เสริมเรื่อง สายของ plug type O อีกนิดครับ Type O มาจากมาตรฐาน Type F ครับ ตามหลักคือ Plug type O แนวสายไฟเหมือน Type A กับ Type B และมีขาใกล้เคียงกับ Type F ครับ ส่วน Plug type O แต่หักเป็น 90 เหมือน Type F ส่วนใหญ่จะเป็น plug ที่มี current เกิน 8A ครับ เนื่องจากมาตฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านของประเทศไทย socket 1 Circuit จะไม่ให้เกิน 16A ดังนั้นถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดที่มี peak current เกิน 8A ตัวสาย plug จะหักเป็น 90 เพื่อให้สามารถใช้เพียงเครื่องเดียวครับ อันนี้เองเป็น Design ของผู้ผลิตครับ ไม่ได้เกี่ยว Standard ของ Type plug อ่อ หลังจากปี 63 อุปกรณ์ที่มีการ Design หลังจากนี้ ถ้าต้องมีการ Test เพื่อผ่าน มอก standard ตัว plug จะต้องเป็น Type O เท่านั้นนะครับ หรือแย่หน่อยก็เป็น Type F ครับ ถ้าส่ง Type A, B จะเริ่มไม่ผ่านแล้วครับ
US Plug ไม่น่าจะยกเลิกได้ เพราะเป็น type ที่คนไทยชื่นชอบมาก (เพราะไทยเกลียด EU plug) เวลาซื้อสินค้านำเข้าจะเลือก US Type เสมอ และมีเยอะกว่า EU Type ถ้านับจำนวนปลั๊กในบ้าน มาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ตัว ก็บังคับให้รองรับไฟ 120-240V แล้วด้วย จึงคิดว่าไม่เป็นปัญหา และเราจะใช้แบบนี้กันไปอีกยาวๆ
หมุนเต้าเสียบ 45 องศา จะแก้ปัญหาเสียบปลั๊กคร่อมได้ครับ เพิ่มเติมข้อมูลคือระยะและขนาดแท่งกราวน์ด์ของ Type O เท่ากับของ Type B หรือปลั๊กอเมริกาแบบมีกราวน์ด์ 3 ขาครับ
ต้องขอบคุณที่มีหลายคนออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่เนื้อหาในคลิปอาจจะไม่แม่นยำ 100%
ซึ่งผมรวบรวมแล้ว มีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้
.
1. เต้าเสียบเกยกัน มันคือฟีเจอร์?
เป็นคอมเมนต์ที่ผมเห็นค่อยข้างเยอะ กล่าวว่าถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกระแสเยอะ จะต้องเอียงการเข้าสายเป็น 90° เพื่อไม่ให้สามารถเสียบสองอุปกรณ์ที่กินกระแสเยอะสองเครื่องพร้อมกันได้
ผมว่าเรื่องนี้ไม่น่าเกี่ยวกับการกินไฟ น่าจะเป็นเรื่องดีไซน์ที่บกพร่องมาจากทางผู้ผลิตมากกว่า เนื่องจากใน มอก. 166-2549 ไม่มีกล่าวไว้เลยว่าถ้ากินไฟเยอะจะต้องเอียงการเข้าสายเป็น 90° มีแต่อนุญาตให้สามารถเข้าสายได้ 90° กับองศาแนวแกนกับเต้าเสียบ แล้วก็เท่าที่สำรวจอุปกรณ์ในบ้าน อย่างเช่นปลั๊กพ่วงที่รองรับได้ 16A (Panasonic) เตารีด 2600W (Electrolux) ทั้งสองก็กินกระแสสูง แต่ก็ไม่ได้หันสายเป็น 90° นะ
ถ้าใช้การเอียง 90° จริง ๆ ผมว่าผู้ใช้งานก็จะไปหาหัวแปลงมาอยู่ดี ทำให้ความปลอดภัยลดน้อยลงไปกว่าเดิมอีก ทางแก้ที่น่าจะเกิดขึ้นคือต้องบังคับให้การเดินสายต้องใช้สายขนาด 6mm² หรือทำเต้าเสียบที่มีแค่ช่องเดียวไปเลยมากกว่า
------
2. เต้ารับแบบคู่แนวตั้งที่เสียบคร่อมกันได้ ผิด มอก. ?
จากที่ผมตรวจสอบในเว็บใบอนุญาต สินค้าดังกล่าวมีข้อมูลใบอนุญาตถูกต้อง ดังนั้นแล้วจึงไม่ผิด มอก.
ตรงนี้ขออภัยที่ข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับที่ผมตีความตามคำอธิบายรูป (1) ที่อธิบายว่าห้ามเสียบเพียงขั้วเดียวได้
------
3. ถ้าเต้ารับไทยได้มาตรฐาน การใช้เต้าเสียบแบบ Europlug (4 มม.) ไม่ควรหลวม?
ถูกต้อง ถ้าเต้ารับเป็นของที่มีคุณภาพ มันไม่ควรหลวม เพราะว่า มอก. 166-2549 มีการทดสอบการดึงกับเต้าเสียบขนาด 4.0 มม. ด้วย แต่ในความเป็นจริง กับอ้างอิงตามงานวิจัยที่ผมหยิบมา คือส่วนใหญ่จะหลวมครับ
------
4. เอกสาร มอก. ทุกฉบับ จริงๆ มี Digital Archive ในเว็บราชกิจจานุเบกษาครับ ไม่ต้องถ่อไปห้องสมุดก็ได้ 555 (ลิงก์ในคำอธิบายวิดีโอ)
------
สุดท้ายนี้ ความคิดเห็นผมกับปลั๊ก Type O ผมว่าในเวลานี้ มันเหมาะสมและปลอดภัยกับประเทศไทยสุดแล้ว พอมาใส่ในที่ชาร์จมือถือมันอาจจะดูเทอะทะ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าเขาบังคับใช้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้บริโภคนี่แหละ
ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมตรงไหน มาแชร์กันได้ครับ
เปลี่ยนเป็น4ขาได้ไหมครับให้เป็นplug เป็นของไทยเลยได้ไหมครับ
ดี
ซายน์น
อยากเปลี่ยนเต้ารับพอดีด้วย รุ้สึกจุดนึงที่บ้าน มันเหมือนไฟมันมาน้อย มาช้าอ่ะคะ มันมีมั้ย คือชารืจมือถือจะร้อนมาก และเต็มช้ากว่า ไปเสียบเต้ารับจุดอื่นของบ้าน ..แปลว่าเต้ารับมีปัญหารึเปล่าคะ?
เต้ารับมาตรฐานฯ มอก.166-2549 มีการแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1.ชนิดฝังติดผนังเรียบ 2.ชนิดติดผนังเรียบ
3.ชนิดหยิบยกได้…ชนิด 1.มีหลายยี่ห้อเสียบขากลม 4.0mm(typeC)หลวมชนิด 2.ทุกยี่ห้อ.ตกมาตรฐานฯ มอก.
ตกข้อ เต้ารับเสียบเต้าเสียบขาเดียวได้ เสียบเต้ารับกับเต้าเสียบไฟไม่ติดบ้าง หลวมบ้าง “มีเต้ารับของยี่ห้อVena“
เท่านั้นที่ทำได้ตามมาตรฐานฯเพียงยี่ห้อเดียว…ชนิด 3.มีทำยี่ห้อเดียว”Vena“ทำได้ตามมาตรฐานฯทุกข้อ มีคลิป พิสูจน์ใน RUclips ทดลองหาสาเหตุเสียบปลั๊กแล้วหลวมไม่แน่น เกิดจากเต้าเสียบหรือเต้ารับ
ดูสักหน่อยครับจะได้รู้ความจริง ปลั้กไทยไม่ห่วยไปทั้งหมดและสาเหตุที่ห่วยเพราะอะไร แต่เหตุนึ่งเป็นเรื่อง
คนใช้ชอบของถูกๆโดยไม่คิดถึงความปลอดภัย Vena ราคายุติธรรมไม่ใช่ว่าแพงมากมาย อีกอย่างของห่วย
เรามีสิทธิ์ร้องเรียนได้ ใช้โทรศัพท์ยิง QRโค๊คส่ง สมอ.ก็ได้นี่ครับ😊
เข้าใจถูกแล้วครับเรื่อง 90° ถ้าในวงการ Design จะวัดได้เลยว่ามีประสบการณ์มากขนาดไหน ใส่ใจรายระเอียดขนาดไหน
และ Standard เองก็ไม่ได้บังคับ 90° แต่ Standard บังคับให้เป็น Type O เท่านั้น ดังนั้นจะ 30° 45° 60° 90° 120° เป็นเรื่องของผู้ผลิตเลยครับ
ทำดีมากครับ ว้าวซ่าา
ขอบคุณคร้าบ
ว้าวซ่า❤
ว้าวซ่าา
ว้าว ว้าว ว้าว
เห้ยยยยยแชล!!!
