ตำนานพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ แห่งล้านช้าง หลวงพ่อพระใส หลวงพ่อพระศุกร์ หลวงพ่อพระเสริม

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 16 окт 2024
  • #หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณะงดงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ส่วนสูงจาก พระชงฆ์เบื้อง ล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้ว ปัจจุบันนี้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ #วัดโพธิ์ชัยอำเภอเมืองหนองคาย
    การหล่อ ประวัติเกี่ยวกับการหล่อ ตามความสันนิษฐานเข้าใจว่าหล่อในสมัยเชียงแสนช่วงหลังๆ จะหล่อที่ไหน เมื่อไรนั้นไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เชื่อแน่ว่าไม่ใช่หล่อที่เมือง เชียงแสนดังที่บางท่านเข้าใจ ทั้งนี้เพราะมีคำที่รับรองกันได้โดยมากว่าเป็นพระพุทธรูปลานช้าง ซึ่งสมัยนั้น(สมัยเชียงแสน) ประเทศลานช้างยังเป็นประเทศที่รุ่งเรืองอยู่ และพระพุทธศาสนาก็กำลังเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงฝักใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการหล่อพระพุทธรูปยิ่งสนพระทัยเป็นพิเศษ
    อนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ลงความเห็นไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม หน้า ๑๐๒ ว่า “ พระพุทธรูปลานช้างที่งามยิ่งกว่าองค์อื่นคือ “พระเสริม” อยู่ในพระวิหารวัดประทุมวัน” นี้แสดงให้เห็นว่า พระใสต้องเป็นพระพุทธรูปที่หล่อในประเทศลานช้างแน่เพราะพระพุทธรูป ๓ องค์คือ พระสุก พระเสริม พระใส หล่อในคราวเดียวกันและเคียงคู่กันมาเสมอเท่าที่กล่าวมานี้ ก็เพื่อจะให้เป็นเหตุสนับสนุนทางที่จะเล่าทางหนึ่งว่า หลวงพ่อพระใสหล่อที่ประเทศลานช้าง โดย มีธิดา ๓ พระองค์แห่งกษัตริย์ลานช้างเป็นเจ้าศรัทธา ทั้งหมดเป็นพี่น้องร่วมพระวงศ์เดียวกัน (บางท่านว่าเป็นธิดาของพระไชยเชฏฐาธิราช) มีพระนามตามลำดับว่า สุก เสริม ใส มีพระทัยร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในอันที่จะหล่อพระพุทธรูปประจำองค์ จึงได้พร้อมกันขอพรจากพระบิดาพระบิดาประทานพรให้ จึงให้ช่างหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ ขนาดลดกันตามลำดับ ครั้นแล้วจึงขนานนามพระพุทธรูปเหล่านั้นโดยขอฝากพระนามของตนเองไว้ด้วยว่า #พระสุก (ประจำผู้พี่ใหญ่) #พระเสริม(ประจำคนกลาง) พระใส (ประจำคนเล็ก)
    ในการทำพิธีหล่อนั้นทั้งทางบ้านและทางวัดได้ช่วยกันเป็นการใหญ่โต มีคนทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ไม่ขาดระยะ นับเป็นเป็นเวลา ๗ วันแล้วทองก็ยังไม่ละลาย ถึงวันที่ ๘ เวลาเพล (๑๑.๐๐น) เหลือพระภิกษุแก่ กับเณรน้อยรูปหนึ่งทำการสูบเตาอยู่ ในขณะนั้นได้ปรากฎมีชีปะขาวตนหนึ่งมายังที่นั้นและขอทำการสูบเตาช่วยซึ่งพระภิกษุและสามเณรน้อยนั้นก็มิได้ขัดข้อง เมื่อชีปะขาวทำการสูบเตาแทนแล้ว พระภิกษุและสามเณรก็ได้ขึ้นไปฉันเพลบนศาลาตามปกติธรรมดาทุกวัน เมื่อพระกำลังฉันเพลอยู่ญาติโยมที่มาส่ง เพลย่อมลงมาทำการสูบแทนเสมอ แต่วันนั้นญาติโยมแลเห็นคนสูบเตามากกว่าปกติท่อเตาก็มีมาก แต่ละคนเป็นชีปะขาวเหมือนกันหมด ด้วยความอัศจรรย์ใจยิ่งจึงได้ถามพระ ภิกษุ แต่พระภิกษุแลไปก็เห็นเพียงชีปะขาวรูปเดียวเท่านั้น พอฉันเพลเสร็จ คนทั้งหมดก็พากันลงมาดู ครั้นถึงก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง เพราะเหตุที่ได้เห็นทองทั้งหมดถูกเทลงในเบ้าทั้ง ๓ เบ้าโดยเรียบร้อยแล้ว และไม่ปรากฏเห็นชีปะขาวนั้นเลยสักคนเดียว
    ที่ประดิษฐานพระสุก พระเสริม พระใส คราวแรกประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทร์ นานเท่าไรไม่ปรากฏ ครั้นพ.ศ ๒๓๒๑ เมื่อรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เกิดสงคราม ขึ้นระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทร์) ครั้นนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้เป็นจอมพลยกทัพมาตีเวียงจันทร์ เมืองเวียงจันทร์จึงเกิดยุคเข็ญขึ้น พระเจ้าธรรมเทวงศ์จึงได้อันเชิญไปไว้ที่เมืองเชียงคำ ครั้นต่อมาด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ พระใสจึงถูกอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัด โพนชัย เมือง เวียงจันทร์อีก
    ต่อมารัชการที่ ๓ แห่งจักรีวงศ์ปรากฏว่าที่เมืองเวียงจันทร์ (เจ้าอนุฯ ) เกิดเป็นขบถ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์เสีย พระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ เมื่อเมืองเวียงจันทน์ สงบดีแล้ว จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม พระใส มาประดิษฐาน ณ ที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคาย
    ในตอนที่อัญเชิญพระใสจากเวียงจันทน์ มาประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยเมืองหนองคายนี้ คราวอัญเชิญมาไม่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยตรงแต่ได้อัญเชิญมา จากถูเขาควายซึ่งชางเมืองได้อัญเชิญไปซ่อนไว้แต่ครั้งเวียงจันทน์เกิดสงคราม การอัญเชิญมาได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ซึ่งอัญเชิญมาทั้ง ๓ องค์ ล่องมาตามลำแม่น้ำโขงเมื่อถึงตรงบ้านเวินแท่นที่นั้นได้เกิดอัศจรรย์คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำโดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอนเอียงแพไม่สามารถรับน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ อาศัยเหตุที่แท่นของพระสุกได้จมลง ณ ที่ตรงนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวินแท่น” มาจนบัดนี้
    ครั้นเสียแท่นพระสุกแล้วก็ยังอัญเชิญล่องมาตามลำน้ำโขง (น้ำงึ่ม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เล็กน้อย พอถึงที่นั้นได้บังเกิดพายุใหญ่เสียงฟ้าคะนองร้องลั่น จนในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ พอพระสุกจมลงในน้ำแล้วอาการวิปริตต่างๆ ก็สงบเงียบอาศัยเหตุนี้ ที่นั้นจึงได้นามว่า “เวินสุก” (จนบัดนี้พระสุกยังจมอยู่ในน้ำโขงตรงนั้นตราบเท่าทุกวันนี้ )
    เมื่อเป็นเช่นนี้ยังคงเหลืออยู่แต่พระเสริมกับพระใส ที่ได้นำเข้ามาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัยส่วนพระใสได้ประดิษฐานไว้ ณ วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ (วัดหอก่อง) ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯ พระจอมกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวงอัญเชิญ พระเสริม จากวัดโพธิ์ชัยลงไปกรุงเทพฯ ขุนวรธานีเมื่อมาถึงหนองคาย ได้ทราบว่าพระใสเป็นคู่กับพระเสริมจึงได้อัญเชิญจากวัดหอก่องขึ้นสู่เกวียน นัยว่า จะอัญเชิญไป กรุงเทพฯ กับพระเสริม แต่พอมาถึง ณ วัดโพธิ์ชัย พระใสได้แสดงปาฏิหาริย์ไม่สามารถขับเกวียนซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อพระใสให้เคลื่อนที่ไปได้ แม้ใช้เครื่องฉุดก็ไม่สามารถเช่นเดียวกัน ได้ทำการอ้อนวอนด้วยประการต่างๆ ก็ไม่เป็นผล จนในที่สุดเกวียนไดหักลง
    #เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ

