น มีการเกิดขึ้นของโรงสี เป็นจำนวนมาก ( แบบง่ายๆโบราณๆไม่เหมือนสมัยนี้ ) ..... ส่วนเรื่องการ ขายฝาก หรือถูกโกง ถูกยึดที่ดินนี่ ก็เคยแต่ได้ยินมาเท่านั้น ! ......
    ชาวนาที่อยู่ใน พท.ที่ทำนาได้บ่อยครั้ง ก็จะมีฐานะที่ดีกว่าชาวนาที่ทำนาได้ปีละครั้ง เป็นเรื่องปรกติอยู่แล้ว เมื่อมีปัญหาเรื่องเงินก็จะเกิดการ กู้ยืมและซื้อ-ขายที่ดินกันต่อไป ..... แล้วก็ลุกลามไปจนถึงโรงสี ..... เมื่อโรงสีมีจำนวนมากขึ้น ..... การผลิตข้าว และข้าวสาร ทำได้ง่ายขึ้น ตามยุคสมัย ในที่สุดข้าวก็จะไปกระจุกตัวอยู่ที่ " ผู้ส่งออก " จนโรงสี บ่นว่า โรงสีทำไปก็ไม่มีกำไร โรงสีขนาดเล็กๆก็ล้มเลิกไปมากมาย เพราะลูกหลาน ไม่มาทำต่อ " ส่วน " ผู้ส่งออก " ก็จะบ่นว่าทำตลาดยาก เพราะมีคู่แข่งมาก ! ( ส่วนเรื่องที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากแค่ไหนเนี่ย ผมไม่รู้ )จนภายหลัง รัฐฯมีนโยบายช่วยเหลือ โรงสี โดยให้กู้ยืมเพื่อปรับปรุง ทั้งตัวอาคารและเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ดังที่เราเห็นโรงสีสมัยใหม่ ในปัจจุบัน !
    ในส่วนของชาวนา ที่ไม่ได้ลงมือทำงานเอง แต่ใช้เงินทำงานแทน ( ต้องมีประสบการณ์ และเงินทุนพอสมควร ก็เหมือนกับอาชีพอื่นๆนั่นแหละ ) ทำให้มีศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมาคือ " ผู้จัดการนา " ครับ ! ส่วนแรงงานก็จะมีลักษณะเป็นแรงงาน หมุนเวียน คือพอหมดหน้าฝน ก็เข้าเมืองหางานอื่นๆทำ คือมีแหล่งรายได้หลายทาง ตามความเชื่อปรกติคือ " ปลอดภัยไว้ก่อน " แต่อีกไม่นานก็จะมีรายจ่ายประจำ เหมือนกัน คือค่าเช่าบ้าน ถ้ามีลูกก็ต้องเลี้ยงลูก และส่งลูกเข้าโรงเรียน เหมือนคนทำอาชีพอื่นๆ !

    • @yongyotchantrapoom7341
      @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

      Yongyot Chantrapoom ....... คำพูดที่ว่า " ผู้จัดการนา " มันเป็นคำพูดที่ ค่อนข้างจะจริงจัง นะครับ ! ไม่ใช่พูดในเชิงประชดอย่างเดียว ถ้าใครไม่แน่พอ แล้วทำแบบนี้ " ก็คงจะไม่ค่อยเหลืออะไรหรอก ดีไม่ดีก็ขาดทุนครับ เพราะบริหารจัดการไม่เป็น หรือต่อรองไม่เป็น " ......

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ส่วนในเรื่อง " สารพิษ หรือสารเคมี ที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ต่างๆ " ตอนเด็กๆผมถูกสอนให้ใช้ นํ้าด่างทับทิมในการล้างผัก พอโตขึ้นมาอีกหน่อย ก็สอนให้ผมใช้นํ้าผสมผงฟู ปัจจุบันผมก็ได้ยินว่ามีการผลิต " นํ้ายาล้างผัก ผลไม้ " ขึ้นมาโดยเฉพาะ ที่บ้านผมก็มีอยู่ขวด " มันก็คล้ายๆกับนํ้ายาล้างจานนั่นแหละแต่มีขนาดเล็กกว่า "

