การแสดงสร้างสรรค์ ฟ้อนไตรเภรี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
HTML-код
- Опубликовано: 27 дек 2024
- การแสดงสร้างสรรค์ ฟ้อนไตรเภรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติประเภทของกลองมองเซิง กลองปู่เจ่
และกลองถิ้งบ้อง เพื่อสร้างสรรค์ การแสดงฟ้อนไตรเภรี
คณะผู้วิจัยจึงได้คิดสร้างสรรค์การแสดงโดยผ่านกลุ่มชาติพันธุ์
อันได้แก่ กลองมองเซิงของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ กลองปู่เจ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่
และกลองถิ้งบ้องของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน นำมาบรรเลงเข้าด้วยกัน เพื่อประกอบ
การแสดงความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชาติพันธุ์นั้น ๆ ผ่านเครื่องแต่งกาย
และกระบวนท่าร่ายรำที่สนุกสนานรื่นเริง
ฟ้อนไตรเภรี มีระยะเวลาในการเเสดงทั้งหมด ๗ นาที โดยเเบ่งเป็น ๓ ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ ๑ มังคละลายเจิง ชั้นเชิงลีลากลอง
การแสดงสื่อถึงการตีกลองมงคลของกลองมองเซิง กลองปู่เจ่ และกลองถิ้งบ้อง
ซึ่งมีลีลาชั้นเชิงแตกต่างกันไป เป็นการโหมโรงก่อนเริ่มการแสดง
ช่วงที่ ๒ อัตลักษณ์วิถีเภรี สามเผ่าไต
การแสดงสื่อถึงการรำประกอบจังหวะกลองที่มีอัตลักษณ์การร่ายรำตามวิถีลีลา
ของสามชาติพันธุ์ไต ได้เเก่ ไทลื้อ ไทใหญ่ เเละไทยวน
ช่วงที่ ๓ เริงสราญลีลาไตรเภรี
การแสดงสื่อถึงความสนุกสนานรื่นเริงของหนุ่มสาวร่ายรำอย่างหรรษา
ด้วยความปิติยินดี ตามแบบนาฏลีลา ที่อ่อนช้อยและงดงามของ
กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสาม
ที่ปรึกษาด้านงานวิจัยสร้างสรรค์
ดร. กษมา ประสงค์เจริญ
ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร. อุดม ชัยทอง
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายสัตวแพทย์ ดร. วรพัฒน์ ประชาศิลป์ชัย
ที่ปรึกษาด้านการสร้างสรรค์งานวิจัย