Комментарии • 9

  • @AiiyNoyy
    @AiiyNoyy 2 месяца назад +3

    ทำไมไม่มาส์่งลาวคืน

  • @PM18Alumni
    @PM18Alumni 9 месяцев назад +2

    สาธุ สาธุ สาธุ

  • @wiriwan6181
    @wiriwan6181 4 месяца назад +1

    สาธุค่ะ

  • @chill7458
    @chill7458 9 месяцев назад +1

    สาธุ

  • @Touy-eh3qj
    @Touy-eh3qj 3 месяца назад +2

    ຄຳວ່າອັນເສີນນັ້ນມັນສຸພາບເກີນໄປຄວນໃສ່ຄຳວ່າຣັກດີກ່ວາເພາະມັນຕົງດີເອວັງ

  • @TongBimanZine56
    @TongBimanZine56 9 месяцев назад +1

    ึคนหนองคายค่ะ คนท่าบ่อ
    สาธุ สาธุ สาธุ

  • @Touy-eh3qj
    @Touy-eh3qj 3 месяца назад +2

    ພຣະສຸກ?ພຣະເຊີມ?ພຣະມາ.ຄວນຄືນໃຫ້ເມືອລາວ?ການເອົາສິ່ງໃດສິ່ໜຶ່ງໂດຍມີຈຸດປະສົງທີ່ບໍສົມຄວນຕ້ອງຂືນໃຫ້ເຈົ້າຂອງເດີມ

  • @noppet45
    @noppet45 9 месяцев назад +1

    สาธุ

  • @PhaychithSayakhom-zc4tx
    @PhaychithSayakhom-zc4tx 4 месяца назад

    สาธุ สาธุ สาธุ