ลายฟ้อนบายศรีสู่ขวัญ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

Поделиться
HTML-код
  • Опубликовано: 17 сен 2024
  • ประเพณีการสู่ขวัญ เป็นประเพณีตามศาสนาพราหมณ์ที่นิยมกระทำสืบต่อกันมาอย่างช้านาน ถือว่าเมื่อได้มีการทำพิธีนี้แล้วจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การทำพิธีีสู่ขวัญนี้จะกระทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ดีเป็นมงคล เช่นพิธีแต่งงาน การหายจากป่วยไข้ การมาหรือกลับจากสถานที่ใดๆ การไปค้าขายได้เงินทองมามาก การมีแขกมาเยี่ยมยามจากต่างถิ่น ฯลฯ แม้แต่เหตุการณ์ที่ไม่ดี เช่น การได้รับความเจ็บป่วย คนในครอบครัวประสบอุบัติเหตุหรือต้องเสียชีวิต (เหตุการณ์นี้จะทำพิธีให้แก่ผู้ที่รอดจากเหตุดังกล่าว) การสู่ขวัญ คือการเรียกขวัญ หรือเอิ้นขวัญ
    ชาวอีสานมีความเชื่อว่า “ขวัญ” เป็นสิ่งที่แฝงอยู่กับตัวของมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งจะจับต้องหรือไม่สามารถมองเห็นได้ หากว่ามีเหตุให้ขวัญหนีออกจากตัว เช่น เกิดอุบัติเหตุ เสียใจ ป่วยไข้ ตกใจรุนแรง อาจทำให้ตัวบุคคลนั้นถึงแก่ความตายได้ ฉะนั้นต้องเรียกขวัญกลับมาสู่ตัวจะทำให้สุขสบายขึ้น
    คำว่าบายศรีเกิดจากการนำ 2 คำ มารวมกัน คือคำว่า “บาย” ในภาษาเขมรแปลว่า ข้าว และคำว่า ”ศรี” ในภาษาสันสกฤต แปลว่ามิ่งขวัญ สิริมงคล ซึ่งหมายความได้ว่าข้าวอันเป็นสิริมงคลหรือข้าวขวัญ โดยมากบายศรีมักใช้ในพิธีสังเวยบูชา หรือพิธีทำขวัญต่าง ๆ และจะมีข้าวสุกเป็นส่วนประกอบสำคัญ ในคติของพราหมณ์มีความเชื่อว่าใบตองเป็นสิ่งที่สะอาดและบริสุทธิ์ ไม่มีมลทินของอาหารเก่าแปดเปื้อนเหมือนถ้วยชาม จึงนำมาทำเป็นภาชนะใส่อาหาร มักทำเป็นรูปกระทง ภายหลังได้มีการตกแต่งให้สวยงามขึ้น
    โอกาสที่ใช้บายศรีส่วนใหญ่มักจะใช้ในการทำขวัญต่าง ๆ ที่เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เช่น การทำขวัญเดือน ทำขวัญนาค ทำขวัญแต่งงาน(นิยมในภาคเหนือและอีสาน) ทำขวัญนา ทำขวัญแม่โพสพ หรือแม้กระทั่งทำขวัญสัตว์ อย่าง วัวหรือควาย รวมไปถึงพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน การบวงสรวงสังเวย การสมโภชต่างๆ เช่น การตั้งศาลพระภูมิ การวางศิลาฤกษ์ ฯลฯ

Комментарии •