โคตรคุณภาพ youtuber ครับ
ผมอึ้ง ตอนไป หอสมุดแห่งชาติ แล้วไปต่อ สุดยอดดดดดด
จริงครับ สายคุณภาพ
น้อยมากๆ ที่จะเจอคอนเทนท์คุณภาพแบบนี้
นี่แหละ คุณภาพคน/การศึกษา..ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อประเทศชาติ
ขอบคุณมากสำหรับ สาระ..(ปกิรูปการศึกษาควรเป็นวาระแห่งชาติ)
ใช่ครับจิง🎉🎉🎉
ตอนเห็นปกคลิปก็เฉยๆครับ เพราะผมรู้ข้อมูลปลั๊ก Type-O ตัวใหม่ของไทยเราอยู่แล้ว ก็มาฟังเพราะย้ำความรู้ตัวเองเฉยๆ แต่พอดูจบคือข้อมูลที่ผมว่าผมรู้แล้วคือแค่ 30% ของเนื้อหาในคลิป นี้ยังไม่นับเรื่องการลงพื้นที่หาข้อมูลถึงที่ การหางานวิจัย มาเทียบเคียง การน้ำเสนอก็ไม่น่าเบื่อ ขอชาบูช่องคุณภาพแบบนี้เลยครับ
คล้ายๆ กับผมเลย ผมก็คิดว่าหาข้อมูลจนรู้เยอะแล้ว เพราะเคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมบางเต้ารับมันหลวม บางเต้ารับมันแน่น เข้ามาจริงๆ กลายเป็นว่าได้เรียนรู้ความรู้ใหม่เยอะมาก ตัดสินใจถูกจริงๆ ที่ไม่น้ำเต็มแก้วแล้วเลื่อนผ่าน แต่ตัดสินใจเข้ามาดู คลิปคุณภาพมาก
เหมือนกันเลยครับ ดีใจจริงๆที่ได้ดูคลิปนี้ ทั้งได้ความรู้และเพิ่มพูนสติปัญญาอย่างมาก ชื่นชมน้องคนทำคลิปจริงๆครับ
กะเข้ามาดูเฉยๆเหมือนกัน งานคุณภาพเลย❤
ผมคงต้องปรับปรุงไฟในบ้านและสวนครั้งใหญ่เลยหละ
ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้ในการป้องกันภัยเรื่องไฟฟ้าอย่างละเอียดดีมากเลยค่ะ
ชื่นชมน้องที่ใส่ใจค้นคว้า อยากให้เด็กไทยเป็นนักวิทยาศาสตร์แบบนี้เยอะๆ จะทำให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น
คอนเท้นคุณภาพของปีจริงๆครับ เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ค่อยเห็นช่องไหนทำและอธิบายได้เห็นภาพเท่าช่องนี้จริงๆ
ผมยกให้เป็น Clip of the Year 2024 เลยครับ ทรงคุณค่าและมีประโยชน์มาก
เสริมเรื่อง สายของ plug type O อีกนิดครับ
Type O มาจากมาตรฐาน Type F ครับ
ตามหลักคือ Plug type O แนวสายไฟเหมือน Type A กับ Type B และมีขาใกล้เคียงกับ Type F ครับ
ส่วน Plug type O แต่หักเป็น 90 เหมือน Type F ส่วนใหญ่จะเป็น plug ที่มี current เกิน 8A ครับ เนื่องจากมาตฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านของประเทศไทย socket 1 Circuit จะไม่ให้เกิน 16A
ดังนั้นถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดที่มี peak current เกิน 8A ตัวสาย plug จะหักเป็น 90 เพื่อให้สามารถใช้เพียงเครื่องเดียวครับ
อันนี้เองเป็น Design ของผู้ผลิตครับ ไม่ได้เกี่ยว Standard ของ Type plug
อ่อ หลังจากปี 63 อุปกรณ์ที่มีการ Design หลังจากนี้ ถ้าต้องมีการ Test เพื่อผ่าน มอก standard
ตัว plug จะต้องเป็น Type O เท่านั้นนะครับ หรือแย่หน่อยก็เป็น Type F ครับ
ถ้าส่ง Type A, B จะเริ่มไม่ผ่านแล้วครับ
ข้อมูลแน่นดีครับ ❤// ผมได้ความคิดต่อยอดอีกขั้นว่าการเปลี่ยนไปใช้ Type O บวกกับ กำหนดให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทยต้องได้ตรา มอก. หรือผ่าน สมอ. ทุกตัว ก็จะได้ประโยชน์ในการชลอการทะลักเข้ามาของสินค้าจากจีนได้บ้างอีกทางหนึ่งครับ ถ้ารัฐบาลบังคับใช้ก็น่าจะดี
ปลั๊ก Type A,B ควรเลิกใช้จริงๆแหละครับ มีครั้งนึงผมเคยดึงออกด้วยมือข้างเดียวจากรางที่พื้นแล้วนิ้วไปโดนขา ดีไม่ตุย
@@dumbocat.6542บังคับเป็นมาตรฐานฯบังคับ มอก.166-2549 ตั้งแต่ปี 2563แล้วครับ
ผลิต นำเข้า ต้องขออนุญาตจาก สมอ.😊
ถ้าตัดคำว่า หรือใกล้เคียงออก จากมาตรฐานก็คงจะดีขึ้นเพราะส่วนมากจะใช้ใกล้เคียงซะส่วนใหญ่เช่นตามบ้านทั่วไป
คอนเทนต์ไม่clickbait เนื้อหาแน่น คลายความสงสัยได้จริงๆ
นับถือสกิลเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าใจง่าย ไม่ใช่ทุกคนที่ทำได้นะคุณเก่งมาก👍
ใช่ครับ ไม่ใช่ว่าคณะทำงานออกมาตรฐานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้หรอก แต่เป็นเพราะการปรับเปลี่ยนมาตรฐานต่างๆ เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นภาระของผู้ใช้งาน ถ้าแค่ออกมาตรฐานให้ perfect โดยไม่ต้องสนใจว่าคนที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจะต้องรับภาระอะไรแค่ไหน ไอการเขียนมาตรฐานมันก็ไม่ได้ยากอะไรหรอก แต่มันยากก็เพราะต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้นี่แหล่ะ ซึ่งก็ต้องค่อยๆเปลี่ยนผ่าน ใช้เวลาหลายสิบปี แม้แต่ทุกวันนี้มาตรฐานการติดตั้งอะไรที่ออกมาใหม่ก็เป็นลักษณะเดียวกัน คือต้องค่อยเป็นค่อยไป
คุณพระ พ่อแม่เขาเลี้ยงลูกยังไง ถึงได้แบบนี้ เก่งมากๆลูก
หากแผ่นดินนี้มีเด็กอย่างหนูเยอะๆ ประเทศนี้คงเจริญมากๆ
ขอบพระคุณพ่อแม่ผู้เลี้ยงดู พวกคุณทำหน้าทีได้ดีเยี่ยมจริงๆ ยายขอกราบเลยจ้า
ดูหนูแล้วอิ่มในหัวใจจริงๆลูก ยายยุ้ย
ต่อให้มีคนเก่งเยอะยังไง ไม่ทีอำนาจรัฐ ปท ก็ไม่เจริญหรอกครับ
คนเก่งจริงเดี๋ยวก็ได้แรงเชียร์จากผู้ใหญ่และสังคมไทยจ้ะ ขออย่างเดียวอย่าเหยียบย่ำรูปที่มีทุกบ้านของคนไทยก็แล้วกัน@@kingping8756
อยากให้มีช่องคุณภาพ ที่มีการค้นคว้าหาข้อมูลแบบจริงจังแบบนี้มากขึ้น ทุกวันนี้มีช่องคนไทยที่แต่เรื่อง โบราณสถาน มนุษย์ต่างดาวมั่วข้อมูลมากเกินไป บางช่องก็มโนข้อมูลอะไรไม่รู้ขึ้นมา , เป็นกำลังใจให้ช่องนี้ได้ทำเนื้อหาคุณภาพต่อไป
จริงครับ มีการค้นหาข้อมูลที่จริงจัง ลงทุนไปหอสมุด คือดีมาก
เนิร์ดได้ใจเลย ขอบคุณที่หาข้อมูลมาแชร์ให้ครับ
โอ้ว.... ชอบใจมากครับที่เห็นเด็กไทย เรียบเรียงการหาข้อมูลได้ดี เป็นต้นแบบเด็กไทยรุ่นหลังได้ดีมาก คนเป็นพ่อแม่คงภูมิใจน่าดู
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่พยายามทำมาให้ผู้ชมนะครับ ชอบจริงๆครับ 😊
เพราะเราไม่มีมาตรฐานเต้าเสียบจริงๆ จึงต้องออกแบบเต้ารับเป็น universal ซึ่งยังไงก็ไม่แน่น ...
