พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตอนที่ 1 สาระสำคัญของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 1 апр 2020
  • บรรยายเรื่อง พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตอนที่ 1 สาระสำคัญของพรบ.คุ้มครองแรงงาน
    ประกอบการเรียนการสอนออนไลน์ รายวิชา กฎหมายและมาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ระดับชาติ และนานาชาติ ประจำภาคเรียนที่ 2/2562
    ผู้บรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปฏิญญา สุขวงศ์
    หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Комментарии • 33

  • @pramethgradea3229
    @pramethgradea3229 2 года назад +1

    ขอบคุณครับ

  • @mohammedy
    @mohammedy Год назад

    เป็นประโยชน์มากครับอาจารย์ 🙏

  • @user-vj8vf7pj5h
    @user-vj8vf7pj5h 3 года назад

    เสียงหล่อมีกำลังใจในการฟัง

  • @helicopter1857
    @helicopter1857 3 года назад +1

    อธิบายดีมากๆครับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ขอบคุณครับ

  • @prattanapm974
    @prattanapm974 3 года назад +1

    อธิบายได้เข้าใจมากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ขอบคุณมากครับ

  • @nattayatanabunchansin8962
    @nattayatanabunchansin8962 3 года назад +1

    น่าจะมีสรุป ให้สั้นแต่ได้ใจความ ทุกๆ กฎหมายที่เกี่ยวกับลูกจ้าง

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ จะนำไปปรับปรุงครับ

  • @Chomchit-cc3cs
    @Chomchit-cc3cs Месяц назад

    ป่วย15วันใม้ได้เขีบนใบรางานต้องพนเป็นลูกจ้างใช้มัยคับ

  • @user-xs9bf4jf9t
    @user-xs9bf4jf9t Год назад

    นางสาวศิริมา นาวาพานีช อาชีพEmployer(Ep.85) ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน มาตรา 40 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 สปส.รับผิดชอบ เครือข่าย 4001 มี GSB.SUMO

  • @user-mq5hv4od3n
    @user-mq5hv4od3n 11 месяцев назад +1

    มีข้อสงสัยครับถ้านายจ้างไม่จัดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา30ลูกจะสามารถร้องเรียนนายจ้างได้ไหมครับ และนายจ้างทำผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงานใช้ไหมครับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  11 месяцев назад +1

      ตามมาตรา 30 ระบุว่า ลูกจ้างที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ หยุดพักผ่อนประจำปี โดยให้นายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนไว้ล่วงหน้า หรือแล้วแต่ที่จะตกลงกับลูกจ้าง ซึ่งหากนายจ้างไม่ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพักผ่อนประจำปี (ปีละ ไม่น้อยกว่า 6 วัน) นายจ้างจำเป็นต้อง จ่ายค่าจ้าง และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 62 (ค่าทำงานในวันหยุด สองเท่าของค่าจ้างปกติ) และมาตรา 63 (ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด สามเท่าของค่าแรงต่อชั่วโมง) เสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด
      ในส่วนความผิดของนายจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน สามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ หากนายจ้างไม่กำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุด (ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30) มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ส่วนความผิดตามมาตรา 64 (ไม่จัดให้มีวันหยุด หรือไม่จ่ายค่าจ้าง สองเท่าในการทำงานวันหยุด, ไม่จ่ายค่าจ้าง สามเท่าในการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ครับ

    • @user-mq5hv4od3n
      @user-mq5hv4od3n 11 месяцев назад

      ขอบคุณครับเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอย่างพวกผมมากครับ เพราะเพื่อนรวมงานผมไม่ได้รับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเลยตลอดระยะเวลาที่ทำงานกับบริษัทนี้8ปีเต็ม

    • @patintu3814
      @patintu3814  11 месяцев назад +1

      @@user-mq5hv4od3n ลูกจ้างสามารถเรียกร้องขอวันหยุดพักผ่อนจากนายจ้าง ปีละไม่น้อยกว่า 6 วัน หรือสะสมวันหยุดพักผ่อนไว้หลายปีรวมกันก็ได้ครับ หรืออาจให้นายจ้างจ่ายเป็นค่าชดเชยการทำงานในวันหยุดก็ได้เช่นกันครับ เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @chachachachacha1059
    @chachachachacha1059 3 года назад +2

    สอนเข้าใจดีมากเลยค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้นะคะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ขอบคุณมากครับ

    • @chachachachacha1059
      @chachachachacha1059 3 года назад

      @@patintu3814 พอจะมีไฟล์สไลด์ให้ปริ้นออกมาอ่านมั้ยคะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      @@chachachachacha1059ลองส่งข้อความไปที่แอดมินเพจนี้ได้เลยครับ บอกว่าขอไฟล์การบรรยายเรื่องอะไร เดี๋ยวแอดมินจะจัดการให้ครับ facebook.com/หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย-มหาวิทยาลัยสวนดุสิต-365724300154242/

