ฎีกา InTrend EP.48 ลูกหนี้ผิดนัดหลังผู้ค้ำประกันตาย เจ้าหนี้ฟ้องทายาทผู้ค้ำประกันได้หรือไม่
HTML-код
- Опубликовано: 10 дек 2024
- Ep.48 ลูกหนี้ผิดนัดหลังผู้ค้ำประกันตาย เจ้าหนี้ฟ้องทายาทผู้ค้ำประกันได้หรือไม่
The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
ที่ปรึกษา : อัครพันธ์ สัปปพันธ์, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
การค้ำประกันเป็นการให้ประกันไว้ลักษณะหนึ่งแก่เจ้าหนี้ที่อาศัยตัวผู้ค้ำประกันเองเป็นผู้ให้ความมั่นใจแก่เจ้าหนี้ ตามปกติเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ที่ลูกหนี้ผิดนัดได้ แต่ปัญหาในกรณีนี้เป็นกรณีที่หากว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันตาย เจ้าหนี้จะฟ้องทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ค้ำประกันนั้นให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นได้หรือไม่
นางจันทร์ไปทำสัญญากู้ยืมเงินจากนายยอดเป็นเงิน 100,000 บาท โดยนางจันทร์ได้ขอให้นายอังคาร ซึ่งเป็นญาติของตนไปทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้แก่นายยอดด้วย สัญญากู้ดังกล่าวกำหนดให้นางจันทร์ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี
นางจันทร์ไม่ได้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปี แต่ภายหลังจากนั้นเมื่อนางจันทร์นำเงินไปผ่อนชำระกับนายยอด นายยอดก็ไม่ได้ว่าอะไร คงรับชำระหนี้เรื่อยมา
ต่อมาเมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วม 5 ปีแล้ว นายอังคารได้ถึงแก่ความตาย ศาลได้มีคำสั่งตั้งนายพุธให้เป็นผู้จัดการมรดกของนายอังคาร
ภายหลังจากนั้น นายยอดเห็นว่าเวลาล่วงเลยมานานแล้ว นางจันทร์ยังไม่มีทีท่าที่จะชำระหนี้ให้ครบถ้วน จึงได้ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นางจันทร์ชำระหนี้ เมื่อนางจันทร์ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด นายยอดจึงได้บอกกล่าวทวงถามให้นายพุธชำระหนี้ดังกล่าวด้วย เมื่อยังไม่มีใครชำระหนี้ที่ค้าง นายยอดจึงได้ฟ้องนางจันทร์และนายพุธเป็นจำเลย
กรณีนี้แม้เดิมสัญญากู้จะกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ 2 ปี แต่เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวแล้วยังมีการผ่อนชำระหนี้อยู่โดยทั้งสองฝ่ายคือเจ้าหนี้และลูกหนี้ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ายังคงถือเคร่งครัดตามระยะเวลาสองปีที่กำหนดจึงทำให้หนี้รายนี้กลายเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
แต่ต่อมาเมื่อนายยอดได้บอกกล่าวทวงถามแล้ว นางจันทร์ไม่ชำระหนี้จึงถือว่านางจันทร์ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาบอกกล่าวให้ชำระหนี้
ปัญหาของเรื่องนี้คงอยู่ที่ว่าในขณะนั้น นายอังคารซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันตายไปก่อนแล้ว ทำให้นายพุธโต้แย้งว่าตนเองในฐานะผู้จัดการมรดกของนายอังคารไม่ต้องรับผิด เพราะขณะที่นายอังคารตาย นายอังคารยังไม่เกิดความรับผิดที่ต้องชำระหนี้รายนี้
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่บุคคลคนหนึ่งไปทำสัญญาให้เป็นประกันว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตนจะชำระหนี้แทน การชำระหนี้ดังกล่าวย่อมต้องเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นประกันเป็นสำคัญ ไม่ใช่กรณีที่ผู้ค้ำประกันจะต้องไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ ความผูกพันระหว่างเจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจึงเป็นเรื่องในทางทรัพย์สินเท่านั้น
