VLOG EP385 Effect ไมค์ร้องส่วนตัวที่นักร้องเอามาเอง... หายนะ
HTML-код
- Опубликовано: 3 дек 2024
- เพราะยิ่งใช้ยิ่งไมค์หอน
---
ถ้าชอบสิ่งที่เรานำเสนอ กรุณาทำดังนี้
1. Share Video Blog ตอนนี้ออกไปให้มากที่สุด เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม
2.Subscribe RUclips Channel "โต ติงต๊อง" สามารถ Search ใน RUclips ได้เลยย
3. Like Facebook Page ของเราเพื่อติดตาม Video Blog ที่จะออกทุก ๆ สองวันได้ที่ / totingtongaudio
4. โทรหาเราได้ที่ 085-803-8791 หรือ เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.productiont...
---
ต้องการพัฒนาตัวเองในสายงานโปรดักชั่นไหมล่ะ? ถ้าใช่สามารถดูคอร์สสัมมนาของ “โต ติงต๊อง” ได้ที่ www.productiont...
---
สุดยอดครับผม ขอบคุณครับผม
ในฐานะนักร้องนักดนตรีผมเข้าใจเรื่องนี้มานานพอสมควร แต่ผมไม่อาจจะอธิบายให้เพื่อนนักร้องนักดนตรีด้วยกันให้เข้าใจได้ และบ่อยครั้งปัญหามันเกิดครับ คลิ๊ปนี้เป็นอีกคลิ๊ปที่ดีมากๆครับ 👍
อย่าลืมกดไลค์ Facebook Page ของผมด้วยนะ
สั่งทำได้ไหมคะ
แล้วสั่งที่ไหนคะ
อันนี้ดีฮะ ขงบคุณมาก
พอดีเลย กำลังจะหาคำอธิบายให้นักร้องและนักดนตรีเข้าใจ ขอบคุณครับ
ชอบวิดีโอตอนนี้มากๆ เลยครับพี่โต
เพราะผมเพิ่งจะจัดเอฟเฟคเสียงร้องมา รู้สึกว่ามันหอนง่ายกว่าปกติมากๆๆๆๆ เลยครับ
จากนี้ต้องใช้ให้น้อยที่สุดครับผม
NutThekru Play ในงานแสดงสด แฟลตที่สุด ฟุ้งน้อยที่สุด = หอนยากสุดครับ
เพิงทราบเลยครับ ปกติใช้เเค่ในสตู ไม่เจอปัญหาเลย (เพราะไม่เปิดลำโพง อัด 2 line)เเต่ช่วยเรื่องความมั่นใจของนักร้องมากเลย ช่วยเรื่องฟิลของนักร้องมากๆเลย (ปรับเลย ปรับเอาที่สบายใจ)
อยู่บนเวทีมีการขยายเสียง ต้องพึ่งพาอาศัยกันส่วนใหญ่ Sound Engineer จะขอให้หยุดใช้แล้วจะพยายามชดเชยทางมอนิเตอร์ให้ได้มากที่สุด
แต่ถ้า่หยุดใช้ไม่ได้ก็มีตั้งแต่ค่อย ๆ ไถกันไปจนจบงานยันช่างแม่ง
@@ttasac ส่วนตัวผมมองว่า บนเวทีจริงๆมันก็คุมยากด้วยนะครับ กลุ่ม Hamony เดี่ยวนี้เราชอบให้มันไปอยู่บน Data เเล้วก็เล่นไปตาม metronom ไม่ต้องไปกังวลว่ามันจะออกมาเท่าไหร่ปริมาณยังไง เเต่ก็นั้นเเหละครับ วงที่ใช้ Data เล่นนี้ก็ต้องอาชีพกันพอสมควร พวกที่ไม่ได้มืออาชีพกันมากส่วนใหญ่ก็ใช้เเหละครับซ้อมน้อย+ อุปกรณ์ไม่ถึง ก็ต้องบิด Hamony เข้าไปเพิ่มให้มันไม่โล่งจนเกินไปในบางท่อน หรือเพื่อเสริมให้มันมีอารมณ์มากขึ้น อีกประเภทหนึ่งคือ effect ตระกูล Pitch correction Vocoder หรือ Robot อันนี้ยังไงก็ต้องต่อครับ ไม่งั้นงานจะไม่เดินทำได้เเค่งดปรับ Reveb/Delay/Dynamic เพิ่มเเค่นั้น(อันนี้มีไม่กี่เเนวที่ต้องใช้ เเทบไม่จำเป็นส่วนใหญ่ปรับเพราะรู้สึกมั่นใจขึ้นครับ) คือในมุมของศิลปิน มันคือส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราอยากจะสื่อครับ ผมในมุมศิลปินเองก็คงไม่ยอมปลดมันออกครับ ถ้าต้องขึ้นงาน เพราะถ้าปลดมันออกอาจหมายถึงต้องเอานักร้องมาประสานเพิ่ม เเละบาง Function ก็ไม่มีอะไรมาเเทนมันได้ อย่าง Pitch corrections/vocoder เเต่ก็คงต้องตกลงกันครับ ว่า function ใหนต้องใช้เครื่อง Function ไหนไม่จำเป็น เเละเสี่ยง Live sound engineer ก็เอาไปคุม หรื่อเป็นข้อกำหนดว่า Function นี้บิดได้เเค่ไหน บางที่มันต้องใช้จริงๆ ในกลุ่มเพลง Funk/Alternative/Hiphop ผมว่าลองอธิบายเเละคุยรายละเอียดดูครับ ศิลปินที่พึ่งพาอุปกรณ์เพราะมันจำเป็นต้องใช้ จะมีความรู้เรื่องพวกนี้มากพอสมควรเเละเค้าจะบอกได้ครับ ว่าเค้าตัดอะไรได้ ไม่ได้ เเต่ถ้ามันยันจะใช้ไม่ฟัง เเปลว่ามือสมัคร์เล่นครับ อธิบาย 1 รอบเเล้วจงปล่อยมันไป เพราะคุณข้ามมาเล่นฝั่งเทคนิค เเต่เสือกจะไม่สนใจเทคนิค มันก็ช่วยไม่ได้
@@pondpypapayababayaga8254 ในฐานะที่ผมใช้ชีวิตการทำงานเป็นซาวด์ส่วนกลางไม่ใช่ซาวด์ศิลปิน ถ้าไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าและหากในงานไม่มีใครเอา In-Ear Monitor มา ผมขอให้ปิดทันทีเพราะเวลาที่กระชั้นผมไม่ทราบได้หรอกว่า...
1. ผู้ใช้ต้องการสภาพแวดล้อมการได้ยินแบบไหน? และต้องใช้ฟังก์ชั่นอะไรบ้าง?
2. ผู้ใช้ต้องการอิสระในการควบคุมขนาดไหน?
หลายคนที่ผมเคยร่วมงานด้วยต้องการ Full Control ต้องปรับได้ทุกอย่างและดัง/ค่อยเท่าไหร่ก็ได้ แน่นอนว่าสภาพแวดล้อมทางการฟังและลูกเล่นต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าไม่มี In-Ear Monitor ขอให้ปิดแล้วไม่ฟังหรือไม่ Compromise ก็ตัวใครตัวมัน
3. ผู้ใช้ยินยอมให้ทุกฟังก์ชั่นที่มีผลต่อความแรงสัญญาณ (Gain) ต้องกระทำโดย Sound Engineer หรือไม่?
