อีกด้านหนึ่งของการขึ้นเอ็น | สิงโตเล่าไปเรื่อย EP.1 | SINGTO BADMINTON UBON

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 29 ноя 2024

Комментарии • 51

  • @master40382
    @master40382 6 месяцев назад +3

    ชอบคลิปแบบนี้มากๆๆครับ ผมเห็นหลายคนแล้วที่ทำคลิปขึ้นเอ็นแต่จะพูดแต่ว่าเป็นศิลปะ ต้องมีความชำนาญ แต่สุดท้ายกั๊กความรู้ ปิดบังเทคนิคกัน แต่ไม่ใช่คลิปนี้ ขอบคุณโค้ชสิงโตมากๆ อยากให้ทำต่อไปครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +1

      จริงๆผมก็รำคาญเหมือนกันนะครับ (กั๊กความรู้ ปิดบังเทคนิค) แถมบางเรื่อง ไม่มีหน่วยวัดด้วย ความรู้สึกล้วนๆ 555
      การทำแบบนี้มันก็ดาบสองคมครับ แต่มันก็ยกระดับการขึ้นเอ็นได้จริงๆนะ
      ขอแค่เครดิตเล็กๆน้อยๆให้นิดนึง ไม่บูลลี่กันก็พอแล้วเนอะ

  • @Hamtaro_1
    @Hamtaro_1 6 месяцев назад +2

    มาตรฐานคุณภาพดีครับ หลายๆที่ควรเป็น

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад

      ขอบคุณสำหรับการรับชมและติดตามครับ

  • @tywjk
    @tywjk 7 месяцев назад +2

    อธิบายชัดเจน เป็นประโยชน์มากๆครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  7 месяцев назад

      ขอบคุณมากๆครับที่ติดตามรับชมครับ

  • @konutthapol
    @konutthapol 6 месяцев назад +1

    พี่สิงโตใจดีมากเอาไม้ 1000z ไปขึ้น ก็จัดแบบนักกีฬาให้มาลองเลย ตึงและใช้ได้นานเลยครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад

      เขินเลย 555 มีโอกาสมาใหม่นะครับ

  • @Alphacon
    @Alphacon 7 месяцев назад +2

    คลิปได้ความรู้และเห็นภาพชัด เข้าใจง่ายดีมากๆเลยครับ เรื่องความหย่อนตรงเส้นมัดปม ในฐานะคนใช้งานคือไม่รู้เลยจริงๆกับข้อมูลแบบนี้ และเข้าใจธรรมชาติของเอ็นมากขึ้นครับ
    ไหนๆก็มาเรื่องเอ็นแล้ว อยากให้อธิบาย รายละเอียดค่ากราฟหลังซองครับ ว่าในด้านการใช้งานจริง ของค่าคะแนนต่างๆคืออะไร
    เช่น ค่า repulsion มันคืออะไรในการใช้งานจริงๆ หรือค่า control ที่มีเยอะหรือน้อย ต่างกันอย่างไรครับ
    และอยากให้แนะนำ เอ็น แต่ละรุ่นเหมาะสมกับแบบไหนบ้างฮะ และก็วิธีการดูแลรักษาและข้อห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงอะไรแบบนี้ครับ
    จะคอยติดตามครับผม ขอบคุณครับ ^^

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  7 месяцев назад +1

      ขอบคุณที่ติดตามรับชม และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ที่ผมสื่อสารครับ
      ส่วนเรื่องที่ขอมา จัดให้ครับ
      รายละเอียดค่ากราฟหลังซอง ในด้านการใช้งานจริง ของค่าคะแนนต่างๆคืออะไร
      เช่น ค่า repulsion มันคืออะไรในการใช้งานจริงๆ หรือ
      ค่า control ที่มีเยอะหรือน้อย ต่างกันอย่างไรครับ
      และอยากให้แนะนำ เอ็น แต่ละรุ่นเหมาะสมกับแบบไหนบ้าง
      วิธีการดูแลรักษาและข้อห้ามที่ควรหลีกเลี่ยง
      EP. ต่อไป แน่นอน แต่ว่าช้านิดนะครับ