    • @chachachachacha1059
      @chachachachacha1059 3 года назад +1

      @@patintu3814 ขอบคุณมากๆค่ะ 🙏🏻

  • @Chomchit-cc3cs
    @Chomchit-cc3cs Месяц назад +1

    ป่วยใม้ได้ไปเขียนใบรางานต้องโดนพนจากลูกจ้างใช้มัยคับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  Месяц назад

      กฎหมายไม่ได้บังคับว่าพนักงานหรือลูกจ้างต้องแสดงใบรับรองแพทย์ทุกครั้งที่ลาป่วย ซึ่งหากลูกจ้างลาป่วยไม่ถึง 3 วัน อาจมีหรือไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อนายจ้างก็ได้ แต่ถ้าลาป่วยเกิน 3 วัน นายจ้าง "อาจ" ให้ลูกจ้างส่งใบรับรองแพทย์ ซึ่งถ้าไม่มี ก็สามารถชี้แจงกับนายจ้างได้ครับว่า ป่วยแล้วรักษาด้วยตนเอง ซื้อยามาทานเอง ที่บ้าน เป็นต้น ซึ่ง ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และได้รับเงินเดือน ปีละไม่เกิน 30 วัน ซึ่งหาลาเกินปีละ 30 วัน วันที่เกิน นายจ้างก็สามารถไม่จ่ายเงินเดือนในวันที่ป่วยเกิน 30 วันได้ครับ

  • @siriwipawongphaksa1152
    @siriwipawongphaksa1152 3 года назад

    มีลิ้งให้โหลดเอกสารมั้ยคะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ลองสอบถาม inbox ไปที่เพจหลักสูตรอาชีวอนามัยฯ ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ แจ้งว่าต้องการไฟล์เรื่องอะไร เดี๋ยวแอดมินเพจเค้าประสานงานส่งไฟล์ให้ครับ facebook.com/หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย-มหาวิทยาลัยสวนดุสิต-365724300154242/

  • @longdooenterprise9693
    @longdooenterprise9693 2 года назад +1

    รบกวนสอบถามครับ. ในกรณีที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันกำหนดเวลาทำงานในวันทำงานปกติเป็นวันละ 12 ชั่วโมง เท่ากับว่าเมื่อทำงานผ่านไป 4 วัน ชั่วโมงงานปกติก็จะครบ 48 ชั่วโมงตามกฎหมายฯกำหนดในสัปดาห์นั้น อยากทราบว่าในกรณีนี้ อีก 3 วันที่เหลือในสัปดาห์ จะต้องกลายเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ไปโดยปริยายหรือไม่ครับ.

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 года назад +1

      กฎหมายกำหนดให้ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชม.ต่อวัน หรือ 48 ชม.ต่อสัปดาห์ แต่หากตกลงกันว่า ให้ลูกจ้างทำงานวันละ 12 ชม. เมื่อทำไป 4 วันแล้ว ก็จะครบ 48 ชม. ดังนั้น หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำในวันที่เกินจากนี้ ต่อ 1 สัปดาห์ (เกิน 48 ชม. ใน 1 สัปดาห์) ก็จะถือว่าเป็นการทำ OT ครับ ส่วนเรื่องวันหยุดประจำสัปดาห์ กฎหมายระบุว่า ให้มีอย่างน้อย 1 วัน ดังนั้น หากทำงานเกินกว่า 48 ชม.ต่อสัปดาห์ แล้ว เวลาที่เหลือหากตกลงกับนายจ้างให้ทำงานเกิน นายจ้างจำเป็นต้องจ่ายค่าจ้าง โดยถือเป็น OT ครับ ซึ่งการจ่ายนั้นนายจ้างอาจจ่ายรวมเป็นรายเดือน (ให้รวมเป็นเงินเดือน)ให้กับลูกจ้างไปแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับที่ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันไว้แต่แรกครับ แต่อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้าง หรือการทำงานเกิน 8 ชม.ต่อวัน หรือ 48 ชม.ต่อสัปดาห์ ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานที่ทำด้วยนะครับ เช่น รปภ. จะยกเว้นไม่ได้รับค่า OT ตามกฎกระทรวงฯ กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552 แต่อย่างไรก็ถาม หากลูกจ้างเห็นว่า เป็นการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ ได้ครับ

