ท่อนปัญญาวุฒิฯนี่เคยทำเราขำท่อนเตเตบ่อยมากเพราะเวลาออกเสียงร้องมันเน้นจนตลกแปลกๆ บวกกับความไม่คุ้นภาษา แปลว่าอะไรไม่รู้ ตลกไว้ก่อน😂 พอมาฟังคลิปนี้เพิ่งรู้เลยว่าเตทั้งสองคำมันอยู่คนละท่อนกัน...ว่าแต่แบบนี้ เต กับ they คือคำเดียวกันรึเปล่าคะ? 25:55 พอได้รู้ความหมายของชื่อเทวทัตก็คิดอะไรขึ้นมาได้เลยค่ะ ผู้ที่เทวประทาน...แล้วธรณีรับไป😂 แต่ชอบความเชื่อมรากชื่อเทวทัตกับ Theodore มากค่ะ ถึงกับไปค้นชื่อ Theodore ในเว็บ Behind the Name ละก็แปลว่า Gift of God จริงๆ ด้วย ทึ่งมากค่ะ!
สปอนเข้าเหอะค่ะ สนุกมาก ๆ เจ๊ป้องกล่าวว่า.....
อีพีนี้ Legend มากกก ขนลุกอย่างที่พี่พงษ์บอกเลย พี่ต่อเหมือนปล่อยของมาแบบ ปึ้ง ปึ้ง ปึ้ง แล้วกระแทกเข้าหน้าจนแบบร้องกรี้ดออกมาเลย ความรู้อัดแน่นมาก ไม่ชิน 55555555555555
แล้วในหัวจำแต่ที่มาของ อุจจาระ โอ้ย จังหวะโผล่ ผลุบ!! ออกมา คือลั่น
@@Jjornaiออกมาผลุบ มีคนกินให้ทันทีด้วยนะ 55555
@@Jjornai 55555
ดิตถ์ แปลว่า ท่าเรือ ในภาษาสันสกฤต ค่ะ
อุตร มาจากคำว่า อุดร แปลว่า ทิศเหนือ
อุตรดิตถ์ จึงหมายถึง ท่าเรือทิศเหนือ เป็นนามเพื่อสื่อว่า เดิมเคยเป็นท่าเรือ ปลายทางในทิศเหนือ ของแม่น้ำยม ตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนจะเดินทางทางบก เพื่อไปสู่ดินแดนล้านนาค่ะ เพราะยุคนั้น แม่น้ำยมช่วงอุตรดิตถ์ มีเกาะแก่งเยอะมาก ทำให้เดินทางด้วยเรือย้อนทิศขึ้นไปได้ยากค่ะ จึงต้องเดินทางทางบกเป็นหลักจากช่วงนั้นของแม่น้ำไปค่ะ
ขอบคุณค่ะ สุดยอดเลย^^
24:00 ขออนุญาตเพิ่มเติมครับ
ปะ ในบาลีไวยากรณ์ อยู่ในหมวด อุปสัค เหมือนกัน แปลว่า ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก
ปะ+ญา = ปัญญา = รู้ทั่ว ในภาษาไทยเลยให้นิยามกับคนที่ ฉลาด รู้เยอะ รู้มาก ว่า เป็นคนมีปัญญา
ถูก/ผิด อย่างไรก็รบกวนชี้แนะด้วยครับ
ปรฺ จาก ปรัชญา ในสันสกฤตก็ด้วยหรือเปล่าครับ
ปารมิตา เพื่อนผมชื่อนี้เลยครับ
31:04 ขอเม้นต์หน่อยนะพี่ เหมือนที่จับทางได้จากการดู ภวันตุเต มาต่อเนื่องหลายๆ ep. เหมือนผมจะสังเกตได้ว่า ไวยากรณ์ภาษาบาลีเหมือนภาษาพม่าอยู่นิดนึงนะครับ เหมือนตรงที่ verb หลักของประโยคชอบอยู่ท้ายสุดของประโยคเสมอ ในการแต่งประโยคภาษาพม่าหรือการแปลภาษาพม่า การหา verb ว่าประธานทำอะไรให้ไปดูที่ท้ายประโยค หาคำกำกับปิดท้ายดีๆ แล้วจะเจอ verb แถวนั้นตลอดครับ
แต่พม่าดีตรงที่มี relative pronouns เลยทำให้ดูง่ายกว่าบาลีนิดนึงครับ