  • @MegaSkycool
    @MegaSkycool 5 месяцев назад +1

    ชอบครับ คลิปคุณภาพเลยในหลาย ๆ เรื่อง กระจ่าง ชัดเจน
    - เส้นมัดไม่ตึงเลยครับพี่ >>> คลิปอธิบายละครับ ชัดเจน ใช้มือดึง จะไปตึงได้ยังไง ถ้าไม่มัดพลาดจนย้วย อย่าไปว่าเค้าขึ้นเอ็นห่วยเลยครับผู้ใช้งาน
    - 4 ปมตึงนานกว่า 2 ปม >>> จุดคลายตัวมันมากกว่า จะตึงนานกว่ายังไงนะ? แต่....กว่ามันจะหย่อนจริง ๆ เอ็นมันก็ยืดตัวจนควรต้องตัดเปลี่ยนแล้ว
    - 4 ปม รู้สึกตึงกว่า 2 ปม >>> จริงครับ....เพราะขึ้น 2 ปม"โดยทั่วไป"สั่ง 26 เค้าก็ดึง 26 ทั้งไม้ แต่ 4 ปม สั่ง 26 เส้นตั้งจะ 25 เส้นนอนจะ 27 มีเส้นนึงที่ตึงกว่าที่ผู้ใช้งานกำหนดด้วย พอหักลบแรงเสียดทานแล้วมันก็ต้องรู้สึกตึงกว่าเป็นธรรมดาน่ะสิ
    ใด ๆ ล้วนเป็นเทคนิค ประสบการณ์และความใส่ใจของคนขึ้นเอ็น ไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้เรื่องแรงเสียดทานด้วยการเลือกจุดไล่เอ็น เอ็นบิด จัดเอ็นบนเครื่องทั้ง 2 ปม 4 ปม ความตึงเส้นข้างด้วยการร้อยวน บลา ๆ ๆ ๆ
    ถ้าเข้าใจในเทคนิค ใส่ใจ 2 ปม 4 ปม ฟิลลิ่งในการใช้งานไม่ได้ต่างอย่างมีนัยยะสำคัญที่ชัดเจน สำหรับผม 4 ปม ถ้าขึ้นปอนด์สูง ๆ มันคอนโทรลการรักษาหน้าไม้ให้คงรูปเดิมได้ชัวร์กว่าและมั่นคงกว่าในระยะยาว แค่นั้นเอง

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад

      ตามที่อ่าน ผมว่าพี่น่าจะเป็นคนขึ้นเอ็นที่เก่งมากๆคนนึงเลยนะครับ เพราะว่ามีความรู้ความเข้าใจดีมากเลยทีเดียวครับ
      ผมต้องการทำคลิปนี้ออกมาเพื่อไม่ให้มีความเข้าใจผิด หรือความเชื่อที่โดนเบี่ยงประเด็นกันมานานมากแล้ว
      ด้วยการทำออกมาให้เห็นกัน ซึ่งผมมองว่า ไม่เคยมีใครทำคลิปแบบนี้ออกมาเลย แต่ว่ากว่าจะออกมาได้ก็คิดแล้วคิดอีกนะ เพราะว่ากลัวจะไปทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันไปอีก 555
      ขอบคุณที่เข้าใจวัตถุประสงค์ของผมในการทำคลิปครับ

  • @purachetw
    @purachetw 7 месяцев назад +1

    คลิปคุณภาพครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  7 месяцев назад

      ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

  • @adsmark9417
    @adsmark9417 6 месяцев назад +2

    อยากทราบว่าการขึ้น4ปม เอ็นแนวนอนสูงกว่าแนวตั้งจะช่วยเรื่องการลดแรงเสียดทานได้มากน้อยแค่ไหนหรอครับ แล้วถ้าขึ้น4ปมด้วยความตึงแนวนอนและแนวตั้งเท่ากันจะต่างกับที่กล่าวมาข้างต้นมั้ยครับ🙏🏻

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад

      ไม่ได้ช่วยลดแรงเสียดทานนะครับ แต่เป็นการเพิ่มเข้าไป ตามความเชื่อว่า ถ้าขึ้นเท่าเดิมแล้วปอนด์จะหายไปบางส่วนครับ
      ฉะนั้น
      ขึ้น4ปมด้วยความตึงแนวนอนและแนวตั้งเท่ากัน ก็จะได้ค่าของที่ตั้งไว้ที่เครื่องขึ้นเอ็น ซึ่ง"อาจจะ"ได้ไม่เต็มปอนด์ในแนวนอน
      การขึ้น4ปม เอ็นแนวนอนสูงกว่าแนวตั้ง เป็นการเพิ่มเข้าไป ซึ่งแน่นอนว่า เพิ่มปอนด์เข้าไปแทนที่ จะช่วยทำให้เอ็นตึงขึ้นกว่า ข้อแรกแน่นอนครับ