@@frog5051 ผมเสียบเต้าเสียบแบบของ eu ของ us กับเต้ารับแบบ universal ของ Panasonics หรือไม่ก็ Chang ก็แน่นใช้งานได้ดี ... ลองดูนะครับ 🙃
มอก ทุกฉบับ มีในเว็บไซต์ ราชกิจจา ครับ แต่ต้องพอจะรู้ชื่อเรื่องนิดหน่อย เช่น มอก. 166 ใช้คำค้น มาตรฐาน อุตสาหกรรม เต้าเสียบ จะเจอทุกฉบับเลยครับ
มีจริงด้วยครับ
มอก 166 ฉบับปี 2519 เผื่อมีคนสนใจ
ratchakitcha.soc.go.th/documents/1362236.pdf
Good job 👍🏻
ให้ข้อมูลได้ดีมากเลยครับ เข้าใจง่ายและอ้างอิงงานวิจัย ข้อมูลที่มาชัดเจน
ขอเพิ่มอีก 1 ปัญหาของปลั๊กที่สลับ L-N ได้ โดยขอยกตัวอย่างเรื่องเดียวง่ายๆ นะครับ คือ ปลั๊กพ่วงที่สวิตช์และฟิวส์ มักถูกติดไว้ฝั่ง L มันก็จะตัดไฟตั้งแต่ต้นวงจร (อันนี้ปลอดภัยดี) แล้วถ้าเรากลับปลั๊กละจะเกิดอะไรขึ้น มันก็จะตัด N ส่วน L ก็จ่อรอที่รูปลั๊กด้านหนึ่งสบายๆ เพียงแต่ไม่ครบวงจรเพราะ N ถูกตัด(ไฟไม่สว่าง) ถ้าคนทะลึ่งไปจิ้มเล่นเพราะคิดว่าไฟดับไปแล้วก็บรรลัยครับ และจะบรรลัยกว่านั้นถ้าเต้าหนึ่งมีโหลดเช่นโคมไฟต่อและเปิดอยู่ จะทำให้มีไฟจ่ออยู่ทั้ง 2 ด้านของปลั๊กเลย(โคมหลอดใส้มีความต้านทานต่ำ) ความน่าจะเป็นที่จะ ตย เมื่อเลือกจิ้ม 1 ใน 2 รูคือ 100%
สงสัยมานานมากแล้วครับ ปกติผมต่อไฟใช้ในบ้านบ้างหรือต่อพ่วงสายยาวๆไว้ใช้ทำงานบ้าง ส่วนมากก็ทำเอง เพราะรุ้แค่ว่า ต่อครบ2เส้น ก็ใช้ได้ แต่ผมเห็นตัวอักษร N กับ L แต่เราต่อเอาสายไหนใส่ก็ได้ แค่ไม่ชนกันก็พอ แต่ไม่รุ้เลยว่าถ้าต่อให้ถูกต้องจริงๆ กับต่อแค่ให้มีกระแสไฟ มันต่างกันยังไง เคยไปโพสต์ถามในกระทู้พันทิพย์นานแล้ว แต่พึ่งรู้คำตอบเพราะเม้นนี้จริงๆ ขอบคุณมากครับ❤️
ข้อมูลแน่น มีประโยชน์ หาข้อมูลมาได้ละเอียด เนื้อหาแน่น ขอบคุณที่แบ่งปันมากๆครับ
เฮ้ย... ผมโชคดีมากที่มาเจอ channel ที่มีคุณภาพขนาดนี้ ข้อมูล ความลึก ความครบ น้องทำได้ดีมากๆ สนับสนุนครับ
อวยกันไปหรือเปล่า เนื้อเรื่องยาวเกินหัวข้อมากเกินไป ฟังตั้งนานยังไม่พบคำตอบที่จั่วหัวเรื่องไว้ ถ้าหัวเรื่องประวัติ มอก ก็จะเห็นด้วย
Technical Debt นี้ เกิดเพราะนิสัย และแนวคิดของคนไทย ที่ชอบอะไรง่าย ๆ มักจะรับได้หมดทุกวัฒนธรรม เอาหมดทุกทางมารวมกันครับ
พอดีเลยครับ เพิ่งหาข้อมูล มอก.ปลั๊ก ต่อไปปลั๊กบ้านเราที่ถูกระเบียบจริงๆ ต้องขากลมมาตรฐานไทยแล้ว หัวชาร์จ Apple นำไปก่อน ที่เราเห็นขาแบนขายก็ยังค้างสต็อคอีกหลายปีเลยครับ ตอนนี้ซื้อปลั๊กชาร์จมือถือ มองหา มอก. ก่อนเลย แต่ก็นะ ขากลม เท่าที่ใช้กับปลั๊กราง Lumira มอก. เสียบแน่นดีครับ
ตลกตรงที่เขาเปลี่ยนขากลมตามมาตรฐานบ้านเรา แต่ดันไปด่า apple กันว่าทำไมไม่ใช้ขาแบน 5555
สงสัยมานานว่าขากลมเล็กเอียงๆ กับขากลมใหญ่ มันต้องต่างชนิดกันแน่ๆ คอนเทนต์คุณภาพ เนื้อหาครบมากๆครับ
สาระดี.อธิบายละเอียด
แม่บ้าน .ยั่งเข้าใจ
ขอยกให้เป็นต้นแบบ
ของคนทำคลิปอื่นๆด้วย
ลูกชาย ม.4 กำลังฝึกทำ
การหาข้อมูล ใส่ใจสุดๆ
การใช้คำพูด ผสมภาพ
แสดงผล ทันกับผู้ฟัง
26:00
อันนี้ชอบมากๆมีตัวอย่างขำๆให้ได้อมยิ้ม น่ารักค่ะ
ผมมองว่า มอก2535 คนคิดเค้าก็คิดเรื่องความปลอดภัยและอยากเปลี่ยนไปใช้ยุโรปครับ แต่ในมุมมองผมมองว่า ณ ตอนนั้น สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในตลาด การอิมพอต ส่วนใหญ่เป็นปลั้กแบบแบนมากกว่าประกอบกับเราไม่สามารถบังคับให้ทุคบ้านเปลี่ยนแปลงได้ เลยทำให้เกิดปลั้กแบบเดียวในโลกขึ้นมา เพราะไม่ใช่ทุคบ้านจะเปลี่ยนตาม พอตลาดเริ่มขยับเปลี่ยนแปลง ของเก่าก็ยังอยู่ ของใหม่ก็เข้ามา เลยปรั้บปรุงจนมาเป็นแบบนี้ คนไทย ของมันไม่พังให้ตายก็ไม่เปลี่ยน ต่อให้เอาความปลอดภัยมาอ้างก็เถอะ ยุตเปลี่ยนผ่านช่วงสมัยเป็นหัวกลมใหม่ๆ สมัยผมเด็กๆ น่าจะเคยเห็นตัวแปลงจากหัวกลมเป็นแบน เพราะไม่ใช่ทุคบ้านจะกลม พอปลั้กมีแบบกลมแบน ของใชไฟฟ้าในตลาดทุควันนี้ยังแบนอยู่เลยด้วยซ้ำไปครับ ปัญหามันแก้ไม่จบง่ายๆ แน่ครับๆ เพราะจะมีกลุ่มอีกคนที่บอกว่าทำไมต้องเปลี่ยนบ้านก็ใช้แบบนี้มาอยู๋แล้ว เอาเงินที่ไหน เปลี่ยน กับกลุ่มที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยครับผลคือมันผสมรวมกันจนเป็นแบบนี้แหละ และผมก็มองว่ามันจะเป็นแบบนี้ไปเรื้อยแหละครับ เปลี่ยนยากแต่อาจเปลี่ยนได้ต้องเกิน 10 ปีแน่ๆ