แต่ใดๆ ส่วนตัวผมนะ การที่กริยาอยู่ท้ายประโยคเป็นอะไรที่โคตรท้าทายคนไทยเลย โครงสร้างภาษาคือผิดจากที่เราเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษแบบสุดๆ การเรียนภาษาทรงนี้จำเป็นต้องรีเซ็ตระบบโครงสร้างจริงๆ 555555
เก็ทเลยว่าทำไมจุฬาถึงจัด category ภาษาพม่าให้เป็น "ภาษาเอเชียใต้" ทั้งๆ ที่พม่าติดไทยมีชายแดนร่วมพันกิโล และภูมิศาสตร์พม่าก็จัดเข้าในกลุ่มของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย มันไม่ใช่แค่ความที่พม่ายืมภาษาบาลีมาใช้ แต่เพราะโครงสร้างไวยากรณ์ก็น่าจะเป็นเหตุผลนึงด้วยครับ
ภาษาที่วางกริยาอยู่ท้ายประโยค มีอีก ภาษาครับ คือ ภาษาเกาหลี กับ ภาษาญี่ปุ่น ด้วยครับ
@@nawaminTh เรียนแล้วมีงงมั้ยครับ ผมเองคืองงมาก ตอนเรียนพม่ามีมึน เยอรมันตอนมองในแง่ของการเรียบเรียงประโยคกลายเป็นง่ายไปเลยครับ
@@BORWORN555 จะเรียกว่างงมั้ย ใช้คำนี้ไม่ได้ ต้องใช้คำว่า ยากมาก ครับ😂 เหมือนต้องปรับระบบการคิดใหม่เหมือนที่คุณเรียนภาษาพม่าเลยครับ
ภาษาบาลี สันสกฤต มีการผันการกครับ อย่างเช่น "อาจาริย" ถ้าเป็นประธานของประโยคจะผันเป็น อาจาริโย ถ้าเป็นกรรมของประโยคจะผันเป็น อาจาริยัง ก็เลยทำให้รู้ว่าแต่ละคำทำหน้าที่อะไรในประโยค อย่างเช่น
ทารโก ตารัง ปัสสติ (เด็กชายดูดาว)
ถ้าสลับตำแหน่งกัน
ตารัง ทารโก ปัสสติ
ปัสสติ ตารัง ทารโก
ฯลฯ
ก็จะมีความหมายเหมือนเดิม
ถ้าต้องการเปลี่ยนให้เด็กชายเป็นกรรมของประโยคก็ต้องผันเป็น ทารกัง คำว่าดาวก็เหมือนกัน ถ้าเป็นประธานของประโยคก็จะผันเป็น ตารา
ภาษาบาลีกับสันสกฤตจะดูการผันการกเป็นหลัก ตำแหน่งของคำในประโยคเลยไม่สำคัญ ถ้าอยากเน้นคำไหนก็เอาคำนั้นวางข้างหน้าได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปที่เห็นได้มากที่สุดจะเรียงแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ครับผม
ภาษาบาลีมี 8 การก เป็นประธาน เป็นกรรม เป็นเครื่องมือ แสดงสถานที่ เป็นเจ้าของ ฯลฯ มี 2 พจน์ นามหนึ่งคำผันทีผันได้ 16 แบบ ถ้าเป็นสันสกฤตมี 3 พจน์ ผันได้ 24 แบบ ไม่รู้คนสมัยก่อนจำกันได้ยังไง
@@Ernaldus ขอบคุณสำหรับความรู้เบิ้มๆ ค้าบ แต่อ่านแล้วรู้เลยว่า วุ่นวายกว่าเยอรมันไปอีกกกก
เยอรมันหลักๆ ก็มีในเรื่องของการผันคำกริยาที่ส่วนตัวแค่เรียน A1 ก็ยังรู้สึกได้ว่า ภาษาของเขายากขึ้นก็มีเรื่องนี้เป็นส่วนด้วยครับ