    • @ChampKung-champ
      @ChampKung-champ 6 месяцев назад

      @@SingtoBadminton สอบถามเป็นความรู้นิดนึงครับ การขึ้น 4ปม โดยที่มีการ +2ปอนเส้นแนวนอน ค่าเฉลี่ยของเอ็นบนไม้นั้น ความตึงมันจะอยู่ที่เท่าไหร่ครับ
      เช่น หากเทียบกับการขึ้น 2ปมที่ 26ปอน หากเปลี่ยนเป็นแบบ 4ปม
      ผมต้องขึ้นเป็น แนวตั้ง25 แนวนอน27 แบบนี้ถูกไหมครับ
      ถ้าอยากขึ้น28ปอน ต้องขึ้นเป็น 27*29 ถูกไหมครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +3

      @@ChampKung-champ เป็นความเชื่อส่วนบุคคลนะครับ
      แนวตั้ง/แนวนอน+2 เป็นทฤษฎีการชดเชยปอนด์ที่เสียไปในแนวนอนเพราะ มีแรงเสียดทานของแนวตั้งเข้ามาเบรดเอ็นในแนวนอน
      การที่ขึ้นเอ็น แนวนอน+2 ก็จะเป็นการเอาความตึงสองฝั่งมาบวกและหารสองครับ คือ 25+27=52/2=26 น่าจะหมายความว่าอย่างนี้
      แต่สำหรับความเชื่อของผม ผมเชื่อเรื่อง "ทฤษฎีแรงศูนย์" ครับ นั้นคือ การขึ้นปอนด์ที่แรงดึงพอๆกันทั้งแนวตั้งแนวนอน จะทำให้ไม้รับแรงดึงที่เท่าๆกันทั้งไม้
      น่าจะถนอมไม้ได้ดีกว่ากันครับ ถ้าจะบวก บวกสองปอนด์นี่เท่ากับ (0.90719kg) เพิ่มแรงดึงเกือบหนึ่งกิโลกรัมเลยนะครับ

  • @chalermwattanasangkhaphuti8076
    @chalermwattanasangkhaphuti8076 5 месяцев назад +1

    ถ้าคนตี25ปอนด์ ใช้สูตร ตั้ง24นอน26ถูกไหมครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад

      ไม่มีสูตรตายตัวนะครับ เพราะแต่ละคนขึ้นฯ เขาก็มีความเขื่อในแบบที่เขาเป็น ทางผมต้องการจะสื่อให้มองเห็นถึงการขึ้นเอ็นในอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ความเข้าใจนั้นไม่เบี่ยงเบนไปทางที่ไม่ถูกต้อง
      การขึ้นเอ็นแนวตั้ง / แนวนอนต่างกัน 2 ปอนด์ มีวัตถุประงสงค์เพื่อชดเชยแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นจากการดึงเอ็นแนวนอนที่มีแนวตั้งขวางอยู่ โดยส่วนมากคนจะคิดอยู่ที่ประมาณ 10% ก็คือประมาณ 2 ปอนด์นะครับ

  • @user-Thanakorn2514
    @user-Thanakorn2514 Месяц назад

    ขอบคุณมากครับ ❤❤❤🎉🎉🎉

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  Месяц назад

      ขอบคุณที่ติดตามและรับชมนะครับ

  • @sirasakkemasatien7695
    @sirasakkemasatien7695 6 месяцев назад +1

    อยากสอบถามครับว่า การขึ้นแบบเว้น pro กับ ไม่เว้น pro มันมีความต่างต่อการตีไหมครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +1

      คำตอบคือ เหมือนกันครับ
      แต่การเว้นโปรมีความเชื่อที่ว่า การที่ด้านล่างของเฟรมไม้แบดนั้นไม่ได้ตี การที่เว้นไว้ทำให้หลักการลู่ลม (areodynamic) ทำให้ไม้เร็วขึ้น และตีเสียงดังขึ้น
      แต่ๆๆๆๆ ทุกวันนี้ไม้แบดออกแบบมาดีมากกกกกกกกก
      และการขึ้นเอ็นนั้น เว้น อย่าลืมว่า ไม่มีแรงดึงตรงที่เว้นไว้นะครับ ไม้จะหักเร็วขึ้นไหมหนอ?

