เทศกาลย่ากบของชาวจ้วง | Spirit of Asia [Dual Language]

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 4 сен 2024
  • เทศกาลย่ากบของชาวจ้วง
    ความแปรปรวนของสภาพอากาศล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แม้เราจะพยายามควบคุม แก้ไขวิกฤต แต่ก็ยังไม่อาจที่จะคาดเดาได้เลยว่า เราจะรับมือกับวิกฤตใดในวันข้างหน้า ความเชื่อในตำนานเรื่องเล่ายังคงบรรเทาจิตใจ ให้ความหวังกับผู้คน ให้พวกเขาร่วมแรงร่วมใจกันฟันฝ่าอุปสรรคในความเชื่อศรัทธาเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเทพ นางฟ้า ภูตผีวิญญาณ ล้วนแล้วผูกโยงกับธรรมชาติแทบทั้งนั้น ธรรมชาติยังคงอยู่เหนือทุกสรรพสิ่งไม่แปรเปลี่ยน
    THE GRANDMA FROG CEREMONY OF THE ZHUANG PEOPLE
    The weather conditions always affect human life. Even though we try to control and solve a crisis, we cannot predict what we’ll have to face again…in the future. The belief in this legend can relieve a burden in people’s hearts, give them the courage to pass through the crisis by “combining their faith”. Whether they are gods, angels, or spirits, they are all “bound to nature”. Nature is “still above us”. This is “the forever unchanging truth”.
    ติดตามเรื่องราวได้ใน Spirit of Asia ตอน เทศกาลย่ากบของชาวจ้วง วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2567 เวลา 16.30 - 17.00 น. ทางไทยพีบีเอส
    #ชาวจ้วง #ZHUANG #SpiritofAsia
    ----------------------------------
    👉 กด Subscribe ติดตามรายการดี ๆ ของช่อง ได้ที่ : / thaipbs

Комментарии • 25

  • @user-fc7qo9rw7v
    @user-fc7qo9rw7v 4 месяца назад +8

    ส่วนหนึ่งของชาวไทกะได ทำนองและคำในบทสวดนั้นคล้ายกับบ้านผมมากๆ เรียกว่าสูตรชะตา เป็นการอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ชะตาชีวิตดีขึ้น! ที่แท้เรามีบรรพบุรุษร่วมกัน

    • @win4598
      @win4598 4 месяца назад

      พวกม้งก็ใช่นะ ถ้าไม่เชื่อลองดูหน้าตาเปรียบเทียบกันเลย เหมือน

  • @akijust
    @akijust 4 месяца назад +8

    การฟ้อนท่ากบ ยังปรากฏอยู่ในพิธีกรรมหมอลำทรง ผีฟ้า ในภาคอีสาน คนเหล่านั้นฟ้อนตามพิธีกรรมที่พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย พาทำมา พวกเขารักษาบทไหว้ครู เชิญผี และท่ารำในพิธีอย่างเคร่งครัด สืบต่อมา แต่ไม่รู้ความหมายหรือบางทีความหมายอาจเปลี่ยนไปแล้ว

  • @user-vl7zf4mn4u
    @user-vl7zf4mn4u 3 месяца назад +5

    คล้ายๆกันกับประเพนีผีตาโขน จ.เลย

  • @nirapongpansai2792
    @nirapongpansai2792 4 месяца назад +5

    เชื่อว่านี่คือประเภณีในไทยกว่าพันปีก่อนที่สูญหายไปเมื่อรับวัฒนธรรมอินเดีย ทุกวันนี้หลงเหลือไว้แค่กลองมโหรทึก แต่ไม่มีใครรู้จริงๆว่ามันใช้ทำอะไรยังไงกันแน่

    • @YANXINSHI
      @YANXINSHI 2 месяца назад

      古滇国时期的祭祀用品,以前要杀人祭祀,现在壮族改用鸡血了。

  • @sorayathanajaro373
    @sorayathanajaro373 4 месяца назад +7

    กลองมโหรทึกใช้ในงานพิธีกรรมแบบนี้นี่เอง สงสัยมาตั้งนาน

  • @thiab86
    @thiab86 4 месяца назад +4

    กลองมโหละทึกขุดเจอทางภาคอีสานก็เป็นแบบนี้ หรือไทยเราก่อนจะรับวัฒนธรรมอินเดียเราเป็นแบบนี้มาก่อน

  • @dearfillings8869
    @dearfillings8869 3 месяца назад +3

    ชื่อแม่น้ำ ชื่ออำเภอที่เป็นชื่อในภาษาจ้วงน่าจะยังมีอยู่

  • @user-qw1jr1ux6p
    @user-qw1jr1ux6p 4 месяца назад +3

    ชาวจ้วงที่เข้ามาประเทศไทยมีสองสาย สายที่1(สายภาคเหนือ)สายไตโยน(ไทยวน),ไทยใหญ่,ไทลื้อ. สายที่2(สายภาคอีสาน)ผู้ไท,ไทดำ.....บางที่กลุ่มของผู้ไทพวกเขาก็เคยถูกเรียกว่าลื้อดำหรือลาวลื้อด้วยครับ ........