สำหรับใครที่ไม่รู้ความยากของภาษานี้ เอาในส่วนของคำกริยา คำกริยาของภาษาเยอรมันมีการผันตามประธานและผันตาม Tense คล้ายภาษาอังกฤษ แต่ภาษาเยอรมันจะละเอียดและซับซ้อนกว่านั้นมากครับ
โดยเยอรมันจะผันตามประธานประโยคก็จริง แต่ค่อนข้างแยกในรายละเอียดและผันเฉพาะกับประธานนั้นๆ ประจำ ถึงจะมีหลักการแต่ก็ไม่สามารถใช้ได้กับทุกตัว และเขาก็ผันตาม Tense อีก ซึ่งหมายความว่า แต่ละ tense ก็จะใช้การผันคนละแบบไปอีก และคำกริบาของเขาก็จะมีคำกริยาแยกได้กับแยกไม่ได้อีก ซึ่งมีผลอย่างมากๆ ในการแต่งประโยคครับ
(กริยาแยกได้ ผันหางตามประธานและ tense และเอา prefix ที่แยกได้ไปปิดท้ายประโยค)
(ปล. ความรู้แค่ A1 เท่านั้น ใครเก่งใครแม่นกว่านี้แชร์ได้นะครับบ)
เป็นคำกล่าวบทไหว้ครูที่เราใฝ่ฝันอยากทำหน้าที่มาก เพราะเป็นบทที่ฟังแล้วสวยงาม ศักดิ์สิทธิ์ แล้วพอมาฟังพี่ต่อเล่าความหมายของแต่ละคำเลยทำให้เห็นเลยว่า คำกล่าวภาษาไทยคือการแปลขยายความสละสลวยสวยงาม วนจากหลังมาหน้ากลับมาได้ครบถ้วนกระบวนขยายความมากๆ
นี่รับบทอ่านหน้าแถวตอนเรียนรด.ภาคปกติ ตลอด 3 ปีครับ อ่านไปขนลุกไป ทั้งส่วนบาลีและในส่วนของกาพย์ฉบัง 16 ที่เป็นส่วนขยายครับ
@@BORWORN555 สุดยอดเลยค่ะ คุณต้องเสียงเพราะมากๆแน่เลย >
รายการนี้เหมือนอาหารสมองที่พาสมองเราไปกินอาหารที่เราเคยกินเคยรู้จัก แต่พอเอามาแยกคำก็เหมือนแยกวัตถุดิบ รากคำก็คือที่มาของวัตถุดิบ พอสมองเราได้ลองกินอาหารชนิดเดิมนั้นอีกทีก็จะสามารถสัมผัสถึงความลุ่มลึกของรสชาติมันได้มากยิ่งขึ้น ขอบคุณรายการนี้มากค่ะ
เป็นการเปรียบเทียบที่สวยงามและเห็นด้วยครับ
ราก gn เจออีกเยอะเลยครับ
Ignore/ignorant
Diagnosis
Prognosis
(Gnosis ภาษากรีก แปลว่า knowledge)
ปล. ว้าวซ่ากับ Theodore = เทวทัต มาก
และว้าวกับ baghdad ถ้าเขียนแบบบาลีจะเป็น ภคทัต
@@misteryimzว้าวกันอย่างต่อเนื่อง
theo = เทว
a (ไม่) + theo + ist (ผู้ซึ่ง)
atheist = ผู้ซึ่งไม่นับถือเทพใด
แปลไทยว่า ผู้ไม่นับถือศาสนา
ทุกอีพีดีอยู่แล้วแต่อีพีนี้คือดีๆๆๆที่สุด ชอบการเรียนรู้รากศัพท์แบบนี้มากกกค่ะ เยอะๆๆด้วย ภาษาอังกฤษเรายังเรียนได้แล้วทำไมถึงไม่เคยมีใครสอนกับภาษาไทยให้สนุกแบบนี้เลย พี่ต่อคนไทยคนแรกสุดๆ
EP นี้สุดมาก สะใจสายเนิร์ดมาก
คำว่า ทา ที่แปลว่า ให้ ในบาลี นี่ ตรงกับคำว่า da ในภาษาละติน เหมือนกันที่แปลว่าให้ มอบให้
เพราะงั้น คำว่า Theodore ตัว dore น่าจะรากมาจาก คำว่า da ที่แปลว่าให้ ในละติน และ ตรงกับรากร่วม ta ใน บาลี