กฎหมายได้กำหนดไว้แล้ว่าสัญญาค้ำประกันจะระงับไปต่อเมื่อหนี้ของลูกหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดนั้นระงับไป การที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายจึงไม่ได้เป็นเหตุที่ทำให้สัญญาค้ำประกันระงับไปด้วย ตรงกันข้ามความผูกพันและความรับผิดที่เกิดขึ้นตามสัญญาค้ำประกันนั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งของกองทรัพย์สินที่ตกทอดเป็นมรดกไปด้วย
การที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันตายไม่ใช่เหตุที่ทำให้ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นเสียไป เพราะเมื่อเป็นความผูกพันทางทรัพย์สินแล้วย่อมสามารถที่จะผูกพันเอาชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันที่ตกทอดไปเป็นมรดกได้
อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหนี้อาจฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้นไม่ได้ทำให้ตัวผู้จัดการมรดกหรือทายาทกลายเป็นผู้ค้ำประกันไปแทนเจ้ามรดก เป็นเพียงแค่ทำให้เกิดหนี้หรือหน้าที่ที่จะต้องเอาทรัพย์สินจากกองมรดกไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เท่านั้น แต่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะไม่เกิดความรับผิดใด ๆ เกินไปกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
การที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายก่อนที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้จึงมีอำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกหรือทายาทของผู้ค้ำประกันให้ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นเช่นไรบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน
(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5763/2562)
กฎหมายเข้าข้างใครครับ
กฎหมายคุ้มครองผู้ค้ำประกันออกมาแล้วในปี 2565 ครับ
อย่าไปค้ำให้ใครเด็ดขาด ท่องไว้ ภาระหนี้สินที่ลูกหนี้ คนที่เราค้ำไว้ไม่จ่าย เจ้าหนี้มันฟ้องเท่ากัน
ยิ่งถ้าคนค้ำมีทรัพย์สินมาก ยิ่งฟ้องบังคับคดีไว
คิดแค่ว่า เหมือนเรากู้ด้วยแต่ไม่ได้ใช้เงิน แต่ภาระหนี้เท่ากัน คิดให้ได้แบบนี้ แล้วจะได้ไม่ต้องค้ำใคร ห้ามเกรงใจ
จริงครับรับผิดชอบเท่ากันเลยทั้งที่เราไม่ได้ใช้เงินแม้แต่บาทเดียว
แต่ละคนพูดไม่เหมือนกันเลย
เจ้าหนี้เอาเปรียบคนค้ำมากถึงกับมากที่สุด กฏหมายออกมาเอื้อต่อเจ้าหนี้ทุกราย โดยเฉพาะ โครงการ กู้เงิน ช.พ.ค. ของธนาคารออมสิน คำสวยหรูเพื่อช่วยเหลือข้าราชการ ครู แต่คุณทราบมั๊ยว่า ธนาคารออมสินทำนาบนหลังครู ได้กำไรมหาศาลจากการที่ให้ครูกู้ จนธนาคารมีข้อความ smsเขิญชวนให้กู้เงิน เพราะสภาพการเงินคล่อง จนต้องหาทางระบายเพื่อให้คนกู้เงิน เพราะเขาได้กำไรจากการทำนาบนหลังครูมานาน จนครูถึงกับต้องประท้วง ไม่ใช่คุณครูจะไม่จ่ายหนี้เพียงแต่ให้ความยุติธรรมกับครูกันบ้าง โดยเฉพาะคนค้ำประกันเงินกู้ ให้ช่วยเหลือคนคำ้ประกันบ้าง ไม่ใข่ไปข่วยเหลือคนเป็นหนี้ ฟังสาระทางนี้เพิ่งรู้ว่า การค้ำประกันตกทอดไปถึงทายาทอีก แล้วสังคมไทยจะอยู่อย่างไร ในเมื่อกฎหมายออกมามีแต่เอื้อให้กับเจ้าหนี้ทั้งนั้น
จริงครับเงิน.ชพ.ค.
คนกู้เสียชีวิตแล้วก็เคลมให้ได้แค่ครึ่งเดียว.คู่สมรสก็เดือดร้อน.คนค้ำก็เดือดร้อน
หนี้ก็เยอะ.ต้องเลยตามเลย
ตอนนี้ลูกหนี้มีตังกินตังใช้เที่ยวสบายไม่สนมีตังแต่ไม่จ่าย จนคนค้ำมาโดนฟ้อง แต่ไม่ไปสืบทรัพย์ลูกหนี้ มาสืบทรัพย์คนค้ำ
ชอบเม้นนี้
ตอนนี้ถึงทายาทผู้ค้ำทุกใจมาก
มีข้อน่าคิดครับ ถ้าผู้ค้ำตายและผู้กู้ยังชำระหนี้ตลอดมาไม่ผิดนัดชำระเลย แบบนี้เมื่อผู้ค้ำตายเกิน 1 ปีจะฟ้องร้องได้หรือไม่ และหากฟ้องแล้ว ผู้กู้ยกข้อต้อสู้ว่า ฟ้องไม่ได้เพราะตนยังคงชำระหนี้ตามสัญญาอยู่ไม่ได้ผิดนัดเลย และหากต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ค้ำคนอื่นยกการที่ผู้ค่ำที่ตายไปแล้วเกิน1 ปีต่อสู้เพื่อทำให้ผู้ค้ำทุกคนไม่ต้องรับผิด แบบนี้เจ้าหน้าจะทำอย่างไรน่าคิดมากครับ
ผู้กู้ได้เงินเป็นก้อน ผู้ให้กู้ได้ดอกเบี้ย แล้วผู้ค้ำได้อะไร?