Reverb, Delay, Harmony และ Pitch เป็นการดัดแปลงเฟสของสัญญาณเสียงเดิม หลายครั้งผมเจอผู้ใช้ที่เปิดฟังก์ชั่นเหล่านี้แล้วไม่ได้ยินตัวเองเพราะเสียงจริงหุบลง บางคนถึงกับลนลานไปเร่ง Gain ใน Stages ใด ๆ โดยคิดว่าเสียงดังขึ้น = ชัดขึ้น ถ้าไม่มี In-Ear Monitor ความบรรลัยบังเกิดทันที (ผมเคยเจอผู้ใช้ที่เร่ง Gain ที่ Effect ขึ้นจนเวลา Belt ติด Peak เสียงแตกออกระบบ ซึ่งมอนิเตอร์บนเวทีมันต้องแข่งกับเสียงอื่นคงสังเกตได้ยากแต่ออก PA ชัดมาก พอส่ง Backstage ไปแจ้งก็ตอบกลับมาว่าไม่เห็นได้ยินว่าแตก แล้วก็เล่นไปทั้งอย่างนั้น)
หรือพูดง่าย ๆ ถ้าผู้ใช้ Effect เหล่านี้เอา In-Ear Monitor มาเอง (หรือแจ้งให้จัดเตรียมให้) หรือ มี Sound Engineer ประจำตัว/วงมาด้วย หรือ สามารถ Compromise จนถึงจุดที่ตนถูกจำกัดขอบเขตในการปรับ จะใช้ก็ใช้ไปเลยครับ ผมไม่ห้ามและยินดีให้ใช้เป็นอย่างยิ่งด้วย
แต่ถ้าเอามาแล้วต้องได้ใช้, ไม่มีทีมที่รู้งานมาอำนวยความสะดวกให้ และไม่สนใจฝั่งเบื้องหลังก็เช่นเดิม... ขอให้เลิกใช้ ถ้าไม่เลิกและไม่ Compromise ก็ตัวใครตัวมัน ผมรายงานขึ้นไปตามลำดับขั้นเพื่อทราบและอำนวยความสะดวกเท่าที่ทำได้ถ้าถึงคราวชิบหายก็ชิบหายไปคนเดียวครับ
ผมมองว่านักร้องหรือศิลปินส่วนใหญ่ที่มีประสบการณ์มากพอจะมี Sound Engineer หรือทีมอำนวยความสะดวกอยู่แล้ว และกลุ่มที่นอกเหนือจากนี้มักพึ่งซาวด์ส่วนกลาง ซึ่งผมเจอเป็นประจำครับ
ขอบคุณสำหรับมุมมองในฝั่งศิลปะครับ เมื่อผสมกับมุมมองฝั่งวิทยาศาสตร์จะได้รอบด้านพอดี
ปล. มีวิธีที่ผมชอบใช้มาก ๆ คือขอ Split สัญญาณ 2 ช่วงครับ คือ Split สัญญาณไมค์ร้องแบบดิบ ๆ ไม่ผ่าน Effect เข้าระบบ 1 ช่อง และสัญญาณหลังผ่าน Effect อีก 1 ช่อง แล้วผสมเอาตามความเหมาะสม เพราะเข้าใจอยู่แล้วว่านักร้องทุกคนเวลาฟังตัวเองเสียงที่ต้องการมักมีส่วนผสมไม่เหมือนเสียงที่ Mix ให้คนดูเนื่องจากต้องแข่งกับเสียงรบกวนบนเวทีเยอะมาก แต่... มีไม่น้อยอีกแหละที่ไม่ยอมให้ Split ออกไปเพราะอยากคุมทุกอย่า่งด้วยตัวเอง ในที่สุดก็กลับอีหรอบเดิม
@@ttasac ครับคุณโต ear monitor ขาดไม่ได้ เเละ sound ต้องมีเวลาบริฟกับวงจริงๆ อันนี้เห็นด้วยสัสๆมากครับ อันนี้น่าสนใจครับ split ไป 2 ช่อง(เเต่อาจต้องคุย หรือบริฟ Automation กันด้วย อันนี้ต้อง sound วงเเหละ)
@@pondpypapayababayaga8254 เรื่องการ Split ถ้าทำได้แทบไม่ต้องเตี๊ยมอะไรกันเลยครับ เพราะปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากไมโครโฟนหอนเพราะผสมอัตราส่วนจากเอฟเฟคเยอะเกินไป ผมแค่ตัดความถี่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการหอนออกไปในช่องเอฟเฟก, ผสมเสียงจากเอฟเฟก (ที่มีเสียงร้อง) กลับเสียงร้องดิบให้อยู่ในอัตราส่วนที่ปลอดภัย และแต่งโทนไม่ให้มันทับกันจนขุ่นมัว งานก็เดินได้สบายแล้วครับ
สวัสดีครับ.พี่โต.สุขสันต์วันปีใหม่สุขภาพแข็งแรงร่ำรวยเงินทองครับ..
Boonthom Tonpa ขอบคุณครับ
เทคโนโลยี สร้างมาเพื่อช่วยเหลือมนุษย์
แต่บางครั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็สร้างปัญหาใหม่ๆขึ้นมาได้
เพราะมุ่งแต่จะพัฒนา ไปกันคนล่ะทิศ คนล่ะทาง
เมื่อถึงคราวที่จะมาใช้ร่วมกัน มันก็มีโอกาสจะฉิบหายได้ไม่ยากครับ...