ภาษากลุ่มนี้มีรากร่วมแตกแขนงเยอะมากจริงๆ
สปอนเข้าหน่อยค่าาาาา วิวแสนทุกตอนนะคะ ทาร์เก็ตกรุ๊ปกว้างเป็นแม่น้ำเลยค่ะ
+💯
เจ๊ป้องจะแก้เกมกลับมั้ยว่า หัวของจิโต้ทำมาจากหนังไข่😂5555555
55555
ตอนนี้ top form มากๆ พี่ต่อพาไปไกลมาก ชอบมาก การเห็นความเชื่อมโยงทางภาษาจากรากสู่ปัจจุบัน แล้วเหมือนมันช่วยเชื่อมโยงอะไรบ้างอย่างในหัวเรา ชอบมากๆ รายการนี้ เป็นรายการที่ดีมากๆครับ
เท่าที่ตามดูมาทุกอีพี รู้สึกว่าเคมีของของพี่ต่อและอาจารย์พงษ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแง่ของความสนิทสนม รู้สึกว่าอาจารย์พงษ์ไม่ค่อยเกรง ดูผ่อนคลาย ดูเป็นกันเองมากขึ้นค่ะ 😊😊
ความสนุกอีกอย่างคือบาลีมันเป็นภาษาอินโดยูโรเปียน ร่วมรากกับอังกฤษ เชื่อมโลกตะวันตกกับตะวันออกกันไปมา
แล้วพอเป็นพี่พงษ์คือเชื่อมสนุกเลย
แล้วไทยเราซึ่งไม่ได้มีเชื้อสายร่วม แต่รับภาษาเขามาใช้ สนุกดีจัง
ท่อนปัญญาวุฒิฯนี่เคยทำเราขำท่อนเตเตบ่อยมากเพราะเวลาออกเสียงร้องมันเน้นจนตลกแปลกๆ บวกกับความไม่คุ้นภาษา แปลว่าอะไรไม่รู้ ตลกไว้ก่อน😂
พอมาฟังคลิปนี้เพิ่งรู้เลยว่าเตทั้งสองคำมันอยู่คนละท่อนกัน...ว่าแต่แบบนี้ เต กับ they คือคำเดียวกันรึเปล่าคะ?
25:55 พอได้รู้ความหมายของชื่อเทวทัตก็คิดอะไรขึ้นมาได้เลยค่ะ ผู้ที่เทวประทาน...แล้วธรณีรับไป😂
แต่ชอบความเชื่อมรากชื่อเทวทัตกับ Theodore มากค่ะ ถึงกับไปค้นชื่อ Theodore ในเว็บ Behind the Name ละก็แปลว่า Gift of God จริงๆ ด้วย ทึ่งมากค่ะ!
ชอบพี่พงษ์มากกกกก นางตกใจคำศัพท์จนจะหงายหลังไปเลย ชอบมากเด็กเนิร์ดดด
ภาษาญี่ปุ่นก็เป็นอีกภาษานึงที่ไม่มี relative pronoun ครับ คำขยายจะอยู่หน้าคำนาม บางทีขยายเป็นประโยค ๆ กว่าจะหานามเจอ ตาเหลือก 😂
ส่วนอีกอย่างนึงที่อยากเห็นคือชื่อร่วมรากครับ เพราะผมรู้สึกว่าน่าสนใจที่ชื่อบางชื่ออยู่คนละวัฒนธรรมแต่กลับเชื่อมโยงด้วยรากทางภาษา เช่นเทวทัต กับ Theodore อีกชื่อนึงที่ผมคิดได้ไว ๆ ก็คือ Eugene กับ สุชาติ เพราะ eu ร่วมรากกับ สุ และ gene ร่วมรากกับ ชาติ (ถ้าใกล้เคียงสุดก็เป็น ชน แต่ไม่ค่อยเห็นคนชื่อ สุชน เลยเอาสุชาติที่ฮิตกว่าแทน) ประมาณนี้ครับ
เคยลงเรียนภาษาบาลี แล้วรู้สึกว่าเป็นภาษาที่ยากและน่าเบื่อมาก ท้อ จนเลิกเรียน แต่พอมาได้เจอพี่ต่อสอนภาษาบาลีแบบนี้ สรุปได้เลยว่าสาเหตุที่นักเรียนรู้สึกว่าภาษามันน่าเบื่อ ยากเป็นเพราะคนสอนกับวิธีการสอนต่างหาก ขอบคุณนะคะ อยากให้ทำต่อไปเรื่อย ๆ