  • @Visnfbwysilzngbsheuqo
    @Visnfbwysilzngbsheuqo 5 месяцев назад

    สอบถามครับ การขึ้นเอ็นแนวตั้งและแนวนอน ปอนด์ไม่เท่ากันนอกจากช่วยชดเชยแรงเสียดทานแล้ว ดียังไงอีกครับ และการขึ้นแบบชดเชยนี้กับแบบเท่ากันทั้งแนวตั้งแนวนอนแบบไหนดีกว่ากันเพราะอะไรครับ ขอบคุณครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад

      สำหรับผม ผมเชื่อเรื่อง "ทฤษฎีแรง0" เนื่องด้วย แรงดึงที่สม่ำเสมอกัน จะให้การรักษาทรงหน้าไม้ได้ดีกว่า การดึงแรงที่ +2 ปอนด์ ผมมองว่ามันจะทำให้แรงดึง แนวนอนมากกว่าแนวตั้ง ไม่ถือว่าชดเชยครับ แต่เป็นการบวกเกินไว้ ปอนด์จะได้ไม่หายครับ
      สำหรับผมเอง ผมจะบวกเพิ่มนิดหน่อยครับ คือ แนวนอน +0.5ปอนด์ เพราะคือการชดเชยครับ

  • @TdGd-qm8br
    @TdGd-qm8br 6 месяцев назад +1

    อยากทราบว่าไม้แบดเวลาปะทะกันแล้วมีวิธีเช็คยังไงให้ละเอียดมั้ยครับ ไม้แบดรุ่นท็อปนี่วัสดุแข็งแรงมากมั้ยครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +1

      หัวข้อนี้น่าจะทำคอนเทนต์ได้เลยครับ แต่ผมตอบในเบื้องต้นครับ
      ไม้แบดจะมีองค์ประกอบคร่าวๆคือ
      โครงไม้
      รองพื้น
      สติ๊กเกอร์
      สี
      ทั้งหมดนี้แล้วแต่ละบริษัทนะครับ อาจจะมีความซับซ้อนมากขึ้นหรือน้อยลง แต่องค์ประกอบตามนี้
      โดยการปะทะกันของไม้แบดแต่ละครั้ง หนัก-เบาไม่เหมือนกัน รูปแบบการปะทะก็ไม้เหมือนกัน ให้เราดูที่จุดกระแทกครับ
      - ถ้าสีหลุดจะไม่มีรอยแยกของเนื้อเฟรม
      - หากร้าว ก็จะมีรอยแยกออกเป็นคนละเนื้อกันค่อนข้างจะชัดเจน
      - หาก-ว่าหัก อันนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรมาก
      ตัวร้าวจะต้องสังเกตุหน่อยครับ อันนี้ต้องใช้ประสบการณ์พอควรเลย
      วิธีนึงที่เราเช็คได้คือ เอาหยดน้ำหยดไประหว่างรอยครับ หากว่าไหลลงระหว่างร่องไป ก็ทำใจได้เลยครับ

  • @NiceTrydude287
    @NiceTrydude287 6 месяцев назад +2

    ช่องคุณภาพ รบกวนอธิบายเรื่อง pre-strech ให้ฟังบ้างครับ อยากฟังจากช่องนี้เหมือนกันครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +1

      จัดให้ครับแต่ช้าหน่อยนะครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +1

      คนทำคลิปติดเรียน 555

  • @พศวีร์เรืองสนาม
    @พศวีร์เรืองสนาม 7 месяцев назад +1

    ร้อยเอ็นยนเครื่อง กับร้อยไว้ก่อนมีผลแตกต่างเรื่องการรักษาความตึงมั้ยครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  7 месяцев назад

