เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ Ep.33 เสน่ห์ของระบบเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของออสเตรเลีย

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 5 фев 2025
  • การที่พรรคการเมืองต่าง ๆ ในประเทศไทยกำลังรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งกันอย่างดุเดือด ทำให้ผมคิดว่า ระบบการเลือกตั้งของออสเตรเลียนั้นเป็นระบบที่มีเสน่ห์มากในหลายมิติ มิติแรก คือ ระบบเลือกตั้งของออสเตรเลียเป็นระบบที่เรียกว่า “จัดลำดับความชอบ” ประชาชนมีหน้าที่เขียนหมายเลข 1 ลงในกล่องด้านหน้าชื่อของผู้สมัครที่
    เราชอบมากที่สุด ชอบรองลงมาเขียนหมายเลข 2 ไล่ไปเรื่อย ๆ จนครบทุกคน แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้สมัครเกิน 10 คน ชาวบ้านคงเรียงลำดับกันไม่ค่อยถูก ดังนั้น ออสเตรเลียจึงอนุญาตให้พรรคการเมืองแต่ละพรรค รวมทั้งผู้สมัครอิสระ สามารถทำเอกสารแนะนำการจัดลำดับแจกจ่ายให้ประชาชนในเขตเลือกตั้งได้
    เอกสารนี้เรียกว่า How to vote card จากตัวอย่างในอดีต พรรคลิเบอร์รัล (Liberal) มักจะแนะนำให้ชาวบ้านเลือกผู้สมัครจากพรรค National เป็นลำดับที่ 2 รองจากตนเอง ส่วนผู้สมัครจากพรรค National ก็มักจะแนะนำให้ชาวบ้านเลือกผู้สมัครจากพรรค Liberal เป็นลำดับที่ 2 เช่นเดียวกัน เป็นการตอกย้ำความเป็น “พรรคพี่พรรคน้อง” ระหว่างสองพรรคนี้ได้อย่างชัดเจน กรณีพรรคเลเบอร์หรือพรรคแรงงาน ก็มักจะแนะนำให้เลือกพรรคกรีน เป็นลำดับที่ 2 พรรคกรีนก็จะแนะนำแบบเดียวกัน คือ แนะนำให้เลือกพรรคเลเบอร์เป็นลำดับที่ 2 ทั้งหมดนี้ คือ การเปิดเผยพันธมิตรทางการเมืองออกมาให้ประชาชนได้พิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกตั้ง สื่อมวลชนแทบไม่ต้องถามเลยว่า พรรคการเมืองไหนจะจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับใคร เพราะ how to vote card จะช่วยให้คำตอบได้
    ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ท่านลองคิดดูว่า ถ้าประเทศไทยใช้ระบบเลือกตั้งแบบเดียวกับออสเตรเลีย พรรคการเมืองจะทำ how to vote card ในลักษณะอย่างไร พรรคเพื่อไทยจะแนะนำให้เลือกพรรคก้าวไกลเป็นอันดับสองรองจากตัวเองหรือไม่ พรรคก้าวไกลก็เช่นเดียวกัน จะแนะนำผู้ลงคะแนนให้จัดลำดับในวันเลือกตั้งอย่างไร พรรครวมไทยสร้างชาติจะแนะนำให้ประชาชนเลือกพรรคพลังประชารัฐเป็นอันดับสองหรือไม่ ล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจทั้งสิ้น
    มิติที่สอง เมื่อระบบเลือกตั้งของออสเตรเลียเป็นระบบจัดลำดับความชอบ บัตรเลือกตั้งจึงมีชื่อผู้สมัครแตกต่างกันทั้ง 151 เขต หมายความว่า กกต. ของออสเตรเลียต้องพิมพ์บัตรเลือกตั้ง 151 แบบ ที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
    มิติที่สาม ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565 ออสเตรเลียเปิดโอกาสให้ประชาชนไปเลือกตั้งล่วงหน้ายาวนานถึง 12 วัน คือ ประชาชนว่างวันไหนก็สามารถไปเลือกตั้งวันนั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล ไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องแออัดไปเลือกตั้งล่วงหน้ากันในวันเดียว เรื่องนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจที่เราควรพิจารณาจัดระบบการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการไปทำหน้าที่เลือกตั้งในอนาคต
    #เรื่องเล่าจากแดนจิงโจ้ #ระบบเลือกตั้ง #Comparativepolitics #การจัดการเลือกตั้ง #Australiathelanddownunder #PreferentialVoting

Комментарии •