ขอให้สปอนเซอร์เข้าเร็ว ๆ จะช่วยอุดหนุน❤❤
คุณแดงต้องเปิดรายการใหม่ให้ Jito สอนภาษาบาลีสันสกฤตให้เป็นเรื่องเป็นราวแล้วแหละ เพลินมากกก 😂❤
คุณเท่าที่ผมเคยอ่านเจอ นักวิชาการได้สันนิษฐานว่า แผลงมากคำว่า “ขุน” รากศัพท์ร่วมกับ ภาษาจีน 君 ญี่ปุ่นก็มีใช้ คือ “คุง” แรกเริ่มแปลว่า ผู้ปกครอง เหมือนพ่อคุณ แต่ต่อมา มีใช้ในความหมายกว้าง คือ ใช้นำหน้าคนที่เรายกย่อง แล้วแผลงให้เหมือนบาลี คือ คุณ ฉะนั้นในภาษาไทย ขุน-> คุณ ถ้าเป็นคำไทยแท้ใช้คำว่า เธอ ซึ่งสมัยก่อนใช้เรียกเจ้านาย เช่น พระเจ้าลูกเธอ ฯลฯ ต่อมาก็ใช้เรียกคนปกติทั่วไปครับ
กราบใจทั่งพี่ต่อ พี่พงศ์และทีมงานที่สร้างสรรค์ EP นี้ค่ะ สามารถอธิบายทั้งคำแปลและไวยากรณ์ที่ยาก ให้เข้าใจได้ง่ายๆ สุดยอดมากๆค่ะ❤
อุตรดิตถ์ เหมือนจะแปลว่า ท่า(น้ำ)ทางด้านเหนือ มั้งครับถ้าจำไม่ผิด อุดร+ดิตถ์
คิดเหมือนกันครับ
เพราะในบาลีไวยากรณ์ ติตฺถ แปลว่า ท่าน้ำ อุตร หรือ อุดร แปลว่า เหนือ
อุตรดิตถ์ น่าจะแปลว่า เมืองท่าทางเหนือ เพราะสมัยก่อน อุตรดิตถ์ เป็นเหมือนศูนย์กลางทางการค้าของทางภาคเหนือ
กำลังจะเข้ามาตอบเลย
อยากให้คุณต่อ ได้คุยกับคุณแพร์รี่ ต้องสนุกแน่เลยค่ะ เพราะทั้ง 2 คนเล่าเรื่องศาสนาให้สนุกได้
จริงค่ะ 5555
เอาจริงๆนะครับ รายการโครตทรงคุณค่าเลยครับ
สปอนเข้าทีจ้าาาาาาาาาาาา
คนหล่อหุ่นสเปค แก้ผ้าให้เราดูในที่สาธารณะ จะเป็นอาจารของเรา แต่อาจจะเป็นอนาจารของคนอื่น
พี่ป้องจามแล้ว จามอีกแน่นอน…ถูกนินทาสะขนาดน้านนนน
ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ
มีความรู้ผสมความบันเทิงที่ลงตั๊ว ลงตัว…
ว้าวกับวิวัฒนาการของ ‘gn’ มากเลย ❤❤❤❤❤
ขอบคุณพี่ต่อที่ทำให้เข้าใจคำกล่าวที่ว่า “แสงออกหัว ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ชอบรายการนี้มากๆค่ะ สงสัยมานานแล้วภาษาที่เราใช้กันทุกวันนี้มันเชื่อมโยงกันมาไกลมาก แต่ไม่มีใครมาให้ความรู้เราได้เลย ขอบคุณรายการนี้มากๆค่ะ❤❤
ไม่เข้าใจตั้งแต่คำว่ากรอแล้วครับ 555
ไม่ใช่เด็กรุ่นเทปคาสเซทซินะ 😂
โถลูกเอ๊ย
😂😂😂😊
กดปุ่มตรงเทป ลูกศรสองอันแช่ มันก็กรอเทปแล้ว
สังเกตดีๆ สัญลักษณ์หลายอย่างเขาก็ยังใช้ตามแอปอยู่นะ แค่ไม่รู้ว่าสมัยก่อนเขาเรียกแบบนี้แหละ 555555
Theodore = เทวทัต = ของขวัญจากพระเจ้า
ทำให้นึกถึงชื่อ “Theodora” ในเรื่อง Wizard of Oz หรือแม่มดใน The Wicked เลยค่ะ
ที่แท้นางก็คือ เทวทัต ในเวอร์ชั่นผู้หญิงนี่เอง !