ใช่ครับ ไม่ใช่ว่าคณะทำงานออกมาตรฐานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้หรอก แต่เป็นเพราะการปรับเปลี่ยนมาตรฐานต่างๆ เป็นเรื่องใหญ่ และเป็นภาระของผู้ใช้งาน ถ้าแค่ออกมาตรฐานให้ perfect โดยไม่ต้องสนใจว่าคนที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานจะต้องรับภาระอะไรแค่ไหน ไอการเขียนมาตรฐานมันก็ไม่ได้ยากอะไรหรอก แต่มันยากก็เพราะต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้นี่แหล่ะ ซึ่งก็ต้องค่อยๆเปลี่ยนผ่าน ใช้เวลาหลายสิบปี แม้แต่ทุกวันนี้มาตรฐานการติดตั้งอะไรที่ออกมาใหม่ก็เป็นลักษณะเดียวกัน คือต้องค่อยเป็นค่อยไป
ถ้าอ้างตามเกาหลีก็ 30 ปี 😂
บราซิลก็เคยมีปัญหานี้ครับ คือมีการใช้หัวปลั๊กอยู่ 8 แบบในประเทศ ช่วงปี 2002 เขาก็หักดิบไปใช้ Type N กันทั้งประเทศ
ต้องบังคับใช้กฏหมายกับผลิตภัณฑ์ก่อน เพราะเชื่อว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเก่าๆที่ยังใช้ได้อยู่สามารถเพิ่มหัวแปลงได้อยู่ดี 🤣 เดี๋ยวพังก็ค่อยๆเปลี่ยนกันไป
อีกอย่างก็คือ ระบบเศรษฐกิจมันมีผลโดยตรงต่อการเลือกตั้งครับ ฉนั้นเวลาจะแก้อะไรที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ทั้งนายทุนและประชาชน อาจจะต้องระวังเป็นพิเศษ หรืออยู่เฉยๆดีกว่าไม่เสี่ยง มันเลยใช้เวลาเปลี่ยนแปลงนานขึ้นอีกเยอะ
ถ้าปัญหานี้เกิดขึ้นที่จีน อาจใช้เวลาแก้แค่ 2-3ปี ก็ได้
เป็นวิดีโอที่ random ขึ้นมาเอง พอกดเข้ามาฟังโคตรดีมีคุณภาพ 👍🏻👏🏻
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เต้ารับแต่มันอยู่ที่สินค้าที่เข้ามาในประเทศไม่ได้บังคับใช้ว่าต้องเป็นหัวปลั๊กแบบใด ปัจจุบันก็ยังมีสินค้าที่เป็นขาแบนจำหน่ายเป็นปกติจึงไม่มีทางเปลี่ยนเต้ารับได้ ถ้าบังคับใช้สินค้าใหม่ไม่ให้ใช้ขาแบนเลยส่วนขากลมที่มีกราวต้องเป็นแบบสามขา 10-20ปี สินค้าที่เป็นขาแบนหรือขากราวแบบอื่นน่าหายไปเยอะปัญหาจะค่อยๆหมดไป
มันมี3แบบครับมาตรฐานUS EU UK ของไทยคือUS จะแบบไหนการบำรุงรักษามันก็ต้องมีทั้งนั้นแหละ
@@srichaith.5766ตัดเต้าเสียบที่ติดมากับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำเข้ามาเครื่องใช้ทิ้งซื้อปลั้ก มอก.ไทยใส่
ง่ายนิดเดียว ใช้adapterวุ้นวายไปทำไม?
@@vithayac4060 ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ขาแบนขากลมครับ เพราะสามารถเสียบได้เลยทั้งสองแบบ ที่มันไม่ลงตัวน่าจะเป็นแบบ3ขาที่มีสายดิน(G)เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบางเครื่องก็ไม่มี ส่วนเต้ารับหรือรางปลั๊กรุ่นใหม่ๆก็ทำออกมาเป็น3ตาทั้งหมดแล้ว
@@srichaith.5766ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็น 2 ขั้ว ชุดปลั้กพ่วงมี 3 ขั้ว ดีครับเพิ่มความปลอดภัย ทำอย่างนี้นะครับ สายไฟจากเครื่องใช้ฯ สีน้ำตาลให้เป็นขั้ว L ขั้วสีน้ำเงินให้เป็น N (หรือสีดำ) ขั้ว G ปล่อยว่างไว้เพื่อกันสลับ L-N N-L ใช้เต้าเสียบ 3 ขาทำ ปลอดภัยสุดๆเลยครับ❤
ทำได้ดี ขอชื่นชม
ฝากแก้ไข 1 ประการ
ปัจจุบันแรงดันไฟบ้านของไทย ไม่ใช่ 220 โวลต์
แต่เป็น 230 โวลต์
กิตติ สุขุตมตันติ
กรรมการแห่งชาติว่าด้วยมาตรฐานเทคนิคทางไฟฟ้าระหว่างประเทศ
โห เนื้อหาแน่นมากเลย แต่ฟังไม่มีเบื่อ ชอบมากเลยครับถึงขนาดที่ดูจบแล้วต้องเลื่อนลงมาคอมเมนต์จากปกติไม่เคยทำเลย เชื่อว่าคลิปนี้ใช้เวลาหาข้อมูลและเรียบเรียงนานพอสมควรเลย ถ้าเป็นไปได้อยากกดไลค์กดซับให้รัวๆครับ แต่เสียดายที่กดได้แค่ครั้งเดียว เป็นกำลังใจให้ทำคอนเทนต์คุณภาพแบบนี้ออกมาให้ชมอีกนะครับ ❤
ลิงก์ Adapter ปลั๊กที่ใช้
ตัวเพิ่มสายดิน ปลั๊กเยอรมัน
c.lazada.co.th/t/c.YcnaBa
แปลงขาแบน europlug เป็นขากลม 4.8 มม.