    • @user-qw1jr1ux6p
      @user-qw1jr1ux6p 4 месяца назад +1

      Thai people, This is the true story of one of those Zhuang families.The Phutai people in Guangxi Province, China, call 布傣 budai , ปู้ไต่ , Phutay , ,ผู้ไท ,หรือ 布傣人 ปู้ไต่ เหริน the Phutai people are a minority ethnic group of Zhuang people(ZSub-Zhuang people) in China. The Phutai in China(布傣 _budai) lives in Zhenlong Sub-district (Jinlong) 金龍鎮 _Jinlong)Guangxi Province.....ผู้ไทในจีน เรียกตัวเองปู้ไต่(ผู้ไท) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ส่วนน้อยจัดอยู่ในกลุ่มชาวจ้วงกลุ่มหนึ่ง ผู้ไทในจีนอาศัยอยู่ที่ ตำบล เจิ้นหลง (จินหลง) มณฑลกวางสี

    • @user-iz7mv9wn3l
      @user-iz7mv9wn3l 4 месяца назад +1

      ภาคเหนือ ต้องยอมรับเลย นะครับ ว่าผู้คนที่อพยพมาในภาคเหนือ(ส่วนใหญ่)มาจากมนฑลยูนาน ครับ ...เช่นสมัยโบราณ มีอาณาจักรที่ชื่อโยนกเชียงแสน(ไทยวน)ได้อพยพผู้คนและกองทัพจากยูนาน มาสร้างอาณาจักรที่ จังหวัดเชียงราย ใครสนใจดูเพิ่มเติมได้จากRUclipsชื่อ 11 อาณาจักรโบราณบนแผ่นดินไทย

    • @user-iz7mv9wn3l
      @user-iz7mv9wn3l 4 месяца назад +1

      # มาดูข้อมูลนี้ครับ # นิทานเรื่องปลาบู่ทองเป็นนิทานที่ชาวจ้วง - ลาว - ไท เล่าถ่ายทอดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ชาวไทยเรียก “ปลาบู่ทอง” ชาวล้านนาและไทใหญ่เรียก “เต่าน้อย อองคำ” หรือ “นางยีแสงก่อ” (คือนางเอื้อย) หรือ “นางอุทธรา” (คือนางเอื้อย) ทางลาวเรียก “เต่าคำ” ทางจ้วงเรียก “ตาเจี้ย”

  • @vasantphatjantavong3755
    @vasantphatjantavong3755 4 месяца назад +3

    ติดตามตลอด ชอบเสียงผูบรรยายมากครับ

  • @surachartboontham
    @surachartboontham 6 дней назад

    ท่ากบ มีในภาพเขียนสี ตามผนังถ้ำ จีน เวียดนาม ไทย อีสาน ภาคกลาง ท่ากบมีบนฝากลองมโหระทึก วัฒนธรรมศานาผี ก่อนศาสนาพุทธ พราหมณ์เข้ามาใน อาเชียน กลองมะโหระทึก เจอที่อีสานเยอะ ภาคกลาง ภาคใต้ก็เจอ สรุป เสียน น่าจะเป็นคนที่นับถือกบ มโหระทึก คนที่พูดภาษาไทกะได ปล. ชุด คนจ้วง หมวก เครื่องประดับ เหมือนภาพแกะสลัก ที่ นครวัด แสดงว่า เสียน เซียน เซียม เสียม คือ คนพูดไทกะได อาจเยอะในไทย อีสาน เหนือ สุโขทัย สุพรรณบุรี นครศรีธรรมชาช สุราษณ

  • @naytonchannel
    @naytonchannel 4 месяца назад +2

    ขอบคุณครับ สารคดีดีๆ ติดตามเสมอ เป็นกำลังใจให้ทีมงานครับ

  • @user-kz6ed3fh1i
    @user-kz6ed3fh1i Месяц назад

    น่าสนใจมาก

  • @bee6144
    @bee6144 2 месяца назад

    ผมบรรพบุรุษมาเข้าฝันให้กลับไปเยี่ยมปู่ทวดมาอยู่ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่1แต่ไม่มีปัญญากลับไป😢

  • @oppoooppoo9546
    @oppoooppoo9546 3 месяца назад

    สาระน่ารู้มากครับ
    ❤❤

  • @tanakrontamabut8164
    @tanakrontamabut8164 3 месяца назад

    สุดยอด

  • @somkiatsitthirat9439
    @somkiatsitthirat9439 3 месяца назад +2

    ทำไมพูดเหมือนคนเหนือครับ

    • @dearfillings8869
      @dearfillings8869 3 месяца назад +2

      มีบรรพบุรุษเดียวกัน

  • @user-yt9fr1er9j
    @user-yt9fr1er9j 4 месяца назад +1

    😀 💃💃

  • @user-lh6jl8gl2q
    @user-lh6jl8gl2q 4 месяца назад +1

    ❤❤❤❤❤😂🎉🎉🎉🎉🎉🎉