คือคำที่เคยเรียนไปแล้วใน ep ก่อนๆ พี่พงษ์จะจำได้ตอบมาเป๊ะๆ ในขณะที่ดิฉัน.. มีแต่ความว่างเปล่า
ยังดูไม่จบแต่ว้าวหลายตรงมากๆๆ สนุกมาก ขอบคุณพี่ต่อค่ะ
กฎ apple สามารถอธิบายด้วยกระบวนการทางสัทวิทยาเรื่อง consonant epenthesis คือ การเพิ่มเสียงพยัญชนะเพื่อหลีกเลี่ยงการเว้นช่วง/ช่วงหยุดระหว่าง 2 พยางค์อันเกิดจากการชนกันของสระ 2 เสียงที่เกิดใน 2 พยางค์ต่อเนื่องกัน (vocalic hiatus) ซึ่งจะเอื้อต่อความลื่นไหลในการออกเสียง (speech fluidity) ทั้งนี้ ไม่ได้มีแค่เสียง n หรือ น. ยังมีเสียงอื่น ๆ อีก เช่น doing ซึ่งมีการเพิ่มเสียง w เข้าไปเป็น do-w-ing (ออกเสียงคล้าย ดู หวิ่ง) แทนที่จะออกเสียงคล้าย ดู อิ่ง หรือแม้แต่คำว่า lion ที่แม้ในพจนานุกรมทั่วไปก็ไม่ได้พูดถึงประเด็น consonant epenthesis เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่มักเกิดในการออกเสียงแบบไม่ระมัดระวังตัว (unconscious speech) ที่ฝรั่งอาจแทรกเสียง /j/ เข้าไประหว่าง 2 พยางค์ในคำ ๆ นี้ กลายเป็นออกเสียงคล้ายว่า ไล้ เหยิ่น แทนที่จะเป็น ไล อ้อน อย่างที่เราคุ้นเคยในฐานะผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศค่ะ
14:15 คุณ นึกถึง เส้น คุนาฟา ที่ทำให้ช็อกโกแลตดูใบ แปลว่าเส้นเหมือนกัน😮😮😮
รอบนี้ทายถูกด้วยว่า อาจารย์กะ อุจจาระ มีรากเดียวกัน ขอบคุณนะคะพี่ต่อที่มาชี้แจงแถลงไข ชอบๆ รออีพีต่อไปเลยค่ะ
ถ้าอยู่ดีๆ เพื่อนที่เราไม่ได้เชิญ โผล่มาที่บ้านเรา เราเรียกเขาว่า อุจจาระ ได้ไหมคะ?
เราสามารถสวดบทนี้กันผีได้ไหมคะพี่ต่อ เดี๋ยวนี้ผีมันไม่กลัวนะโมตัสสะแล้ว มันสวดตามได้อีก
ต้องสาปแช่งไม่ให้ไปเกิด
ตอนเด็กไม่เคยสวดมนต์ภาษาบาลีเลย สวดมนต์ก็ตามๆๆไปงั้นๆ ไม่เคยตั้งใจ แต่สำหรับบทปาเจรากลับจดจำได้แม่นยำ แล้วอยากร้องตาม อยากร้องจนจบ คนที่ประพันธ์นั้นเก่งมากๆๆๆๆ
เพิ่งกินข้าวแล้วมาดูคลิปนี้ เจอ 8:40 เข้าไป อิ่มเลย 5555
เหมือนกันเลยค่ะ จุกอยู่คอ🤣
ด้วยคน กำลังเคี้ยวเลย😂
33:23 อันนี้หนักเลย 55555
เย่ๆ เห็นปุ๊บ กดเข้ามาปั๊บ
พี่พงศ์ อ๋ออออออออออออออออออออออ เผื่อชาวช่องทุกคนแล้วค่าาาา😂
เป็นรายบุคคล ขอบคุณทีมงานมากๆค่ะ
รายการนี้มันปังมากก หนูชอบมากกก ชอบสวดมนมากขึ้นเลยค่ะ
อย่าเพิ่งลงคลิปใหม่นะคะ ยังไม่ดูเลย เมนต์ก่อนนนนน
สนุก และ ได้ความรู้ ชอบมากเลยครับ