s.shopee.co.th/3L7IhmRsl9
ปลั๊กพ่วง Panasonic (แพงหน่อยแต่ของดี)
s.shopee.co.th/AKH4GYa8I5
สุดยอดเลยค่ะ เข้ามาดูเพราะสงสัยเรื่องปลั๊กหลวม หัวชาร์จระเบิดใช้ไม่ได้ หรือเราจะเข้าใจเรื่องปลั๊กผิดมาตลอด ตอนแรกๆคลิปอาจฟังดูน่าเบื่อหน่อย แต่ไม่นาน และเป็นความรู้ เหมือนอ่านหนังสือเอง แต่เจ้าของคลิปทำสรุปมาให้ ดีมากๆเลยค่ะ คลิปคุณภาพจริงๆ ไม่ได้เอาแต่ฮา หรือเร็วคลิปสั้นไม่รู้เรื่อง ขอบคุณที่ค้นคว้าและแชร์ความรู้นะคะ เด๋วซื้ออะแดปเตอร์มาสวมค่ะ ตอนดูเราเดินตรวจปลั๊กตรวจสายไฟทุกอย่างเลย เดิมเข้าใจว่า เราเอาปลั๊กเสียบเข้าผนังได้หมด ความเข้าใจผิดเลย ขอบคุณคลิปทำให้ได้ตวามรู้ เพิ่มความปลอดภัยในบ้านค่ะ
ฟังจบแล้วปวดหัว (ทางบวกนะ) เนิร์ดดี พี่ชอบบบบบ แบบว่าปวดหัวว่าเมื่อไหร่ปัญหาจุกจิกจะแก้ยังไงให้หมดนะ
เป็นคลิปที่ยอดเยี่ยมมากครับ ขอขื่นชมน้องมาก ขยัน ข้อมูลแน่น นำเสนอได้ดี ไร้เทียมทาน
ขอเพิ่มเติมนิดนึงตรงนาทีที่ 25:08 ที่ว่าเสียบปลั๊กหัว Schuko 2 ตัวบนเต้ารับบ้านเราพร้อมกันไม่ได้เพราะปลั๊กมันเกยกัน ซึ่งถือเป็นความบกพร่องของการออกแบบนั้น ผมคิดว่าเขาอาจจะทำถูกแล้วก็ได้ เพราะปลั๊กหัว Schuko ถูกกำหนดให้ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินกำลังไฟฟ้ามาก และมีพิกัดอยู่ที่ 16 A และเต้ารับเองก็มีพิกัดอยู่ที่ 16 A เช่นกัน หากสามารถเสียบปลั๊ก 2 ตัวพร้อมกันได้ หรือใช้พร้อมกันได้ 2 อุปกรณ์บนเต้ารับตัวเดียวกัน ก็อาจจะทำให้เต้ารับเกิด overload ได้ครับ
เนื้อหาในคลิปคืออะไรที่เป็นชีวิตประจำวันของเรามาก แต่เราละเลยกับสุดๆ มันเป็นความปลอดภัยที่เราไม่ได้สังเกต ยกให้เป็นคอนเท้นคุณภาพของจริง ขอบคุณที่ยังมียูทูปเบอร์แบบนี้ ไว้ให้ความรู้ดีๆ ทำต่อไปนะคะ จะรอติดตามค่ะ
ยอมใจถึงกับต้องวิ่งไปหาในหอสมุดฯ
เนื้อหาดีมาก ถึงแม้จะยาวไปหน่อย กว่าจะเปิดดูต้องชั่งใจเรื่องเวลาอยู่เหมือนกัน พอได้ดูแล้วถึงเข้าใจว่าสั้นกว่านี้คงไม่ชัดเจนพอ
ประเด็นเรื่องเปลี่ยนปลั๊กเป็นขากลม ผมเรียกว่าเป็นปัญหามวลชน จะให้เปลี่ยนปลั๊กทั้งบ้านมันไม่ง่าย และเครื่องใช้เดิมที่เป็นขาแบนจะทำยังไง เพราะมีค่าใช้จ่าย ผู้ออกมาตรฐานเองก็ต้องปล่อยให้ผู้ใช้เปลี่ยนเองตามความสมัครใจ แต่สามารถบังคับใช้กับบ้านใหม่ได้ และบังคับกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใหม่ด้วย ในช่วงเปลี่ยนผ่านกับเครื่องใช้เดิม เรายังต้องใช้ซ๊อคเกตแบบลูกผลมไปก่อน เข้าใจได้ครับ
สำหรับบ้านใหม่ ควรใช้ปลั๊กรูกลมไปเลย แต่เครื่องใช้เก่าที่ตัวปลั๊กเป็นขาแบนเสียบไม่ได้แน่นอน แนะนำให้หาตัวแปลง ใช้ไปก่อนจนกว่าจะเลิกใช้หรือพัง แล้วซื้อใช้ตัวใหม่จะได้เป็นขากลมแล้ว คุณก็จะได้แบบที่เหมาะสมทั้งหมดต่อไป
ขอบคุณ และชื่นชมสำหรับเนื้อหาที่คุณทำไว้ให้ ดีมากครับ
ชื่นชมในความตั้งใจหาข้อมูลของน้องมากค่ะ ได้ความรู้มากเลย จะติดตามช่องนี้ต่อไปนะคะ ขอให้มีกำลังใจในการทำช่องดีๆที่ให้ความรู้แบบนี้ค่ะ 👍👍👍
เป็นคลิปที่เยี่ยมมากครับ
ผใทำงานในบริษัท สวิทปลั๊ก( แบรนด์อิตาลี่) มา สิบกว่าปี ยังไม่เคยเห็นใครลงรายละเอียด เรื่องปลั๊กได้เท่านี้เลย สุดยอดครับ
ไทยออกแบบเต้ารับเป็นแบบ ผสม หรือ Hybrid หรือ Universal อิงตามเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เราสั่งซื้อมาจากหลายๆประเทศ
เดิมเราจะนิยมเครื่องใช้ไฟฟ้าจาก อเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรปจะน้อย ช่วงหลังก็มีของจีน
เหตุนี้ ไทยจึงเป็นประเทศที่รองรับการท่องเที่ยวได้ดี ต่างชาติเอาเครื่องใช้ไฟฟ้ามา ส่วนใหญ่จะใช้ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังต้องพก Adaptor เพิ่ม เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ประเทศฝั่งยุโรปอีกหลายมาตรฐาน
เห็นด้วยเต้ารับรุ่นปัจจุบัน ควรออกแบบเป็นเต้ารับแบบเสียบได้เป็นแนวตั้ง 90 องศา จะเสียบได้ 2 ช่อง แต่ออกแบบให้ระยะห่างกันอีกหน่อย เพื่อ ปลั๊ก EU จะได้เสียบไม่ผิดรู
ตลก ตรงปลั๊กเกยกัน …ผู้แก้ไข และกำหนดมอก แบบไฮบริด มีความพยายามอย่างมาก ชื่นชมคับ 👍✅
อยากให้หลายๆคนหันมาสนใจเรื่องไฟฟ้า เพราะเป็นพลังงานที่ไม่มีวันหายไปจากโลก เรามีหลายเทคนิคในการผลิตไฟฟ้า แต่ไม่มีพลังงานอะไรมาแทนไฟฟ้าได้ แม้จะอีก1000 ปีก็ตาม
เยี่ยมครับ นานๆจะเจอช่อง youtube คนไทยที่ให้ข้อมูลแน่นๆ พร้อมทั่งยังฟังง่ายเข้าใจง่ายครับ
ขอบคุณครับ กำลังแพลนสร้างบ้านใหม่ จะได้ติดตั้งให้ถูกต้องปลอดภัยทีเดียวเลย
คุณภาพสุดๆครับ เราต้องคนแบบนี้ในประเทศเยอะๆครับ
สาระดีๆมากครับ กำลังคาใจเรื่อมาตรฐานปลั๊กพอดี เปิดมาเห็นคลิปนี้เคลียร์แลวครับ
กดเข้ามาดูเพราะปกคลิป เป็นปัญหาที่บ้านอยู่ตอนนี้ พอเข้ามา น้องไปห้องสมุด น้องไปสมอ. เอาใจพี่ไปเลยน้อง ขอบคุณสำหรับสรุปที่เข้าใจง่าย
ขอให้ทำต่อไปเรื่องๆนะคับ
ก่อนจะออกมาตรฐานไทยแลนด์สไตล์ 10 ปี ซื้อเครื่องไฟฟ้าอะไรก็ตามผมได้แต่หัวเสียบแบบยุโรปนะ น้อยมากที่จะได้หัวแบน ถ้าจะเปลี่ยนจริงๆ ควรเปลี่ยนเต้าเสียบให้เป็นแบบยุโรปแล้วเน้นให้ทุกบ้านมีสายดินมากกว่าที่จะออกมาตรฐานใหม่ ออกกฎหมายให้บ้านที่สร้างใหม่ๆ หรือซ่อมแชมงานไฟฟ้าต้องเปลี่ยนเต้ารับเป็นแบบยุโรป จะดีกับทุกภาคส่วนมากกว่า
ยุโรปจริงหรือเปล่า ลองวัดดูดีๆ 4mm หรือ 4.8mm เพราะทรงเต้าเสียบมันเหมือนกัน
ตอนนี้ถ้าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผ่าน มอก. ก็ได้ type O แทบจะทั้งหมดแล้วครับ euro แทบไม่มีแล้ว เว้นแต่ได้ของค้างสต็อก หรือนำเข้าแบบไม่ได้ผ่าน มอก.
