เครื่องเร่งอนุภาคโปรตอนรักษามะเร็งเฉพาะจุด เครื่องเดียวในประเทศไทย

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 21 апр 2022
  • “อนุภาคโปรตอน” ความหวังใหม่...รักษามะเร็งในจุดที่เข้าถึงยาก
    “ทางทฤษฎีฟิสิกส์พบว่า อนุภาคโปรตอนมีความสามารถพิเศษ คือ ขณะที่รังสีวิ่งเข้าไปในร่างกาย จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อถึงความลึกที่ต้องการ อนุภาคโปรตอนจะปล่อยพลังงานออกมามาก เหมือนยิง Missile ไปที่ก้อนมะเร็งแล้วจรวดก็ทำลายล้างเซลล์มะเร็งบริเวณนั้นเรียกว่า มุ่งเป้า (Focus) กว่าการฉายรังสีแบบเดิม ทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อยกว่า ผลที่ได้ คือ โอกาสหายจะเพิ่มขึ้นมาก คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็ดีขึ้นด้วย”
    หลักการของเครื่องฉายรังสีอนุภาคโปรตอน คือ มี “ไซโคลตรอน” ซึ่งทำจากเหล็กบริสุทธิ์หนัก 90 ตัน เป็นเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน โดยเร่งให้มีความเร็ว 2 ใน 3 ของความเร็วแสง หรือประมาณ 200,000 กิโลเมตรต่อวินาที พร้อมด้วยท่อลำเลียงอนุภาคโปรตอนที่มีสนามแม่เหล็กบังคับการวิ่งของอนุภาคโปรตอนความเร็วสูงให้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ลึกสูงสุดถึง 30 เซนติเมตร ซึ่งทั้งหมดนี้ หมายถึง ต้นทุนค่าเครื่องไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และค่าบำรุงรักษาที่สูงถึง 100-200 ล้านบาทต่อปี
    “ด้วยต้นทุนที่สูงมาก เราจึงของบรัฐบาลมาได้แค่เครื่องเดียว ฉะนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกผู้ป่วยที่คิดว่าจะได้ประโยชน์ที่สุดจากการรักษาในวิธีนี้ นั่นก็คือผู้ป่วยมะเร็งในอวัยวะที่เนื้อเยื่อไวต่อรังสี เช่น มะเร็งในเด็ก มะเร็งตับ มะเร็งสมองและไขสันหลัง หรืออยู่ติดอวัยวะสำคัญหรืออยู่ในตำแหน่งที่ฉายรังสียาก เช่น ศีรษะ ไขกระดูก และลำคอ เพราะการให้รังสีด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน อาจไม่สามารถเพิ่มปริมาณรังสีให้สูงพอจะฆ่าเซลล์มะเร็งได้หมด แต่ถ้าเพิ่มปริมาณรังสีมากไปก็อาจส่งผลต่อเนื้อเยื่อปกติมากรุนแรงเกินไป”
    ในปี 2557 โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้รับอนุมัติงบประมาณติดตั้งเครื่องเร่งอนุภาคโปรตอน เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าโรงพยาบาลจุฬาฯ มีแผนจัดสร้างศูนย์ความเป็นเลิศในการรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน จึงทรงสนับสนุนเต็มที่ พร้อมพระราชทานนามให้ว่า “ศูนย์โปรตอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ” ซึ่งใช้งบสร้างห้องปฏิบัติการในการรักษาถึง 1,200 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเปิดให้บริการภายใน ส.ค. 2564 ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีศูนย์ความเป็นเลิศในการรักษามะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน
    นัยของการมีศูนย์โปรตอนฯ คือการที่คนไทยจะได้มี “อาวุธ” ที่มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้มะเร็งเพิ่มขึ้น ทำให้การรักษามะเร็งด้วยรังสีรักษาทำได้ดีขึ้นอย่างมาก เพราะมาเติมเต็มข้อจำกัดของเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วย “มะเร็งที่รักษายาก” มีโอกาสหายเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะแทบจะไม่มีผลข้างเคียงจากรังสีส่วนเกิน
    “เป้าหมายของการพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งของเรา คือ เราจะนำเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษามะเร็งที่ยังรักษายากในปัจจุบัน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายมากขึ้น พร้อมกับมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นหลังการรักษา”

Комментарии •