พี่ตัดได้ดีแล้วค่ะ หนูดูอยู่สองสามรอบ
พี่ป้องจะหยุมหัวพวกพี่ต่อพี่พงษ์ไหมคะ รู้สึกเป็นห่วง
ฟังเพลินมากกค่ะ
อยากทราบความหมายของบทบูชาพระวิษณุกรรม
โอม นะโม ภะคะวะ เทวา สุเทวายะ (3 จบ)
อะหังวะโต พระวิษณุกรรมเถโร อะโตวะหัง นิติวะตัง ลาภังวะโส
ขอบคุณมากครับ
ความรู้แน่นๆๆๆๆๆ 😊😊 ขอบคุณคุณต่อ
ฟังเพลินมากค่ะ ได้ความรู้ดีมาก
Ep นี้คือกรี๊ดดดมากกกก สนุก ชอบความเร็วประมาณนี้เลย ฟินมากกกกก
อีพีนี้สุดมาก ขนลุกตลอดตอนรู้ว่าคำนี้เชื่อมอันโน้น เชื่อมไปอันนี้อีก อู้หูวว
กำลังอยากให้แปลความหมายของปาเจราพอดี เยี่ยมมากค่ะ ❤❤
อยากฟังเรื่อง
บทศีล5 ปาณาติปาตา
บทงานศพ กุสะลา ธัมมา
+1 อยากฟังบทสวดอภิธรรม สงสัยมานานมาก
สนุกมากเลยค่ะ รู้รากศัพท์หลายคำเลย 🥰🙏🏻ขอบคุณค่ะ
ทำให้นึกถึงคำภาษาสันสกฤตอันนี้เลย คือ 👉 देवार्चय เทวาจารย์ = देव เทวะ + अचार्य อะจารยะ (อะจรรยะ) = อาจารย์ของเหล่าเทพ(หรือ "เทวดา") หมายถึง "พระพฤหัสบดี"
👉 दैत्याचार्य ไทตยาจารย์ = दैत्य ไทตยะ (แทตย์) + अचार्य อะจารยะ = อาจารย์ของเหล่าแทตย์ (เทวดาหน้าดุ ; ลูกของนางทิติ) หมายถึง "พระศุกร์"
สุดยอดมากกกก mind blow ทุกครั้งงงงเลยค่ะรายการนี้ ไหว้ครูไปถึงเข้ 5555555 สนุกมากๆๆ ได้กรอฟังซ้ำแน่นอน กราบคุณครูจิโต้ค่ะ
Epนี้คือทีแต่อึ้งแล้วอึ้งอีก คิดว่าอึ้งมากแล้วเอ้าสักแปปอึ้งขึ้นอีกกกกก😮😮😮😮❤ ชอบมากค่า
เพิ่งสังเกตุด้วยว่าสีตัวหนังสือที่ปกโคเวอร์รายการจะตรงกับสีเสื้อดาราหลัก ยกเว้นอีพีแรก อุ๊ย ดีเทลลลล
ชอบคุณต่อกับคุณพงษ์อยู่แล้ว พอมาอยู่ด้วยกันยิ่งน่ารักขึ้นอีก อ.พงษ์หัวเราะน่ารักมาก❤❤❤ ใดๆพูดเข้าใจง่าย สนุก👍👍👍
80k แล้วค่า รออีก 20k เดี๋ยวสปอนเซอร์ผ้าเปียกก็เข้าแล้วค่ะ เพราะฉ่ำมาก เห็นคำว่า ปาเจรา จริยาโหติฯ แล้วนึกถึงชาวเน็ต บอกไม่เคยได้ยินเห็น กอปร มีแต่ประกอบ แล้วนึกในใจว่าดีเนอะ โรงเรียนเค้าไม่ต้องไหว้ครู
อีพีนี้เพลินมากกกกก ความรู้แบบเข้าใจง่าย ทึ่งกับรากศัพท์ การแปลมากกกก
ทีมงานรายการนี้เก่ง ท่องได้หมดเลย
เลิฟ เลิฟความสืบรากศัพท์ 😊😊
ทานข้าวอร่อยอีกแล้วว ขอบคุณพี่ๆนะคะ😋
อือหื้อ ดีนะกินข้าวหมดตั้งแต่ 10 นาทีแรก😂
ดีงามมากค่ะ
นึกถึง ศาสดา ผู้พึงเฆี่ยน
อนุโมทนาสาธุ 🙏
อีพีนี้สะใจมากกกกกกก เนิร์ดสุด ขอแบบนี้อีกค่ะพี่ต่อ