ใช้มาตั้งนานตั้งแต่เด็กจนจะแก่ เพิ่งจะรู้ความหมายก็วันนี้ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
สุดยอดเลยครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลปลั๊กไฟไทยครับ หาข้อมูลด้านอื่นๆ มาอีกนะครับมีประโยชน์มากครับ
สุดยอดที่ออกมาบรรยายให้เข้าใจ ทางการควรนำเอาของแนะนำนี้ไปปรับปรุง อย่ากินอุดมการณ์ว่ากู่เก่งกว่า
บทความนี้เยี่ยมมาก ดีมาก
เยี่ยมมากเลยครับ คลิปนี้ เล่าที่มา ของไฟจาก 110 V เป็น 200 V และ การใช้ช่วงเปลี่ยนผ่าน ผลกระทบ และ ตัวอย่างของ เพื่อนบ้าน ที่ทำ แบบไทย หาข้อมูล ประกอบ ดีและสรุป ได้ดี เลยดู เหมือนว่าประเทศ เรา ที่ชอบ ไฮบริท จะเจอปัญหา ที่ไม่คาดไม่ถึง และความพร้อม ของผู้ใช้ด้วย
แปลว่าบางที การที่เป็น ลูกผสม ไม่ใช่ ว่าเลือกข้อดี ของแต่ละเรื่อง มาผสมกันแล้วจะดีไปหมด ต้องคิดให้รอยด้าน และความพร้อมของ ผู้ใช้ และผู้ผลิต รวมทั้ง กำลังทรัพย์ ของประเทศ ด้วยใช่ไหมครับ
ผู้ผลิตดันทำ ขาแบนที่เป็น 220v และขาแบน universal 110-250V และขาอียู 4มม universal 110-250V
ไทยทำไฮบริดถือว่าได้ประโยชน์
เต้า national ใช้ดีเสียบอียู 4มม แน่น ปัญหาเป็นกับเต้าที่ราคาถูก
นี่แหละ คุณภาพคน/การศึกษา..ทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญต่อประเทศชาติ
ขอบคุณมากสำหรับ สาระ..(ปกิรูปการศึกษาควรเป็นวาระแห่งชาติ)
เรื่องหลวมไม่มีประเด็นใช้เต้ารับ panasonic มาสิบกว่าปีทุกวันนี้ยังไม่หลวมเลย ปัญหาคือพอเป็นหัวกลมแบบนี้หลายเจ้าทำเต้าเบ่อเร่อจากเดิมพับได้ก็พับไม่ได้แล้วพกพาก็เกะกะมาก
เป็นวีดีโอที่ยอดเยี่ยมมากครับ มีการค้นคว้าหาข้อมูลมาประกอบอธิบาย เด็กสมัยนี้โชคดีจริงๆที่มีคนเสริฟความรู้ให้โดยไม่ต้องเหนื่อยค้นหาเอง
25:31 ปลั๊กตัวผู้ที่ต้องใช้กระแสสูงๆ พวกเครื่องซักผ้า, เตาต่างๆ ทำไว้งอเพื่อป้องกันการเสียบแบบเดียวกันพร้อมกัน เพราะถ้าใช้กระแสสูงพร้อมกันในเต้ารับเดียวมันจะสะสมความร้อนสูงจนอาจเกิดอันตรายได้ ถ้าเป็นเรื่องขี้เกียจเปลี่ยนโมลด์จริง ทำไมทุกยี่ห้อ(มาตรฐาน) ถึงหันในแบบเดียวกัน (แล้วเมื่อผลิตขายได้จำนวนหนึ่งที่มากพอตามจำนวนอายุ shots ก็ต้องทำโมลด์ใหม่มาแทนอยู่แล้ว)
ตลกแล้วแหละ เต้ารับ schuko มีแบบสองเต้าด้วย
ปลั๊ก type อื่นก้เสียบสองอันได้ ปัญหามันอยู่ที่ออกแบบทั้งนั้น
กำลังหาข้อมูลเรื่องเต้าเสียบพอดี แบ้วมาเจอคลิปนี้ สรุปได้เข้าใจง่ายมาก ชัดเจน ขอเป็นกำลังใจให้ทำคลิปดีๆแบบนี้ต่อไปนะคะ
ผมเองเบื่อกับการเสียบของ
ปลั๊กไฟฟ้า ตัวรางเสียบที่หลวม
ใช้ไปนานหน่อย จะหลวมมาก
และที่สำคัญคือ บริเวณรูเสียบ
ของราง จะไหม้ละลาย พลาสติค
ไม่ทนความร้อน ต้องทิ้งไป
ภายในตัวรางเสียบ เคยแกะใส้
ในราง เป็นโลหะบางๆยาว เป็นสื่อ
นำกระแสร์ไฟ ใช้คีมดัดอยู่บ่อยๆ
ตัวหัวเสียบจากเครื่องใช้ สังเกตุ
เห็นว่า หัวเล็ก เหล็กเสียบแคบ พอ
เสียบที่รางปลั๊กไฟฟ้า จะหลวม
มาก ตัองหาซื้อหัวเสียบตัวใหม่
โดยใช้ หัวเสียบเล็กแคบแบนจาก
เครื่องใช้ไฟฟ้ามาเสียบที่หัวเสียบ
ตัวใหม่ที่ซื้อมา แล้วไปเสียบเข้า
กับรางปลั๊กไฟจะเข้าพอดี
ควรจะมี จนท.มาตรฐานอุตสาห
กรรมเข้ามาตรวจ หัวเสียบ กับ
รางปลั๊กเสียบ เพื่อโยงไปถึงบริษัท
ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ผลิตปลั๊ก
ไฟ เสียบให้แน่น แบบเดียวกับการ
เสียบวอลลชาร์จที่ตูดชาร์จของ
เครื่องโทร.มือถือ ไมโคร usb หรือ
เป็น type-c ทั้งตัวเสียบกับตัวรับ
จะเสียบเข้าพอดีแข็งแรง ไม่หลวม
ง่ายอย่าง การเสียบปลั๊กไฟฟ้า
หัวเสียบไฟฟ้า หัวกลมใหญ่ มีหัว
เสียบ 3 แกน ดูจะมั่นคงแน่นดี ทั้ง
ที่หัวกลางที่3 คือสายดิน แต่บ้าน
เราไม่มีระบบสายดิน ดังนั้น แกน
เสียบกลางที่3 จะใช้เป็นตัวยึด
หัวปลั๊กให้แน่นได้ดี ดีกว่าหัวเสียบ
เล็ก2แกน ขาแบนหลวม ไม่รู้หลับ
หูหลับตาทำออกมาได้อย่างไร
รู้สึกรำคาญต่อการเสียบปลั๊กไฟ
ที่หลวมมาก
อึกเมื่อไร ผู้ผลิตจะสนใจทำให้
การเสียบปลั๊กแน่นมั่นคง แบบ..
