กำเนิดอยุธยา : วัดกุฎีดาว - สองคน สองประวัติศาสตร์ EP.3
HTML-код
- Опубликовано: 8 фев 2025
- "สองคน สองประวัติศาสตร์" มาถึงตอนที่ 3 ละครับ
น่าสนใจมากๆ ว่า "วัดพระคลัง" ในภาพลายเส้นของหมอแกมป์เฟอร์ (เข้ามาอยุธยาในช่วงต้นสมัยพระเพทราชา) จะหมายถึงวัดอะไร และจะจับคู่กับวัดอะไร เพราะในภาพลายเส้นเหมือนจะเป็นสองวัดที่มีคลองคั่นอยู่ รวมทั้งพระคลังที่ว่าจะหมายถึงใคร โกษาปานหรือไม่
ที่พูดไปในรายการไม่ถือเป็นข้อยุตินะครับ ยังคงต้องมีการศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
หากท่านดูแล้วคิดว่ารายการนี้น่าสนใจ ก็ขอฝากท่านช่วยกด like กด subscribed เป็นน้ำทิพย์ชโลมใจให้ทีมงานด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
สนุกมากๆค่ะ
ให้ความรู้ความเข้าใจดีมากน้ำเสียงก็น่าฟังดีมาก..เยี่ยมครับ
ขอบคุณมากครับ
คนสมัยก่อนหัวหน้าต้องรู้เรื่องจริงไม่ใช่ลูกคุณหนูอย่างเดียว และคนในสมัยนั้น
อาจมีหลากหลายเชื้อสาย
อีกงานก่อสร้างใหญ่โต เป็นงานหนัก อาจชอบโดยส่วนพระองค์ เสมือนวิศวะกร
ลงไซต์งานเอง หากงานก่อสร้างชิ้นนั้นสำคัญมาก
เมื่อวานไปชมวัดนี้มา นึกถึงคลิปนี้ เลยกลับมาดูซ้ำค่ะ
อยากให้อาจารทั้ง2 พาไปดูสุโขทัยครับ
เอาแบบล่วงลึกๆครับ
ฟังบะงงง โคตรงงง
คือได้รับข้อมูลดีๆจากอาจารย์ทั้งสองท่าน คือความรู้โคตรแน่น แน่นมากๆๆๆครับ ขอบพระคุณที่กรุณาให้ข้อมูลความรู้ดีๆที่หาไม่ได้จากตำราเรียนครับผม
นาทีที่ 2:56 ที่เดินผ่านปลียอดของเจดีย์ที่หักลงมา จะเห็นปล้องไฉนผ่านพอกปูนบูรณะทับกันเป็นชั้นๆถึง 3 ชั้นคล้ายกับวัดโบสถ์ราชเดชะที่อยู่เหนือขึ้นไปราว 400 เมตร แสดงว่าเจดีย์ต้องเก่ามากถึงได้ซ่อมถึง 2 ครั้ง การที่บอกว่าในวัดนี้เห็นแต่สิ่งที่สร้างใหม่สมัยอยุธยาตอนปลายจึงไม่น่าถูกต้อง ส่วนร่องรอยสมัยเมืองอโยธยาก็ต้องขุดค้นอีกครั้งกระมัง ส่วนแผนที่ของแกมเฟอร์วัดพระยาพระคลังก็ยังคลุมเคลืออยู่ วัดซ้ายมือคล้ายวัดสมณโกฏและวัดอโยธยา เพราะมีองค์ประกอบ อาคาร-ปรางค์-เจดีย์-อาคาร ส่วนวัดทางขวาคล้ายวัดกุฏีดาวหรือไม่ก็วัดจักรวรรดิ์(วัดเจ้ามอญ) เพราะตรงยอดเจดีย์มีรูปฉัตรแบบมอญสอดคล้องกับที่ว่าชาวมอญมาบูรณะวัด และปากองค์ระฆังที่เหลือซากอยู่ก็ย่อมุมคล้สยแบบมอญ แต่ที่จะไม่สอดคล้องคงเป็น อาคาร(โบสถ์/วิหาร) ซากที่เหลืออยู่กลับไม่เห็นสถาปัตย์ที่ชายคามีเสาพาไลรองรับ และองค์ระฆังมีลายกลีบบัวเหมือนวัดอโยธยา และวัดช้างทางตะวันออก 200 เมตร
ขอบคุณที่เบาดนตรีให้ เสียงผู้เล่าเรื่องทั้งสองท่านดีฟังชัด ครับ ส่วนตัวหลังที่ฟังเสียงเล่าเรื่องเก่าจากหลายๆท่าน คิดว่าชุมชนเก่า อโยธยา น่าจะมี เพราะเรือมันเข้ามาแล้ว การสร้างน่าจะค่อยๆ โต จากพื้นที่ที่ดินดอนลุ่มแม่น้ำมันพอจะให้สร้าง อาคาร (ไม้) และ มี ตัวแทนการค้าจากทั้ง ลพบุรี และ สุพรรณบุรี เข้ามา ตั้ง จุดค้าขาย เรือใหญ่ก็ไม่ต้องเข้าไปลึกและต้องแยกตามลำน้ำไปถึง ลพบุรี หรือ สุพรรณบุรี ส่วนตัวคิดว่าแม่น้ำ หรือ ท้องน้ำ ในอดีต น่าจะกว้างกว่าปัจจุบัน ยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าน้ำ.. ผมเกิดทันน้ำท่วมทุ่งภาคกลางต้องถ่อเรือเข้าบ้าน บ้านคุณย่าผมอยู่กลางทุ่งใน อ.วิเศษชัยชาญ สมัยยังไม่มีเขื่อนเดือนตุลาต้องถ่อเรือจากถนนเข้าไป น้ำในทุ่งใสสะอาดกว่า น้ำท่วม ปี 54 มากครับ ติดตามรายการครับ ชอบฟังมุมมองอดีตที่หลากหลาย
ขอบคุณครับ
วัดนี้มีข่าวมีสมบัติฝังไว้
อาจารย์อธิบายเข้าใจง่ายแจ่มแจ้งเลยครับ
ขณะเล่าเรื่องไม่ควรมีเสียงดนตรี รบกวนการฟังครับ
อยากทราบว่า หลังคาทำด้วยอะไรคะ ทำไมปัจจุบันโครงสร้างถึงโล่งแจ้ง
เครื่องบนทั้งหมดทำด้วยไม้ครับ
ตามไปเที่ยว
อยากทราบว่าผนังวัดยังเป็นของเดิมอยุ่หรือบูรณะขึ้นมาใหม่ครับ