ตอนนี้พ่อถูกฟ้องแล้วค่ะเพราะลูกชายตาย แล้วต้องทำอย่างไรต่อค่ะ หมายศาลมาติดใว้หน้าบ้าน
กฏหมายออกมาได้ไงแบบนี้ประเทศไทย
ตอนนี้ถูกฟ้องทายาทแล้วยังต้องไปขึ้นศาลที่กรุงเทพฯอีกทุกใจมากแล้วยังไปถึงลูกที่กำลังเรียนยังไม่จบ โหดมากผู้กู้ที่ขี้โกง
จะปิดบชแทนผู้กู้ทำไมธ.ออมสินให้ส่วนลดแค่4พันเป็นผู้ค้ำประกันไม่มีส่วนได้เสียกับเงินแม้แต่บาทเดียวจากยอดหนี้37300ได้ลดแค่4พันบาทผู้ค้ำประกันขอปิดแค่ส่วนของผู้ค้ำได้มั้ยครับ15000
ต้องการใช้สิทธิ์ของผู้ค้ำประกันจ่ายแบ่งส่วนเฉพาะของผู้ค้ำประกันได้มั้ยค้ำ
ไม่ได้ครับ
หากผู้ให้กู้ตายตามลูกหนี้แสดงว่าคดีความยุติหรือลูกหนี้ไม่มีทายาทไม่มีทรัพย์สิน...จะมีเหตุใดที่จะฟ่องร้องอีกนะ...
แล้วเราจะแก้ไขอย่างไรได้บ้างคะ ดิฉันกำลังเจอเหตุการณ์นี้คะ กรมบังคับคดีอายัดบ้านเราแล้วคะ ดิฉันมีสมบัติจากคนตายอยู่อย่างเดียวคือบ้าน กลุ้มใจมากคะงานก็ไม่มีทำ ลูกยังเล็กอีกสองคน ขอความอนุเคาระห์ขอคำปรึกษาด้วยคะ
ถ้าผู้ค้ำได้ชำระหนี้แทนผู้กู้หมดสิ้นแล้ว ผู้ค้ำสามารถฟ้องเอาเงินคืนจากผู้กู้ได้ แต่ถ้าผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินคืนได้ ผู้ค้ำสามารถฟ้องถึงทายาทผู้กู้ได้มั้ยคะ
ถ้าผู้กู้ยังไม่เสียชีวิตทำไม่ได้ครับ แต่ถ้าผู้กู้ที่ยังไม่เสียชีวิตมีคู่สามีภรรยา ลูกอายุไม่เกิน15 สามารถฟ้องได้ครับ
มึงจะฟ้องได้งัยพวกผู้ค้ำไม่ได้เป็นเจ้าหนี้โดยตรงมึงไม่ต้องมาอ้างพวกมึงรู้อยู่
จริงหรา
พูดเข้าใจยากไม่ตืดตามเสียเวลาฟัง
มีใครตอบคำถามเราได้บ้าง
ดูจบเมื่อ 15:41 2022-12-19
ต้องฟ้องภายใน 1 ปี เมื้อทราบว่าผู้ค้ำตายใช่หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ…
ผ่านไป2ปีแล้วสัญญาน่าจะโมฆะ
อยากได้เบอร์โทรทนายครับ
สาระดีครับ
เป็นกฎหมายที่เอาเปรียบคนที่ไม่ส่วนได้เสียมาก
ต้องไม่ค้ำทุกกรณีครับ
เหมือนเป็นลูกหนี้เลยครับและคนค้ำไม่ได้ใช้เงินด้วยสักบาท
ไม่มีคนค้ำคะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคนแต่เขาจะยื่นเรื่องฟ้องต้องทำไงละเงิน11000