    • @user-fo1ky9sl5e
      @user-fo1ky9sl5e 3 года назад

      ไปซื้อ มาจากที่ไหนคะ อยากได้บ้างคะ

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ประมาณ นาทีที่ 10:00 /47:36 การที่เด็กรุ่นใหม่ๆไม่กลับมาทำนาไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ เพราะเมือเด็กได้รับการศึกษามากขึ้น และได้รับรู้สภาพความยากลำบาก ( ถ้าลำบากแล้วมันคุ้มค่า ผมว่าเขาก็รับกันได้นะครับ ! ) และเรื่องความไม่แน่นอนของ " ฟ้าฝน " นี่แหละครับ ปัญหาหลักเลย ! แล้วรัฐฯก็ยังได้ ขยายฐานการศึกษา โดยสร้างโรงเรียนขึ้นอย่างมากมาย ทั้งประถม มัทธยม ถ้าในต่างจังหวัดทั่วไป ก็จะไปสุดที่ อาชีวะศึกษา ( เช่นโรงเรียนช่างเทคนิค สำหรับเด็กผู้ชาย หรือโรงเรียนพาณิชย์ สำหรับเด็กผู้หญิง ซึ่งอาจจะมีเด็กที่มีความชอบสลับกันบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก ) ส่วน วิทยาลัยเกษตรกรรม ผมไม่ค่อยได้ยินมากนัก ( ผมไม่ค่อยได้ไปเที่ยวไหนๆมากนักนะครับ ! )

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ประมาณ นาทีที่ 38:00 / 47:36 เรื่องสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นกับพืชนี่ ผมคงต้องเดาแล้วล่ะครับ ! น่าจะเป็นรูปแบบของการให้เกษตรกรเอาไป " ทดลองใช้ก่อน " โดยนำสารเคมีเข้มข้นไปผสมกับนํ้า แล้วฉีดพ่น " เมื่อมันได้ผลมันก็จะเกิดการทำซํ้าโดยตัวเกษตรกรเอง บางแห่งก็จะเห็น " ป้ายโฆษณา ปักอยู่ตามไร่-นา ว่าที่แปลงนี้ใช้สินค้า ยี่ห้ออะไร ซึ่งก็น่าจะมีอยู่หลายยี่ห้อล่ะครับ ผมไม่เคยอ่านซักที "

  • @ratchanaisirichan1385
    @ratchanaisirichan1385 6 лет назад +1

    เกษตรเคมีทำไปมีแต่จน เพราะเงินไปอยู่กับนายห้าง ปุ๋ย ยาเคมี น้ำมัน ต้องทำแบบวิธีชีวิตแบบโจน จันได หรือ อ.ยักษ์ หรือ สันติอโศก

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад

    นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลจากภาครัฐที่ ไปๆมาๆไม่แน่นอนอีก เช่น โครงการหมอดิน คือ การตรวจสภาพดินด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ( ตอนนั้นจะมี ชุดตรวจคุณภาพดิน โฆษณาขายตามหนังสืออยู่พักหนึ่ง ) ตามมาด้วยปุ๋ยสั่งตัด ( ปุ๋ยเคมีผสมตามสูตรที่เหมาะสม โดยเกษตรกรซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมกันเอง ตามสภาพดินและความต้องการของพืชที่ปลูก อันนี้น่าจะมีข้าราชการคอยจัดอบรมให้ความรู้อยู่นะครับ ) ต่อมาก็ปุ๋ยอินทรีย์ ( โดยส่วนตัวผมว่ามันใช้เวลาค่อนข้างนาน และใช้แรงงานมาก ) ส่วนที่ฮิตกันเป็นระยะๆก็ได้แก่ ปุ๋ยจุลินทรีย์ EM หรือ ฮอร์โมน ประเภทต่างๆอีกตามแต่ที่จะมีคนดิดค้นได้ อ้อบางช่วงก็มีเรื่องสารสะเดากำจัดศัตรูพืชด้วย ซึ่งก็ถูกวิจารณ์ว่าไม่สะดวก หรือไม่พอใช้ อะไรทำนองนี้ แล้วก็จางหาไป !