การชาร์จไฟโทรศัพท์
ฟังแล้วเข้าใจง่ายคนผลิต คลิปตั้งใจทำมากๆ ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ดีๆมีประโยชน์อย่างมาก
ชาวไทยเอาง่ายๆไว้ก่อนเสมอ..ไม่ต้องวางแผนระยะยาว.แก้ปัญหาเฉพาะหน้าเก่ง เช่น สายไฟลงดิน. กระเบื้องปูถนน. รื้อแล้วทำใหม่ๆๆ ได้ออกกำลังกาย ช่วยคนไทยมีงานทำ เศษกิจหมุนวน..ไม่อับจนเงินในกระเป๋า
เอ๊ะ!!! หรือนี่มันวางแผนระยาวไว้แล้วนี่หว่า
😂😂😂😢🤐
ชื่นชมที่ทำคลิปได้ดีมากค่ะ ข้อมูลแน่น เข้าใจที่มาที่ไป น้ำเสียงดี ฟังดูสมเหตุสมผล และบอกวิธีแก้ปัญหาตอนท้ายให้ด้วย สุดยอดค่ะ 🎉
ระยะการเปลี่ยนปลั๊ก คำนึงจากอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าคงค้างในประเทศ ที่นำเข้าและรับผลิตเนื่องจากสมัยก่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าถือว่าราคาสูงมาก เมื่อเทียบเงินเฟ้อในปัจจุบัน แพงกว่าทอง จึงกลายเป็นว่าเป็นข้อดีที่ ไครเอาเครืองใช้ไฟฟ้ามาจากเขตไหนในต่างประเทศก้ยังใช้ได้ ถ้าใช้ไฟ220vเท่ากัน
ผมว่าดีไซน์เต้าเสียบ มาตรฐานของเราดีแล้วนะรองรับได้หลากหลายหัวปลั๊ก ไม่ต้องซื้อหัวแปลงให้ยุ่งยาก เกะกะ และกินพื้นที่เพิ่ม ผมว่าลงทุนกับ เบรกเกอร์ ดีกว่า เซฟชีวิตได้แน่นอน ถ้ามีเด็กมีลูกมีคนแก่ก็ควรจะเปลี่ยนเพื่อความปลอดภัย
ปล.ตั้งแต่ผมเกิดมายังไม่เคยโดนปลั๊กขาแบนของ usa ดูดเลยตอนเสียบ
เข้าใจแล้วว่าที่นักเศรษฐศาสตร์แบ่งประเทศเป็นต่างๆเป็น ประเทศโลกที่1 กับประเทศด้อยพัฒนามันต่างกันอย่างไร! ซาโตริ☘️
เป็นงานวิชาการที่เข้าใจง่ายสําหรับชาวบ้าน ขอบคุณน้องมาก คนรุ่นใหม่ต้องเเบบนี้ครับ
US Plug ไม่น่าจะยกเลิกได้ เพราะเป็น type ที่คนไทยชื่นชอบมาก (เพราะไทยเกลียด EU plug) เวลาซื้อสินค้านำเข้าจะเลือก US Type เสมอ และมีเยอะกว่า EU Type ถ้านับจำนวนปลั๊กในบ้าน
มาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ตัว ก็บังคับให้รองรับไฟ 120-240V แล้วด้วย จึงคิดว่าไม่เป็นปัญหา และเราจะใช้แบบนี้กันไปอีกยาวๆ
สิ่งอำนวยความสะดวกที่ใกล้ตัวทุกคนที่บางคนไม่รู้และไม่ได้ให้ความสำคัญ เพราะการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไม่ดี คุณทำเรื่องนี้ได้ดีและตรงประเด็น มีความรู้มากๆ ชมเชยครับ
ขอบคุณมากค่ะ ผู้หญิงที่ไม่มี background ความรู้ฟังแล้วยังเข้าใจง่าย
นำเสนอได้ดี แต่เสนอไม่ตรงกับความจริง มอก.166-2549 เป็น มอก.บังคับตั้ง 4 ปีแล้ว น่าบอกอะไร ห่วย อะไร ไม่ห่วยคะ
เต้ารับหรือเต้าเสียบหลวม เห็นว่ากันเต้าเสียบหลวมๆเพราะอะไร เต้ารับ มอก.ไทยกับเต้ารับซูโกก็ไม่เหมือนกัน เอามาเปลียบ
เทียบกับทำไม แสดงความคิดเห็นให้FCรู้หน่อยก็ได้ จะดีมั้ยคะ
ขอชื่นชมช่องนี้เลย เนื้อหาแน่น อธิบายเข้าใจง่ายดี :)
กรณีปลั๊กเกยกัน ถ้าออกแบบมุมเอียงจาก 90 องศาเป็นเอียงประมาณ 45 องศา ก็น่าจะแก้ป้ญหาได้
ขอบคุณคลิ๊ปคุณภาพแบบนี้ครับ
ชอบการหาข้อมูลมาคุย ทั้งเข้าไปหอสมุดแห่งชาติ หางานวิจัย
พวก video insert ก็ดี ทำให้เข้าใจง่ายมาก
ชื่นชมในการเตรียมข้อมูล ภาพประกอบ คุณภาพกล้อง แสงสี เข้าใจง่าย ยอดเยี่ยมครับ
เอาตรงๆ นะ ผมรู้มาก่อนแล้วเรื่อง Type O และทำไมบางปลั๊กหลวม แต่ได้ฟังคลิปนี้แล้วเหมือนผมรู้แค่ 30% อะ ขอบคุณมากครับ คลิปคุณภาพสุดๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดี
ปัณหาปลั๊กมีมากครับ
ปลั๊กมีฉนวนที่ขามียาวเกิน
ทำให้จุดสัมผัสของไม่ดีครับ
หมายตัวนำทั้งเต้ารับเต้าเสียบ
สัมผัสกันได้น้อยทำให้เกิดความร้อนฉนวนเกิดรอยไหม้ครับ
ทำไม่ได้ตามมิติมาตรฐานฯ มอก.แถมเต้ารับเสียบขาเดียวได้ใช่มั้ยครับ(ตกมาตรฐานฯเต็มๆ)
ขอบคุณสำหรับความรู้มากๆเลยครับ ได้รู้อะไรเพิ่มเติมอีกเยอะ ในแง่ปลั๊ก Type-O ผมเห็นต่างนิดหน่อยนะ ผมชอบ Type-O นี่มากกว่าจะให้ไปเป็น US หรือ Schuko เพราะอุปกรณ์สมัยนี้หลายๆอย่างมักทำมาให้รับไฟได้กว้างตั้งแต่ 100-240v (โดยเฉพาะพวก Adaptor) มันทำให้หาของใช้ได้ง่ายกว่า หรือเลือกรูปแบบได้หลากหลายกว่า และถ้าเต้ารับคุณภาพดีๆ ผมไม่เคยเจอปลั๊กตัวผู้ US หรือ Schuko หลวมนะ เจอแต่ Euro มาตรฐานเก่านั่นแหละที่หลวม ซึ่งเดี๋ยวนี้รู้สึกว่าหาไม่ค่อยได้แล้ว
ลองนึกเล่นๆถึง Adaptor ชาร์ทมือถือขา US ที่เคยพับเก็บได้พกพาสะดวก ต้องมาจับยัดขาแบบ Schuko สิ คงกินพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ประสบการณ์เดียวกัน
ผมเห็นต่างเรื่อง schuko ครับ ผมชอบ เพราะเวลาเสียบใช้งาน มันไม่เกะกะ อีกอย่างสามารถ สลับด้านเสียบได้ด้วย คล้ายๆ type-c
จริงๆอยากให้ เฉพาะปลั๊กไทย ออกแบบมาให้มีแถบ G ของ schuko แล้วสามารถหักขา G เพื่อใช้เป็น schuko ได้ด้วย
เผื่อในอนาคต มีปลั๊กแบบนี้ 100% เราก็สามารถเปลี่ยน socket เป็น schuko ได้