ขอรายการเพิ่มม เป็นการแตกศัพท์ที่ใช้ทั่วไปได้มั้ยคะ พวก root words น่าจะทำออกมาดีมากกกก งือ สนุกมาก ฟังเพลินมากกกกก
เพิ่งกลับมาดู
เข้าใจแล้วว่า ทำไมที่หอใน (จุฬา) เราเรียกอาจารย์หัวหน้าหอว่าอนุศาสกค่ะ 😊 เพราะคือ instructor นี่เอง ❤
ชอบรูปโปรไฟล์พี่ต่อมากค่ะ
เจ๊ป้องต้องสู้กลับนะคะ พี่ต่อมาแรงมากช่วงนี้5555555😂😂😂😂
18:28 ชอบความตกใจ ใหญ่มากกกกกก ☺️
รอค่ะรอรายการนี้ตลอดเว จะเม้นก็เเอบเขินมีเเต่ผู้มีความรู้เรามันชาวบ้านเเต่เลิฟสุดๆ
ช่องคุณภาพมากกกกก
ยากมากค่ะ ฟังวนหลายรอบมาก ๆ จริง ๆ แต่ชอบนะ แชะจะฟังวนต่อไป
ถ้ามีการอธิบายลักษณะนี่ในห้องเรียน มันจะสนุกขึ้นเยอะเลย
สุดมาก ต้องดูซ้ำ
Epนี้สุดมากกกกกกกกกกกกกกกก
สปอนต้องเข้าแล้ว ปังมากจริงๆ กราบสปอนเซอร์ เข้าสักทีพลีสสสสสสสสสสสส
👏👏👍👍👍…สุดยอดเลยค่ะ พี่ต่อ Ep นี้ถูกใจมาก
ดีมากกก EP นี้อิ่มมากกก
ep นี้ล้ำสุดๆเลยครับ ว้าวหลายคำมากกก คือสนุกมากก มันเคยเจอ คุ้นหูไปหมด ดีใจจจ
เชื่อมไปไกลมากกว่าที่คิดไว้มากๆ ชอบๆ ขอแบบนี้อีกนะคะ ❤❤
รายการดีมาก ฟังเพลิน สนุก ได้ความรู้ด้วย ขอสปินเข้าทีจ้า
1:07 แล้วเพื่อนที่รั่วๆก็ชอบผวนเป็น ปาเจราจริยา ฮี๋โตน
กระจ่าง และ เลิศ มาก สงสารพี่ป้องบุคคลที่สาม ต้องเอาคืนนะฮะ เจ๊อย่ายอมเค้าน้าาาาาาาาาา 555555
√dat ทตฺ แปลว่า ให้
Sakka - dattiya - Vishnukarm - Prasiddhi
สักกะ - ทัตติยะ - วิษณุกรรม - ประสิทธิ
จึงแปลว่า
ท้าวสักกะ(อินทระ) - สั่งให้ - เทพวิษณุกรรม - สร้าง
ว้าวมาก 👏🏼
ฟังตอนกินข้าวเพลินมากค่ะ อีพีต่อไปมายังคะะะะ ❤
15:26 อาจารย์ผู้ดูแลหอพักนิสิตจุฬาฯ ก็เรียกว่า "อนุสาสก" ค่ะ
สนุกแบบ เน้น ๆ อัด ๆ เลยนะครับ EPนี้
โรงเรีนน หมาลัยควรมีครูแบบ คุณต่อ สุดยอดมาก❤❤❤❤
มหาลัย มั้ยครับ 5555 😂
@@Jjornaiมหา+ วิทย + อาลัย / อา + ลัย / ลย แปลว่า ที่,โรง
@@Balancier16 ครับ?
@@Jjornai เห็นแล้วนึกถึงคำว่า มหาวิทยาลัย แล้วมันแตกคำประมาณนั้น
พี่ต่อ น่ารักมาก พรุ้บๆๆๆ ขำมากคะ
ชอบมากกกก อย่าเลิกทำคอนเทนต์นี้นะครับ ❤
สนุกมากค่ะ🎉
ชอบดูตอนออกกำลังกายมากๆ เพลินมากครับพี่😂
เป็นอาหารสมองชั้นดีมากกค่ะ❤
ตอนแรกนึกถึงคำว่า ‘อุจจาระ’ แต่ก่อนหน้าพี่ต่อพูดคำว่า ‘จริยธรรม’ ขึ้นมาเลยคิดต่อว่า บ้า ไม่หรอก พอพี่ต่อพูด อ้าว ใช่แฮะ 55555555
ดูเพลินๆ ได้รู้ความหมายชื่อตัวเองเลยค่ะ ทัตชญา แปลว่าผู้ให้ความรู้😽