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад

    ประมาณ นาทีที่ 24:00 47:36 ผมว่าเหตุผลที่เกษตรกร ไม่ย้อนกลับไปใช้การทำนาแบบเก่า " เพราะเขาเป็นเจ้าของที่นา แล้วจ้างแรงงานทำนารึเปล่า เลยไม่ต้องการวิธีทำนาที่ยุ่งยาก " สู้เอาเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่นดีกว่า "

  • @kannikanuanjan3092
    @kannikanuanjan3092 6 лет назад

    ไม่ตอ้งทำดุไอ้ผวกที่ชื้อข้าวกีนมันจทำอย่างรัย. ถ้าชาวนารวมตัวกันไม่ทำข้าวมันก้ราคาสุงจบข่าว

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ประมาณ นาทีที่ 9.00 / 47:36 เกษตรก็ในอดีต " เขาไม่ได้ทำนาเอาข้าวขายอย่างเดียว แล้วเอาเงินจากการขายข้าวไปซื้อสินค้ากันแบบทื่อๆแบบนี้นะครับ แต่เขายังพึ่งพาตัวเองโดยการเลี้ยงสัตว์ +ปลูกผักริรั้ว + ปลูกพืชหลังทำนา กันด้วย ! จนเมื่อแรงงานลดลง และมีอายุมากขึ้น + ความเจริญต่างๆที่เข้ามา ก็จะเริ่มมีชาวบ้านนำสินค้ามาขาย โดยเริ่มจากใช้รถมอเตอร์ไซด์เล็กๆก่อน แล้วก็ตามด้วยรถปิคอัพ อย่างที่คน กทม.เรียกว่ารถขายกับข้าวนั่นแหละครับ จนเมื่อมีรถกับข้าววิ่งขายแข่งกันมากๆ มันก็จะกลาย 7-11 หรือ มินิมาร์ทเคลื่อนที่ โดยรับสั่งซื้อสินค้าจากในเมืองตามความต้องการของลูกค้า ..... จากข้อมูลของผม รถขายกับข้าว ที่วิ่งกันอยู่ตามต่างจังหวัดนี่มีมาไม่ตํ่ากว่า 20 ปีแล้วนะครับ ! .......

  • @mypooklook
    @mypooklook 9 лет назад +1

    เราทำเกษตรแบบพึ่งสารเคมีมาแต่รุ่นตารุ่นยาย ไหนปัญหาสุขภาพ ปัญหาหนี้สิน พอแก่ตัวทำต่อก็ไม่ไหว ลูกหลานไม่สืบต่อ ขายให้นายทุนดีกว่า ..ใ้ช้หนี้ ใช้สิน เผื่อความสุขบั้นปลายชีวิต

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ถ้าเราจะทำการเกษตรแบบ " ค้าขายเอาเงิน " ซึ่งก็เป็นปัจจัยทีสำคัญมากในยุคปัจจุบัน แต่กลับไปทำเกษตรแบบครอบครัว กระจัดกระจายแบบเก่า มันก็จะเป็นการกลับไปหาปัญหาเดิมกับ ผู้ซื้อและภาคขนส่งอีก ( ซึ่งปัจจุบันก็มีการปรับตัว โดยการดัดแปลงรถปิคอัพที่ใช้อยู่ให้สามารถบรรทุกได้มากขึ้นกว่า Spec ที่โรงงานผู้ผลิตได้กำหนดไว้อยู่แล้ว เพื่อลดต้นทุนในด้านนี้ ) ..... ที่จริงเราน่าจะหันมาทำเกษตรแบบใช้พื้นที่ร่วมกัน เหมือนกับที่เราไปโรงเรียน ไปทำงานในอาชีพต่างๆ ซึ่งเราก็ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งนั้น ซึ่งน่าจะบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ! ส่วนจะทำในรูปแบบไหนก็คงจะเป็นเรื่องที่ รัฐฯต้องสร้างแรงจูงใจในรูปแบบต่างๆให้ " โดนใจของเกษตรกรเอง " เพราะโอกาสที่จะให้อะไรๆกลับไปเหมือนเดิม 100% มันไม่น่าจะมีแล้ว " !!!