    • @longdooenterprise9693
      @longdooenterprise9693 2 года назад

      @@patintu3814 ขอบคุณมากครับที่ช่วยชี้แนะอย่างละเอียดครับ.
      ปัจจุบันที่บริษัทเขากำหนดให้ทำงาน 5 วัน จัน-ศุก หยุด 2 วัน เสา-อาทิต กำหนดชั่วโมงทำงานปกติ ในวันทำงานปกติ จัน-ศุก ไว้ที่วันละ 12 ชั่วโมง(ไม่รวมเวลาพัก) ในแต่ละวันจะยังไม่มีการคิดการจ่ายค่าล่วงเวลา แต่วิธีการคิดการจ่ายค่าล่วงเวลาจะเกิดขึ้นเมื่อในสัปดาห์นั้น ลูกจ้างมาทำงานครบทั้ง 5 วัน จัน-ศุก เท่ากับว่าทำงานวันละ 12 ชม. เป็นจำนวน 5 วัน ชั่วโมงงานรวมเป็น 60 ชม. เกิน 48 ชม.ตามกฎหมายกำหนด มาเป็นจำนวน 12 ชม.ตรงนี้จึงคิดเป็นการจ่ายค่าล่วงเวลา ซึ่งหากในสัปดาห์นั้นลูกจ้างมีการลางาน เช่นลา 1 วัน ก็จะถูกตัดชั่วโมงทำงานออกไป 12 ชม. ทำให้สัปดาห์นั้นมีชั่วโมงการทำงานรวมแล้ว 48 ชม.(แม้อีก 4 วันที่เหลือจะทำงานวันละ 12 ชม.) ไม่เกินตามกฎหมายกำหนด ก็ไม่ต้องมีการจ่าย OT. แบบนี้มันขัดต่อกฎหมายไหมครับ.
      ถ้าหากเป็นอย่าที่ท่านแนะนำผมมา มันก็ควรจะเป็นแบบวัน จัน-พฤหัส 4 วันนี้นั่นคือวันทำงานปกติ ส่วนวันศุกร์ทั้งวันคือ OT. หากมีการลาวันใดๆในระหว่าง จัน-พฤหัส แต่มาทำงานในวันศุกร์ ก็ยังคงได้รับ OT. ในวันศุกร์อยู่ ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ

    • @patintu3814
      @patintu3814  2 года назад

      @@longdooenterprise9693 ตามหลักการเรื่องเวลาทำงานต่อวัน กำหนดไว้ที่ 8 ชม.ต่อวัน ที่มาคือ วันนึงมี 24 ชม. แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาสำคัญของชีวิตต่อวันคือ ทำงาน 8 ชม. ใช้ชีวิตส่วนตัว 8 ชม. และพักผ่อน 8 ชม. ดังนั้น ถ้าการทำงานที่เกิน 8 ชม.ต่อวัน จึงถือได้ว่าเป็น OT
      จากข้อมูลที่ให้มา ผมเดาว่า บริษัทฯ น่าจะต้องการให้ทำ OT ทุกวัน วันละ 4 ชม. เมื่อทำครบ 5 วัน ต่อสัปดาห์ ก็จะได้รับค่า OT เป็นรายสัปดาห์ ซึ่งลักษณะงานบางอย่าง สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องไป แต่อย่างไรก็ตาม การทำ OT ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนทุกครั้ง ดังนั้น บริษัทฯ ควรตกลงกับลูกจ้างให้ชัดเจน ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้ชัดเจนกับลูกจ้าง เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น หากจะถามว่า ผิดกฎหมายหรือไม่ หากเป็นการบังคับให้ลูกจ้างทำ OT ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง หากเป็นไปได้ก็ควรคุยกับนายจ้างถึงความจำเป็นหรือความต้องการของลูกจ้าง เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อไปจะดีกว่าครับ

  • @user-ch4pn6pf8x
    @user-ch4pn6pf8x Год назад

    ถ้าหัวหน้ากลั่นแกล้งไม้ชราพจะร้องเรียนแบบไหนย่างเช้นหัวหน้าไม้ไห้ครวมเป็นทำกับเราเช้นรับโบนัสเพื้อนๆได้รับหลายหมื่นแต่เราได้รับ5000แบบเนี้ยเราจะทำยังไงยากชราบคะ

    • @patintu3814
      @patintu3814  Год назад

      คำว่า โบนัส จะมีความหมายถึงเงินหรือรูปแบบอะไรก็ได้ ซึ่งลูกจ้างคาดหวังว่าจะได้รับเป็นประเภทรางวัลประจำปี จะได้กี่ครั้งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของนายจ้างแต่ละสถานประกอบกิจการจะกำหนดขึ้นเองได้ตามชอบใจ ดังนั้นโดยทั่วไปการให้โบนัสแก่พนักงานจึงเป็นสิทธิของนายจ้างครับ ว่าจะให้ หรือไม่ให้ หรือให้ใครมากน้อยแค่ไหนก็ได้ ตามที่นายจ้างเห็นสมควรครับ
      แต่อย่างไรก็ตามหากลูกจ้างเห็นว่า เป็นการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ ได้ครับ

  • @yinglee6364
    @yinglee6364 3 года назад +2

    เสียงเบามาก

    • @patintu3814
      @patintu3814  3 года назад

      ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ จะปรับปรุงต่อไปครับ

    • @yinglee6364
      @yinglee6364 3 года назад

      @@patintu3814 สู้ๆค่ะ