      ผลแตกต่างเรื่องการรักษาความตึง
      รักษาความตึงนั้น ขึ้นอยู่กับการขึ้นเอ็นครับ เพราะโดยส่วนมากการที่เอ็นจะหย่อนไวหลังจากขึ้นเอ็นนั้นเกิดจากหลายๆปัจจัยมากกว่าแค่เรื่องของ ร้อยเอ็นก่อนขึ้น/ร้อยเอ็นบนเครื่อง ครับ เช่น เครื่องขึ้นเอ็นเก่า-ไม่ได้รับการซ่อมบำรุง ตัวจับเอ็นมีร่องทำให้เอ็นเลื่อนได้ หรือสูตรการขึ้นเอ็น คนขึ้นไม่มีประสบการณ์ มัดเอ็นไม่ดี ฯลฯ เหตุเหล่านี้มีผลทั้งสิ้นเลย
      หากว่าจะดูที่ประเด็นเพียงเรื่องของ ร้อยเอ็นก่อนขึ้น/ร้อยเอ็นบนเครื่อง จะจำแนกได้คือ
      ร้อยเอ็นก่อนขึ้น ตัวนี้ผมก็ยังขึ้นให้กับตัวเองและลูกค้าก็ยังใช้วิธีนี้นะครับ ที่ต้องระวังคือ การลดแรงเสียดทานระหว่างขึ้นเอ็นให้เป็น (เทคนิคการขึ้น) และการชดเชยแรงระหว่างเส้น อันนี้ถ้าทำเป็นไม่ต่างกับร้อยเอ็นบนเครื่อง หรือน้อย ก็น้อยว่า +-3-5% ครับ
      ร้อยเอ็นบนเครื่อง เป็นสูตรที่ดี แต่ก็เสียเวลามากเช่นกัน วิธีนี้ไม่ต้องห่วงเรื่องแรงเสียดทาน เพราะ ไม่มีเลย และไม่ต้องห่วงว่าจะมีการสร้างแรงเสียดทาน ณ จุดใด
      สองวิธีนี้ เอ็นจะมีประสิทธิภาพสูงสุดที่ การร้อยคาเครื่องครับ และเรื่องการรักษาความตึง จากสองหัวข้อ ร้อยเอ็นบนเครื่อง จะดีกว่า
      แต่หากเอาวิธีร้อยเอ็นบนเครื่องไปให้ร้านอื่นๆขึ้น คุณต้องยอมรับเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมาด้วยนะ เพราะใช้เวลามากๆ ทางร้านคิดเงินเพิ่มได้ครับ

  • @peerajaksawut5803
    @peerajaksawut5803 6 месяцев назад +1

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากๆครับมีประโยชน์จริงๆ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад

      ขอบพระคุณที่ติดตามครับ

  • @PANUWUTCHOBDEE
    @PANUWUTCHOBDEE 7 месяцев назад +1

    ขึ้นเอ็นกับพี่ไม่มีปัญหาเลยค้าาบ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  7 месяцев назад

      เอ้ๆ บอลชื่ออะไรนะ 555
      ขอบคุณที่มาตามถึงช่อง youtube ครับ

  • @natty4730
    @natty4730 5 месяцев назад +1

    ถึงว่าผมขึ้น 4ปม มันขาดช้า กว่า2ปม กระจ่างเลย

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад +1

      ต้องการทำคลิปนี้เพื่อการสื่อให้เห็นภาพครับ จะได้ไม่เข้าใจผิดกันนะครับ

    • @natty4730
      @natty4730 5 месяцев назад +1

      @@SingtoBadminton ที่ร้านมีเอ็นทุกยี่ห้อไหมาครับ หรือมี เฉพาะ victor

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад +1

      @@natty4730 มีเฉพาะ VICTOR ครับ แต่อยากให้ลองซักครั้ง แล้วจะเข้าใจครับ

    • @natty4730
      @natty4730 5 месяцев назад +1

      @@SingtoBadminton มีเอ็น กระด้างๆ เหมือน Yonex BG 65 ti ไหมครับ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  5 месяцев назад +1

      @@natty4730 แนะนำเป็น VBS-69NANO หรือ VBS-68POWER ได้ครับ กระด้างแน่นอนครับ

  • @bullp6288
    @bullp6288 6 месяцев назад +1

    ที่ญี่ปุ่นร้านที่ผมเจอเขาขึ้นบนเครื่องเลยครับ แต่เสียค่าขึ้น 200-300บาท แต่เขาเปลี่ยนตาไก่ให้ทุกรอบ แต่ที่ไทยผมเห็นหลายร้านขึ้นแบบร้อยไว้ก่อน หลังจากขึ้นมาเอ็นเป็นขุ่ยบ้าง เอ็นตีไปเกมเดียวขาดบ้างไม่มีมาตราฐานอะไรเลย คือเอาง่ายๆดีต่อร้านแต่ไม่ดีต่อเจ้าของไม้เลย หาร้านขึ้นบนเครื่องแทบไม่ค่อยมีเข้าใจนะครับว่ามันเสียเวลา

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад +4

      ขอแยกเป็นประเด็นนะครับ
      ประเด็นที่ 1 เปลี่ยนตาไก่ให้ทุกรอบ ตาไก่มีทั้งแบบเดี่ยวและแบบตาไก่ร่วม ในความคิดเห็นของผมถ้ายังไม่ฉีกขาดผมไม่เปลี่ยนครับอาจจะเป็นกลับตาไก่แทน เพราะว่าถ้าเปลี่ยนตาไก่ทั้งหมดทุกครั้งน่าจะใช้เวลานานมากๆเลย
      ประเด็นที่ 2 ร้อยไว้ก่อนขึ้นจริงๆไม้ที่ผมขึ้นให้ลูกค้าทุกวันนี้และไม้ที่ผมตีเองก็ยังใช้วิธีนี้อยู่ครับ แต่ว่าคนขึ้นเอ็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเสียดทานระหว่างเอ็น การชดเชยปอนด์ที่หายไป และการมัดเอ็น
      ประเด็นที่ 3 ไม่มีมาตรฐานอะไรเลย นั่นคือวัตถุประสงค์ในการทำคลิปของผมครับ เพราะอยากให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการขึ้นเอ็น ผมจึงทำคลิปออกมาโดยไม่ได้หวงวิชาเพื่อที่จะเกิดมาตรฐานที่ดีในอนาคต
      ขอให้ผมเป็นส่วนหนึ่งในการทำมาตรฐานวงการแบดมินตันให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ
      ขอขอบคุณที่รับชมและเสนอความคิดเห็นมาอย่างผมครับ ดีใจมากๆเลย

    • @guid6504
      @guid6504 2 месяца назад

      ที่ร้อยเอ็นไว้ เพื่อความเร็วครับ ถ้าเอาขึ้นบนเครื่องเลยมันช้า ลูกค้าหายหมด เพราะที่ร้านที่ผมทำงาน ก็ขึ้นมือก่อนเพื่อความเร็ว ลูกค้าก็มาเรื่อยๆ

  • @tavatchaisuvarnin8575
    @tavatchaisuvarnin8575 6 месяцев назад +1

    ที่บอกว่ายังไงเส้นสุดท้ายที่ผูกปมจะหย่อน. เราสามารถดึงให้ตึงกว่าปกติชดเชยเผื่อให้มากกว่าได้ไหม จะได้ตึงเท่ากับเส้นอื่น

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  6 месяцев назад

      ผมลืมบอกในคลิปไปว่าเครื่องเอ็นรุ่นใหม่เส้นสุดท้ายจะมีการขึ้นเอ็นชดเชยตึงกว่าปอนด์มาตรฐานไปประมาณ 15-20% (2-3ปอนด์) อยู่แล้วครับ
      ในคลิปนี้ผมเองก็ทำแบบนั้นเช่นเดียวกัน
      แต่หากว่า ถ้าจะเอาให้ชดเชยแบบที่มัดแล้วเท่ากับเส้นเอ็นที่ดึงก่อนหน้านี้จริงๆ จะต้องบวกมากกว่า 10 ปอนด์ครับ (ตามที่เคยลองทำมาแล้ว) เกรงว่าเฟรมจะยุบไม้จะหัก เอ็นจะเสียก่อนครับ

  • @ชินวรเลิศการณ์

    ผมอยากรู้วิธีการร้อยเอ็นเส้นสุดท้ายเพิ่มไม่ให้เอ็นหย่อยอ่ะคราบแระวิธีมัดปมแบบพี่อ่ะได้ความรู้จิงๆคราบขอบคุนคราบคริปดีๆ

    • @SingtoBadminton
      @SingtoBadminton  3 месяца назад

      @@ชินวรเลิศการณ์ สอบถามเพิ่มเติมนะครับ
      ปกติขึ้นให้ลูกค้าหรือว่าขึ้นไว้ใช้เองครับ

    • @ชินวรเลิศการณ์
      @ชินวรเลิศการณ์ 2 месяца назад

      @@SingtoBadminton ให้ลูกค้าด้วยขึ้นใช้เองด้วยคราบมือใหม่หัดขึ้นคราบ