    • @yongyotchantrapoom7341
      @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

      Yongyot Chantrapoom อันนี้เป็นคำแนะนำ สำหรับเกษตรกร ที่ยังทำการเกษตรแบบที่ " ยังมีปัญหา " ต่างๆอยู่นะครับ !

    • @yongyotchantrapoom7341
      @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

      Yongyot Chantrapoom พึ่งนึกได้ครับ ! สำหรับการดัดแปลงรถปิคอัพเพื่อให้บรรทุกได้มากขึ้น ในอดีตทำกันแค่ " เสริมแหนบ + ดามแชสซี + ต่อคอก " ตอนหลังมีการเปลียนเพลาท้าย ระบบคลัชท์และเบรค ( ส่วนหนึ่งเพื่อให้ใช้อะไหล่ร่วมกับรถปิคอัพธรรมดาได้ด้วย ) อะไหล่บางส่วนเป็นอะไหล่มือ 2 จากต่างประเทศ !! ...... เคยมีบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง ส่งพนักงานไปสำรวจการใช้รถปิคอัพที่ " ตลาดไท " ผลปรากฏว่า คนไทยใช้รถบรรทุก นน.เกินกว่าที่ บ.ผู้ผลิตกำหนดไว้มาก คือ รถปิคอัพขนาด 1 ตัน คนไทยใช้บรรทุก นน.ประมาณ 3 ตัน บ.ผู้ผลิตจึงทำการ " ออกแบบเผื่อไว้ " ( การเพิ่มเนื้อเหล็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ในบางส่วนของตัวรถ ใช้ทุนไม่มาก แต่ได้ใจผู้บริโภค ) และภายหลัง ทางภาคราชการก็ได้รับ " จดทะเบียนรับรองการดัดแปลง ของรถพวกนี้ด้วย เนื่องจากมันมี วิ่งไป-วิ่งมา อยู่ทั่วประเทศ นั่นเอง " !!!
      หมายเหตุ - ภายหลัง ยังมีการปรับแต่งระบบเชื้อเพลิง + ล้อ และยาง อีก และต่อมาก็ยังมี รถปิคอัพ เบนซิน + NGV. อีก ( ซ่อนถังหนักๆไว้ใต้กระบะอีก 3 ถัง สำหรับรถที่บรรทุกไม่หนักมากนัก )

  • @yongyotchantrapoom7341
    @yongyotchantrapoom7341 9 лет назад +1

    ส่วนเรื่อง " เกษตรพันธสัญญา " ผมว่าปัญหาหลักๆน่าจะมาจาก รัฐฯขาดนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิชาการที่ทำงานด้านนี้ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ขาดความรู้ที่เท่าทันกับภาคเอกชน + เอกชนขาดความรอบคอบในเรื่องของ ข้อกฏหมายและสัญญา + ภาคเอกชน จัดโซนการทำงานไว้อาจทำเพื่อให้สะดวกแก่การทำงานของภาคเอกชนเอง แต่ส่งผลให้เกษตรกรต้องช่วงชิงแข่งขันกันลงมือ เพราะใครลงมือก่อนคนอื่นๆก็จะหมดสิทธิทำตาม ยกเว้นแต่ว่าจะเป็นของภาคเอกชนรายอื่นๆ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาจะแข่งขันกันจริงๆหรือไม่ " ...... ปัญหาที่รัฐฯขาดคนเก่งๆ ก็เพราะรัฐฯขาดแรงจูงใจในด้านรายได้ อาจรวมถึงความคล่องตัวในสภาพการทำงานด้วย ...... ทีนี้มันก็จะวนกลับมาในเรื่องของ " ปัญหาการเก็บภาษี " ...... แล้วก็จะวนกลับมาในเรื่องของ ปัญหาความยากจนอีกที วนไปวนมาไม่จบสิ้น !

  • @ratchanaisirichan1385
    @ratchanaisirichan1385 6 лет назад

    รู้สึกว่าอาชีพเกษตรของไทยเหมือนต้องคำสาป ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย