วิมาลาทรงเครื่อง l นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 7

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 20 окт 2024
  • วิมาลาทรงเครื่อง
    ผู้สร้างสรรค์ : นางสาวการะเกด กฤษณะโยธิน
    แนวคิดในการสร้างสรรค์งาน
    ผู้สร้างสรรค์พบว่า การแสดงรำเดี่ยวที่ปรากฎในเรื่องไกรทองคือการแสดงประเภทฉุยฉาย แต่ยังไม่ปรากฎการแสดงประเภทแต่งองค์ทรงเครื่อง ผู้สร้างสรรค์จึงมีแนวคิดนำตัวละครนางวิมาลามาสร้างสรรค์เป็นการแสดงรำเดี่ยวประเภทสร้างสรรค์เชิงอนุรักษ์ ใช้วิธีการแสดงการทรงเครื่องแบบนาฏศิลป์ไทย มีการเรียงลำดับการแต่งกายของตัวละคร ผู้สร้างสรรค์ศึกษาลักษณะนิสัยนางวิมาลาให้ละเอียดอย่างลึกซึ้งพบว่า นางวิมาลาเป็นนางอมนุษย์ที่เป็นสัตว์สามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ แต่ถึงกระนั้นนางถือว่าเป็นตัวละครผู้หญิงที่มีความรักสวยรักงามมาก ไม่ว่าจะกระทำการใดนางวิมาลาจะต้องจัดแจงแต่งองค์ทรงเครื่องให้งดงามเสียก่อน เมื่อผู้สร้างสรรค์นำเอาข้อมูลต่าง ๆ มาเรียบเรียง จึงเลือกที่สร้างสรรค์การแสดงชุดนี้แทรกไว้ในระหว่างตอนที่นางวิมาลาจะตามไกรทองออกไปจากถ้ำ มีการจัดแจงแต่งตัวแต่ยังคงมีความอาลัยถึงความสุขสบายในถ้ำทอง
    รูปแบบการแสดง
    การแสดงประเภทรำทรงเครื่อง ตัวนาง
    องค์ประกอบในการแสดง
    ผู้แสดง จะต้องมีลักษณะแบบตัวนาง มีทักษะในการรำจริตลีลาแบบละครนอก สามารถทำความเข้าใจถึงอารมณ์ของตัวละครได้ดี
    เครื่องแต่งกาย ชุดยืนเครื่องนาง ห่มสไบสองชายสีเขียวขลิบแดง ผ้านุ่งสีเขียว สวมเครื่องประดับตามการแต่งกายยืนเครื่องนาง สวมกระบังหน้า ใส่เกี้ยวกลมสีทอง ปักปิ่นที่มีลักษณะเหมือนแหวน ปล่อยผมข้างหลังยาว
    เพลงหรือดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงได้แก่ 1.เพลงอัปสรสำอางค์ 2.เพลงสีนวลนอก 3.เพลงจำปานารี 4.เพลงเสมอ

Комментарии •