วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 20 окт 2024
  • วัดระฆังโฆษิตาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางหว้าใหญ่ ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ต่อได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วยเหตุในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงไพเราะมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางหว้าใหญ่ 5 ลูก จึงกลายเป็นที่มาของชื่อวัดจนถึงในปัจจุบัน
    ภายในวัดระฆัง มีพระอุโบสถที่สวยงาม ประดิษฐาน หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า เป็นพระประธาน ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จมาพระราชทานผ้ากฐิน ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆัง พอเข้าประตูโบสถ์ พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที”
    ภายในอุโบสถมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่มีเรื่องราวของต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เป็นภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก มีชีวิตชีวาอ่อนช้อย ซึ่งภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6
    ใกล้ๆ กับพระอุโสบสถมี พระปรางค์ ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบแผนที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยทรงมีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ โดยเป็นพระปรางค์แบบสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้นที่งดงาม จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมานั่นเอง
    วัดระฆังโฆสิตารามมี หอพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมรูปเรือน 3 หลังแฝดที่สวยงามมาก ในอดีตเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ 2 ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ 1 ตู้ หอด้านใต้ 1 ตู้

Комментарии •