การแสดงชุด : ฟ้อนหางนกยูงหัวเรือ

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 10 май 2022
  • แนวคิดและแรงบันดาลใจ : การแสดงฟ้อนหางนกยูงหัวเรือ ของชาวจังหวัดสกลนครมีมานานนับ 100กว่าปีแล้ว ใช้สำหรับการบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะแคล้วคราด จากภัยอันตรายทั้งปวงและเข้าร่วมการเส็งต่างๆ (การแข่งขัน)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา การแสดงชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่งและรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบ ก่อนออกชิงชัยในศึกสงครามในสมัยก่อนโดยท่ารำจะรำตามอาวุธที่ตนเองฝึก เช่น รำดาบ รำกระบี่กระบอง รำมวย ให้เข้ากับจังหวะกลองอาจารย์จำลอง นวลมณี นำรำหางนกยูงมารำบนหัวเรือแข่งขันครั้งแรกในการแข่งเรือยาวประเพณีออกพรรษา ได้มีการดัดแปลงปรับปรุงท่ารำใหม่ให้ท่ารำมีเอกลักษณ์อ่อนช้อยเหมือนนกยุงรำแพน เป็นการแสดงของชายหรือจะเป็นคู่ก็ได้โดยผู้ฟ้อนจะจินตนาการท่าทางเหมือนกับนกยูง ถ้าเป็นการรำคู่ผู้แสดงจะแสดงคล้ายกับนกยุงกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ฝ่ายหญิงจะแสดงท่าทางที่อ่อนช้อยในขณะที่ฝ่ายชายจะแสดงความเข้มแข็งแข็งแกร่งใช้ประกอบกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกับการผสมผสานกระบวนท่ามวยโบราณซึ่งเป็นการแสดงของชาวจังหวัดสกลนครจึงเกิดเป็นการรำหางยูงหัวเรือในปัจจุบัน
    ผู้วิจัย : อาจารย์ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำ นายพัน เหมหงส์ ซึ่งมีการพัฒนาอย่าง
    ต่อเนื่อง ต่อมาในปี 2492 อาจารย์จำลอง นวลมณี ได้นำฟ้อนหางนกยูง มารำบนหัวเรือเป็นครั้งแรก
    การแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งในการแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา รายวิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการแสดงวิพิธทัศนา และรายวิชาสื่อและนวัตกรรมการสอนสำหรับครูนาฏศิลป์

Комментарии • 4

  • @tatar2857
    @tatar2857 Год назад +3

    ชอบการฟ้อนแบบนี้มากๆ จังหวะดลตรีไทภาคอิสาน และคนฟ้อนรำพร้อมเพรียงกันอย่างสวยงาม ดูแล้วมีมลขลังของการฟ้อนรำหางนกยูง❤

  • @noknana2723
    @noknana2723 Год назад +3

    สุดยอดๆๆๆ

  • @charttha-nongthong3187
    @charttha-nongthong3187 Год назад +1

    สวยขลัง
    และ พร้อมเพรียง
    สง่างามมากครับ

  • @user-if9wg9lk4r
    @user-if9wg9lk4r Год назад +2

    ผมใช้ดนตรีและท่ารำให้เด็กๆในชุมชนฟ้อนต้อนรับคณะศรัทธาครับผม