เห็นด้วยเรื่อง schuko มีความสะดวกสามารถกลับด้านได้ แต่ผมเคยเจอประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีกับการเสียบสลับขั้วกับพัดลมดังยี่ห้อนึง ระบบปุ่มสัมผัส สมัยยังใช้เป็น 2 ขาแบบ us มีใช้อยู่ 2 ตัวครับ วันดีคืนร้ายไฟกระชากครับ ทำเอาแผงวงจรพัดลมทั้ง 2 ตัวนี้เดี้ยงพร้อมกันไปเลย พอแกะดูถึงได้รู้ว่าจริงๆเค้ามีวงจรป้องกันมานะ แต่มันอยู่หลังขา L ปลั๊กผมดันไปเสียบสลับขั้ว ไอที่ควรจะป้องกันมันเลยไม่ได้ช่วยอะไร เสียเงินซ่อมแผงวงจรกันไปทั้งๆที่มอเตอร์ก็ยังดี ไม่แน่ใจว่าถ้ามีกราวน์ แล้วเสียบสลับขั้ว จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้
ช่องนี้ไม่พลาดแน่นอน งานคุณภาพทุกชิ้น😊❤🎉
เป็นคลิปที่มีประโยชน์มากค่ะ
ไม่นึกเลยว่าเต้าเสียบและเต้ารับจะมีความซับซ้อนขนาดนี้
จะเปรียเทียบให้นิดหน่อยครับเกี่ยวกับเต้ารับ สมัยก่อนเต้ารับเนชั่นแนลหรือพาราโซนิตแท่28บาท ปลอม18บาท ของแท้ใช้มา30ปีจะเอาอะไรเสียบก็ไม่หลวม แต่ช่างรับเหมาไฟฟ้าจะเอาของปลอมไปติดให้ลูกค้าเพื่อกินส่วนต่าง10บาทครับ ของปลอมใช้ได้2ปีก็หลวม เพราะตอนแท็กไม่ดี เต้ารับทุกวันนี่ทีมีชายคุณภาพแย่ตามที่ทางร้านนำมาขาย แกละดูตอนแท็กบางและไม่ดีดตัวกลับเข้ารูป ตัวละ30บาท แบบคู่50บาทนี้ไม่ดีทั้งนั้นครับไม่ถังปียึดหมดครีบ
จากข้อมูลเชิงปฏิบัติที่คุณบอก ถ้าวิเคราะห์ดี ๆ พิจารณาดี ๆ จะเข้าใจได้ว่าคีย์ของปัญหาปลั๊กหลวม จริง ๆ คิอเต้ารับ ไม่ใช่เต้าเสียบ เพราะถ้าเต้ารับในบ้านเรามีมาตรฐานเทียบเท่าของ Panasonics แล้ว ผู้ใช้อุปกรณ์ทั้งในและต่างประเทศจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าใดในพิกัดกระแส 16 แอมป์ จะไม่พบปัญหาอะไรเลย
ความรู้ที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้
แต่น้อยคนนักที่รู้
ใช้ปลักไฟฟ้าทุกวัน เพิ่งมารู้ความแตกต่างของหัวเสียบปลักไฟก็วันนี้แหละ
ขอบคุณมากครับ สำหรับการแบ่งปันความรู้นี้
กดไลท์ กดแชร์ และ กดติดตามให้แล้วครับ
คอนเทนคุณภาพจริงๆ ชื่นชมครับ
ทำดีมากนะครับ ขอชมจากใจที่รู้สึกชื่นชมน้องๆ
ทำข้อมูลดี ทำต่อไป สนับสนุนครับ
ปัจจุบัน ถ้าใช้ตัวเต้ารับที่ผ่าน มอก. (ที่ในคลิปบอก Type O) กับปลั๊กพ่วงที่มันมีแผ่นปิด แน่นเปรี๊ยะเลยครับ ยอดเยี่ยมมาก
ทำคลิปได้ละเอียดดีมีสาระมากครับ คลิปนี้อาจจะพัฒนาระบบปลั๊กไฟให้ดีขึ้นมาตราฐานขึ้นไปอีก ในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
ดูแล้วพัฒนาต้องเสนอขาย เต้ารับ-เต้าเสียบ ไม่ใช่เสนอขาย adapter และต้องเสนอความ“ห่วย”ของปลั๊ก
กับความไม่“ห่วย”ของปลั้กไทยว่าต่างกันที่ไหนบ้างซิครับ😊🙏
สงสัยเรื่องนี้มาเป็น 10 ปีแล้ว ขอบคุณมากๆ เลยครับ
ดีมากๆ download เก็บไว้เลยคลิปนี้ อนาคตสร้างบ้านจะได้ไปถูกค่ะ ปกติใช้อเดปเตอร์ตลอด ไปๆมาๆ ไทย สวิตฯ
ดูคลิปนี้แล้วผมได้ความรู้เรื่องปลั๊กไฟมากๆเลยครับ ต้องขอบคุณจริงๆที่ทำคลิปนี้ขึ้นมา
หมุนเต้าเสียบ 45 องศา จะแก้ปัญหาเสียบปลั๊กคร่อมได้ครับ
เพิ่มเติมข้อมูลคือระยะและขนาดแท่งกราวน์ด์ของ Type O เท่ากับของ Type B หรือปลั๊กอเมริกาแบบมีกราวน์ด์ 3 ขาครับ
ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ครับ ซึ่งไม่เคยมีใครมาอธิบายละเอียดขนาดนี้ ชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ทำคลิปต่อไปครับ
ขอบคุณมากครับ
เป็นคลิปที่มีประโยชน์มาก ข้อมูลดี อธิบายได้ชัดเจนมาก ขอชื่นชมครับ
ยอดเยี่ยม!
คนคุณภาพครับ ยอมรับเลย อินเตอร์เน็ตไม่จบก็ต้องไปที่คนคุม (สมอ.)
ฟังแล้วหลับสบายดีครับ หยอกๆ 😂
ตามที่น้องเข้าใจ การเสียบคร่อมไม่ได้เป็นข้อ 1.นั้นไม่ใช่ ข้อ1.เป็นการกำหนดใช้กับเต้ารับแบบติดผนังเรียบ
คือ เต้ารับต้องมีการป้องกันการเสียบขาเดียวได้(การเสียบขาเดียวได้อันตรายมาก) ส่วนการเสียบคร่อมตาม
ที่น้องเข้าใจควรทำหนังสือให้เจ้าหน้าที่ สมอ.ตีความดีกว่า(การเสียบคร่อมอันตรายน้อยกว่า)ใน มอก.ไม่มีข้อกำหนดไว้ จะได้ทำให้ถูกต้องเลยครับ❤👍👍👍
ข้อมูลดีมากๆ เลยครับ ไม่เคยรู้มาก่อน อยากให้ประเทศไทยทำให้มันปลอดภัยเหมือนสากลมาก
หาข้อมูลจริง อธิบายชัดเจนเคลียร์มาก 👍👍👍👍👍
ช่องคุณภาพจริงๆ
จากไม่รู้อะไรเลยก็พอจะรู้บ้าง ขอบคุณมากค่ะ
❤❤❤ ขอบคุณข้อมูลเชิงลึก ที่มีสาระเขิงข้อเท็จจริง และได้ความรู้มากๆ เคยรำคาญมาตลอด ตั้งแต่ใช้สมาร์ทโฟน เพราะมันให้ขากลมมา และเต้ารับมันไม่แน่น เลยต้องหาหัวแบนมาเปลี่ยน
ความรู้แน่นๆ เลยค่ะ ขอบคุณที่ทำคอนเท้นต์ดีดีแบบนี้ออกมานะคะ
เปิดมาเจอช่องนี้โดยบังเอิญ ชื่นชมเลยว่ามีการทำเนื้อหาและข้อมูลที่ดีมาก พร้อมกับการค้นหาข้อมูลและแหล่งอ้างอิง ขอเป็นกำลังใจให้ทำคลิปดีๆต่อไป ^^
ขอบคุณมากครับ ที่ให้ความรู้ ซึ่งผมรู้สึกขัดใจมานานตั้งแต่มีปลั๊กต่างๆกันในประเทศไทย มีคำถามอยู่ในสมองก็จำว่ามันทำไมต้องเป็นอย่างนี้วะ ส่วนใหญ่ใช้ไม่ค่อยได้เลย
ขอบคุณที่ทำคลิปนี้มา หาข้อมูลไม่ใช่ง่าย ทรงคุณค่ามากครับ
ผมก็นุกว่าท้ายคริปจะมีของมาป้ายยา ปัดโธ่ธธ
คอนเทนยอดเยี่ยม ชื่นชมมม
ทำไมผมพึ่งเคยเจอช่องนี้ โคตรคุณภาพ