Kitinan BOB ผมไม่ได้ขัดข้องเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้นะ แต่เจ้าของอุปกรณ์มักไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตามเลยเกิดปัญหา
แล้วกรณีที่ใช้พวกเอฟเฟคร้องที่เป็นเสียงประสาน ที่ต้องใช้กีต้าร์เสียบเล่นด้วยเพื่อให้เสียงประสานตรงคีย์
แล้วปล่อยออกไปไลน์เดียวทั้งกีต้าร์และร้อง แบบนี้จะเป็นปัญหาในการทำโทนเหมือนกันใช่ไหมครับ
SM GCC แน่นอนครัช
Fcพี่โตมาแล้วครับ
แนวดนตรีใหม่ๆทุกวันนี้เอฟเฟคนี่มาก่อนเลยจริงๆ
รุ่นใหม่เค้าคุยกันไม่มีจบ ผมแนวโบราณโชคดีไปครับ.
เอฟเฟคผมว่ามีได้นะ มันเป็นศิลปะของงานประพันธ์เขา แต่ในบางครั้งการแสดงสดมันไม่ง่ายเหมือนในสตูดิโอไง
ช่ายเลย
ทำไม เราไม่เข้าใจ
ถ้าไม่เข้าใจแปลว่ายังไม่เคยใช้ เป็นปรกติ
Auto tune รึป่าว
ม่าย ๆ เน้นกลุ่มที่แต่งโทน, เอฟเฟค, เสียงประสาน และบุคลิก
เขามีซาวด์ที่ควบคุมที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว พวกนักดนตรีกระจอกมึงยังจะเสือกเอาอุปกรเสริมเติมแต่งที่ไม่ได้มาตรฐานผิดหลักการซาวด์มาพ่วงอีก ไอ้พวกนักดนตรีพวกนี้แม่งมันไม่เข้าใจหรอกหลักการควบคุมเสียงของซาวด์ครับ ผมนี่เบื่อยิ่งนัก
ปัจจุบันผมไม่สามารถเอาตัวเองตั้งเป็นมาตรฐานให้ใครปฏิบัติตามได้ เพราะรู้ว่าตนยังมีข้อบกพร่องอยู่พอสมควร ขอแค่เวลาสนับสนุนให้ไม่ได้ดังใจก็คุยกันดี ๆ มันก็พอแล้วสำหรับผมนะ
เจอประจำ เวลานักร้องเอากล่องบ้าบอมาพ่วงเอง
วรินทร แก้วบุญฤทธิ์ ผมเคยเจอนักร้องบางคนเค้ารู้ว่าต้องปรับอย่างไร เสียงมันดีขึ้นและอยู่ในจุดที่ซาวด์ทำงานได้ด้วย ยกนิ้วให้เลย
@@ttasac น้อยครับที่จะเจอแบบนั้น
ผมเคยเจอแต่นักร้องพี่เขาบอกลดเกนให้ผมด้วยก่อนเล่นทุกรอบ
โรม จัง ถ้าพลังเค้าเยอะมันก็ถูกแล้ว
จริงครับ นี่เป็นเรื่องโลกแตกระหว่างนักร้อง(ที่ไม่เข้าใจเรื่องซาวด์)อธิบายแล้วก็ยังดื้อที่จะทำ กับซาวด์เอนจิเนียร์ ผู้ตั้งใจให้ซาวด์ออกมาดี
นักร้องสมัยก่อน อย่าง สายัณฯ ยอดรักฯ หรืออีกหลายๆท่าน
เอกฟงเอฟเฟกไม่ต้อง ไม่เปลกใจเลยเมื่อได้ฟังต้นฉบับดั้งเดิม เสียงดีอย่างแท้ทรู
กล้องบันทึก Ep นี้ภาพสวยมาก
Polaee Kongsompong คือความจริงใช้ก็ได้นะ ขอแค่ใช้เท่าที่จำเป็นก็พอ เพราะสภาพแวดล้อมในแต่ละงานมันไม่เหมือนกัน การที่จะปรับให้ทุกอย่างตรงใจได้ทุกงานมันทำให้คนที่สนับสนุนเบื้องหลังลำบาก